ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 14, 2006 8:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โปรดพิจารณาข้อความข้างล่างนี้
อิหม่ามอัลยาฟิอีย์ อัลยะมะนีย์ กล่าวว่า
من جمع لمولد النبي صلى الله عليه وسلم إخوانا، وهيأ طعاما، وأخلى مكانا، وعمل إحسانا، وصار سببا لقراءة مولد الرسول بعثه الله يوم القيامة مع الصديقين والشهداء والصالحين ويكون في جنات النعيم
บุคคลใดรวบรวมญาติพี่น้อง เพื่อจัดงานเมาลิดนบี ศอลฯ โดยจัดเตรียมอาหาร จัดแจงบ้านช่องให้โล่งเตียน ประกอบการงานที่ดี และเขาเป็นเหตุ ให้มีการอ่านประวัติเมาลิดรซูล ในวันกิยามะฮ อัลลอฮจะให้เขาฟื้นขึ้นมา ได้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้สัจจริง บรรดาผู้ที่ตายชะฮีด บรรดาผู้ที่ทรงคุณธรรม และปรากฏว่าเขาจะได้อยู่ในสวรรค์ชั้นนะอีม - อิอานะตุฏฏอลิบีน เล่ม 3 หน้า 363
............................
ข้างต้น จะเห็นได้ว่า เป็นทัศนะที่สนับสนุน การทำเมาลิดอย่างสุดๆ และสุดลิ้ม ถึงขนาดว่า เขารับรองว่าได้เข้าสรรค์ชั้นนะอีม ทั้งที่ การกระทำเมาลิด ไม่ปรากฏในสมัยนบีและยุคสะลัฟเลย ที่นำเสนอมานี้ ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่อุลามาอ แต่เพื่อต้องการจะบอกว่า นี้คือความคิดเห็นและ ความคิดเห็นย่อมมีผิดมีถูก ขออัลลอฮโปรดอภัยในความผิดพลาดของท่านอุลามาอท่านนี้ด้วยเทอญ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 14, 2006 9:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ท่านญุนัยด อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า
من حضر مولد الرسول وعظم قدره، فقد فاز بالإيمان
ผู้ไดที่มาร่วมงานเมาลิดรซูล และให้ความสำคัญกับ ฐานะของท่าน แน่นอน เขาจะประสบความสำเร็จด้วยความศีทธา - อิอานะฮฯ เล่ม 3 หน้า 364
..............
ข้างต้นก็เป็นการสนับสนุนเมาลิด พร้อมกับให้การรับรองว่า จะประสบความสำเร็จ (หมายถึงได้เข้าสวรรค์และปลอดภัยจากนรก) ทั้งที่ ไม่มีหะดิษแม้แต่บทเดียวก็ไม่มี มายืนยัน หรือ ส่งเสริมการจัดเมาลิดเลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 14, 2006 10:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง อัลอัชอารีย์ อ้างคำพูดของอิหม่ามชาฟิอีย์ เพื่อส่งเสริมงานเมาลิด
อิมามอัชชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า
كل ما له مستند من الشرع فليس ببدعة فلو لم يعمل به السلف
"ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม" ดู หนังสือ อิตกอน อัลซ๊อนอะฮ์ ฟี ตะหฺกีก มะอฺนา บิดอะฮ์ ของท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ อัลฆุมารีย์ หน้า 14 ตีพิพม์ มัตตักอัลกอฮิเราะฮ์ ปี ฮ.ศ. 1426 - ค.ศ. 2005
...............
ตอบ
บังอะสัน ขอตอบด้วยคำพูดต่อไปนี้
قال الحسن البصري: « لا يصح القول إلا بعمل، ولا يصح قول وعمل إلا بنية، ولا يصح قول وعمل ونية إلا بالسنة »
อัลหะซัน อัลบัศรีย กล่าวว่า คำพูดนั้น ใช้ไม่ได้ นอกจาก ด้วยการปฏิบัติ คำพูดและการกระทำ จะใช้ไม่ได้ นอกจากด้วยการเนียต และคำพูด การกระทำ และ การเนียต จะใช้ไม่ได้ นอกจาก ด้วยการปฏิบัติตามสุนนะฮ ชัรหุเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮ ของท่านลาละกาอีย์ เล่ม 1/57
ويقول ابن رجب: « فكما أن كل عمل لا يراد به وجه الله تعالى- فليس لعامله فيه ثواب؛ فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله فليس من الدين في شيء »
และอิบนุเราะญับกล่าวว่า ในทำนองเดียวกัน แท้จริง ทุกการกระทำ ที่ไม่ได้ตั้งจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ (ซ.บ) ดังนั้น ผลบุญจะไม่ได้แก่ผู้กระทำมัน ในนั้น แล้วในทำนองเดียวกัน ทุกการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรซูลของพระองค์ บนมัน มันก็ถูกปฏิเสธกลับไปยังผู้กระทำมัน และทุกผู้ที่ อุตริสิ่งใหม่ในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรซูลของพระองค์ ไม่ได้อนุญาต ด้วยมัน ดังนั้น ก็ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แม้แต่น้อย ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม เล่ม 1 หน้า
176
...........
และอยากจะเรียนว่า ท่านอิหม่ามชาฟิอี ไม่เคยรู้เรื่อง การจัดเมาลิด จึงไม่ควรอ้างคำพูดของท่านมาสนับสนุน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun May 14, 2006 10:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แก้ไข
قال الحسن البصري لا يصح القول إلا بعمل، ولا يصح قول وعمل إلا بنية، ولا يصح قول وعمل ونية إلا بالسنة
อัลหะซัน อัลบัศรีย กล่าวว่า คำพูดนั้น ใช้ไม่ได้ นอกจาก ด้วยการปฏิบัติ คำพูดและการกระทำ จะใช้ไม่ได้ นอกจากด้วยการเนียต และคำพูด การกระทำ และ การเนียต จะใช้ไม่ได้ นอกจาก ด้วยการปฏิบัติตามสุนนะฮ ชัรหุเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮ ของท่านลาละกาอีย์ เล่ม 1/57
ويقول ابن رجب فكما أن كل عمل لا يراد به وجه الله تعالى فليس لعامله فيه ثواب فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله فليس من الدين في شيء
และอิบนุเราะญับกล่าวว่า ในทำนองเดียวกัน แท้จริง ทุกการกระทำ ที่ไม่ได้ตั้งจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ (ซ.บ) ดังนั้น ผลบุญจะไม่ได้แก่ผู้กระทำมัน ในนั้น แล้วในทำนองเดียวกัน ทุกการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรซูลของพระองค์ บนมัน มันก็ถูกตีกลับไปยังผู้กระทำมัน และทุกผู้ที่ อุตริสิ่งใหม่ในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรซูลของพระองค์ ไม่ได้อนุญาต ด้วยมัน ดังนั้น ก็ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา แม้แต่น้อย ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม เล่ม 1 หน้า 176
.............. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 2:49 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่บังอะสันนำเสนอมา ว่างๆจะมาเคลียร์ ตอนนี้สอบใกล้เข้ามาแล้วครับ และสิ่งที่บังอะสันอ้างมาทั้งหมดนั้น มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง
ทัศนะของนักปราชญ์อิสลามแห่งโลกอิสลาม (ชื่ออุลามาอ์ที่เป็นตัวสีดำ คือผู้ที่สนับสนุนเรื่องเมาลิด , อุลามาอ์ที่ตัวอีกษรสีน้ำเงิน คือผู้มีทัศนะที่เป็นกลาง , และผู้ที่มีอักษรสีแดงคือผู้ที่ปฏิเสธครับ) โปรดดูต่อไปนี้
1. ท่านอัชชาฏิบีย์ الشاطبي ( ชีวิต ปี 590 ฮ.ศ.)
2. ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ ابن الجوزى(ปี 597 ฮ.ศ.)
3. ท่านอบูอัลค๊อฏฏอบ อิบนุ ดิฮียะฮ์أبو الخطاب ابن دحية ( ปี 633 ฮ.ศ.)
4. ท่านอัลหาฟิซฺ อัศสะคอวีย์ الحافظ السخاوي( ปี 634 ฮ.ศ.)
5. ท่านอบู ชามะฮ์ อาจารย์ของอิมามนะวาวีย์ أبو شامة ( ปี 665 ฮ.ศ.)
6. ทานอิมาม อันนะวาวีย์ النووي( ปี 676 ฮ.ศ.)
7. ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ابن تيمية ( ปี 728 ฮ.ศ.)
8. ท่านอัลฟากิฮีย์ الفاكهاني( ปี 734 ฮ.ศ.)
9. ท่านอิบนุญะมาอะฮ์ ابن جماعة ( ปี 733 ฮ.ศ.)
10. ท่านอิบนุ ซัยยิดินนาสابن سيد الناس ( ปี 734 ฮ.ศ.)
11. ท่านอิบนุ อัลหาจญฺ อัลมาลิกีย์ ابن الحاج المالكي ( ปี 737 ฮ.ศ.)
12. ท่าน ตะกียุดีน อัลซุบกีย์ تقي الدين السبكي ( ปี 756 ฮ.ศ.)
13. ท่านอิบนุกะษีร ابن كثير ( ปี 774 ฮ.ศ.)
14. ท่านอิบนุรอญับ إبن رجب ( ปี 795 ฮ.ศ.)
15. ท่านอัลหาฟิซฺ อัลอิรอกีย์الحافظ العراقي ( ปี 806 ฮ.ศ.)
16. ท่านอิบนุ อัลญัซฺริ ابن الجزري ( ปี 833 ฮ.ศ.)
17. ท่านอิบนุ นาซิรุดดีน อัดดิมิชกีย์ ابن ناصر الدين الدمشقي( ปี 842 ฮ.ศ.)
18. ท่านอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ابن حجر العسقلاني ( ปี 852 ฮ.ศ.)
19. ท่านอัศสะยูฏีย์ السيوطي ( ปี 911 ฮ.ศ.)
20. ท่านอัลกุศฏุลลานีย์القسطلاني ( ปี 923 ฮ.ศ.)
21. ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ابن حجر الهيتمي ( ปี 974 ฮ.ศ.)
22. ท่าน มุลลา อะลีย์ อัลกอรีย์ملا علي القاري ( ปี 1014 ฮ.ศ.)
23. ท่านอัลบัรซันญีย์البرزنجي ( ปี 1177 ฮ.ศ.)
24. ท่านอะหฺมัด อัลอะรูซีย์ أحمد العروسي( ปี 1208 ฮ.ศ.)
25. ท่านอิบนุอาบิดีน ابن عابدين( ปี 1252 ฮ.ศ.)
26. ท่านอะหฺมัด ซัยนีย์ ดะหฺลาน أحمد زيني دحلان ( ปี 1304 ฮ.ศ.)
27. ท่านอบู อัฏฏอยยิบ ชัมชุลฮัก อัลอะซีม อาบาดีย์ أبو الطيب شمس الحق العظيم أبادي ( ปี 1329 ฮ.ศ.)
เราจะสังเกตุได้ว่า นักบรรดาอุลามาอ์นักหะดิษ المحدثين หรือ الحفاظ ส่วนมากของโลกอิสลามวินิจฉัยว่าการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้นเป็นที่อนุญาติ เช่น ท่านอิมามหาฟิซฺ อิบนุ อัลเญาซีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อัลศะคอวีย์, ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อันนะวาวีย์, ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ ตะกียุดดีนอัศศุบกีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อิบนุกะษีร, ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อิบนุร่อญับ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อัลอิรอกีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ ,อัลหาฟิซฺ อิบนุ อัลญัซฺรีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อิบนุนาซิรุดดีน อัดดิมิขกีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัศเกาะลานีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อัศสะญูฏีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อัลกุศตุลลานีย์ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ ฐ , ท่านอิมามอัลหาฟิซฺ มุลลา อะลี อัลกอรีย์
บรรดาอุลามาอ์หนักหะดิษ ผู้แบกรับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ทำตามซุนนะฮ์กับแล้วหรือ?
บรรดาอุลามาอ์หนักหะดิษ ผู้แบกรับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ทำตามสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลอนุญาติแล้วหรือ?
บรรดาอุลามาอ์หนักหะดิษ ผู้แบกรับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงตามทัศนะของวะฮาบีย์หรือ?
แต่ ซอและหฺ บิน เฟาซาน อุลามาอ์วะฮาบีย์กล่าวว่า
يحتفل جهلة المسلمين أو العلماء المضلين بمناسبة مولد الرسول
"บรรดาคนโง่จากบรรดามุสลิมีน หรืออุลามาอ์ที่ลุ่มหลง จะเฉลิมฉลองกันทำเมาลิดท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)" ดู หนังสือ อัตเตาฮีด 155 ตีพิมพ์ ริยาด
บรรดาอุลามาอ์นักหะดิษที่ผมนำเสนอไปนั้น เป็นอุลามาอ์ที่ลุ่มหลงไปเสียแล้วตามทัศนะของวะฮาบีย์ครับ มุสลิมเกือบทั่วโลกกลายเป็นคนโง่เขลาตามทัศนะของอุลามาอ์วะฮาบีย์ไปเสียแล้ว ซุบหานัลลอฮ์ !!! _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 7:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
al-farook ได้พูดกับบังอะสันว่า
ที่บังอะสันนำเสนอมา ว่างๆจะมาเคลียร์ ตอนนี้สอบใกล้เข้ามาแล้วครับ และสิ่งที่บังอะสันอ้างมาทั้งหมดนั้น มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง
เออนะ...รู้ด้วยว่าเหตุผลไม่เป็นหลักฐาน ฮ่าๆๆเอิกๆๆ
แล้วที่ทำเมาลิดกันอยู่นะ ขอหลักฐานสักต้นซิ ฮ้าๆๆ มีแต่เหตุผลล้วน ยังตะแบงข้างๆคูๆ
หลักฐานจากกุรอานก็ไม่มี หลักฐานจากฮาดีสก็หาไม่ได้ คนสะลัฟก็ไม่เคยทำ
อ้างตัวว่าเป็นนักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ไม่ใช่หรือ
อิหม่ามฮานาฟี อิหม่ามมาลิกี อิหม่ามชาฟีอี อิหม่ามฮัมบาลี ก็ไม่ได้สอน แล้วจะดื้อไปทำม้าย
เมาลิดเพิ่งเกิดยุคหลังนี่ แล้วอุลามาอฺยุคหลังก็เถียงกันว่า ทำได้ไม่ได้ ผมก็เสนอทางออกจากกุรอานไว้แล้ว ทำไมเอา
อัลลอฮ์ ตะอาลากล่าวว่า
แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺ และรอซูล (นำสิ่งที่ขัดแย้งกันนั้นไปตรวจสอบดูกับอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านนะบีว่า อัลลอฮฺ และนะบีได้กล่าวว่าอย่างไร แล้วให้ยึดถือตามนั้นโดยปราศจากดื้อดึงใดๆ ทั้งสิ้น)
4/59 ความหมายโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
ยังมีทางออกทีดีกว่าอัลกุรอานข้างบนนี้อีกรึ ฮ้าๆๆเอิกๆๆ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 9:20 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสลามุอลัยกุมครับ คุณ อาดีล
ที่ผมเจ็บใจมากๆ ก็คือ พวกชีอะห์ ไปขายหนังสือประนาม บรรดาซอฮาบะห์ อยู่ข้างล่าง โดยที่ไม่มีใครเคยเข้าไปตรวจสอบ
พวกที่ไปขายน่ะ ญาติข้างแม่ผมทั้งนั้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 12:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้อง al-farook สุด love กล่าวว่า
ที่บังอะสันนำเสนอมา ว่างๆจะมาเคลียร์ ตอนนี้สอบใกล้เข้ามาแล้วครับ และสิ่งที่บังอะสันอ้างมาทั้งหมดนั้น มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง
..................
