ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เหลือเชื่อ !!! เสื้อเรารักนบีเป็นบิดอะห์
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เหลือเชื่อ !!! เสื้อเรารักนบีเป็นบิดอะห์
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 25, 26, 27  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

:o คุณ ทรูซ โทษนะครับถ้าเรียกชื่อผิด

คุณกล่าวว่า
---การมานั่งรวมกันเป็นกลุ่มโดยตัวของมันเองแล้วไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาหรือพิธีกรรมทางศาสนา แต่ถ้ามานั่งรวมกันเป็นกลุ่มและอ่านอัลกุรอานต้นใดต้นหนึ่งเป็นการเฉพาะและมีพิธีกรรมอื่นๆทางศาสนาเข้ามาผนวกด้วย โดยกระทำกันเป็นการเฉพาะหรือเป็นกิจลักษณะ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยไม่มีรูปแบบการกระทำจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺแน่นอน เช่น การกินบุญคนตาย การ ทำอะกีเกาะฮฺให้เด็กและมีการอ่าน บัรซันยี ร่วมถึงพิธีกรรมทางด้านศาสนาอื่นๆ

Rolling Eyes คุณมาแปลกนะครับ เอะอะไรก็เป็นบิดอะไปหมด คุณจะไม่ให้เขาการนั่งรวมเป็นกลุ่มเป็นวงในขณะอ่านกรุอ่านหรือซิกรุลลอฮ์พราะเป็นบิดอะ คุณกล่าวมาได้งัยเนียะ พิลึกจัง
แล้วถ้าพี่น้องเราเชิญไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านของเขา ซึ่งก็ไม่ใหญ่โตแต่เขามีน้ำใจที่มาเชื้อเชิญคุณจะไม่ไปหรือครับ และถ้ามีคนไปกันมาก บ้านเขามีขนาดเล็กคุณจะจัดให้เขานั่งยังไงดีครับ จึงจะได้ทั่วถึง และสะดวก...แค่การนั่งคุณก็คิดมากเสียแล้วเฮ้อ... อนาจใจจริง...

Crying or Very sad บางครั้งแม้ว่าไม่มีรูบแบบจากท่านนบีว่าสั่งใช้หรือห้าม ก็ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่มีคำสั่งหรือแบบอย่างจากท่านนบีแล้วมันคือบิดอะไปหมด และบางภาวะคับขันของเจ้าบ้านละครับ ข้อนี้คุณคิดหรือไม่เขาจัดให้คุณไม่ได้ คุณน่าจะใจกว้างนะครับเรื่องแบบนี้นะ..

ในเรื่องกำลังทรัพย์สินเงินทองเขาเราไม่รู้ว่าเขามีหรือไม่ การที่เรานั่งกันเป็นวงมันก็ดูดีอยู่แล้วและไม่เกะกัด้วย ฉนั้นการตีวงล้อมเพื่ออ่านกรุอ่านหรือซิกรุลลอฮ์นั้นสามารถกระทำได้ครับ

Idea ดูคำตอบที่น้องอัลฟารุคนำเสนอและพยายามอ่านให้ละเอียดก่อนนะครับ ไม่ใช่อะไรนิดก็ฮูกมเป็นบิดอะไปหมดทั้งที่ไม่รู้ว่าอะไรบ้างคือบิดอะ และมันมีกี่ประเภท...

Evil or Very Mad แปลกนะครับ มนุษย์เราบางคน ชอบนำเสนอหลักฐานสิ่งที่ตัวเองยืนยันว่า อย่างหนักแน่นว่าเรื่องศาสนา ถ้าไม่มีหลักฐานจากท่านนบีแล้ว ไม่ว่าจากซอฮาบะหรืออุลามะท่านใด ถือว่าไม่ยอมรับมัน

----แต่เวลาจะทำการฮูกมฝ่ายตรงข้ามหรือนำหลักฐานมาหักล้างแล้ว เขาก็จะหาหลักฐานที่ไม่ใช่คำพูดหรือแบบอย่างจากท่านบี มาจนได้ อย่างไงฉันก็เอามันและต้องยกมาให้เห็นเพื่อให้ได้ชื่อว่าฉันนั้นจะไม่ยอมศิโรราบในทัศนะฝ่ายตรงข้ามอย่างง่ายๆหรืออีกนัยยะหนึ่งว่า
----ความรู้ของเอ็งนั้น ฉันไม่รับต่อให้เจ๋งแค่ไหน อย่างนี้แหละหน้าทีโบราณเขาว่า
ปากว่าตาขยิบ มือถือสากปากถือศีล ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุนฮ้าๆๆ

เชิญร้องอัลฟารุก และเพื่อนนักศึกษาจากอิยิปต์เข้ามาเสวนาต่อครับ...

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
عَنْ ‏ ‏جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْبَجَلِيِّ ‏ ‏قَالَ ‏
‏كُنَّا نَعُدُّ ‏ ‏الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ ‏ ‏النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)
จากญะรีร บินอับดุลลอฮ อัล-บะญะลี กล่าวว่า “ พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเหียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167

قوله‏whistling#8207; ‏(‏كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت‏)‏ الخ يعني أنهم كانوا يعدون الاجتماع عند أهل الميت بعد دفنه وأكل الطعام عندهم نوعًا من النياحة لما في ذلك من التثقيل عليهم وشغلتهم مع ما هم فيه من شغلة الخاطر بموت الميت وما فيه من مخالفة السنة لأنهم مأمورون بأن يصنعوا لأهل الميت طعامًا فخالفوا ذلك وكلفوهم صنعة الطعام لغيرهم‏

คำพูดของเขา(อิบนุญะรีร)ที่ว่า (พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตาย –จนจบ) หมายความว่า “แท้จริงพวกเขา(เหล่าสาวก)นับว่า การชุมนุมกัน ที่ครอบครัวผู้ตาย หลังจากฝังมัยยิต และรับประทานอาหารกัน ณ. ที่พวกเขา นั้น เป็นชนิดหนึ่งของ อัลนิยาหะอ(ที่ต้องห้าม) เพราะว่า ในเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างความยุ่งยาก แก่พวกเขา และทำให้เกิดภาระต่อพวกเขา ทั้งที่พวกเขา ได้รับความทุกข์โศกกับการตายของมัยยิต และ ในมัน(การกระทำนั้น) เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ เพราะว่าพวกเขา ถูกใช้ให้ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย แล้วพวกเขามาปฏิบัติสวนทางกับเรื่องดังกล่าว และพวกเขากลับมาสร้างภาระให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ทำอาหารให้แก่ผู้อื่น – ดูนัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 110
……………
แก้ไข
قال الإمام الشافعي في ( الأم ) ( 1/247 ) : ( وأحب لجيران الميت أو ذي القرابة أن يعملوا لأهل الميت في يوم يموت وليلته طعاما يشبعهم فإن ذلك سنة وذكر كريم وهو من فعل أهل الخير قبلنا وبعدنا )
อิหม่ามชาฟิอี กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 347 ว่า และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือ ญาติใกล้ชิด ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ในวันที่เขาตายและในคืนนั้น ให้พวกเขากินให้อิ่ม แท้จริงดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ เป็นการระลึกถึง ที่มีเกียรติ และมันเป็นการกระทำของคนที่ดี สมัยก่อนพวกเราและหลังจากพวกเรา.
.............
อินชาอัลลอฮ มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 10:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจาก คุณ ทรูช

แต่ถ้ามานั่งรวมกันเป็นกลุ่มและอ่านอัลกุรอานต้นใดต้นหนึ่งเป็นการเฉพาะและมีพิธีกรรมอื่นๆทางศาสนาเข้ามาผนวกด้วย โดยกระทำกันเป็นการเฉพาะหรือเป็นกิจลักษณะ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยไม่มีรูปแบบการกระทำจากท่านนบีและซอฮาบะฮฺ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺแน่นอน

ตอบ

พิธีกรรมที่ว่าเนี่ย คือ การอ่านอายะฮ์อัลกุรอาน การซิกรุลเลาะฮ์ ที่เป็นกิจลักษณะคือมีระเบียบเรียบร้อย และเราก็มานั่นรวมกันเป็นกลุ่มหรือนั่งล้อมกันเป็นวง คุณทรูชบอกว่า เป็นบิดอะฮ์ คือ ได้บาปกลับไป ว่างั้นเถอะครับ แต่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล) กล่าวว่า

