มุจญตะฮิดไม่ผิดจริงหรือ?
วัน พฤหัสบดี 16 เม.ย. 09 @ 19:58
หัวข้อ: บทความทั่วไป



โดย  อะสัน หมัดอะดั้ม

      ก่อนที่เราจะยึดถือตามความเห็นของอุลามาอฺมุจญตะฮิดทั้งหลาย เราต้องตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า “มุจญตะฮิดทุกคนวินิจฉัยถูกต้องตั้งหมดหรือไม่” ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  

 إذا حكم الحاكم فاجتهد ثم أصاب فله أجران وإذا حكم واجتهد ثم أخطأ فله أجر واحد   

 เมื่อผู้พิพากษาได้ตัดสิน แล้วเขาได้ทำการวินิจฉัย (อย่างเต็มความสามารถ) แล้วเขาได้(ตัดสิน)ถูกต้อง เขาก็จะได้รับการตอบแทนผลบุญสองเท่า และเมื่อเขาได้ตัดสิน แล้วเขาได้ทำการวินิจฉัย (อย่างเต็มความสามารถ) แล้วผิดพลาด เขาก็ได้รับการตอบแทนผลบุญหนึ่งเท่า - รายงานโดย อัลบุคอรี บทที่ 97 กิตาบุลเอียะติศอม
……….


   หะดิษข้างต้นเป็นหลักฐานแสดงว่า การอิจญติฮาด(การวินิจฉัยอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งหุกุม)นั้น มีการผิดพลาด และ ถูกต้อง 

  อิหม่ามอิบนุกุดามะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

والحق في قول واحد من المجتهدين ومن عداه مخطئ، سواء كان في فروع الدين أو أصوله

  และความถูกต้องนั้น อยู่ในคำพูดของคนหนึ่งคนใดจากบรรดามุจญตะฮิดและผู้ที่อยู่นอกเหนือจากเขานั้น เป็นผู้ที่ผิดพลาด ไม่ว่า ในเรื่องข้อปลีกย่อยของศาสนาหรือรากฐานของศาสนาก็ตาม – เราเฎาะตุลนาซีร หน้า  193

  อัศศอ็นอานีย์ กล่าวว่า


وهذا الحديث صريح فى دلالته على أن المجتهد يكون مصيباً إذا أصاب حكم الله تعالى ،وحينئذ يكون له أجران : أجر الاجتهاد ،وأجر إصابة الحق ، ويكون المجتهد مخطئاً إذا لم يصب حكم الله تعالى ،وحينئذ يكون له أجر واحد ، وهو أجر الاجتهاد

    “และหะดิษนี้ ชัดจน ในการที่มัน(เป็นหลักฐาน)บ่งบอกว่า  แท้จริง มุจญตะฮิด(ผู้ทำการวินิจฉัย)นั้น เขาเป็นผู้ที่ถูกต้อง เมื่อเขา(เขาทำการวินิจฉัย)ถูกต้องตรงกับหุกุมของอัลลอฮ ตะอาลา และในขณะนั้น เขาได้รับผลตอบแทน(ผลบุญ)สองเท่า คือ ผลตอบแทนของการอิจญติฮาดและผลตอบแทนของการที่ถูกต้องตรงกับความจริง

      และ(หะดิษนี้แสดงบอกว่า) มุจญตะฮิดนั้น เป็นผู้ที่ผิดพลาด เมื่อ(การวินิจฉัยของเขา)ไม่ถูกต้องตรงตามหุกุมของอัลลอฮตะอาลา  และในขณะนั้น เขาได้รับผลตอบแทนหนึ่งเท่า คือ ผลตอบแทนของการอิจญติฮาด  -  ดูสุบุลุสสลาม เล่ม  4  หน้า 118  

  อิหม่ามอัรซัรกะชีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า  

 واختلف العلماء في حكم أقوال المجتهدين، هل كل مجتهد مصيب، أو المصيب واحد؟ ذهب الشافعي و أبو حنيفة ومالك وأكثر الفقهاء رحمهم الله إلى أن الحق في أحدهما، و إن لم يتعين لنا فهو عند الله متعين، لاستحالة أن يكون الشيء الواحد في الزمان الواحد في الشخص الواحد حلالاً حراماً، و لأن الصحابة تناظروا في المسائل و احتج كل واحد على قوله: وخطأ بعضهم بعضاً، وهذا يقتضي أن كل واحد يطلب إصابة الحق، ثم اختلفوا، هل كل مجتهد مصيب أم لا؟ فعند الشافعي أن المصيب منهم واحد و إن لم يتعين، و إن جميعهم مخطئ إلا ذلك الواحد وبه قال مالك وغيره  

