ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮฺหรือ (ภาค2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮฺหรือ (ภาค2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 10:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

คุณให้ร้ายอิบนิตัยมียะฮ หรือเปล่า ใหนลอง เอาข้อความในหนังสืออิบนิตัยมียะฮของแท้ ที่เป็นภาษาอาหรับมานำเสนอหน่อย ว่าตรงกับทุกถ้อยคำที่คุณกล่าวหรือเปล่า

ตอบ

บังอะสันครับ งั้นผมจะรับหน้าที่เอาข้อความในหนังสือของอิบนุตัยมียะฮ์เองนะครับ และที่เป็นภาษาอาหรับด้วย แต่ผมจะนำเสนอ ในช่วง ที่ 4 จากการนำเสนอหลักการของกลุ่มอัลมุญัสสิมะฮ์ ซึ่งดังกล่าวนี้ อิบนุตัยมียะฮ์มีบทบาทอย่างมาก แล้วเราก็จะสนทนาอ้างอิงกันแบบรายละเอียดเลยทีเดียวครับ


อ้างจากบังอะสัน

อบูหะซัน อัล-อัชอะรี ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านในบั้นปลายชีวิต ชื่อ อัล-อิบานะฮ อะลาอุศูลิดดิยานะ บทที่ 5 ว่าด้วย

ذكر الاستواء على العرش ว่า
إن قال قائل: ما تقولون في الاستواء؟
قيل له: نقول ؛ إن الله عز وجل يستوي على عرشه استواء يليق به من غير طول استقرار، كما قال {الرحمن على العرش استوى}

ถ้ามีผู้กล่าวว่า “พวกท่านจะกล่าวว่าอย่างไร ในคำว่า อัลอิสติวาอฺ ? ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า “ เรากล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงอยู่บนอะรัชของพระองค์ อันเป็นการประทับ ที่เหมาะสมกับพระองค์ โดยไม่ได้สถิตอยู่เป็นเวลายาวนาน ดังที่พระองค์ตรัสว่า “ พระผู้ทรงเมตตาทรงสถิตอยู่บนบัลลังค์”


ตอบ

มันผิดพลาดที่ผมเอง ที่ไม่ยอมชี้แจงคำบิดเบือนของ วะฮาบีย์ ที่ยังลอยนวลกล่าวว่า หนังสือ อัล-อิบานะฮ์ ของท่านอิมาม อัล-อัชอะรีย์ นี้ คือเล่มสุดท้าย ซึ่งข้อมูลชี้แจงข้อเท็จจริงในเชิงวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น (แต่วะฮาบีย์กล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐาน) มันอยู่ในสมุดบันทึกของผมมาหลายเดือนแล้ว แต่ไม่มีเวลาถอดออกมาเป็นภาษาไทย เนื่องจากประเด็นอื่นๆมันจำเป็นมากกว่า

และคำอ้างอิงของบังอะสัน ที่เอามาจากหนังสือ อัลอิบานะฮ์ฉบับวะฮาบีย์ตีพิมพ์นั้น ผมไม่ทราบว่าบังอะสันนำเสนอมาเพื่ออะไร เพื่อให้เราเชื่อตาม และบังอะสันก็เชื่อตามในนั้นหรือเปล่า?? ลองมาดูคำๆนี้

من غير طول استقرار

"โดยไม่ได้สถิตอยู่เป็นเวลายาวนาน"

นี่มันมีความหมายอย่างไรครับ ผมไม่เข้าใจจริงๆ และบังอะสันเชื่ออย่างนี้ด้วยหรือเปล่าเนี่ย ผมเห็นอ้างมาสะเปะสะปะเหลือเกิน หนังสืออัลอิบานะฮ์ฉบับวะฮาบีย์ตีพิมพ์ บอกว่า"อัลเลาะฮ์สถิตโดยไม่นาน" คือสถิตแบบชั่วคราวว่างั้นเถอะ คืออัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะ(ซีฟัต) แบบชั่วคราว ไม่ทรงถาวร ไอ้ของชั่วคราวเนี่ย มันเป็นคุณลักษณะของมัคโลคนะครับบังอะสัน ยังไงก็ช่วยอธิบายหน่อย เพราะผมไม่เข้าใจ ความรู้มันน้อยนะครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 10:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมลืมหลักฐานสำคัญ ในเรื่องการปฏิเสธความที่อัลเลาะฮ์ทรงมีสถานที่ ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าผมลืมไปได้อย่างไร? ที่ยกเพียงแต่หลักฐานจากซุนนะฮ์ นี่แหละเขาเรียกว่ามนุษย์

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของอายะฮ์ดังกล่าวมานั้น ก็ขอมอบหมายให้กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ซึ่งพระองค์ไม่ทรงอยู่ในความหมายแบบผิวเผินที่ พระองค์ทรงมีสถานที่อยู่บนฟากฟ้าและนั่งอยู่อะรัช หากพระองค์ทรงอยู่(ใน)บนฟากฟ้าและนั่ง(ประทับสถิต)อยู่บนอะรัช นั้น ก่อนที่พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและอะรัช พระองค์ทรงอยู่ที่ใหน? ซึ่งคำถามเชิงสติปัญญาที่ดีๆนี้ ท่านอบูหะนีฟะฮ์(ร.ฏ.) ซึ่งเป็นอุลามาอ์สะลัฟ ก็ได้เคยถามแบบนี้ด้วยเช่นกัน และหากพระองค์ทรงนั่งสถิตโดยมีน้ำหนักอึ้ง (ตรงนี้ผมได้นำเสนอไปแล้วจากหนังสือของอิบนุตัยมียะฮ์) ก็แสงว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะ ที่เหมือนกับมัคโลค คือมีสถานที่นั่ง และพระองค์ก็ทรงคล้ายเหมือนกับมัคโลคที่มีน้ำหนัก โดยนั่งแนบกับอะรัช ดังนั้นพระองค์ไม่ทรงมีทิศและมีสถานที่ เนื่องจากสิ่งดังกล่าวนั้น มันทำให้อัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะคล้ายคลึงเหมือนกับมัคโลค

ดังนั้น หลักฐานในการที่อัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์ปราศจาก สถานที่และทิศ นั้น มีดังนี้

หลักฐานจากอัลกุรอาน

1. อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

ليس كمثله شيء

"ไม่มีสิ่งใด มาคล้าย เหมือนกับพระองค์" อัช-ชูรอ 11

จากอายะฮ์ ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์(ซ.บ) ไม่ทรงคล้าย และเหมือนกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากบรรดามัคโลคทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนทางใด หนทางหนึ่งก็ตาม ซึ่งในอายะฮ์นี้นั้น ได้ปฏิเสธการเหมือนและการคล้ายคลึงไปพร้อมๆกัน ดังนั้นพระองค์จึงไม่ต้องการไปยังสถานอยู่ และทิศ ที่พระองค์เอาที่อยู่ในมัน แต่พระองค์นั้น ทรงอยู่ เสมือนกับท่าน ซัยยิดินา อลี (ร.ฏ.) กล่าวว่า " อัลเลาะฮ์ทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ และพระองค์ในขณะนี้นั้น ก็ทรงอยู่บนลักษณะที่พระองค์เคยมีอยู่" รายงานโดย อบู มันซูน อัลมะตูริดีย์ และในหลักฐานนี้ เป็นสิ่งยืนยันสำหรับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ว่า พระองค์ทรงแตกต่างกับบรรดามัคโลค ที่ถูกสร้างขึ้มา

และอายะฮ์นี้ ทำให้เราเข้าใจว่า พระองค์ทรงบริสุทธิ์การเหมือนและคล้ายบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างมาทั้งหมดโดยทุกรูปแบบเลยทีเดียว เนื่องจากพระองค์ใช้คำว่า " شيىء " (สิ่ง) ที่อยู่ในตำแหน่งของการปฏิเสธด้วย" ليس " ดังนั้น คำ نكرة (คำว่า شيىء ) นั้น อยู่อยู่ในประโยคสำนวนการปฏิเสธ ย่อมให้ความหมายที่ "ครอบคลุม" ในทุกสิ่งและทุกรูปแบบ ดังนั้น อัลเลาะฮ์(ซ.บ) ก็ทรงปฏิเสธ การคล้ายคลึงกับบรรดามัคโลคอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการคล้ายคลึง ในเชิงเป็นตัวตน วัตถุ มีร่างกาย มีอวัยวะ พระองค์ทรงเป็นโดยไม่มีวิญญาณ ไม่ทรงนิ่ง และเคลื่อนไหว พระองค์ไม่ทรงเหมือนกับบรรดาวัตถุ ที่อยู่ข้างบนและอยู่ข้างล่าง พระองค์จะไม่ถูกจำกัดสถานที่ ไม่ทรงมีระยะทาง ใกล้และไกล

ดังนั้น พระองค์จึงไม่มีคุณลักษณะอย่างนี้ แต่พระองค์ทรงมี ทรงเป็น ..ทรงเห็น ทรงพูด ทรงเห็น ทรงได้ยิน ทรงดำรงค์ด้วยพระองค์เอง ทรงมีความสามารถ ทรงรอบรู้ และมีคุณลักษณะอื่นอีกมากมายที่ไม่มีผู้รู้ได้นอกจากอัลเลาะฮ์ และพระองค์ก็ทรงมีคุณลักษณะอื่นๆ ที่ไม่มีผู้ใดรู้จุดมุ่งหมายของมันได้ นอกจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) องค์เดียวกันเท่านั้น
2. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

ولله المثل الأعلى

" และสำหรับอัลเลาะฮ์ ย่อมมีคุณลักษณะอันสูงส่งที่สุด " (อันนะหฺลิ 60)

คือ อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงมีคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกับสิ่งอื่นๆจากพระองค์ และพระองค์ทรงไม่มีคุณลักษณะ เหมือนกับบรรดาคุณลักษะของมัคโลค เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการ การมีที่อยู่ในสถานที่ หรืออาศัยอยู่บนบันลังก์ ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่

ท่านอบู หิยาน อัล-อันดะลูซีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า

ولله المثل الأعلى

" และสำหรับอัลเลาะฮ์ ย่อมมีคุณลักษณะอันสูงส่งที่สุด " (อันนะหฺลิ 60) หมายถึง พระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สูงส่งยิ่ง จากการที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการมีบุตร มีภรรยา และทั้งหมดสิ่งที่บรรดาพวกกาเฟรได้พาดพิงถึงพระองค์ กับสิ่งที่ไม่บังควร เช่น ยืนยันการตัชบีหฺ คล้ายคลึง(ให้กับอัลเลาะฮ์) มีการเคลื่อนไหว และพระองค์ทรงปรากฏ อยู่ใน รูปแบบหนึ่ง" ( ดู อันนะฮ์รุลมาดฺ ยุซ 2 หน้า 253)

3. พระองค์ทรงตรัสว่า

فلا تضربوا لله الأمثال

" และพวกท่านทั้งหลาย อย่ายกข้อเปรียบเปรยต่างๆแก่อัลเลาะฮ์" (อันนะหฺลิ 74)

หมายถึง พวกท่านอย่า ยืนยันการคล้ายคลึงและการเหมือนของพระองค์กับบรรดามัคโลค เนื่องจากพระองค์ทรงไม่มีสิ่งใดมาเหมือนและคล้ายคลึงกับพระองค์ ดังนั้น ซฺาต ของพระองค์นั้น จึงไม่คล้ายกับบรรดาตัวตนต่างๆ และคุณลักษณะของพระองค์ ก็ไม่คล้ายคลึงกับบรรดาคุณลักษณะของมัคโลค

