ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ตอนที่ 3
วัน อังคาร 01 ก.พ. 11 @ 21:44
หัวข้อ: ห้องสมุดอะฮลุ้ลหะดีษ


จากทรรศนะของอิบนุอับดิลบัร หากเราวิเคราะห์อย่างละเอียดก็หมายความ ว่า หากประเทศหนึ่งหรือท้องถิ่นหนึ่งท้องถิ่นใดมีระยะทางที่ไกลกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องติดตามกันในการรับแจ้งการเห็นเดือน

ต่อมาอิหม่ามมูฮำมัดบินอาลี อัชเชากานีย์ เสียชีวิตเมื่อฮิจเราะฮ์ที่ 1255 (ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์)ขอให้อัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านด้วย ท่านกล่าวตอบอิบนุอับดิลบัรว่า :

ولا يلتفت إلى ماقاله ابن عبدالبرمن أن هذا القول خلاف الإجماع قال لأنهم قداجمعوا علي أنه لاتراعى الرؤيةفيما بعد من البلدان كخراسان والأندلس وذلك لأن الإجماع لايتم والمخا لف مثل هؤلاء الجماعة

“มิต้องไปสนใจคำพูดของอิบนุอับดิลบัรที่ว่า : การยึดเอาการประจักษ์เดือนได้ทุกๆที่ นับว่าเป็นการฝืนมติของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ อันเนื่องจากว่าพวกเขาไม่อนุญาติให้ดูดวงเดือนจากที่หนึ่งที่ใดที่มีระยะทางที่ไกลกัน ตัวอย่างเช่น เมืองคุรอซาน(จังหวัดหนึ่งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน)กับเมืองอัลดารุส(ประเทศสเปนในปัจจุบัน) ตอนท้ายอิหม่ามอัชเชากานีย์ได้ให้ข้อคิดว่า การอิจมะอฺในเรื่องดังกล่าวตามที่อิบนุอับดิลบัรอ้าง ถือว่าไม่สมบูรณ์ อันเนื่องจากประเด็นดังกล่าวยังเป็นที่ขัดแย้งในหมู่พวกท่านอยู่”

นอกจากนี้อิหม่ามอัชเชากานีย์ยังได้อธิบายไว้อีกว่า

(واعلم) أن الحجة انما هى فى المرفوع رواية ابن عباس لافي اجتهاده الذي فهم عنه الناس المشار اليه بقول ’ هكذا امرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم ‘ هوقو له ’ فلانزال نصوم حتي نكمل ثلاثين ‘

والأمرالكائن من رسول الله صلى الله عليه وسلم هوما أخرجه الشيخان وغيرهما بلفظ ’لاتصوموا جتى تروا لهلال ولاتفطروه حتى تروه فإن غم عليكم فاكملوا العدة ثلاثين وهذالاايختص بأهل ناحية على جهه اللإنفراد بل هو خطاب لكل من يصلح له من المسلمين فالإ ستدلال به علي لزوم رؤية أهل بلدلغيرهم من اهل البلاد أظهرمن الإستدلال به على عدم اللزوم لأنه إذارآه أهل بلد فقدرآه المسلمون فيلزم غيرهم مالزمهم (โปรดรู้ไว้เถิดว่า) แท้จริงสิ่งที่ถูกนำมาอ้างอิงนั้นมันคือหะดิษที่จัดอยู่ในฐานะสูงส่ง เนื่องจากมีศ่อฮาบะฮ์ร่วมกันเล่าหะดิษหลายๆท่าน จากริวายะฮ์(การบอกเล่า)ของอิบนุอับบาส โดยไม่เกี่ยวข้องกับการที่อิบนุอับบาสใช้การวิเคราะห์หะดิษหรือใช้ดุลย์พินิจส่วนตัวตามที่คนส่วนมากพากันเข้าใจว่าอิบนุอับบาส ไม่ยอมรับการประจักษ์เดือนของท่านกุเรบที่เมืองชามกับคนในเมืองนั้น แต่สิ่งที่ชี้ชัดและยืนยันในเรื่องดังกล่าวก็คือคำพูดของท่านอิบนุอับบาสเองที่ว่า “ด้วยกับสิ่งนี้เองที่ท่านนบีสั่งให้เรากระทำ” และคำพูดของท่านเองอีกว่า “พวกเราจึงดำรงไว้ซึ่งการถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน”

