ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ผ่านก็ส่งต่อไป“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?”
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ผ่านก็ส่งต่อไป“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?”
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Thu Sep 17, 2009 11:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลามถึงอาจารย์ที่จบมาจากมะดีนะฮ์ทุกท่านครับ

ช่วยออกมาแสดงทัศนะของท่านหน่อยว่า เรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ขณะที่เรียนอยู่ ที่นั้น เขาสอนเรื่องนี้อย่างไร ?
ที่ซาอุดี้ เขามีทัศนะต่อเรื่องนี้อย่างไร ?

เพื่อตวามจริงจะได้รับรู้กัน เพื่อจะได้เลิกถกเถียงกันเสียที และความสามัคคีก็อาจจะเกิดได้ในสังคมบ้านเรา อย่างน้อยก็ 1 เรื่องล่ะ

ญะซากัลลอฮ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Sep 17, 2009 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

nadwa บันทึก:

และถ้าจะให้เจ้าของเว็ปนี้เป็นจุฬาก็คงต้องมาเถียง (ทะเลาะ) กับอัสลาฟิยูนอีกแน่ ทั้งๆ ที่ตอนอยู่ด้วยกันนั้นเรื่องเดียวกันตอบเหมือนกันแนวเดียวกัน แต่พอแยกวงแล้วแทบทุกเรื่องแย้งกันหมด นี้หรือผู้รู้มุสลิมที่น่ายกย่อง

ต้องขอโทษพี่น้องด้วยถ้าใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนะครับ
น้อมรับคำวิจารณ์ด้วยความเคารพ

วัสลาม
นัดวา


สรุปว่า ตั้งกระทู้เพื่อชวนทะเลาะหรือว่า เพื่อความเป็นเอกภาพล่ะครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nadwa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2009
ตอบ: 9


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 5:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลามครับพี่น้อง
ขอตอบคุณอาซานนะครับว่า ที่ต้องยกเรื่องจริงนี้โดยมาเป็นอุทาหรณ์ ก็เพื่อเตือนตัวเอง และพี่น้องว่า ศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนรากฐานแห่งสันติ และภารดรภาพ
ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาผู้เผยแพร่อิสลามจึงควรสำเหนียกอยู่ตลอดเวลาว่า บุคลิกภาพของตนตามแบบอย่างของท่ารสูลนั้นเป็นอย่างไร

ความรู้นั้นเรียนทันกัน
แต่มารยาทนั้นสอนกันไม่ได้
ถ้าความรู้นั้นไม่สามารถเอาชนะอารมณ์ได้

ถ้าผู้เผยแพร่มีบุคลิกแห่งผู้รู้ที่แท้จริง
สังคมมุสลิมก็จะป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงแน่นอน.....อินชาอัลลอฮฺ


ขออัลลอฮฺ ให้เราะมะฎอนนี้ เป็นจุดเปลี่ยน และจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะของพี่น้องมุสลิมด้วยเถิด อามีน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 10:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

nadwa บันทึก:
สลามครับพี่น้อง
ขอตอบคุณอาซานนะครับว่า ที่ต้องยกเรื่องจริงนี้โดยมาเป็นอุทาหรณ์ ก็เพื่อเตือนตัวเอง และพี่น้องว่า ศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนรากฐานแห่งสันติ และภารดรภาพ
ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาผู้เผยแพร่อิสลามจึงควรสำเหนียกอยู่ตลอดเวลาว่า บุคลิกภาพของตนตามแบบอย่างของท่ารสูลนั้นเป็นอย่างไร

ความรู้นั้นเรียนทันกัน
แต่มารยาทนั้นสอนกันไม่ได้
ถ้าความรู้นั้นไม่สามารถเอาชนะอารมณ์ได้

ถ้าผู้เผยแพร่มีบุคลิกแห่งผู้รู้ที่แท้จริง
สังคมมุสลิมก็จะป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงแน่นอน.....อินชาอัลลอฮฺ


ขออัลลอฮฺ ให้เราะมะฎอนนี้ เป็นจุดเปลี่ยน และจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะของพี่น้องมุสลิมด้วยเถิด อามีน


Exclamation
แล้วถ้อยคำที่คุณใช้ มันบ่งบอกถึงการมีมารยาท หรือเปล่า มาดูถ้อยคำของคุณอีกที่

และถ้าจะให้เจ้าของเว็ปนี้เป็นจุฬาก็คงต้องมาเถียง (ทะเลาะ) กับอัสลาฟิยูนอีกแน่ ทั้งๆ ที่ตอนอยู่ด้วยกันนั้นเรื่องเดียวกันตอบเหมือนกันแนวเดียวกัน แต่พอแยกวงแล้วแทบทุกเรื่องแย้งกันหมด นี้หรือผู้รู้มุสลิมที่น่ายกย่อง

แบบนี้หรือครับอุทาหรณ์สอนคน มีอคติแฝงอยู่ในใจหรือเปล่า

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 2:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีคนช่วยแปลมาให้แล้วครับ

