ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - นี่หรือพี่น้องมสลิม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
นี่หรือพี่น้องมสลิม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูข้อความของน้อง al-farook อีกครั้งนะครับ เขากล่าวว่า

ดังนั้น บรรดาปัญหาคิลาฟียะฮ์ระหว่างซุนนะฮ์วะฮาบีย์ กับ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์มัซฮับทั้งสี่ นั้น อยู่บนหลักฐานที่ (الظنى ) ทั้งหมด หากมีผู้ใดเชื่อว่า แนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้องตามทัศนะของอัลเลาะฮ์และร่อซูล เขาย่อมโกหกต่ออัลเลาะฮ์และร่อซูล และกระทำหรือมีความเชื่อของพวกบิดอะฮ์
และต่อมาก็อธิบายแก้ตัวว่า
( الظنى ) นี้ หมายถึง "การรับรู้ที่ได้มาจากหลักฐานที่คาดว่าถูกต้อง
..........................
คำว่า “ الظنني “ นั้น แปลว่า คาดคะเน สงสัย เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่า สิ่งที่ทำนั้น คาดคะเนว่า ถูก สงสัยแต่หนักไปทางแน่ใจว่าถูก เพราะถ้าอ้างว่าถูกต้อง 100 % นั้น คุณ al-farook บอกว่าเป็นการโกหกต่ออัลลอฮและร่อซูล
....................
แปลกไหมล่ะครับ จริงๆแล้วสิ่งที่เราปฏิบัตินั้น เราต้องแน่ใจ(القين ) ว่าถูกต้อง ตามอัสสุนนะฮ ดังที่ ผมได้ยกคำพูดของ อัล-หาฟิซ อิบนุเราะญับ ที่ท่านบอกเกี่ยวกับอะมั้ลที่สมบูรณ์ ที่อัลลอฮทรงรับว่า

وإنما يتم ذلك بأمرين :
أحدهما : أن يكون العمل في ظاهره على موافقة السنة ، وهذا هو الذي تضمنه حديث عائشة : " ‏مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ " . الثاني : أن يكون العمل في باطنه يقصد به وجه الله عز وجل ، كما تضمنه حديث عمر : " الأعمال بالنيات

และแท้จริง ดังกล่าวนั้น(อะมั้ล)จะสมบูรณ์ นั้นต้องประกอบด้วย 2 ประการคือ

1. ปรากฏว่าการงาน(อะมั้ล)นั้นในรูปภายนอกของมัน สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ และนี้คือที่ หะดิษท่านหญิงอะอีฉะฮได้รับรองมันเอาไว้ว่า "ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่มีในมัน มันถูกปฏิเสธ
2. ปรากฏว่าการงานนั้น ในรูปภายในของมัน เขามีจุดประสงค์ในการปฏิบัติมันเพื่ออัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ดังสิ่งที่หะดิษท่านอุมัร ได้รับรองมันเอาไว้ว่า "บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับการเจตนา"
- جامع العلوم والحكم " (1/72)

ที่อ้างอุลามาอ ไม่ได้หมาย ถึงตะอัศศุบอุลามาอ แต่ เราพิจารณาหะดิษที่เขาอ้างอิง ท่านนบีสอนว่า
صلواكمارأيتموني أصلي

จงละหมาดเหมือนกับที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด

เพราะฉะนั้น การละหมาดของเรา เราจะต้องแน่ใจว่า ถูกต้องตามสุนนะฮนบี ถ้าอ้าง อย่างนี้ ป็นการโกหกต่ออัลลอฮและร่อซูลหรือครับ ท่านบันฑิตปริญญาโท al-farook

