ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เกี่ยวกับดนตรี...ด่วนมากค่ะ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เกี่ยวกับดนตรี...ด่วนมากค่ะ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
nop
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/02/2005
ตอบ: 89


ตอบตอบ: Fri Jun 10, 2005 6:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คืองานนี้คนถามเค้าเป็นผู้ตามแนวทางกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ

เพราะคนที่ไม่ตามสุนนะฮฺไม่ต้องมาตอบนะครับ
เพราะพวกนี้เก่งกว่านบี เก่งกว่าเศาะหาบะฮฺครับ
พวกนี้เค้าเอากุรอานอย่างเดียว แล้วตีความเองด้วย
แต่เราไม่ใช่ครับ มุสลิมเรายึดสุนนะฮฺนบีด้วย
จะรู้กุรอานก็ต้องผ่านหะดีษ ผ่านเศาะหาบะฮฺ
ใครจะว่าเราเข้าใจผิดปล่อยเค้าไปเถอะครับ
พวกนี้มันตีความกุรอานเอง มันเข้าใจถูกครับ!!
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
AlGhuraba
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2004
ตอบ: 226


ตอบตอบ: Sat Jun 11, 2005 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เข้ากระดานวันนี้ เห็นชื่อคุณ nop เข้ามาต่อเรื่อง ร้องเพลง เลยแวะเข้ามาดูหน่อย แต่พออ่านย้อนหลังแล้วขำดีครับ

รู้สึกว่าอะไรๆ เกี่ยวกับ ด็อกฯ ทั่น มันตรงตามที่คาดไปซะหมดทุกเรื่อง เช่น เรื่องนกร้องเพลง .....

นี่ม่ายช่ายแก้ตัวนะ แต่จะเล่าให้ฟัง ....
คือคืนนั้นมันดึกมากแล้ว พอผมลงกระทู้ตอบเสร็จก็เที่ยงคืน อ่านทวนดูอีกทีก็พบที่ผิดตรงนั้นแล้วเหมือนกัน ว่าต้องเป็น in the tree ไม่ใช่ on the tree คิดว่าคงจะ key พลาดไป เพราะตัว i กับ o มันอยู่ติดกันบนแป้น keyboard ครั้นจะกลับเข้าไปแก้ก็ timeout สายหลุดไปซะแล้วจะต่ออีก 3 บาทก็เสียดายกะตังค์ เลยนอนก่อนดีกว่า แล้วเช้าค่อยเข้ามาแก้ คงยังไม่มีใครเข้ามา .... แต่ในใจก็นึกอยู่ว่า งานนี้ถ้าด็อกฯทั่นเห็น เป็นต้อง...ขี่แพะไล่...แหง๋แก๋เลย

พอเช้าเข้ามาอีกที อ้าว ด็อกฯเข้ามาก่อนแล้ว แต่ยกแรกนั่นยังไม่เห็นว่าไร ..... สงสัยจะมองไม่เห็นที่ผิดมั้ง อ่านๆไป แกเขียนเหน็บไว้ว่า ....
“คำถามข้อนี้ผมถามลองใจ คุณอัลฆุเราะบาอ์ ต่างหาก คิดว่าอย่างไรคุณก็ต้องตามผมเข้ามาในห้องนี้”

ฮ่ะ-ฮ่ะ-ฮ่ะ ..... ก็เลยนึกสนุก ลองใจด็อกฯ ทั่นดูอีกสักครา ดีมั้ง..... เลยปล่อยเลยตามเลย ให้เจ้านกน้อยนั่น ห้อยต่องแต่งอยู่ “บน” ต้นไม้ไปก่อน สักพักถ้ายังไม่มีใครเห็นค่อยมาจับไส่ “ใน” ต้นไม้ให้ถูกเรื่องถุกราวทีหลัง

ก็ต้องยอมรับครับว่า ทั่นมี “กึ๋น” สมดีกรี ด็อกฯ จิงๆ ..... นับถือ...นับถือ
อย่างน้อยก็ต้องเรียกว่ามีความละเอียดถี่ถ้วน และมีความสามารถพิเศษอย่างยิ่งในเรื่องการจับผิด .... หาตัวจับยากทีเดียวครับ

ก็แปลกนะ เรื่องเล็กๆกับอักษร o ตัวเดียว แกอ่านเจอ แต่ทีเรื่องหญ่ายๆ อย่าง ....

[size=35]ละหมาดยังงัยคร้าบ[/size]

ที่เขาถามแกมาเป็นปีแล้วเนี่ย แก่อ่านไม่เจอ ?????
แต่อย่างไรเสีย ก็ต้องขอบคุณ ด็อกฯแมทท์ ครับ ที่กรุณาแก้ไขให้นกไปอยู่ถูกที่

ว่าแต่คุณ nop ครับ .... สองอายะฮฺที่ให้จานทั่นอธิบาย .....

(3:132) " และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา "

(4:80) " ผู้ใดเชื่อฟังรอซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดผินหลังให้ เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะเป็นผู้ควบคุมพวกเขาไม่ "

ในห้องโน้น....ไม่ทราบว่า เคลียร์มั้ยครับ เพราะแกอุตส่าห์รับคำท้า.... “ถ้าอธิบายไม่ได้ ที่คุณยกอันอื่นมาทั้งหมดถือว่าโมฆะ” มาตอบให้ซะขนาดนั้น ช่วยกลับไปตอบที ดิ จะได้สรุปกันไปเปลาะนึงว่า ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ในเรื่องนี้พอจะมีข้อมูลดังนี้ครับ

หลักฐานประกอบการห้ามพร้อม
ประมวลคำพูดของนักวิชาการบางท่าน
ในเรื่องดังกล่าว

เชคคุ้ลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ์ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์
อิหม่ามอิบนุก็อยยิม ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์
เชคอับดุลอะซีซบินบาซ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์

สำนักงานเพื่อการประสานงานดะอ์วะฮ์เผยแผ่ ซุลตอนะฮ์ ตู้ ป.ณ.92675 กรุงริยาฎ ซาอุดิฯ

ข้อชี้ขาดเกี่ยวกับการฟังเสียงเพลง
และดนตรี


มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮ์ผู้เป็นเจ้า และขอความสันติความจำเริญจงประสบแด่ท่านนบี มูฮำมัดศาสนทูต(ขอให้พระองค์ทรงประทานความสันติสุขแด่ท่านด้วย)
การฟังเสียงเพลง หรือดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งหะรอม(ต้องห้าม)เด็ดขาด และนับว่าเป็นความชั่วร้าย และเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายขึ้นในจิตใจและความดื้อดึงกระด้างกระเดื่องต่อพระองค์อัลลอฮ์ โดยเฉพาะนักวิชาการบางท่านได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า : มวลนักปราชญ์ทั้งมวลมีมติห้ามฟังเสียงเพลงและดนตรีทุกชนิด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานประกอบการฟังเพลงและเสียงดนตรี
จากอัลกุรอ่านและอัลหะดิษ

หลักฐานต่างๆที่กล่าวมาถึงข้อห้ามการฟังเพลงและดนตรีมีอยู่มากมายเราจะขอนำมากล่าวณ.ทีนี้เช่น

หลักฐานยืนยันข้อที่ 1 อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

((และในหมู่มนุษย์มีผู้ชื้อเอา เรื่องไร้สาระเพื่อทำให้เขาหลงไปจากทางของพระองค์อัลลอฮ์ โดยปราศจากความรู้ และถือเอามันเป็นเรื่องขบขัน ชนเหล่านี้แหละที่พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ)) (ซูเราะฮ์ ลุกมาน 6-7)

ท่านอิหม่าม อัลวาฮิดีย์ และท่านอื่นๆกล่าวว่า นักตัฟซีร(ขยายความ)พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านส่วนมากกล่าวว่า : คำว่า ละฮ์วัลหะดิษ(เรื่องไร้สาระ)หมายถึงเสียงเพลงและดนตรี นอกจากนี้ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอับบาส และท่านอิบนิมัสอู๊ด ท่านมุญาฮิด และอิกริมะฮ์ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันทุกคนว่า โองการดังกล่าวถูกประทานมาเกี่ยวกับเรื่องการห้ามฟังเสียงเพลงและดนตรี และยังมีริวายะฮ์(สายสืบ) เล่ามาจากอิบนุมัสอู๊ดกล่าวว่า : ด้วยนามของอัลลอฮ์ ผู้ที่ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสมควรแก่การกราบไหว้จากสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดนอกจากพระองค์เท่านั้น คำว่า “ละฮ์วัลหะดิษ” (เรื่องไร้สาระ)ในอายะฮ์ดังกล่าวหมายถึงการร้องรำทำเพลง