มติที่เจ็ดจากมติของสภาที่ประชุมนิติศาสตร์อิสลาม ขององค์การสันนิบาตมุสลิมโลก (รอบีเฏาะฮ์) ซึ่งจัดขึ้นที่นครมักกะฮ์ อัลมุกัรรอมะฮ์ ระหว่างวันที่ 7 – 17 เดือนรอบีอุลอาเคร ปีฮิจญเราะฮ์ 1401 ในวาระที่ 4

แถลงการณ์เรื่อง การขึ้นเดือนใหม่ด้วยจันทร์เสี้ยวให้เป็นหนึ่งเดียว
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว และขอความสันติและความจำเริญจงมีแด่ท่านผู้เป็นนบีคนสุดท้าย – อัมมาบะอฺดุ
สภานิติศาสตร์อิสลามได้ทำการศึกษาปัญหาเรื่องความแตกต่างของมัตละอฺ (ที่ขึ้น) ของจันทร์เสี้ยว และทางสภาเห็นว่าศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนหลักการของศาสนาที่มีความสะดวกและง่าย อีกทั้งยังมีการผ่อนปรน ซึ่งธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสติปัญญาที่ไม่มีการเอนเอียงได้ให้การยอมรับ ทั้งนี้เพราะสอดคล้องกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ดังนั้น ในประเด็นเรื่องฮิลาล (จันทร์เสี้ยว) นั้น ทางสภานิติศาสตร์อิสลามเห็นว่า ให้ถือเอาการเห็นด้วยสายตาเป็นหลัก ไม่ให้ยึดถือการคำนวณ ซึ่งมีหลักฐานต่าง ๆทางศาสนาที่เด็ดขาดยืนยัน และเช่นเดียวกัน ทางสภานิติศาสตร์อิสลามก็มีความเห็นให้พิจารณาความแตกต่างของมัตละอฺ (ที่ขึ้นของจันทร์เสี้ยว) ด้วย เพราะในเรื่องดังกล่าวเป็นการผ่อนปรนแก่ผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการศาสนา (มุกัลลัฟ) พร้อมกันนี้ในการพิจารณาเรื่องความแตกต่างกันของมัตละอฺ ก็ถือเป็นการพิจารณาที่ถูกต้อง ดังนั้น คำกล่าวอ้างของบางคนที่ว่า จำเป็นต้องทำให้วันเริ่มถือศีลอดและวันเลิกถือศีลอด (วันอีด) ต้องเป็นวันเดียวกันนั้น จึงขัดกับหลักการของศาสนาและไม่ต้องกับหลักทางปัญญา
สำหรับด้านศาสนานั้น ผู้รู้ชั้นนำทั้งหลายทางหะดีษได้นำหะดีษกุร็อยบ์ มารายงาน คือหะดีษที่ว่า
จากกุร็อยบ์เล่าว่า อุมมุฟัฎล์บุตรสาวของอัลหาริษได้ส่งเขา (ร็อยบ์) ไปหามุอาวิยะฮ์ที่เมืองชาม เขา (กุร็อบย์) เล่าว่า เมื่อฉันถึงประเทศชามแล้วได้ปฏิบัติภารกิจของนางเสร็จสิ้นแล้ว ก็พอดีเกิดจันทร์เสี้ยวเข้าเดือนรอมฎอนกับฉัน ขณะนั้นฉันยังอยู่ในประเทศชาม โดยที่ฉันเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนวันศุกร์ หลังจากนั้น เมื่อฉันเดินทางกลับมาถึงมะดีนะฮ์ในช่วงสุดท้ายของเดือนรอมฎอน อับดุลลอฮ์อิบนุ อับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉัน (ในเรื่องต่างๆ) และเขาก็ได้พูดถึงเรื่องจันทร์เสี้ยว โดยเขาถามว่า “พวกท่าน (ที่ชาม) เห็นจันทร์เสี้ยว (เข้ารอมฎอน ) เมื่อไร ? ” ฉันตอบว่า “ พวกเรา (และชาวเมืองชาม) เห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) ในคืนวันศุกร์ ” อับดุลลอฮ์จึงกล่าวว่า “ ท่านเห็นจันทร์เสี้ยว (ด้วยตัวของท่านเอง) จริงหรือ ?” ฉันตอบว่า “ใช่แล้ว และผู้อื่น (ชาวเมืองชาม) ก็เห็น พวกเขาก็ถือศีลอดกันตั้งแต่วันนั้นรวมทั้งมุอาวิยะฮ์ด้วย ” ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอับบาส กล่าวว่า “ แต่พวกเราเห็นมันในคืนวันเสาร์ พวกเราจึงยังคงถือศีลอดจนกว่าจะครบสามสิบวัน (ที่มะดีนะฮ์) หรือจนกว่าพวกเราจะเห็นมัน(จันทร์เสี้ยวเดือนเชาวาล) ” ฉันจึงถามว่า “ ก็ยังไม่พออีกหรือกับด้วยการเห็นของมุอาวียะฮ์และการถือศีลอดของเขา ( เพื่อให้ชาวมะดีนะฮ์นับตาม) ? ” ท่านอับดุลลอฮ อิบนุ อับบาสกล่าวว่า “ไม่หรอก ! วิธีนี้แหละที่ท่านรอซู้ลฯ สั่งใช้พวกเราให้ถือปฏิบัติตาม ” ( จากหะดีษเศาะฮี้ย์มุสลิม)
และอิหม่ามนะวะวีย์ก็ได้นำข้อความของหะดีษนี้มาเป็นหัวข้อเรื่องในชะเราะฮฺมุสลิม ว่า (บทว่าด้วยเรื่อง แต่ละประเทศให้ยึดถือตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของพวกเขา และว่าเมื่อพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยว ณ ประเทศหนึ่งจะไม่ปรากฏฮุก่มการเห็นจันทร์เสี้ยวในประเทศที่ห่างไกลพวกเขา) และส่วนหนึ่งจากบรรดาเจ้าของหะดีษทั้งหกที่ได้รายงานหะดีษนี้มา ก็ไม่ได้ออกจากแนวทางนี้เลยในการตั้งหัวข้อเรื่องของพวกเขา ซึ่งก็ได้แก่ อบูดาวูด อัตติรมิซีย์ และนะซาอี