4. พระองค์ทรงตรัสว่า

هل تعلم له سميا

" เจ้ารู้ว่ามีผู้เทียบเหมือนกับพระองค์กระนั้นหรือ?" (มัรยัม 65)

ดังนั้น อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงไม่มีสิ่งใด มาเทียบเหมือน คล้าย และเสมอเหมือนกับพระองค์ ฉะนั้น ผู้ใดที่พรรณาคุณลักษณะของพระองค์ ด้วยกับบรรดาคุณลักษณะของมนุษย์ เช่นมีการนั่ง การยืน การสถิตอยู่ เขาก็ย่อมสร้างความคล้ายคลึงให้กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และผู้ใดกล่าวว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรง อยู่บนอะรัช หรือนั่งเต็มสถานที่อยู่บนอะรัช เขาย่อมทำให้อัลเลาะฮ์คล้ายคลึงกับบรรดามะลาอิกะฮ์ที่อาศัยอยู่บนบรรดาฟากฟ้าทั้งหลาย และการเชื่ออย่างนี้นั้น ถือว่ากุฟุร วัลอิยาซูบิลลาห์ เนื่องจากเขาได้โกหก คำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

ليس كمثله شيء

"ไม่มีสิ่งใด มาคล้าย เหมือนกับพระองค์" อัช-ชูรอ 11

هل تعلم له سميا

" เจ้ารู้ว่ามีผู้เทียบเหมือนกับพระองค์กระนั้นหรือ?" (มัรยัม 65)

5. ส่วนหนึ่งจากอายะฮ์ที่บ่งถึงพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสถานที่ นั้นคือ พระองค์ทรงตรัสว่า

وهو الأول والأخر والظاهر والباطن

"พระองค์ทรงเป็นองค์แรก พระองค์ทรงเป็นองค์สุดท้าย พระองค์ทรงเป็นภายนอก และพระองค์ทรงเป็นภายใน" (อัล-หะดีด 3)

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า " ไม่มีสิ่งใด ที่จะใกล้ไปยังสิ่งหนึ่ง ยิ่งไปกว่า(การใกล้ของ)อัลเลาะฮ์ เหมือนกับที่พระองค์ทรงตรัสว่า "และเราใกล้ยิ่ง ไปยังเขา มากกว่าเส้นเอ็นที่ต้นคอ" (ดู ตัฟซีร ญาเมี๊ยะอฺ อัล-บะยาน ของท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ยุซฺ 27 หน้า 215)

ดังนั้น ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ได้ปฏิบัติ การใกล้แบบรูปธรรมจริงๆ (คือใกล้ด้วยซาตฺของพระองค์) เหมือนกับที่พวก อัล-มุญัสสิมะฮ์ได้กล่าวไว้ แต่ท่านอัฏฏ๊อบรีย์ไม่ได้ปฏิเสธการใกล้แบบนามธรรม ซึ่งอันนี้ ก็เป็นหลักฐานชี้ชัดว่า อัลเลาะฮ์ ไม่ทรงมีสถานที่และทิศ

6. พระองค์ทรงตรัสว่า

ولم يكن له كفوا أحد

" และไม่เคยมีผู้ใดมาเทียบกับพระองค์"

หมายถึง พระองค์นั้น ไม่มีอะไรมาเทียบเหมือน กับพระองค์เลย ไม่ว่าจะด้วยหนทางหนึ่งหนทางใด และอายะฮ์นี้ ได้ถูกอธิบายโดยคำตรัสของอัลเลาะฮ์ที่ว่า

ليس كمثله شيء

"ไม่มีสิ่งใด มาคล้าย เหมือนกับพระองค์" อัช-ชูรอ 11


นั่นคือหลักฐาน ของอุลามาอ์ส่วนมากของอุมมะฮ์อิสลาม ส่วนหลักฐานจากหะดิษ และอิจญฺมาอ์ นั้น ผมก็ได้นำเสนอไปแล้วครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 10:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึง คุณ คนอยากรู้

salam

สิ่งที่คุณได้นำเสนอมานั้น ดีมากมายครับ ซึ่งบางครั้ง วะฮาบีย์เขานำเสนอมาเยอะ ผมจำต้องชี้แจงเยอะเหมือนกัน และสิ่งที่ผมนำเสนอตอบไปนั้น บางครั้งผู้อ่านอาจจะอ่านไม่หมด หรือว่าอ่านแล้ว ลืมหลัง มีคุณเคยสรุปรวบยอดอย่างชัดเจนอย่างนี้ ผมคิดว่ามันดีมากเลยทีเดียวครับ อัลหัมดุลิลลาห์



wassalam

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Jan 29, 2006 12:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้ ผมเข้ามา ก็ไม่พบคำตอบของ ไออาเอฟจอมฉลาด และเป็นที่ชื่นชอบเชียร์ของวะฮาบีย์เลยครับ แต่กลับไปทำตัวอวดฉลาดใส่คนอื่นในกระทู้เรื่องบิดอะฮ์

ทวนคำถามเด็ด!! (ที่คุณไออาเอฟหลีกเลี่ยงที่จะไม่ตอบไม่ได้)

1. คุณแปลอีกว่า "โดยมิต้องตัดทอนใดๆ" ไปเอาสายรายงานที่มีความหมายจากคำพูดของบรรดาอุลามาอ์ทั้ง 3 ท่านมาจากใหน??

2. แล้วมีสะลัฟท่านใหนบ้างหรือที่บอกว่า "อัลอิสติวาอ์" ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์นั้น คือการนั่ง

3. แล้วคำว่า พระองค์หนักอึ้งนั้น มันเป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาเอาไว้ให้กับพระองค์เองหรือไม่? และผู้ที่กล่าวว่าพระองค์ทรงหนักอึ้งนั้น หุกุ่มว่าอย่างไร?

4. งั้นผมขอถามไออาเอฟเป็นกับดักหนูข้อที่อีก คือ" คำว่า""การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้" นี้ เป็นคำของอิมามมาลิกหรือไม่?

5. งั้นผมถามคุณไออาเอฟ ซึ่งเป็นคำถามที่ 6 ว่า "คำกล่าวของอบูหะนีฟะฮ์ที่คุณอ้างมานั้น อยู่ในหนังสือใดของท่านอบูหะนีฟะฮ์ ??

6. งั้นผมถาม คุณไออาเอฟ เป็นคำถามที่ 7 ว่า "ผู้ทีกล่าวว่าอัลเลาะฮ์มีนิ้ว เพราะนิ้วเป็นส่วน(อวัยวะ)จากมือของอัลเลาะฮ์ นั้น เขาเป็นกาเฟรหรือไม่??"

7. มีคำถามเป็นกับดักเบื่อหนู อีกครับ คือว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่าอัลเลาะฮ์ทรงนำท่านนบี(ซ.ล.)นั่งข้างๆบนอะรัชนั้น หุกุ่มกุฟุรหรือไม่??? และเพิ่มมาอีกข้อหนึ่งครับ

8. งั้นผมขอถามไออาเอฟเป็นกับดักหนูข้อที่อีก คือ" คำว่า""การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้" นี้ เป็นคำของอิมามมาลิกหรือไม่? หากไม่ตอบ คุณไออาเอฟก็จะถูกข้อหาบิดเบือนโกหกคำพูดใส่อิมามมาลิกเป็นกระทงต่อไป

Sad

คำถาม 8 ข้อนี้เป็นกับดักแมวครับ และให้เบื่อหนู ที่คุณไออาเอฟและวะฮาบีย์จำเป็นต้องตอบโดยหลีกเลี่ยงไม่พ้น (เหมือนกับที่เขาเคยพูดกับผมเอาไว้)

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 12:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความของน้องอัล-อัชฮารี
บังอะสันครับ การที่เราตีความนั้น ไม่ใช่เอากลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ มาเป็นบรรทัดฐาน และมันก็ไม่แปลก ที่บางประเด็นเราจะไปตรงกับกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ ซึ่งมั๊วะตะซิละฮ์นั้น เป้นกลุ่มชนมุสลิมครับ และบรรดาอากิดะฮ์ขอพวกเขานั้น ไม่ใช่จะผิดไปทั้งหมด ซึ่งมีทั้งถูกและมีทั้งผิด แต่ประเด็นเรื่อง อัลอิสติวาอ์นั้น เราเชื่อว่า พวกเขาก็มีความถูกต้อง

ตอบ
เพิ่งจะรู้นะ ว่าน้องบ่าวอัลอัชอารี สุดหล่อและสหาย ยอมรับและมีทัศนะว่า การตีความ ของมุอตะซิละฮ คำว่า อัล-อิสติวาอ์” ให้มีความหมายว่า อำนาจการปกครอง (استولى )นั้น ถูกต้อง
อยากจะถามว่า ทำไมอัลลอฮจะจึง ไม่ใช้คำว่า “‏whistling#8207; استوى على الأشياء เพราะพระองค์ทรงมีอำนาจครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง ทำไมมาใช้คำว่า استوى على العرش จึงชี้ให้เห็นว่า คำว่า “อัล-อิสติวาอฺ”ใน ประโยคที่
استوى على العرش เป็นความหมายที่เฉพาะกับคำว่า “ อัล-อัรชิ
ในอัล-กุรอ่านนั้น มีถ้อยคำที่แสดงถึงอุปมาอุปมัย อันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธ แต่.การที่จะเปลี่ยความหมายของ.คำที่อัล-กุรอานใช้นั้น จะต้องดูว่า อัสสุนนะฮ อธิบายไว้หรือเปล่า การไปเปลี่ยนความหมายเดิมของคำที่ปรากฏในคุณลักษณะที่เกี่ยวกับอัลลอฮ นั้น หากมีความจำเป็น ท่านนบี ศอลฯ จะต้องไม่ละเลยอย่างแน่นอน ซึ่งผมได้กล่าวเอาไว้หลายครั้งแล้ว ท่านอิหม่ามอัล-อัชอะรี ในช่วงแรกท่านก็มีทัศนะเหมือนกับพวกมุอตะซิละฮ แต่ในบั้นปลายชีวิต ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธ ความหมายอัล-อิสติวาอฺ ตามความหมายที่แท้จริงของมัน แต่ กลุ่มบุคคลเช่นน้องอัลอัซฮารีและสหาย ยอมรับในความหมายที่พวกมุอฺตะซิละฮ ได้ตีความ แต่พวกคุณก็โมเม เอาโลโก้ ของอิหม่ามอัลอัชอะรีมาติดไว้ แล้วมาย้อนถามว่า สลัฟคนใหน เขาบอกว่า “ประทับ”อยู่บนอะรัช แต่พอเรานำเสนอ คำพูดของอิหม่ามอัลอัชอะรี น้องอัล-อัชอะรีย์ ก็กล่าวหาว่า “พวกวะฮบีย์” ปลอมขึ้นมา
ความหมายคำว่า استوى على ในปทานุกรมอาหรับ-ไทย จัดพิมพ์โดย ส. วงเสงี่ยม แปลความหมายว่า นั่ง นั่งอย่างมั่นคง, ประทับ พวกเราก็ได้แปลตามความหมายนั้น พวกคุณก็หาว่า บิดเบือน

هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ

[3.7] พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโองการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน (เมื่อทุกคนได้อ่านหรือได้ฟังแล้วจะเข้าใจเหมือนๆกันโดยไม่ต้องตีความ) ซึ่งโองการเหล่านั้นคือรากฐานของคัมภีร์ (เป็นหลักสำคัญของคัมภีร์ที่มุ่งหมายให้เป็นความรู้ทั้งในหลักการศัทธาและในข้อปฏิบัติของมนุษย์และยังเป็นหลักยึดถือในการตีความโองการที่เป็นนัยอีกด้วย) และมีโองการอื่นๆอีกที่มีข้อความเป็นนัย (มีข้อความเป็นเชิงเปรียบเทียบ อาจเข้าใจได้หลายทาง ผู้ที่มีความรู้ในศาสนาของพระองค์อย่างกว้างขวางเท่านั้นที่จะเข้าใจในทางที่ถูกต้องได้) ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีความเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย (เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในหมู่ศรัทธาด้วยการตีความโองการที่เป็นนัยให้เฉออกไปจากความเป็นจริงที่พวกเขาเคยได้รับมาก่อน) และเพื่อการแสวงหาการตีความในโองการเท่านั้น (คือเพื่อแสวงหาการตีความไปตามเป้าหมายที่เขาต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจะขัดต่อความหมายของอายะฮที่ข้อความชัดเจนหรือไม่) และไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น (มีพื้นฐานความรู้อย่างมั่นคง เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ (ศิฟาต) และความมุ่งหมายในบทบัญญัติของพระองค์ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาที่เป็นโองการของพระองค์อย่างกว้างขวางด้วย) โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศัทธาต่อโองการนั่น ทั้งหมดนั้นมาจากที่ที่พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะได้รับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น - อาลิอิมรอน/7
…………….
ดังนั้น การพยายามตีความมาใช่เป็นการให้ผู้คนได้รับความจริง แต่ เป็นการให้เกิดฟิตนะฮ มากกว่า
قال ابن كثير في تفسيره (2/10) :

وَقَوْله تَعَالَى " وَابْتِغَاء تَأْوِيله " أَيْ تَحْرِيفه عَلَى مَا يُرِيدُونَ
และเพื่อการแสวงหาการตีความในโองการเท่านั้น (คือเพื่อแสวงหาการตีความไปตามเป้าหมายที่เขาต้องการ –ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 10

عَنْ عَائِشَة رَضِيَ اللَّه عَنْهَا قَالَتْ : تَلَا رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هَذِهِ الْآيَة " هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْك الْكِتَاب مِنْهُ آيَات مُحْكَمَات " إِلَى قَوْله " وَمَا يَذَّكَّر إِلَّا أُولُو الْأَلْبَاب " قَالَتْ : قَالَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " فَإِذَا رَأَيْتُمْ الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ فَأُولَئِكَ الَّذِينَ سَمَّى اللَّه فَاحْذَرُوهُمْ

จากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ)กล่าวว่า “ท่านรซูลุลลอฮ(ศอลฯ)ได้อ่านอายะฮนี้คือ “พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโองการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน - จนถึงถ้อยคำที่ว่า “และไม่มีใครที่จะได้รับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น” นางได้กล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอลฯกล่าวว่า “เมื่อพวกท่านเห็น บรรดาผู้ที่ติดตามสิ่งที่มีความหมายเป็นนัย จากนั้น พวกเขาเหล่านั้นคือ บรรดาผู้ที่อัลลอฮได้ทรงกล่าวถึง ดังนั้นจงระวังพวกเขาเถิด – รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม - ดู ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 10

عَنْ سُفْيَان , عَنْ جَابِر , عَنْ مُجَاهِد , عَنْ اِبْن عَبَّاس , قَالَ : { الرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ } قَالَ : الرَّاسِخُونَ الَّذِينَ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلّ مِنْ عِنْد رَبّنَا

จาก ซุฟยาน, จาก ญาบีร , จากมุญาฮิด และอิบนุอับบัส กล่าวว่า (อายะฮที่ว่า)บรรดาผู้ที่มีความมั่นคงในความรู้ พวกเขากล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น - โดยกล่าวว่า “บรรดาผู้ที่มี มีความมั่นคง ทีพวกเขากล่าวว่า เราศรัทธาในต่อโองการนั้น ทั้งหมดมาจากพระผู้อภิบาลของเรา
- ตัฟสีรอัฏอ็บรีย์


فِي قِرَاءَة عَبْد اللَّه بْن مَسْعُود إِنْ تَأْوِيله إِلَّا عِنْد اللَّه وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ وَكَذَا عَنْ أُبَيّ بْن كَعْب وَاخْتَارَ اِبْن جَرِير هَذَا الْقَوْل

แท้จริงในกิรออะฮ อับดุลลอฮ บุตรมัสอูด คือ ไม่มีการตีความมัน นอกจาก ณ ที่อัลลอฮ และบรรดาผู้ที่มีความในความรู้ พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น และจากอุบัย บุตร กะอับ ก็ในทำนองเดียวกันนั้น และท่านอิบนุญะรีร ก็ได้เลือกทัศนะนี้ - ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 10

عَنْ اِبْن طَاوُوس عَنْ أَبِيهِ قَالَ : كَانَ اِبْن عَبَّاس يَقْرَأ : وَمَا يَعْلَم تَأْوِيله إِلَّا اللَّه وَيَقُول الرَّاسِخُونَ آمَنَّا بِهِ
จากอิบนิฏอวูส จากบิดาของเขา กล่าวว่า “ปรากฏว่า อิบนุอับบัส อ่าน “และไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่มั่นคง(ในความรู้เท่านั้น) โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศัทธาต่อโองการนั่น
..............................
จากอัล-กุรอ่าน ซูเราะฮ อาลิอิมรอน อายะฮ ที่ 7 และ บางส่วนจากคำอรรถาธิบายข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า บรรดาอายาตที่มีความหมายเป็นนัยนั้น อัลลอฮ (ซ.บ)คือ ผู้รู้ในการตีความมัน และบรรดาผู้ที่มีความมันคง ในความรู้นั้น เขาจะเชื่อตามโองการที่มีความหมายเป็นนัยนั้น คือ เขาจะไมตีความตามอารมณ์ตัวเอง

.....................

อัลอัชอะรีย์กล่าวว่า
แต่บางประเด็นพวกเขาตีความโดยไม่ถูกต้องเลย ไม่ว่าจะตามหลักการและหลักภาษาอาหรับ และบางประเด็นที่พวกเขาก็ถูกต้อง เช่น ตีความ يد ว่า "พลังอำนาจ" อันนี้ เราอัล-อะชาอิเราะฮ์ ก็เชื่ออย่างนั้น ตามหนทางที่ 2 และท่านอิบนุอับบาสก็ตีความอย่างนั้นด้วย ดังที่ผมนำเสนอไปแล้ว หากการตีความนี้เป็นบิดอะฮ์ ท่านอิบนุอับบาส ก็ทำบิดอะฮ์ ด้วยล่ะครับ
..............................................
ตอบ
การที่พวกมุอฺตะซิละฮ ตีความคำว่า “يد “ ว่า พลังอำนาจ” น้องอัล-อัลอัซฮารีย์ บอกว่า เป็นการตีความที่ถูกต้อง และยอมรับดังกล่าว อันนี้ไม่แปลกเพราะเดิมที่อิหม่ามอบูฮาซัน อัลอัชอะรีย์ ก็เคยมีความเชื่อแบบมุอฺตะซิละฮ แต่ต่อมาท่านได้ปลีกตัวออกมาเมื่อเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่ ก็มีศิษย์บางกลุ่ม ก็ยังเกาะติดอยู่กับความเชื่อเดิมๆของท่าน
คำว่า “ يد “ที่น้องอัล-อัชฮะรีกล่าวถึง อยู่ในอายะฮที่ว่า

إِنَّ الَّذِينَ يُبَايِعُونَكَ إِنَّمَا يُبَايِعُونَ اللَّهَ يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ فَمَن نَّكَثَ فَإِنَّمَا يَنكُثُ عَلَى نَفْسِهِ وَمَنْ أَوْفَى بِمَا عَاهَدَ عَلَيْهُ اللَّهَ فَسَيُؤْتِيهِ أَجْراً عَظِيماً
[48.10] แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันกับเจ้านั้นเสมือนกับว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮ์พระหัตถ์ของอัลลอฮ์ทรงอยู่เหนือมือของพวกเขาฉะนั้นผู้ใดทำลาย (สัตยาบัน) เสมือนกับว่าเขาทำลายตัวของเขาเองส่วนผู้ใดปฏิบัติตามสัญญาที่เขาได้มีไว้กับอัลลอฮ์โดยครบถ้วนพระองค์ก็จะทรงตอบแทนรางวัลอันใหญ่หลวงแก่เขา
- อัล-ฟัตห/10
………………….
อายะอข้างต้น อัลลอฮ(ซ.บทรง)แจ้งให้ทราบว่า การให้สัตยาบันกับท่านนบี ศอลฯ ก็เหมือนกับการให้สัตยาบันกับอัลลอฮ แล้วพระองค์ได้ตรัสว่า “ พระหัตถ์ของอัลลอฮ อยู่เหนือ มือของพวกเขา”

( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ) قال ابن عباس رضي الله عنهما: يد الله بالوفاء بما وعدهم من الخير فوق أيديهم
พระหัตถ์ของอัลลอฮ อยูเหนือมือของพวกเขา )อิบนุอับบาส(ร.ฎ)กล่าวว่า “ พระหัถต์ของอัลลอฮ ด้วยการตอบแทนความดีที่ได้ทรงสัญญากับพวกเขา อยู่เหนือมือของพวกเขา – ตัฟสีรอัลบัฆวีย์ เล่ม 7 หน้า 300


( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) أي: كأنهم بايعوا الله وصافحوه بتلك المبايعة،

พระหัตถ์ของอัลลอฮอยู่เหนือมือของพวกเขา ) หมายความว่า เสมือนว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮ และพวกเขาได้จับมือกับพระองค์ ด้วยการให้การสัตยาบันนั้น - ตัฟสีรอัสสะอฺดีย์ เล่ม 1 หน้า 792
...................................
แม้ถ้อยคำจะอยู่ในรูปของการอุปมา แต่ ความหมาย คำว่า يد ก็คือ พระหัถต์ ไม่ใช่ พลัง ดังคำอธิบายข้างล่าง

وفي الآية إثبات صفة اليد لله تعالى بما يليق به سبحانه, دون تشبيه ولا تكييف.

ในอายะฮนี้ เป็นการรับรองสิฟัตแห่งพระหัตถ์ ว่าเป็นของอัลลอฮ(ซ.บ) ด้วยสิ่งที่เหมาะสมกับพระองค์ มหาบริสุทธิ์พระองค์ โดยปราศจากการเปรียบเทียบและ ไม่มีการอธิบายว่าเป็นแบบใด - ดูตัฟสีรอัลมุยัสสิร ยุซที่ 26 หน้า 542
.....................................
น้องอัลอัชอารีเอ๋ย ..พวกคุณบอกว่า พวกมุฮตะซิละฮ ก็คือ มุสลิม ที่ผิดก็มี และ ที่ถูกก็มี จึงอยากจะถามว่า ผู้ที่น้องกล่าวหาว่า “พวกวะฮบีย์” ที่น้องพยายามจะเอาชนะ พวกเขา เป็นมุสลิมหรือไม่ ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 4:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตอบ: Tue Jan 31, 2006 6:58 am ชื่อกระทู้:

--------------------------------------------------------------------------------

ดังนั้นคำถามที่ถามไว้ 5 ข้อ จึงตอบมาแล้วหนึ่ง คือบิดอะฮฺหะสะนะฮฺ
แต่ไม่ตรงเป้า เพราะไม่ใช่บิดอะฮฺหะสะนะฮฺดังที่เป็นเรื่องชะรีอะฮฺ อย่างที่กลุ่มบิดอะฮฺทำกันอยู่
คือหมายถึง "สิ่งที่นบีไม่ได้ทำ ไม่มีรูปแบบมาจากนบี แต่เรามาประดิษฐ์รูปแบบเอง และขอให้เป็นเรื่องดี"
ผมอธิบายตามนั้นเพื่อจะชี้ชัดและไม่หลงประเด็นไปมากกว่านี้

รวมคนละหมาดตะรอวี้หฺนบีเคยทำ

แล้วของที่นบีไม่เคยทำ ไม่เคยทิ้งรูปแบบไว้ล่ะ ..อะไรบ้าง?
เช่น ตั้งวงกันอ่านกุรอาน และซิเกรฺ ..ลาอิลาหะอิลลัลลอฮฺ ดังๆ..(มีมาตั้งแต่โบราณกาล)
เช่น แต่งบทซอละวาตนบีแล้วเอามาใส่หลังดุอาอฺ ..ซ็อลลัลลอฮฺอาลา...

