ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
u
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2003
ตอบ: 114


ตอบตอบ: Mon Jun 20, 2005 9:22 am    ชื่อกระทู้: ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทางสายกลางในศาสนาอิสลามคืออะไร ?
เชคริฎอ อะหฺหมัด สะมะดี


ใครศึกษาอัลกุรอานต้องตระหนักดีว่าศาสนาอิสลามให้ทางนำอันเป็นสายกลาง
ระหว่างความยากลำบากกับความปล่อยปละละเลย ซึ่งแนวกลางนี้คือความง่ายความสะดวก
ในการดำรงชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจ ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า
“และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142)



เจตนารมณ์ของหลักการอัลอิสลาม
คือให้มุสลิมดำรงชีวิตด้วยหลักการอิสลามโดยไม่มีความลำบาก
ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
“อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้พวกเจ้ามีความสะดวกและมิทรงประสงค์ให้พวกเจ้าประสบความลำบาก”
และในซูเราะฮฺอันนิซาอฺ อายะฮฺ 28 “อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้ลดลง(ความลำบาก)แก่พวกเจ้า”
และในซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6 “อัลลอฮฺมิทรงประสงค์ให้พวกเจ้ามีความลำบาก”
ในซูเราะฮฺอัลฮัจย์ อายะฮฺ 78 “และพระองค์มิทรงทำให้ในศาสนามีความลำบากกับพวกเจ้า”



ในพจนารถของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ก็มีการยืนยันในเจตนารมณ์นี้ ดังที่ปรากฏในหะดีษบันทึกโดยบุคอรียฺ
ท่านนบีกล่าวไว้ว่า “จงทำ(เรื่องศาสนา)ให้ง่าย และอย่าทำ(เรื่องศาสนา)ให้ยาก”
และในการบันทึกของท่านอิมามบุคอรียฺ รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา
กล่าวว่า “เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกเสนอให้เลือกระหว่างสองประการ
ก็ย่อมจะเลือกสิ่งที่สะดวกกว่า เว้นแต่(สิ่งที่สะดวกกว่า)จะเป็นความผิด
หากเป็นความผิดก็จะเป็นผู้ห่างไกลที่สุดจากมัน”
และในการบันทึกของท่านอิมามบุคอรียฺเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาหรับ(ชนบท)คนหนึ่ง
ปัสสาวะในมัสยิดและศ่อฮาบะฮฺได้ประณาม แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้กล่าวว่า “ปล่อยเขาและจงเอาภาชนะที่มีน้ำมาเท แท้จริงพวกท่านถูกส่งมา(ให้เทศนา)
เป็นผู้อำนวยความสะดวก มิได้ถูกส่งมาเพื่อสร้างความลำบาก”



ใครที่ศึกษาบทบัญญัติอัลอิสลามย่อมมีความเข้าใจว่าความสะดวกที่อัลอิสลาม
เอื้ออำนวยให้แก่ผู้ศรัทธานั้น แม้ว่าจะเป็นกรอบที่ชัดเจนแต่ก็ต้องอยู่ในกรอบแห่งหลักการของอัลอิสลามด้วย
กล่าวคือ ถ้าเป็นความสะดวกก็จำเป็นต้องมีข้ออนุโลมในหลักการของอัลอิสลาม
มิใช่เพียงเป็นทัศนะหรือการตีความหลักฐานโดยไร้เหตุผล
เพราะท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ได้ยืนยันว่าทางเลือกของท่านนบี
คือสิ่งที่มีความสะดวกแต่ต้องไม่ผิดหลักการ



บางคนอาจเข้าใจว่าความสะดวกที่ศาสนาอิสลามอำนวยให้แก่มุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ)
คือการเลือกแนวทางที่สะดวก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการก็ตาม
ในวงนักวิชาการก็มีบางคนที่เข้าใจแนวทางนี้อย่างคลาดเคลื่อนจนกระทั่ง
ส่งผลให้มีทัศนะอนุโลมให้ประพฤติสิ่งที่ผิดต่อหลักการ เช่น ใช้ริบาอฺ(ดอกเบี้ย) สูบบุหรี่
โกนเครา ฟังเพลง ปะปนระหว่างผู้หญิงผู้ชายในกิจกรรม และอื่นๆ
ซึ่งข้ออ้างที่มักจะได้ยินจากนักวิชาการกลุ่มนี้คือ อิสลามเป็นศาสนาที่สะดวกง่ายดาย
แต่กลุ่มนี้ลืมไปว่าสิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้อย่างชัดเจนโดยมีหลักฐานที่ประจักษ์แจ้ง
นั่นคือความสะดวกสำหรับมุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ)
กล่าวคือ ใครแสวงหาความสะดวกก็ต้องตระหนักว่า สิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้นั่นคือความสะดวก
มิใช่ความสะดวกที่ตนต้องการ หรือกระแสของสังคมเรียกร้อง หรือพฤติกรรมที่ถูกสืบทอดมาจนกระทั่งลบล้างไม่ได้
จึงต้องหาทางออกโดยอ้างความสะดวกความง่ายของศาสนา
ดังนั้น ใครที่เข้าใจเหตุผลข้างต้นก็จะเข้าใจว่า การห้ามริบาอฺ(ดอกเบี้ย)นั่นคือความสะดวก
การห้ามฟังเพลงและดนตรีนั่นคือความสะดวก
และการคลุมหิญาบ(จะปิดหน้าหรือไม่ปิดหน้าแต่ต้องตรงกับหลักการ)นั่นคือความสะดวก เช่นนี้เป็นต้น




นักวิชาการทั้งในกลุ่มประเทศอาหรับและในประเทศไทยบางท่านที่แสดงตนเป็นนักวิชาการที่อยู่ในทางสายกลาง
โดยตีความว่าไม่ใช่หัวรุนแรงและไม่ใช่ผู้ปล่อยปละละเลย สังคมบางกลุ่มจึงเข้าใจว่า
ใครที่ยึดมั่นกับสิ่งที่เป็นหลักการของอัลอิสลามถึงแม้ว่าจะถูกต้อง
แต่ถ้าส่วนมากในสังคมรับไม่ได้(เช่น การปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺ)
ก็จะเชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้(ผู้ยึดมั่น)เป็นพวกหัวรุนแรงหรือเคร่งครัดเกินเหตุ
จึงทำให้สังคมมองกลุ่มเหล่านี้ในแง่ตำหนิและไม่พอใจ
ผลที่ปรากฏเกิดจากคำแนะนำของนักวิชาการที่ไม่ทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ
อยากยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจในเหตุการณ์ปัจจุบันนี้
คือนักวิชาการศาสนาในประเทศอาหรับที่มีชื่อเสียง
และถือเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยกย่องว่า ฟัตวาของท่านเป็นฟัตวาที่อยู่ในทางสายกลาง
คือ เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ท่านเป็นผู้รู้ที่มีบทบาทในการเผยแผ่ศาสนาและต่อสู้เพื่อสัจธรรม
แต่นักวิชาการในโลกมุสลิมได้ตำหนิแนวทางเข้าใจศาสนาของท่าน
เพราะฟัตวาของท่านมักจะเป็นฟัตวาที่หาทางออกให้กับประชาชนอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงหลักฐานที่ถูกต้อง
ท่านเชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ก็มีฟัตวาที่แปลกประหลาด
เช่น อนุโลมให้มุสลิมที่อยู่ในยุโรปกู้เงินด้วยดอกเบี้ยเพื่อซื้อบ้านส่วนตัว,
ฟัตวาอนุโลมให้ฟังเพลงฟังดนตรีโดยกล่าวหาผู้ห้ามว่าเป็นพวกหัวรุนแรง,
ฟัตวาอนุโลมให้มีการปะปนระหว่างผู้หญิงผู้ชายในกิจกรรม,
ฟัตวาอนุโลมให้มุสลิมในสหรัฐอเมริกาที่เป็นทหารร่วมมือถล่มประเทศมุสลิม
เช่นอัฟฆอนิสตาน เป็นต้น เชคก็อรฎอวียฺมีเหตุผลเสมอในฟัตวาดังกล่าวคือ
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มุกัลละฟีน(ผู้ปฏิบัติบทบัญญัติ) ทั้งๆที่เรื่องห้ามริบาอฺ
ห้ามฟังดนตรี ห้ามปะปนผู้หญิงกับผู้ชาย และห้ามร่วมมือกับศัตรูเพื่อถล่มมุสลิมนั้น
มีตัวบทที่ชัดเจน ซึ่งฟัตวาของเชคก็อรฎอวียฺนอกจากขัดกับตัวบทแล้ว
ก็ยังสวนทางกับฟัตวาคณะอุละมาอฺส่วนมากทั่วโลกมุสลิม แนวทางของเชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ
กำลังถูกเผยแพร่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจและตีความบทบัญญัติของอิสลาม
จึงส่งผลให้นักวิชาการบางท่านที่ไม่รอบคอบกว้างขวางในการศึกษาและตรวจสอบหลงกับแนวทางนี้
ทำให้สังคมมุสลิมในประเทศไทยได้รับความสับสนจากฟัตวาแปลกประหลาดเช่นนี้




ปฏิเสธไม่ได้ว่า เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ เป็นนักต่อสู้และเผยแผ่อิสลามมานานพอสมควร
และท่านมีอุดมการณ์และความห่วงใยต่อประชาชาติอย่างหนักแน่นพอสมควร
ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่นักวิชาการบางท่านที่ติดตามแนวทางของ เชคยูซุฟ ก็อรฎอวียฺ ในประเทศไทยก็มีเช่นเดียวกัน
แต่คุณลักษณะนี้ไม่เพียงพอที่จะให้นักต่อสู้เพื่ออิสลามนั้นบรรลุเป้าหมาย
หนำซ้ำยังเป็นความคิดที่อาจสร้างความสับสน และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อหลักการอิสลามด้วย