وعن عبد الله بن عمرو قال‏whistling#8207; قلت‏whistling#8207; يا رسول الله ما غنمية مجالس الذكر‏؟‏ قال‏whistling#8207;
‏"‏غنيمة مجالس الذكر الجنة الجنة‏
رواه أحمد والطبراني وإسناد أحمد حسن‏

" รายงานจาก ท่านอับดุลลาห์ บิน อัมร์ เขากล่าวว่า ฉันกล่าวว่า โอ้ร่อซูลลัลลอฮ์ อะไรหรือส่วนที่ได้รับจาก บรรดาสถานที่นั่งที่มีการซิกิรครับ ? ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า "ส่วนที่ได้รับจากบรรดาสถานที่นั่งที่มีการซิกิรนั้น คือ สวรรค์ สวรรค์ " รายงานโดย ท่านอะหมัด และ ท่านฏ๊อบรอนีย์ และสายรายงานของ ท่านอะหฺมัดนั้น หะซัน ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 10 หน้า 77 หะดิษที่ 16773

หะดิษนี้ ชี้ให้เห็นว่า ผู้นั่งรวมตัวกันแล้วทำการซิกรุลเลาะฮ์ นั้น ได้รับสวรรค์ ได้รับสวรรค์ คือ ญันนะฮ์ ญันนะฮ์ แต่วะฮาบีย์ และคุณ ทรูช บอกว่า บิดอะฮ์ บิดอะฮ์ ตกนรก ตกนรก !!!

وعن أبي هريرة قال‏whistling#8207; قال رسول الله صلى الله عليه وسلم‏whistling#8207;
‏"‏من صلى علي مرة واحدة كتب الله عز وجل له بها عشر حسنات‏"‏‏.‏
رواهما أحمد ورجالهما رجال الصحيح غير ربعي بن إبراهيم وهو ثقة مأمون‏

" จาก อบี ฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า ท่านร่อซูลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า " ผู้ใดที่ทำการซ่อละวาต กับฉัน ครั้งเดียว อัลเลาะฮ์จะบันทึก ให้กับเขา ด้วยกับการซ่อลาวาตนั้น 10 ความดี" รายงานอะหฺมัด และท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ และบรรดานักรายงานของทั้งสองนั้น ซอเฮี๊ยะหฺ นอกจาก ร๊อบอีย์ บิน อิบรอฮีม ซึ่งเขานั้น เชื่อถือได้ อีกทั้งได้รับการไว้ใจ " ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 10 หน้า 160 หะดิษที่ 17282

وعن أنس عن النبي صلى الله عليه وسلم قال‏whistling#8207;
‏"‏إن لله سيارة من الملائكة يطلبون حلق الذكر، فإذا أتوا عليهم وحفوا بهم، ثم بعثوا رائدهم إلى السماء إلى رب العزة تبارك وتعالى فيقولون‏whistling#8207; ربنا أتينا على عباد من عبادك يعظمون آلاءك، ويتلون كتابك، ويصلون على نبيك محمد صلى الله عليه وسلم، ويسألونك لآخرتهم ودنياهم، فيقول تبارك وتعالى‏whistling#8207; غشوهم رحمتي، فيقولون‏whistling#8207; يا رب إن فيهم فلاناً الخطاء إنما اعتنقهم اعتناقاً‏!‏ فيقول تبارك وتعالى‏whistling#8207; غشوهم رحمتي فهم الجلساء لا يشقى بهم جليسهم " .... إسناده حسن‏

‏รายงานจาก ท่านอะนัส จากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า " แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรง บรรดามะลาอิกะฮ์ที่เดินทาง เพื่อแสวงหา บรรดาวงที่ล้อมกันทำซิกิร ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้มา ที่บรรดาผู้ล้อมวงทำซิกิร มะลาอิกะฮ์ก็ทำการห้อมล้อมพวกเขา หลังจากนั้น พวกเขาก็ส่งหัวหน้าของมะลาอิกะฮ์ไปยังฟากฟ้า โดยที่ไปยังพระผู้อภิบาลทางเกียตริ แล้วพวกเขาก็กล่าว โอ้องค์ผู้อภิบาลของเรา เราได้ไปหาบรรดาบ่าว จากปวงบ่าวของพระองค์ ซึ่งพวกเขาได้ทำการกล่าวบรรดาเนี๊ยะมัตต่างๆของพระองค์ พวกเขาทำการอ่าน(อายะฮ์อัลกุรอาน)คำภีร์ของพระองค์ และพวกเขาทำการซ่อลาวาต ต่อ มุฮัมมัด(ซ๊อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ศาสนทูตของพระองค์ และพวกเขาได้ทำการขอต่อพระองค์ เกี่ยวกับเรื่องอาคิเราะฮ์และดุนยาของพวกเขา ดังนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า ความเมตตาของฉันได้ แผ่คลุมกับพวกเขาแล้ว แล้วมะลาอิกะฮ์กล่าวว่า โอ้องค์อภิบาลของเรา แท้จริง ในบรรดาผู้ทำการล้อมวงซิกิรนั้น มีชายคนหนึ่งที่มีบาป โดยที่แท้จริง เขาได้ร่วมอยู่พร้อมกับพวกเขา และอัลเลาะฮ์ทรงตรัส ว่า ความเมตตาของฉันได้แผ่คลุมพวกเขาแล้ว เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ทำการนั่ง(ซิกรุลเลาะฮ์) โดยที่ผู้นั่งร่วมด้วยกับพวกเขานั้น จะไม่อับโชค " สายรายงานหะดิษนี้ หะซัน ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 10 หน้า 77 หะดิษที่ 16769

แต่วะฮาบีย์บอกว่า เฮ้ย.. พวกที่นั่งล้องวง แล้วทำการซิกิร แล้วอ่าน อายะฮ์อัลกุรอาน ซ่อลาวาตนบี นั้น บิดอะฮ์ ลุ่มหลง อับโชค ตกนรก!!! แฮ่ะ แฮ่ะ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 10:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังอะสันครับ แหม.... บังอะสันก็ต้องเหนื่อยอีกตามเคยนะครับ ผมได้อ่านสิ่งที่บังอัล-ฟารูกนำเสนอมานั้น มันชัดเจนแล้วครับ แต่ผมทราบว่า บังอัล-ฟารูก ได้นำเสนอทั้งในเวป มรดกฯ และเวป www.miftahcairo.com หรือดูได้ที่ http://www.miftahcairo.com/webboard.php?option=answers&qNo=161 เมื่อผมอ่านดูแล้ว บัง-อัลฟารูก ลืมโพสท์ไว้ที่เวปมรดกฯ อยู่ หนึ่งตอน ฮ่า ฮ่า สงสัยบังอัล-ฟารูก คงรีบโพสท์เนื่องจากเวลาไม่ค่อยมี เลยลืมโพสท์ส่วนสำคัญไป และผมก็ขอนำหยิบยกสิ่งที่บังอัล-ฟารูก ลืมนำเสนอ มาให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจ ดังนี้ครับ



การทำบุญเลี้ยงอาหารบ้านครอบครัวผู้ตาย

กรณีทำบุญบ้านคนตายนั้น เป็นประเด็นที่สร้างความกระด้างกระเดื่องในบรรดพี่น้องมุสลิมด้วยกัน อันเนื่องจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันและไม่มีความเข้าใจกันนั่นเอง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เราน่าจะมาสร้างความเข้าใจกันและกันในหมู่พี่น้องมุสลิม และพยายามชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว

ท่านอิมามอะหฺมัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้รายงาน ด้วยสายสืบที่ซอฮิหฺ จากท่าน ญะรีร บิน อับดุลและฮ์ เขากล่าวว่า

كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام من النياحة

" เราถือว่า การรวมตัวกัน ยัง(บ้าน)ครอบครัวของผู้ตาย และการที่พวกเขาทำอาหารนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการ คร่ำครวญถึงผู้ตาย"

ดังกล่าวนี้ บรรดาอุลามาอ์หะนะฟีย์กล่าวว่า เป็นการมักโระฮ์ กับการทำอาหารในวันที่หนึ่ง สอง และสาม และหลังจากหนึ่งสัปดาห์" ดู หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน เล่ม 2 หน้า 240

ท่านอิมาม อัตติรมีซีย์ ท่านอัล-หากิม และอื่นจากทั้งสอง รายงานว่า แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