หลักฐานยืนยันข้อที่ 2 จากอัลหะดิษของท่านนบีมูฮำมัด(ขอความสันติสุขและความจำเริญจงประสบแด่ท่าน)ท่านนบีกล่าวว่า
“จะมีกลุ่มชนหลายกลุ่มเกิดขึ้นจากประชาชาติของฉัน พวกเขาจะแสวงหาวิธีที่ทำให้การละเมิดประเวณี(ซินา) การสวมผ้าไหม การดื่มสุรา และการร้องรำทำเพลงเป็นที่อนุมัติ(หะล้าล)” (อิหม่ามบุคอรีย์ได้คัดสายรายงานหะดิษนี้ไว้ในศอเหี๊ยะของท่าน )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่จะนำมายืนยันเป็นหลักฐานจากอัลหะดิษ ดังกล่าวคือคำว่า “มะอาซีฟ” ที่ถูกกล่าวไว้ในหะดิษดังกล่าวนั้น ซึ่งแปลว่า(เครื่องดีดสี ตี เป่า ทุกชนิด)สิ่งเหล่านี้ไม่มีนักภาษาศาสตร์ท่านใดคัดค้านทางด้านความหมายเป็นอันขาด คำที่สองที่ถูกกล่าวไว้ในตัวบทอัลหะดิษคือคำว่า "ยัซตะฮิลลูน" (พวกเขาทั้งหลายจะแสวงหาวิธีให้เป็นที่อนุมัติ)หมายถึงเครื่องดีดสี ตี เป่า เป็นที่หะรอม(ต้องห้าม)ตามข้อบัญญัติของอัลลอฮ์ ภายหลังพวกเขาก็จะแสวงหาวิธีที่จะทำให้เป็นที่ หะล้าลอนุมัติจนได้

หลักฐานยืนยันข้อที่ 3 เล่าหะดิษจากท่านอะบูฮุร๊อยเราะห์ ร่อฎิยัลรอฮุอันฮู จากท่านนบี (ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม)แน่แท้ท่านกล่าวว่า
“ในตอนใกล้จะอวสานของโลกนี้จะมีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งซึ่งพระองค์อัลลอฮ์จะนำเอาวิญญาณสัตว์เช่น หมู และลิง สวมไปบนร่างของพวกเขา เหล่าสาวกได้ถามท่านนบีขึ้นว่า “โอ้ท่านนบีเอ๋ยชนกลุ่มนั้นก็กล่าวคำปฏิญาณตน ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮุ วะอันนะมุฮำมะดัรร่อซูลลุ้ลลอฮ์ มิใช่หรือ? ท่านนบีตอบว่า “หามิได้ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็ยังนมาซ ถือศีลอด และประกอบพิธีฮัจญ์” สาวกทั้งหลายจึงย้อนถามท่านอีกว่า “และพวกเขาจะเป็นเช่น หมูและลิงได้อย่างไร?”ท่านก็ตอบว่า “ดังกล่าวเพราะพวกเขาได้ยึดเอาเครื่องดีดสี ตี เป่า เสียงกลอง กีต้าร์ และพวกเขาก็ดื่มด่ำล้ำลึกอยู่กับการละเล่นต่อสิ่งเหล่านี้ในยามค่ำคืนจนกระทั่งรุ่งสาง และพวกเขาจะถูกนำวิญญาณของสัตว์เช่นหมูเเละลิงมาสวมใส่ในร่างของพวกเขาอย่างแน่นอน”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานยืนยันข้อที่ 4 พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์ อัลอันฟาล อายะฮ์ที่ 35
((มิปรากฏว่าการนมาซของพวกเขาณ.บ้านของอัลลอฮ์นั้นเป็นอย่างอื่นนอกจากการเป่าเสียงหวีดและการตบมือเท่านั้น))
ท่านอับดุลลอฮ์อิบนิอับบาส ท่านอับดุลลอฮ์อิบนิอุมัร ท่านอะตียะฮ์ ท่านมุญาฮิด ท่านฎ่อฮาก ท่านหะซัน อัลบัสรีย์ และท่านก่อตาดะฮ์ ทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่า คำว่า “อัลมุกาอ์” ที่ปรากฏในโองการนี้หมายถึง การเป่าเสียงหวีด ส่วนคำว่า “อัตตัซดียะฮ์” คือ การตบไม้ตบมือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประมวลคำพูดของนักวิชาการบางท่าน

เชคคุ้ลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า : สิ่งที่ช่วยสร้างพลานุภาพให้กับซาตาน คือการฟังเสียงเพลงและดนตรี ส่วนเครื่องเล่นดนตรี คือ ที่ฟังการละเล่นของมุชริกีนอัลลอฮ์ตรัสว่า

((มิปรากฏว่าการนมาซของพวกเขาณ.บ้านของอัลลอฮ์(อัลกะอ์บะฮ์)นั้นเป็นอย่างอื่นนอกจากการตบมือเท่านั้น))
อิบนิอับบาส และอิบนิอุมัรกล่าวว่า คำว่า ตัซดียะฮ์ในโองการนี้อัลลอฮ์ห้ามตบไม้ตบมือ ส่วนคำว่า มุกาอ์ คือ ห้ามเป่าเสียงหวีดร้อง ซึ่งดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เหล่าบรรดามุชริกีนต่างยึดกันว่าเป็นการอิบาดะฮ์(ภักดี)ต่อพระองค์อัลลอฮ์ชนิดหนึ่งของพวกเขา ส่วนท่านนบี(ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม)และเหล่าสาวกของท่านได้ปฏิบัติการนมาซ อ่านพระมหาคัมภีร์ ซิกรุ้ลลอฮ์(รำลึกถึงพระองค์)เหล่านี้เป็นการอิบาดะฮ์(ภักดี)ทั้งสิ้น และไม่ปรากฏสักครั้งหนึ่งว่าท่านนบีและเหล่าสาวกทั้งมวลรวมตัวกันมานั่งตีกลองร้องรำทำเพลงเลยสักครั้ง
นอกจากนี้เชคคุ้ลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวต่อไปอีกว่า สภาพของคนที่ชอบฟังเพลง หรือดนตรีมักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อได้รับฟังอัลกุรอ่าน และเขาจะมีอารมณ์เป็นส่วนตัวเมื่อฟังเสียงขลุ่ยคร่ำครวญของซาตานในยามค่ำคืน คนประเภทนี้เมื่อเขาเข้าสู่การนมาซก็จะลุกไม่ค่อยจะไหวจนบางครั้งต้องนั่งนมาซ หรือบางครั้งก้มๆกราบๆเหมือนกับไก่ที่กำลังจิกข้าวเปลือก คนประเภทนี้เมื่อได้ยินเสียงอัลกุรอ่านมักชอบหนีไปที่อื่นให้ไกลเท่าที่จะทำได้ เขาไม่ได้รักชอบที่จะฟัง หรือถ้าฟังก็ไม่เกิดอรรถรสและความไพเราะของอัลกุรอ่าน แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาได้ฟังดนตรีและเสียงเพลงก็จะพบว่าเกิดความไพเราะขึ้นในตัวของเขา ดังกล่าวมาทั้งหมดนี้คือพลานุภาพที่มาจากซาตานมารร้ายที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงเตือนไว้ว่า