นักวิชาการกลุ่มนี้สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าเรื่องความเคร่งครัดเป็นเรื่องส่วนตัว(เช่น การปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺ
และการปะปนระหว่างหญิงชายในกิจกรรมนักศึกษา เป็นต้น) โดยไม่ควรที่จะนำเรื่องความเคร่งครัดส่วนตัว
มาเป็นกฎเกณฑ์ในการทำงานต่อสู้ญาฮิลียะฮฺ ประชาชนจึงต้องเข้าใจว่าเรื่องปิดหน้านั้นเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เรื่องศาสนา
เพราะยังไม่มีใครเข้าใจว่าการปิดหน้าสำหรับมุสลิมะฮฺหรือการแยกระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย
ในกิจกรรมนักศึกษาจะขัดกับการต่อสู้ระบอบญาฮิลียะฮฺได้อย่างไร
แทนที่จะต้องสนับสนุนผู้เคร่งครัดในหลักการเพื่อเป็นตัวอย่างเป็นแบบฉบับอันดีงาม
กลับเป็นผู้ให้เหตุผลที่ทำให้อะวาม(ชาวบ้านทั่วไป)
มองผู้เคร่งครัดว่าเป็นพวกหัวรุนแรงหรือประพฤติในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล




การปิดหน้าไม่เคยเป็นอุปสรรคในการทำงานศาสนา ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภรรยาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
แม้จะปิดหน้าแต่ท่านก็มีบทบาทสูงมากในการให้ความรู้ให้คำแนะนำ
แม้กระทั่งกับผู้ปกครองระดับคอลีฟะฮฺ ปัจจุบันนี้ในประเทศอาหรับหลายประเทศมีมุสลิมะฮฺที่เป็นแพทย์ วิศวกร
นักวิเคราะห์ นักเขียน และนักเคลื่อนไหวที่ปิดหน้า
แต่ก็ไม่ได้สร้างความลำบากแก่มุสลิมะฮฺในการต่อสู้ญาฮิลียะฮฺแต่อย่างใด




การเอาใจประชาชนในเรื่องศาสนาเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้ผลที่ต้องการ
เพราะประชาชนจะเคยชินกับฟัตวาที่ง่ายสะดวกโดยไม่ผูกพันกับหลักการและตัวบทที่ถูกต้อง
ในสุดท้ายถ้ามีฟัตวาได้ยึดมั่นในความถูกต้อง(แต่ลำบากในการปฏิบัติ)
ก็จะถูกต่อต้านจะประชาชน เพราะเข้าใจกันแล้วว่าศาสนาไม่มีความลำบากแต่อย่างใด
เชคก็อรฎอวียฺเคยให้ฟัตวาเกี่ยวกับการบอยคอตสินค้าศัตรูอิสลาม
แต่ฟัตวานี้ถูกต่อต้าน เพราะไม่ตรงกับอารมณ์ความต้องการของประชาชนทั่วไป
และเชคก็อรฎอวียฺก็ไม่สามารถเปลี่ยนฟัตวานี้เพราะเป็นอุดมการณ์ของท่าน
ซึ่งผลปรากฏคือความเข้าใจที่สับสนว่าตกลงอิสลามมีความลำบากหรือไม่




อันที่จริงปัญหานี้ควรเป็นปัญหาที่ต้องปรึกษาหารือระหว่างนักวิชาการ
แต่เนื่องจากว่าแนวคิดนี้ถูกเผยแพร่ทั้งทางอินเตอร์เน็ตและสื่อมวลชนโดยมีผู้สนับสนุนและเห็นด้วย
จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับพี่น้องมุสลิมในสังคมของเรา
เจตนารมณ์ของผู้เขียนบทความนี้คือ ต้องการให้นักวิชาการและประชาชนตระหนักว่าหลักการอิสลามที่ถูกต้อง
ย่อมมีความสะดวกในตัวมัน และความสะดวกมิใช่กิเลสหรือความเข้าใจส่วนตัวที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐาน
ในการเลือกทัศนะหรือตีความตัวบท และเป้าหมายของอิสลามคือยกระดับของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ
และความตระหนักในหลักการและตัวบท มิใช่ตีความหลักการกับตัวบทให้ตกไปอยู่กับความต้องการของประชาชน
ไม่เช่นนั้นแล้วหลักการอิสลามทุกประการจะถูกยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง หรือยกเว้น
โดยใช้เหตุผลข้างต้น ในสุดท้ายนี้ผู้เขียนเรียกร้องให้นักวิชาการที่มีความคิดเช่นนี้ให้เป็นผู้สร้างความสะดวกกับผู้เคร่งครัด
อย่าสร้างความลำบากกับคนเคร่งครัดในหลักการ เพราะศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ง่ายสะดวกมิใช่หรือ ?


ที่มา : www.mureed.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Sun Jun 26, 2005 1:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam


ศาสนาอิสลามมีทางสายกลางหรือไม่?

ศาสนาอิสลามไม่ได้สอนในเรื่องทางสายกลาง การสอนเช่นนี้ไม่มีตามหลักการของอิสลาม ทั้งนี้เพราะว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของผู้ที่ยอมจำนนและสวามิภักดิ์เคารพบูชาต่อพระเจ้าองค์เดียวรวมทั้งการยอมจำนนและสวามิภักดิ์ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์(บัญญัติต่างๆในอัลกุรอาน),อย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

ผู้ที่ศึกษาอัลกุรอานและมีความเข้าใจ ในเนื้อ หาของ อัลกุรอาน คงจะเห็นว่า ในอัลกุรอาน บทที่ 1 “ซูเราะฮฺ อัลฟาติหะฮฺ” นั้นเริ่มต้น ด้วยการ สรรเสริญ ต่อความเมตาปราณี ของพระองค์อัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้า ของจักรวาล ทั้งปวง และกล่าวถึง อำนาจของพระองค์ ที่มีเหนือสิ่งอื่นใด, โดยเฉพาะพระองค์ เท่านั้น เป็นผู้เดียว ที่สมควร จะได้ รับการสรรเสริญ ทั้ง ปวง ไม่มีผู้ใดที่เทียบเท่าพระองค์ และ พระองค์เท่านั้น ที่ จะให้อภัยและความช่วย เหลือ ต่างๆ แก่เรา ในอายะที่ 6 ของซูเราะฮฺ นี้ เราวิงวอนขอความกรุณาปราณีจาก พระองค์ ให้แนะนำและชี้ “ทางที่เที่ยงธรรม”ในการดำเนินชีวิตของเรา เพื่อที่เราจะได้ เป็นผู้ที่อยู่ ในแนวทางของพระองค์, และปฏิบัติตามที่พระองค์ ทรงมีพระประสงค์ เพื่อที่จะไม่ หลงอยู่ในทางที่พระองค์ไม่พึงประสงค์

จากซูเราะฮฺ อัลฟาติหะฮฺ นี้ พระองค์อัลลอฮ์ทรงบัญญัติ ให้ เราทราบว่า ตามหลักการ ของศาสนาของพระองค์ คือ“อิสลาม” ที่แท้จริง จะมี “เพียงหนทาง เดียวเท่านั้น” คือ “ทางที่เที่ยงตรง ที่พระองค์ได้ ทรงประทานให้กับท่านร่อซูล มุฮัมมัด ศ็อล ลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม” นั้นก็คือ “อัลกุรอาน” เพื่อที่เราจะได้ ยึดถือไว้เป็น แนวทางดำเนินชีวิต อย่าง สมบูรณ์, ด้วยเหตุนี้ ใน “ศาสนาอิสลาม” จึงไม่มี ทางสายกลาง อย่างเช่นคำสอน ใน “พุทธศาสนา”

ศาสนา อิสลามเป็น ศาสนาของพระเจ้า (อัลลอฮ์), เป็นศาสนาที่สอดคล้องตามธรรมชาติ, เป็นศาสนาที่สอนถึงความรับผิดชอบ, เป็นศาสนาที่แสดงจุดหมายปลายทางของผู้ศรัทธาและวัตถุประสงค์ในความศรัทธา, เป็นศาสนาที่ง่ายต่อการปฏิบัติ, เป็นศาสนาที่สอนถึงความมีระเบียบวินัย, เป็นศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์

ศาสนาอิสลามสอนให้เรายึดมั่นในพระเจ้าองค์เดียว และปฏิบัติตัว ตามพระประสงค์ของพระองค์ ตามทางที่พระองค์ได้วาง ไว้ ศาสนาอิสลาม ไม่มี ศาสดา, ศาสนาอิสลาม มีแต่ ศาสนฑูต คำสอนต่างๆ ในศาสนาอิสลาม เป็น บัญญัติ ของ พระเจ้า โดยตรง ไม่มีผู้ใดที่มีสิทธิ ที่ จะ แก้ไข เพิ่มเติม หรือ ผ่อนปรน บัญญัติ ของพระองค์ได้ แม้แต่ ท่านร่อซูล มุฮัมมัด ศ็อล ลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่มีสิทธิ ที่จะ แก้ไข หรือ ดัดแปลงได้

มุสลิมเราจึง ไม่สามารถ กราบไหว้บูชาท่านร่อซูล มุฮัมมัด ศ็อล ลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และแต่งตั้งท่าน รอซูลฯ อยู่ในตำแหน่ง เช่นเดียว กับที่ ชาวพุทธ กราบไหว้บูชาศาสดาของเขา เมื่อใดก็ตาม ที่มุสลิมเปรียบเทียบ ท่านรอซูลฯ ให้อยู่ ในตำแหน่ง เช่นเดียวกับความเชื่อของชาวพุทธแล้ว, ตามหลักศรัทธาของอิสลาม จะถือว่าการกระทำ นั้น เป็น “ชิริก” คือการสร้างภาคี ให้กับพระองค์อัลลอฮ์

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ของ มนุษย์ ทุกๆคน ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึง ไม่มีหลักการปฏิบัติ ใดๆ ในศาสนาอิสลาม ที่ มนุษย์จะทำตาม บัญญัติไม่ได้, นอกเสีย จากว่า มนุษย์ เท่านั้น ที่ จะประดิษฐ์ หลักการ ใหม่ๆ ขึ้น มาเพิ่ม เติม หลักการ ปฏิบัติ ในอัลกุรอานทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติ, ในเมื่อศาสนาอิสลาม สอดคล้อง ตาม ธรรม ชาติ ของ มนุษย์ อยู่ แล้ว การสอนตามหลักการ ของอิสลาม จึง ไม่ มี “ทางสายกลาง” หรือ ทางอื่น ให้ มุสลิมเลือกปฏิบัติ นอกเหนือ ไปจาก “หนทางอันเที่ยงธรรมการตามบัญญัติ ในอัลกุรอาน” เท่านั้น

ในการปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาอิสลามที่ มุสลิมทั้งหลายปฏิบัติอยู่ในทุกๆวันนี้มีการยึดหลักการ ดังต่อไปนี้ ..

