ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ความดีงาม 5 ประการ ในการถือศิลอดในเดือนเชาววาล
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ความดีงาม 5 ประการ ในการถือศิลอดในเดือนเชาววาล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
shabab
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008
ตอบ: 303


ตอบตอบ: Sat Sep 11, 2010 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ความดีงาม 5 ประการ ในการถือศิลอดในเดือนเชาววาล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความดีงาม 5 ประการ ในการถือศิลอดในเดือนเชาววาล

เขียนและเรียบเรียงโดย พี่น้องบางมด

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกกะ ในยามนี้วันเวลาได้ล่วงเลยเข้าสู่เดือนเชาววาล ซึ่งเราต่างกันผ่านพ้นเดือนแห่งการแบ่งแยกความดีและความชั่ว เดือนแห่งชัยชนะนั้นก็คือเดือนรอมฎอนอันประเสริฐมาแล้ว ในเดือนนี้เป็นที่ทราบกันดีถึงอิบาดะห์อันเป็นสิ่งที่ท่านศาสนทูตของเราได้ส่งเสริมและท่านเองได้กระทำเป็นอาจิน คือ การถือศิลอด 6 วันในเดือนเชาวาล อะไรคือคุณค่าและความดีงามของมัน? นี่เป็นเหตุให้บทความชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อผู้อ่านทุกท่านจะได้รับรู้ถึงคุณค่าของมันและมันจะสร้างคุณประโยชน์แก่เราทุกคน อินชาอัลลอฮฺ

ประการแรก : การถือศิลอดในเดือนเชาวาลนั้น จะได้รับผลบุณเท่ากับถือศิลอดทั้งปีเต็ม
ท่านศาสนทูต ซอลลัลลอฮฺอาลัยฮิวาซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ
“ใครก็ตามที่ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน หลังจากนั้นเขาได้ถือศิลอด 6 วันในเดือนเชาวาล ดังนั้นเขาได้ถือศิลอดตลอดปีเต็ม”[1]
บรรดานักวิชาการได้อธิบายว่า การถือศิลอดตลอดปีเต็มนั้น เนื่องจากทุกๆความดีงามนั้นจะถูกตอบแทนด้วย 10 ความดีงาม และการถือศิลอดในเดือนรอมฎอนเต็มเดือน(30 วัน)นั้นเสมือนเขาได้ถือศิลอด 10 เดือน (กล่าวคือ 30 x 10 = 300 วัน = 10 เดือน ) และการถือศิลอด 6 วันในเดือนเชาวาลนั้นเสมือเขาได้ถือศิลอดเป็นเวลา 2 เดือน (6 x 10 = 60 วัน = 2 เดือน) [2]
ดังนั้นผู้ที่ปฎิบัติการถือศิลอดตลอดทั้งเดือนของเดือนรอมฎอนและ 6 วันในเดือนเชาวาล เสมือนว่าเขาได้ถือศิลอดตอลดทั้งปีเต็ม ดังที่ท่านศาสนทูตซ็อลลัลลอฮฺอาลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ صَامَ سِتَّةَ أَيَّامٍ بَعْدَ الْفِطْرِ كَانَ تَمَامَ السَّنَةِ مَنْ جَاءَ بِالْحَسَنَةِ فَلَهُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا
“ผู้ใดที่ถือศิลอด 6 วันในหลักจากวันอีดิลฟิตรี ดังนั้นเขาได้ถือศิลอดตลอดทั้งปีเต็ม ผู้ใดกระทำหนึ่งความดีงาม แน่แท้เขาจะได้รับ 10 ความดีงาม [3]” [4] หนึ่งความดีงามจะถูกตอบแทนด้วย 10 ความดีงามและนี่คือผลการตอบแทนที่น้อยที่สุด[5] และเป็นความเมตตาอันแผ่กว้างของอัลลอฮฺ ซ.บ. ที่ทรงประทานแก่ประชาชาติของพระองค์