((และผู้ใดที่เหินห่างจากการรำลึกถึงผู้ทรงกรุณามนุษย์ เราจะให้ซาตานมาสถิตย์อยู่ในตัวของพวกเขา และมันคือมิตรของเขาผู้นั้น))
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามอิบนุก็อยยิม ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์กล่าวว่า จากแผนที่ชั่วร้ายอันหนึ่งของศัตรูของพระองค์อัลลอฮ์และการล่าเหยื่อของพวกมัน ที่มีมุสลิมบางคนขาดปัญญาไร้ซึ่งความรู้และศาสนา แทบจะกลายเป็นผู้ที่หัวใจของเขาเฉกเช่นพวกโฉดเขลา เบาปัญญาคือการไปฟังเครื่องดีดสี ตีเป่า ร้องรำทำเพลงตบไม้ตบมือเป่าเสียงหวีดร้อง ดังกล่าวคือการหลงไปจากแนวทางของอัลกุรอ่าน และนำเสียงร้องรำทำเพลงพากเพียรไปสู่ความชั่วร้าย และการฝ่าฝืนต่อพระองค์อัลลอฮ์อีกด้วย
เสียงเพลงและดนตรีคืออัลกุรอ่านของซาตาน และมันคือสิ่งเดียวที่มาปิดกั้นหัวใจระหว่างบ่าวกับอัรเราะห์มาน และมันคือเวทย์มนต์ที่ทำให้มนุษย์ไปสู่การกระทำวิตถารทางเพศ ชายกับชาย และชู้สาว และทำซินาในที่สุด พวกที่ตกอยู่ในเพลิงแห่งความรักมักจะใช้มันเป็นสื่อหลอกล่อคู่รัก
ท่านจะเห็นคนบางคนขณะที่เขาร้องรำประหนึ่งดั่งซาตานกำลังมีโองการบัญชามาให้เขา ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยเหินห่างหนีจากอัลกุรอ่านของพระองค์ ส่วนคนที่กำลังรับฟังก็จะเคลิบเคลิ้มไปกับสียงเพราะๆหวานๆเสียงใสๆถ้าเป็นฝ่ายชายก็จะคล้ายกับเสียงของหญิงรวมทั้งกริยาท่าทาง ไม่ว่าจะเป็นท่าทางที่กำลังร้องรำ ซึ่งมีกี่มากน้อยแล้วที่นักร้องฝ่ายชายต้องกลายเป็นพวกวิตถารทางเพศ พวกรักนิยมไม้ป่าเดียวกัน มันสาสมแล้วกับความประพฤติของพวกเขา พวกเขาได้นำม่านแห่งชีวิตมาคละเคล้ากัน ตัวอย่างเช่นพวกที่ได้รับโล่รางวัล ส่วนโล่ของอัลลอฮ์ที่พวกเขาสมควรที่จะได้รับนั้นอยู่ที่ไหน? แต่ในวันที่ขึ้นรับโล่ประกาศเกียรติคุณของซาตาน หัวใจทั้งหลายที่คอยลุ้นแทบขาดใจ เงินทองกี่มากน้อยแล้วที่ต้องทุ่มเทหมดไปกับการบริจาคให้กับเสียงเพลงและดนตรี นอกหนทางแห่งการภักดีต่อพระองค์ ตลอดเวลาพวกเขาแสวงหากับรสชาติ อยู่กับศิลปินนักร้องดารา มองศาสนาเป็นของเล่นและสิ่งเพลิดเพลิน บางครั้งเสียงขลุ่ยที่คล่ำครวญของซาตานเป็นที่โปรดปรานมากกว่าที่เขาจะฟังอัลกุรอ่านสักซูเราะฮ์หนึ่ง หากนำบุคคลดังกล่าวเหล่านี้มานั่งฟังเสียงของอัลกุรอ่านพวกเขาก็จะกระด้างกระเดื่องไม่รู้หนาวรู้ร้อน แต่พอเปิดเสียงครวญจากขลุ่ยซาตานให้ฟังก็จะพบว่าหัวใจเริ่มกระปรี่กระเปร่าน้ำตาเริ่มไหลพราก เท้าเริ่มส่าย มือเริ่มขยับ ร่างกายส่วนอื่นก็จะทำการเริ่มขยับเขยื้อน ในที่สุดก็เริ่มเปร่งเสียงที่ออกมาจากลมหายใจ
โอ้บรรดาผู้ที่ชอบสร้างความหายนะทั้งหลายและผู้ที่ได้รับความหายนะทุกท่าน รวมทั้งผู้ที่ชอบขายโชคลาภของตนเองที่อัลลอฮ์ให้มา อย่านำนาซิบ(โชคลาภ)ของตนเองไปขายให้กับซาตานเลย เพียงแค่เสียงปรบมือสิ้นสุดด้วยกับความขาดทุน จะมีใครไหมที่นำเอาทุกสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเปลี่ยนมาเป็นฟังอัลกุรอ่าน? แต่ทว่าทุกๆคนก็จะได้รับส่วนที่เขาได้แสวงไว้ ตามความเหมาะสม และสิ่งใดที่เขาเอนเอียงไปหาเขาก็ต้องรับการตอบแทนไปตามสิ่งนั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sun Jun 12, 2005 1:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุดท้ายเราอยากจะนำเอาคำตอบของเชคอับดุลอะซิสบินบาซ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์ ที่มีคนถามมายังท่าน โดยที่ผู้ถามกล่าวว่า : ฮุกุ่ม(ข้อตัดสิน)เกี่ยวกับเสียงเพลงมันคือสิ่งหะรอมต้องห้ามหรือไม่?และถ้าหากข้าพเจ้าฟังเพลงหรือดนตรีโดยมีเจตนาเพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนข้อตัดสินของอิสลามเกี่ยวกับการเล่นไวโอลีนกับเพลงโบราณว่าอย่างไร?รวมทั้งการตีกลองในพิธีสมรส ท่านเชคตอบว่า “การฟังเพลงเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)และยังเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายชนิดหนึ่งอันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสและความดื้อดึงเกิดขึ้นในหัวใจและทำให้ออกห่างจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการนมาซ”
อัลลอฮ์ตรัสว่า ((และได้มีบางคนในหมู่มนุษย์ได้ยึดเอาการละเล่น))
นักตัฟซีรส่วนมากให้ความหมายโองการนี้ว่า หมายถึงเสียงเพลงและดนตรี
ทั้งนี้ท่านอับดุลลอฮ์อิบนิมัสอู๊ดซึ่งนับว่าท่านเป็นศ่อฮาบะฮ์ที่สูงส่งท่านได้สาบานว่า คำว่า “การละเล่น”หมายถึงเสียงเพลงและดนตรี โดยเฉพาะ ถ้าหากว่าในเสียงเพลงนั้นมีเครื่องเล่นดนตรี เช่น กีตาร์ ตะเข้ แทมโปลีน กลองทุกชนิด ยิ่งกลายเป้นข้อห้าม(หะรอม)หนักเข้าไปอีกนักวิชาการบางท่านกล่าวไว้ว่า เพลงที่ประกอบด้วยเครื่องเล่นดนตรีถือเป็นหะรอม ซึ่งเป็นมติ(อิจมาอ์)ของประชาชาติอิสลาม ฉะนั้นสิ่งดังกล่าวจึงจำเป็นสำหรับทุกๆคนให้พึงระวังบทลงโทษของอัลลอฮ์ให้มากๆ
นอกจากนี้ยังมีหะดิษศ่อเหี๊ยะจากท่านนบี (ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม)กล่าวว่า
“จะมีกลุ่มชนหลายๆกลุ่มเกิดขึ้นจากประชาชาติของฉัน พวกเขาจะพยายามแสวงหาวิธีที่จะให้ การค้าประเวณี การสวมผ้าไหม การดื่อสุรา ฟังเสียงเพลงและดนตรีเป็นของหะล้าล(อนุมัติ)จนได้”
คำว่าเสียงเพลงและดนตรีที่ถูกกล่าวในหะดิษนี้ รวมไปถึงเครื่องดีดสี ตีเป่าทุกชนิด
นอกจากนี้ท่านยังได้เตือนผู้ที่ถามมายังท่านอีกว่า “ข้าพเจ้าอยากจะฝากไว้กับท่านให้พยายามอ่านอัลกุรอ่านให้มากๆและรำลึกถึงอัลลอฮ์อยู่ประจำหมั่นฟังสถานีวิทยุ ที่มีรายการถาม-ตอบปัญหาศาสนาเพราะมันจะช่วยให้ท่านและผู้อื่นออกห่างจากเสียงเพลงและดนตรี ซึ่งรายการดังกล่าวนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองยังส่งผลให้กับผู้อื่นอีกด้วย”
ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับการตีกลองร้องเพลงในพิธีสมรสตามที่รู้กัน หากเรื่องดังกล่าวไม่มีสิ่งที่เชิญชวนไปสู่หะรอม(ต้องห้าม)หรือเป็นจำพวกบทกวีสรรเสริญที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามมาคละเคล้า อันนี้เป็นที่อนุมัติให้ทำได้ในงานแต่งงานของทางฝ่ายญาติเจ้าสาว และเฉพาะในค่ำคืนที่กำหนดไว้เท่านั้น อนึ่งเพื่อเป็นการประกาศพิธีสมรส แต่ก็ต้องแยกให้ออกระหว่าง งานนิกาฮ์(สมรส) กับงานซิฟาฮ์(ชั่วร้าย) โดยเรื่องดังกล่าวท่านนบีได้กล่าวไว้ในหะดิษของท่าน
ส่วนการตีกลองทั่วๆไปที่ปัจจุบันนิยมกระทำกันอันนี้ไม่เป็นที่อนุมัติโดยเด็ดขาดทั้งในพิธีสมรสและนอกสมรส แต่ก็อนุมัติให้ตีกลอง อันเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้รู้ อันนี้อนุญาติให้เฉพาะทางฝ่ายเจ้าสาว โดยไม่เกี่ยวกับฝ่ายเจ้าบ่าว
ซึ่งดังกล่าวมาทั้งหมดยังมีมุสลิมจำนวนมากในปัจจุบันพากันแสวงหาหนทางที่จะให้เสียงเพลงและดนตรี เป็นที่หะล้าล(อนุมัติ)โดยมีสาเหตุที่เกิดจากความโง่เขลาหรือบางทีก็เกิดจากความดื้อดึงส่วนตัว

สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าวิงวอนขอจากพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงโปรดให้พวกเราทุกๆคน เป็นคนหนึ่งในกลุ่มชนที่พวกเขาได้รับฟังพระดำรัสของพระองค์ แล้วติดตามด้วยการปฏิบัติคุณงามความดีทั้งหลาย บรรดาพวกเขาเหล่านี้คือกลุ่มชนที่พระองค์ทรงนำทางพวกเขา และเป็นผู้ที่มีสติปัญญา ขอความสันติสุขความจำเริญจงประสบแด่ท่านนบีของเรามูฮำมัด(ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม)รวมทั้งวงศาคณาญาติและเหล่าบรรดาสาวกของท่านด้วยเทอญ
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jun 24, 2005 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทความข้างล่างนี้ ในความคิดผมน่าสนใจอยู่เหมือนกัน เพราะเดินสายกลาง เท่าที่อ่านมา แต่ไม่รู้ว่าคุณอิลยาสจะว่าอย่างไร

มุสลิมจะร้องเพลง-ฟังเพลงได้ไหม ?.