…………………
น้องมาสรุปในท้ายคำวิจารณ์ว่า
วิจารณ์

คำพูดของบังมุหัมมัดยังคมคายเหมือนเดิมครับ หากว่าบังมุหัมมัดได้เข้ามาอ่าน ก็อย่าเข้ามาร่วมสนทนาในช่วงนี้เลยนะครับ เดี๋ยวคนที่กำลังรอลายแครง เรานั้น จะหาเรื่องปิดกระทู้ของบังคนอยากรู้หลาว.. ฮ้าๆๆ
ตอบ
อันที่จริง น้อง al-farook หมดความชอบธรรมไปนานแล้วที่จะเข้ามาสนทนา เพราะน้องผิดสัญญาที่ให้ไว้กับ เจ้าของเว็บ มิหนำซ้ำ พวกคุณไม่เคยให้เกียรติเจ้าของบ้านแม้แต่น้อย น้องและสหายพูดเสียดสีอยู่ตลอดว่า เจ้าของเว็บไม่ยุติธรรมกับกับพวกคุณ
ผมจึงกล่าวไว้แล้วว่า “พวกคุณเป็นผีที่หาป่าช้าลงไม่ได้” น้องและคณะเข้ามาโดยอ้างสถาบันการศึกษา เป็นตัวแทนสถาบันอัลอัซฮัร ที่ทรงเกียรติ ลองคิดดูว่าเราควรทำตัวอย่างไรเวลามาสอนในเว็บนี้ อย่าลืมว่า ศิษย์เก่าในเมืองไทยก็มีเยอะนะครับ เขาคงไม่ภูมิใจหรอก ถ้าเห็นนิสัยพวกนักษาอย่างนี้ ขอเตือน เอาไว้ ทำไม่ไม่นำเสนอหลักฐาน มาอธิบายให้ผู้อ่านได้รู้ข้อเท็จจริงตามทัศนะของน้องและสหาย น้อง konyakroo ตั้งกระทู้นี้มา ก็เพื่อ ได้แก้แค้น ไม่ใช่เพื่ออธิบายสัจธรรม บอร์ดนี้มีผู้อ่านทั่วโลกนะครับ คนมีปัญญาเขาดูออก หากเขาติดตามมาตลอด ว่า ผู้ตั้งกระทู้ มีเจตนาอะไร และสืบเนื่องมาจากอะไร หยุดเถอะครับ ..แล้วนำเสนอหลักฐาน หรือหาก จะนำเสนอในเชิงบทความ ก็ต้องไม่เสียดสีคนอื่น มันไม่สนุกหรอกครับ ที่จะมาทะเลาะกัน อายศาสนาอื่นเขา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 11:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

ขอเตือน เอาไว้ ทำไม่ไม่นำเสนอหลักฐาน มาอธิบายให้ผู้อ่านได้รู้ข้อเท็จจริงตามทัศนะของน้องและสหาย

วิจารณ์

เรานำเสนอมาแล้วครับ และนำเสนออย่าวิจารณ์ที่สุด เช่นเรื่องกุนูต และเรื่องตัลกีน เป็นต้น แต่โดนลบไปแล้วนะครับ โดยมีอายุได้ไม่ถึงวัน

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 11:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

เพราะฉะนั้น การละหมาดของเรา เราจะต้องแน่ใจว่า ถูกต้องตามสุนนะฮนบี ถ้าอ้าง อย่างนี้ ป็นการโกหกต่ออัลลอฮและร่อซูลหรือครับ ท่านบันฑิตปริญญาโท al-farook

วิจารณ์

เรื่องละหมาด เราไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องละหมาดวายิบหรือไม่ ? สุญูดวายิบหรือไม่ ? การตักบีรวายิบหรือไม่? เพราะเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องมาวินิจฉัย