อิสลามได้ผูกพันการถือศีลอดและเลิกถือศีลอดไว้กับการเห็นจันทร์เสี้ยวด้วยตาเปล่าโดยไม่ใช้อย่างอื่น เพราะหะดีษของท่านอิบนุอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือศีลอดจนกว่าพวกท่านจะเห็นจันทร์เสี้ยว และพวกท่านอย่าเลิกถือศีลอดจนกว่าพวกท่านจะเห็นจันทร์เสี้ยว ถ้าหากมีเมฆมาบดบังพวกท่าน ก็ให้พวกท่านจงนับให้ครบ” บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม ในหนังสือซอเฮี้ยะของเขาทั้งสอง
หะดีษบทนี้ได้ผูกพันฮุก่มไว้กับสาเหตุ ซึ่งก็คือ การเห็นจันทร์เสี้ยวและบางทีอาจมีการเห็นในเมืองหนึ่ง เช่น มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ แต่ไม่เห็นในเมืองอื่น บางทีเวลาในเมืองอื่นอาจเป็นกลางวัน แล้วจะบังคับให้พวกเขาถือศีลอดหรือเลิกถือศีลอดได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือ “บะยาน อัลอะดิลละฮฺ ฟีอิสบาติ้ลอะฮิลละฮ์
และนักวิชาการ (อุละมาอฺ) ส่วนใหญ่ในทุกมัซฮับต่างยืนยันว่า ให้มีการพิจารณาเรื่องความต่างกันของมัตละอฺ ท่านอิบนุอัลบัรร์ได้รายงานว่า เป็นหลักอิจญมาอฺ (มติปวงปราชญ์) ว่า ไม่ต้องรักษาการเห็นจันทร์เสี้ยวในประเทศต่าง ๆ ที่ไกลกัน เช่น คอรอซาน (แถบ ๆอัฟกานิสถาน)ไกลจากอันดาลูส (สเปน) หรือแต่ละประเทศก็มีฮุก่ม (หลักการตัดสิน) เฉพาะของตนเอง และหนังสือของมัซฮับทั้งสี่ส่วนใหญ่ก็กล่าวถึงเรื่อง การพิจารณาความต่างกันของมัตละอฺ เพราะมีหลักฐานทางศาสนามากมายยืนยันในเรื่องดังกล่าว และจากการดูหนังสือวิชาฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ต่าง ๆ ก็จะทำให้หายรุ่มร้อนไปได้บ้าง
ส่วนหลักทางสติปัญญานั้น ความต่างกันของมัตละอฺ (ที่ขึ้นของจันทร์เสี้ยว) เป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ใดที่เป็นนักวิชาการขัดแย้งกัน เพราะเป็นเรื่องที่ประจักษ์ซึ่งสติปัญญาสามารถตัดสินได้ และความจริงศาสนากับสติปัญญาก็สอดคล้องกันในเรื่องดังกล่าว ทั้งสองประการนี้มีความสอดคล้องกันมากมายหลายเรื่องในฮุก่มต่าง ๆ เช่น เวลาละหมาด และการติดตามดูข้อเท็จจริงก็ทำให้เราทราบว่า ความแตกต่างกันของมัตละอฺนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง
โดยเหตุผลดังกล่าว สภานิติศาสตร์อิสลามจึงมีมติว่า
1.ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเรียกร้องให้วันเริ่มต้นของเดือนใหม่และวันอีดเป็นวันเดียวกัน เพราะการทำให้วันเริ่มต้นของเดือนใหม่และวันอีด (ทั้งสอง) เป็นวันเดียวกันนั้น ไม่ได้ค้ำประกันว่า มุสลิมจะมีความเป็นเอกภาพเหมือนอย่างที่คนส่วนมากที่เสนอให้วันเริ่มต้นเดือนใหม่และวันอีดต่าง ๆ เป็นวันเดียวกัน
2.และควรปล่อยให้เรื่องประกาศการเห็นจันทร์เสี้ยวเป็นหน้าที่ของสถาบันด้านศาสนาของประเทศอิสลามต่าง ๆ เพราะนั่นย่อมเป็นการดีและเหมาะสมยิ่งแล้ว และเป็นการรักษาผลประโยชน์ทั่วไปของอิสลาม
3.อันที่จริงสิ่งที่จะเป็นเครื่องประกันความเป็นเอกภาพของประชาคมนี้ก็คือ การที่พวกเขาปฏิบัติอัลกุรอานและแนวทาง (ซุนนะฮฺ) ของท่านรอซู้ล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในกิจการของพวกเขาทั้งปวง
และอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ประกันความสำเร็จ และขอสันติและความจำเริญจงมีแด่ท่านนบีของเรา ครอบครัวของท่านและซอฮาบะฮ์ของท่าน
อุละมาอ์ผู้ร่วมลงนามในฟัตวานี้ได้แก่ :
เชคอับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮ์ บิน บาซ
มุฮัมมัด อะลี อัล-ฮัรกาน
อับดุลลอฮ์ บิน มุฮัมมัด อัล-หุมัยด์
เชคมุสตอฟา อะหมัด ซัรกออ์
มุฮัมมัด มะห์มูด อัซ-เซาวาฟ
เชคซอและห์ อัล-อุษัยมีน
มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮ์ อัล-ซุบัยยิล
มับรูค อัล-อะวาดีย์
มุฮัมมัด ชาซลีย์ นัยฟิร
อับดุลเกาะดูส อัล-ฮาชิมีย์
มุฮัมมัด รอชีด ก็อบบานีย์
อบุล หะซัน อัลนัดวีย์
อบูบักร์ มะห์มูด ญูมีย์
หะซะนัยน์ มุฮัมมัด มัคลูฟ
ดร. มุฮัมมัด รอชีดีย์
มะห์มูด ชัยต์ ค็อฏฏอบ
เชคมุฮัมมัด ซอและห์ อะดูด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 4:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ตกลงเราเอาตามแนวมัตละห์ใช่มั้ยครับ
ถ้าเอามัตละห์ เราก็สามารถรับการเห็นเดือนของมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า
ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซียได้นะ