เรื่องทั้งหมดของการร้องเพลงยังเป็นที่ขัดแย้งกันไม่ว่ามันจะเป็นเพลงที่มีเสียงดนตรีประกอบหรือไม่ก็ตาม บางเรื่องก็เป็นที่เห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการมุสลิมไปแล้วในขณะที่บางเรื่องก็ยังไม่เห็นพ้องต้องกัน

นักวิชาการทั้งหมดมีทัศนะเป็นเอกฉันท์ในเรื่องการห้ามร้องเพลงและดนตรีทุกรูปแบบที่กระตุ้นให้เกิดการยั่วยุทางกามรมณ์ ส่อไปในทางลามก หยาบโลนหรือเป็นบาป ส่วนเรื่องเครื่องดนตรีนั้น กฎที่ใช้ในที่นี้ก็คือกฎที่กล่าวว่าทุกสิ่งเป็นที่อนุมัติมาตั้งแต่เดิม

การร้องเพลงก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำพูดที่เป็นทำนอง ถ้าหากถ้อยคำเหล่านี้ดี การร้องเพลงก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าหากถ้อยคำของมันไม่ดี การร้องเพลงเช่นนั้นก็ถือเป็นสิ่งไม่ดี การพูดที่มีเนื้อหาเป็นที่ต้องห้ามก็เป็นสิ่งต้องห้าม จะเป็นอะไรถ้าหากว่าการพูดนั้นเป็นจังหวะและเป็นทำนอง ? นักวิชาการเห็นพ้องกันในเรื่องการอนุญาตให้ร้องเพลงโดยไม่ต้องมีเสียงดนตรีและเป็นเพลงที่เนื้อหาไม่เป็นที่ต้องห้าม การร้องเพลงประเภทนี้เป็นที่อนุญาตให้บางโอกาส เช่น การแต่งงาน การเลี้ยง การต้อนรับผู้เดินทาง และในทำนองนี้ นี่มาจากหะดีสของท่านนบี ซึ่งกล่าวว่า : “ท่านได้ถามว่า ‘ พวกท่านได้ให้อะไรเป็นของขวัญแก่เจ้าสาวหรือเปล่า ?’ พวกเขาตอบว่า ‘ ให้ครับ’ ท่านจึงได้ถามว่า ‘ท่านได้ส่งนักร้องไปพร้อมกับเธอหรือเปล่า ?’ นางอาอิชะฮ์ตอบว่า ‘ เปล่าค่ะ’ ท่านนบี จึงได้กล่าวว่า ‘ ชาวอันซอรเป็นคนที่รักบทกวี พวกท่านน่าจะส่งใครบางคนที่ร้องเพลง เรามาแล้ว เรามาหาท่าน จงทักทายเราเหมือนดังที่เราทักทายพวกท่าน’” ในกรณีนี้ เราสามารถกล่าวได้ว่าผู้หญิงสามารถร้องเพลงต่อหน้าผู้หญิงด้วยกันเองและต่อหน้าญาติผู้ชายที่ไม่สามารถแต่งงานกับเธอได้
ในเรื่องของเครื่องดนตรีนั้น นักวิชาการยังขัดแย้งกันในเรื่องนี้ บางคนอนุญาตการร้องเพลงทุกอย่างไม่ว่าจะมีเครื่องดนตรีประกอบหรือไม่ก็ตามและยังถือว่าเป็นเรื่องดีด้วย ส่วนผู้ทรงความรู้กลุ่มที่สองอนุญาตการร้องเพลงที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ กลุ่มที่สามประกาศว่ามันเป็นที่ต้องห้ามไม่ว่าจะมีเครื่องดนตรีหรือไม่มีก็ตามและถึงกับถือว่ามันเป็นบาปใหญ่ด้วย ในการสนับสนุนความคิดของพวกเขา พวกเขาได้อ้างหะดีสของอิมาม อัล-บุคอรีที่รายงานจากอบูมาลิกหรืออบูอะมีร อัล-อัชอะรีว่าท่านนบี ได้กล่าวว่า “ในหมู่ผู้ปฏิบัติตามฉันจะมีบางคนที่ถือว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างผิดกฎหมาย การสวมเสื้อผ้าไหม การดื่มเครื่องมึนเมาและการใช้เครื่องดนตรีเป็นที่อนุมัติ” ถึงแม้ว่าหะดีสนี้จะอยู่ในเศาะฮีฮ อัล-บุคอรี แต่สายรายงานก็ไม่ต่อเนื่องกันไปถึงท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งทำให้หลักฐานความน่าเชื่อถือของมันใช้ไม่ได้ อิบนุฮัซม์ก็ปฏิเสธหะดีสนี้ด้วยเหตุผลดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ฮิชาม อิบนุอัมมาร ผู้รายงานต่อก็ถูกนักวิชาการหะดีสประกาศว่าอ่อนหลักฐาน
นอกจากนั้นแล้ว หะดีสนี้ยังไม่ได้ห้ามการใช้เครื่องดนตรีไว้อย่างชัดเจนด้วยเพราะวลีที่ว่า “ถือว่าเป็นที่อนุมัติ” ตามอิบนุ อัล-อะเราะบี มีความหมายสำคัญสองประการคือ
ประการแรก คนเหล่านั้นคิดว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด (สิ่งที่ถูกกล่าวถึง) เป็นที่อนุมัติ
ประการที่สอง พวกเขาเกินเลยขอบเขตอันเหมาะสมที่ควรจะปฏิบัติในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ ถ้าตั้งใจจะหมายถึงประการแรก คนเหล่านั้นก็เป็นผู้ปฏิเสธ
ความจริงแล้ว หะดีสนี้ตำหนิลักษณะของคนกลุ่มหนึ่งที่หมกมุ่นอยู่ในความฟุ้งเฟ้อ การดื่มสิ่งมึนเมาและฟังดนตรี ดังนั้น อิบนุมาญะฮ์จึงเล่าหะดีสนี้จากอบูมาลิก อัล-อัชอารี ด้วยคำพูดดังต่อไปนี้ : “ในหมู่ผู้ปฏิบัติตามฉันจะมีบางคนที่ดื่มเหล้าโดยเรียกมันด้วยชื่ออื่นในขณะที่พวกเขาฟังเครื่องดนตรีและร้องเพลงของนักร้องหญิง อัลลอฮฺจะทำให้แผ่นดินกลืนพวกเขาและจะทำให้พวกเขากลายเป็นลิงและหมู”(หะดีสนี้ได้ถูกเล่าโดยอิบนุ ฮิบบาน)


ข้อสรุปเรื่องการอนุญาตเครื่องดนตรี

จากที่กล่าวมาข้างต้น มันเป็นที่ชัดเจนว่าตัวบททางศาสนาที่เป็นพื้นฐานสำหรับคนที่ถือว่าการร้องเพลงเป็นที่ต้องห้าม(หะรอม)นั้นยังคงคลุมเครือหรือไม่ก็อ่อนหลักฐาน ไม่มีหะดีสใดที่โยงไปถึงท่านนบี และสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการตัดสินห้ามได้ ยิ่งไปกว่านั้น หะดีสเหล่านี้ทั้งหมดยังได้ถูกประกาศว่า “หลักฐานอ่อน”(เฎาะอีฟ) โดยผู้ปฏิบัติตามอิบนุฮัซม์, มาลิก, อิบนุฮัมบัล และอัชชาฟีอี


ในหนังสือเรื่อง “อัล-อะฮฺกาม” (ระเบียบกฎหมาย) ของอัล-กอฎี อบูบักร อิบนุ อัล-อะเราะบี เขากล่าวว่า “ไม่มีหะดีสใดที่กล่าวว่าการร้องเพลงเป็นสิ่งต้องห้ามถูกถือว่าเป็นที่เชื่อถือได้(โดยนักวิชาการหะดีส)” อัล-เฆาะซาลีและอิบนุ อัน-นะฮวีก็แสดงความเห็นเช่นนี้ไว้ในหนังสือ “อัล-อุมด๊ะฮฺ” อิบนุฏอฮิรกล่าวว่า “ไม่มีแม้แต่ตัวอักษรเดียวจากหะดีสเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นที่เชื่อถือได้” อิบนุฮัซม์กล่าวว่า “หะดีสทั้งหมดที่ถูกรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหะดีสที่ถูกกุขึ้นและเป็นเท็จ”