1. ปฏิบัติตามบัญญัติใน “อัลกุรอาน” และ “ ซุนนะห์ ” ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม, ในการยอมรับว่า: ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพบูชานอกจากพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น, การทำละหมาด, การจ่ายซะกาต, การทำฮัจจฺ และ การถือศีลอด, ซึ่งมีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน “ซุนนะห์ ” ดังกล่าวนี้ มีการกระทำถ่ายทอด ผ่านต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมวลชนมุสลิม เป็นจำนวนมากในแต่ละสังคมและในแต่ละสมัย, การผิดพลาดในการปฏิบัติย่อมไม่มี เนื่องจากเป็นแบบฉบับที่ยอมรับโดยมุสลิมทั่วโลก ไม่ว่าจะ อยู่ในนิกายใดๆ เป็นมาตรฐานและหลักการของอิสลาม โดยตรง ไม่มีการสอดแทรกเจือปน หรือต่อเติม เพราะ การปฏิบัติ ตาม “ ซุนนะห์ ” ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อล ลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตามที่กล่าวมานี้ มีมวลชนมุสลิมส่วนใหญ่เป็นพยาน, ซึ่งต่างจากการปฏิบัติตามเรื่องบอกเล่า ที่มีผู้เล่า เพียงคนเดียว หรือ สองคน และขาดพยานหลักฐานมาสนับสนุน

2. ศรัทธาบัญญัติใน “อัลกุรอาน” แต่ ปฏิบัติศาสนกิจตาม “หนังสือเล่มที่สอง” ที่เขียนโดย “อิมามบุคอรี และอื่นๆ” ที่มีความเชื่อว่า เป็น “วะฮี” จากอัลลอฮ์ นอกเหนือไปจากอัลกุรอาน เป็นการจดบันทึกและรวบรวม เรื่องราว ต่างๆจากการ บอกเล่า ที่เกี่ยวกับท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากท่าน รอซูลฯ สิ้นชีวิตไปแล้ว 200 กว่าปี, หนังสือเล่มที่สองรองมาจากอัลกุรอาน นี้ คือ “อะหะดีษ”


สิ่งที่ทำให้ศาสนาอิสลามยุ่งยากต่อผู้ ที่นับถือศาสนาอิสลามก็คือ หนังสือเล่มที่สองรองมาจากอัลกุรอาน หรือ “อะหะดีษ” สิ่งที่เป็นสาเหตุ และต้นเหตุ แห่งความแตกร้าว ของมุสลิม ในปัจจุบัน ทำให้มุสลิมแตกแยก ออกเป็น กลุ่มต่างๆ นิกายต่างๆ แม้แต่ในสังคมมุสลิมเล็กๆ เช่น ในเมืองไทยเรา ทั้งนี้เนื่อง จากว่า การจดบันทึก “อะหะดีษ” มีข้อผิดพลาดอย่าง มาก, มีทั้งข้อความที่เป็นกฎข้อบังคับ และข้อผ่อนผัน ในกฎนั้นๆ, ซึ่งแล้วแต่ สภาพการ ต่างๆ ของท้อง ถิ่น และ ความตั้งใจ ของ ผู้ ตีความหมาย เมื่ออ่านดูแล้ว ไม่ว่า ในข้อบังคับใดๆ แม้แต่จะ ขัดกับ อัลกุรอาน หรือ ขัด กัน เอง, ในเนื้อความ ของ เรื่องบอก เล่า เหล่านั้น , เราก็อาจจะ พบ ฮะดีษ ที่ อาจจะนำมา โต้แย้ง และ อธิบาย แบ่งรับแบ่งสู้ กลบเกลื่อน ข้อบกพร่องนั้นๆ ไปได้ หรือ พูดอีกประการหนึ่ง ก็คือ เรื่องบอกเล่าเหล่านี้(อะฮะดิษ) เป็นเครื่องมือ สำหรับ ผู้มีอำนาจ, และผู้นำศาสนาที่จะ หยิบยกขึ้นมา เป็นข้อห้าม หรือ ตั้ง บัญญัติ ใหม่ ที่ “อัลลออ์” ไม่ได้ ห้าม

อัลกุรอานซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด สำหรับมุสลิม บรรจุเนื้อความ ไว้ สองชนิดข้อความ

1.ข้อความที่เป็นอุปมาอุปมัย หรือเรื่องเปรียบเทียบ การที่จะเข้าใจเรื่องอุปมาอุปมัย นี้ จะต้อง ใช้สติปัญญา และมี ความรู้อย่างลึกซึ้งในวิชาการต่าง เพื่อใช้ในการตีความ หรืออาจจะ ต้องใช้ เวลา ในการศึกษา ค้นคว้า เพื่อที่จะทำ ความเข้าใจ โดยเหตุนี้ ผู้ที่ฉ้อฉลมักจะ ใช้ เรื่องอุปมาอุปมัย ในอัลกุรอาน มาตีความหมาย ให้ผิดพลาด หรือ บิดเบือน เพื่อ ประโยชน์ ของ ตนเอง และ หลอกลวงผู้ที่ ไม่เข้าใจ

2.ข้อความที่เป็นกฎบัญญัติ จะบอก ไว้อย่างแจ้งชัด ไม่มีความคลุมเครือ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติตาม ดังนั้นสิ่งใดที่ไม่มีข้อห้าม(หะลาล) และสิ่งที่ต้องห้าม(หะรอม), อัลลอฮ์ ได้แจ้งไว้อย่างชัดเจนในอัลกุรอาน

พระองค์อัลลอฮ์ไม่ทรงโปรดผู้ที่ โกหก และ ผู้ที่ตั้งกฎข้อห้ามนอกเหนือไปจากที่ พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน ดังจะเห็นได้จาก อายะ10:59, 5:87 (และ9:37, 7:32, 6:119, 6:140)



59. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “พวกท่านไม่เห็นดอก หรือว่า อัลลอฮ์ได้ ทรงประทาน ทุกสิ่งทุกอย่าง (เครื่องยังชีพ) ให้แก่พวกท่านแล้ว, แต่ท่านก็ทำให้บางส่วนให้เป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ (หะลาล), จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด), “อัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้แก่พวกท่านกระทำดังนั้นหรือ? หรือว่า พวกท่าน ปั้นแต่งความเท็จ โดยอ้าง(ว่าเป็นคำสั่งของ) อัลลอฮ์” (10:59)
“โอ้ ผู้ศรัทธา, จงอย่าห้ามสิ่งดีๆที่ ได้รับอนุญาตจากอัลลอฮ์, และจงอย่าเป็นผู้รุกราน, อัลลอฮ์ไม่โปรดผู้รุกราน” (5:87)
เพราะว่าส่วนมากของมุสลิมไม่ศรัทธาว่า อัลกุรอานที่พระองค์อัลลอฮ์ ประทานมาให้นั้น มี ความสมบูรณ์ และ เพียง พอ ต่อการปฏิบัติศาสนกิจ, ดังนั้นเขา จึงไปคว้า สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ ขึ้น มายึดถือเป็นบัญญัติเล่มที่สอง, ความยุ่งยาก ทั้งหลายจึงตามมา ทั้งนี้ เพราะ ว่า “คัมภีร์เล่มที่สอง” ที่รองมาจากอัลกุรอาน ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมานั้น ได้รวมเอา ขนบธรรมเนียมประเพณี อรับ ตั้งแต่สมัย หิน มาจนถึงสมัย “ญาฮิลียะฮฺ” มาบังคับใช้ ในปัจจุบัน, ได้มีการเพิ่มเติมข้อห้าม และข้ออนุโลม ต่างๆ ซึ่งบางครั้ง ขัดกับ บัญญัติใน อัลกุรอาน, ขัดกับธรรมชาติ ของ มนุษย์, เมื่อใดก็ตาม ที่ ข้อห้าม หรือ ข้อ ปฏิบัติ ต่างๆ ขัด กับ ธรรม ชาติ ของ มนุษย์ แล้ว, ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ เหล่านั้น ย่อม ไม่ ใช่ หลักความเชื่อถือของอิสลาม ทั้งนี้ เพราะ ว่า ศาสนาอิสลามเป็น ศาสนาที่ เป็นธรรมชาติที่ มนุษย์สามารถปฏิบัติได้โดย ง่ายดาย

การห้ามดอกเบี้ยในศาสนาอิสลามนั้น เป็นเรื่องที่จะต้อง วินิฉัย คำว่า الرِّبَا ในซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะ 275-281 ซึ่งหมายถึงการให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงมาก(การขูดรีด) นั้น ต่างจาก การ กู้ยืมเงิน โดย ใช้ มาตรฐานดอกเบี้ยในปัจจุบันอย่างไร? และ พิจารณาว่า ประเทศ ในกลุ่ม อรับ ทำการกู้ยืม จากธนาคารโลกอย่างไร? ซึ่งจะ อธิบายเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น


1. การห้าม ดอกเบี้ยตามมาตรฐานสากลระบบธนาคาร(ซึ่งต่างจาก“ริบาอฺ” หมายถึงดอกเบี้ยที่ขูดเลือด)นั่นคือความ ไม่สะดวกสำหรับมุสลิม ที่จะต้องทำการค้าและติดต่อ ธุระกิจ กับนาๆประเทศในตลาดโลก

2. การห้ามฟังเพลงและดนตรีนั่นคือความไม่สะดวก เพราะ เวลาเดินทางไปไหนมาใน ในสังคมใดๆ ก็ตาม จะได้ยินเสียง เพลง และ เสียงดนตรี ตลอดเวลา, มุสลิมจะต้อง อุดหูอยู่ตลอดเวลา อาจจะถูกรถชน หรือ อุบัติเหตุ ได้ง่าย อัตราการตายของมุสลิม เนื่องจากอุบัติเหตุจะสูงมาก โดย เฉพาะ ในกรุงเทพฯ