ซึ่งเหล่านี้นะครับ ถ้าเราไม่ทำเขาโกรธดวบยนะ มองหน้าเลย
เราก็ไม่รู้เราผิดตรงไหน


ตอบ: Tue Jan 31, 2006 7:10 am ชื่อกระทู้:

--------------------------------------------------------------------------------

ถามว่าแล้วมีหลักฐานไหม เจอตัวอย่างมั่งไหม
ที่ว่ามีคนมาประดิษฐ์รูปแบบใหม่ หรือประดิษฐ์บทดุอาอฺใหม่ แล้วซอฮาบะฮฺไม่ห้าม
แถมบอกว่าเป็นเรื่องดีด้วย.. ไม่มีหรอกครับ ไม่ต้องหาเลย เดี๋ยวเสียเวลาอีก..
รอตั้งนานตั้งแต่ก่อนอีด จนหลังอีด ได้คำตอบแบบที่ บดอ บ้านเราสอน (อุมัรบอกบิดอะฮฺมีหะสะนะฮฺ..!)

เพราะสลัฟเขาเข้าใจตรงกันครับข้อนี้ อย่าไปอธิบายอะไรมาก เดี๋ยวพูดผิด แล้วเขาจะเอาคำพูดที่พูดผิดมาโต้
ส่วนไอ้ที่ถูกน่ะ(ไอ้ตรงที่ชัดแบบเนื้อๆ)เขาโต้ไม่ได้ และไม่เคยตอบ และมองข้าม และไม่ใส่ใจ
..เขาจึงไม่เข้าใจซะทีไง! ส่วนสำคัญของศาสนากลับไม่เข้าใจ

ดังนั้นไม่เป็นไรครับ คำถาม 5 ข้อ ตอบมาหนึ่ง ก็ยังดีครับ

แต่ที่แน่ อะกีดะฮฺสลัฟนี่หาหลักฐานให้ผมไม่เจอใช่ไหมครับ?
เพราะไม่มีไงครับ! ที่เขาเชื่อว่า มือ คืออำนาจ อรัช คือครองตำแหน่ง.. ไม่มีหรอก

ถ้าจะมีก็ต้องไปเอาหลักฐานจากมุอฺตะซิละฮฺมาให้น่ะครับ อันนั้นพอลุ้นได้เจอคำตอบมั่ง

ดังนั้นการโจมตีเรื่องการแบ่งเตาฮีด ไม่มีประโยชน์ครับ ไม่รู้ไปตักลีดวิธีการโจมตีของใครมาอีก
หัดคิดเองซะมั่งครับ ทำความเข้าใจศาสนาเองจากหลากหลายอุละมาอฺ ไช่ให้อุละมาอฺอะชาอิเราะฮฺ(บางคน)จูงจมูก

อ้อ.ไม่ต้องกล่าวว่า ..
ไออาเอฟ.กล่าวว่า ..
ผมขอกล่าวว่า.. "พวกวะฮาบีย์นั่นแหละที่ให้อุละมาอฺวะฮาบีย์จูงจมูก เพราะวะฮาบีย์ไม่เคยฟังใคร.." ผมรู้ครับ นี่คือนิสัยและแนวทางการพูดจาพาลของท่าน

เรื่องการแบ่งการศึกษาเตาฮีด หรือจะแบ่งการศึกษาเรื่องอื่นมันไม่เกี่ยวอะไรหรอกครับ มันเป็นอุศูล
อย่าเอาสมองอันปราชญ์เปรื่องไปตักลีดใครเถอะครับเรื่องนี้ ไม่รู้ใครคิดมุขนี้เนี่ย.."การแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮฺ!"
โห..ใช้ไรคิดเนี่ย!

ดังนั้นไปหาคำตอบมาอุดช่องโหว่ของตนดีกว่าครับ ว่าอะชาอิเราะฮฺไปเอาหลักฐานเรื่องอะกีดะฮฺมาจากไหน?
ดีกว่ามาใช้เหตุผลทางปัญญา ..หลักฐานน่ะ ที่เขาขอนานแล้วน่ะ หลักฐาน!
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 4:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แต่จากการนำเสนอของอัซฮารีที่ว่า

"ก่อนหน้า(อัลลอฮฺจะสถิตบนอรัชนั้น)อัลลอฮฺอยู่ไหน"

ผมทราบว่าผมอธิบายไปตั้งแต่ปีที่ชื่อมะโว้แล้ว(ไปดูกระทู้อะกีดะฮฺสลัฟแบบฉบับผู้ศรัทธา)ว่า
อัลลอฮฺ ทรงสถิตย์บนอรัช โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องสถิตย์แต่ประการใด

ดังนั้นการที่ใครเข้าใจว่าวะฮาบีย์เชื่อว่าอัลลอฮฺจำเป็นต้องสถิตย์บนอรัชนั้นก็ถือว่าเขาไม่รู้หลักอะกีดะฮฺของวะฮาบีย์นั่นเอง
และเขาก็โจมตีโดยที่ไม่รู้ หรือเรียกง่ายๆว่าโกหกใส่ไคล้วะฮาบีย์
วะฮาบีย์ไม่เคยบอกทำนองว่าอัลลอฮฺต้องพึ่งพาอรัช

แต่พวกเขาเสนอแต่เพียงในทำนองเดียวกับสลัฟว่า ไม่อนุญาตให้ตีความเป็นอื่น ให้คงความหมายตามกุรอานไว้
และไม่ต้องถามถึง

ดังนั้นหากใครชักนำเข้าเรื่องซิฟาตของอัลลอฮฺอันเกินขอบเขตของปัญญามนุษย์
ดังนั้นชาวซุนนะฮฺ จะไม่นิยมพูดถึงเรื่องนี้ ดังนั้นรักษาจุดยืนตรงนี้ให้ดี

ดังนั้นคุณอัซฮารีซึ่งเรียกตนว่าอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ก็ควรจะยึดถือตามแบบที่อะฮฺลุซซุนนะฮฺยุคก่อนเขาวางบรรทัดฐานไว้ด้วยครับ
อย่าเผลอถลำลึกไปมากกว่านี้ครับ

(สั้นๆ วันนี้เล่นนานแล้ว เดี๋ยวว่างๆเข้ามาต่อ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 8:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน
อยากจะถามว่า ทำไมอัลลอฮจะจึง ไม่ใช้คำว่า “ استوى على الأشياء เพราะพระองค์ทรงมีอำนาจครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง

ผมตอบไปแล้วครับ

บังอะสันแปลว่า"ทรงอยู่บน" นี้ ไม่ถูกต้องนะครับ หากจะแปลก็ให้แปลว่า "ทรงสูง" แต่จะสูงแบบ อยู่บนสถานที่ หรือสูงแบบฐานันดร นั้น ก็ค่อยว่ากันต่อ แต่ เจตนาและเป้าหมายของ ท่านอัฏฏ๊อบรีย์ นั้น ไม่ใช่อย่างที่วะฮาบีย์จะเอา เนื่องจากท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ปฏิเสธการอยู่สูงแบบอยู่บนสถานที่

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ได้ตะวีล ตีความ อายะฮ์ที่ว่า

ثم استوى إلى السماء

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ กล่าวว่า" ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า

فكذلك فقل : علا عليها علو ملك وسلطان لا علو انتقال وزوال .

"ดังนั้น แบบนั้นแหละ ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่สูงอยู่สถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

เมื่อเป็นแบบนี้ คราวหลังบังอะสันก็อย่าพยายามเอาการอธิบายของท่านฏ๊อบรีย์ ไปแอบอ้างเพื่อให้เข้าทางตนเองนะครับ เพราะมันจะเป็นการอธรรมต่อท่านฏ๊อบรีย์!!

อ้างอิงจากบังอะสัน (ทบทวน)

الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ ) الذي هو أرفع المخلوقات وأعظمها وأوسعها ( اسْتَوَى ) استواء يليق بجلاله ويناسب عظمته وجماله فاستوى على العرش واحتوى على الملك

พระเจ้าผู้ทรงเมตตาอยู่บนอะรัช) ผู้ทรงอยู่เหนือกว่าบรรดามัคลูค ทรงยิ่งใหญ่และทรงกว้างขวางกว่ามัน (ทรงสถิต) ทรงสถิตที่เหมาะสมกับความเกรียงไกรของพระองค์ เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความสง่างามของพระองคื ทรงสถิตอยู่บนอะรัชและทรงกรรมสิทธิ์ในอำนาจการปกครอง - ดูตัฟสีรอัสสะอดีย์ ยุซที่ 16 หน้า 312


ตอบ

คำอธิบายของ ท่าน อัสสะดีย์ที่เป็นภาษาอาหรับนั้น ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้มาสนับสนุนแนวอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์เลยครับ และก็ไม่ได้มีความหมายแบบที่บังอะสันแปลเลยแม้แต่น้อย
สำหรับการแปลของบังอะสันนั้น แปลผิดอย่างอันตราย คือแปลว่า อัลเลาะฮ์ทรงกว้างขวางกว่าบรรดามัคโลค!! พูดง่ายๆว่า บรรดามัคโลคเล็กกว่าอัลเลาะฮ์ แต่อัลเลาะฮ์กว้างกว่าอะไรปานนั้น เขาเรียกว่าแปลมาโดยใช้อากิดะฮ์ของตนเองมาเป็นที่ตั้ง ก็คือ อะกีดะฮ์ของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์
หากแปลให้ถูก ต้องแปลอย่างนี้ครับ

"พระเจ้าผู้ทรงเมตตา อิสติวาอ์ อยู่เหนืออะรัช ซึ่งอะรัชนั้น คือสิ่งที่สูง ใหญ่และกว้างที่สุดจากบรรดามัคโลค พระองค์ทรงอิสติวาอ์ กับการอิสติวาอ์ที่เหมาะสมกับความเกรียงไกร ความยิ่งใหญ่ และความวิจิตของพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงอิสติวาอ์เหนืออะรัช และทรงกรรมสิทธิ์เหนืออำนาจการปกครอง"

อ้างอิงจากบังอะสัน

ในอัล-กุรอ่านนั้น มีถ้อยคำที่แสดงถึงอุปมาอุปมัย อันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธ แต่.การที่จะเปลี่ยความหมายของ.คำที่อัล-กุรอานใช้นั้น จะต้องดูว่า อัสสุนนะฮ อธิบายไว้หรือเปล่า การไปเปลี่ยนความหมายเดิมของคำที่ปรากฏในคุณลักษณะที่เกี่ยวกับอัลลอฮ นั้น หากมีความจำเป็น ท่านนบี ศอลฯ จะต้องไม่ละเลยอย่างแน่น

ผมตอบไปแล้วว่า

บังอะสันครับ โองการเหล่านั้น ก็เพียงพอแก่พวกเราเช่นกัน และโองการเหล่านี้ เราไม่ได้มีการขัดแย้งกันในตัวบทของอายะฮ์ แต่ประเด็นการขัดแย้งนั้นคือ "ความเข้าใจ" จากของคำว่า "อัลอิสติวาอ์" จากอายะฮ์ต่างๆเหล่านั้นต่างหาก ซึ่งคำว่า" อัลอิสติวาะฮ์" นั้น مشترك بين معان มีความหมายร่วมกันอยู่หลายความหมายด้วยกันตามหลักภาษอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของอัลกรุอาน (บังอะสันโปรดเข้าใจหน่อยน่ะครับ) และส่วนหนึ่งจากความหมายต่างๆเหล่านั้น คือ 1. ปกครอง 2. สถิต นั่ง ซึ่งในสองแง่นี้ อันใดที่เหมาะสมกับอัลเลาะฮ์มากที่สุด?