ข้อพิสูจน์ของบรรดาถือว่าการร้องเพลงเป็นที่อนุมัติ

ประการแรก : ข้อพิสูจน์ทางตัวบท : นักวิชาการกลุ่มนี้อาศัยเหตุผลจากโต้แย้งจากหะดีสของท่านนบี ดังต่อไปนี้ : ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า “ท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้มายังบ้านของฉันในขณะที่เด็กผู้หญิงสองคนกำลังร้องเพลงเกี่ยวกับสงครามบุอาษ (สงครามระหว่างพวกเอาซ์และคอสรอจญ์ก่อนหน้าอิสลาม) อยู่ข้างๆฉัน ท่านนบี ได้นอนลงและหันหน้าของท่านไปอีกด้านหนึ่ง หลังจากนั้น อบูบักร์กเข้ามาแล้วพูดกับฉันด้วยเสียงดุว่า ‘เครื่องดนตรีของชัยฏอนใกล้ท่านนบี’ ดังนั้น ท่านรอซูลุลลอฮฺ จึงได้หันมายังเขาและกล่าวว่า ‘ ปล่อยพวกเธอเถอะ ’เมื่ออบูบักรเลิกสนใจแล้ว ฉันก็ให้ส่งสัญญาณให้เด็กผู้หญิงเหล่านั้นออกไปและพวกเธอก็ออกไป” (เศาะฮีฮ์ อัล-บุคอรี) นี้เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเด็กผู้หญิงสองคนนั้นไม่ใช่เด็กเล็กอย่างที่นักวิชาการบางคนอ้าง ถ้าหากเป็นเด็กเล็ก อบูบักร์ก็คงจะไม่โกรธเด็กในลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้ว ในหะดีสนี้ ท่านนบี ยังต้องการที่จะสอนพวกยิวว่าอิสลามมีช่องว่าสำหรับความบันเทิงและท่านเองก็ได้ถูกส่งมาพร้อมกับกฎที่เป็นสายกลางและยืดหยุ่น ตรงนี้มีบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งด้วย กล่าวคือ มันทำให้เราเห็นถึงความจริงว่าเราจำเป็นที่จะต้องนำอิสลามไปยังผู้อื่นในลักษณะที่ดีพร้อมกับแสดงความเป็นสายกลางและใจกว้าง
ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถที่จะยกวจนะของอัลลอฮฺมาอ้างได้ว่า : “และเมื่อพวกเขาได้เห็นการค้าและการรื่นเริง พวกเขาก็กรูกันไปที่นั่นและปล่อยเจ้าให้ยืนอยู่คนเดียว (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่าสิ่งที่มีอยู่ที่อัลลอฮฺนั้นดีกว่าการรื่นเริงและการค้า และอัลลอฮฺนั้นทรงเป็นเลิศยิ่งในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (กุรอาน 62:11)
ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺพูดถึงเรื่องการรื่นเริงกับการค้า แต่พระองค์ไม่ได้ตำหนิสิ่งทั้งสอง พระองค์เพียงแต่ตำหนิบรรดาสาวกที่ทิ้งท่านนบีมุฮัมมัด ไว้ให้กล่าวคำเทศนาวันศุกร์ตามลำพังโดยกรูกันไปสนใจกองคาราวานและการตีกลองฉลองที่กองคาราวานมาถึง
ประการที่สอง : ในเรื่องเจตนารมณ์และพื้นฐานของอิสลาม เป็นเรื่องจริงที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามสิ่งดีๆในชีวิตโลกนี้สำหรับพวกลูกหลานอิสราเอลเพื่อเป็นการลงโทษการทำผิดของคนพวกนี้ พระองค์ทรงกล่าวว่า “ เนื่องจากความผิดที่พวกยิวได้ทำไว้ เราจึงได้ห้ามสิ่งดีๆที่เราเคยอนุมัติให้พวกเขาและเพราะว่าพวกเขาขัดขวางทางของอัลลอฮฺและเพราะพวกเขาเอาดอกเบี้ยทั้งๆที่มันเป็นที่ต้องห้ามแล้วและเพราะพวกเขากินทรัพย์สินของคนอื่นโดยไม่เป็นธรรม เราจึงได้เตรียมการลงโทษอันเจ็บแสบไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา” (กุรอาน 4:160-161)
ก่อนที่จะส่งท่านนบีมุฮัมมัด มา พระองค์ได้กล่าวถึงท่านในคัมภีร์ก่อนๆนี้ว่า “บรรดาผู้ปฏิบัติตามรอซูล นบีที่ไม่สามารถอ่านเขียนได้ซึ่งพวกเขาพบว่าได้มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์เตารอตและอินญีลที่อยู่กับพวกเขา เขาจะสั่งใช้พวกเขาในสิ่งที่ถูกต้องและห้ามพวกเขาในสิ่งที่ผิด เขาจะทำให้สิ่งดีเป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเขาและจะห้ามสิ่งที่ไม่ดีสำหรับพวกเขา”(กุรอาน 7:157)
ดังนั้น อิสลามจึงไม่ทิ้งสิ่งดีไว้ แต่ได้ประกาศว่ามันเป็นที่อนุมัติ (หะลาล) นี่เป็นสัญญาณหนึ่งของความเมตตาต่อประชาชาตินี้โดยการเดินไปตามคำสอนที่มีขอบเขตกว้าง อัลลอฮฺทรงกล่วว่า “พวกเขาถามเจ้า(มุฮัมมัด)ว่าอะไรที่เป็นที่อนุมัติสำหรับพวกเขา จงตอบเถิดว่าสิ่งดีทั้งหมดได้ถูกอนุมัติสำหรับพวกท่าน” (กุรอาน 5:4)
ถ้าเราจะมองอะไรให้ลึกลงไปในเรื่องนี้ เราจะพบว่าความชอบที่จะร้องเพลงและเสียงดนตรีนั้นเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เราสามารถกล่อมเด็กในเปลให้หลับโดยการร้องเพลง แม่และพี่เลี้ยงเด็กมักจะชอบร้องเพลงให้ทารกและเด็กที่ตัวเองเลี้ยงดู ยิ่งไปกว่านั้น นกและสัตว์ก็ตอบสนองต่อเสียงที่ไพเราะและเสียงดนตรีที่เป็นจังหวะ
ดังนั้น ถ้าหากการร้องเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องที่อิสลามจะไปฝ่าฝืนสัญชาติญาณของมนุษย์ อิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า “ท่านนบี ได้ถูกส่งมาขัดเกลาและจัดระเบียบวินัยสัญชาติญาณของมนุษย์ ไม่ใช่มาเปลี่ยนหรือมาแก้ไขมัน” นี่ก็เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหะดีสของท่านนบี ที่ว่า “เมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้มายังมะดีนะฮ์ ท่านได้เห็นพวกเขาเฉลิมฉลองกันเป็นเวลาสองวัน ท่านได้กล่าวถามว่า ‘วันอะไรกันซิ ?’ พวกเขาตอบว่า ‘เราเคยรื่นเริงกันในวันเหล่านี้ในระหว่างยุคก่อนหน้าอิสลาม ท่านได้กล่าวว่า ‘แท้จริง อัลลอฮฺได้ให้โอกาสท่านสองวันซึ่งดีกว่านั่นคือวันอีดุลอัฎฮาและวันอีดุลฟิฏร์” (รายงานโดยอะหมัด,อบูดาวูดและอันนะซาอี)
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากการร้องเพลงถูกถือว่าเป็นการรื่นเริงและการละเล่น มันก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้าม เพราะมันเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์จำเป็นต้องมีเวลาบ้างสำหรับการผ่อนคลายและการรื่นเริง ท่านนบี ได้กล่าวแก่ฮันซาละฮ์ที่คิดว่าตัวเองเป็นพวกตลบตะแลงที่ห่วงดูแลภรรยาและลูกและทำให้เขาเปลี่ยนแปลงเมื่ออยู่ห่างจากท่านรอซูลุลลอฮฺ ว่า “ ฮันซาละฮ์เอ๋ย ท่านควรจะให้ให้เวลาส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องทางโลกและอีกส่วนหนึ่งสำหรับการนมาซ” (รายงานโดยมุสลิม)
อะลี อิบนุ อบูฏอลิบกล่าวว่า “จงทำให้ตัวท่านเองสนุกสนานรื่นเริงบ้างเป็นบางครั้งเพราะถ้าหากหัวใจตึงเครียดเกินไปมันจะบอดเอา”
อบูดารดาได้กล่าวว่า “ฉันทำให้ตัวฉันเองสดชื่นเสมด้วยการสนุกสนานเพื่อที่จะทำให้ตัวฉันเองเข้มแข็งในหนทางที่ถูกต้อง”
อิมามเฆาะซาลีได้ตอบบางคนที่ถามท่านว่า : “การร้องเพลงมิใช่การละเล่นและการรื่นเริงชนิดหนึ่งหรือ ?” ท่านกล่าวว่า : “ใช่ แต่ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตปัจจุบันนี้เป็นแค่เพียงการละเล่นและการรื่นเริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างสามีและภรรยาของเขาก็เป็นการละเล่นยกเว้นการมีความสัมพันธ์ทางเพศที่เป็นสาเหตุโดยตรงของการก่อให้เกิดบุตร นี่เป็นสิ่งที่ถูกรายงานมาจากรอซูลุลลอฮฺ และสาวกอันทรงเกียรติของท่าน”
ความจริงแล้ว เวลาพักผ่อนเป็นสิ่งที่ทำให้หัวใจสดชื่นและเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดในเวลาเดียวกัน ความตึงเครีดและความจริงจังมากเกินไปจะทำให้หัวใจเหนื่อยอ่อนและมืดบอด
การทำให้ตัวเองรื่นเริงนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเองสดชื่นและเข้มแข็ง คนที่ทำงานหนักต่อเนื่องกันควรจะพักสักครู่หนึ่งเพื่อที่จะฟื้นฟูให้พลังของตัวเองกลับมาอีกครั้ง เพราะมิเช่นนั้นแล้วเขาจะต้องมีปัญหาในอนาคต เมื่อใครคนหนึ่งพัก เรี่ยวแรงและพลังของเขาก็จะกลับคืนมา บรรดานบีเท่านั้นที่สามารถทนต่อความตึงเครียดอย่างหนักได้ การมีเวลาพักผ่อนเป็นรูปแบบหนึ่งของการรักษาโรคแห่งตัวตน เป็นการรักษาความเหนื่อยล้าและความเบื่อหน่าย แต่การพักผ่อนจะต้องไม่เกินเลยขอบเขตเพราะมันเป็นขัดกับเรื่องของการทำให้หัวใจรื่นเริงเพื่อที่จะทำให้มันสามารถเดินต่อไปได้ คนที่คุ้นเคยและมีประสบการณ์ในธรรมชาติของหัวใจและตัวตนของมนุษย์รู้ว่าการพักผ่อนหย่อนคลายเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีของตนเอง ข้อพิสูจน์ถึงการอนุญาตร้องเพลงเหล่านี้ได้มาจากตัวบทและกฎระเบียบของอิสลาม และสิ่งเหล่านี้ก็เพียงพอที่จะสร้างความกระจ่างให้เรื่องนี้ได้

นอกจากนั้น ชาวมะดีนะฮฺผู้เคร่งครัดและเกรงกลัวพระเจ้าชาวซอฮิรียะฮฺผู้รู้ดีถึงหลักฐานของตัวบทและพวกซูฟีที่เข้มงวดในการปฏิบัติตนก็ยังถูกอ้างว่าการร้องเพลงเป็นที่อนุญาต