วิถีแห่งการปฎิบัติการถือศิลอดในเดือนเชาววาล
1.ถือศิลอดจำนวน 6 วัน
2.สมควรที่ถือศิลอดทันทีหลังจาดอีดิลฟิตรี แต่ไม่มีปัญหาใดๆหากจะถือศิลอดในช่วงช้ายของเดือนเชาวาล
3.สมควรที่ถือศิลอดในรูปแบบต่อเนื่อง(ติดต่อกัน) และไม่มีปัญหาใดๆหากจะถือศิลอดในรูปบแบบไม่ติดต่อกัน
4..พยายามชดใช้(กอฎออฺ)การถือสิลอดที่ขาดในเดือนรอมฎอนเสียก่อน เพื่อที่จะได้รับตามเงื่อนใขที่ว่า เสมือนเขาได้ถือศิลอดตอลดทั้งปีอย่างบริบูรณ์ และพึงทราบเถิดว่าการถือศิลอดในเดือนเชาวาลนั้นเป็นซุนนะห์ แต่การชดใช้การถือศิลอดในเดือนรอมฎอนนั้นเป็นวาญิบเหนือตัวเรา เราจำต้องกระทำในสิ่งที่วาญิบก่อนที่จะปฎิบัติในสิ่งที่เป็นซุนนะห์
ประการที่สอง: การถือศิลอดในเดือนเชาวาลเปรียบเสมือนเช่นการละหมาดซุนนะห์รอวาติบ(ละหมาดก่อนหลัง ละหมาดฟัรฎู) ที่จะเติมเต็มและทำให้สมบูรณ์ซึ่งอิบาดะห์วาญิบ
ตามนัยยะในที่นี้คือ การถือศิลอดในเดือนเชาวาลนั้นจะเติมเต็มและสร้างความสมบูรณ์ในสิ่งที่ขาดหายไปในการถือศิลอดวาญิบของเราในเดือนรอมฎอน เหมือนที่เราได้ละหมาดรอวาติบที่เติมเต็มความสมบูรณ์ของการละหมาดฟัรฎู อิบาดะห์สุนนะห์ของการถือสิลอดในเดือนเชาวาลก็เช่นเดียวกัน มันจะเติมเต็มและสร้างความสมบูรณ์แก่การถือศิลอดวาญิบของเดือนรอมฎอนที่มักจะมีข้อบกพร่องต่างๆ ที่ประสบรุมเร้าผู้ที่ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนสมควรกระทำโดยการเติมเต็มด้วยอาม้าลซุนนะห์ [6]
ประการที่สาม : การถือสิลอดในเดือนเชาวาล เสมือนเป็นสัญญานว่าการถือศิลอดในเดือรรอมฎอนนั้นถูกตอบรับ
หากอัลลอฮฺ ซบ.จะทรงตอบรับการกระทำของบ่าวของพระองค์นั้น พระองค์จะต้องทรงชี้แนวทางในการกระทำอาม้าลที่ดี(ซอและฮฺ)อื่นๆ แก่บรรดาบ่าวของพระองค์ และหากอัลลอฮฺทรงตอบรับการถือศิลอดของเราในเดือนรอมฎอน ดังนั้นพระองค์ก็จะทรงชี้แนวทางในการทำอาม้าลที่ดีอื่นๆด้วย ดังการถือศอลอด 6 วันในเดือนเชาวาล[7] ในเรื่องนี้ได้ถูกกล่าวจากบรรดาสาลัฟ ว่า
مِنْ ثَوَابِ الحَسَنَةِ الحَسَنَةُ بَعْدَهَا، وَمِنْ جَزَاءِ السَّيِّئَةِ السَّيِّئَةُ بَعْدَهَا
“ในการตอบแทนความดีงามนั้น คือการตอบแทนความดีงามที่ต่อเนื่องและ การตอบแทนความชั่วร้ายนั้น คือ การตอบแทนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน”[8]
ท่านอิบนุรอญับได้อธิบายคำพูดข้างต้นนี้ด้วยคำพูดของสาลัฟท่านอื่นว่า “การตอบแทนจากการกระทำความดีนั้น คือการกระทำความดีที่ต่อเนื่อง ผู้ใดที่ประกอบความดีงามและเขากระทำอย่างต่อเนื่องด้วยการกระทำที่ดีอื่นๆ นั้นเป็นสัญญานว่าการงานของเขาถูกตอบรับ และผู้ใดที่กระทำการงานที่ดีแล้วเขาก็เกลียดคร้าน และประกอบการงานที่ชั่วร้าย นั้นคือสัญญานว่าการงานของเขาที่ผ่านมาถูกปฎิเสธ”[9]
จงตระหนักเถิด! มีความอัปยศใดอีกเล่า ที่คนหนึ่งคนใดที่เขามุ่งมั่นขยันละหมาดในเดือนรอมฎอน และหลังจากรอมฎอนได้ผ่านพ้นไป การละหมาดห้าเวลาของเขากลับถูกละเลย? สมควรหรือที่การงานของเขาที่ได้กระทำในเดือนรอมฎอนนั้นจะถูกตอบรับ?