แต่ที่เราเอาอยู่คือประเทศครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอาตามทัศนะอุละมาอ์ ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nadwa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2009
ตอบ: 9


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลาม พี่น้อง
ขณะนี้มีผู้เห็นดวงจันทร์แล้วในประเทศไทยแล้ว ก็คงไม่ต้องรอประกาศจากซาอุฯ แวซินะครับ หรือว่าที่เมืองไทยไม่เศาะฮฺ ดูประกาศข้างล่างนี้ครับ

ประกาศ สำนักจุฬาราชมนตรี
เรื่อง การดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันอีฎิ้ลฟิตริ
ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1430
ตามที่ สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ออกประกาศแจ้งให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนเซาวาล ฮิจเราะห์ศักราช 1430 ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฏว่าในวันและเวลาดังกล่าว มีผู้เห็นดวงจันทร์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nadwa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2009
ตอบ: 9


ตอบตอบ: Sat Sep 19, 2009 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลามพี่น้อง
ขอตอบประโยค

แล้วถ้อยคำที่คุณใช้ มันบ่งบอกถึงการมีมารยาท หรือเปล่า มาดูถ้อยคำของคุณอีกที่

และถ้าจะให้เจ้าของเว็ปนี้เป็นจุฬาก็คงต้องมาเถียง (ทะเลาะ) กับอัสลาฟิยูนอีกแน่ ทั้งๆ ที่ตอนอยู่ด้วยกันนั้นเรื่องเดียวกันตอบเหมือนกันแนวเดียวกัน แต่พอแยกวงแล้วแทบทุกเรื่องแย้งกันหมด นี้หรือผู้รู้มุสลิมที่น่ายกย่อง

แบบนี้หรือครับอุทาหรณ์สอนคน มีอคติแฝงอยู่ในใจหรือเปล่า


ข้อความนี้เป็นการกล่าวกับเจ้าของเว็ปโดยตรงผ่านเว็ป และอีกทั้งยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ณ ปัจจุบัน จึงไม่ควรที่จะให้เกิดอีก เพราะมิใช่วิสัยของผู้เผยแพร่ครับ เราเตือนกันเพราะมุสลิมนั้นเป็นกระจกเงาให้กับพี่น้องของเขาไง
ส่วนผมไม่ใช่ผู้รู้ครับ แล้วผมก็ไม่กล้าเรียกตัวเองว่าผู้รู้แน่นอน เพราะกลัวว่าจะต้องตอบคำถามทุกเรื่อง เพราะกลัวถูกเรียกว่ารู้ไม่จริง....ขนาดท่านรสูลเป็นนบี บ้างเรื่องท่านไม่ตอบรอจนกว่าวะฮีจะลงเลยนะครับ
อย่างไรก็ตาม หากสิ่งที่ผมเขียนไปรุนแรง และกระทบความรู้สึกพี่น้อง ผมน้อมรับคำติชม และขอมะอัฟทุกท่านไว้นะที่นี่ด้วย

คนเราเวลาทำผิดมักต้องการให้คนอภัย แต่เวลาผู้อื่นทำผิด มักจ้องที่จะทำลาย/เหยียบให้จมดิน...