อิมาม เชากานีกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “นัยลุ้ลเอาตอร” ว่า “ชาวมะดีนะฮฺและบรรดาผู้คนในหมู่ชาวซอฮิรียะฮฺและพวกซูฟีถือว่าการร้องเพลงเป็นที่อนุญาต แม้จะมีเครื่องดนตรีประกอบ เช่นขลุ่ย อบูมันซูร อัล-บุฆดาดี อัช-ชาฟิอีเล่าว่าอับดุลลอฮฺ อิบนุญะฟัรเห็นว่าไม่มีอะไรผิดในการร้องเพลงและเขาเองก็เคยแต่งเพลงให้ทาสของเขาร้องต่อหน้าเขา เรื่องนี้เกิดขึ้นในระหว่างสมัยของอะลี อิบนุ อบูฏอลิบ เป็นผู้นำ อบูญะฟัร อัล-บุฆดาดีเล่าเรื่องนี้หลังกอฎีชุร็อยฮ์, ซะอ์ดี อิบนุ อัล-มุซ้ยยิบ , อะฏอ อิบนุรอบาฮ์, อัซ-ซุฮรีและอัช-ชะอ์บี อัร-รุวัยยานีเล่าจากอัล-ก็อฟฟาลว่ามาลิก อิบนุอะนัสถือว่าการร้องเพลงพร้องเครื่องดนตรีเป็นที่อนุญาต นอกจากนั้นแล้ว อบูมันซูร อัล-ฟุรอนีก็อ้างว่ามาลิกกล่าวว่าการเล่นขลุ่ยเป็นที่อนุญาต
อบู อัล-ฟัดล์ อิบนุ ฏอฮิรเล่าว่า “ชาวมะดีนะฮฺไม่เคยโต้เถียงกันเรื่องการอนุญาตให้เล่นขลุ่ย”

อิบนุอัน-นะฮวีเล่าไว้ในหนังสือ “อัล-อุมด๊ะฮฺ” ของเขาว่า : “ อิบนุฏอฮิรได้กล่าวว่าชาวมะดีนะฮฺได้แสดงความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้ พวกซอฮิรียะฮฺทั้งหมดก็กล่าวเช่นเดียวกัน” อัล-เมาริดีได้บอกเล่าถึงการอนุญาตให้เล่นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปทรงคล้ายน้ำเต้า และอัล-อัดฟูวีก็ตัดสินว่านี่เป็นที่อนุญาต
นักวิชาการเหล่านี้ทั้งหมดถือว่าการ้องเพลงที่มีเครื่องดนตรีประกอบเป็นที่อนุญาต แต่ส่วนเรื่องการร้องเพลงที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบนั้น อัล-อัดฟูวีได้กล่าวว่า ในหนังสือเกี่ยวกับนิติศาสตร์บางเล่มอิมามเฆาะซาลีกล่าวถึงมติของบรรดานักวิชาการส่วนใหญ่ว่าเป็นที่อนุญาต อิบนุฏอฮิรก็กล่าวถึงมติเอกฉันท์ของสาวกของท่านนบี และบรรดาคนรุ่นหลังสาวกในเรื่องนี้ อิบนุ อัน-นะฮวีกล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อุมด๊ะฮฺ”ว่าการร้องเพลงและการการฟังเพลงเป็นที่อนุญาตโดยสาวกกุล่มหนึ่งและผู้ปฏิบัติตามสาวกเหล่านั้น

เงื่อนไขและข้อกำหนด

อย่างไรก็ตามมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการฟังเพลงบางอย่างดังนี้

1) มิใช่ว่าการร้องเพลงทุกอย่างเป็นที่อนุญาต เพลงที่อนุญาตนี้จะต้องสอดคล้องกับหลักคำสอนและจริยธรรมอิสลาม ดังนั้นเพลงที่ร้องเพื่อยกย่องสรรทรราชย์และผู้ปกครองที่ทุจริตนั้นไม่สอดคล้องกับคำสอนของอิสลาม เพราะอิสลามต่อต้านผู้ล่วงละเมิดและพันธมิตรของผู้ล่วงละเมิดและบรรดาผู้เฉยเมยต่อการล่วงละเมิด

2) วิธีการร้องเพลงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเนื้อหาของเพลงดี แต่การแสดงออกของผู้ร้องที่มีเจตนากระตุ้นหรือเร้าอารมณ์ใคร่และยั่วยวน การร้องเพลงเช่นนั้นก็อาจจะเข้าข่ายต้องห้าม หรือเป็นที่สงสัยหรือน่ารังเกียจ คัมภีร์กุรอานได้กล่าวแก่บรรดาภรรยาของท่านนบีมุฮัมมัด ว่า “โอ้ภรรยาของนบีเอ๋ย พวกเธอไม่เหมือนกับผู้หญิงอื่นๆ ถ้าหากพวกเธอระวังรักษาหน้าที่ของพวกเธอต่ออัลลอฮฺ ดังนั้น ก็จงอย่าพูดจาเสียงอ่อนหวานเพราะเกรงว่าบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาเป็นโรคอาจจะคิดไม่ดี แต่จงพูดด้วยน้ำเสียงปกติ” (กุรอาน 33:32) ดังนั้นเราจะต้องระวังเรื่องดนตรีเมื่อมันมีคำร้องที่ใช้เสียงออเซาะประกอบเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองให้เคลิบเคลิ้มและแสงสีต่างๆ

3) การร้องเพลงจะต้องไม่มีอะไรที่เป็นที่ต้องห้ามประกอบ เช่น สิ่งมึนเมา การเปิดเผยเรือนร่างหรือการเปลือยกาย การอยู่ร่วมปะปนกันหรือมั่วสุมกันระหว่างชายหญิงอย่างที่เห็นกันในผับและไนท์คลับ

4) อิสลามห้ามการเกินเลยขอบเขตในทุกเรื่องแม้แต่ในเรื่องของการนมาซ

ดังนั้น ในการพักผ่อนและรื่นเริงก็เช่นกันถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่อนุญาตก็ตาม นี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างของความคิดและหัวใจนั้นจะต้องได้รับการรักษาไว้และแก้ไขในระหว่างการมีชีวิตในช่วงสั้นๆของมนุษย์ เราจะต้องรู้ว่าอัลลอฮฺจะถามเราทุกคนเกี่ยวกับชีวิตของและโดยเฉพาะวัยหนุ่มของเราว่าเราใช้มันไปอย่างไร?

มีบางสิ่งที่เขาจะต้องตัดสินด้วยตัวของเขาเอง ถ้าหากมีการร้องเพลงบางอย่างที่เร้าอารมณ์ปรารถนาของเขาและนำเขาห่างออกไปจากชีวิตจริง เขาควรจะหลีกเลี่ยงมันแล้วปิดประตูนั้นไม่ให้ลมแห่งการทดสอบและล่อลวงเข้ามาทำลายศาสนา ศีลธรรมและหัวใจของเขาหรือไม่ ถ้าหากเขาทำ เขาก็จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบ


คำเตือนสำหรับการใช้คำว่า“หะรอม”

ในการสรุปเรื่องนี้ เราขอกล่าวกับบรรดาผู้มีความรู้ที่ชอบใช้คำว่า “หะรอม”อย่างพล่อยๆในการออกคำตัดสินปัญหา ขอให้คนเหล่านี้ตระหนักว่าอัลลอฮฺกำลังเฝ้ามองเขาอยู่ในทุกเรื่องที่เขาพูดและทำ พวกเขาควรจะรู้ว่าคำว่า “หะรอม” มีอันตรายมาก มันหมายถึงการลงโทษของอัลลอฮฺต่อการกระทำหรือคำพูดบางอย่าง
ดังนั้นจึงไม่ควรจะพูดออกมาจากการเดา หรือพูดตามอำเภอใจหรือใช้หะดีสอ่อนหลักฐานมาอ้าง มันจะต้องมีตัวบทหรือมติเอกฉันท์ที่ชัดเจนมาสนับสนุน ถ้าหากไม่มีสองสิ่งนี้แล้วเราก็หันกลับไปยังกฎระเบียบเรื่องการอนุญาตดั้งเดิมที่ใช้กับสิ่งต่างๆ เรามีตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งจากนักวิชาการผู้คุณธรรมในยุคก่อนไว้ให้ปฏิบัติตาม อิมามมาลิก กล่าวว่า “มันไม่ใช่นิสัยของคนก่อนหน้าเรา มุสลิมผู้ทรงคุณธรรมก่อนหน้านี้ที่สร้างตัวอย่างที่ดีไว้ให้คนรุ่นหลังปฏิบัติตามนั้นที่จะกล่าวว่า ‘นี่เป็นสิ่งที่หะลาล(เป็นที่อนุมัติ) และนี่เป็นสิ่งที่หะรอม (เป็นที่ต้องห้าม) แต่พวกเขาจะกล่าวว่า ‘ ฉันไม่ชอบนั่นไม่ชอบนี่และถือปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ แต่สำหรับเรื่องหะลาลและหะรอมนั้น มันเป็นสิ่งที่อาจถูกเรียกว่าสร้างเรื่องโกหกให้อัลลอฮฺ พวกท่านไม่ได้ยินวจนะของอัลลอฮฺหรือว่า : จงกล่าวเถิด สูเจ้าไม่พิจารณาบ้างหรือว่าอัลลอฮฺได้ประทานปัจจัยอะไรให้สูเจ้าบ้าง แล้วสูเจ้ากลับมาทำบางส่วนของมันให้เป็นที่อนุมัติและบางส่วนของมันเป็นที่ต้องห้าม? จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติแก่สูเจ้าแล้ว หรือสูเจ้าจะมาสร้างเรื่องโกหกให้แก่อัลลอฮฺ ? (กุรอาน 11:59) เพราะหะลาลคือสิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์อนุมัติและหะรอมคือสิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ห้าม”


