ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ardam มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 07/01/2004 ตอบ: 3
|
ตอบ: Mon Oct 02, 2006 1:00 pm ชื่อกระทู้: การละศีลอดและการอ่านดุอาเมื่อไปเยี่ยมเยียนญาติที่กุโบร์ |
|
|
อัสสลามู่อาลัยกุม
ขอเรียนถามดังนี้ครับ
1) ดุอาในการละศีลอดที่ถูกต้องตามซุนนะฮ์ท่านนบีอ่านอย่างไร พร้อมคำแปล
2) ดุอาที่ควรอ่านเมื่อไปเยี่ยมเยียนญาติที่เสียชีวิตในกุโบร์
3) ขณะที่ทำการละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัรดูเมื่อเริ่มต้นตักบีร์ กรณีที่มีคนมาสะกิดหมายถึงว่าต้องการให้เป็นผู้นำในการละหมาดฟ้รดูของเขา จะต้องเนียตว่าอย่างไร
4) ผลบุญของการละหมาดตะรอเวียะห์ และการละหมาดทำอย่างไรตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบ, มีกี่รอกาอัต สามารถละหมาดเองคนเดียวที่บ้านได้หรือไม่
5) ได้ฟังมาว่าผู้ที่เสียชีวิตในคืนวันศุกร์เดือนรอมาดอนดีกว่าในวันและเดือนอื่น ๆ อยากทราบรายละเอียดและสาเหตุ
6) การดุอาหลังละหมาดฟัรดูที่มีการกระทำร่วมกัน หรือวิธีการละหมาดที่ไม่เหมือนกันในแต่ละมัสยิด เช่น จำนวนร่อกาอัตในการละหมาดสุนัตตะรอเวียะห์ ทำไมอิสลามจึงมีบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน และการกระทำอย่างไรถูกต้องจะหาความรู้ที่ถูกต้องได้อย่างไรจากการเรียนรู้
7)ในเรื่องดังกล่าวทางจุฬาราชมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำไมไม่ทำให้วิธีการปฎิบัติไปในทางที่ถูกต้องเหมือนกัน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดความสับสนทั้งมุสลิมเองและศาสนิกอื่นที่ไม่เข้าใจ
ยาซากู่มุลลอฮ์ฮู่คอยรอน
Ardam |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Oct 03, 2006 1:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอเรียนถามดังนี้ครับ
1) ดุอาในการละศีลอดที่ถูกต้องตามซุนนะฮ์ท่านนบีอ่านอย่างไร พร้อมคำแปล
ตอบ
ดุอาอฺที่ดียิ่งคือ ดุอาอฺที่สืบต่อเนื่องจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ซึ่งท่านได้กล่าวขณะแก้ศีลอดว่า
ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ
คำอ่าน "ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"
ความว่า ความกระหายน้ำได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่นและได้รับการตอบแทนอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ
บันทึกโดย : อะบูดาวู๊ด อัลบัยฮะกีย์ และอัลฮากิม และอัดดารุกุฎนีย์ว่า เป็นสายสืบที่หะซัน
2) ดุอาที่ควรอ่านเมื่อไปเยี่ยมเยียนญาติที่เสียชีวิตในกุโบร์
ตอบ
السلام عليكم أهل الديار من المؤمنين والمسلمين وإنا إن شاء الله للاحقون أسأل الله لنا ولكم العافية ) رواه مسلم 975
อ่านว่า อัสสะลามุอะลัยกุม อะฮลัดดิยาริ มินั้ลมุอฺมินีน วัลมุสลิมีน วะอินนาอินชาอัลลอฮ ละลาหิกูน อัสอะลุ้ลลอฮะละนา วะละกุมุลอาฟิยะฮ
ความว่า
ขอความสุนติสุขจงประสบแด่พวกท่านทั้งหลายโอ้ชาวหมู่บ้านนี้ จากบรรดาผู้ศรัทธาและผู้ที่เป็นมุสลิม และ หากอัลลอฮทรงประสงค์ พวกเราก็เป็นผู้ตามพวกท่านไป และขอต่ออัลลอฮได้โปรดประทาน ความสมบูรณ์พูนสุข ให้แก่พวกเราและพวกท่านด้วยเถิด รายงานโดยมุสลิม หะดิษหมายเลข 975
3) ขณะที่ทำการละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัรดูเมื่อเริ่มต้นตักบีร์ กรณีที่มีคนมาสะกิดหมายถึงว่าต้องการให้เป็นผู้นำในการละหมาดฟ้รดูของเขา จะต้องเนียตว่าอย่างไร
ตอบ
ก็ละหมาดตามปกติ เพราะคนที่ละหมาดฟัรดู สามารถละหมาดตามคนละหมาดสุนัตได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องสะกิด ดังที่ท่านมุอาซ เคยละหมาดตามท่านนบี แล้วก้กลับไปละหมาดเดียวกันนั้น นำกลุ่มชนของท่าน
.