3. การคลุมหิญาบ(จะปิดหน้าหรือไม่ปิดหน้าแต่ต้องตรงกับหลักการอะไรก็ไม่ทราบ?) ไม่มีความสะดวกถ้าปิดหน้า เจาะเพียงนัยตาโผล่ออกมา แต่ถ้าจะคลุมเพื่อความสวยงาม หรือกัน กลุ่มควันพิษ หรือ ไอน้ำ มันจาก ควันรถ, หรือแดด ร้อน กลางทะเลทราย แล้ว ก็สมควร, แต่ ในห้องผ่าตัด ที่ มีทั้ง แพทย์ชายและหญิงนั้น จะต้อง ใช้ “Medical Hijab” จะใช้ฮิญาบของ “ญาฮิลียะฮฺ” ไม่เหมาะสม

4. การโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ ของมุสลิม ทั้งชายและหญิง ทุกๆวันเป็นการไม่สะดวก ควรจะใช้การรักษาความสะอาดวิธี อื่นเป็นสิ่งทดแทน ถ้าใครเห็นว่าสะดวก ก็เชิญตามสบาย ไม่มีการบังคับ ในศาสนา

5. การไว้หนวดไว้เคราเป็น เป็นความไม่สะดวก เพราะ จะต้อง กันแต่งอยู่ทุกๆวัน, มุสลิมไม่จำเป็นต้องไว้เครา แต่ถ้าจะไว้ก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ

ตามที่กล่าวมานี้ เรา จะ เห็น ว่า ศาสนา อิสลาม ไม่มี “ทางสายกลาง” มีแต่ว่า เรา จะ ยึดเส้นทางของ อัลลอฮ์ ซึ่งเป็น หนทางที่เที่ยง แท้ ( โปรดทบทวน“ซูเราะฮฺ อัลฟาติหะฮฺ”) ที่ท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยึดถือ และปฏิบัติตาม, หรือว่า เรา จะยึด “เส้นทางของ “อิมามบุคอรีและอื่นๆ”, ซึ่งเป็นการกระทำที่แอบอ้างเอาชื่อของท่าน ร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไปอ้างอิงโดยที่ท่านไม่มีโอกาสที่จะทำการ ท้วงติง หรือรับทราบในสิ่งบอกเล่าที่เกี่ยวกับตัวท่านว่าผิดหรือถูกอย่างไร และมีความจริงหรือไม่, ทั้งนี้เพราะท่านได้สิ้นชีวิตไปแล้ว

ศาสนาอิสลามจะง่ายต่อการปฏิบัติถ้ามุสลิมทุกๆท่านปฏิบัติตามซุนนะห์ ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่แท้จริง, คือ ยึด อัลกุรอานเป็นหลักการของอิสลาม ตาม พระประสงค์ ของ อัลลอฮ์แต่เพียงอย่างเดียว แล้วเราก็ไม่ต้องไปเที่ยวหาทางสายกลางซึ่งอาจจะทำให้เกิด การหลงทาง จาก แนวทางอันเที่ยงตรงของ อัลลอฮ์


wassalam


แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Jun 26, 2005 10:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1. ที่คุณ Matt กล่าวว่า อิสลามไม่ได้สอนเรื่องทางสายกลางนั้น แล้วตกลงที่คุณ u ยกมาจากอัลบากอเราะห์ “และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142) คุณแปลเป็นอะไรไม่ทราบ

2. ที่คุณกล่าวว่า ปฏิบัติตามบัญญัติใน “อัลกุรอาน” และ “ ซุนนะห์ ” ผมอยากจะถามว่า ในเมื่อคุณไม่เอาฮะดิษ เอาแต่ อัลกุรอ่าน และ คุณเชื่อว่า นบีปฎิบัติตามอัลกุรอ่าน ผมก็เลยจะถามว่า แล้วซุนนะห์ มายังงัย ลำพัง คุณยกอัลกุรอ่านอย่างเดียว ก็ครอบคลุมแล้ว ที่พวกเราเอาฮะดิษเพราะว่า อัลกุรอ่านนั้น ได้บอกหลักการไว้กว้างๆ เช่นการละหมาด ผู้ที่มาสาธยาย และทำให้เราดูก็คือ นบี ซล ดังนั้น การละหมาดของพวกเรา จึงทำตามแบบอย่างของนบี นั่นก็คือ ซุนนะห์ แล้วคุณแมทท์ ละหมาดตามกุรอ่าน ละหมาดอย่างไร ช่วยบอกที

3. ที่คุณแมทท์ กล่าวว่า " การทำฮัจจฺ และ การถือศีลอด, ซึ่งมีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน “ซุนนะห์ ” ดังกล่าวนี้ มีการกระทำถ่ายทอด ผ่านต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมวลชนมุสลิม เป็นจำนวนมากในแต่ละสังคมและในแต่ละสมัย, การผิดพลาดในการปฏิบัติย่อมไม่มี"
ผมอยากจะถามว่า ในเมื่อคุณใช้บรรทัดฐานว่า มีการปฎิบัติต่อๆ กันมา ดังนั้นความผิดพลาดย่อมไม่มี ผมอยากจะถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น นบีมูฮำหมัดมาทำไมล่ะครับ ในเมื่อการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต ก็มีในคัมภีร์เล่มก่อน อาหรับมุชริก ก็ทำฮัจย์ครับ รู้จักอัลลอฮ พวกยิวก็รู้จักการถือศีลอด ก็ทำจากอาหรับมุชริก ต่อจากคริสเตียน ต่อจากยิว ก็จบ เพราะทำต่อๆ กันมา ความผิดพลาดก็ไม่มี

4. ที่คุณกล่าวว่า " เนื่องจากเป็นแบบฉบับที่ยอมรับโดยมุสลิมทั่วโลก ไม่ว่าจะ อยู่ในนิกายใดๆ เป็นมาตรฐานและหลักการของอิสลาม โดยตรง ไม่มีการสอดแทรกเจือปน หรือต่อเติม เพราะ การปฏิบัติ ตาม “ ซุนนะห์ ” ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อล ลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตามที่กล่าวมานี้ มีมวลชนมุสลิมส่วนใหญ่เป็นพยาน, ซึ่งต่างจากการปฏิบัติตามเรื่องบอกเล่า ที่มีผู้เล่า เพียงคนเดียว หรือ สองคน และขาดพยานหลักฐานมาสนับสนุน "
ผมอยากจะถามว่า ในขณะที่นบีได้วะฟาตไปแล้วนั้น มุสลิมเพิ่งจะเริ่มขยายตัวออกไป สู่แคว้นแดนต่างๆ และพวกเขาก็ไม่เคยเห็นนบี ขนาดฮะดิษรายงานจากคนที่ร่วมเป็นร่วมตายกับนบี ยอมจ่ายทุกสิ่ง ทุกอย่างในชีวิต คุณกลับไม่เอา แต่ไปเอาการยอมรับ จากมุสลิมที่ไม่เคยเห็นนบี


5. ที่คุณกล่าวว่า " ศรัทธาบัญญัติใน “อัลกุรอาน” แต่ ปฏิบัติศาสนกิจตาม “หนังสือเล่มที่สอง” ที่เขียนโดย “อิมามบุคอรี และอื่นๆ” ที่มีความเชื่อว่า เป็น “วะฮี” จากอัลลอฮ์ นอกเหนือไปจากอัลกุรอาน "

ผมก็อยากจะถามคุณว่า ขนาดคนที่ไม่เคยเห็นนบี คุณสามารถเชื่อคนเหล่านั้นได้ แล้วบันทึกรายงานจากบุคคลที่เห็นนบี อยู่กับนบี กินกับนบี หลับนอนกับนบี ออกสงครามกับนบี ทำไมคุณไม่เชื่อ

6. ที่คุณกล่าวว่า " เราก็อาจจะ พบ ฮะดีษ ที่ อาจจะนำมา โต้แย้ง และ อธิบาย แบ่งรับแบ่งสู้ กลบเกลื่อน ข้อบกพร่องนั้นๆ ไปได้ หรือ พูดอีกประการหนึ่ง ก็คือ เรื่องบอกเล่าเหล่านี้(อะฮะดิษ) เป็นเครื่องมือ สำหรับ ผู้มีอำนาจ, และผู้นำศาสนาที่จะ หยิบยกขึ้นมา เป็นข้อห้าม หรือ ตั้ง บัญญัติ ใหม่ ที่ “อัลลออ์” ไม่ได้ ห้าม "

ผมว่าคุณมั่วแล้วครับ ตลอดเวลาอันยาวนาน คนที่ปฎิบัตตามฮะดิษนั้น มักเป็นศัตรูกับเจ้าเมือง ขอคุณเชิญกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่ ถ้าไม่รู้ก็อย่ามั่วครับ และการขัดแย้งก็มีในกลุ่มซอฮาบะห์เช่นกัน การขัดแย้งเหล่านั้น ไม่ได้ทำให้อิสลามแตกแยกครับ เขาเรียกการคิลาฟครับ กรุณาอย่ามั่ว

7. ที่คุณกล่าวว่า "ข้อความที่เป็นกฎบัญญัติ จะบอก ไว้อย่างแจ้งชัด ไม่มีความคลุมเครือ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติตาม "
ผมอยากถามคุณว่า ในเมื่อ การละหมาดคือกฎบัญญัติ แล้วท่านบอกว่า กุรอ่านบอกชัดเจน เพื่อไม่ให้คลุมเครือ ผมอยากถามว่า แล้วท่าทาง ในกฎบัญญัตินี้ อยู่ตรงใหนครับ

8. ที่คุณกล่าวว่า " การห้ามริบาอฺ(ดอกเบี้ย)นั่นคือความสะดวก การห้ามฟังเพลงและดนตรีนั่นคือความสะดวก และการคลุมหิญาบ(จะปิดหน้าหรือไม่ปิดหน้าแต่ต้องตรงกับหลักการ)นั่นคือความสะดวก "

คงมีคุณคนเดียวแหละครับที่เข้าใจว่า มันเป็นความสะดวก

9. ที่คุณกล่าวว่า " “คัมภีร์เล่มที่สอง” ที่รองมาจากอัลกุรอาน ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมานั้น ได้รวมเอา ขนบธรรมเนียมประเพณี อรับ ตั้งแต่สมัย หิน มาจนถึงสมัย “ญาฮิลียะฮฺ” มาบังคับใช้ ในปัจจุบัน,"

ผมอยากถาม ฮะดิษนั้น บังคับให้คุณกินแกงของอาหรับหรอครับ ถ้าไม่ใช่ แล้วมีตรงใหน ในกุรอ่าน และ ฮาดิษที่นำมาใช้ไม่ได้ กับชนชาติอื่น

10. ที่คุณกล่าวว่า " การห้ามดอกเบี้ยในศาสนาอิสลามนั้น เป็นเรื่องที่จะต้อง วินิฉัย คำว่า الرِّبَا ในซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะ 275-281 ซึ่งหมายถึงการให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงมาก(การขูดรีด) นั้น ต่างจาก การ กู้ยืมเงิน โดย ใช้ มาตรฐานดอกเบี้ยในปัจจุบันอย่างไร?"