اصنعوا لأل جعفر طعاماً فقد جاءهم ما يشغلهم

"พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะฟัร เพราะแท้จริง ได้มีสิ่งที่ทำให้พวกเขายุ่งอยู่"
หะดิษนี้ ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะซัน และท่านฮากิมกล่าวว่า หะดิษนี้ ซอฮิหฺ

บรรดาปวงปราชญ์กล่าวว่า สุนัตให้เพื่อนบ้านเรือนเคียงหรือบรรดาญาติห่างๆ ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิด โดยทำให้พวกเขาอิ่มในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และนี่ก็คือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมากและเป็นแนวทางของมัซฮับทั้งสี่

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า" ฉันรัก ที่จะให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือบรรดญาติของผู้ตาย ทำอาหารให้กับครอบมัยยิด ในวันที่เขาได้เสียชีวิต และอีกหนึ่งคืนของมัน โดยที่ทำให้พวกเขาอิ่ม เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นซุนนะฮ์ และมีการระลึกที่มีเกียตริ โดยที่มันเป็นการกระทำของผู้ที่เป็นคนดีก่อนจากเราและหลังจากเรา" ดู หนังสือ อัล-อุมมฺ เล่ม 1 หน้า 247

วิจารณ์

การทำอาหารให้แก่ครอบครัวของมัยยิดนั้น เป็นสุนัต ไม่ใช่ เป็นวายิบ ดังนั้น การที่เราไม่ทำอาหารให้พวกเขานั้น ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์หรือกระทำบาป แต่ถือว่าเป็นมักโระฮ์ คือกระทำแล้วได้ผลบุญ หากไม่กระทำก็ไม่ได้รับโทษอะไร เนื่องจากสิ่งที่วายิบ(แบบฟัรดูกิยาฟะฮ์)ต่อบรรดาพี่น้องมุสลิมนั้น ก็คือการจัดการเกี่ยวกับมัยยิด คือการอาบน้ำศพ ห่อ ละหมาด และฝัง และการที่ศาสนาให้บรรดาพี่น้องมุสลิมทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิดในหนึ่งวันและหนึ่งคืนนั้น เนื่องจากพวกเขากำลังโศกเศร้ากอปรกับมีภาระยุ่งอยู่กับการจัดการมัยยิด


ข้อเสนอแนะ

แต่ระบบของบ้านสังคมบ้านเรานั้น ถือว่าดี การให้ทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดและให้พวกเขารับประทานจนอิ่มนั้น เป็นเรื่องที่บรรดาพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราทำกันอยู่แล้ว และยิ่งไปกล่าวนั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมก็จะช่วยกันทำอาหารและทำบุญให้กับครอบครัวของมัยยิด โดยที่การพวกเขาจะทำการบริจาคเงินในขณะที่ไปเยี่ยมมัยยิด และมีระบบการช่วยเหลือที่ดี ปัจจุบันนี้ แม้กระทั้งหมู่บ้านกระผมเอง ก็มีระบบการช่วยเหลือที่ดี คือจะมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก เพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยผู้อิมามมัสยิด หรือผู้นำในท้องถิ่น ได้ตั้งกรรมการและทำการนำเสนอโครงการร่วมเป็นสมาชิกโดยสมัครใจเพื่อการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยมีการตกลงร่วมกันว่า หากมีพี่น้องมุสลิมใดเสียชีวิต พวกเราจะทำการช่วยเหลือกันในวงเงินอย่างต่ำ เท่านั้น เท่านี้ แล้วแต่สมาชิกในหมู่บ้านจะตกลงกัน เช่น อย่างต่ำ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต กรรมการก็จะทำการเก็บเงินของสมาชิกที่ได้ถูกระบุชื่อที่ตกลงกันไว้ หากมีสมาชิก 100 คน เมื่อมีพี่น้องเสียชีวิต ครอบครัวผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 5000 บาท และหากมีสมาชิก 200 คน ครอบผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 10000 บาท ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่เป็นการเป็นการริเริ่มและช่วยเหลือกันการในการทำความดี

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

ดังนั้น จำนวนเงินดังกล่าวที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือกับครอบมัยยิดนั้น ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ครอบมัยยิดจะทำการเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย โดยบรรดาพี่น้องมุสลิม มาช่วยกันทำอาหารที่บ้านครอบครัวมัยยิดและทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิดด้วย และดังกล่าวก็ย่อมเป็นการปลอมใจโดยอยู่เป็นเพื่อนให้คลายเหงาและคลายโศรกเศร้าแก่ครอบครัวมัยยิด เราจะทำบุญเลี้ยงอาหารกี่วันก็ได้ แล้วแต่สะดวก หนึ่งวัน สองวัน หรือสามวันก็ดี หากทำบุญ 7 วันก็ยิ่งดี นั่นสำหรับผู้ที่มีความสามารถ สำหรับครอบครัวที่ไม่มีความสามารถและไม่มีระบบที่ดีจากการช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิม ก็ไม่สมควรหรือกระเสือกกระสนไปทำบุญ บางท่านกลับยืมเงินผู้อ่านมาทำบุญ(อาจจะมีแต่ผมไม่เคยได้ยิน) ซึ่งกรณีแบบนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่น่าตำหนิเป็นอย่างยิ่ง อาจจะถึงขั้นหะรอม - วัลลอฮุอะลัม และการจำกัดวันทำบุญ 40 วัน หรือ 100 วันนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ ไม่มีหลักการของศาสนา - วัลลอฮุอะลัม และถ้าหากทายาทผู้ตาย มีความพร้อมและตกลงกันในการทำบุญเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่มัยยิด ก็อนุญาติให้กระทำได้ตามโอกาสและความสะดวก และทำได้ทุกเวลา แม้จะเป็นการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหารแค่ 2 - 3 คน ก็ให้กระทำได้ และผู้ตายก็ได้รับผลบุญนั้นด้วย และหากว่ามัยยิดของทายาทเป็นบิดามารดาแล้ว ก็จะได้รับผลบุญโดยตรงไม่ว่าจะทำมากทำน้อยและไม่ว่าจะเวลาใด - วัลลอฮุอะลัม

หากครอบครัวหรือทายาทผู้ตาย มีทรัพย์สินมากพอและมีมติในทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ว่าให้ทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อซอดาเกาะฮ์แต่ผู้ตายนั้น ก็อนุญาติให้กระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอาหารแบบข้าวสาร หรือทำการปรุงอาหารเลี้ยงพี่น้องมุสลิม ก็ถือให้กระทำได้ หากมีทายาทบางคนไม่ยินยอมในการเอาทรัพย์สินมาทำบุญเลี้ยงอาหาร ก็อนุญาติให้ทายาทที่ต้องการจะทำบุญเลี้ยงอาหารนั้น เอามรดกส่วนที่เขาได้รับมาทำบุญเลี้ยงอาหาร ผู้อ่านโปรดเข้าใจว่า มรดกหรือทรัพย์สินที่ผู้ตายทิ้งไว้ให้ทายาทนั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ตาย การนำทรัพย์สินมาใช้ ก็ต้องได้รับการยินยอมจากทายาท แต่มีบางคนพูดอย่างผิดๆว่า "มันเป็นมรดกของคนตาย" หากทำกินบุญก็เท่ากับกินมรดกของคนตาย!!! ซึ่งคำพูดแบบนี้ ถือว่าผิดและไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา เนื่องจากผู้ตายนั้นไม่มีทรัพย์สินใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแล้ว แต่มันเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท

หลักฐานที่อนุญาตทำบุญเลี้ยงอาหาร

1- ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวไว้รายงาน จากท่าน อะหฺมัด บิน มะนีอฺ ซึ่งเขาได้กล่าวรายงานไว้ใน มุสนัดของเขาว่า

عن الأحنف بن قيس قال : كنت أسمع عمر يقول : لا يدخل أحد من قريش فى باب إلا دخل معه ناس ، فلا أدرى ما تأويل قوله حتى طعن عمر فأمر صهيبا أن يصلى بالناس ثلاثا ، وأمر أن يجعل للناس طعاما فلما رجعوا من الجنازة جاءوا وقد وضعت الموائد ، فأسك الناس عنها للحزن الذى هم فيه فجاء العباس بن عبد المطلب ، فقال : ياأيها الناس قد مات...الحديث