หากบังอะสันบอกว่า เชื่อตามหลักภาษาอาหรับ คือนั่ง สถิต (ซึ่งกลุ่ม มุญัสสิมะฮ์ ก็มีความเห็นตรงกัน) แต่ผมก็บอกได้เช่นกันว่า เชื่อตามหลักภาษาอาหรับคือ ปกครอง (ซึ่งกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ ก็มีความเห็นตรงกัน)

หากบังอะสันยังยืนยันว่า มันคือการนั่ง สถิต ผมก็อยากถามว่า อัลกุรอานอายะฮ์ใด ที่มาอธิบายคำว่า อิสติวาอ์ ว่าพระองค์ทรงนั่ง หรืออัลกุรอานอายะฮ์ใด ที่ให้ความหมายมาสนับสนุนว่า พระองค์ทรงมีซีฟัต "นั่งสถิต" และมีหะดิษใด ที่อธิบาย "อัลอิสติวาอ์" ว่า อัลเลาะฮ์ ทรงนั่ง (جلس) หรือ สถิต ( استقر ) และมีสะลัฟท่านใดบ้างที่ อธิบายว่า อัลอิสติวาอ์ คือการ นั่ง และ สถิต

หากเรากลับไปหาหลักเดิม คือ ทั้งคำว่า ปกครอง นั่ง สถิต ต่างก็มีฐานะเท่าเทียมกัน คือทั้งหมดนั้น มีความหมายร่วมตามหลักภาษาอาหรับของคำว่า"อัลอิสติวาอ์" และความหมายเหล่านี้ ก็ไม่มีผู้ใดรู้ความหมายที่แท้จริง ตามจุดมุ่งหมายและพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ และไม่มีสะลัฟคนใดหรอก ที่อัลเลาะฮ์ทรงลงวาฮีมาบอกว่า อัลอิสติวาอ์ นั้น หมายถึงการนั่ง สถิต หรือการปกครอง และนบีก็ไม่ได้บอกอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า "อัลอิสติวาอ์นั้น คือการนั่ง สถิต หรือการปกครอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ บังอะสันก็ลองพิจารณาดูซิครับ หากเชื่อว่า พระองค์ทรงนั่งสถิต ก็ไปหาอายะฮ์มาสนับสนุน แต่ผมเชื่อว่า มันคือ การปกครอง คืออัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะการปกครอง ซึ่งมีหลักฐานจากอัลกุรอานมากมาย ที่ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์ทรงปกครองทรงกรรมสิทธิ์ทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน !!!

อ้างอิงจากบังอะสัน

ในช่วงแรกท่านก็มีทัศนะเหมือนกับพวกมุอตะซิละฮ แต่ในบั้นปลายชีวิต ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธ ความหมายอัล-อิสติวาอฺ ตามความหมายที่แท้จริงของมัน แต่ กลุ่มบุคคลเช่นน้องอัลอัซฮารีและสหาย ยอมรับในความหมายที่พวกมุอฺตะซิละฮ ได้ตีความ แต่พวกคุณก็โมเม เอาโลโก้ ของอิหม่ามอัลอัชอะรีมาติดไว้ แล้วมาย้อนถามว่า สลัฟคนใหน เขาบอกว่า “ประทับ”อยู่บนอะรัช แต่พอเรานำเสนอ คำพูดของอิหม่ามอัลอัชอะรี น้องอัล-อัชอะรีย์ ก็กล่าวหาว่า “พวกวะฮบีย์” ปลอมขึ้นมา

ผมตอบไปแล้ว

และคำอ้างอิงของบังอะสัน ที่เอามาจากหนังสือ อัลอิบานะฮ์ฉบับวะฮาบีย์ตีพิมพ์นั้น ผมไม่ทราบว่าบังอะสันนำเสนอมาเพื่ออะไร เพื่อให้เราเชื่อตาม และบังอะสันก็เชื่อตามในนั้นหรือเปล่า?? ลองมาดูคำๆนี้

من غير طول استقرار

"โดยไม่ได้สถิตอยู่เป็นเวลายาวนาน"

นี่มันมีความหมายอย่างไรครับ ผมไม่เข้าใจจริงๆ และบังอะสันเชื่ออย่างนี้ด้วยหรือเปล่าเนี่ย ผมเห็นอ้างมาสะเปะสะปะเหลือเกิน หนังสืออัลอิบานะฮ์ฉบับวะฮาบีย์ตีพิมพ์ บอกว่า"อัลเลาะฮ์สถิตโดยไม่นาน" คือสถิตแบบชั่วคราวว่างั้นเถอะ คืออัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะ(ซีฟัต) แบบชั่วคราว ไม่ทรงถาวร ไอ้ของชั่วคราวเนี่ย มันเป็นคุณลักษณะของมัคโลคนะครับบังอะสัน ยังไงก็ช่วยอธิบายหน่อย เพราะผมไม่เข้าใจ ความรู้มันน้อยนะครับ


อ้างอิงจากบังอะสัน

ความหมายคำว่า استوى على ในปทานุกรมอาหรับ-ไทย จัดพิมพ์โดย ส. วงเสงี่ยม แปลความหมายว่า นั่ง นั่งอย่างมั่นคง, ประทับ พวกเราก็ได้แปลตามความหมายนั้น พวกคุณก็หาว่า บิดเบือน

ผมตอบไปแล้ว

บังอะสันครับ แล้วนบี(ซ.ล.) บอกหรือเปล่าล่ะครับ ว่า อัลอิสติวาอ์ หมายถึงการนั่ง และบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้งสี่บอกไว้หรือว่า ว่ามันคือการนั่ง !!! แต่บังอะสันให้คำตอบตรงนี้ไม่ได้เลย ก็เลยไปบอกว่าให้ไปดูปทานุกรมไทย - อาหรับ!!! ซุบหานัลเลาะฮ์ ! นี่คือหลักฐานบังอะสันเกี่ยวกับเรื่องอากิดะฮ์ครับ กรุณาอย่าตบตามผู้อ่าน ด้วยการไปดูปทานุกรม ไทย - อาหรับ ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยมซิครับ เพราะในนั้น มันเป็นปทานุกรมแบบย่อๆและสั้น เพื่อให้นักเรียนอนุบาลหรือประถมเขาใช้กัน แต่เราต้องมาดูคำอธิบายของอุลามาอ์ตัฟซีรเกี่ยวกับการอธิบาย คำว่า"อัลอิสติวาอ์"ในเชิงภาษาอาหรับ ซึ่งมีเป็นสิบความหมาย ซึ่งผมได้ยกอ้างอิงไปแล้วจากตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ แต่หากเรามาดูปทานุกรมอาหรับ ซึ่งมีหลายระดับ สำหรับนักศึกษา ระดับนักศึกษาประถม(อิบติดาอีย์)และมัธยม(ซะนาวีย์)นั้น ใช้ ( المعجم الوجيز) (ปทานุกรมเรียงตามลำดับอักษรแบบย่อ) ได้ให้ความหมายว่า

( اسْتَوىَ ) : استقام واعتدل. و- الشيئان : تساوى . وفلان تمّ شبابه . و- الطعام ونحوه : نضج . و- على كذا : أو فوقه : علا وصعد . و- عليه : استولى وملك

ความว่า"(อิสตะวา) : ทำให้ตรง และทำให้สมดุลย์. และ(ได้สมดลย์) โดยสองสิ่ง : คือเท่าเทียมกัน. (อิสตะวา)ฟุลานุน หมายถึง ได้สมบูรณ์แล้วโดยความหนุ่มของเขา. และอิสตะวา ใช้กับอาหารและเหมือนๆกับมันนั้น : คืออยู่ในความหมายสุก . หรือ อิสตะวา บน เท่านี้ : เหนือ บน มัน : หมายถึง ขึ้น(เท่านี้) และขึ้นบนมัน . และอิสตะวา บนมัน : คือหมายถึง ปกครอง และ ครอบครอง . (ดู อัล-มั๊วะญัม อัล-วะญีซฺ หมวด อิสตะวา หน้า 330 )

นี่ขนาด ปทานุกรมฉบับย่อของอาหรับนะครับ ยังไม่มีคำว่า جلس ที่เป็นความหมายหนึ่งในเชิงภาษาของคำว่า อิสตะวา เลยครับ แต่หากไปดูปทานุกรมที่ใหญ่กว่านี้ ก็คงจะมีให้มั้งครับ แต่หากอยากทราบให้ละเอียดจริง ก็กลับไปดูคำอธิบายของอิมาม อัล-กุรฏุบีย์ ที่ผมได้นำเสนอไปแล้วนะครับ
ดังนั้น ในเรื่องอัลอิสติวาอ์ นี้ ตามทัศนะของ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ อัล-อะชาอิเราะฮ์ มีสองแนวทาง คือ
1. تفويض มอบหมาย คือมอบหมายทั้งความหมายและวิธีการให้อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) และร่อซูล (ซ.ล.) (ซึ่งความจริงตรงนี้ เขาเรียกว่า การตีความแบบสรุป ซึ่งผมจะนำเสนออธิบายต่อไป) แต่วะฮาบีย์สาวกของอิบนุตัยมียะฮ์ กลับไปรู้ความหมายว่า ว่าพระองค์นั้น "นั่ง" แต่ค่อยมอบหมายวิธีการ ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันไปรู้จุดมุ่งหมายของอัลเลาะฮ์มาจากอายะฮ์ใหนมาสนับสนุนและหะดิษใหนมาสนับสนุนว่า มันคือ "การนั่ง" ทั้งที่อิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า
" ฉันขอศรัทธา ด้วยสิ่งที่มาจากอัลเลาะฮ์ บนความหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ และด้วยสิ่งที่มาจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) บนความหมายที่ร่อซูลเลาะฮ์ต้องการ" แล้วใหนล่ะครับ สิ่งที่มาสนับสนุนจากอัลกุรอานและหะดิษ ที่บอกว่า อัลอิสติวาอ์ นี้มี "ความหมาย" ว่ามันคือ "การนั่ง"
ทั้งที่สะลัฟนั้น เขามอบหมาย ทั้งความหมายและวิธีการ

ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า " สิ่ง(คือคุณลักษณะ)ที่อัลเลาะฮ์ ทรงพรรณากับพระองค์เอง ในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่านมัน คือการตัฟซีรอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติแก่ผู้ใด ทำการอธิบายมัน ด้วยภาษาอาหรับและเปอร์เซีย์ " (ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัศศิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้า 407) แต่บังอะสันของเราบอกว่าผู้อ่านว่าให้ไปดูปทานุกรมไทย - อาหรับ ซึ่งแปลว่า "นั่ง นั่งอย่างมั่นคง " แล้ววะฮาบีย์สาวกของอิบนุตัยมียะฮ์ ก็อธิบายด้วยว่า "นั่งสัมผัสบนอะรัชโดยมีน้ำหนักอึ้ง แล้ววันกิยามัตอัลเลาะฮ์ก็เหลือที่ว่างไว้ให้ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งข้างๆพระองค์!!! " วะฮาบีย์คนใด ต้องการออกมาปฏิเสธ ก็เสนอตัวออกมาแก้ต่างด่วน แต่ผมคิดว่าคุณไออาเอฟ ต้องออกมาออกตัวประกาศไม่เกี่ยวข้องคนแรก เหมือนกับเรื่องกุนูต เมื่อก่อนเถียงไปเวปมุรีด คอเป็นเอ็น แต่ตอนนี้เบาลง เรื่องมัซฮับ ก็กลับมายอมรับให้ทำการตามได้สำหรับคนเอาวาม อันนี้ผมก็ดีใจที่เขาเชื่ออย่างนี้ แต่ผมจะคุยกับพวกดื้อดึงที่มันยังไม่เข้าใจมัซฮับ เรามาเข้าเรื่องต่อครับ
ท่าน อิบนุกุ๊ดดามะฮ์ กล่าวถ่ายทอดจากอิมาม อะหฺมัด(ร.ฏ.) ว่า "บรรดาหะดิษเหล่านี้(คือบรรดาหะดิษซีฟาต) เราศรัทธาและยอมรับด้วยกับมัน โดยที่ไม่มีวิธีการ และความหมาย (หมายถึงมอบหมายวิธีการและความหมาย) และเราจะไม่พรรณา(คุณลักษณะ)กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ให้มากไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์เอง" (ดู ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต หน้า 3) แต่วะฮาบีย์กลับรู้ความหมายครับ คือหมายความว่า "นั่ง"

ท่าน อัซซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถ่ายทอดคำกล่าวของอิมาม มาลิก ซึ่งท่านได้กล่าวเกี่ยวกับหะดิษซิฟาต ว่า "พวกท่านจงผ่านมันไป เฉกเช่นที่มันได้มี(ระบุ)มาโดยไม่ต้องอธิบาย" ท่าน อัซซะฮะบีย์ กล่าวจากนั้นเล็กน้อย ว่า " การกล่าวของเราในสิ่งดังกล่าวนั้น คือ ยอมรับ และผ่านพ้นมันไป และมอบหมายกับความหมายของมัน ไปยังผู้ที่กล่าวมัน ซึ่งเป็นผู้ที่สัจจริง อีกทั้งมะซูมถูกปกป้องจากความผิด" (ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 8 หน้า 105)

ท่านอิบนุ หะญัร ได้กล่าวเรื่องการมอบหมายทั้งวิธีการและความหมายว่า " ท่านอัฏฏ๊อยิบีย์ กล่าวว่า นี้คือมัซฮับที่ถูกยึดถือ และสะลัฟซอลิหฺ ได้กล่าวด้วยกับมัน" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 390)

ดังกล่าวมาแล้วนี้ คือแนวทางสะลัฟ ซึ่งเป็นแนวทางแรกและเป็นแนวทางเดิม ของอัลอะชาอิเราะฮ์ และวะฮาบีย์สาวกอิบนุตัยมียะฮ์ไม่ใช่มีแนวทางอย่างนี้ เพราะพวกเขารู้ความหมาย คือไม่มอบหมายในความหมาย เพียงแต่มอบหมายวิธีการอย่างเดียว ซึ่งแบบนี้ไม่ใช่สะลัฟครับ แต่มันเป็นแนวทางของพวก อัล-มุญัสสิมะฮ์!!!

อ้างอิงจากบังอะสัน

อายะอข้างต้น อัลลอฮ(ซ.บทรง)แจ้งให้ทราบว่า การให้สัตยาบันกับท่านนบี ศอลฯ ก็เหมือนกับการให้สัตยาบันกับอัลลอฮ แล้วพระองค์ได้ตรัสว่า “ พระหัตถ์ของอัลลอฮ อยู่เหนือ มือของพวกเขา”

( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ) قال ابن عباس رضي الله عنهما: يد الله بالوفاء بما وعدهم من الخير فوق أيديهم
พระหัตถ์ของอัลลอฮ อยูเหนือมือของพวกเขา )อิบนุอับบาส(ร.ฎ)กล่าวว่า “ พระหัถต์ของอัลลอฮ ด้วยการตอบแทนความดีที่ได้ทรงสัญญากับพวกเขา อยู่เหนือมือของพวกเขา – ตัฟสีรอัลบัฆวีย์ เล่ม 7 หน้า 300

ตอบ

การตีความของท่านอิบนุอับบาสนั้น ไม่ใช่อายะฮฺนี้ครับ โปรดกลับไปทบทวนไหม่ใน ภาคที่ 1


อ้างจากไออาเอฟ

แต่จากการนำเสนอของอัซฮารีที่ว่า

"ก่อนหน้า(อัลลอฮฺจะสถิตบนอรัชนั้น)อัลลอฮฺอยู่ไหน"

ผมทราบว่าผมอธิบายไปตั้งแต่ปีที่ชื่อมะโว้แล้ว(ไปดูกระทู้อะกีดะฮฺสลัฟแบบฉบับผู้ศรัทธา)ว่า
อัลลอฮฺ ทรงสถิตย์บนอรัช โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องสถิตย์แต่ประการใด

ดังนั้นการที่ใครเข้าใจว่าวะฮาบีย์เชื่อว่าอัลลอฮฺจำเป็นต้องสถิตย์บนอรัชนั้นก็ถือว่าเขาไม่รู้หลักอะกีดะฮฺของวะฮาบีย์นั่นเอง
และเขาก็โจมตีโดยที่ไม่รู้ หรือเรียกง่ายๆว่าโกหกใส่ไคล้วะฮาบีย์
วะฮาบีย์ไม่เคยบอกทำนองว่าอัลลอฮฺต้องพึ่งพาอรัช

แต่พวกเขาเสนอแต่เพียงในทำนองเดียวกับสลัฟว่า ไม่อนุญาตให้ตีความเป็นอื่น ให้คงความหมายตามกุรอานไว้

ผมเคยตอบบังอะสันไปแล้วว่า

ท่าน อัช-ชะฮ์ร๊อสตานีย์ กล่าวว่า" สะลัฟบางส่วนนั้น มีความระมัดระวังอย่างมาก จนกระทั้ง พวกเขาไม่เคยอ่าน(ความหมาย)คำว่า "يد " ด้วยภาษาเปอร์เซีย ไม่อ่าน(ความหมาย)คำว่า " الوجه " คำว่า " الاستواء " ด้วยภาษาเปอร์เซีย และคำที่เป็นประเภทเดียวกันนี้(จากซิฟัตของอัลเลาะฮ์) แต่หาก ต้องการไปกล่าวมัน ด้วยสำนวนหนึ่ง(ที่ไม่ใช่อาหรับ) พวกเขาจะพูดออกมา ด้วยสิ่งที่ มีมา เป็นคำต่อคำ (คือพูดทับศัพท์ตามที่อัลกุรอานกล่าวไว้)!!! ดังนี้ คือสิ่งที่ปลอดภัย โดยที่มันไม่มีการตัชบีฮ์(สร้างความคล้ายคลึงกับอัลเลาะฮ์) ดว้ยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย" (ดู อัลมิลัล วะ นิหัล เล่ม 1 หน้า 118 - 119 ดารฺ มะริฟะฮ์ เบรุต )

ดูซิครับ บังอะสัน แม้กระทั้งภาษาอื่น สะลัฟเขาก็ยังไม่กล้าจะแปลคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ออกไป โดยที่พวกเขาจะพูดทับศัพท์ แต่บังอะสันกลับพยายามให้ผู้อ่านแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ พอสนทนาไปสนทนาก็จะให้แปลเป็นไทย เพื่อจะใช้ศัพท์ภาษาไทย มาเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์

ซึ่งหากบังอะสันจะเอาอย่างนั้นจริง บังอะสันก็กรุณาอย่างเลือกปฏิบัติได้หรือเปล่าล่ะครับ บังอะสันลองแปลอายะฮ์นี้ซิครับ คือแปลตามหลักภาษาไทยให้ตรงตัวเลยนะ เพราะว่ามันเป็นความหมายหะกีกัต ตามทัศนะที่วะฮาบีย์นำมาให้เกี่ยวกับซิฟัตของอัลเลาะฮ์

فأينما تولوا فثم وجه الله

"ไม่ว่าที่ใหน ที่พวกเจ้าผินไป ที่นั่นก็คือใบหน้าของอัลเลาะฮ์"

كل شىء هالك إلا وجهه

"ทุกสิ่งเสียหาย นอกจากใบหน้าของอัลเลาะฮ์"
ดังนั้น บังอะสันจะแปลแบบหะกีกัตอย่างนี้หรือเปล่าครับ ? แล้วก็มอบหมาย หรือจะเลือกปฏิบัติ กับอายะฮ์บางส่วนให้อยู่ในความหมายหะกีกัต และเพิกเฉยบางส่วนโดยให้ความหมายแบบ "มะญาซฺ" ตามที่อารมณ์ตนเองต้องการ!!
ความหมายของบรรดาอายะฮ์ดังกล่าวนี้ หากจะให้ความหมาย (فى ) แบบ หะกีกัต คำเดิม นั้น แปลว่า"ใน" ซึ่งวะฮาบีย์มีจุดยืนว่า จะให้ความหมายแบบหะกีกัต โดยไปตีความเป็น มะญาซฺ ไม่ได้ แต่วะฮาบีย์ใช้ความหมาย "ใน" (ที่มีความหมายแบบหะกีกัต) มาตีความ تأويل เปลี่ยนไปเป็นความหมาย "على " ที่แปลว่า"บน" ซึ่งอยู่ในหนทางของมะญาซฺ ผมจึงไม่รู้ว่า กลุ่มวะฮาบีย์นั้น เขามีจุดยืนอย่างไรกันแน่?? หากวะฮาบีย์ใช้ความหมายหะกีกัต ก็ใช้ให้หมดทุกอายะฮ์และหะดิษ แต่หากพวกเขาใช้คำมะญาซฺ ตีความ ก็ไม่สมควรไปว่าแนวทางอื่น ที่เขาใช้ความหมายแบบมะญาซฺในอายะฮ์และหะดิษอื่นๆซิครับ

แต่การตัฟซีร ที่ได้นำมากล่าวไว้ ในตัฟซีร อัล-มุยัสซัร ที่อธิบายอายะฮ์ที่ 16 -17 ของซูเราะฮ์ อัล-มุลก์ นั้น ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์อยู่บนฟากฟ้า ที่อยู่ในความหมายของการอยู่ในสถานที่ หรือ บนสถานที่ เนื่องจากคำอธิบายอายะฮ์ดังกล่าวนั้น ได้สรุปว่า

وفي الآية إثبات العلو لله تعالى, كما يليق بجلاله سبحانه

" และในอายฮ์(นี้) เป็นการยืนยันถึงความสูงส่ง สำหรับอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ที่เหมือนกับความเหมาะสม ด้วยความเกรียงไกรของผู้พระองค์ ผู้ทรงบริสุทธิ์"

นั่นคือความหมายที่ถูกต้อง แต่บังอะสันชอบแปลผิด ซึ่งตรงนี้ ผมก็ไม่ได้จะนำมาประจานหรือวิจารณ์อะไรบังอะสันให้เสียหาย แต่ผมจำต้องชี้แจงให้มันถูกต้อง โดยเฉพาะการแปลให้ความหมายเกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แต่หากบังอะสันแปลเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเด็นในซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น ผมไม่เอามาใส่ใจอยู่แล้วครับ เพราะคนเราย่อมมีผิดพลาดกันเป็นธรรมดา แต่การแปลให้ความหมายเรื่องอากิดะฮ์ ซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น หากแปลบิดเบือน คนอื่นที่รู้อิโหน่อิเหน่ ของก็หลงทางกันเป็นแถวซิครับ