ตกลงคุณจะวินิจฉัย กุรอ่านแล้วใช่ใหมครับ ใหนบอกว่าตามสิ่งที่บัญญัติ จากอัลกุรอ่านงัยครับ ในเมื่อห้ามกินดอกเบี้ย พวกเราที่ตาม หนังสือเล่มที่สอง ขอยอมจำนน แต่ท่านวินิจฉัยมัน ใครกันแน่ครับที่เอากุรอ่าน

ยังมีอีกเยอะครับ คุณแมทท์ แต่ขอเพียงเท่านี้ก่อน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 4:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

สวัสดี คุณ dabdulla


ความจริงผมอยากคุยกับคุณนานๆ แต่ พออ่าน คำตอบของคุณ จากกระทู้ Are you shi-ah? Matt แล้ว คิดว่าคงไม่เกิดประโยชน์อะไรในแง่วิชาการ, ทีแรกคิด ว่า คงจะได้ แลกเปลี่ยน เหตุผล กันบ้าง เพราะการเสวนา ในเรื่องเช่นนี้ ต้องการความอดทน ไม่ว่า เรา จะ มีความเห็น ต่างกันมากน้อย เท่าใด ก็ตาม เรา ก็ยัง มี ความยึด มั่น ใน “อัลลอฮ์” อัลกุรอาน และ ท่านรอซูล เช่นเดียวกัน


การปฏิบัติ ศาสนกิจ ก็คง ทำเช่น เดียวกัน และเราก็ยัง ปฏิบัติ ประพฤติตน อยู่ในหลักการ ของอิสลาม เช่น เดียว กัน, เช่น ในกรณี “ชีอะต์มุสลิม” ถึงแม้ว่า “ซุนนีย์ มุสลิมบางท่าน ไม่ยอมรับว่า เขาเป็น มุสลิม แต่ เขาก็ มีความศรัทธา ต่อ “อัลลอฮ์” อัลกุรอาน และ ท่านรอซูล ในสายตาและความศรัทธาของผม “ชีอะต์มุสลิม” ก็ เป็น มุสลิมเช่น เดียว กับ คุณ และผม นั่นแหละ, เราไม่มีสิทธิจะไปตัดสินในความศรัทธา ของ ใครได้ ว่า จะเป็นมุสลิมหรือไม่ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง อยู่ ใน สายตาของอัลอฮ์ อัลลอฮ์ เท่านั้นที่มีสิทธิตัดสิน


ความจริงผมไม่อยากจะเสียเวลา เขียน ตอบคุณ เพราะ เกรงว่า คุณจะไม่อ่าน แต่ ต้อง การ ที่ จะ ขยายความถึง ความเข้าใจของผม..เรื่องทางสายกลางในศาสนาอิสลาม...


1. ที่คุณ Matt กล่าวว่า อิสลามไม่ได้สอนเรื่องทางสายกลางนั้น แล้วตกลงที่คุณ u ยกมาจากอัลบากอเราะห์ “และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142) คุณแปลเป็นอะไรไม่ทราบ


ตอบ: ผมเห็นตั้งแต่แรกแล้วว่า ผู้เขียนอาจจะผิดพลาดเรื่องการ อ้าง ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142 ความจริง ท่านผู้เขียน อาจจะหมายถึง ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 143, แต่เนื่อง จาก ความหมายต่อเนื่องกัน ผมเลยรวม ชี้แจง ความเข้าใจ ของผม ทั้งสอง อายาต ไปเลย


ตามที่คุณถามผมว่าผมจะแปล “ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142” ว่าอย่างไรนั้น ผมจะแปลตามความหมายดังนี้,


“บรรดาผู้โง่เขลาในหมู่ประชาชนจะกล่าวว่า(ถามว่า) สิ่งใดที่ทำให้พวกเขา หันเหจาก กิบลัตของเขาจากเดิมที่เขาเคยมีอยู่, จงกล่าวเถิด (มูฮัมมัด) ว่าทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮ์เท่านั้น พระองค์จะทรงชี้ทางให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงโปรดไปสู่ทางอันเที่ยงตรง” (2:142)


เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของ อายะ 2:142 ให้ชัดแจ้ง นั้น เราจงพิจารณา อายะ 2:107 เสียก่อนว่า มีความหมายว่า อย่างไร?


“เจ้าไม่รู้หรือว่า อัลลอฮ์คือผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุดทั้งบนสรวงสวรรค์และแผ่นดิน, นอกจากอัลลอฮ์ แล้วเจ้าจะมีผู้ใดอีกหรือที่จะช่วยเหลือและคุ้มครองเจ้า?” ( 2:107)


ในอายะนี้แจ้งให้เราทราบว่า จักวาลทั้งหลาย คือ อาณาจักรของ พระองค์อัลลอฮ์ ผู้มีอำนาจสูงสุด มันจะเป็นการเสียเวลา และไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับผู้ที่ นับถือพระเจ้าหลายองค์ และ บรรดา ผู้ที่ กราบเคารพบูชารูปั้น หรือ พระเจ้า ในจินตนากากร ของเขา เพราะ สิ่งที่พวกเขากราบ เคารพบูชานั้น ไม่อาจจะ ช่วยเหลือ และคุ้มครอง พวก เขา ได้ นอกจาก อัลลอฮ์


وَلِلّهِ الْمَشْرِقُ وَالْمَغْرِبُ فَأَيْنَمَا تُوَلُّواْ فَثَمَّ وَجْهُ اللّهِ إِنَّ اللّهَ وَاسِعٌ عَلِيمٌ
(2:115)


และเช่นเดียวกัน จาก ความหมาย ของ อายะที่ 115 ของ ซูเราะห์ เดียวกันนี้ แจ้งแก่เราว่า

“ทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกอยู้ในความครอบครองของอัลลอฮ์, ไม่เราจะหันหน้าไปทางทิศใด, เราจะพบว่ามีอัลลอฮ์อยู่ทางทิศนั้น, เนื่องจากว่า อานุภาพของอัลลอฮ์ แผ่กระจายครอบคลุมไปทั่วทุกทิศและพระองค์ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง”



สำหรับ ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 143, ซึ่งเป็น อายะที่ผู้เขียน มี เจตนา จะอ้างถึง ประโยคที่ว่า “และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง” นั้น ผมจะชี้แจงให้เข้าใจตามความเข้าใจของผม, คำว่า أُمَّةً ในที่นี้ มีความหมายว่า “ประชาชน, หมู่ชน หรือ ตัวบุคคล” ในความหมายตามปกติโดยทั่วไปหมายถึง “ประเทศ ” ดังนั้น ผมจึงแปลว่า “ปวงชน”


وَكَذَلِكَ جَعَلْنَاكُمْ أُمَّةً وَسَطًا


“และเช่นเดียวกันเราได้ทำให้เจ้าเป็นประเทศกลาง”

“และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง”


คำว่า “وَسَطًا” ในประโยคนี้หมายถึง “ความเป็นกลาง” คือไม่ลำเอียง ไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือตาม และความหมายตามลักษณะภูมิศาสตร์ ใน สมัยโบราณ หมายถึงประเทศที่อยู่ ระหว่างกลางทิศทั้งสี่


ซึ่งผมจะให้ความหมายว่า:


“และเช่นเดียวกันเราได้ทำให้เจ้าเป็นประเทศกลาง” (เราได้ให้พวกเจ้าเป็นปวงชน ผู้รักสงบ) เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็น วีรบุรุษ (แบบฉบับ) แก่ผู้ชนทั้งหลาย และร่อซูล ก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า........”


คุณจะเห็นว่า “ความเป็นกลาง” คือไม่ลำเอียง ไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือ “ประชาชาติกลาง” มีความหมายไปในทางการเมือง และการปกครอง, แต่ไม่ได้หมายถึง Essence (แก่นสาร, สาระ, เนื้อหา, ใจความ, สารัตถะ, เนื้อหาสำคัญ, สาระสำคัญ) ของอิสลาม


ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะมีความเข้าใจว่ามีความหมายถึง คำสอนของหลักการของอิสลาม ที่สอนให้เลือกทางสาย กลาง เช่นเดียว กับ พุทธศาสนา คือ “ไม่ตึงไม่หย่อน”นั้น , ก็ยังเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลาม

ตัวอย่างเช่น ในศาสนาอื่น การดื่มยาดองเหล้า หรือ Red Wine ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ กระทำได้ เพราะ ไม่ถึงกับมึนเมา ถือว่าปฏิบัติตามทางสายกลาง


แต่การดื่มยาดองเหล้า หรือ Red Wine มุสลิมทำไม่ได้, ศาสนาอิสลามสอนให้ปฏิบัติตามพระประสงค์ของ อัลลอฮ์ โดยเคร่งครัด และผลของการปฏิบัติ โดยเคร่งครัด และ อยู่ในระเบียบวินัยของศาสนา ตามที่มีบัญญัติไว้ใน อัลกุรอาน แล้ว จะทำให้ ผู้ศรัทธา เป็น ปวงชนที่สำรวมรักสงบและรักความร่มเย็นเป็นสุข


ดังนั้นหลักการของศาสนาอิสลาม จึงมีอยู่ อย่างเดียว คือ “หนทางที่เที่ยงธรรม ที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงชี้ทางให้กับผู้ที่พระองค์ทรงโปรด” ได้แก่การปฏิบัติตามอัลกุรอาน ซึ่งเป็น ข่าวสารที่ท่าน รอซูล ได้รับ วะฮีมาสั่งสอน ผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์


wassalam


แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 4:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่ใช่ผมขาดความอดทน หรืออะไรหรอกครับคุณ matt แต่เพราะคุณไหล ไปเรื่อยๆ

คุณบอกว่า อัลลอฮพูดถึงว่า และเราได้ทำให้เจ้าเป็นประเทศกลาง ผมว่าคุณมึนแล้วครับ
เพราะสมัยนบี ไม่มีประเทศ และ อิสลาม ก็ไม่เคยสอน ให้แบ่งเป็นประเทศครับ

ที่คุณกำลังพูดถึงประเทศน่ะ คนที่คิดคนแรกก็คือ ยิว

เห็นคุณอ้างฟาติฮะห์มา ผมก็แปลกใจ ก็ในเมื่อขอให้ห่างใกลจากแนวทางที่ โกรธกริ้ว แล้วทำไมถึงไปตามแนวคิด ของยิวมาได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 4:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใครที่เพิ่งเข้ามาอ่าน ขอให้ท่านเริ่มอ่าน ตั้งแต่ตรงที่ผมถามคุณ matt สิบข้อครับ

แล้วขอให้ท่านดูคำตอบของเขา ว่ามั่วขนาดใหน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 6:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

สวัสดี คุณ dabdulla

ผมขอให้คุณอ่าน ใหม่ซิครับ, คำแปลประโยคข้างล่างนี้ ผมยกตัวอย่างให้ดู ใน ข้อ (1) แปลโดยตรงจากภาษาอรับ และ ในข้อ (2) เป็นคำแปล ของ เจ้า ของ กระทู้ ซึ่งมี ข้อความเดิมว่า,

ในการดำรงชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจ ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า
“และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142)


เมื่อคุณถามผมว่า ผมจะแปล ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 142 ว่าอย่างไร ผมก็จำเป็นต้อง แปลให้คุณ


ความจริงแล้วควรจะเป็นซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 143 ใช่ไหมครับ?