วัสสลาม

อีดมุบาร็อกครับ
นัดวา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 5:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปว่า ตั้งกระทู้เพื่อชวนทะเลาะหรือว่า เพื่อความเป็นเอกภาพล่ะครับ
ต้องขอบคุณอ. อะซันด้วยที่ให้แง่คิดดีๆ Idea และอยากให้อ. อะซันช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ والسلام

สรุปว่า ตั้งกระทู้เพื่อชวนทะเลาะหรือว่า เพื่อความเป็นเอกภาพล่ะครับ

แต่ว่าผมต้องการจะให้มุสลิมทุกท่านแสดงหลักฐานที่ถูกต้อง เพราะมิเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาที่ว่า
แบ่งเป็นสองกลุ่ม เช่นการออกอีด ต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูก และจะต้อมมีฝ่ายใด ขาด การถือศีลอดไปหนึ่งวัน หรือ ถือศีลอดในวันอีด ดังหะดีษนี้

أنّ رسول اللّه صلى الله عليه وسلم نهى عن صيام يومين : يوم الفطر ، ويوم النّحر
แท้จริงท่านนบีได้ห้ามการถือศีลอด สองวันด้วยกัน คือ อีดิ้ลฟิตริ และ อีดิ้ลอัฎฮา


ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810



قال ملا على في المرقاة : فاللام للتعليل وضمير للهلال على حد


ท่านมุลาอาลี อัลกอรีย์ กล่าวว่า อักษรลาม ( ل ) ที่ปรากฎในสำนวนของหะดีษบ่งบอกถึงเหตุที่มีการถือศีลอด ก็เนื่องจากการประจักษ์และพิสูจน์หาจันทร์เสี้ยว ส่วนศัพท์นามที่อยู่ในหะดีษคือตัว ( ه ) กลับไปหาจันทร์เสี้ยวเท่านั้นจีง สรุปได้ว่าหะดีษดังกล่าว จึงจำเป็นที่มุสลิมทุกๆคน ให้ ถือศีลอด เมื่อได้รับข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว จากทุกที่ทุกแห่ง เพราะคำสั่งของท่านนบีตรงนี้ ตามภาษาพื้นฐานของนักนิติศาสตร์อิสลาม ( أصوليون ) เรียกว่า มุตลัก ( مطلق ) คำบงชี้ถึงหรือ เจาะจงสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่มีการจำกัด หรือถ้าจะแปลให้ตรงตัว คือคำที่บงชี้ถึงการเป็นอิสระ ในตัวของมันเมื่อเป็นเช่นนั้น มันจึงเป็นการพอเพียง ที่จะรับการเห็นเดือนเสี้ยวจากผู้คนส่วนมากหรือ เพียงคนเดียวที่เป็นมุสลิมที่เชื่อถือได้ จนกว่าจะมีคำสั่งจากท่านนบีมา มุก็อยยัด( مقيد ) จำกัดความหมายของหะดีษ ( มิให้รับการเห็นจันทร์เสี้นวจากที่หนึ่งที่ใด )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 11:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

bundung บันทึก:
เอาตามทัศนะอุละมาอ์ ครับ


เอาตามทัศนะอุลามาอฺ ทัศนะมันมีหลากหลาย อยากทราบว่า เอาตามทัศนะอุลามาอฺคนใหนครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 11:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านนบี Solallah กล่าวว่า

لا تصوموا حتى تروا الهلال، ولاتفطروا حتى تروه، فإن غم عليكم فاقدروا له

พวกท่านอย่าถือศีลอดจนกว่า พวกท่านจะเห็นเดือนเสี้ยวและพวกท่านอย่าละศีลอด จนกว่าพวกท่านจะเห็นมัน ดังนั้นเมื่อมีเมฆหมอกมาบัง พวกท่านก็จงคำนวนสำหรับมัน -รายงานโดยบุคอรี
......