ตรงนี้คือคำสั่งที่มันเกิดขึ้นมาจากท่านร่อซูลลุลลอฮ์ ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม ก็คือหะดิษที่อิหม่ามบุคอรีย์และมุสลิมได้ร่วมกันบันทึกหะดิษดังกล่าวรวมทั้งอิหม่ามนักหะดิษท่านอื่นๆ โดยมีใจความว่า :
“พวกท่านทั้งหลายจงอย่าได้ทำการถือศีลอดจนกว่าพวกท่านทั้งหลายจะประจักษ์จันทร์เสี้ยวเสียก่อน และก็จงอย่าได้ออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)จนกว่าพวกท่านทั้งหลายจะประจักษ์จันทร์เสี้ยว หากว่ามีเมฆหมอกมาบดบังต่อพวกท่านทั้งหลาย ฉนั้นก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน” คำสั่งใช้ดังกล่าวมิได้หมายถึงกลุ่มชนที่อยู่มุมใดหรือทิศหนึ่งทิศใดโดยเฉพาะ แต่ทว่าคำสั่งของท่านมันคือสิ่งที่อนุญาติให้กับมวลมุสลิมทุกคน ยิ่งไปกว่านั้นมันคือสาสน์จากท่านนบีถึงประชาชาติโดยรวม ฉนั้นแล้วการนำหลักฐานมายืนยันในเรื่องที่จำเป็นต้องติดตามการประจักษ์จันทร์เสี้ยวของประเทศหนึ่งประเทศใดชัดเจนยิ่งกว่าการนำเสนอหลักฐานที่ไม่ให้มีการเชื่อหรือติดตามกัน เนื่องจากว่าเมื่อไหร่ที่ประเทศหนึ่งประเทศใดประจักษ์เดือนเสี้ยวแล้ว นั่นก็ย่อมหมายถึงการเห็นของมวลมุสลิมทั่วไปด้วย เพราะสิ่งใดที่จำเป็นต่อพวกเขามันก็คือข้อจำเป็นสำหรับผู้อื่นด้วย

อิหม่ามอัชเชากานีย์กล่าวอีกว่า

ثم قال الشو كانى : وعدم عمل ابن عباس برؤية أهل الشام مع عدم البعد الذى يمكن معه اختلاف عمل اجتهاد وليس بحجة

การที่อิบนุอับบาสไม่ยอมรับการประจักษ์เดือนของประชาชนเมืองชาม ทั้งๆที่ระยะทางของทั้งสองเมือง(คือมะดีนะฮ์อัลมุเนาวะเราะฮ์กับประเทศชาม)มิได้ห่างไกลกันมากเกินไปที่จะนำมาเป็นประเด็นสำคัญในเรื่องของข้อแตกต่างทางด้านข้างขึ้นข้างแรมของแต่ละพื้นที่มิได้เด็ดขาด แต่มันคือการใช้ดุลย์พินิจของอิบนุอับบาสเอง ซึ่งมันมิได้มาจากตัวบทของศาสนา (จากหนังสือ نيل الأوطال ر นัยลุ้ลเอาฏอรฺ โดยอิหม่าม มูฮำมัด บินอาลี อัชเชากานีย์ เสียชีวิตเมื่อฮิจเราะฮ์ที่ 1255 เล่มที่ 4 แผ่นที่ 195 พิมพ์ที่ ดารุ้ลฟิกรฺอัลอะรอบีย์)

وأما استدلال من استدل بحديث كريب عند مسلم وغيره فغير صحيح لأنه لم يصرح ابن عباس بأن النبي صلى الله عليه وسلم أمرهم بأ ن لايعملوا برؤ ية غيرهم من أهل الأقطار بل أراد ابن عباس أنه أمرهم بإكمال الثلاثين أو يروه ظنا منه أن المراد بالرؤيةرؤية أهل المحل وهذا خطأ فى الإستدلال اوقع الناس فى الخبط والخلط حتى تفرقوا فى ذلك على ثما نية مذاهب

ส่วนการเสนอตัวบทของผู้ที่นำเอาหะดิษของท่านกุเรบที่อิหม่ามมุสลิมร่วมกันบันทึกไว้ในศ่อเหี๊ยะของท่าน รวมทั้งนักหะดิษท่านอื่น อันนี้ถือว่าผิดไม่ถูกต้อง เนื่องจากว่าตัวของท่านอิบนุอับบาสเองก็มิได้ยืนยันว่า ท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม เอง ใช้มิให้รับการเห็นจันทร์เสี้ยวที่หนึ่งที่ใดจากดินแดนทั้งหลาย แต่ทว่ามันเป็นการสงสัยของอิบนุอับบาสเอง ที่เข้าใจว่าการประจักษ์ดวงเดือน(เพื่อกำหนดวันแรกของรอมฎอนหรือกำหนดวันอีด)ขึ้นอยู่กับเฉพาะท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเท่านั้น(المحل) ซึ่งใครก็ตามเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวนับว่าเป็นการนำตัวบทของศาสนามาใช้แบบผิดๆ และด้วยกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้คนมิใช่น้อยเกิดการสับสนและหลงผิดในประเด็นกันเป็นส่วนมาก จนทำให้นักวิชาการแบ่งออกเป็น 8 มัซฮับ 8 ทรรศนะ (จากหนังสือ التعليقات الرضية علي الروضة الندية อัตตะอฺลีกอตฺ อัลร่อฎียะฮ์อะลาอัรเราเฎาะตุลนะดียะฮ์ โดย ซิดดิ๊ก หะซันคาน เสียชีวิตเมื่อฮิจเราะฮ์ที่ 1307 ซึ่งเป็นงานประพันธ์ของเชคอัลบานีย์ เรียบเรียงและตรวจทานโดย อาลีบินหะซัน อัลอะษะรีย์ เล่มที่ 2 แผ่นที่ 12-13 พิมพ์ที่ ดารุ้ลอิบนิอัฟฟาน)

เชคมูฮำมัดนาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์ กล่าวภายหลังที่เตือนซัยยิดอัซซาบิกในหนังสือฟิกฮฺซุนนะห์เกี่ยวกับทรรศนะของท่านที่ว่า :

لزم أهل بلد الرؤية وما يتصل بهامن الجهات التى على سمتها هذاهوالمشاهد ويتفق مع الواقع

จำเป็นต่อประเทศที่ประจักษ์เดือนเสี้ยว และประเทศที่มีทิศทางและเส้นแวงราบติดต่อกันให้ติดตามการประจักษ์เดือนเสี้ยวพร้อมกัน และนี่คือสิ่งที่พิสูจน์ได้และตรงกับความเป็นจริง

قال الباني :وهذاكلام عجيب وغريب لأنه إن صح إنه مشاهد موافق للواقع فليس فيه أنه موافق للشرع وقد أختاره كثير من العلماء المحققين مثل شيخ الإسلام ابن تيمية فى الفتاوى ج/25 والشو كانى فى نيل الأوطار وصديق حسن خان فى الرو ضة النديةوغيره فهوالحق الذى لايصح سواه ولايعارضه حديث ابن عباس لأ مورذكره الشوكانى رحمه الله ولعل الأ قوى ان يقال ان حديث ابن عباس ورد فيمن صام على رؤية بلده ثم بلغه فى اثناء رمضان أنهم راوا الهلال فى بلد آخرقبله بيوم ففى هذه الحا لة يستمر فى الصيام مع بلده حتى يكملوا ثلاثين أويروا هلالهم وبذالك يزول الإشكال ويبقى حديث أبى هريرة وغيره على عمومه ويشمل كل من بلغه رؤية الهلال من أي بلد أواقليم من غير تحديد مسافة اصلا كما قال ابن تيمية فى الفتاوي ج 107/25وهذا أمرمتيسر اليوم للغاية كما هومعلوم

เชคอัลบานีย์ตอบว่า นี่คือคำพูดและทรรศนะที่ประหลาด ถึงแม้นว่าซึ่งที่ซัยญิดซาบิกจะให้ทรรศนะว่า มันคือสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้และตรงกับความเป็นจริง แต่จะขอกล่าวว่ามันไม่ตรงกับข้อบัญญัติศาสนา
บรรดาผู้ทรงคุณวุฒิจากมวลบรรดาผู้รู้ส่วนมากต่างพากันเลือกเอาทรรศนะที่ว่าหากมีการพิสูจน์ประจักษ์จันทร์เสี้ยวจากที่หนึ่งที่ใดแล้วก็ให้ประเทศอื่นๆติดตามได้ทันทีตัวอย่าง เช่น ชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ์ ในหนังสือฟะตาวา ญุซที่ 25 นอกจากนี้ได้แก่ อิหม่ามอัชเชากานีย์ ในหนังสือนัยลุ้ลเอาฏอรฺ และ ซิดดิ๊กหะซันคาน ในหนังสือ อัลเราเฎาะตุ้ลนะดียะฮ์ รวมถึงผู้รู้ท่านอื่นๆ ซึ่งมันคือ สัจธรรมที่ไม่มีสิ่งใดมาทัดเทียม โดยเฉพาะหะดิษของอิบนุอับบาสมันมิได้คัดค้านกับเรื่องดังกล่าวเลย ตามที่อิหม่ามอัชเชากานีย์ได้อธิบายเอาไว้ และข้าพเจ้าหวังว่าความหมายที่ถูกต้องมากที่สุด คือทรรศนะที่ว่า หะดิษของอิบนุอับบาสเป็นการยืนยันถึงคนหนึ่งที่ถือศีลอดโดยประจักษ์เดือนเสี้ยวในประเทศของตน ต่อมาก็มีคนมาบอกเขาช่วงเดือนรอมฎอนว่า มีคนเห็นเดือนเสี้ยวที่อื่นก่อนเขาหนึ่งวัน ในสภาพดังกล่าวให้เขาผู้นั้นถือศีลอดตามประเทศที่เห็นเดือน จนกระทั่งเขาจะถือครบจบ 30 วัน จนกว่าพวกเขาจะเห็นเดือนกันเอง ด้วยกับสิ่งนี้ปัญหามันจึงจะจบ
ส่วนหะดิษของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ก็ยังคงไว้ซึ่งความหมายโดยรวม(العموم)แล้วก็หมายถึง หากมีการประจักษ์หรือ พิสูจน์เห็นดวงเดือนเสี้ยวจากที่หนึ่งที่ใด ก็ให้ตามกันได้โดยไม่ต้องกำหนดระยะทาง โดยเดิมๆแล้วตัวอย่างที่อิบนุตัยมียะฮ์กล่าวไว้ในฟะตาวา ญุซที่ 25/107 มาจวบจนถึงวันนี้เทคโนโลยีมีความเจริญกาวหน้าจนถึงที่สูงสุดแล้ว(จากหนังสือ تمام المنة فى التعليق على فقه السنةตะมามุ้ลมินนะฮ์ ฟิตตะอฺลิกอะลา อัลฟิกฮฺซุนนะห์ โดยเชคอัลบานีย์ แผ่นที่ 398 พิมพ์ที่ ดารุ้ลรอญะฮ์)