อัลลัจนะห์ อัดดาอีมะห์ ลิล บุฮุตสฺ อิลมียะห์ วัล อีฟตาอฺ (คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและชี้ขาดปัญหาศาสนา ประเทศซาอุฯ) ได้กล่าวว่า “มีบางคนถือศิลอด และได้ดำรงการละหมาดเฉพาะเดือนรอมฎอนเท่านั้น คนที่กระทำเช่นนี้เขาได้สร้างความรังควานเหยีบหยามศาสนาของอัลลอฮฺ ดังที่สาลัฟได้กล่าวว่า “กลุ่มชนที่เลวร้ายที่สุดคือ กลุ่มชนที่รู้จักอัลลอฮฺเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น” ด้วยเหตุนี้ การถือศิลอดของคนหนึ่งคนใดนั้น จะถูกปฎิเสธเนื่องจากเขาได้ละทิ้งการละหมาดหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านพ้นไป บุคคลประเภทนี้(ที่ละทิ้งการละหมาด) มีคุณสมบัติแห่งการเป็นผู้ปฎิเสธ และเขาได้ทำการสิ่งที่เป็นกุฟรฺใหญ่ แม้นว่าเขามิได้กล่าวว่าการละหมาดนั้นไม่วาญิบสำหรับเขา และบุคคลจำพวกนี้ถูกกล่าวว่าเป็นผู้ปฎิเสธ(กาเฟร) ตามทัศนะนักวิชาการที่น่าเชื่อถือ”[10] หวังว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานเตาฟีก และทางนำแก่เขา...
ประการที่ สี่ : การถือศิลอดในเดือนเชาวาลเป็นรูปแบบหนึ่งของการขอบคุณอัลลอฮฺ
ความโปรดปรานอันใดที่เราจำต้องซุโกรอย่างมาก ? นั้นก็คือความโปรดปรานที่อัลลอฮฺทรงอภัยในความผิดของบ่าวอันมากมายในเดือนรอมฎอน เราไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าการงานต่างๆของเรา การถือศิลอดของเรา และการละหมาดในยามค่ำคืนของเราตลอดเดือนนั้น จะทำให้พระองค์ทรงอภัยลบล้างบาปของเราหรือไม่ แม้แต่การงานที่เรากระทำขึ้นในรัตติการแห่งก็อดรฺของช่วงท้ายของรอมฎอนนั้น ไม่อาจสามารถรับประกันได้เลยว่ามันถูกตอบรับหรือไม่?
ท่านอิบนู รอญับ กล่าวว่า “ไม่มความโปรดปรานใดๆที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการที่อัลลอฮฺทรงอภัยโทษลบล้างบาปบองบ่าว”[11] แม้กระทั่งท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮิ อาลัยฮิวาซัลลัมเองก็ยังวิงวอนขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ ในสิ่งที่ผ่านไปแล้วและสิ่งที่จะมาถึง และท่านจะยืนละหมาดในยามค่ำคืนอย่างมาก(เพื่อขอบคุณ) ที่กล่าวมานั้น ท่านนบีกระทำในฐานนะบ่าวผู้ขอบคุณในความโปรดปรานที่ทรงประทานเนี๊ยะมัตอัยยิ่งใหญ่คือการอภัยซึ่งความผิดพลาดและบาปจากอัลลอฮฺ , ขณะที่ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮู อาลัยฮิวาซัลลัมอยู่กับภรรยาสุดที่รักของท่านของท่าน นั้นคือ ท่านหญิงอาอิชะห์ รอฎียัลลอฮฺอันฮา ได้ถามว่า ทำไมท่านถึงละหมาดในยามค่ำคืนอย่างมากมาย ท่านนบีตอบว่า
أَفَلاَ أُحِبُّ أَنْ أَكُونَ عَبْدًا شَكُورًا
“จะไม่ให้ฉันเป็นบ่าวที่ขอบคุณดอกหรือ?”[12]
ในทำนองเดียวกันการที่เราขอบคุณต่อัลลอฮฺ เพราะพระองค์ทรงเปิดช่วงเวลาแห่งการอภัยโทษอย่างมากมายในเดือนรอมฎอน และช่วงท้ายของมันคือวันแห่งการเริ่นเริง(อีดิลฟิตรี) และเราสมควรที่จะซิกรุลลอฮฺให้มากๆ ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งคุณลักษณะของพระองค์ การกล่าวตักบีร “อัลลอฮุอักบัรรฺ” เป็นการแสดงถึงการขอบคุณอย่างหนึ่ง ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสในคัมภีย์อัลกุรอานว่า