ตอบ
قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) رواه البخاري و مسلم ،
ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมา ในกิจการ(ศาสนา)ของเรา นี้ สิ่งซึ่งไม่มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ รายงานโดย บุคอรีและมุสสลิม
وفي رواية لمسلم ( من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد
และในรายงานของมุสลิม (ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่ กิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ.
............................
แสดงว่าเ มื่อท่านนบีไม่ได้สอนเอาไว้ มันก็ไม่ใช่ ศาสนา การเอาสิ่งที่ไม่ใช่ศาสนาที่อัลลอฮ และท่านนบีไม่ได้สอนไว้ ทำไปมันก็ไร้ผล และมันเป็นบิดอะฮ ที่เพิ่มเข้ามาในศาสนา ซึ่ง มันเป็นสิ่งต้องห้าม มิใช่หรือ
وقال حذيفة بن اليمان ـ رضي الله عنه كل عبادة لم يتعبد بها أصحاب رسـول الله صلى الله عليه وسلم فلا تتــعـبـدوا بـها؛
และท่านหุซัยฟะฮ บุตร อัลยะมาน (ร.ฎ)กล่าวว่า ทุกอิบาดะฮ ซึ่ง บรรดาเศาะหาบะฮของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำอิบาดะฮด้วยมัน ดังนั้น พวกท่านอย่าทำบาดะฮด้วยมัน อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 386
..
แล้วเรื่องทำเมาลิด เศาะหาบะฮไม่ได้ทำมิใช่หรือ เหล่าเศาะหาบะฮ ไม่รักท่านนบีหรือ ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
yoohoo มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 17/02/2004 ตอบ: 65
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 3:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จากคำพูดที่ว่า "มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง"
อย่างนั้นรบกวน นำหลักฐานที่ใช้ให้ทำเมาลิดนบีโดยตรงด้วยครับ
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Konyakroo มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006 ตอบ: 244
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 4:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บังฮะซัน
ไม่ได้เข้ามา2-3 วันยังเรตติ้งสูงเหมือนเดิม
เรียนบังฮะซัน
ผู้ดูแลเว็บมรดกที่เคารพเพื่อให้การนำเสนอของน้องนักศึกษาที่อยู่ในแนวทางต่างทัศนะกับบัง เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการสะดุดและตัดต่อหรือลบทิ้งเนื้อหา บังน่าจะเปิดโอกาสในสิ่งที่นำเสนออย่างใจเป็นกลาง และไม่ลำเอียงโดยไม่มีอคติ และยึดติดกับทัศนะของตนเองฝ่ายเดียว....
ที่บังบอกว่า
อยากจะเรียนและขอร้องน้อง al-farook และ สหาย ก่อนที่จะนำเสนอต่อไปคือ
1. ต้องนำเสนอด้วยความบริสุทธิ์ใจ [color=darkred]ไม่แอบแฝงความอคติ
กรุณา ตอบให้ชัดเจน ของคำว่าแฝงความอคติ
2. ไม่ควรดูถูกฝ่ายที่มีทัศนะตรงกันข้ามกับตน โดย ตั้งฉายา ตัวเองว่าชาวอะฮลุสสุนนะฮ และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า พวกวะฮบีย์ เพราะ มุสลิมทุกคน ไม่มีแนวทางอื่น นอกจากแนวทางของ อะฮลุสสุนนะฮ วัล ญะมาอะฮ ส่วนใครจะยึดมั่นมากน้อยแค่ใหนนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ตอบ บังยืนยันได้ไหมว่า ทุกอย่างในการดำเนินการใดๆหรือการตักลีดตามคำสอนก็ตาม บังไม่ได้เดินตามแนวทางของท่านมูฮำมัด บินอับดุลวะฮาบ ถ้าไม่ใช่ แล้วทำไมบังต้องเดือดร้อนด้วยทุกครั้งที่เรากล่าวถึงท่านผู้นี้ ...แต่เวลาเราอ้างถึงชื่อผูรู้คนอื่นๆซึ่งอุลามะสายอื่นทำไมบังไม่ออกมาห้าและเสนอหน้าบ้าง เช่นการกล่าวอูศอลลี ที่อีหม่ามนวะวีย์ ในทัศนะของท่านชาฟีอี(รฮ)เป็นผู้กิยาสเปรียบเทียกับการทำฮัจย์ แต่ตรงข้ามบังกลับดูถูกการกระทำเหล่านั้น.หาว่า เป็นการกระทำที่บิดอะ..ลุ่มหลง.และอุตริกรรม
3. การตั้งฉายาว่า "วะฮบีย์" แก่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อต้องการให้สังคมที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เข้าใจว่า พวกนี้ นับถือลัทธิใหม่ ไม่ตามแนวทางที่ถูกต้อง นั้น เป็นวิธีเดิมๆของคนในอดีต ที่ใช้ยุยงให้ชาวบ้านจงเกลียดจงชัง ผู้ที่มีทัศนะตรงกันข้ามกับตัวเอง น้อง al-farook เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นปัญญาชน และเป็นนักศึกษาปริญญาโท ไม่ควรจะขุดคำนี้มาทำลายคนอื่นอีก
ตอบ เหมือนคำตอบที่ 2
4. เรื่อง การจัดเมาลิดนั้น คือความคิดเห็นล้วนๆ ในยุคของท่านนบี และ เหล่าสาวก ไม่ปรากฏ กิจกรรมอันนี้ และเว็บนี้ ตั้งขึ้นมา เพื่อเผยแผ่ คำสอนตาม กิตาบุ้ลลอฮและอัสสุนนะฮ
ตอบ ..การจัดงานเมาลิด ไม่ปรากฎการกระทำอย่างว่า และขอถามกลับว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นบังเอาอะไรมาเป็นหลักฐานในคำพูดที่ว่า คนเหล่านั้นคัดค้านหรือห้ามละครับ
--สิ่งใดก็ตามที่ขัดต่อเจตนารมณ์นี้ เราไม่ส่งเสริม เพราะฉะนั้น หากท่านคิดว่า มีคำสอนในเรื่องนี้ในศาสนาอิสลาม ก็ให้นำเสนอหลักฐาน โดย ไม่มีการพูดเหยียดหยาม จาบจ้วง และประนามผู้ที่ไม่เห็นด้วย
ตอบ การขัดกับอารมณ์ความรู้สึกมากว่าเจตนารมณ์ วะฮาบีย์ไม่สนับสนุนการกระทำอย่างว่านี้ในแนวทางของผู้อยู่ต่างทัศนะ ก็ไม่สมควรวิจารณ์ในการกระทำดังกล่าวด้วยจริงไหมครับ
ก็ต้องมีจิตสำนึกด้วยว่า ตนเองนั้นก็ไม่มีสิทธิอะไรที่จะดูถูกหรือว่ากล่าวโดยการฮูกมผู้อื่นในทางเสียหายอย่างการกระทำของ อ.บางคนที่ชอบปราศรัยโจมตีโดยที่ขาดจิตสำนึกความเป็นอจ.