ต่อไปนี้ข้าพเจ้าอยากจะขอนำเอามติที่ประชุมของสภานิติบัญญัติอิสลาม(مجمع الفقهي) ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมด้านวิชาการ ณ.ที่ทำการองค์การสายสัมพันธ์มุสลิมโลกนครมักกะฮ์ ระหว่างวันที่ 7-17 เดือนร่อบีอุ้ลอาเครฺ จาก นิตสาร مجلة البحوث อัลบุฮุษ ฉบับที่ 28 ฮิจเราะฮ์ที่ 1410

بشأن العمل بالرؤية فى اثبات الأهلة لابالحساب

โดยเนื้อหาการประชุมให้ร่วมเฝ้าดูเพื่อพิสูจน์จันทร์เสี้ยว โดยห้ามการใช้วิธีคำนวณทางด้านดาราศาสตร์

وبعد ان قام اعضاء مجلس المجع الفقهي الإسلامي بدارسة وافيةلهذا الموضوع على ضوء النصوص الشرعية قرر مجلس المجمع الفقهي الإسلامي تأييده لجمعية الدعوة الإ سلامية فيما ذهبت اليه لوضوح الأدلة الشرعية فى ذلك
كمايقرر أنه بالنسبة لهذا الوضع الذى يوجد فى أماكن مثل سنغافورة وبعض مناطق آسياوغيرها حيث تكون سماؤها محجوبة بمايمنع الرؤية فإن للمسلين فى تلك المناطق وماشابهها أن يأخذوا برؤية من يثقون به من البلاد الإسلامية التى يعتمد على الرؤية البصرية للهلال دون الحساب بأى شكل من الإشكال عملا لقوله صلى الله عليه وسلم : صوموالرؤيته وافطروالرؤيته فإن غم عليكم فاكملوا عدة شعبان ثلاثين يوما

ภายหลังที่คณะประชุมของสภานิติศาสตร์อิสลามได้ทำการวิจัยโดยกว้าง เกี่ยวกับประเด็นการประจักษ์จันทร์เสี้ยวภายใต้ตัวบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่ประชุมได้ให้การสนับสนุนต่อชมรมดะอฺวะฮ์อิสลาม(ประเทศสิงค์โปร์)ต่อสิ่งที่ทางชมรมดำเนินอยู่และเพื่อเป็นการนำตัวบทของศาสนาตีแผ่ให้ทุกๆคนทราบ ฉนั้นตามมติที่ประชุมเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ.ที่ประเทศสิงค์โปร์ หรือบางพื้นที่ของกลุ่มประเทศเอเชียและที่อื่นๆ โดยที่บางครั้งทรรศนะวิสัยของประเทศแถบนี้ไม่ค่อยจะดีมากนักบางครั้งก็ถูกปกคลุมด้วยกับเมฆหมอก ที่ประชุมจึงเห็นว่าสมควรให้มวลบรรดามุสลิมทุกๆคน ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ดังกล่าว หรือประเทศใกล้เคียงให้ยึดเอาการประจักษ์จันทร์เสี้ยวจากประเทศมุสลิมที่เชื่อถือได้ ภายหลังจากที่พวกเขาได้ประจักษ์จันทร์เสี้ยวและทำการพิสูจน์การปรากฏจันทร์เสี้ยวโดยห้ามใช้วิธีการคำนวณทางด้านดาราศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยวิธีใดก็ตาม เพื่อเป็นไปตามคำสั่งใช้ของท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม “พวกท่านทั้งหลายจงทำการถือศีลอดต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว และก็จงออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)ต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยวหากเมฆหมอกปกคลุมพวกท่านทั้งหลายก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน”

مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร

ติดตามตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ





บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=413