อ้างอิง
الإمام أحمد 3/302 والبخاري 1/170 مطابع الشعب 1378 ومسلم 1/339 نشر رئاسةالبحوث عام1400وأبوداود 1/182 مطبعة ومكتبةالحلبي 1371 والنسائي 2/103 دار الكتب العلمية بيروت وابن ماجه 1/315 مطبعة دار إحياء العلوم العربية.] وصلى النبي -صلى الله عليه وسلم- بطائفة من أصحابه في صلاة الخوف ركعتين ثم سلم بهم ثم صلى بالطائفة الأخرى ركعتين ثم سلم بهم. [الإما م أحمد 5/49 وأبوداود 1/287 والنسائي 3/178.] رواه أبوداود،
4) ผลบุญของการละหมาดตะรอเวียะห์ และการละหมาดทำอย่างไรตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบ, มีกี่รอกาอัต สามารถละหมาดเองคนเดียวที่บ้านได้หรือไม่
ตอบ
ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
من قام رمضان ايمانا واحتسابا غفر له ما تقدم من ذنبه )) . رواه البخاري ومسلم .
ผู้ใดลุกขึ้นละหมาด เดือนเราะมะฏอน ด้วยความศรัทธาและ หวังในความโปรดปรานของอัลลอฮ เขาจะได้รับการอภัย ความผิดของเขาที่ผ่านมา - รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
การละหมาดตะรอเวียะ จะหมาดคนเดียวที่บ้านก็ได้ แต่ละหมาดญะมาอะฮที่มัสญิดย่อมประเสริฐกว่า
ท่านนบี ศอ็ลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
"إن القوم إذا صلوا مع الإمام حتى ينصرف كتب لهم قيام تلك الليلة
แท้จริง ชนกลุ่มหนึ่ง เมื่อเขาละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการบันทึก เหมือนกับการละหมาดคืนนั้นทั้งคืน - รายงานโดยอบูดาวูด เรื่อง กิยามุเราะมะฏอน เล่ม 1 หน้า 317
قال أبو داود رحمه الله: (سمعت أحمد يقول: يعجبني أن يصلي مع الإمام ويوتر معه، قال: وكان أحمد يقوم مع الناس ويوتر معهم
อบูดาวูด (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า " ข้าพเจ้าได้ยิน อิหม่ามมอะหมัด กล่าวว่า "ข้าเจ้าพึงพอใจ ที่จะละหมาดพร้อมกับอิหม่ามและ ละหมาดวิตริ พร้อมกับเขา ,อบูดาวูดกล่าวว่า " ปรากฏว่าอิหม่ามอะหมัด ละหมาด(ตะรอเวียะ)พร้อมกับบรรดาผู้คน และละหมาดวิตร พร้อมกับพวกเขา
5) ได้ฟังมาว่าผู้ที่เสียชีวิตในคืนวันศุกร์เดือนรอมาดอนดีกว่าในวันและเดือนอื่น ๆ อยากทราบรายละเอียดและสาเหตุ
ตอบ
มีหะดิษที่ระบุเอาไว้ แต่เป็นหะดิษที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน บ้างก็ว่า เฎาะอีฟ บ้างก็ว่าเศาะเฮียะ คือ
"ما من مسلم يموت يوم الجمعة أو ليلة الجمعة إلا وقاه الله فتنة القبر
ไม่มีมุสลิมคนใด ตายในวันศุกร์ หรือ คืนวันศุกร์ นอกจากอัลลอฮ ทรงปกป้องเขาให้พ้นจากการลงโทษในกุบูร - ฮาฟิซอิบนุหะญัรระบุว่า เป็นหะดิษเฎาะอีฟ ดู ฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 3 หน้า 253
..