......................
จึงเรียนผู้ที่จะนำเสนอในเรื่องนี้ทราบโดยทั่วกัน [/color]
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 6:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ชูสองมือโชว์สองจั๊กแร้เลยคุณ yoohoo
จากคำพูดที่ว่า "มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง" อย่างนั้นรบกวน นำหลักฐานที่ใช้ให้ทำเมาลิดนบีโดยตรงด้วยครับ
เอ้า.....เอามาโชว์กันหน่อย...หลักฐานใช้ให้ทำเมาลิดโดยตรง...จะได้ชมหรือปล่าว ฮ้าๆๆเอิกๆๆ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 9:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
น้อง konyakroo ครับ นำเสนอหลักฐานมาดีกว่านะครับ ว่า ที่ว่า อุลามาอสนับสนุนการทำเมาลิดเป็นจำนวนมากนั้น บุคคลเหล่านัน เอาอะไรมาเป็นหลักฐาน ส่วนความเห็นแม้จะเป็นหมื่นเป็นแสน มันไม่มีผลหรอก เพราะศาสนา คือ วะหยูของอัลลอฮ ที่ประทานแก่นบีมุหัมหมัด ความคิดเห็นของคนส่วนมาก ไม่ได้เป็นมาตฐานวัดความถูกผิด ในเรื่องศาสนา สิ่งที่เป็นมาตรฐานคือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ
وَإِن تُطِعْ أَكْثَرَ مَن فِي الأَرْضِ يُضِلُّوكَ عَن سَبِيلِ اللّهِ إِن يَتَّبِعُونَ إِلاَّ الظَّنَّ وَإِنْ هُمْ إِلاَّ يَخْرُصُونَ
[6.116] และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮ์ พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการนึกคิดเอา เอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเท่านั้น - อันอาม/116
.........
อายะฮข้างต้นชี้ให้เห็นว่า คนส่วนมากไม่ใช่มาตรฐานวัดความถูกผิด ถ้ารักนบีจริง ก็ควรจะฟื้นฟูสุนนะฮของท่าน ไม่ใช่ฟื้นฟูบิดอะฮ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Mon May 15, 2006 11:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผู้อยู่ในแนวทางของวะฮาบีย์และแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์โปรดทราบพื้นฐานเดิมเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดก่อนว่า
" ทั้งสองฝ่ายนั้น เท่ากัน ในเรื่องที่ ไม่มีหลักฐานอัลกุรอานและหะดิษมาระบุใช้และห้ามเมาลิดโดยตรง "
หากวะฮาบีย์จะถามว่า มีหลักฐานโดยตรงมาระบุใช้เรื่องเมาลิดใหม? และเราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ถามว่า มีหลักฐานโดยตรงมาระบุห้ามเรื่องเมาลิดใหม? คำตอบที่ได้จากทั้งสองฝ่ายก็คือ "ไม่มี"
เมื่อเป็นเช่นนี้ การวินิจฉัย จึงเข้ามามีบทบาทอย่างไม่ต้องสงสัย ฝ่ายวะฮาบีย์ก็มีหลักการวินิจฉัยในการห้ามทำเมาลิด เราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ก็มีหลักการวินิจฉัยในการทำเมาลิด ดังนั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหลักการวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องเมาลิด เราก็ต้องรอดูหลักฐานที่มาสนับสนุนทัศนะของตนกันว่าใครมีน้ำหนักมากกว่า
เราก็ขอให้ท่านผู้อ่านทราบตามนี้ด้วยครับ หากมีบางคนพูดอื่นจากนี้ แสดงว่าเขากำลังหลอกท่านผู้อ่านแล้วครับ
และจุดมุ่งหมายในการสนทนาของเรานี้ ไม่ใช่เพื่อให้วะฮาบีย์ต้องกลับมาทำเมาลิดแต่อย่างใด เนื่องจากเราไม่เคยต้องการเป้าหมายนี้ แต่เราสนทนาในเชิงวิชาการ ก็เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจในหลักการของพี่น้องมุสลิมที่แตกต่างกับวะฮาบีย์ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ เราตั้งใจว่า พี่น้องมุสลิมก็ต้องเข้าใจกันและกัน มีสักคนเดียว ก็ถือว่า อัลหัมดุลิลลาห์! _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 16, 2006 12:11 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างอิงจากบังอะสัน
น้อง al-farook สุด love กล่าวว่า
ที่บังอะสันนำเสนอมา ว่างๆจะมาเคลียร์ ตอนนี้สอบใกล้เข้ามาแล้วครับ และสิ่งที่บังอะสันอ้างมาทั้งหมดนั้น มันแค่ความเห็น โดยที่มันไม่ใช่เป็นหลักฐานห้ามทำเมาลิดนบีโดยตรง
..................
ตอบ
قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) رواه البخاري و مسلم ،
ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมา ในกิจการ(ศาสนา)ของเรา นี้ สิ่งซึ่งไม่มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ รายงานโดย บุคอรีและมุสสลิม
وفي رواية لمسلم ( من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد
และในรายงานของมุสลิม (ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่ กิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ.
