ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - อิสลามแบงก์อัดฉีดสินเชื่อฮัจย์ (เหมาะสมหรือไม่)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
อิสลามแบงก์อัดฉีดสินเชื่อฮัจย์ (เหมาะสมหรือไม่)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
venus
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 04/10/2007
ตอบ: 3


ตอบตอบ: Fri Oct 05, 2007 8:37 am    ชื่อกระทู้: อิสลามแบงก์อัดฉีดสินเชื่อฮัจย์ (เหมาะสมหรือไม่) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
:?: :?: :?: :?: :?:
ธนาคารอิสลามเปิดตัวสินเชื่อใหม่เพื่อการเดินทางแก่ผู้ประสงค์ไปประกอบศาสนกิจ ท่องเที่ยวและทัศนศึกษา พร้อมให้สินเชื่อหมุนเวียนและออกหนังสือค้ำประกันสำหรับผู้ประกอบการฮัจย์ เตรียมกระตุ้นบริการฮัจย์ปี 51 หวังกินรวบส่วนแบ่งตลาด 100%

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากช่วงเทศกาลถือศีลอดหรือเดือนรอมฎอนสิ้นสุดลงประมาณวันที่ 12 หรือ 13 ตุลาคมที่จะถึงนี้ ก็จะเข้าสู่เทศกาลฮัจย์ ซึ่งจะมีชาวมุสลิมทั่วโลกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอารเบีย ธนาคารอิสลามจึงได้เปิดให้บริการสินเชื่อเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวมุสลิมในประเทศไทย

โดยสินเชื่อที่เปิดให้บริการใหม่ประกอบไปด้วยสินเชื่อเพื่อการเดินทางเพื่อเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจรวมทั้งการประกอบพิธีฮัจย์ อุมเราะฮ์ ท่องเที่ยวและทัศนศึกษาภายในวงเงินสินเชื่อจ่ายจริงและไม่เกิน 120,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3 ปี คิดอัตรากำไร SPR+4.0% (ปัจจุบัน SPR อยู่ที่ระดับ 8.0% ต่อปี) ซึ่งเป็นอัตรากำไรที่ธนาคารคิดต่ำเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้ที่สนใจไปปฏิบัติศาสนกิจ เดินทางไปทำพิธีฮัจย์ อุมเราะฮ์ ท่องเที่ยวและทัศนศึกษา ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

"ผู้ขอสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติเป็นบุคคลทั่วไปที่มีเงินเดือนประจำ อายุงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และทำงานในองค์กรปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือกรณีประกอบธุรกิจส่วนตัวจะต้องประกอบธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี"

นอกจากนี้ธนาคารยังได้เปิดบริการสินเชื่อวงเงินทุนหมุนเวียนและการออกหนังสือค้ำประกันแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนมากได้มาขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันไปแล้วกว่า 60 บริษัท ซึ่งคาดว่าตามโควตาประเทศไทยสำหรับผู้มีสิทธิเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2550 จำนวน 15,000 คน จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในเทศกาลฮัจย์ประมาณ 1,800 ล้านบาท

ซึ่งธนาคารอิสลามคาดว่าจะสามารถชิงส่วนแบ่งของตลาดได้ 205 ของผู้มีสิทธิเดินทางหรือมีผู้ขอสินเชื่อประมาณ 3,000 คน วงเงินสินเชื่อประมาณ 360 ล้านบาท เพื่อเตรียมเพิ่มการให้บริการสำหรับฮัจย์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด ทั้งนี้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันการเงินที่ฮาลาลหรือศาสนาอนุมัติเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยจึงหวังครองส่วนแบ่งตลาดผู้แสวงบุญฮัจย์ในปี 2551 แต่เพียงผู้เดียว

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว MSN
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Oct 05, 2007 11:02 am    ชื่อกระทู้: Re: อิสลามแบงก์อัดฉีดสินเชื่อฮัจย์ (เหมาะสมหรือไม่) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

venus บันทึก:
salam

โดยสินเชื่อที่เปิดให้บริการใหม่ประกอบไปด้วยสินเชื่อเพื่อการเดินทางเพื่อเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจรวมทั้งการประกอบพิธีฮัจย์ อุมเราะฮ์ ท่องเที่ยวและทัศนศึกษาภายในวงเงินสินเชื่อจ่ายจริงและไม่เกิน 120,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3 ปี คิดอัตรากำไร SPR+4.0% (ปัจจุบัน SPR อยู่ที่ระดับ 8.0% ต่อปี) ซึ่งเป็นอัตรากำไรที่ธนาคารคิดต่ำเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้ที่สนใจไปปฏิบัติศาสนกิจ เดินทางไปทำพิธีฮัจย์ อุมเราะฮ์ ท่องเที่ยวและทัศนศึกษา ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
wassalam


..........
salam
การจ่ายเพิ่มจากเงินต้นที่กู้ยืมนั้น เป็นริบา จะตั้งชื่อให้สวยหรูอย่างไร ก็คือ ริบา (ดอกเบี้ย)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لعن الله آكل الربا وموكله وكاتبه وشاهديه هم سواء. رواه مسلم
ความว่า “อัลลอฮฺทรงสาปแช่งผู้กินริบาอฺ ผู้ให้(ผู้อื่น)กินริบาอฺ ผู้บันทึก และผู้เป็นสักขีพยาน(ในสัญญาที่มีริบาอฺ) ทั้งปวงเหมือนกัน”
ประเภทของริบาอฺ
1. ริบัลฟัฎลิ (ริบาอฺเพิ่ม) คือ การแลกเปลี่ยนประเภทเงินตราหรือสินค้า(บางชนิด) โดยไม่เท่าเทียมกัน
2. ริบัลนะซีอะติ (ริบาอฺเลื่อนเวลา) คือ การจ่ายเพิ่มจากเงินต้นที่กู้ยืม โดยใช้การเลื่อนเวลาใช้หนี้ออกไปเป็นเงื่อนไข
3. ริบัลก็อรดิ (ริบาอฺผลประโยชน์ของหนี้สิน) คือ การเรียกผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่อหนี้สิน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.07 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