หะดิษกล่าวกับมวลมุสลิมทั้งหลาย ,อักษรวาว ในคำว่า( (صوموا... افطروا) เป็นสรรพนาม แทนญะมาอะฮมุสลิม และไม่มีหลักฐาน มาเป็นข้อยกเว้นว่า เฉพาะมุสลิมที่อยู่ในมะฏอเลียะเดียวกัน หรือโซนเดียวกัน เพราะคำสั่งให้ถือศีลอดและให้ละศีลอด เนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว ซึ่งครอบคลุมบรรดามุสลิมทั้งหมด
ส่วนหะดิษอิบนุอับบาส ที่กล่าวถึง การถือศีลอดของชาวเมืองชาม แตกต่างจากชาวเมืองมะดีนะฮ นั้น ก็ไม่ได้แสดงบอกว่า ให้พิจารณาเรื่อง ความแตกต่างการขึ้นของจันทร์เสี้ยว( اختلاف المطالع ) เพราะคำพูดของอิบนุอับบาสที่ว่า

(هكذا أَمَرَنا رسول الله صلى الله عليه وسلم)

อย่างนี้แหละที่รซูลุลลอฮ เคยใช้พวกเรา"

นี้ไม่ใช่คำพูดที่สืบไปถึงท่านนบี Solallah แต่ทว่า มันเป็นเพียงคำพูดของอิบนุอับบาส และมันคือ การอิจญติฮาดของเศาะหาบะฮ ,นักนิติศาสตร์อิสลาม กล่าวว่า " การอิจญติฮาดของเศาะหาบะฮ นั้น ไม่ใช่หลักฐานทางศาสนบัญญัติ และการอิจญติฮาด(การวินิจฉัย)ของเศาะหาบะฮนั้น ไม่ได้ทำหน้าที่จำกัด(ตัคศีศ)สำนวนหะดิษที่กล่าวไว้โดยรวม(عموم الحديث) ที่ว่า صوموا لرؤيته(พวกท่านจงถือศีลอด เมื่อเห็นมัน(จันทร์เสี้ยว) การอิจญติฮาดของ อิบนุอับบาส มันก็คือ ความเห็นและความเข้าใจของท่านเท่านั้น.
........
เพิ่มเติม

والراجح أن مذهب الصحابى ليس حجة، ولا يكون دليلا شرعيا مستقلا فيما يكون بالاجتهاد المحض، لأن المجتهد يجوز عليه الخطأ، ولم يثبت أن الصحابة ألزموا غيرهم بأقوالهم، فمرتبة الصحبة وإن كانت شرفا عظيما لا تجعل صاحبها معصوما عن الخطأ

และ(ทัศนะ)ที่มีน้ำหนักนั้น แท้จริง มัซฮับ(ทัศนะ)ของบรรดาเศาะหาบะฮ นั้น ไม่ใช่หลักฐานอ้างอิง และไม่เป็นหลักฐานทางศาสนบัญญัติที่เป็นเอกเทศ ในสิ่งที่เป็นการอิจญติฮาดล้วนๆ เพราะมุจญตะฮิด ย่อมมีการผิดพลาดได้ และไม่มีรายงานยืนยันว่าเหล่าเศาะหาบะฮ ยึดติด(หรือสังกัด)บรรดาคำพูด(ทัศนะ)ผู้อื่นจากพวกเขา เพราะตำแหน่งของเหล่าเศาะหาบะฮ ถึงแม้จะมีเกียรติและสำคัญเพียงใดก็ตาม การเป็นเศาะหาบะฮนั้น ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับการปกป้องจากความผิดพลาด(1)
...........
(1) أصول الفقة الإسلامى د/وهبة الزحيلى 2 /850 ومابعدها ط1 ، دار الفكر 1986 م ، تيسير أصول الفقة ، محمد أنور البدخشانى ، 162 ، ومابعدها. ط كراتشى باكستان 1990م

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 11:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามอัชเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

ووجه الاحتجاج به أن ابن عباس لم يعمل برؤية أهل الشام وقال في آخر الحديث : هكذا أمرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم , فدل ذلك على أنه قد حفظ من رسول الله صلى الله عليه وسلم أنه لا يلزم أهل بلد العمل برؤية أهل بلد آخر . واعلم أن الحجة إنما هي في المرفوع من رواية ابن عباس لا في اجتهاده الذي فهم عنه الناس والمشار إليه بقوله : " هكذا أمرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم " هو قوله : فلا نزال نصوم حتى نكمل ثلاثين , والأمر الكائن من رسول الله صلى الله عليه وسلم هو ما أخرجه الشيخان وغيرهما بلفظ { لا تصوموا حتى تروا الهلال , ولا تفطروا حتى تروه فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين
وهذا لا يختص بأهل ناحية على جهة الانفراد بل هو خطاب لكل من يصلح له من المسلمين فالاستدلال به على لزوم رؤية أهل بلد لغيرهم من أهل البلاد أظهر من الاستدلال به على عدم اللزوم لأنه إذا رآه أهل بلد فقد رآه المسلمون فيلزم غيرهم ما لزمهم

และแนวทางของการนำมันมาเป็นหลักฐาน คือ แท้จริงอิบนุอับบาสไม่ปฏิบัติตามการเห็นเดือนเสี้ยวของชาวชาม และท่านได้กล่าวในตอนท้ายของหะดิษว่า " เช่นนี้แหละที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ Solallah เคยใช้พวกเรา" ดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่า เขา(อิบนิอับบาส)ได้ท่องจำมาจากรซูลุ้ลลอฮ ว่า "ไม่จำเป็นแก่ชาวเมืองหนึ่งเมืองใด ปฏิบัติตามการเห็น(เดือนเสี้ยว)ของชาวเมืองอื่น"