وَلِتُكْمِلُوا الْعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
“และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ” (ซูเราะห์ อัลบากอเราะห์ โองการที่ 185)
และบ่อยครั้งที่บรรดาชาวสลัฟได้ทำการถือศิลอดช่วงกลางวัน หลังจากที่ในยามค่ำคืนพวกเขาขมักเขม็นกับการละหมาดตะฮัจญุด
พึงจำไว้เถิดความรู้สึกขอบคุณนั้นจำต้องถูกปักลงในหัวใจของเราทุกคน และจะต้องถูกนำมากใช้ทุกเวลาทุกนาที มิใช่เพียงคราเดียว เราได้รับเนี๊ยะมัตอย่างมากล้น แต่เรากลับลืมมันที่จะขอบคุณ ดังที่มีบทกลอนหนึ่งที่ว่า “หากการขอบคุณของฉันต่อเนี๊ยะมัตของอัลลอฮฺ เป็นเนี๊ยะมัตอย่างหนึ่ง ดังนั้นเนี๊ยะมัตนั้นจำต้องขอบคุณด้วยเนี๊ยะมัตอื่นๆ”
ท่านอิบนู รอญับ อัลฮัมบาลีย์ ได้อธิบายว่า “ทุกๆเนี๊ยะมัตหรือความโปรดปรานของอัลลอฮฺนั้น ไม่ว่าเนี๊ยะมัตทางศาสนา หรือทางโลกที่อัลลอฮฺทรงประทานให้บ่าวนั้นล้วนแต่ต้องชุโกรขอบคุณทั้งสิ้น และทางนำเตาฟีกเพื่อการซุโกรอันมากล้นเป็นเนี๊ยะอฺมัตอย่างนึงที่อัลลอฮฺทรงประทานให้... พึงจำไว้เถิดการขอบคุณที่แท้จริงคือเมื่อคนใดคนหนึ่งชูโกรจนกว่าตัวของเขาไม่สามารถชุโกรได้อีกต่อไป(ในรูปแบบที่สมบูรณ์)”[13]

ประการที่ห้า : การถือศิลอดในเดือนเชาวาลแสดงถึงว่าการอิบาดะห์ของเขานั้นเป็นอิบาดะห์ที่ต่อเนื่อง มิใช่เพียงแค่ช่วงใดช่วงหนึ่ง , เทศกาล หรือ ฤดูกาล [14]
การงานของผู้ปฎิบัติในเดือนรอมฎอนนั้น จะไม่มีการหยุดพักหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านพันไป การงานนั้นเป็นที่ส่งเสริมที่จะทำให้เป็นความต่อเนื่อง ตลอดลมหายใจแห่งชีวิตของผู้ที่เป็นบ่าวยังไม่กลับสู่พระองค์
บุคคลบางจำพวก พวกเขาจะมีความสุขกับการจากไปของเดือนรอมฎอน เพราะพวกเขารู้สึกหนักหน่วงในยามที่เขาถือศิลอด และรู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต ใครก็ตามที่มีความรู้สึกเช่นนี้ เขาจะไม่กระตือรือร้นกับการถือศิลอดหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านไป เพราะจากความเหนื่อยล้าที่เขาได้ประสบในช่วงรอมฎอน และหากผู้ใดที่รีบเร่งกับการถือศิลอดหลังจากวันอีด นั่นเป็นสัญญานว่าเขายังคงมีกำลังใจเพื่อปฎิบัติถือศิลอด เขาไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่หนักหน่วงเหนือตัวของเขา และไม่รู้สึกเกลียดและเบื่อหน่าย
และมีบางคนที่ขมักเขม่นต่อการอิบาดะห์ และขยันในยืนละหมาดในยามค่ำคืนเฉพาะเดือรรอมฎอนเท่านั้น มีคำกล่าวหนึ่งที่กล่าวถึงบุคคลจำพวกนี้
بئس القوم لا يعرفون لله حقا إلا في شهر رمضان إن الصالح الذي يتعبد و يجتهد السنة كلها
“ผู้ที่เลวร้ายที่สุดนั้น คือผู้ที่ขยันทำอิบาดะห์เฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น และแท้จริงแล้วบรรดาคนซอและฮฺ นั้นเขาจะขยันทำอิบาดะห์ และขยันในการยืนละหมาดในยามค่ำคืนตอลดทั้งปี”