" รายงานจากอะหฺนัฟ บิน กัยซฺ เขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอุมัรกล่าวว่า "คนหนึ่งจากกุร๊อยช์ จะไม่เข้าในประตูหนึ่ง นอกจากว่า ต้องมีผู้คนเข้ามาพร้อมกับเขาด้วย" ดังนั้น ฉันจึงไม่รู้ถึงการตีความคำพูดของท่านอุมัร จนกระทั้ง ท่านอุมัรได้ถูกลอบแทง แล้วท่านอุมัรจึงใช้ให้ ท่านซุฮัยบ์ ทำการนำละหมาด(ญะนาซะฮ์)สามรอบด้วยกัน และท่านอุมัรก็ใช้ให้เขาทำอาหารให้แก่บรรดาผู้คน ดังนั้น ในขณะที่ผู้คนได้กลับมาจาก(ฝัง)ญะนะซะฮ์ พวกเขาก็กลับมา โดยมีบรรดสำหรับอาหารวางอยู่แล้ว แต่บรรดาผู้ตนก็งดที่จะรับประทานนั้น อันเนื่องจากความโศรกเศร้าที่พวกเขาเป็นอยู่ ดังนั้นท่าน อัลอับบาส บิน อบูฏอลิบ ก็มา แล้วกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้เสียชีวิตไปแล้ว....." สายรายงาน "หะซัน" ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 198 หะดิษที่ 709

ท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ หะบีบ อัร-เราะหฺมาน อัล-อะซ่อมีย์ กล่าว วิจารณ์ว่า หะดิษนี้ สายรายงาน หะซัน (ดี) ท่านอัลบูซิรีย์ กล่าวว่า ในสายรายงานนี้ มี อลี บิน ซัยด์ บิน ญัดอาน และที่สมบูรณ์ของหะดิษนั้น คือ.... ท่าน อัลอับบาส บิน อบีฏอลิบกล่าวว่า

فقال يا أيها الناس قد مات رسول الله عليه وسلم فأكلنا بعده وشربنا ومات أبو بكر فأكلنا بعده وشربنا أيها الناس كلوا من هذا الطعام فمد يده ومد الناس أيديهم فأكلوا فعرفت تأويل قوله ) كذا فى الإتحاف

" ดังนั้น ท่านอัล-อับบาส บิน อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว แล้วเราก็ทำการรับประทานและดื่มหลังจากนั้น และท่านอบูบักร ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว และเราก็ทำการรับประทานและดื่มหลักจากนั้น โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย พวกท่านจงรับประทานจากอาหารนี้เถิด ดังนั้น ท่านอับบาสก็ยื่นมือของท่าน และบรรดาผู้คนที่ยื่นมือของพวกเขา แล้วก็พวกเขาก็ทำการรับประทาน ดังนั้น ฉัน (คือ อัลอะหฺนัฟ บิน ก๊อยซฺ) จึงรู้การตีความคำพูดของท่านอุมัร" และได้รายงานเช่นเดียวกันนี้ อยู่ในหนังสือ อัลอิตหาฟ " ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 198 - 199

2- ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199
ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า " ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ว่าบรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ ได้มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือถูกบอกให้ทราบต่อท่านนบี(ซ.ล.)

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ผคือท่านฏอวูส) อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ ถึงถูกกล่าวว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวเช่นเดียวกับคำนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์... " ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31

ท่านผู้อ่านครับ จากรายละเอียดที่ผมได้นำเสนอมานั้น ก็ทำให้รู้ถึงความสำคัญของญาติพี่น้องของเรา ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต ก็ให้เราให้การช่วยเหลือ โดยการทำอาหารให้กับครอบมัยยิดเป็นอันดับแรก และหากจะทำการช่วยเหลือครอบมัยยิดมากกว่านั้น โดยมีระบบแบบแผนที่ดีในการร่วมมือกันช่วยเหลือตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น ก็จะเป็นการดียิ่งสำหรับผู้ที่สมัครใจครับ พี่น้องวะฮาบีย์ครับ ปัญหาข้อปลีกย่อยเหล่านี้ สมควรที่จะมีความใจกว้าง หากต่างฝ่ายก็มีหลักฐานที่ตนกระทำ การตะอัศศุบในทัศนะของตนและหุกุ่มผู้ที่ไม่ได้อยู่ในทัศนะของตนนั้น ย่อมเป็นการละเมิดในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับของสะลัฟ และเราก็ช่วยกันตักเตือนผู้ที่กระทำสิ่งที่ผิดหลักการครับ วัลลอฮุอะลัม

والسلام

الفاروق الشافعى

غفر الله له ولنا ولوالدينا

أمـــــــــــــــــــــــــــين


(ถ่ายทอดเพิ่มเติม สิ่งที่บังอัล-ฟารูกลืมโพสท์ โดย อัล-อัซฮะรีย์)

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อเราได้อ่าน ข้อเขียนของ บังอัล-ฟารูก ทั้งหมดมานั้น เราจะพบว่า การเขียนนำเสนอของบังอัล-ฟารูก เป็นกลาง ทำให้พี่น้องมุสลิมที่ต่างทัศนะมีความเข้าใจกันมากขึ้น นำเสนอแบบตรงไปตรงมา ให้แง่คิด และมีการเสนอแนะหรือแนะนำที่ดี ที่บางพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตายที่ดี ก็น่าจะเอาไปปฏิบัติ แต่ผมคิดว่าบางพื้นที่อาจจะมีแล้ว

แต่การนำเสนอของบังอะสัน ก็พอใช้ครับ แต่บังอะสันชอบมองอะไรด้านเดียว มองหลักฐานเพียงด้านเดียว และไม่ชอบทำความเข้าใจคำพูดของคนอื่นหรือผู้ที่อยู่ทัศนะอื่นสักเท่าไหร่ นี่คือข้อบกพร่องในการสนทนาในเชิงวิชาการ หรือสนทนาเพื่อไปสู่ความจริง

บังอะสันต้องเข้าใจว่า หลักฐานต่างๆเราบังอัล-ฟารูกนำเสนอมานั้น มันมีทั้งอนุญาติให้กระทำการเลี้ยงอาหาร และมีหลักฐานที่บอกให้ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ในวันหนึ่ง กับ คืนหนึ่ง เท่านั้น และจากการนำเสนอของบังอัลฟารูก เราจะพบว่า การเลี้ยงอาหารในวันแรกนั้น คือ บรรดาผู้น้องมุสลิมครับ ที่ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย และบรรดาพี่น้องมุสลิมก็ช่วยกันบริจาค ช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย ทั้งนั้น

และหากเราได้พิจารณาหลักฐานทั้งสองด้านและสองแง่มุม เราจะเห็นว่า บังอัล-ฟารูก ได้รวมหลักฐานทั้งหมด ได้อย่างดีเลยทีเดียว คือสามารถปฏิบัติหลักฐานต่างๆได้ทั้งหมด คือ บรรดาพี่น้องมุสลิม ทำการช่วยเหลือครอบครัวมัยยิด และทำอาหารให้กับพวกเขาในหนึ่งวันและหนึ่งคืน และเงินที่พี่น้องมุสลิมช่วยเหลือนั้น ก็นำมาทำบุญเลี้ยงอาหาร โดยใช้อีกหลักฐานหนึ่ง ดังนั้น การอ้างว่า การที่บ้านเราทำบุญคนตายนั้น หมายถึง ครอบครัวกระทำอย่างเดียวนั้น ถือว่าเป็นคำพูดที่ผิด พูดไปเพื่อจะกล่าวหาผู้ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายตนว่า "ทำบิดอะฮ์" เท่านั้นเอง บังอะสันครับ หลักฐานก็คือหลักฐานนะครับ ความจริง ก็คือ ความจริงครับ บังอะสันจะนำเสนอเอียงซ้าย เอียงขวา ก็ตามสบายครับ แต่บังอัล-ฟารูก ได้นำเสนอแบบเป็นกลางให้ทำให้พี่น้องมุสลิมรักกันและเข้าใจกันครับ

อ่อ... ผมมีหลักฐานเรื่องลูบหน้า หรือลูบศรีษะ หลังละหมาด เมื่อให้สลามเสร็จแล้ว ด้วยครับ

وعن أنس بن مالك أن النبي صلى الله عليه وسلم كان إذا صلى وفرغ من صلاته مسح بيمينه على رأسه وقال‏whistling#8207;
‏"‏بسم الله الذي لا إله إلا هو الرحمن الرحيم، اللهم أذهب عني الهم والحزن
وفي رواية‏whistling#8207; مسح جبهته بيده اليمنى وقال فيها‏whistling#8207; ‏"‏اللهم أذهب عني الهم والحزن‏"‏‏.‏
رواه الطبراني في الأوسط والبزار بنحوه بأسانيد، وفيه زيد العمى وقد وثقه غير واحد وضعفه الجمهور، وبقية رجال أحد إسنادي الطبراني ثقات وفي بعضهم خلاف‏