และพึงทราบไว้เถิดว่า "หลักฐานนั้น ความจริงมันอยู่ในหะดิษมัรฟัวะจากรายงานของอิบนิอับบาส ไม่ใช่การอิจญติฮาดของเขาเอง ที่บรรดาผู้คนเข้าใจจากเขา ทั้งๆที่ สิ่งที่คำพูดของเขา(ของอิบนิอับบาส)ที่ว่า "เช่นนี้แหละที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ เคยใช้พวกเรา" ได้แสดงบอกไว้ คือ คำพูดของท่านที่ว่า "เรายังคงถือศีลอด จนกว่า เราจะให้ครบสามสิบวัน" และเรื่องนี้ได้มีมาจากรซูลุ้ลลอฮ Solallah คือ สิ่งที่บันทึกโดย อัชชัยคอน(หมายถึงบุคอรีและมุสลิม )และอื่นจากท่านทั้งสอง โดยมีข้อความว่า "พวกท่านอย่าถือศีลอด จนกว่าพวกท่านเห็นเดือนเสี้ยว และพวกท่านอย่าละศีลอด จนกว่าพวกท่านจะเห็นมัน แล้วถาหาก มีเมฆมาบดบัง ก็ให้พวกท่านนับให้ครบถ้วนจำนวนสามสิบวัน"
และกรณีนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับประชาชน ภูมิภาคหนึ่ง ภูมิภาคใดเป็นเอกเทศ แต่ มันได้กล่าวกับทุกคนที่สมควรสำหรับมันจากบรรดามุสลิม ดังนั้น การอ้างหลักฐานด้วยมันที่แสดงว่า จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามการเห็นเดือนเสี้ยวของชาวเมื่องอื่น อื่นจากพวกเขา ย่อมจัดเจนกว่า การอ้างหลักฐานด้วยมันที่แสดงว่า "ไม่จำเป็น" เพราะเมื่อชาวเมืองหนึ่ง เห็นจันทร์เสี้ยว ก็เท่ากับว่าบรรดามุสลิม(อื่นๆ)ได้เห็นมันด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นแก่ชาวเมื่องอื่น ในสิ่งที่จำเป็นแก่พวกเขา(ชาวเมื่องที่เห็นจันทร์เสี้ยว) - ดู นัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 217

และอิหม่ามอัชเชากานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวอีกว่า

ولم يأت ابن عباس بلفظ النبي صلى الله عليه وسلم ولا بمعنى لفظه حتى ننظر في عمومه وخصوصه
"ท่านอิบนุอับบาสไม่ได้นำข้อความที่เป็นคำพูดของท่านนบี Solallah และไม่ได้นำความหมายคำพูดนั้น มาแสดงให้เห็น เพื่อเราจะได้พิจารณา ในเนื้อหาโดยกว้างๆและเนื้อหาที่เฉพาะของมัน"- ดู นัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 217
.......
ท่านอัชเชากานีย์ก็ได้อ้างเช่นกันว่า คำพูดข้างต้น เป็นการอิจญติฮาดของท่านอิบนิอับบาส ไม่ใช่นำคำพูดของท่านนบีมาอ้างอิง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 11:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามอันนะวาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

" والصحيح عند أصحابنا أن الرؤية لا تعم الناس بل تختص بمن قرب على مسافة لا تقصر فيها الصلاة "

และที่ถูกต้อง ตามทัศนะสหายของเรา(หมายถึงผู้ดำเนินตามแนวมัซฮับชาฟิอี) คือ การเห็น(เดือนเสี้ยว)นั้น จะไม่ครอบคลุมสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ ใช้เฉพาะ ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกันตาม ระยะทางที่ไม่สามารถย่อละหมาดได้เท่านั้น"- ชัรหุมุสลิม เล่ม 1 หน้า 348

ถ้าพิจารณาตามข้อความข้างต้น สรุปได้ว่า เราจะปฏิบัติตามการเห็นเดือนเสี้ยวของใครไม่ได้ นอกจากอยู่ในระยะทางที่ใกล้เคียงกัน คือ ระยะทางที่ย่อละหมาดไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น หากอยู่ห่างกันระยะทางเกิน 86 กิโลเมตร ก็จะปฏิบัติตามกันไม่ได้ เพราะอยูคนละมัฏละอฺกัน
จึงอยากถามว่า "เมื่อประกาศเห็นเดือนที่กรุงเทพฯ คนที่สงขลาจะปฏิบัติตามได้หรือไม่เพราะอยู่ห่างเกิน 86 ก.ม? แบบนี้เรียกว่า เรื่องง่าย มาทำให้ยากหรือเปล่าครับ และไม่ทราบว่า คุณ bundung ตามทัศนะอุลามาอฺคนใหน