บังอะสันแปลว่า

وفي الآية إثبات العلو لله تعالى
"และในอายะฮนี้ เป็นการรับรองการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ(ซ.บ)"

แต่ที่ถูกต้องนั้น ต้องให้ความหมายว่า "รับรองถึง ความสูงส่ง " ไม่ใช่ไปแปลบิดเบือนเข้าทางตนเองว่า"ทรงอยู่เบื้องสูง" ที่ให้ความหมายว่าพระองค์ทรงมีสถานที่ ที่ทั้งคำว่า"العلو " นั้น ไม่ใช่ให้ความหมายแบบมีสถานที่เลย ( الظرفية ) แต่มันกลับให้ความหมายถึงสภาวะการ ที่สูงส่งต่างหาก ( المصدر )

คำว่า ( بجلاله ) แปลว่า "ด้วยความยิ่งใหญ่ หรือ เกียตริเกรียงไกร ของระองค์ " ไม่ใช่แปลว่า"สูงส่ง" และตบท้ายด้วยคำว่า ( سبحانه ) คือพระองค์ทรงบริสุทธิ์ ก็หมายความว่า พระองค์ทรงบริสุทธิ์ จากภาคี บริสุทธิ์จากการเหมือนและคล้ายกับมัคโลค และทรงบริสุทธิ์จากจินตนาของมนุษย์ว่าพระองค์ทรงมีสถานที่ มีทิศ เพราะการมีสถานที่และมีทิศนั้น มีคุณลักษณะที่เหมือนกับมัคโลก และอัลเลาะฮ์ทรง ( سبحانه ) จากสิ่งดังกล่าวทั้งมวล

และคำอธิบายของท่านอิบนุอับบาสกับสองอายะฮ์ดังกล่าวนี้ ก็มีอีกรายงานหนึ่งบอกว่า

" عن إبن عباس : اى قدرته وسلطانه وغرشه ومملكته "

จากท่านอิบนิอับบาส ท่านกล่าวว่า (พวกเจ้าจะปลอดภัยหรือ) จากอานุภาพของพระองค์ อำนาจ อะรัช และการครอบครองของพระองค์ " ดู ซฺาดุลมาะซีร ฟี อิลมิลตัฟซีร (ตัฟซีรอิบนุเญาซีย์ ) เล่ม 8 หน้า 21 ดารฺ ฟักรฺ ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 ญะมาดุลอูลา ฮ.ศ. 1407 - ค.ศ. 1987

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 8:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านผู้อ่านทั้งหลายครับ พวกท่านลองพิจารณา การสนทนาในเชิงวิชาการของ บังอะสัน และไออาเอฟซิครับ คำกล่าวของพวกเขานั้น ผมไม่จำเป็นต้องพิมพ์ใหม่เลย เพราะผมตอบไปหมดแล้ว ผมจึงคิดว่า เขาทั้งสองนี้ อ่านในสิ่งที่ผมนำเสนอไปหรือเปล่า? ซึ่งสิ่งที่เขาได้สนทนามาล่าสุดนี้ เหมือนกับว่า พวกเขาไม่ได้อ่านในสิ่งที่ผมได้นำเสนอเลย และพวกเขาก็ไม่ได้อ้างอิงคำกล่าวของผมมาวิจารณ์ชี้แนะสักเท่าไหร่เลย ซึ่งการสนทนาของพวกเขา มันเหมือนกับวนอยู่ในอะไรสักอย่าง อย่างไงอย่างั้นแหละครับ เหนื่อยใจครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 8:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


คุณไออาเอฟครับ คำตอบของคุณนั้น ผมจะตอบเรื่อยๆ แต่การจะตอบเลื่อนไปข้ออื่นนั้น คุณน่าจะตอบคำถามที่ผมถามคุณไปบ้างซิครับ แต่เมื่อผมเข้าใจ ก็ยังไม่ได้คำตอบ คำถามเด็ด จากไออาเอฟครับ
ทวนคำถามเด็ด!! (ที่คุณไออาเอฟหลีกเลี่ยงที่จะไม่ตอบไม่ได้)

1. คุณแปลอีกว่า "โดยมิต้องตัดทอนใดๆ" ไปเอาสายรายงานที่มีความหมายจากคำพูดของบรรดาอุลามาอ์ทั้ง 3 ท่านมาจากใหน??

2. แล้วมีสะลัฟท่านใหนบ้างหรือที่บอกว่า "อัลอิสติวาอ์" ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์นั้น คือการนั่ง

3. แล้วคำว่า พระองค์หนักอึ้งนั้น มันเป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาเอาไว้ให้กับพระองค์เองหรือไม่? และผู้ที่กล่าวว่าพระองค์ทรงหนักอึ้งนั้น หุกุ่มว่าอย่างไร?

4. งั้นผมขอถามไออาเอฟเป็นกับดักหนูข้อที่อีก คือ" คำว่า""การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้" นี้ เป็นคำของอิมามมาลิกหรือไม่?

5. งั้นผมถามคุณไออาเอฟ ซึ่งเป็นคำถามที่ 6 ว่า "คำกล่าวของอบูหะนีฟะฮ์ที่คุณอ้างมานั้น อยู่ในหนังสือใดของท่านอบูหะนีฟะฮ์ ??

6. งั้นผมถาม คุณไออาเอฟ เป็นคำถามที่ 7 ว่า "ผู้ทีกล่าวว่าอัลเลาะฮ์มีนิ้ว เพราะนิ้วเป็นส่วน(อวัยวะ)จากมือของอัลเลาะฮ์ นั้น เขาเป็นกาเฟรหรือไม่??"

7. มีคำถามเป็นกับดักเบื่อหนู อีกครับ คือว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่าอัลเลาะฮ์ทรงนำท่านนบี(ซ.ล.)นั่งข้างๆบนอะรัชนั้น หุกุ่มกุฟุรหรือไม่??? และเพิ่มมาอีกข้อหนึ่งครับ

8. งั้นผมขอถามไออาเอฟเป็นกับดักหนูข้อที่อีก คือ" คำว่า""การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้" นี้ เป็นคำของอิมามมาลิกหรือไม่? หากไม่ตอบ คุณไออาเอฟก็จะถูกข้อหาบิดเบือนโกหกคำพูดใส่อิมามมาลิกเป็นกระทงต่อไป

Sad

คำถาม 8 ข้อนี้เป็นกับดักแมวครับ และให้เบื่อหนู ที่คุณไออาเอฟและวะฮาบีย์จำเป็นต้องตอบโดยหลีกเลี่ยงไม่พ้น (เหมือนกับที่เขาเคยพูดกับผมเอาไว้)

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอัล-อัซฮารี กล่าวว่า
1. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

كان الله ولم يكن شيىء غيره

" พระองค์ทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากพระองค์(เพียงองค์เดียว) " รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ ไว้ในซอเฮี๊ญะหฺของท่าน
หมายถึง อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงยังคงมีมาตั้งแต่เดิมแล้ว โดยที่ไม่มีสิ่งใดอยู่พร้อมกับพระองค์ ไม่มีน้ำ ไม่มีอากาศ ไม่มีผืนดิน ไม่มีท้องฟ้า ไม่มีกุรซีย์ ไม่มีอะรัช ไม่มีมนุษย์ ไม่มีญิน ไม่มีมะลาอิกะฮ์ ไม่มีเวลา และไม่มีสถานที่ ดังนั้น พระองค์ทรงยังคงมีมาแต่เดิมโดยไม่มีสถานที่ และมีมาก่อนที่จะมีสถานที่ ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงสร้างสถานที่ ดังนั้น พระองค์จึงไม่ทรงต้องการมัน

...............................
ตอบ
คุณยอมรับว่าพระองค์ อัลเลาะนั้นทรงเห็นจากอัลกุรอ่านอยางตรงไปตรงมาโดยไม่มีการ ตะวีล
และคุณก็ยอมรับว่าพระองค์ทรงได้ยินยิ่งจากอัลกุรอ่านอยางตรงไปตรงมาโดยไม่มีการ ตะวีล

แต่คุณไม่ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาในซีฟัตอื่นที่พระองค์ทรงใช้ให้ลักษณะตัวตนของพระองค์เอง เช่น
,يد, الوجه ,لاستواء โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่าจะมีผู้คนมาเข้าใจผิด คุณก็เลยตะวีล เป็น อำนาจ การปกครอง
ถ้าผมมาวิเคราะห์ คำว่า ทรงเห็น,ทรงได้ยิน ก็ไม่ต่างไปจาก ,يد, الوجه ,لاستواء ที่พระองค์ทรง
จะให้ความเข้าใจแก่บ่าวของพระองค์ที่เป็นกลุ่ม โอมียีน เลย เพราะพระองค์ทรง
ليس كمثله شىء، وهو السميع البصير
พระองค์ไม่มีสิ่งใดที่เหมือน เหมือนกับพระองค์ ทั้งที่พระองค์ทรงได้ยินยิ่งและทรงเห็นยิ่ง”
และเช่นเดียวกับคำว่า الرحمن على العرش استوى ถ้าคุณยังมองคำว่า على นั้นอยู่บนหัวของคุณ
หรือบนหลังคาบ้านคุณหรืออยู่กลางอากาศเหมือนพระอิน คุณก็คือพวก อะฮ์ลีลกาลามแบบมูซับบีฮะ
ที่พยายามจะเปรียบเทียบอัลเลาะห์ ซ.บ นั้นให้เหมือนมัคลูค แต่คุณก็อ้างมาว่าพระองค์ทรงไม่มีทิศ
นี่แสดงว่าคุณกำลังเข้าใจคำว่า على นั้นเหมือนกับ ทิศบนที่เหมือนมัคลูค
หรือคำว่า استوى ถ้าคุณมองว่าพระองค์ทรงนังประทัปเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินที่ประทับอยู่บนบัลลงค์
นี่แสดงว่าคุณกำลังเข้าใจคำว่า استوى นั้นเหมือนกับมัคลูค แต่คุณมาอ้างว่า เป็นอำนาจปกครอง
ซึ่ง จะเปลียน คำจากคำอัลกุรอ่านเป็น อิสเตาวลา แทน อิสตีวา คุณก็คือเหมือนยาฮูดีและนัสรอนี
ที่ชอบ เปลียนคำในคำภีร์ของตน(คุณก็ตามพวกมันอยู่แล้วในหนึ่งแง่มุม)
ซึ่งจริงๆแล้วอัลเลาะห์ ซบ.นั้นليس كمثله شىء،

แค่คุณคิดคำว่าكان الله ولم يكن شيىء غيره
"พระองค์ทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากพระองค์(เพียงองค์เดียว)"
คุณคิดออกมั้ยว่าเป็นอย่างไร?
อายาติของพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ ที่พระองค์ทรงใช้ให้ลักษณะตัวตนของพระองค์เอง
และฮะดิษที่ซอเฮียะที่มาตัฟซีรซีฟัตอัลเลาะห์โดยท่านศาสนฑูตนั้นแหละที่ถูกต้องที่สุด
..............................
คุณอัล-อัซฮารี กล่าวว่า
3. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أقرب ما يكون العبدُ من ربّه وهو ساجد ، فأكثروا الدعاء

"บ่าวคนหนึ่ง จะใกล้ชิดไปยังอัลเลาะฮ์มากที่สุด โดยที่เขาทำการสุยูด ดังนั้น พวกท่านจงขอดุอาอ์ให้มากๆ" รายงานโดย อิมามมุสลิม
....................
ตอบ
บางครั้งท่านรอซูล ซล.กล่าวว่าอยู่บนฟากฟ้า บางครั้งท่านรอซูลกล่าวว่าได้ลงมาบางครั้งอยู่ข้างหน้า
และบางครั้งท่านรอซูลกล่าวว่าอยู่ข้างขวา และอื่นๆ นี่ก็อีกหลักฐานหนึ่งที่คุณยกมาที่แสดงว่า
พระองค์อัลเลาะห์ ซบ.ليس كمثله شىء، คุณคิดออกมั้บครับ คุณไม่ต้องไปคิดว่าพระองค์ทรงไม่มีทิศ
เพราะพระองค์ ซบ.ไม่เคยตรัสอย่างนั้นในอัลกุรอ่านและท่านรอซูล ซล.ก็ไม่เคยบอกให้ใครรู้ว่าเป็นอย่างนั้น
ถ้าหากว่าพระองค์จะกำหนดให้มีทิศ พระองค์ก็ยอมที่จะกระทำได้ ใช้มั้ยครับ
ในเมื่อ แนวสาลัฟเป็นแนวของซอฮาบัต อย่างไม่มีข้อสงสัย แล้วคุณยังจะคิดว่าแนวคอลัฟนั้นจะดีกว่าหรือ?