ตอบ
มีบรรดาหะดิษที่กล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์ ซึ่งบางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยให้ความหมายที่ครอบคลุม( عموم ) แต่บางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยมีความหมายที่เจาะจงถ้อยความ( تخصيص )
ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่องบิดอะฮ์โดยความหมายที่ครอบคลุม คือ หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة
ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ( รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867 อิมามอะหฺมัด รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310 ท่านอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )
คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้ ครอบคลุมถึง บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆบิดอะฮ์ และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)
และมีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์" คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า
من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا
ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่สิ่งดังกล่าวไม่ทำลดลงกับสิ่งใดเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)
ดังนั้น ในหะดิษนี้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เจาะจงและทอนความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์ที่หะรอม" นั้น คือบิดอะฮ์อันน่ารังเกียจที่ไม่สอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์
ฉะนั้น ตามหลักอุซูล ( القاعدة الأصولية ) คือ เมื่อมีตัวบทที่รายงานมาจากหลักการของชาเราะอฺ โดยมีถ้อยคำที่ครอบคลุม ( عام ) และถ้วยคำที่เจาะจง ( خاص ) ก็ให้นำเอาถ้อยคำที่เจาะจง ( خاص )มาอยู่ก่อนในการนำมาพิจารณา เนื่องจากในการนำถ้อยคำที่เจาะจง ( خاص ) มาอยู่ก่อนนั้น ทำให้สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 2 ตัวบทไปพร้อมๆกัน ซึ่งแตกต่างกับการที่ เอาถ้อยคำที่ครอบคลุม ( عام ) มาอยู่ก่อน เนื่องจากจะทำให้ยกเลิกหรือละทิ้งกับตัวบทที่ให้ความหมายเจาะจง ( خاص ) ( ดู ชัรหฺ อัลเกากับ อัลมุนีร เล่ม 3 หน้า 382)
ฉะนั้น จุงมุ่งหมายของคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า
( كل بدعة ضلالة )
"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"
หมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง
และหลักการนี้ ก็อยู่ในนัยยะเดียวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า
كل عين زانية
" ทุกๆสายตานั้น ทำซินา" ( นำเสนอรายงานโดย อิมามอะหฺมัด ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 394 - 413 อบูดาวูด ได้รายงานไว้ใน สุนันของท่าน หะดิษที่ 4173 อัตติรมิซีย์ หะดิษที่ 2786 ท่านอันนะซาอีย์ เล่ม 8 หน้า 135 และท่านอัตติรมิซีย์กล่าว หะดิษนี้ หะซันซอเฮี๊ยะหฺ
ดังนั้น ถ้อยคำของหะดิษนี้ไม่ใช่หมายถึงทุกๆสายตานั้นทำซินา แต่ทุกๆสายตาที่มองสตรีโดยมีอารมณ์ใคร่ต่างหาก คือสายตาที่อยู่ในความหมายของซินา (ดู หนังสือ อัตตัยซีร บิชัรหฺ อัลญาเมี๊ยะอฺ อัศซ่อฆีร ของท่าน อัลมะนาวีย์ เล่ม 2 หน้า 216)
ท่านอัล-หาฟิซฺ อิมาม อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า " คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น) ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)
บรรดาอุลามาอ์กล่าวว่า บิดอะฮ์ มี 5 ประเภท คือ บิดอะฮ์วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่วายิบ อาธิเช่น การประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับบรรดาหลักฐานต่างๆของอุลามาอ์กะลาม เพื่อทำการโต้ตอบ พวกนอกศาสนา พวกบิดอะฮ์ และอื่นๆจากสิ่งดังกล่าว และสำหรับบิดอะฮ์สุนัต คือ การประพันธ์หนังสือในเชิงวิชาการ การสร้างสถานที่ศึกษา สร้างสถานที่พักพึง และอื่นๆจากสิ่งดังกล่าว และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์มุบาห์ คือ การมีความหลากหลายในประเภทต่างๆของการทำอาหาร และอื่นๆ และบิดอะฮ์หะรอมและมักโระฮ์นั้น ทั้งสองย่อมมีความชัดเจนแล้ว และฉัน(คืออิมามอันนะวะวีย์)ได้อธิบายประเด็นนี้ ด้วยบรรดาหลักฐานที่ถูกแจกแจงไว้แล้วในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลุฆ๊อต ดังนั้น เมื่อสิ่งที่ฉันได้กล่าวไปแล้วนั้น เป็นที่ทราบดีแล้ว ก็จะสามารถรู้ได้ว่า แท้จริง หะดิษ(นี้) มาจากความหมายของคำคลุมที่ถูกเจาะจง และเช่นเดียวกันกับบรรดาหะดิษต่างๆที่มีหลักการเหมือนกับหะดิษนี้ และได้ทำการสนับสนุนกับสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว โดยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ที่ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
และการที่หะดิษมีความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมาย)นั้น ก็จะไม่ถูกห้ามกับคำกล่าวของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ) "ทุกบิดอะฮ์" โดยตอกย้ำด้วยคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" แต่มีการเจาะจงหรือทอนความหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" นี้ (หมายถึง ความหมายที่ครอบคลุมนี้คือ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" โดยมีความหมายอื่นเข้าเจาะจงหรือทอนความหมาย คือ มีบิดอะฮ์อื่นด้วยที่ไม่ได้อยู่ในความหมายที่ลุ่มหลง" ) ซึ่งเหมือนกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า ( تدمر كل شيء ) " มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง" (นอกบ้านเรือนของพวกเขาเป็นต้น) (ดู ชัรหฺ ซ่อเฮี๊ยะหฺ มุสลิม ของอิมาม อันนะวะวีย์ เล่ม 3 หน้า 423)
ได้รายงานจาก ท่านหญิง อาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)
من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد
หมายความว่า "ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดย บุคอรีย์ หะดิษที่ 2698 และมุสลิม หะดิษที่ 1718)
ในสายรายงานหนึ่งของ มุสลิม กล่าวว่า
من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد
ความว่า "ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง ที่การงาน(ศาสนา)ของเรา ไม่ได้อยู่บนมันนั้น สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 1718)
ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า
من أحدث فى أمرنا هذا فهو رد
"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ มันย่อมถูกปฏิเสธ"
และท่านนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า
من عمل عملا فهو رد
"ผู้ใดที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง มันย่อมถูกปฏิเสธ"
แต่หะดิษดังกล่าวนี้ ถูกวางข้อแม้หรือถูกจำกัดความหมาย ( المقيد) กับสิ่งที่มีความหมายแบบกว้างๆของหะดิษนี้ ( المطلق ) ดังนั้น บรรดาอุลามาอ์ผู้เคร่งครัด คือ อุลามาอ์อุซูลฟิกห์ กล่าวว่า "หากปรากฏว่ามีหะดิษที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ( المطلق ) และในตัวบทหะดิษเดียวกันนี้ ก็มีความหมายที่บ่งถึงการจัดกัดความ( ( المقيد) ฉะนั้น จึงจำเป็น ตีความกับความหมายแบบกว้างๆนี้ ให้อยู่บนความหมายแบบจำกัดความ ( حمل المطلق على المقيد ) โดยที่ไม่อนุญาติให้ปฏิบัติกับหะดิษด้วยความหมายแบบกว้างๆอันนี้
เมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ความเข้าใจของหะดิษนี้ก็คือ
من أحدث فى أمرتا هذا ما هو منه فهو مقبول
"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ กับสิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"
من عمل عملا عليه أمرنا فهو مقبول
"ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง โดยที่การงานของเรา(มีรากฐาน)อยู่บนมัน การปฏิบัตินั้นย่อมถูกตอบรับ"
เมื่อเป็นเช่นอย่างเช่นดังกล่าว หะดิษนี้จึงมีความเข้าใจได้ดังต่อไปนี้
1. อนุญาติให้กระทำบิดอะฮ์ที่ดีและได้รับการสรรญเสริญ เมื่อมันดำรงค์อยู่บนรากฐานของหลักศาสนา(ชาเราะอฺ)ที่ชัดเจน หรือแบบสรุป หรือในแบบของการวินิจฉัย ดังนั้น บิดอะฮ์ในลักษณะนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องศาสนา
2. หะดิษนี้ มีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ หรือการมุอามะลาต(เช่นธุระกิจการค้าขายเป็นต้น)
3. หะดิษนี้ ชี้ถึงอนุญาติให้กระขึ้นมาใหม่จากเรื่องต่างๆของศาสนาที่ไม่มีอยู่ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น จึงไม่ถูกวางเงื่อนไขว่า บรรดาการกระทำตามหลักศาสนานั้น คือต้องเป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยทำมาแล้ว เช่นเดียวกัน กับการที่ท่านนบีได้ทิ้งการปฏิบัติบางส่วนนั้น ก็ย่อมไม่ชี้ถึงการ ต้องห้ามจากการกระทำมัน หลังจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) เสียชีวิตไปแล้ว
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
ท่านอัสซินดีย์ ได้กล่าวอธิบาย หะดิษดังกล่าวที่รายงานโดยท่าน อิบนุมาญะฮ์ ในหะดิษที่ 304 ว่า
قوله : ( سنة حسنة) أى طريقة مرضية يقتدى بها ، والتمييز بين الحسنة والسيئة بموافقة أصول الشرع وعدمها
" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า ( سنة حسنة) (ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์) หมายถึง หนทางอันพึงพอใจ ที่ถูกเจริญตามด้วยกับมัน และการแยกแยะระว่าง หนทางที่หะสะนะฮ์(ดี) และหนทางที่ซัยยิอะฮ์(เลว) นั้น ด้วยกับการสอดคล้องกับรากฐานต่างๆของศาสนาหรือไม่สอดคล้อง"
หรือเราจะเข้าใจอีกนัยหนึ่งว่า
คำว่า من سن سنة حسنة หมายถึง "ผู้ใด ที่ประดิษฐ์หรือริเริ่มกระทำ กับแนวทางหนึ่ง หรือการงานหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยสอดคล้องกับหลักการศาสนา"
และคำว่า ومن سن سنة سيئة หมายถึง "ผู้ใด ที่ประดิษฐ์ หรือกระทำ กับแนวทางหนึ่ง หรือการงานหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยขัดกับกับหลักการศาสนา"
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ ท่านนบี(ซ.ล.) จึงได้กล่าวถึง สิ่งที่บรรดาซอฮะบะฮ์ได้กระทำขึ้นมาใหม่ นั้น ว่าเป็น"ซุนนะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า
فعليكم بسنثى وسنة الخلفاء الراشدين
" พวกท่านจงดำรงไว้ ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม"
ดังนั้น สิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ก็คือการประดิษฐ์มาใหม่ในศาสนานั่นเอง แต่ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ หากมันสอดคล้องกับหลักการของอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และหลักการของศาสนา ก็ย่อมถึอว่าเป็นสิ่งที่ดี และท่านนบี(ซ.ล.) ก็เรียกมันว่า "ซุนนะฮ์" และคำว่าซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ บางครั้งก็เรียกว่า "บิดอะฮ์ที่ดี" เสมือนกับที่ท่านอุมัรกล่าวไว้ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)นี้"
ดังนั้น ซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ก็คือ ซุนนะฮ์ในเชิงเปรียบเทียบ ( سنة قياسية ) คือเปรียบเทียบกับ ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) คือเมื่อบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้วางแนวทางเอาไว้ โดยสอดคล้องกับซุนนะฮ์หรือหลักการศาสนา ก็ถือว่า เป็นซุนนะฮ์ที่เปรียบเทียบเหมือนกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) นั่นเอง และบรรดาอุลามาอ์หลังจากบรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ได้เดินตามแนวทางดังกล่าวเฉกเช่นกับซอฮาบะฮ์ โดยยึดคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า
من سن فى الإسلام سنة حسنة...
"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..."
ดังนั้น คำว่า "من" นี้ ให้ความหมายที่ عموم ครอบคลุม โดยไม่จำกัด "การกระทำขึ้นในอิสลาม กับหนทางที่ดี" เพียงแค่อุลามาอ์ยุคสะลัฟเพียงอย่างเดียวนั้น และดังกล่าวย่อมเป็นการแช่แข็งกับตัวบทอย่างชัดเจน โดยที่ตัวบทหะดิษที่ชัดเจนนี้นั้นก็มีความหมายปฏิเสธสิ่งดังกล่าว และมันเป็นการวางจำกัดข้อแม้กับตัวบทโดยปราศจากหลักฐาน เนื่องจากการกระทำแนวทางที่ดีนั้น หากมันอยู่ในหลักการหรือภายใต้หลักศาสนาแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องอยู่ในกรอบของหลักการศาสนา และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาวางเอาไว้ ไม่ใช่จะทำกันง่ายๆตามใจชอบ ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ใช่ง่ายๆเลย
ดังนั้น คำว่า ซุนนะฮ์ ในหะดิษนี้ ไม่ใช่ความหมายในเชิงศาสนา ที่หมายถึง คำกล่าว การกระทำ การยอมจาก ที่ออกมาจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่ คำว่า ซุนนะฮ์นี้ มันอยู่ในความหมายในเชิงภาษา หมายถึง "การริเริ่มทำกับหนทางที่ดี"
แต่ในหะดิษนี้ อยู่ในความดีในเรื่องของ "บริจาคทาน" ซึ่งการบริจาคท่าน เป็นสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา ดังนั้นการริเริ่มกระทำการ บริจาคท่าน ก็คือการ ริเริ่มในการกระทำสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่เราจะเจาะจงหรือแช่แข็งหะดิษโดยจำกัดเพียงแค่เรื่องการริเริ่มกระทำความดีด้วยการบริจาคทานอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เนื่องจากมีหลักการที่ตรงกันว่า
العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب
"การพิจารณานั้น ด้วยความหมายที่ครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะที่สาเหตุ"
ดังนั้น การริเริ่มกระทำสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นความดี และมีรากฐานจากหลักการของศาสนาและไม่ขัดกับหลักการของศาสนา แน่นอนว่า สิ่งนั้น ย่อมเป็นแนวทางที่ดี
ฉนั้น คำว่า سَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา) ได้มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตีความหมายว่า "เป็นฟื้นฟู" นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์ปัจจุบัน ที่พยายามตีความหมายเป็นอย่างดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า سَنَّ นั้น คือการริ่เริ่มทำขึ้นมาใหม่ الإبتداء และการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ الإختراع อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
فيه : الحث على الابتداء بالخيرات وسن السنن الحسنات ، والتحذير من إختراع الأباطيل والمستقبحات...