‏รายงานจาก ท่านอะนัส บิน มาลิก ว่า "แท้จริง ท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านได้ทำการละหมาด และเมื่อเสร็จจากละหมาดนั้น ท่านได้เอามือขวาลูบที่ศรีษะของท่าน และกล่าวว่า "ด้วยพระนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ซึ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงเมตตาปราณี โอ้ผู้อภิบาลของฉัน โปรดจงให้ความความโศกและความเศร้าหายไปจากฉันด้วยเถิด"

มีอีกรายงานหนึ่ง กล่าวว่า " ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ลูบหน้าผากของท่านด้วยมือขวา และกล่าวว่า ว่า "ด้วยพระนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ซึ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงเมตตาปราณี โอ้ผู้อภิบาลของฉัน โปรดจงให้ความความโศกและความเศร้าหายไปจากฉันด้วยเถิด"
รายงานโดยท่าน อัฏฏ๊อบรอนีย์ ไว้ใน (มั๊วะญัม) อัลเอาซัฏ และท่าน อัลบัซซาร ก็ได้รายงานเหมือนกันนี้ ด้วยหลายสายรายงาน และในสายรายงานนั้น มี ท่านซัยดฺ อัล-อัมมีย์ ซึ่งเขานั้น มีนักหะดิษไม่ใช่คนเดียวเลย ที่ให้การเชื่อถือ ثقة กับเขา และส่วนมากกล่าวว่า เขานั้นฏออีฟ และนักรายงานที่เหลือทั้งสองสายรายงานของท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์นั้น ต่างเชื่อถือได้ และในบางส่วนก็มีการขัดแย้งกัน " ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 10 หน้า 110 หะดิษที่ 16971 และ 16972

จากหะดิษที่กล่าวมานี้ มีสายรายงานที่ ฏออีฟ ถึงขั้นหะซัน เพื่อมีนักรายงานที่ เชื่อถือได้ แต่ฏออีฟ และไม่ถูกกล่าวหาว่าโกหกแต่อย่างใด และการนำหลักฐานฏออีฟ มาใช้ในเรื่อง คุณงามความดีนั้น ก็เป็นทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ทั้งสะลัฟ และ คอลัฟ ดังนั้น จุดยืนที่เราเลือกนี้ ไม่ใช่เป็นการทำบิดอะฮ์ จนกระทั้งอาจจะกล่าว จุดยืนที่บิดอะฮ์ของสะลัฟโดยทางอ้อม (วัลอิยาซุบิลลาห์) เมื่อเป็นเช่นนี้ การกล่าวบิดอะอ์กับผู้ที่อยู่ทัศนะต่างกันตน โดยที่พวกเขาก็มีหลักฐานและมีจุดยืนที่ต่างกันนั้น ย่อมเป็นการล่วงละเมิด ที่ไม่ใช่เป็นแบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง al-azhary กล่าวว่า

บังอะสันครับ แหม.... บังอะสันก็ต้องเหนื่อยอีกตามเคยนะครับ ผมได้อ่านสิ่งที่บังอัล-ฟารูกนำเสนอมานั้น มันชัดเจนแล้วครับ
...........
ตอบ

ถ้าคิดว่า เป็นการต่อสู้กัน ขอร้องเถอะน้อง ที่ผ่านมา ก็รู้สึกผิดหวัง แต่เรียกคืนไม่ได้ คือ ทะเลาะกัน ดูถูกกัน เยาะเย้ยกัน และอวดว่าฉัน รู้ดีกว่าคุณ ทั้งๆที่สนทนาเรื่อง ศาสนาโดยแท้ ขอให้พอเถอะครับ บังมาครั้งนี้ เพื่อนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้พิจารณาเท่านั้น อย่าหัวเราะเลยครับ
น้อง al-azhary กล่าวว่า
การทำอาหารให้แก่ครอบครัวของมัยยิดนั้น เป็นสุนัต ไม่ใช่ เป็นวายิบ ดังนั้น การที่เราไม่ทำอาหารให้พวกเขานั้น ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์หรือกระทำบาป แต่ถือว่าเป็นมักโระฮ์ คือกระทำแล้วได้ผลบุญ หากไม่กระทำก็ไม่ได้รับโทษอะไร
.................
ที่บังแปลกใจอยู่คำว่า "ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์หรือกระทำบาป แต่ถือว่าเป็นมักโระฮ์ คือกระทำแล้วได้ผลบุญ" บังงง เพราะสิ่งที่เป็นมักรูฮ ทำแล้วได้บุญด้วยหรือ
ทำไมไม่มามาส่งเสริมในสิ่งที่ท่านนบีสอนไว้คือ เมื่อทราบข่าวการตายของยะอฟัร ท่านก็บอกเหล่าสาวกว่า

( اصنعوا لأهل جعفر طعاماً فإنه قد جاءهم ما يشغلهم )
พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของยะอฟัร แท้จริง สิ่งที่ทำให้พวกเขาสาละวนได้ประสบกับพวกเขา (หมายถึงประสบกับความทุกข์ ความโศกเศร้า)
رواه أبو داود ( 3132 ) والترمذي ( 998 ) وابن ماجه ( 1610 ) وحسنه الألباني في صحيح أبي داو

และท่านอิหม่ามชาฟิอีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ก็ส่งเสริมให้ทำตามสุนนะฮข้างต้น
قال الإمام الشافعي في ( الأم ) ( 1/247 ) : ( وأحب لجيران الميت أو ذي القرابة أن يعملوا لأهل الميت في يوم يموت وليلته طعاما يشبعهم فإن ذلك سنة وذكر كريم وهو من فعل أهل الخير قبلنا وبعدنا )
อิหม่ามชาฟิอี กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 347 ว่า และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือ ญาติใกล้ชิด ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ในวันที่เขาตายและในคืนนั้น ให้พวกเขากินให้อิ่ม แท้จริงดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ เป็นการระลึกถึง ที่มีเกียรติ และมันเป็นการกระทำของคนที่ดี สมัยก่อนพวกเราและหลังจากพวกเรา
.............
นี่ไม่ใช่จะเอาชนะนะครับ แต่สังคมบ้าน กลับมองว่า เมื่อมีการตาย ครอบครัวผู้ตายต้องทำนูหรี(ศัพท์ทางใต้ หมายถึงทำบุญ) ใครไม่ทำ ก็จะถูกสังคมรังเกียจ และบางครอบครัวที่ลำบาก ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินเพือการนี้ นี้ไม่ใช่พูดให้ร้าย แต่มันมีจริงในสังคม ขอให้พิจารณาด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

นี่ไม่ใช่จะเอาชนะนะครับ แต่สังคมบ้าน กลับมองว่า เมื่อมีการตาย ครอบครัวผู้ตายต้องทำนูหรี(ศัพท์ทางใต้ หมายถึงทำบุญ) ใครไม่ทำ ก็จะถูกสังคมรังเกียจ และบางครอบครัวที่ลำบาก ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินเพือการนี้ นี้ไม่ใช่พูดให้ร้าย แต่มันมีจริงในสังคม ขอให้พิจารณาด้วย

ตอบ

บังอัลฟารูกได้ชี้แจงแบบตรงไปตรงมาแล้วครับว่า

"สำหรับครอบครัวที่ไม่มีความสามารถและไม่มีระบบที่ดีจากการช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิม ก็ไม่สมควรหรือกระเสือกกระสนไปทำบุญ บางท่านกลับยืมเงินผู้อ่านมาทำบุญ(อาจจะมีแต่ผมไม่เคยได้ยิน) ซึ่งกรณีแบบนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่น่าตำหนิเป็นอย่างยิ่ง อาจจะถึงขั้นหะรอม - วัลลอฮุอะลัม"