โดย เชค ยูซุฟ ก็อรฎอวี ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาของกาตาร์
แปลโดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก: Thaimuslimshop
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Mon Jun 27, 2005 10:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ผม..อืม..อย่างไรดีหละ แบบว่ามานำเสนอในหลักฐานของนักวิชาการแนวสะละฟีย์นะครับ
ไม่ออกความเหน และไม่ขยายความ แต่ให้น้ำหนักในทางนี้เพราะว่าแนวทางของนักวิชาการสะละฟีย์มีน้ำหนักและฃัดเจนครับ... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
ส่วนเรื่องของเชคยูซุฟนั้น ..ลองติดตามข่าวสารทางลุญนะฮ์ดูนะครับ วัลลอฮุอะอฺลัม

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 30, 2005 10:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam คุณอิลยาส ผมที่โพสต์มาให้พิจารณาดู เพื่อขอคำแนะนำครับ เพราะมีพี่น้องเขาถามเกี่ยวกับเพลงปลุกศรัทธา เพราะตอนนี้ มีจำหน่าย กันมากมายตามงานกุศล เช่นงานมัสยิด มีทั้งของมาเลย์และไทย มีเพลงสอนอาลิฟ บาตา ด้วย เราก็หนักใจพอสมควร ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
matt
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 254
ที่อยู่: usa

ตอบตอบ: Fri Jul 08, 2005 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam


อัสลามุอะลัยกุมครับคุณ dabdulla:

ผมต้องขออภัยทุกๆท่านด้วยที่ต้องกลับเข้ามาในเรื่องนี้อีก เพราะว่า คุณ dabdulla นำคำถามนี้ไป ปนอยู่ กับกระทู้ ข้ออื่น...

ความเป็นจริงแล้ว ผมไม่อยาก จะ ตอบกระทู้ของคุณขัอนี้เลย เพราะ พาดพิง ไปถึง คุณ Alqhuraba และมันอยู่ไม่ตรง ที่ ๆ ควร จะ สนทนากันเรื่องนี้ ผมตั้งคำถามคุณไปหลายครั้ง คุณไม่เคยตอบผมสักครั้งเดียว ถ้าคุณจะช่วยผม ก็พยายามตอบคำถามผมซิครับ คุณตำหนิอย่างเดียว แต่ไม่มีคำอธิบาย ผมก็ถามไปตั้งหลายครั้งแล้ว ในเรื่อง คำแปล

ในซูเราะฮฺ อัรรอหฺมาน อายะที่ 14

خَلَقَ الْإِنسَانَ مِن صَلْصَالٍ كَالْفَخَّارِ

14. พระองค์ทรงสร้างมนุษย์จากดินเหนียวมีเสียง เช่นเครื่องปั้นดินเผา”

อยากทราบว่า คำว่า “เสียง” ในอายะ ข้างบนนี้ ภาษาอรับ เขา ว่าอย่างไร?



ในเรื่องการเรียนรู้ ผมกับคุณ ต่างกันมาก ไม่เหมือนกัน หรอกครับ, เพราะว่า ก่อนที่ผมจะ เชื่อ หรือ ตามสิ่งใด จากผู้ใด ก็ตาม ผมต้องทราบว่า เขามีความรู้ในเรื่องนั้น อย่างแท้จริง หรือไม่ ? และ มีใจกว้างพอที่จะ ยอมรับว่า ผิด ในเมื่อ ผิด พลาดไป เพราะ เป็น ธรรมชาติ ของ มนุษย์ ที่สามารถที่จะ ยอมรับความผิดพลาด ถ้าผมอธิบายและคุณมีหลักฐานว่าคำอธิบายของ ผมผิด ผมก็ จะขอ อภัย และ แก้ไข และ เดินหน้า ต่อไป

คุณ dabdulla: ถามผม โดยยกตัวอย่างว่า:,

“เรื่องของดนตรี ที่คุณแมทท์ แปลว่า มลาอิกะห์ ร้องเพลง เล่นดนตรี เพราะในกุรอ่านแปลอังกฤษ คุณแมทท์ ไปเจอคำที่แปลเป็นเล่นดนตรี ซึ่งคุณ Alqhuraba ได้อธิบายคุณแมทท์ไป ในเมื่อคุณแมทท์ ยอมรับว่าไม่เก่งอาหรับ ซึ่งเป็นที่ลงของโองการอัลกุรอ่าน ไฉนคุณแมทท์ถึงกล้าฟันธงล่ะครับ ว่ามลาอิกะห์ ร้องเพลง”


ก่อน อื่น ผมต้องขออภัยคุณ Alqhuraba ด้วย ที่จำเป็นต้อง ตอบคุณ dabdulla อย่างตรงไปตรงมา, ข้างล่างนี้ คือคำ แปล ของ ผม ...

“ และเจ้าจะเห็นมะลาอิกะฮฺห้อมล้อมรอบ ๆ บังลังก์, ร้องเพลงสดุดีด้วยการ สรรเสริญ พระเจ้า ของพวกเขา, การตัดสินในระหว่างพวกเขา จะได้รับความยุติธรรมอย่างที่สุด, และเสียงแซ่ซ้องสดุดี ว่า, “การสรรเสริญทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งสากลโลก”
(39:75)

Singing ในที่นี้คือ “ร้องเพลงสรรเสริญ สดุดี”

ก่อนที่ผมจะเอามาลงนี้ ผม เปรียบเทียบ จาก ภาษาอรับ โดยตรง ดังนี้.....
ประโยคที่ว่า,“يُسَبِّحُونَ بِحَمْدِ رَبِّهِمْ” อ่านว่า “ ยูสับบะหูนะบิฮัมดิร๊อบบะฮิม” มีความหมายจากภาษาอรับ ตรงตัวว่า “เหล่า มลาอิกะฮส่งเสียง(เป็นทำนอง)สดุดีสรรเสริญ(อัลลอฮ)อย่างชื่นชม” (คือ มีความชื่นชมจนเป็นที่ปิติยินดีอย่างยิ่งเดินไปรอบๆบัลลังก์), “ยูสับบะหูนะบิฮัมดิร๊อบบะฮิม” คือการสรรเสริญที่เป็นทำนองสดุดี


ตามที่คุณ Alqhuraba อธิบาย ข้างล่างนี่ คุณลองอ่านให้เข้าใจอีกครั้ง

“ภาษาอรับก็คือ “ยุสับบิหูนะ บิหัมดิ ร็อบบิฮิม” ที่เรารู้จักกันว่า ตัสเบียะห์ นั่นละครับ ….มันแปลว่า ร้องเพลง ซะเมื่อไหร่….แต่เค้าใช้คำนั้นเพราะพยายามสื่อในภาษาอังกฤษว่า มลาอิกะฮสดุดีสรรเสริญอัลลอฮด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ สุขุมเยือกเย็น สุภาพ และให้เกียรติ”


จากประโยคข้างบนนี้ ที่ว่า, “มลาอิกะฮสดุดีสรรเสริญอัลลอฮด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ สุขุมเยือกเย็น สุภาพ และให้เกียรติ”, คำ "วลี" ที่ว่า “น้ำเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ สุขุมเยือกเย็น สุภาพ และให้เกียรติ” นั้น ความหมายในภาษาไทยอาจจะหมายถึง บทกลอน หรือ เสียงเพลง ในที่นี้ หมายถึง “ การสรรเสริญพระบารมีเป็นทำนอง” เป็นการอธิบายที ผู้อธิบายพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ส่งเสียง สดุ ดีสรรเสริญ เป็นทำนองไพเราะ”


ผมจะอธิบาย ความหมายและสำนวนภาษาอังกฤษ ที่ใช้ ใน ที่นี้ เสียก่อน

“يُسَبِّحُونَ بِحَمْدِ رَبِّهِمْ” “ยูสับบะหูนะบิฮัมดิร๊อบบะฮิม” ถ้าจะแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้ว ง่าย กว่า ภาษาไทย เพราะ มี คำศัพท์เฉพาะ ตัว ที่ ใช้ เกี่ยว กับ “ พระเจ้า” ถ้าแปลตรงตัวก็ จะออกมาใน รูปนี้ “They praise praise raised them”, แล้ว มันหมายความว่าอย่างไรเล่า? เพราะ มันไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า “Through praise and worship(GOD) their hearts were raised into the joyous” หรือ หมายความเป็นไทยว่า “จากการสดุดีสรรเสริญด้วยความสักการบูชา(พระเจ้า)ทำให้หัวใจ ของ พวกเขาถึงระดับที่ เบิกบาน, มีความสุขยิ่ง”

เขาเหล่านั้น(มาลาอิกะห์) สักการะบูชาสดุดีสรรเสริญ ยกย่องพระเจ้าเป็นทำนอง


ความ หมาย ของ คำว่า “Praise” ในภาษาอังกฤษ เมื่อใช้ ในสำนวน ที่ใช้ ใน คัมภีร์ แล้ว มีความหมาย เช่นเดียว กับคำว่า “glorify” คือ to extol the Creator; worship, particularly worship by song, distinction from prayer and other acts of worship.