ผมก็ยกประโยคที่ว่ามา เปรียบเทียบให้คุณ เห็น ว่า ข้อความทั้งสองคำแปลต่างกันอย่างไร


وَكَذَلِكَ جَعَلْنَاكُمْ أُمَّةً وَسَطًا


1. “และเช่นเดียวกันเราได้ทำให้เจ้าเป็นประเทศกลาง”

2. “และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติกลาง”

แล้วผมก็มาอธิบายในตอนหลังว่า:


คำว่า أُمَّةً ในที่นี้ มีความหมายว่า “ประชาชน, หมู่ชน หรือ ตัวบุคคล” ในความหมายตามปกติโดยทั่วไปหมายถึง “ประเทศ, ชาติ ” ดังนั้น ผมจึงแปลว่า “ปวงชน” หมายถึง ตัวบุคคลที่ประกอบขึ้นเป็น ประชาชนของชาติ


คำว่า “وَسَطًا” ในประโยคนี้หมายถึง “ความเป็นกลาง” คือไม่ลำเอียง ไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือตาม และความหมายตามลักษณะภูมิศาสตร์ ใน สมัยโบราณ หมายถึงประเทศที่อยู่ ระหว่างกลางทิศทั้งสี่

ซึ่งผมจะให้ความหมายว่า:

“และเช่นเดียวกันเราได้ทำให้เจ้าเป็นประเทศกลาง” (เราได้ให้พวกเจ้าเป็นปวงชน ผู้รักสงบ) เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็น วีรบุรุษ (แบบฉบับ) แก่ผู้ชนทั้งหลาย และร่อซูล ก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า........”

คำว่า “ประเทศ” ในที่นี้ ผมควรจะใช้ว่า “ปวงชน” ตามที่ผม ใส่วงเล็บไว้ “คำว่าปวงชน” กับ “ประชาชาติ” ผมว่าความหมายคล้ายๆกัน

ถึงอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า จะใช้คำว่า “ประชาชาติกลาง” ความหมายก็ยังไม่ ได้ หมายถึง “ทางสายกลาง” อยู่นั้นเอง ตามที่อธิบายไว้ ในคำตอบก่อนแล้ว


wassalam


แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 6:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.2. ที่คุณกล่าวว่า ปฏิบัติตามบัญญัติใน “อัลกุรอาน” และ “ ซุนนะห์ ” ผมอยากจะถามว่า ในเมื่อคุณไม่เอาฮะดิษ เอาแต่ อัลกุรอ่าน และ คุณเชื่อว่า นบีปฎิบัติตามอัลกุรอ่าน ผมก็เลยจะถามว่า แล้วซุนนะห์ มายังงัย .......


ตอบ: โปรดอ่านให้ละเอียดครับ!


ปฏิบัติตามบัญญัติใน “อัลกุรอาน” และ “ ซุนนะห์ ” ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม, ในการยอมรับว่า: ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรได้รับการเคารพบูชานอกจากพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น, การทำละหมาด, การจ่ายซะกาต, การทำฮัจจฺ และ การถือศีลอด, ซึ่งมีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน “ซุนนะห์ ” ดังกล่าวนี้ มีการกระทำถ่ายทอด ผ่านต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมวลชนมุสลิม เป็นจำนวนมากในแต่ละสังคมและในแต่ละสมัย, การผิดพลาดในการปฏิบัติย่อมไม่มี เนื่องจากเป็นแบบฉบับที่ยอมรับโดยมุสลิมทั่วโลก ไม่ว่าจะ อยู่ในนิกายใดๆ เป็นมาตรฐานและหลักการของอิสลาม โดยตรง ไม่มีการสอดแทรกเจือปน หรือต่อเติม เพราะ การปฏิบัติ ตาม “ ซุนนะห์ ” ของท่านร่อซูลมุฮัมมัดศ็อล ลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตามที่กล่าวมานี้ มีมวลชนมุสลิมส่วนใหญ่เป็นพยาน, ซึ่งต่างจากการปฏิบัติตามเรื่องบอกเล่า ที่มีผู้เล่า เพียงคนเดียว หรือ สองคน และขาดพยานหลักฐานมาสนับสนุน


3............ผมอยากจะถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น นบีมูฮำหมัดมาทำไมล่ะครับ ในเมื่อการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต ก็มีในคัมภีร์เล่มก่อน อาหรับมุชริก ก็ทำฮัจย์ครับ รู้จักอัลลอฮ พวกยิวก็รู้จักการถือศีลอด ก็ทำจากอาหรับมุชริก ต่อจากคริสเตียน ต่อจากยิว ก็จบ เพราะทำต่อๆ กันมา ความผิดพลาดก็ไม่มี...


ตอบ: ท่านรอซุล ถุกคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตของพระองค์อัลลอฮ์ เพื่อนำ “อัลกุรอาน” มาประกาศและ สอน ผู้ที่มีศรัทธา ต่อพระองค์ ท่านรอซูล มีบุญคุณ ต่อ มุสลิม นับนาๆ ประการ, การสอนของ ท่านรอซูล อยู่ ในขอบเขต และ กฎบัญญัติในอัลกุรอาน

การที่ประชากรทั่วโลกรู้จัก ท่าน รอซูลมูฮัมมัด ก็เพราะ “อัลกุรอาน” ถ้าไม่มี “อัลกุรอาน” ก็ ไม่มีใครรู้จัก ท่านรอซูลมูฮัมมัด ท่านรอซูลทำการปรับปรุงการ ปฏิบัติศาศนกิจ ตามบัญชาของอัลลออ์ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต ฯลฯ (ดูรายละเอียดในคำตอบข้อ 2.)



4. ผมอยากจะถามว่า ในขณะที่นบีได้วะฟาตไปแล้วนั้น มุสลิมเพิ่งจะเริ่มขยายตัวออกไป สู่แคว้นแดนต่างๆ และพวกเขาก็ไม่เคยเห็นนบี ขนาดฮะดิษรายงานจากคนที่ร่วมเป็นร่วมตายกับนบี ยอมจ่ายทุกสิ่ง ทุกอย่างในชีวิต คุณกลับไม่เอา แต่ไปเอาการยอมรับ จากมุสลิมที่ไม่เคยเห็นนบี



ตอบ: การถ่ายทอด “ซุนนะห์” ใน การประกอบศาสนกิจในศาสนาอิสลามนั้น ไม่ได้ทำจากคำบอกเล่าของผู้ใด แต่เป็นการกระทำที่ถ่ายถอดต่อเนื่อง กันมา โดยเป็นนิสัยไม่ขาดสาย หรือระยะตั้งแต่ท่าน รอซูลยังมีชีวิตอยู่ เป็นการกระทำตามท่านรอซูลของมุสลิมทั้งหมู่บ้าน, ทั้งสังคม และทั้งโลก

ส่วน เรื่องบอกเล่า “อะหะดิษ” นั้น มีการบอกเล่าเพื่อ ทรัพย์สิน เงินทอง บ้าง เพื่อตำแหน่ง ทางการเมือง บ้าง บางคนก็โกหก กันจน ถูกจับ ประหารชีวิตเป็นจำนวนมาก และ ระยะเวลา หลังจากท่านรอซูล สิ้น ชีวิตไปแล้ว ถึง 200 กว่าปี เมื่อ ใดก็ตาม ข่าวสาร ที่มีการ ซื้อ ขาย ย่อม ขาดคุณค่าแห่ง ความ เชื่อถือ แม้แต่ในปัจจุบัน สำนัก ข่าว ใหญ่ๆ ไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อข่าว เพราะผิด จริยาธรรม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

ขอย้อนกลับไปเพิ่มเติมคำชี้แจงในข้อ (1) อีกสักนิดนะครับ...