นั่นคือการนำเสนอในเชิงวิชาการที่ตรงไปตรงมาครับ และการที่มีบางคนได้ทำการยืมเงินเป็นหนี้เป็นสินนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้ไปปฏิเสธกับต้นตอหรือตัวของหลักฐานเดิม ในการอนุญาติให้ทำบุญเลี้ยงอาหาร แต่การกระทำที่ผิดๆ ที่คนบ้านเราทำต่างหาก ที่เราต้องช่วยกันตักเตือนและสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่เหมารวมหมดว่า หากไปยืมเงินมาทำบุญแล้ว ก็ถือว่า คนอื่นๆที่ทำบุญเลี้ยงอาหารต้องบิดอะฮ์ทำผิดไปด้วยนั้น มันพูดไม่ถูกต้องครับ คือเราต้องแยกประเด็นให้ได้นะครับบังอะสัน เพื่อเราจะได้เข้าใจกัน และสนทนากันอย่างเชิงวิชาการครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
น้อง al-azhary อยู่เมืองไทยมิใช่หรือ รู้ไหมว่า เงินที่ชาวบ้านบริจาคช่วยเหลือ ครอบครัวผู้ตายนั้น ส่วนหนึ่ง เอาไปแจกให้แก่ผู้มาทำการละหมาดญะนาซะฮ และอีกส่วนหนึ่ง เอาไว้เป็นค่าอาหารสำหรับทำบุญ และบางครั้งต้องกู้หากไม่พอ และบางครั้ง ก็ล้มวัว ของครอบครัวนั้น แล้วลูกกำพร้าเล็กๆ เขารับรู้เรื่องนี้หรือเปล่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น หากกินทรัพย์สินเด็กกำพร้า
ที่พูดมานี้ อยากจะบอกว่า ไม่ควรจะมาส่งเสริมประเพณีแบบนี้ ตามที่ได้อ่านจากหนังฟิกฮที่เป็นภาษาญาวีย ที่เรียนปอเนาะสมัยก่อน เช่น พุรูอมะสาอีล สะบีลุ้ลมุฮตะดีย์ เขาก็บอก ห้ามเอาไว้ ว่างลองอ่านดู บังงงมากเลย นึกไม่ถึงว่าน้องๆแห่งไคโรสนับสนุนเรื่องนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปัญหาเหล่านั้น ผมก็ไม่เคยได้ยินเท่าไหร่ครับ การเอาเงินไปซอดาเกาะฮ์ให้แก่ผู้ที่ทำละหมาดญะนาซะฮ์นั้น กระทำได้ครับ เนื่องจากมันเป็ฯการซอดาเกาะฮ์ และผู้ตายก็จะได้รับโดยตรง ซึ่งดีกว่าไปแจกเนื้อกุรบานให้กับพวกกาเฟร(ตามทัศนะของวะฮาบีย) การที่ไปกู้มานั้น ผมไม่เคยได้ยิน แต่มีการพูดกันในหมู่ของวะฮาบีย์ ที่ต้องการจะยกประเด็นเพราะกล่าวหา ฝ่ายตรงข้ามว่า ทำบิดอะฮ์ และหากมีการกระทำอย่างนั้นจริง ก็ถือว่าไม่ถูกต้องครับ ส่วนการล้มวัวนั้น มันเป็นสิทธิ์ของครอบครัวมัยยิด หรือ ทายาทของมัยยิด ที่จะสมัครใจในการเลี้ยงอาหารหรือให้อาหารแทนมัยยิด และเพื่อเป็นผลบุญแก่มัยยิด โดยเฉพาะมัยยิดผู้เป็นพ่อหรือแม่ ลูกๆก็กระทำให้ได้ครับ ดังกล่าวนั้นหากมีความสามารถ ซึ่งบังอัลฟารูก ก็ได้อธิบายไปแล้ว

ส่วนกรณีของเด็กกำพร้านั้น ผมว่ามันเป็นการยกประเด็นขึ้นมาพูดเอง เพื่อที่จะมากล่าวหากับแนวทางอีกฝ่ายหนึ่งที่ตรงข้ามกับบังอะสันมากกว่า หากว่ามีเด็กกำพร้าจริงๆนั้น บรรดาพี่น้องมุสลิม เขาไม่ทอดทิ้งหรอกครับ พวกเขาก็จะช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่อยู่แล้ว บังอะสันอย่าคิดอะไรที่อยู่ในทางลบเลยครับ และอย่าคิดอะไรแบบด้านเดียว และหากมีอะไรไม่ถูกต้อง เราก็สมควรชี้แจงและสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่ไปหุกุ่มเขาบิดอะฮ์ตกนรก แบบนี้ไม่ดีแน่ครับ และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หลักฐานเดิมในการเลี้ยงอาหารให้แก่มัยยิดนั้น ก็ยังใช้ได้ครับ แม้หากว่ามีคนที่กระทำแบบไม่ถูกต้อง ก็สมควรแนะนำและชี้แจงให้เข้าใจ และไปปฏิเสธเหมารวมครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
บังไม่ได้เหมารวม แต่เรามาส่งเสริมให้อยู่ในมาตรฐานที่ท่านบีส่งเสริมไม่ดีกว่าหรือ น้องอัล-อัชอารีย์ อาจจะเป็นลูกเศรษฐี อยู่ในเมื่อง อาจจะไม่รู้ปัญหา แต่ บังอะสัน เป็นคนจน คลุกคลีอยู่กับชนบทและกลิ่นสาบโคลน บังรู้ว่า ปัญหาในสังคม นั้น มีมากมาย แต่ถูกละเลย เพราะไม่มีคนกล้าที่จะพูดความจริง ได้แต่หวังจากคนที่จบมาจากนอกนี้แหละ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
........
เอาละพอแค่นี้ ต่อไปก็จะไม่บ่นอีก เฮ้อ..เหนื่อยใจ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed Apr 12, 2006 11:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รักษาสุขภาพมากๆนะครับบังอะสัน ผมต้องขอตัวไปอ่านหนังสือก่อนครับ


والسلام عليكم ورحمة الله

อัล-อัซฮะรีย์

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 13, 2006 12:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออัลลอฮดลบันดาลให้น้องอัล-อัชฮารีย์ ประสบความสำเร็จในการสอบด้วย- อามีน
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Thu Apr 13, 2006 5:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

al-azhary พูด

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า" ฉันรัก ที่จะให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือบรรดญาติของผู้ตาย ทำอาหารให้กับครอบมัยยิด ในวันที่เขาได้เสียชีวิต และอีกหนึ่งคืนของมัน โดยที่ทำให้พวกเขาอิ่ม เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นซุนนะฮ์ และมีการระลึกที่มีเกียตริ โดยที่มันเป็นการกระทำของผู้ที่เป็นคนดีก่อนจากเราและหลังจากเรา" ดู หนังสือ อัล-อุมมฺ เล่ม 1 หน้า 247


เอ้...ใครหว่า..บอกจะตามอิหม่ามซาฟีอี แล้วลื่นไถลไปไหนกันหนอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Thu Apr 13, 2006 11:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

อ่านดูดีๆแร้ว..เหมือนพยายามวกวน ทำให้สับสนนะครับ คุนฟารุค และ อัซฮารีย์ ซิกิรฺของคุณ หมายถึง การร่วมล้อมวง กล่าว ตะฮฺลีล ตัสบีย์ฮฺ ตักบีร ตะหฺมีด แค่นี้หรอ... รบกวนหาคำอธิบาย
และหาหลักฐานที่เจาะจงไปยังการกล่าว ซิกรุ้ลเลาะฮ แบบนี้เพียงอย่างเดียว เพราะเท่าที่อ่านไม่มีการเจาะจงลงไป และเรารู้ถึงการห้ามในรูปแบบที่เปนบิดอะฮฺ จากหะดิษที่ อ.อะซันได้นำเสนอ
และการที่พวกคุณพูดจาจาบจ้วงในระดับนักวิชา เช่น ชัยค์ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย ก้อเป็นสิ่งที่ผิดมารยาทนักศึกษา พยายามลดความซิเกาะฮฺของท่านด้วความคิดและความรู้สึกของตัวเอง
เป็นมารยาทที่นักศึกษาไม่ควรกระทำ หากจะร๊อด คุณจำเป็นต้องร๊อดในเชิงวิชาการจากนักวิชาการระดับเดียวกัน
หรือ ที่ดีกว่า โปรดนำเสนอหลักฐานที่เป็นหลักฐานเชิงวิชาการจริงๆ
ในเรื่องนี้พวกเราไม่เคยบอกว่า ทุกเรื่องของ ชัยค์ ัอลบานีย์ ถูกต้องที่สุด ว่ากันไปตามน้ำหนักของหลักฐาน ซึ่งนักวิชาการ ฝ่ายสลัฟได้ทำการโต้ตอบกัน
เป็นเรื่องๆอยู่แร้วครับ ไปดูคำแนะนำของ ชัยค์ บินบาซ เรื่องชัยค์อัลบานีย์ บ้างก้อจะดีนะครับ หลักฐานแต่ละตัวถูกใช้ในแต่ละเรื่องอย่างเหมาะสมแล้ว อย่าเอามามั่ว พัวพันกันนะครับ ขอร้อง