ความหมายเป็นภาษา ไทยว่า “การ สรรเสริญ (สดุดี, ยกย่อง, เยินยอ) พระองค์ผู้สร้าง, โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การสักการบูชาด้วย เพลง ซึ่งแตกต่างจาก การสักการบูชา ตามปกติในรูปแบบอื่นๆ”


ดังนั้น คำว่า “glorify” และ คำว่า “ praise” และ คำว่า “hymn” จึงมีความหมาย เช่นเดียวกัน (หรือ ในทำนองเดียวกัน) คือ กลอนสวด, เพลงสวด และ เพลงสรรเสริญ หรือ “Sing” (“ร้องเพลง” ซึ่งเป็นภาษาพูดธรรมดา)


จากการแปลภาษาอังกฤษที่คุณ Alqhuraba นำมาแสดงต่อไปนี้...


PICKTHAL: And thou (O Muhammad) seest the angels thronging round the Throne, hymning the praises of their Lord. And they are judged aright. And it is said: Praise be to Allah, the Lord of the Worlds!

SHAKIR: And you shall see the angels going round about the throne glorifying the praise of their Lord; and judgment shall be given between them with justice, and it shall be said: All praise is due to Allah, the Lord of the worlds.

AlHilali & Muhsin Khan : And you will see the angels surrounding the throne of Allah from al round, glorifying the praise of their Lord (Allah); and they(all the creatures) will be judged with truth, and it will be said: All the praises and thanks be to Allah, the Lord of the ‘Alamin (mankind, jinns, and all that exists).

Abdul Aziz Kamal : And you will see the angels circling around the throne glorifying their Lord with His praises; and the people shall be judged with full justice, and it will be proclaimed : Praise is for Allah, Lord of the worlds!

Yusufali : And thou wilt see the angels surrounding the Throne (Divine) on all sides, singing Glory and Praise to their Lord. The Decision between them (at Judgment) will be in (perfect) justice, and the cry (on all sides) will be, "Praise be to Allah, the Lord of the Worlds!"



คุณ Alqhuraba อธิบายต่อไปอีกว่า:


เห็นมั้ยครับ เจ้าอื่นเค้าใช้ hymn กับ glorify กันเลยไม่ “ถูกใจ” ทั่น นี่ถ้าจะให้ vote ก็แพ้ตั้งแต่ยกแรกแล้ว แต่กุรอานนี่ไม่ใช่เรื่องที่จะมา vote กัน เพราะฉะนั้นต้องดูที่ความหมายที่แท้จริง

ขออนุญาต สอนภาษาอังกฤษ ด็อกฯ ทั่นหน่อยเถอะนะครับ อย่าหาว่าอย่างโง้นอย่างงี้เลย เพราะทั่น…ระดับ ด็อกฯ แล้วนาเนี่ย… แปล sing ตัวนี้ว่า “ร้องเพลง” เฉยเลย ????

ภาษาอรับก็คือ “ยุสับบิหูนะ บิหัมดิ ร็อบบิฮิม” ที่เรารู้จักกันว่า ตัสเบียะห์ นั่นละครับ ….มันแปลว่า ร้องเพลง ซะเมื่อไหร่….แต่เค้าใช้คำนั้นเพราะพยายามสื่อในภาษาอังกฤษว่า มลาอิกะฮสดุดีสรรเสริญอัลลอฮด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ สุขุมเยือกเย็น สุภาพ และให้เกียรติ....


สำหรับความเข้าใจของผม


ประโยคที่ว่า,“يُسَبِّحُونَ بِحَمْدِ رَبِّهِمْ” อ่านว่า “ ยูสับบะหูนะบิฮัมดิร๊อบบะฮิม” มีความหมายจากภาษาอรับ ตรงตัวว่า “เหล่ามลาอิกะฮส่งเสียง(เป็นทำนอง)สดุดีสรรเสริญ(อัลลอฮอย่างชื่นชม)” คือ มีความชื่นชมจนเป็นที่ปิติยินดีอย่างยิ่ง


ลองมาดูผู้เชี่ยวชาญ เขา แปลเป็นภาษา English อย่างไร?

เนื่องจาก คำว่า “glorify” และ คำว่า “ praise” และ คำว่า “hymn” และ คำว่า “Sing” ในการใช้ ตรงนี้ ในการสดุดีและสรรเสริญ พระเจ้า ทั้ง สี่ คำนี้ มีความหมาย เช่นเดียวกัน (หรือ ในทำนองเดียวกัน) คือ กลอนสวด, เพลงสวด และ เพลงสรรเสริญ เมื่อใช้ในการสดุดี พระองค์ผู้สร้าง เมื่อแปลเป็นไทยจึง แปลได้ดังนี้...


1. PICKTHAL: “ hymning the praises of their Lord” แปลเป็นไทย ว่า, “ สดุดีพระเจ้าของเขาเป็นทำนองเพลง” หรือ “สักการะพระเจ้าของเขา(พระองค์อัลลอฮ์) ด้วย กลอนสวด (เพลงสวด, เพลงสรรเสริญ)”

2. YUSUFALI:, “singing Glory and Praise to their Lord” แปลเป็นไทย ว่า, “ร้องเพลงสดุดีสรรเสริญพระเจ้าของเขา(พระองค์อัลลอฮ์)”

3. SHAKIR:, “glorifying the praise of their Lord”, แปลเป็นไทย ว่า, “สรรเสริญพระเจ้าของเขา(พระองค์อัลลอฮ์)เป็นทำนองเพลง”

4. ALHILALI & MUHSIN KHAN:, “glorifying the praise of their Lord (Allah);” แปลเป็นไทย ว่า, “สรรเสริญพระเจ้าของเขา(พระองค์อัลลอฮ์)เป็นทำนองเพลง”

5. ABDUL AZIZ KAMAL:, “glorifying their Lord with His praises”, “สรรเสริญพระเจ้าของเขา(พระองค์อัลลอฮ์)เป็นทำนองเพลง”


ตามที่คุณ Alqhuraba อธิบาย ว่า:


เห็นมั้ยครับ เจ้าอื่นเค้าใช้ hymn กับ glorify กันเลยไม่ “ถูกใจ” ทั่น นี่ถ้าจะให้ vote ก็แพ้ตั้งแต่ยกแรกแล้ว แต่กุรอานนี่ไม่ใช่เรื่องที่จะมา vote กัน เพราะฉะนั้นต้องดูที่ความหมายที่แท้จริง

ขออนุญาต สอนภาษาอังกฤษ ด็อกฯ ทั่นหน่อยเถอะนะครับ อย่าหาว่าอย่างโง้นอย่างงี้เลย เพราะทั่น…ระดับ ด็อกฯ แล้วนาเนี่ย… แปล sing ตัวนี้ว่า “ร้องเพลง” เฉยเลย ????


เนื่องจากคุณ Alqhuraba ไม่เข้าใจ ความหมาย ของคำว่า “hymn” กับ “glorify” โดยเฉพาะ อย่าง ยิ่ง คำว่า “hymn” ซึ่งหมายถึง กลอนสวด, เพลงสวด, เพลงสรรเสริญ, ความเข้าใจ ผิดพลาด เช่นนี้ ย่อมเกิด กับผู้ใด ก็ได้ ดังนั้น ผมจึง ไม่ อธิบาย รายละเอียด เมื่อเริ่มแรก เพราะ กระทู้ไม่ได้ อยู่ที่ การ จับผิดกันเรื่อง ภาษา และผมเอง ก็ไม่ต้องการ ที่จะให้กระทู้ออกนอกทางไปมากกว่า ที่เป็นอยู่ แต่สำหรับคราวนี้ ผมไม่ต้องการให้ คุณ dabdulla เข้าใจ ผม ผิด และอยากให้คุณทราบว่า ทำไมผมจึงไม่ เชื่อการแปล และคำอธิบาย ของ คุณ Alqhuraba , เพราะ ว่า การ แปลอัลกุรอานนั้น ไม่ใช่แปลเอา “ถูกใจ”…แต่ต้องแปลให้ “ถูกต้อง”


อีกประการหนึ่ง ท่านผู้เชี่ยวชาญ ในการแปล เป็นภาษาอังกฤษเหล่านั้น , ท่านเหล่านั้นไม่ได้พยายามที่จะสื่อในภาษาอังกฤษว่า มลาอิกะฮสดุดีสรรเสริญอัลลอฮด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ สุขุมเยือกเย็น สุภาพ และให้เกียรติ อะไรหรอกครับ, แต่เป็นเพราะว่า คุณ Alqhuraba ไม่เข้าใจ สำนวนภาษาอังกฤษตามที่ผมอธิบายมาแล้วตอนต้น



ขอสรุปด้วย คำกล่าวที่ว่า:

“การร้องเพลงก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำพูดที่เป็นทำนอง ถ้าหากถ้อยคำเหล่านี้ดี การร้องเพลงก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าหากถ้อยคำของมันไม่ดี การร้องเพลงเช่นนั้นก็ถือเป็นสิ่งไม่ดี การพูดที่มีเนื้อหาเป็นที่ต้องห้ามก็เป็นสิ่งต้องห้าม จะเป็นอะไรถ้าหากว่าการพูดนั้นเป็นจังหวะและเป็นทำนอง ?”


เชค ยูซุฟ ก็อรฎอวี ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาของกาตาร์
แปลโดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน


wassalam

แมทท์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.12 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