_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 23, 2009 11:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้อธิบายถึงทัศนะนักวิชามัซฮับชาฟิอียว่า

إذا رأوا الهلال في رمضان في بلد ولم يروه في غيره فإن تقارب البلدان فحكمهما حكم بلد واحد، ويلزم أهل البلد الآخر الصوم بلا خلاف، وإن تباعدا فوجهان مشهوران في الطريقتين:
أصحهما : لا يجب الصوم على أهل البلد الأخرى، وبهذا قطع المصنف والشيخ أبو حامد والبندنيجي وآخرون، وصححه العبدري والرافعي والأكثرون
والثاني : يجب، وقال به الصيمري، وصححه القاضي أبو الطيب والدارمي وأبو علي السنجي وغيرهم

เมื่อพวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยวในเดือนเราะมะฏอน ในเมืองหนึ่งเมืองใด โดยที่ไม่เห็นมันในเมืองอื่น แล้วถ้าหากทั้งสองเมืองนั้นอยู่ใกล้เคียงกัน ข้อชี้ขาด(หุกุม)ของทั้งสองเมืองนั้น คือหุกุมของเมืองเดียวกัน และจำเป็นแก่ ชาวเมืองอีกเมืองหนึ่ง ต้องถือศีลอด โดยไม่มีข้อขัดแย้ง(ระหว่างนักวิชาการ) และหากทั้งสองเมืองนั้นอยู่ห่างใกลกัน ก็แบ่งออกเป็นสองแนวทาง ที่แพร่หลายในสองแนวทางนั้น คือ

1. ที่ถูกต้องกว่าจากสองแนวทางนั้นคือ ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดแก่ชาวเมืองอื่น(ที่ไม่เห็นเดือนเสี้ยว) และด้วยทัศนะนี้ ผู้เรียบเรียง(หมายถึง อบูอิสหากอัชชิรอซีย์ เจ้าของหนังสืออัลมุหัซซับ) ,เช็คอบูหามีด,อัลบันดะนีญีย์และบรรดาคนอื่นๆ ได้กล่าวไว้อย่างเด็ดขาดและ อัลอับดะรีย์,อัรรอฟิอีย์และนักวิชาการส่วนมาก ได้ระบุว่าถูกต้อง(เศาะเฮียะ)
2. จำเป็นต้องถือศีลอด(แก่ชาวเมืองอื่นที่ไม่เห็นเดือน) อัศศัยมะรีย์ ได้กล่าวมัน และอัลกอฎีย์ อบูฏัยญิบ,อัดดาริมีย์,อบูอะลี อัสสันญีย์และอื่นจากพวกเขา ได้ระบุว่าถูกต้อง(เศาะเฮียะ)
- ดู อัลมัจญมัวะ เล่ม 6 หน้า 273
.........

และท่านอิหม่ามนะวีย์เอง ก็กล่าวอีกว่า

وقال بعض أصحابنا تعم الرؤية موضع جميع أهل الأرض، فعلى هذا نقول: إنما لم يعمل ابن عباس بخبر كريب لأنها شهادة فلا تثبت بواحد

และบางส่วนของบรรดาสหายของเรา(หมายถึงนักวิชาการมัซฮับชาฟิอีย์) กล่าวว่า " การเห็นครอบคลุมถึงสถานที่ของชาวโลกทั้งหมด และบนทัศนะนี้แหละ เราขอกล่าวว่า "ความจริงที่อิบนุอับบาส ไม่ปฏิบัติตาม การบอกเล่าของกุรัยบ์นั้น เพราะ การยืนยัน จะไม่ถูกรับรองด้วยคนเพียงคนเดียว" - ดู ชัรหุมุสลิม เล่ม 7 หน้า 197

ท่านอิหม่ามอบูอัฏฏอยยิบ เศาะดีก หะซันคอน กล่าวว่า

وأما استدلال من استدل بحديث كريب عند مسلم وغيره فغير صحيح، لأن ابن عباس لم يصرح بأن النبي أمرهم بألاَّ يعملوا برؤية غيرهم من أهل الأقطار، بل أراد ابن عباس أنه أمرهم بإكمال الثلاثين ولم يروه،

และสำหรับการอ้างหลักฐานของผู้ที่อ้างหลักฐาน ด้วยหะดิษกุรัยบ์ รายงานโดยมุสลิมและคนอื่นจากท่านนั้น "ไม่ถูกต้อง" เพราะอิบนุอับบาส ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนว่า ท่านนบี Solallah ใช้พวกเขาไม่ให้ปฏิบัติตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของอื่นจากพวกเขาจากผู้ที่อยู่ในดินแดน(ประเทศ)อื่น แต่ทว่า อิบนุอับบาสหมายถึง ท่านนบีใช้พวกเขาให้ถือศีลอดให้ครบสามสิบวัน โดยที่พวกเขาไม่เห็นมัน(เดือนเสี้ยว) - "อัรเราเฎาะฮ อัลนะดียะฮ ชัรหุอัดดุรรุลบะฮียะฮ เล่ม 1

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