ในหะดิษนี้ ได้ส่งเสริมให้ทำการริเริ่มขึ้นมาด้วยการกระทำบรรดาความดีงาม และกระทำขึ้นมา กับบรรดาแนวทางทางที่ดี และเตือนให้ระวัง จากการประดิษฐ์บรรดาสิ่งที่เป็นโมฆะและสิ่งที่น่ารังเกียจ และสาเหตุที่นบี(ซ.ล.)กล่าวในหะดิษนี้ คือในช่วงแรกผู้รายงานกล่าวว่า " ได้มีชายคนหนึ่ง(ที่ยากจนแล้วบรรดาซอฮาบะฮ์ก็บริจาคทำการช่วยเหลือ) ได้นำถุงกระสอบหนึ่งที่มือของเขายกเกือบไม่ไหว แล้วบรรดาผู้คนก็ติดตาม(บริจาคให้อีก)" ดังนั้น ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ริเริ่ม ด้วยการทำความดีนี้ และสำหรับผู้ที่เปิดประตูของการกระทำความดีงามนี้ และในหะดิษนี้ ได้มาتخصيص ทอนความหมายคำหะดิษท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่กล่าวว่า
كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة
"ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น บิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"
โดยที่จุดมุ่งหมายของหะดิษนี้ ก็คือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่ที่เป็นโมฆะและบรรดาบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น (สำหรับบิดะฮ์ที่ดีนั้นไม่ถูกตำหนิ)..." (ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 4 หน้า 113 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1415- ค.ศ. 1994)
เป้าหมายของหะดิษนั้น คือเป้าหมายตามทัศนะของเรา ที่เอามาจากการอธิบายของ อุลามาอ์ของโลกอิสลาม ดังนั้น อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามให้ความคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) ไม่ใช่ให้ความหมายบิดเบือน ว่า أحيا (ฟื้นฟู) ตามที่ผู้คัดค้านนี้ได้ให้ความหมายกัน เพื่อหลีกหนี การตีกซีร หะดิษ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตั้งแต่ 1400 กว่า ปี ที่ให้ความหมายคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู)
ดังนั้น การอธิบายคำว่า سَنَّ นั้น หมายถึง أبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) นั้น
1. เพราะมันเป็นเจตนารมณ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ที่อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามตั้งแต่ 1400 กว่าปี ได้เข้าใจกัน
2. การให้ความหมายว่า "ริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น เป็นอธิบายที่ตรงกับหลักภาษาอาหรับ ของคำว่า سَنَّ
3. การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง "การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ย่อมเป็นการอธิบาย تفسير หะดิษตามอุลามาอ์หะดิษผู้ปกป้องซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ไม่มีอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม อธิบาย تفسير คำว่า سَنَّ ให้อยู่ในความหมาย أحيا (ฟื้นฟู)
2. การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง "การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความ تأويل เนื่องจากการตีความนั้น หมายถึง การผันคำเดิมให้อยู่ในความหมายอื่นที่สอดคล้องกับที่เจ้าของภาษาอาหรับเขาใช้กัน แต่การกล่าวว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู) นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความ เนื่องจากเจ้าของภาษาอาหรับ เขาไม่เคยใช้คำว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู)
3. เมื่อคำว่า سَنَّ ไม่ได้ถูกอธิบายให้อยู๋ในความหมายว่า أحيا (ฟื้นฟู) ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม และเมื่อไม่ใช่การเป็นตีความแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า การให้ความหมายคำว่า سَنَّ หมายถึง أحيا (ฟื้นฟู) นั้น คือการ تحربف บิดเบือน ความหมายของหะดิษ บิดเบือนหลักภาษาอาหรับ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนตั้งแต่ 1400 ร้อยกว่าปี
จริงอยู่ว่า หะดิษนี้ ได้กล่าวถึงเรื่อง การศอดะเกาะฮ์ แต่การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวหะดิษนี้นั้น ไม่ใช่เพราะเรื่องศอดะเกาะฮ์เป็นการเจาะจง แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าว เนื่องจากมีชายคนหนึ่งได้ทำการริเริ่มในการทำขึ้นมากับความดี (ด้วยการศอดะเกาะฮ์)ขึ้นมา ดังที่มีหะดิษสายรายงานอื่น รายงานยืนยันไว้ว่า
وعن حذيفة قال سأل رجل على عهد رسول الله عليه وسلم فأمسك القوم ثم أن رجلا أعطاه فأعطاه القوم فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم من سن خيرا فأستن به كان له أجره ومن أجور من تبعه غير منتقص من أجورهم شيئا ومن سن شرا فاستن به كان عليه وزره ومن أوزارمن تبعه غير منتقص من أوزارهم شيئا . رواه أحمد والبزار والطبرانى فى الأوسط ورجاله رجال الصحيح إلا أبا عبيدة بن حذيفة وقد وثقه إبن حبان
"รายงานจาก หุซัยฟะฮ์ เขากล่าวว่า มีชายคนหนึ่งได้ทำการขอ(ซอดะเกาะฮ์) ในสมัยท่านนบี(ซ.ล.) และกลุ่มผู้คนเหล่านั้น ไม่ยอมให้ หลังจากนั้น มีชายผู้หนึ่ง ได้ทำการให้(บริจาค)กับเขา(ชายผู้มาขอซะดาเกาะฮ์) ดังนั้น บรรดากลุ่มผู้คนเหล่านั้น จึงทำการ(บริจาคทาน)ให้แก่เขา แล้วท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็กล่าวว่า "ผู้ใดที่ริเริ่มขึ้นมากับการทำความดี แล้วก็ถูกเจริญตามด้วยกับความดีนั้น ผลตอบแทนก็จะมีให้แก่เขา และจากบรรดาผลตอบแทนของผู้ที่ได้เจริญรอยตามเขา โดยการตอบแทนของพวกเขานั้น ไม่ได้ลดย่อนลงไปเลยสักสิ่งเดียว และผู้ใดที่ริเริ่มกระทำขึ้นมา กับความชั่ว แล้วความชั่วนั้นได้ถูกกระทำตาม ผลบาปก็จะตกอยู่บนเขา และจากบรรดาบาปของผู้ที่กระทำตามเขา โดยไม่บาปของพวกเขา ไม่ได้ลดย่อนลงเลยสักสิ่งเดียว" รายงานโดย อิมามอะหฺมัด ท่านอัลบัซฺซฺาร และท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ใน มั๊วะญัม อัลเอาสัฏ และบรรดานักรายงานของท่านอัฏฏอบรอนีย์นั้น เป็นนักรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ นอกจาก อบู อุบัยดะฮ์ บิน หุซัยฟะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุหิบบาลนั้น ถือว่า เขาเชื่อถือได้ (ดู มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 1 หน้า 167 )
ดังนั้น คำว่า سَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า "ริเริ่มกระทำขึ้นมา" ซึ่งหากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมอยู่บนทางนำ และหากอยู่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง
หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่า سَنَّ นั้น อยู่ในความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า
من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه
"ผู้ใดที่ได้ سن กับแนวทางที่ดี : คือ และทุกๆผู้ที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ปฏิบัติด้วยมัน(คือด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวด سن )