      และบรรดานักวิชาการ มีความเห็นขัดแย้งกัน ในหุกุม(ข้อตัดสิน)บรรดาคำพูดของมุจญฺตะฮิด ว่า มุจญะตะฮิดทุกคนเป็นผู้ที่ถูกต้องทั้งหมด หรือ ผู้ที่ถูกต้องนั้นมีคนเดียว?  อัชชาฟิอี,อบูหะนีฟะฮ,มาลิก และบรรดานักนิติศาสต์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอิ) (เราะฮิมะฮุมุลลอฮ) ได้มีทัศนะว่า แท้จริงความถูกต้อง อยู่ในคนหนึ่งคนใดจากสองคน และแม้จะไม่ถูกทำให้ชัดเจนแก่เรา มันก็เป็นสิ่งที่ถูกทำให้ชัดเจน ณ อัลลอฮ 

      เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ปรากฏว่าสิ่งเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ในบุคคลคนเดียวกัน เป็นทั้งหะลาล,หะรอม และแท้จริงบรรดาเศาะหาบะฮ  พวกเขาได้อภิปรายกันในบรรดาประเด็นต่างๆและแต่ละคนต่างก็อ้างหลักฐานสนับสนุนคำพูดของตน และส่วนหนึ่งก็อ้างว่าอีกส่วนหนึ่งผิดพลาด และกรณีนี้ หมายความว่า แต่ละคนต่างก็แสวงหาความถูกต้อง

      ต่อมาพวกเขาก็มีความเห็นขัดแย้งกัน ,มุจญตะฮิดทุกคน ถูกต้องทั้งหมด หรือไม่? ในทัศนะของอัชชาฟิอีย์ นั้น แท้จริงผู้ที่ถูกต้องจากพวกเขานั้นมีคนเดียว และหากไม่ชัดเจนก็ตาม และแท้จริงทั้งหมดในหมู่พวกเขาผิดพลาด ยกเว้น คนเดียว ,มาลิกและคนอื่นจากเขา มีทัศนะด้วยทัศนะนี้ -  อัลบะหฺรุลมุหีฏ ของอิหม่ามอัรซัรกะชีย์  เล่ม 6   หน้า 241
 ……………………

     จากรายละเอียดข้างต้น  เป็นที่ชัดเจนว่า  ผู้รู้หรือ อุลามาอฺที่อยู่ในระดับมุจญตะฮิดนั้น ย่อมมีความผิดพลาดในการวินิจฉัย(อิจญติฮาด)ในเรื่องต่างๆ กล่าวคือ  อุลามาอฺมุจญตะฮิดนั้น  บางครั้งการวินิจฉัย หรือ การอิจญะติฮาดของเขา ถูกต้อง แต่บางครั้งอาจจะมีการผิดพลาดได้ เหมือนกัน เพราะเหตุนี้บรรดาอิหม่ามมุจญะตะฮิดทั้งสี่ได้เตือนให้ระวังเรื่องการตักลิด(การเชื่อตาม)พวกเขา   ดังเช่นอิหม่ามชาฟิอีก็ได้กล่าวว่า


ما قلتُ وكان النبي (صلى الله عليه وآله) قد قال بخلاف قولي، فما صحّ من حديث النبي أولى ولا تقلدوني

   สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พูดไปและปรากฏว่า ท่านนบี ศอลฯได้กล่าวไว้ ขัดแย้งกับคำพูดของข้าพเจ้า ดังนั้นสิ่งที่เศาะเฮียะจากหะดิษของท่านนบีย่อมดีกว่า และอย่าได้(ตักลิด)เชื่อตามข้าพเจ้า -  ดูอาดาบุชชาฟิอีย์ ของอัรรอซีย์ หน้า 93

والله أعلم بالصواب






บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=395