อย่างไรก็ตาม ตายวันใหนก็ได้ หากเราได้เตรียมอิบาดะฮไว้อย่างครบถ้วนตามที่ศาสนาสอนไว้
6) การดุอาหลังละหมาดฟัรดูที่มีการกระทำร่วมกัน หรือวิธีการละหมาดที่ไม่เหมือนกันในแต่ละมัสยิด เช่น จำนวนร่อกาอัตในการละหมาดสุนัตตะรอเวียะห์ ทำไมอิสลามจึงมีบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน และการกระทำอย่างไรถูกต้องจะหาความรู้ที่ถูกต้องได้อย่างไรจากการเรียนรู้
ตอบ
ที่ประเสร็ฐที่สุดคือ การปฏิบัติตามที่ท่านนบีได้ทำแบบอย่างเอาไว้ คือ
عن عائشة رضي الله عنها وقد سئلت: كيف كانت صلاته صلى الله عليه وسلم في رمضان؟ فقالت: ما كان يزيد في رمضان ولا في غيره عن إحدى عشرة ركعة، يصلي أربعاً فلا تسأل عن حسنهن وطولهن، ثم يصلي أربعاً فلا تسأل عن حسنهن وطولهن، ثم يصلي ثلاثاً
จากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) แท้จริงนางได้ถูกถามว่า การละหมาดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเดือนเราะมะฏอน นั้น เป็นอย่างไร ? แล้วนางกล่าวว่า"ท่านรซูลุ้ลลอฮ ไม่เคยละหมาดในดือนเราะมะฏอนและเดือนอื่นจากนั้น เกินกว่า 11 เราะกะอัต ท่านได้ละหมาด(ทีแรก) 4 เราะกพอัต ,ท่านอย่าได้ถามถึงความสวยงามของมันและความยาวนานของมัน หลังจากนั้น ท่านละหมาดอีก 4 เราะกะอัต ,ท่านอย่าได้ถามถึงความสวยงามของมันและความยาวนานของมัน หลังจากนั้นท่านได้ละหมาด(วิตรฺ)อีก 3 เราะกะอัต - รายงานโดยบุคอรี หะดิษหมายเลข2013 กิตาบุเศาะลาติตตะรอเวียะ
وصح عن عمر بن الخطاب أنه أمر أبي بن كعب وتميما الداري أن يقوما للناس بإحدى عشرة ركعة [رواه مالك في الموطأ عن محمد بن يوسف وهو ثقة ثبت عن السائب بن يزيد وهو صحابي
และมีรายงานที่เศาะเฮียะ จากท่านอุมัร บุตร อัลคอ็ฏฏอ็บ ว่า แท้จริงท่านได้สั่งให้ อุบัย บุตร กะอับและ ตะมีม อัดดารีย์ ละหมาดนำผู้คน 11 เราะกะอัต - รายงานโดย มาลิก ในอัลมุวัฏเฏาะอฺ จากมุหัมหมัด บิน ยุซูบ โดยที่เขาเชื่อถือได้ ได้ยืนยันจาก อัสสาอิบ บุตร ยะซีด โดยที่เขา เป็น เศาะหาบะฮ
ดู อัศเศาะเหียะมุสนาด มินอะหกามิศศิยาม หน้า 169
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรกล่าวว่า
وأما مارواه ابن أبي شيبة من حديث ابن عباس كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يصلي في رمضان عشرين ركعة والوتر فاسناده ضعيف عارضه حديث عائشة
สำหรับ สิ่งที่รายงานโดย อิบนุอบีชัยบะอ จากหะดิษอิบนุอับบาส ว่า ของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดในเดือนเราะมะฏอน 20 เราะกะอัต และละหมาดวิตรฺ นั้น สายรายงานของมัน เฎาะอีฟ หะดิษอะอีฉะฮ ขัดแย้งกับมัน - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 254
7)ในเรื่องดังกล่าวทางจุฬาราชมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำไมไม่ทำให้วิธีการปฎิบัติไปในทางที่ถูกต้องเหมือนกัน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดความสับสนทั้งมุสลิมเองและศาสนิกอื่นที่ไม่เข้าใจ
ตอบ
อันนี้ก็อยากจะทราบอยู่เหมือนกัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|