ขอนุยาดถามข้อมูล
1. คุนเรียนอะกีย์ดะฮฺ จากหนังสือเล่มไหน ใครแต่ง ใครสอน
2. ปัจจุบัน อาจารย์ของคุณคือใคร

อย่าว่าอย่างงั้นอย่างนี้เลยนะครับ เพื่อจาได้เตรียมข้อมูลคุยกันได้ดีขึ้น

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Thu Apr 13, 2006 8:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากคุณอิลยาส (วะฮาบีย์ประจำภาคเหนือ แห่งเชียงไหม่ ผู้ดูแลห้อมสมุดวะฮาบีย์)

อ่านดูดีๆแร้ว..เหมือนพยายามวกวน ทำให้สับสนนะครับ คุนฟารุค และ อัซฮารีย์ ซิกิรฺของคุณ หมายถึง การร่วมล้อมวง กล่าว ตะฮฺลีล ตัสบีย์ฮฺ ตักบีร ตะหฺมีด แค่นี้หรอ... รบกวนหาคำอธิบาย

วิจารณ์

การซิกิรนั้น มีหลายรูปแบบครับคุณอิลยาส เนื่องจากซิกิร มันมี ทั้งเป็นรูปแบบ مقيد เช่นการ ซิกิร ในละหมาด ซิกิรในการทำฮัจญฺ เป็นต้น และมีทั้ง ซิกิรที่ไม่มีรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง คือซิกิรที่อยู่ในรูปแบบกว้างๆ مطلق เช่นการกล่าวซิกรุลเลาะฮ์ต่างๆ การรวมกลุ่มกันศึกษาวิชาการทางศาสนา เป็นต้น การศึกษานนั้น อยู่ในรูปแบบกว้างๆ คุณจะนั่งรวมกลุ่มกันเป็นวง หรือแบบนั่งเก้าอี้เรียนก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ เพราะรูปแบบนี้ศาสนาเขาไม่ห้ามและไม่ขัดกับหลักการของศาสนา คุณจะให้ผู้คนที่ศึกษาศาสนา ไปนั่งเรียนศึกษากัน ใต้ต้นไม้ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ และศาสนาก็ไม่ได้ห้าม และศาสนาก็ไม่ได้จำกัดรูปแบบการศึกษาเอาไว้ และการศึกษาศาสนาคือ การซิกิร ในรูปแบบหนึ่ง และเป็นอิบาดะฮ์ด้วยนะครับ และการกล่าวซิกิรุลเลาะฮ์ เป็นวง หรือ ตีวง นั้น เป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม ด้วยหลักฐานที่ซอฮิหฺอย่างชัดเจน โดยที่ไม่มีผู้ใดทำการปฏิเสธนอกจากผู้ที่ดื้อแพ่ง ดันทุรังต่อสัจจะธรรมเท่านั้น

การที่เราได้นำเสนอ การซิกรุลเลาะฮ์แบบเป็นวง โดยมีการกล่าว ตะฮฺลีล ตัสบีย์ฮฺ ตักบีร ตะหฺมีด มาเป็นตัวอย่างนั้น เนื่องจากเรากำลังถูกกล่าวหาจากวะฮาบีย์ ว่า การทำบุญ โดยมีการนั่งซิกิรล้อมเป็นวงนั้น มันบิดอะฮ์ อุตริกรรม และการซิกิร ที่หมายถึง การร่วมล้อมวง กล่าว ตะฮฺลีล ตัสบีย์ฮฺ ตักบีร ตะหฺมีด นั้น มันไม่ใช่ เป็นความหมายในการซิกิรตามทัศนะของเราเท่านั้น แต่มันเป็นความหมายในการซิกิร ตามทัศนะของท่านนบี(ซ.ล.) ของบรรดาซอฮาบะฮ์ ตามที่เราได้นำเสนอหลักฐานเอาไว้แล้วอย่างชัดเจน



อ้างจากคุณอิลยาส

และหาหลักฐานที่เจาะจงไปยังการกล่าว ซิกรุ้ลเลาะฮ แบบนี้เพียงอย่างเดียว เพราะเท่าที่อ่านไม่มีการเจาะจงลงไป และเรารู้ถึงการห้ามในรูปแบบที่เปนบิดอะฮฺ จากหะดิษที่ อ.อะซันได้นำเสนอ

วิจารณ์

وعن أنس بن مالك قال‏whistling#8207; كان عبد الله بن رواحة إذا لقي الرجل من أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم قال‏whistling#8207; تعال نؤمن بربنا ساعة، فقال ذات يوم لرجل، فغضب الرجل، فجاء إلى النبي صلى الله عليه وسلم، فقال‏whistling#8207; يا رسول الله ألا ترى إلى ابن رواحة يرغب عن إيمانك إلى إيمان ساعة‏؟‏‏!‏ فقال النبي صلى الله عليه وسلم‏whistling#8207;
‏"‏يرحم الله ابن رواحة إنه يحب المجالس التي تتباهى بها الملائكة‏"‏‏.‏
رواه أحمد وإسناده حسن‏

รายงานจาก ท่านอะนัส บิน มาลิก เขากล่าวว่า ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน ร่อวาหะฮ์นั้น เมื่อเขาได้พบกับชายคนหนึ่งจากซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน ร่อวาหะฮ์กล่าวว่า "เราจงมาเถิด มา(ปลุก)ศรัทธากับพระผู้อภิบาลของเรา สักช่วงเวลาหนึ่ง - ท่านอับดุลเลาะฮ์ได้กล่าวกับชายผู้นั้นในวันหนึ่ง - แล้วผู้ชายคนนั้นโกรธ และก็ไปหาท่านนบี(ซ.ล.) แล้วกล่าวว่า โอ้ร่อซูลุเลาะฮ์ ท่านไม่เห็น อิบนุ ร่อวาหะฮ์ ดอกหรือ ที่เขาได้ออกห่างจากอิมานของท่าน ไปยังการศรัทธาในช่วงเวลาเดียว ? แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า "ขออัลเลาะฮ์ทรงประทานความเมตตาแด่ อิบนุร่อวาหะฮ์ เพราะแท้จริงเขานั้น รัก กับบรรดาสถานที่นั่งทำการซิกรุลเลาะฮ์ ซึ่งเป็นสถานที่บรรดามะลาอิกะฮ์ได้อวดยกย่องด้วยกับบรรดาสถานที่นั่งซิกรุลเลาะฮ์นั้น" รายงานโดย ท่านอิมามอะหฺมัด และสายรายงานนั้น หะซัน ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัซซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม 10 เรื่อง สถานที่นั่งซิกิร