และการฟื้นฟูซุนนะฮ์นะนั้น ย่อมมีหลักฐานที่เป็นเอกเทศของมันอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปตีความหะดิษ "من سن في الإسلام سنة حسنة " แต่อย่างใด เช่น
ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ได้รายงาน จาก ท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า
من دعا إلى هدى كان له من الأجر مثل أجور من تبعه لا ينقص ذلك من أجورهم شيئا ، ومن دعا إلى ضلالة كان عليه من الإثم مثل آثام من تبعه لا ينقص ذلك من آثامهم شيئا
"ผู้ใดที่เรียกร้องไปสู่ทางนำ แน่นอน ย่อมมีผลตอบแทนแก่เขา เหมือนบรรดาการตอบแทนของผู้ที่เจริญตาม โดยดังกล่าวนั้น จะไม่ลดน้อยสักสิ่งใดเลย จากบรรดาผู้การตอบแทนของพวกเขา และผู้ใดที่เรียกร้องไปสู่ความลุ่มหลง แน่นอน ย่อมมีบาปบนเขา ซึ่งเสมือนกับบรรดาบาปของผู้ที่เจริญตาม โดยสิ่งดังกล่าวนั้น จะไม่ลดน้อยสักสิ่งเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" รายงานโดยมุสลิม
รายงานจากอบีมัสอูด อัลอันซอรีย์ จากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า
من دل على خير فله مثل أجر فاعله
"ผู้ใด ได้ชี้แนะบนความดีหนึ่ง ดังนั้น ให้กับเขา ก็เหมือนกับผู้ตอบแทนของผู้กระทำ" รายงานโดยมุสลิม
รายงาน กะษีร บิน อับดิลลาฮ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من أحيا سنة من سنتي قد أميتت بعدي فإن له من الأجر مثل من عمل بها من غير أن ينقص من أجورهم شيئا ، ومن ابتدع بدعة ضلالة لا ترضي الله ورسوله كان عليه من مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزار الناس شيئا
"ผู้ใดที่ฟื้นฟูซุนนะฮ์หนึ่ง จากซุนนะฮ์ของฉันที่ได้ตายไป หลังจากฉัน แท้จริงแล้ว ย่อมเขาย่อมมีผลตอบแทน เสมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยไม่ลดย่อนลงสิ่งใดเลย จากผลการตอบแทนของพวกเขา และผู้ใดที่อุตริบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง โดยที่ไม่ทำให้พึงพอพระทัยกับอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์นั้น เขาย่อมได้รับผลกรรม เหมือนกับบรรดาบาปของผู้ที่กระทำมันโดยสิ่งดังกล่าวไม่ทำให้ลดย่อนกับสิ่งใดเลยจากบรรดาบาปของมนุษย์" รายงานโดย ท่านติรมิซีย์ และอิบนุมาญะฮ์
อาจจะมีผู้คัดค้านกล่าวว่า หะดิษ "ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." นี้ คือ "จำกัดและเจาะจงสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์และบรรดาคอลิฟะฮ์ได้วางแนวทางไว้แล้วเท่านั้น" เราขอตอบว่า หะดิษดังกล่าว ย่อมมีความชัดเจนและครอบคลุมอยู่แล้ว ในการริเริ่มส่งเสริม กระทำบรรดาแนวทางที่ดีงามโดยที่ไม่ได้จำกัดว่า จะเป็นคนศตวรรษใหนเป็นการเฉพาะ ดังนั้นการวางเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงกับการกระทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาโดยจำกัดเพียงแต่สมัยซอฮาบะฮ์อย่างเดียวนั้น ถือว่าเป็นการวางเงื่อนไขเจาะจงที่ปราศจากหลักฐาน
และอาจจะมีผู้คัดค้านอีกว่า หะดิษ"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." นี้ หมายถึง "การที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์และกระทำสิ่งหนึ่งที่ ที่เป็นเรื่องของดุนยา หรือหนทางต่างๆที่มีประโยชน์ และแนวทางที่เลว นั้น คือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์กระทำขึ้นมา บนหนทางที่อันตรายและเลวร้าย" เราขอตอบว่า การที่พวกเขาจำกัดสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ที่ยอมรับได้เพียงแค่รูปแบบของเรื่องของดุนยานั้น เป็นการเจาะจงหรือทอนความหมายของหะดิษ โดยไม่มีสิ่งที่มาทอนความหมายหรือเจาะจงกับมันเลย ซึ่งตามหลักวิชาการนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้โดยเด็ดขาด
หะดิษดังกล่าว ระบุว่า "ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." ดังนั้น คำว่า "ในอิสลาม" นี้ ย่อมไม่มีความใด นอกจากศาสนาอิสลาม ที่อัลเลาะฮ์ทรงพอพระทัยด้วย
ดังนั้น ความหมายที่ชัดเจนของหะดิษดังกล่าวนั้น คือทุกๆสิ่งที่ริเริ่มกระทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา หรือดุนยา หะดิษดังกล่าว ย่อมครอบคลุ่มถึงทั้งหมด ซึ่งหากสิ่งใดที่กระทำขึ้น โดยสอดคล้องกับหลักศาสนา สิ่งนั้นย่อมเป็นแนวทางที่ดี และสิ่งใดที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยที่ขัดกับหลักการของศาสนา สิ่งที่นั้นย่อมเป็นแนวทางที่เลว และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้นจะทำขึ้นมาไม่ได้นอกจากต้องมีเงื่อนไขที่รัดกุม
หมายเหตุ
นั่นแหละครับ ที่บังอัลฟารูก บอกให้เราสนทนาเรื่องบิดอะฮ์ให้เคลียร์ก่อน การสนทนาจะได้ไปได้สะดวกยิ่งขึ้น อัลหัมดุลิลลาห์ _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-azhary มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005 ตอบ: 573 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 16, 2006 12:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณอะดีล ผู้รักนบีแต่เพียงลมปาก ไปใหนแล้ว ทำไมไม่สนทนาชี้แจงสิ่งที่ผมและบังอัลฟารูกได้นำเสนอไป ซึ่งหากคุณไม่ชี้แจงสนทนาเรื่องความรักตามซอฮาบะฮ์คือการรักท่านนบี(ซ.ล.)ที่เรานำเสนอไปแล้ว จึงไม่ผิดอะไรทั้งนั้น หากที่กล่าวว่า" คุณอะดีลรักนบีแค่ลมปาก"
การสนทนาเรื่องทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบีนี้ เรายังไม่พูดถึงหลักฐานนะครับ แต่เรากำลังพูดถึงหลักการทั่วๆ ไปก่อน เช่น หากสะลัฟไม่ทำนั้นหลักการเป็นอย่างไร? บิดอะฮ์เป็นอย่างไร? อะไรคือเมาลิด? อิบาดะฮ์ต้องมีรูปแบบตายตัวหรือไม่? เป็นต้น ส่วนหลักฐานเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบีนั้น บังอัลฟารูกจะนำเสนอเป็นฉากๆ เป็นหลักฐานๆ ไปเรื่อยๆเพื่อให้วะฮาบีย์ทำการสนทนาในเชิงวิชาการ
ส่วนประเด็นที่บอกว่า ทำเมาลิดแล้วมีหนังสือชีอะฮ์ขาย นั้น เขาไม่เรียกว่าเป็นการสนทนาในเชิงวิชาการ มันเป็นประเด็นนอก ไม่ใช่ประเด็นหลัก ดังนั้น เราต้องคุยประเด็นหลักก่อน แล้วก็คุยประเด็นปลีกย่อยเพื่อเราจะได้นำเสนอแก้ปัญหากัน เช่นมีการปนหญิงชาย มีการกระทำสิ่งที่ผิดหลักอิสลามเกิดขึ้นในการจัดเมาลิด เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ มันเป็นประเด็นปลีกย่อย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี ซึ่งเราจะทำการวิจารณ์ออกความเห็นแก้ไขกันต่อไป
ดังนั้น การเสวนาเรื่องเมาลิด ก็ขออยู่ในเชิงวิชาการจริงๆ แล้วเราก็จะได้รู้ว่า วะฮาบีย์หรืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ที่ออกอาการเฉไฉ เลี่ยงประเด็น ลงคู และเข้าป่าก่อนกัน ฮ่าๆ ผู้อ่านก็ต้องรอดูสทนาว่าฝ่ายใดจะอยู่ในวิชาการมากกว่า _________________ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|