ผมอาจจะอธิบายไม่กระจ่างพอเกี่ยวกับ คำว่า “ ประชาชาติกลาง” ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 143 ตามที่ผมได้อธิบายไว้ว่า:

“ศาสนา อิสลามเป็น ศาสนาของพระเจ้า (อัลลอฮ์), เป็นศาสนาที่สอดคล้องตามธรรมชาติ, เป็นศาสนาที่สอนถึงความรับผิดชอบ, เป็นศาสนาที่แสดงจุดหมายปลายทางของผู้ศรัทธาและวัตถุประสงค์ในความศรัทธา, เป็นศาสนาที่ง่ายต่อการปฏิบัติ, เป็นศาสนาที่สอนถึงความมีระเบียบวินัย, เป็นศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์”


ประโยคที่ว่า “เป็นศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์” ข้อนี้แหละคือ ความหมายของ คำว่า “ ประชาชาติกลาง” ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 143 ความหมายที่ว่า “สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์” นั้น คือการปฏิบัติศาสนกิจอย่างสม่ำ เสมอ, สุขุมเยือกเย็น, มีการถ่อมตน (แต่ไม่ได้หมายถึง ความขลาด), มีการใช้วิจารณญาณ ประมาณ ตนในทุกๆ แง่มุมของ ชีวิต, ระวังการที่จะมีความต้องการ, ความทะเยอทะยาน ที่สุดโต่ง หรือ การเกียจคร้าน”

ขอพระองค์ทรงชี้ทางทางอันเที่ยงตรง แก่ข้าพระองค์, ซึ่ง แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ ทรงโปรดปราณ, มิใช่ในทางของพวกที่พระองค์ทรงโกรธเกรี้ยว. และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด (อัลฟาติหะฮฺ 6-7)

หลักคำสอนถึงความ สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์ ในศาสนาอิสลาม นี่เอง ที่ แสดงความแตกต่าง ระหว่างศาสนาอิสลามกับศาสนาหรือ ลัทธิอื่นๆ

ในเมื่อหลักการของอิสลามมีความสมดุล อยู่ในตัวแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้อง ดัดแปลงแก้ไขและ นำสิ่ง เพิ่ม เติม บทบัญญัติของ พระองค์ ที่ได้ ประทานให้แก่มวลมนุษย์ชาติ " อัลกุรอาน"
โดยผ่านท่าน รอซูลมูฮัมมัด, ทั้งนี้ เพราะว่า พระองค์ ได้ ทรงชี้ทางทางอันเที่ยงตรง ตามที่เรา วิงวอนขอ จากพระองค์แล้ว (อัลฟาติหะฮฺ 6-7)


wassalam


แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่คุณกล่าวว่า

"แล้วผมก็มาอธิบายในตอนหลังว่า:


คำว่า أُمَّةً ในที่นี้ มีความหมายว่า “ประชาชน, หมู่ชน หรือ ตัวบุคคล” ในความหมายตามปกติโดยทั่วไปหมายถึง “ประเทศ, ชาติ ” ดังนั้น ผมจึงแปลว่า “ปวงชน” หมายถึง ตัวบุคคลที่ประกอบขึ้นเป็น ประชาชนของชาติ "

สรุปแล้วก็คือ คุณแปลว่ากุรอ่านลงให้กับ ประเทศอาหรับ ไม่ใช่ประเทศอื่น แล้วทำไมคุณถึงอ่านกุรอ่านล่ะครับ ผมแปลกใจ

อีกอย่างหนึ่ง คุณอาจจะอ่อนในเรื่องภูมิศาสตร์ เพราะถ้าคุณแปลว่า ประเทศที่เป็นกลาง ผมว่าคุณมึนแล้วครับ เพราะประเทศกลางนั้น ใครก็รู้ว่า คือประเทศอังกฤษ อยู่ที่เมือง กรินิช ครับ
การกำหนดละติจูด ลองติจูด ถูกกำหนดที่นั่นครับ ไม่ใช่ที่ที่ถูกประทานอัลกุรอ่าน


ผมสรุป ให้คุณเข้าใจง่ายๆ ครับ
1. คุณแปลกุรอ่านเอง เข้าใจเอง รู้สึก และเพ้อฝันเอง
2 เสร็จแล้ว คุณก็กำลัง จะบอกให้คนอื่นรู้ว่า คุณปฎิเสธกุรอ่าน ก็คือ ที่คุณแปล ไม่ตรง กับความจริงเลย

คุณจะปฎิเสธ กุรอ่านคุณก็ปฎิเสธไปเถอะครับ อย่ามาเผยแพร่ในเวป เพราะพวกเราในเวปปฎิบัติตามกุรอ่านของอัลลอฮ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 10:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่คุณบอกว่า

" ศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์” " คุณกำลังหมายความว่า ศาสนาวิ่งเข้าหามนุษย์ ผมว่าคุณกำลังเบลอ หรืออย่างไรไม่ทราบ

ศาสนาอิสลาม คือศาสนา ธรรมชาติครับ ไม่ใช่ศาสนา ที่ปรับให้เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์

ผมอธิบายง่ายๆ ดังนี้

กรณีศาสนาธรรมชาติ
1. อิสลามป้องกัน การดื่มสุรา โดยห้าม ซื้อ ขาย บริการ ดื่ม หรืออะไรก็ตามที่เข้าไปในเขตนั้น

ปรับให้เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์
1. รัฐบาลอเมริกา จัดสถานบริการสำหรับคนดื่มเหล้าไว้ให้ และเมื่อเมาแล้วห้ามขับ

คุณเห็นหรือไม่ว่าต่างกันอย่างไร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 10:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่คุณบอกว่า

" การที่ประชากรทั่วโลกรู้จัก ท่าน รอซูลมูฮัมมัด ก็เพราะ “อัลกุรอาน” ถ้าไม่มี “อัลกุรอาน” ก็ ไม่มีใครรู้จัก ท่านรอซูลมูฮัมมัด "

คุณเขียนมาได้ยังงัยไม่ทราบ โดยไม่ตรวจสอบเลย ขนาดเด็กเรียน อลีฟ บา ตา ยังรู้เลยว่า นบีของพวกเราเป็นผู้นำสารมายังมนุษยชาต ดังนั้นเรารู้จักกุรอ่าน โดยผ่านนบี แต่คุณดันบอกว่า เรารู้จักนบีโดยผ่านกุรอ่าน

สรุปแล้ว คุณได้วะฮีย์เองหรืออย่างไรไม่ทราบ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
u
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2003
ตอบ: 114


ตอบตอบ: Tue Jun 28, 2005 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามมุอลัยกุมครับคุณ dabdulla
สวัสดีตอนเช้าครับคุณแมท

.........................................................
ทางสายกลางในทัศนะอิสลาม
ไม่ใช่ตรงกลางระหว่างดีกับเลว
ไม่ใช่ตรงกลางระหว่างสวรรค์กับนรก
ไม่ใช่ตรงกลางระหว่างท่านนบีกับชัยฏอน

ผู้ที่หย่อนยานคือผู้ที่ไม่ใส่ใจกับแบบอย่างของท่านนบี
ผู้ที่สุดโต่งคือผู้ที่พยายามเคร่งครัดกว่าท่านนบี
ทางสายที่สุดก็คือการเหมือนท่านนบีที่สุด

...............................................................................................................................


คุณบอกว่าอิสลามของคุณไม่สอนเรื่องสายกลาง
ถามว่าศาสนาของคุณสอนให้คุณสังกัดอยู่ตรงไหน ในทฤษฎีข้างบน
เก็บเอาไปคิดเถอะครับ ไม่ต้องตอบผมหรอก เพราะผมก็พอทราบวิธีตอบของคุณมาบ้าง


และที่คุณเห็นว่าดนตรีไม่ใช่สิ่งต้องห้าม ผมถือว่าเป็นหนึ่งในความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ
เป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ของคำพูดของท่านนบี
ท่านนบีเคยบอกเอาไว้แล้วว่าใกล้กิยามะฮฺจะมีคนทำให้ดนตรีเป็นสิ่งหะล้าล
กุฟฟารฺปฏิเสธอัลลอฮฺ ก็จึงปฏิเสธฮุก่มดนตรีด้วยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยท่านนบีแล้ว
แต่คนทีแอบอ้างหลักการอิสลามมาเปลี่ยนฮุก่มดนตรีนี่แหละที่ท่านนบีหมายถึง
สำหรับมุสลิมเราไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยครับที่มีคนคิดแบบคุณแมท
เพราะถ้าไม่มีคุณ.. หรือคนที่คิดแบบคุณก็แปลว่าท่านนบีพูดผิด!!



............................................
ผมขอความคุ้มครองต่ออัลลออฺจากความคิดแบบนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
u
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2003
ตอบ: 114


ตอบตอบ: Tue Jun 28, 2005 7:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปล.

matt บันทึก:
salam

การห้ามฟังเพลงและดนตรีนั่นคือความไม่สะดวก เพราะ เวลาเดินทางไปไหนมาใน ในสังคมใดๆ ก็ตาม จะได้ยินเสียง เพลง และ เสียงดนตรี ตลอดเวลา, มุสลิมจะต้อง อุดหูอยู่ตลอดเวลา อาจจะถูกรถชน หรือ อุบัติเหตุ ได้ง่าย อัตราการตายของมุสลิม เนื่องจากอุบัติเหตุจะสูงมาก โดย เฉพาะ ในกรุงเทพฯ




มาชาอัลลอฮฺ... ดูเหตุผลแก Crying or Very sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Tue Jun 28, 2005 1:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

คุณ dabdulla :


คุณ dabdulla กล่าวว่า: “อีกอย่างหนึ่ง คุณอาจจะอ่อนในเรื่องภูมิศาสตร์ เพราะถ้าคุณแปลว่า ประเทศที่เป็นกลาง ผมว่าคุณมึนแล้วครับ เพราะประเทศกลางนั้น ใครก็รู้ว่า คือประเทศอังกฤษ อยู่ที่เมือง กรินิช ครับ การกำหนดละติจูด ลองติจูด ถูกกำหนดที่นั่นครับ ไม่ใช่ที่ที่ถูกประทานอัลกุรอ่าน


แมทท์ ชี้แจง: ในคำอธิบาย ที่ ว่า อรับเป็นประเทศ กลาง ในสภาพภูมิศาสตร์ สมัยโบราณ (ผมหมาย ถึง สมัยที่ ท่านรอซูล รับ “วะฮี”) หรือ OLD WORLD หรือ โลก เก่า ซึ่ง เป็นที่รู้จัก กัน ใน ยุโรปว่า OLD WORLD ประกอบด้วย ทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย (ในสมัยนั้น ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จัก) และ ทวีปแอฟริกา ในทางภูมิศาสตร์ รวมเรียก ว่า แอฟริกา- ยูเรเซีย (Africa-Eurasia)


ในสมัยนั้น ยังไม่มีใครรู้จักประเทศอเมริกา จน นาย Christopher Columbus เดินทางเรือ มาพบ โลกใหม่ (New World), ซึ่ง หมายถึง the Americas (Noth และ South Americas) ในราวปี 1492 ประมาณ 500 กว่าปีมาแล้ว คนละสมัยกับ ท่าน รอซูล, เนื่องจากการ ขยายตัวของอิสลามในสมัย นั้น (OLD WORLD) แผ่ขยาย ไปทั่วทั้ง สี่ ทิศ จึงทำ ให้ ตำแหน่ง ของ ประเทศอรับ(Arabia) อยู่ ในตำแหน่ง ตรง กลาง (ลองคาดคะเน ตำ แหน่ง ของ ประเทศอาระเบีย ใน แผนที่โลก เก่า (Old World Map) ถ้าคุณพอจะหาได้