เห็นใหมครับคุณ อิลยาส หะดิษนี้ ให้ความหมายกว้างๆ مطلق คุณจะทำการซิกิรอย่างไรก็ได้ ที่นำพาไปสู่การรำลึกถึงอัลเลาะฮ์ รำลึกถึงเนี๊ยะมัตของอัลเลาะฮ์ การศึกษากันในหลักการของศาสนา และเป็นการซิกิรที่ไม่ผิดกับหลักการของศาสนา คุณก็สามารถเชิญชวนพี่น้องมุสลิม มานั่งตั้งวงทำการซิกิรกันได้แล้วตามหลักการครับ และคุณคงทราบนะครับว่า หลักฐานแบบกว้างๆ مطلق การกระทำแบบกว้างๆนั้น มันอยู่ในกรอบของศาสนา ต้องไม่ผิดหลักการ ไม่ใช่ทำกันชุ้ยๆ ตามใจอารมณ์ของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงหลักการของศาสนา คุณจะไปซิกิรกันในห้องน้ำนั้น คงไม่ได้หรอกนะครับคุณอิลยาส และคุณรู้หรือเปล่าล่ะครับว่า ท่าน อับดุลเลาะฮ์ บิน ร่อวาหะฮ์ นั้น ท่านได้เรียกเชิญชวนคนทำซิกรุลเลาะฮ์ กันอย่างไรเป็นการเฉพาะ ? และวิธีอย่างไรที่เป็นการเฉพาะ? และซิกิรด้วยกับคำซิกิรใดบ้างที่เป็นการเฉพาะ? ดังนั้นคุณต้องแยกแยะหรือว่า ซิกิรที่มีรูปแบบ และซิกิรที่ไม่มีรูปแบบหรือแบบเปิดกว้าง مطلق ที่จะสมัครใจกระทำ และหากเอะอะอะไรคุณก็จะเอาแต่หลักฐานเฉพาะเจาะจงรูปแบบเท่านั้น(โดยไม่เอาอื่นอีกแล้ว) แน่นอนว่า หลักฐานต่างๆทั้งในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ มากว่า 50 เปอร์เซ็น ก็ไร้ความหมายเนื่องจากส่วนมากมันเป็นหลักฐานที่ ครอบคลุม ( عام ) และหลักฐานแบบกว้างๆ ( مطلق ) เช่น ไม่มีอัลกุรอานใด และหะดิษใด ที่ระบุแบบเฉพาะเจาะจงไปเลยเกี่ยวกับเรื่องละหมาดเป๊ะๆว่า "คนกาเฟรทำละหมาดแล้วใช้ไม่ได้" หากคุณอิลยาสหาหลักฐานในห้องสมุดที่ตนเองดูแลอยู่ ว่า มีหลักแบบเฉพาะเจาะจงชัดๆเป๊ะๆโดยไม่ต้องวินิจฉัยเลยเกี่ยวกับ สิ่งที่ผมยกตัวอย่างมา ก็ยกมาให้ผมดูหน่อย แต่ถ้าหากว่าต้องใช้การวินิจฉัยและใช้หลักฐานอื่นเข้ามาประกอบเจาะจงด้วยล่ะก็ คุณก็พิจารณาในคำถามของคุณด้วยนะครับ

และรูปแบบการซิกิรที่เป็นบิดอะฮ์นั้น มันอย่างไรหรือครับ ช่วยบอกผมหน่อย แต่ถ้าหากซิกิรเป็นวง แล้วเป็นบิดอะฮ์นั้น คุณเลิกคิดได้แล้วครับ เพราะหลักฐานมันฏออีฟ และไปขัดกับหะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)

อ้างจากคุณอิลยาส

และการที่พวกคุณพูดจาจาบจ้วงในระดับนักวิชา เช่น ชัยค์ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย ก้อเป็นสิ่งที่ผิดมารยาทนักศึกษา พยายามลดความซิเกาะฮฺของท่านด้วความคิดและความรู้สึกของตัวเอง
เป็นมารยาทที่นักศึกษาไม่ควรกระทำ หากจะร๊อด คุณจำเป็นต้องร๊อดในเชิงวิชาการจากนักวิชาการระดับเดียวกัน หรือ ที่ดีกว่า โปรดนำเสนอหลักฐานที่เป็นหลักฐานเชิงวิชาการจริงๆ

วิจารณ์

ผมแค่พูดว่า ท่าน มัรฮูม อัลบานีย์ ไม่มีสายรายงานสืบเนื่องในถึงท่านนบี(ซ.ล.) นอกจากเอาจากหนังสือหะดิษโดยตรงเลยเท่านั้นเอง ซึ่งมันไม่ใช่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ถ้าหาก ผมกล่าวว่า ท่านอัลบานีย์ ได้มีสายรายงานสืบถึงท่านนบี(ซ.ล.) อันนี้พวกคุณชอบ แต่ผมโกหก แบบนี้ผมคงไม่ทำ

และการที่คุณขอร้องให้ทำการ(ร๊อด)วิจารณ์ท่านอัลบานีย์ โดยเอานักวิชาการระดับเดียวกัน หรือระดับสูงกว่าท่านอัลบานีย์มาอ้างอิงวิจารณ์นั้น ผมคงทำไม่ได้หรอกครับ เพราะมันไม่เป็นผลดีกับพวกท่าน และมันอาจจะทำให้เราเป็นศรัตรูกันอีก และคำขอร้องแนะนำของคุณนั้น ไม่มีพี่น้องวะฮาบีย์คนใดให้มันเกิดขึ้นหรอกครับ ซึ่งหากผมนำคำวิจารย์ของอุลามาอ์ที่อยู่ในระดับเดียวกันกับท่านอัลบานีย์ หรือสูงกล่าวนั้น แล้วมา(ร๊อด) ตั้งกระทู้ อ้างอิงวิจารณ์ล่ะก็ มันต้องใช้ข้อมูลสนทนาในกระทู้ดังกล่าวได้เป็น 100 หน้ากระดานเสวนาเลยทีเดียว คุณอิลยาสจะเอาหรือเปล่าครับ ซึ่งหากคุณต้องการ โปรดนิ่งเฉย แต่ถ้าคุณไม่ต้องการให้เกิดขึ้น โปรดบอกผมด่วน

อ้างจากคุณอิลยาส

ขอนุยาดถามข้อมูล
1. คุนเรียนอะกีย์ดะฮฺ จากหนังสือเล่มไหน ใครแต่ง ใครสอน
2. ปัจจุบัน อาจารย์ของคุณคือใคร

วิจารณ์

หากคุณถามมา ผมก็คงตอบได้แบบสรุปๆเท่านั้น

1. ผมเรียนหนังสือ อะกีดะฮ์ สะลัฟ อัล-อะชาอิเราะฮ์ จากบรรดาหนังสือที่อธิบายหนังสือ มะตันอุมมุบะรอฮีน ซึ่งมีมากมาย และบรรดาหนังสืออธิบายเญาฮะเราะฮ์ อัตเตาฮีด ซึ่งมีมากมาย และเรียนหนังสือ เตาฮีด ที่อธิบายอะกีดะฮ์อัฏเฏาะหาวียะฮ์ ที่อธิบายโดยอุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ไม่ใช่อุลามาอ์มุญัสสิมะฮ์

2. อาจารย์ของผมมีมากครับ หากบอกทุกคนคงไม่ไหวหรอกครับ แต่บอกสักนิด อาจารย์ของผมคือ อัชชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ (อัลหะซะนีย์) ชัยค์ ด๊อกเตอร์ อะหฺมัด ฏอยยิบ (เรียนวิชาตรรกวิทยาที่ถูกลั่นกรองมาแล้ว) เช็ค ด๊อกเตอร์ มุหัมมัด อัลดุซซอมัต มุฮันนา ชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ฏอฮา รอยยาน ชัยค์ ด๊อกเตอร์ ซ่อลาห์ ซีดาน ชัยค์ ด๊อกเตอร์ อัดดุซุกีย์ และอีกหลายท่านครับ ผมบอกไม่ใหว วิชาฟิกห์มัซฮับ อัชชาฟิอีย์ โดยมีสายรายงาน "อิสนาด" ถึงท่าน อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร (ร.ฏ.) ถึงท่านนบี(ซ.ล.) ตะเซาวุฟ มีอิสนาด สายรายงาน ถึงท่าน ซัยยิดนาหะซัน ไปถึงท่านอลี ไปถึงท่านนบี(ซ.ล.) ส่วนหะดิษ ได้อิญาซะฮ์แบบอาม จากอาจารย์ จากอุลามาอ์มักกะฮ์ และสืบไป ยังท่านนบี (ซ.ล.)



อ้างจากคุณอะดีล

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า" ฉันรัก ที่จะให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือบรรดญาติของผู้ตาย ทำอาหารให้กับครอบมัยยิด ในวันที่เขาได้เสียชีวิต และอีกหนึ่งคืนของมัน โดยที่ทำให้พวกเขาอิ่ม เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นซุนนะฮ์ และมีการระลึกที่มีเกียตริ โดยที่มันเป็นการกระทำของผู้ที่เป็นคนดีก่อนจากเราและหลังจากเรา" ดู หนังสือ อัล-อุมมฺ เล่ม 1 หน้า 247


เอ้...ใครหว่า..บอกจะตามอิหม่ามซาฟีอี แล้วลื่นไถลไปไหนกันหนอ

วิจารณ์

คุณยังรักษารูปแบบการสนทนาไว้อย่างดีเยี่ยมครับ คุณอะดีล ซึ่งคุณไม่อ่านสิ่งที่ผมและน้องอัลอัซฮะรีย์นำเสนอไปให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งถ้าหากคุณอ่านมันอย่างถี่ถ้วนแล้ว คุณจะไม่พูดออกมาอย่างนั้นนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 25, 26, 27  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 27

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