เงื่อนไขของอิบาดะฮที่ถูกรับรอง
วัน จันทร์ 17 ก.ค. 06 @ 08:18
หัวข้อ: บทความทั่วไป



โดย อะสัน หมัดอะดั้ม

เงื่อน ในการอิบาดะฮ ที่อัลลอฮทรงรับ และตอบแทนผลบุญให้แก่บ่าวนั้น ต้อง ประกอบด้วย 2 เงื่อนไขคือ

الشرط الأول : الإخلاص لله عز وجل ، قال تعالى : ( وما أمروا إلا ليعبدوا الله مخلصين له الدين حنفاء ) سورة البينة/5 ، ومعنى الإخلاص هو : أن يكون مراد العبد بجميع أقواله وأعماله الظاهرة والباطنة ابتغاء وجه الله تعالى ، قال تعالى : ( وما لأحد عنده من نعمة تجزى إلا ابتغاء وجه ربه الأعلى ) سورة الليل/19

เงื่อนไขข้อที่หนึ่ง : บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง พระองค์อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

"และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง"
อัลบัยยินะฮ:5

ความหมายคำว่า “อิคลาศ” คือ จุดประสงค์ของบ่าว ที่มีขึ้น ด้วยคำพูด และการกระทำของเขาทั้งหมด ทั้งที่แสดงออกมาภายนอก และภายในจิตใจ นั้น เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เท่านั้น พระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตาอาลาตรัสว่า

"และที่เขานั้นไม่มีบุญคุณแก่ผู้ใดที่บุญคุณนั้นจะถูกตอบแทนนอกจากว่าเพื่อแสวงความโปรดปรานจากพระเจ้าของเขาผู้ทรงสูงส่งเท่านั้น"
อัลลัยลุ:19-20

الشرط الثاني : موافقة العمل للشرع الذي أمر الله تعالى أن لا يُعبد إلا به وهو متابعة النبي صلى الله عليه وسلم فيما جاء به من الشرائع فقد جاء في الحديث عن النبي صلى الله عليه وسلم : " من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد " رواه مسلم ( الأقضية/3243)

เงื่อนไขข้อที่สอง : การกระทำ(อะมั้ล) นั้น ต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติ ที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ทรงบัญชา โดยที่พระองค์จะไม่ถูกเคารพภักดี(อิบาดะฮ) นอกจากด้วยมัน คือ การปฏิบัติตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในสิ่งที่ ท่านได้นำมา จากบทบัญญัติทั้งหลาย แท้จริงได้ปรากฏหะดิษจาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า

” บุคคลใด ประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการศาสนาของเรา ของเราอยู่บนมัน มันถูกปฏิเสธ"
รายงานโดย มุสลิม - อัลอักฎียะฮ 3243

قال ابن رجب رحمه الله : هذا الحديث أصل عظيم من أصول الإسلام وهو كالميزان للأعمال في ظاهرها ، كما أن حديث " إنما الأعمال بالنيات " ميزان للأعمال في باطنها ، فكما أن كل عمل لا يُراد به وجه الله تعالى ، فليس لعامله فيه ثواب ، فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله ، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله ، فليس من الدين في شيء . جامع العلوم والحكم ج 1 ص 176

อิบนุเราะญับ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

“ หะดิษนี้ (หะดิษ มันอะมิละ......) เป็นรากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานแห่งอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่ปรากฏออกมาภายนอก

และดังที่ หะดิษ ที่ว่า”แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา “ มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน

(อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น และในทำนองเดียวกัน

ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกปฏิเสธ กลับไปหาผู้กระทำมัน และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง

อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

قال ابن القيم : فإن الله جعل الإخلاص والمتابعة سببا لقبول الأعمال فإذا فقد لم تقبل الأعمال .

อิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า

“ แท้จริงอัลลอฮทรงกำหนด การอิคลาส และการปฏิบัติตาม (รอซูล) ให้เป็นสาเหตุ แห่งการรับรอง บรรดาการงานทั้งหลาย ดังนั้น ถ้ามันไม่มี ดังนั้นบรรดาการงานทั้งหลายก็จะไม่ถูกรับรองอย่างแน่นอน - อัรรูห เล่ม 1 หน้า 135 الشيخ محمد صالح المنجد (www.islam-qa.com)





บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=310