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
คุณอัซฮารี ครับ
คุณมาเปิดประเด็นในเรื่องนี้เพื่อที่จะชี้ว่า อูลามะห์คนนั้นผิดคนนี้ถูก
หรือเปล่าครับ เพราะเห็นว่าคุณใช้คำว่าโกหกกับอูลามะห์หลายๆคนที่เป็นมุจตาฮิจ และที่สังคมเขายอมรับ จริงอยู่ที่ว่าอูลามะห์นั้นจะไม่ถูกไปเสียทุกเรื่องนอกเสียจากท่าน รอซูล ซล.เท่านั้น แต่ผมเชื้อว่าพวกบรรดาอูลามะห์ที่ถูกกล่าวหาโดยคุณนั้นพวกเขาจะเข้าใจในเรื่องศาสนาได้ดีกว่าคุณ แค่ในการใช้ภาษาผมก็ยังคิดว่าพวกเขายังห่างจากคุณนัก และอีกอย่างบรรดาอูลามะห์เหล่านั้นไม่ใช่ นบี ซล.ที่จะให้เรา ตามพวกเขาไปเสียทุกอย่าง การอิจตีฮาจของเขาอาจจะผิดในบางครั้ง ซึ่งเราก็ไม่ควรไปตำหนิพวกเขาเพราะผมมั่นใจว่าพวกบรรดาอูลามะห์เหล่านั้นเขามีหลักฐานที่จะทำให้เขากล่าวเช่นนั้น เรามาสนทนาในครั้งนี้เพื่อที่จะมาหาความรู้ที่จะนำพวกเราไปในทางที่ถูกต้อง และพระองค์อัลเลาะห์ก็จะชี้นำเฉพาะผู้ที่พระองค์อยากจะชี้นำ
คุณจะกล่าวแก่พวกเขาว่าโกหกซึ่งพวกเขาเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว อย่างนี้คุณจะไปขอมาอัฟจากเขาได้ที่ใหนอีกละ
เรื่องกีตาบ อัลอีบานะ ของอีหม่ามอัลอัชอารีที่คุณกล่าวว่า พวก วาฮาบีได้ปลอมมันขึ้นมา
ถ้าคุณมีของจริงลองยกมาให้พวกเราได้ชื้นชมหน่อยซิครับ หรือจะเป็นกีตาบเล่มใหนก็ได้
ของอีหม่ามอัลอัชอารี ลองยกตัวอย่างมาให้เราได้เพิ่มความรู้หน่อยซิครับ จะขอคุณยิ่ง
ขอมาอัฟทุกๆ ท่านด้วยที่คำของผมบางครั้งที่ทำให้ท่านไม่พอใจ
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jan 31, 2006 1:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความของอัล-อัซฮารี
บังอะสันแปลว่า
وفي الآية إثبات العلو لله تعالى
"และในอายะฮนี้ เป็นการรับรองการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ(ซ.บ)"
แต่ที่ถูกต้องนั้น ต้องให้ความหมายว่า "รับรองถึง ความสูงส่ง " ไม่ใช่ไปแปลบิดเบือนเข้าทางตนเองว่า"ทรงอยู่เบื้องสูง" ที่ให้ความหมายว่าพระองค์ทรงมีสถานที่ ที่ทั้งคำว่า"العلو " นั้น ไม่ใช่ให้ความหมายแบบมีสถานที่เลย ( الظرفية ) แต่มันกลับให้ความหมายถึงสภาวะการ ที่สูงส่งต่างหาก ( المصدر )
......................................................................
ตอบ
อายะฮดังกล่าวคือ
أَأَمِنتُم مَّن فِي السَّمَاء أَن يَخْسِفَ بِكُمُ الأَرْضَ فَإِذَا هِيَ تَمُورُ
[67.16] พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ จากผู้ทรงอยู่บนฟากฟ้าจะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าแล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว
และท่านอิบนุอับบาสอธิบายว่า
أَأَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ ) قال ابن عباس: أي: عذاب مَنْ في السماء إن عصيتموه
(หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัย(จาก)ผู้ทรงอยู่บนฟ้ากฟ้า) อิบนุอับบาสกล่าวว่า หมายถึง การลงโทษของผู้ทรงอยู่บนฟากฟ้า หากพวกเจ้าฝ่าฝืนพระองค์ - ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย เล่ม 8 หน้า 579
คำว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ก็แสดงให้เห็นว่าพระอง๕ทรงอยู่เบื้องสูง ใหนคุณแปลว่าอย่างไร คุณพยายามดิเครดิตว่าของคุณสุดยอด แล้วคนอื่นแปลผิด มาดูโองการที่ว่า
مَن كَانَ يُرِيدُ الْعِزَّةَ فَلِلَّهِ الْعِزَّةُ جَمِيعاً إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ
35.10] ผู้ใดต้องการอำนาจ ดังนั้น อำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮ์ คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์ และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญมัน
คำว่า”คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์” คำนี้ชี้ชัดว่าพระองค์ทรงอยู่เบื้องสูง ส่วนความสูงส่งในฐานะนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปฏิเสธอยู่แล้ว ผมไม่ค่อยมีเวลามากนักในช่วงนี้ จึงพยายามไม่ไปสนใจเรื่องไร้สาระบางเรื่อง ที่คุณพยายามดิสเครดิต ผม คุณนั้นยังห่างชั้นจากบรรดาอุลามาอฺ ที่พวกคุณ พยายามทำลายความน่าเชื่อถือ ด้วยวิชาภาษาอาหรับที่เข้าใจผิดว่าตัวเองสุดยอด คำว่า في เป็นคำบุพบท การใช้ความหมายนั้น เราต้องดูว่า มันทำหน้า ขยายคำใด เช่น
رغب في คำนี้ แปลว่า ชอบ
في السماء แปลว่า บนฟ้า
في الأرض แปลว่า บนพื้นดิน หรือ จะแปลว่าในดิน ก็แล้วแต่กรณี
คุณอย่าได้มาอวดเรื่องภาษาเลยครับ คุณพยายามเอาหลักภาษา มาหักล้างอัลกุรอ่านและหะดิษ เลยครับ ท่านนบี ศอลฯและเหล่าสาวกเขารู้ดี เตาฮีดแบบที่คุณเรียน เป็นอย่างนี้เอง ที่ผลผลิตออกมาจึงมีชิริกบิดอะฮเต็มบ้านเต็มเมือง --
...............
..................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Feb 01, 2006 12:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองมาดูคำว่า في
في حــــــــــــرف
بَيْنَمَا
during , whilst
خِلالَ , أَثْناءَ
pending
داخِلَ , عِنْدَ , عَلَى
in , at , on , a-
عَلَى , فِي حالَةِ كَذَا
in the manner of , a-
عَنْ , بِخُصُوص , بِشَأْن
concerning , about , over
http://qamoos.sakhr.com/idrisidic_1.asp?Sub=%dd%ed
การใช้ความหมาย ของคำ บุพบท قي เป็นหลักการใช้ภาษา ไม่ใช่การตีความ อย่าพยามโชว์ว่าเก่งภาษาเลยครับ ท่านนบี ศอลฯถูกส่งมาสอนศาสนา ไม่ใช่มาเอาวิชา النحو มาหักล้างกุรอ่านและหะดิษ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุหัมมัด
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 06/11/2005
ตอบ: 210


ตอบตอบ: Wed Feb 01, 2006 4:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณอะสันกล่าวว่า

เชื่อถือ ด้วยวิชาภาษาอาหรับที่เข้าใจผิดว่าตัวเองสุดยอด คำว่า في เป็นคำบุพบท การใช้ความหมายนั้น เราต้องดูว่า มันทำหน้า ขยายคำใด เช่น
رغب في คำนี้ แปลว่า ชอบ
في السماء แปลว่า บนฟ้า
في الأرض แปลว่า บนพื้นดิน หรือ จะแปลว่าในดิน ก็แล้วแต่กรณี
คุณอย่าได้มาอวดเรื่องภาษาเลยครับ คุณพยายามเอาหลักภาษา มาหักล้างอัลกุรอ่านและหะดิษ เลยครับ ท่านนบี ศอลฯและเหล่าสาวกเขารู้ดี เตาฮีดแบบที่คุณเรียน เป็นอย่างนี้เอง ที่ผลผลิตออกมาจึงมีชิริกบิดอะฮเต็มบ้านเต็มเมือง --

ผมขอกล่าวว่า

ดูซิครับ คุณอะสันแกคิดลงทะเลเหมือนเดิม พอน้องอัล-อัซฮะรีย์เขาช่วยแปลให้เข้าหลักการ แกก็หาว่าน้องเขาคิดว่า "ตนเองสุดยอด" ทั้งที่เขาไม่รู้เรื่องสักนิด แล้วคุณอะสันก็พยายามอยู่อย่างนั้นแหละครับ ว่า ไอ้คำว่า"ฟี" ตัวนี้ มันต้องแปลว่า "บน" ให้ได้ โดยเอาไปเทียบกับคำอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ "คุณลักษณะของอัลเลาะฮ์" ที่วะฮาบีย์จะให้ความหมายหะกีกัตเท่านั้น แต่เขาดันไปเปรียบกับคำที่ ไม่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ เช่น رغب في คำนี้ แปลว่า ชอบ
في الأرض แปลว่า บนพื้นดิน หรือ จะแปลว่าในดิน ก็แล้วแต่กรณี แต่คุณอะสันก็ทิ้งท้ายด้วยคำว่า"แล้วแต่กรณี" ไอ้กรณีนี้คืออะไรครับ คือสิ่งที่มาผันความหมายเดิมให้เป็นอื่นใช่ใหมครับ? แบบนี้มันก็มะญาซฺนะซิครับ กรุณาอย่าดันทุรังเลยครับ "ใน" ฟ้าก็คือในฟ้า หากจะแปลด้วยคำเดิม ซึ่งคำเดิมแปลว่า"ใน" แต่เวลาจะเอากลับไปแปลว่า"บน" (เพราะแล้วแต่กรณี" อย่างนี้มันชัดแล้วครับว่า ผันคำ แต่หากว่าจะบอกว่ามันเป็นมะญาซฺ ก็บอกมาเถอะ ไม่ต้องกลัวว่าจะขัดแย้งกับหลักการของตนหรอก เราก็จะได้คุยกันต่อไป

แต่เท่าที่ผ่านมา คุณอะสัน คุณฟาอิส ก็เวียนอยู่ในอ้าง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.09 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