“ดังนั้นจงยึดมั่นต่อสิ่งซึ่งได้ถูกวะฮียฺ (อัลกุรอาน)ให้ แก่เจ้า อย่างแน่นอน เจ้านั้นอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง” (43:43)


คุณ dabdulla กล่าวว่า: สรุปแล้วก็คือ คุณแปลว่ากุรอ่านลงให้กับ ประเทศอาหรับ ไม่ใช่ประเทศอื่น แล้วทำไมคุณถึงอ่านกุรอ่านล่ะครับ ผมแปลกใจ


แมทท์ ชี้แจง: คุณไม่น่าแปลกใจเลย, มุสลิมทุกคนต้องศึกษาอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ได้ถูกประทานให้เฉพาะ ชาวอรับ แต่ เท่านั้น, แต่สำหรับ มวลมนุษย์ ทั่วโลก, พระองค์ อัลลออ์ ได้ ประทาน “อัลกุรอาน ให้แก่ท่านรอซูล เพื่อที่ท่านจะนำมาให้เราได้ ศึกษา อายะต่าง เพื่อที่จะได้ ใช้สติปัญญาของเราทำความเข้าใจ บัญญัตินั้นๆ และเอาจดจำใส่ใจ ไว้ปฏิบัติ (ซูเราะฮฺ ศอด อายะ 29) และอีกประการหนึ่ง ท่าน รอซูลกล่าว ว่า “อัลกรุอานนี้ก็ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่าน เพื่อที่ท่านจะได้ใช้อัลกรุอาน นี้ตักเตือนพวกเรา และผู้ที่อัลกรุอานนี้ไปถึง” (6:19) ถ้าเรา เชื่อฟังและมีศรัทธา ต่อ อัลลอฮ์ เราจึงจำเป็นจะต้อง เชื่อ ฟังท่าน รอซูล โดย ยึดมั่นและศึกษาอัลกุรอาน ให้ เข้าใจ


คุณ dabdulla กล่าวว่า: “ศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์” " คุณกำลังหมายความว่า ศาสนาวิ่งเข้าหามนุษย์ ผมว่าคุณกำลังเบลอ หรืออย่างไรไม่ทราบ


แมทท์ ชี้แจง: “ศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์” ในที่นี้หมายความว่า เมื่อ คุณมีศรัทธาต่อ อิสลาม แล้ว คุณจะไม่ขาดอะไร ทั้งทางโลกและทางธรรม, จะไม่เป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง และจะไม่เป็นผู้ มีใจใฝ่ต่ำ ทั้งนี้ เพราะว่า ศาสนาอิสลาม “ทำให้เกิดความสมดุล ในการดำเนินชีวิตของเรา (มนุษย์)”


คุณ dabdulla กล่าวว่า: “ศาสนาอิสลาม คือศาสนา ธรรมชาติครับ ไม่ใช่ศาสนา ที่ปรับให้เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์”


แมทท์ ชี้แจง: เนื่องจาก ว่า “ศาสนา อิสลามเป็น ศาสนาของพระเจ้า (อัลลอฮ์), เป็นศาสนาที่สอดคล้องตามธรรมชาติของมนุษย์, เป็นศาสนาที่สอนถึงความรับผิดชอบ, เป็นศาสนาที่แสดงจุดหมายปลายทางของผู้ศรัทธาและวัตถุประสงค์ในความศรัทธา, เป็นศาสนาที่ง่ายต่อการปฏิบัติ, เป็นศาสนาที่สอนถึงความมีระเบียบวินัย, เป็นศาสนาที่สมดุลในการดำเนิน ชีวิตตามธรรมชาติของมนุษย์”


ที่คุณว่า อิสลามเป็น “ศาสนา ธรรมชาติ” ผมไม่เข้าใจว่าคุณหมายความว่าอย่างไร? ตามความเข้าใจของผม ถ้า ชีวิตมนุษย์ใดๆ ก็ตาม ที่ พระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้น ถ้าพระองค์ ทรงปล่อย ให้ เป็นไปตามธรรมชาติ แล้ว ย่อม ขาด ระเบียบวินัย, ขาดจุดหมายปลายทาง และวัตถุประสงค์ในความศรัทธา, และขาดความรับผิดชอบ ฯลฯ ในอัลกุรอานบัญญัติว่า อัลลอฮ์ จะไม่ปล่อยให้ ชีวิตมนุษย์ ระเหเร่ร่อน โดยขาด จุดหมายปลายทาง ดังนั้น พระองค์ จึง ได้ ประทาน อัลกุรอานไว้ให้ มนุษย์ ใช้ เป็น แนวทาง ในการดำเนินชีวิต ตามแนวทางที่เที่ยง ธรรม


คุณ dabdulla กล่าวว่า: ผมอธิบายง่ายๆ ดังนี้

กรณีศาสนาธรรมชาติ

1. อิสลามป้องกัน การดื่มสุรา โดยห้าม ซื้อ ขาย บริการ ดื่ม หรืออะไรก็ตามที่เข้าไปในเขตนั้น
ปรับให้เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์

1. รัฐบาลอเมริกา จัดสถานบริการสำหรับคนดื่มเหล้าไว้ให้ และเมื่อเมาแล้วห้ามขับ คุณเห็นหรือไม่ว่าต่างกันอย่างไร?


แมทท์ ชี้แจง: ผมว่าการเปรียบเทียบของคุณนี้ เป็น การ เปรียบ เทียบ ระหว่าง “ผลอินทผลัม” กับ “ผลทุเรียน”

การเสพย์สิ่งมัวเมาเป็นที่ต้องห้ามใน อิสลาม เป็นข้อห้าม “ไม่ใช่การป้องกัน” เมื่อ การดื่ม สุรา และเสพย์ ของมึนเมา เป็น ข้อห้ามของอัลลอฮ์แล้ว การกระทำย่อมไม่เกิดขึน ภายในสังคมมุสลิม, เช่น ห้ามมุสลิมละหมาด ในขณะเสพย์ของมึนเมา(4:43), แอลกอฮอลฺ มีทั้งสิ่งชั่วช้าและสิ่งดี แต่มีสิ่งชั่วช้ามากกว่าสิ่งดี(2:219), แอลกอฮอล์ ทำให้มึนเมาจนลืมอัลลอฮ์ และ การละหมาด, มุสลิมถูกคำสั่งห้ามดื่มของมึนเมาโดยเด็ดขาด(5:90-91)


อเมริกา เป็นประเทศใหญ่ เป็น สังคมของ คนหลายชาติ หลาย ศาสนา, และผู้ไม่มีศาสนา และผู้ที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ฯลฯ, ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ อย่างแท้จริง จะไม่ดื่มสุรา หรือเข้าไปทานอาหารในร้านอาหารที่ขายสุรา เช่นเดียว กับ มุสลิมเรา, โดยเฉพาะ พวก แบบติสต์

ในสังคมใหญ่เช่นนั้น ย่อมมี การปฏิบัติที่ต่างกัน, การที่รัฐบาลของ อเมริกา ออกกฎหมายเฉพาะ สถานบริการสำหรับคนดื่มเหล้า ไม่ ให้ กุญแจรถ กับผู้ดื่ม ที่มีอาการมึนเมา และเมื่อเมาแล้วห้ามขับรถ นั้น, ไม่มีอะไรเกี่ยวกับศาสนาเลย แต่เป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ที่เกิดจาก คนเมาขับรถ ไม่เกี่ยว กับ หลักธรรม ของศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น วัตถุประสงค์ เพื่อความปลอดภัย ของชุมชน


คุณ dabdulla กล่าวว่า: คุณบอกว่า " การที่ประชากรทั่วโลกรู้จัก ท่าน รอซูลมูฮัมมัด ก็เพราะ “อัลกุรอาน” ถ้าไม่มี “อัลกุรอาน” ก็ ไม่มีใครรู้จัก ท่านรอซูลมูฮัมมัด ", คุณเขียนมาได้ยังงัยไม่ทราบ โดยไม่ตรวจสอบเลย ขนาดเด็กเรียน อลีฟ บา ตา ยังรู้เลยว่า นบีของพวกเราเป็นผู้นำสารมายังมนุษยชาต ดังนั้นเรารู้จักกุรอ่าน โดยผ่านนบี แต่คุณดันบอกว่า เรารู้จักนบีโดยผ่านกุรอ่าน, สรุปแล้ว คุณได้วะฮีย์เองหรืออย่างไรไม่ทราบ


แมทท์ ชี้แจง: ก่อน อื่นคุณจะต้อง เข้าใจเสียก่อน ว่า “รอซูลทุกๆ ท่านที่อัลลอฮ์ ส่งมานั้น หน้าที่ๆ สำคัญ คือ นำ ข่าวสาร จาก พระ เจ้า มาสู่มวลมนุษย์ หน้าที่ของท่านรอซูล มูฮัมมัด ก็คือ “รับอัลกุรอาน” มาจากอัลลอฮ์ แล้วจึงนำบัญญัติ เหล่านั้น มาประกาศและ สั่งสอน ผู้ศรัทธา ท่านเป็นสามัญชนมาก่อน ที่จะได้รับวะฮีจากอัลลอฮ์, หลังจากได้รับวะฮี อัลกุรอาน แล้ว ผู้คนก็เริ่ม รู้จักท่านมากขึ้น (เรื่องนี้คุณต้อง นั่งคิดสักหน่อยครับ คุณจึงจะเข้าใจ) เนื่องจากความนับถือในท่านรอซูล ผู้เป็นบุคคลที่สูงส่งในคุณธรรม เป็นผู้แทนของพระองค์อัลลออ์ ผมจะไม่ขออธิบายเปรียบเทียบท่าน กับผู้ใด จึงอยากให้คุณทำความเข้าใจเอง

เมื่อสมัยผมเป็นเด็กเรียน อลีฟ บา ตา หิ้ว(นุ่ง)โสร่ง ไปเรียน กับ โต๊ะครู ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกับที่คุณกำลัง เข้า ใจอยู่ เดี๋ยวนี้ละครับ


wassalam


แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.20 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