อิบบาดะห์นั้นมิใช่กระทำเฉพาะเดือนรอมฎอน หรือเดือนรอญับ หรือ ชะอฺบานเพียงเท่านั้น
ท่าน อัซ ซาบีลียฺ ได้ถูกถามว่า “เดือนใดเล่าที่มีความประเสริฐ ระหว่างเดือนรอญับ หรือเดือนชะอฺบาน?” เขาได้ตอบกลับว่า “จงเป็นร็อบบานียีนเถิด และจงอย่าได้เป็นชะอฺบานียีน” ความว่า ท่านจงเป็นร็อบบานียีน ที่ขยันประกอบอิบาดะห์ในทุกๆเดือนตอลดทั้งเดือน มิใช่เฉพาะเดือนชะอฺบานเท่านั้น และฉันได้กล่าวต่อว่า “จงเป็นร็อบบานียีนเถิด และจงอย่าได้เป็นรอมาฎอนนียีน” นัยความว่า ท่านจงประกอบอิบาดะห์อย่างมั่นคงตลอดทั้งปี และอย่าได้กระทำเฉพาะเพียงเดือนรอมฎอนเท่านั้น เราหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงชี้ทางนำแก่เรา
อัลกอมะห์ ได้ถามยัง มารดาแห่งศรัทธาชน ท่านหญิงอาอิชะห์ ถึงการงานของท่านรอซุลลุลลอฮฺ ซอลลัลลอฮิอาลัยฮิวาซัลลัม ว่า “ท่านรอซุลได้กำหนดวันเฉพาะเพื่อทำการอิบาดะห์หรือไม่?” ท่านหญิงอาอิชะห์ กล่าวว่า
لاَ. كَانَ عَمَلُهُ دِيمَةً
“ท่านนบีไม่เคยกำหนดวันเวลาที่เจาะจงในการประกอบอิบาดะห์ และอิบาดะห์ของท่านนบีนั้น คือ อิบาดะห์ที่มั่นคงและต่อเนื่อง”[15]
และการงานของบรรดามุอฺมินนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อเขาได้ตายไป ท่านฮาซัน อัลบัศรียฺ กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺซบ. ไม่ทรงกำหนดเวาลาแห่งการตายต่อการงาน ของมุอฺมิน นอกจากการตายของชีวิตเขา” หลังจากนั้นท่านฮาซัน อัลบัศรียฺ ได้อ่านคำดำรัสของอัลลอฮฺว่า
وَاعْبُدْ رَبَّكَ حَتَّى يَأْتِيَكَ الْيَقِينُ
“และจงเคารพภักดีพระเจ้าของเจ้า จนกว่าความแน่นอน(ความตาย) จะมาหาเจ้า” อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลฮัจรฺ โองการที่ 99 [16]
ท่านอิบนุอับบาส , ท่านมุญาฮิด และนักวิชาการส่วนมาก ได้อธิบายว่า คำว่า “الْيَقِينُ (อัล ยากีน)” คือความตาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความตายนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องประสบอย่างแน่นอน ท่านอัซซุจญาจฺ กล่าวว่า โองการข้างต้นนั้นได้กล่าวโดยนัยว่า จงกราบไหว้อัลลอฮฺตราบนานเท่านาน และบรรดานักอถาธิบายอื่นๆ ได้กล่าวว่า ความหมายของโองการนี้คือ คำบัญชาของอัลลอฮฺในการสังใช้ให้ประกอบอิบาดะห์ต่อพระองค์ตลอดทั้งชีวิตยังมีลมหายใจ [17]
สรุป ขอนำคำกล่าวของท่านอิบนุรอญับ อัลฮัมบาลีย์ เพื่อเป็นการตอกย้ำพวกเราทุกคน เขากล่าวว่า “ใครก็ตามที่ประกอบการดี และทำให้มันสมบูรณ์กับการตออัตต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นมันจะเป็นสัญญานแห่งการตอบรับการงานของเขาโดยการเพิ่มพูนความง่ายดายในการประกอบการงานอื่นๆ และในบรรดาสัญญานของการถูกปฎิเสธการงานของเขา คือการที่เขาได้กระทำสิ่งที่สวนทาง(มัวอฺซียัต) หลังจากข่วงเวลาที่เขาได้ประกอบการงานที่เป็นการตออัต(การงานที่ดี) และหากผู้ที่กระทำสิ่งที่เป็นการตออัต(การงานที่ดี) หลังจากเขาได้กระทำการงานที่ชั่วร้าย แน่แท้เมื่อเขาได้กระทำการดี ความดีของเขาจะลบล้างความชั่วร้ายนั้นไป และที่ประเสริฐสุดนั้นคือการประกอบการงานที่ดี