 | ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ตอนจบ |
|

الراجح
ทรรศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องดังกล่าว
อัลลอฮ์ทรงรู้ คือ ทรรศนะของ(جمهورالعلماء) นักวิชาการส่วนมาก เพื่อเป็นการสมัครสมาน สามัคคีและรวมไว้ซึ่งเอกภาพภราดรภาพเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของมวลมุสลิมทั่วโลก ออกห่างจากการทะเลาะวิวาท อันที่จะนำซึ่งมาการระส่ำระส่ายของมวลมุสลิม และเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่างคณะรัฐบาลมุสลิมแต่ละประเทศในโลกนี้ ซึ่งหากเมืองพี่เห็นก็สามารถแจ้งข่าวการเห็นจันทร์มาทางเมืองน้องได้ นั่นคือวัตถุประสงค์ของการประชุมทางด้านวิชาการของสภานิติบัญญัติอิสลามแห่งนครมักกะฮ์อัลมุกัรรอมะฮ์ โดยมีประธานสูงสุดของสภานิติบัญญัติเชคอับดุลลอฮ์บินหุมัยดฺ พร้อมทั้งประธานสภานักวิชาการอาวุโส เชคบินบาซ(هيئة كبارالعلماء) รวมทั้งนักวิชาการชั้นสูงทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น โดยเฉพาะในที่ประชุมได้เน้นความสำคัญระหว่างศาสนาของมวลมุสลิมเป็นประเด็นหลักและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยให้มีการพึ่งพาอาศัยกันในระหว่างประเทศทางด้านการพิสูจน์เพื่อหาผลปรากฏการณ์ของจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดเดือนรอมฎอนและวันอีดิ้ลฟิฏรฺ ทั้งนี้ให้ตั้งอยู่บนข้อบัญญัติที่มาจากตัวบทของศาสนา ตามที่ท่านนบีได้กล่าวว่า :
قال صلى الله عليه وسلم : صوموالرؤيته وافطرو الرؤيته
عليكم فاكملوا عدة شعبان ثلاثين يوما
ท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัมกล่าวว่าพวกท่านทั้งหลายจงทำการถือศีลอดต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว และก็จงออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)ต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยวหากเมฆหมอกปกคลุมพวกท่านทั้งหลายก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน
وصلى الله على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه وسلم
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
|
|
|
|
| |
 | ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
| |
|
 | คะแนนของบทความ |
| คะแนนเฉลี่ย: 0 จำนวนผู้ลงคะแนน: 0
|
|
|
 | ส่วนเพิ่ม |
| |
|
|