โดยไม่กระทำการใดๆที่สวนทางกับการจงรักภักดีต่อเอกองค์อัลลอฮฺ พึงสังวรณ์ไว้เถิดว่าการกระทำที่เป็นบาปที่เกิดหลังจากการเตาบะฮฺนั้น เลวร้ายกว่า 70 เท่า(บาป) หากเทียบกับการทำสิ่งที่ชั่วร้ายก่อนการเตาบะห์... วิงวอนต่ออัลลอฮฺเถิด ขอพระองค์ทรงทำให้เรามั่นคงในการตออัตต่อพระองค์จนกระทั้งวิญญานของเราจะหลุดออกจากร่าง และจงขอความคุ้มครองยังอัลลอฮฺจากหัวใจที่ไม่มั่นคง”[18]
หวังว่าอัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีกและฮิดายะห์ยังพวกเราเพื่อที่เราจะได้ยืนหยัดในการเคารพต่อเอกองค์อัลลอฮฺจนกว่าชีวติของเราจะถูกเรียกกลับยังพระองค์ และเราหวังอย่างจริงจังว่าพระองค์จะทรงตอบรับการงานของเราที่เราได้มุ่งมันปฎิบัติในเดือนรอมฎอน และขอโปรดประทานความง่ายดายแก่เราเพื่อว่าเราจะได้ทำให้สมบูรณ์ซึ่งการถือศิลอดในเดือนเชาวาล อามีนนนนน
อ้างอิง จ้า...
[1] บันทึกโดย มุสลิม เลขที่ 1164 รายงานจากท่าน อัยยุบ อัลอันซอรียฺ
[2] ซาเราะห์ มุสลิม 4/186 , เมาวกีอฺ อัลอิสลาม อัซซามีละห์
[3] อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัล อันอาม โองการ 160
[4] บันทึกโดย อิบนีมาญะห์ , อิบนุคุซัยมะห์ และอิบนุฮิบบาน จากท่าน เซาวบาน อดีตทาสของท่านนบี ชัยคฺ มุฮัมหมัดนัศรุดีน อัลบานียฺ กล่าวว่า หะดีษนี้สถานะซอเหี๊ยหฺ ดู อัตตัรฆิบ วัลตัรฮิบ เลขที่ 1007
[5] ดู ฟัตฮุลกอดีร อัซเซาวกานียฺ 3/6 ,เมาวกีอฺ อัตตาฟาซีร อัซซามีละห์ และ ตัยซีร อัลกาลิมิรอมฎอน อับดุลเราะห์มาน บิน นาซีรฺ อัสสะอฺดียฺ หน้า 282 ,มุอัสสาเซาะอฺ อัรรีซาละห์
[6] ดู ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ อัลฮัมบาลียฺ หน้า 394 , ดารฺ อิบนุกาซีร พิมพ์ครั้งที่ 5 (ตะห์กีก : ยาซีน มุฮัมหมัด อัซซาวาส)
[8] ตัฟซีร อัลกุรอาน อีลอัซฮิม อิบนุกาซีร 8/417 , ดารฺ ตอยยิบะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 2 (อถาธิบายซูเราะห์ อัลลัยลฺ)
[9] ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ อัลฮัมบาลียฺ หน้า 394
[10] ฟัตวา อัลลัจนะห์ อัดดาอีมะห์ ลิล บุฮุตสฺ อิลมียะห์ วาล อีฟตาอฺ คำถามที่ 3 ฟัตวาเลขที่ 102 , 10/139-141
[11] ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ หน้า 394
[12] บันทึกโดย บุคอรียฺ เลขที่ 4837 และ มุสลิม เลขที่ 2820
[13] ดู ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ หน้า 394-395
[14] สรุปตามความเข้าใจ จากหนังสือลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ หน้า 396-400
[15] บันทึกโดย บุคอรียฺ เลขที่ 4837 และ มุสลิม เลขที่ 2820
[16] ดู ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ หน้า 398
[17] ดู ซาดุล มาซีรรฺ อิบนุเญาซีย์ 4/79 ,เมาวกีอฺ อัตตาฟาซีร ,อัซซามีละห์
[18] ดู ลาตออิฟ อัลมะอารีฟ อิบนุรอญับ อัลฮัมบาลียฺ หน้า 399
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.08 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