แต่ประเด็นการขัดแย้งนั้น เป็นประเด็นอิจญฮาดวินิจฉัยจากบรรดานักปราชญ์ที่มีมาจากตัวบท เมื่อเรามีความเห็นไม่ตรงกัน ก็ไม่สมควรจะหุกุ่มอีกฝ่ายหนึ่งว่าทำบิดอะฮ์ และเชื่อว่า ฝ่ายตนเท่านั้นที่ถูกต้องฝ่ายเดียว และบังอะสันมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นเลยหรือครับว่า ทัศนะในเรื่องข้อขัดแย้งนั้น ฝ่ายตนเท่านั้นที่อยู่บนมาตรฐานของหุกุ่มของอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในเรื่องมัสอะละฮ์อิจญฺฮาด หรือประเด็นข้อปลีกย่อยนั้น ตามแบบฉบับของสะสะฟุศศอลิหฺนั้น พวกเขาจะให้เกียตริซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็อยากจะยกคำพูดของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ เพื่อมาเสริมทัศนะของเราสักนิดนึง ซึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวว่า

فهذه المسائل التي تنازع فيها السلف والأئمة، فكل واحد منهم أقر الآخر على اجتهاده... فمن ترجح عنده تقليد الشافعي لم ينكر على من ترجح عنده تقليد مالك، ومن ترجح عنده تقليد أحمد لم ينكر على من ترجح عنده تقليد الشافعي، ونحو ذلك“. وإذا كان الأمر كذلك، فإن المنكر على مخالفيه ـ إذا كانوا قد اعتمدوا على أدلة قال بها بعض الأئمة ـ فهو مخالف لهذا النهج متعد على مخالفيه

" ดังนั้น บรรดาประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้ ที่บรรดาสะลัฟและบรรดานักปราชญ์ชั้นนำทั้งหลายนั้น ทุกๆคนจากพวกเขา ก็ให้การยอมรับกับผู้อื่น บนเรื่องของวินิจฉัยของเขา ดังนั้น ผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะให้น้ำหนักตักลีดกับอิมามมาลิก และผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำการตักลีดอิมามอะหฺมัด เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะที่ให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และเหมือนๆเช่นดังกล่าว และเมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ดังนั้น แท้จริง ผู้ที่ทำการตำหนิ ต่อบรรดาผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา - โดยที่ในเมื่อพวกเขาได้ทำการยึดบรรดาหลักฐานต่างๆที่บรรดานักปราชน์ชั้นำบางท่านได้กล่าวเอาไว้ - แน่นอนว่า เขา (ผู้ทำการตำหนิ) นั้น ย่อมเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับแนวทางนี้ อีกทั้งเขาได้ละเมิดต่อผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา " (ดู หนังสือ มัจญฺมั๊วะ อัล-ฟะตาวา ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 20 หน้า 292 )

เมื่อเราอ่านดูแล้ว วะฮาบีย์โดนเต็มๆเลยครับ แล้ววะฮาบีย์เขามีแนวทางตามแบบฉบับของใครกัน ?? เป็นคำถามที่เราน่าจะช่วยกันตอบนะครับ ?

ท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยอธิบายให้เราทราบว่า นักมุจญฺฮิด(ผู้วินิจฉัย) คนหนึ่งนั้น ไม่สามารถที่จะมั่นใจเด็ดขาดไว้ว่า เขาอยู่บนความถูกต้องตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ท่านอิมามมุสลิมได้รายงาน คำสั่งเสียของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต่อแม่ทัพทหารว่า

وإذا حاصرت أهل حصن، فأرادوك أن تنزلهم على حكم الله فلا تنزلهم على حكم الله، ولكن أنزلهم على حكمك، فإنك لا تدري أتصيب حكم الله فيهم أم لا

" เมื่อท่านได้ปิดล้อม ผู้ที่อยู่ในป้อมปราการณ์หนึ่ง แล้วพวกเขาต้องการให้ท่าน ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ ดังนั้น ท่านอยู่ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ แต่ท่านจงทำการตัดสินให้อยู่บนการตัดสินของท่าน(ด้วยการวินิจฉัย) เพราะว่าแท้จริง ท่านไม่รู้ว่า ท่านได้ตัดสินถูกต้อง ตามหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อพวกเขาหรือไม่ ? " (ดู หะดิษที่ 1731)

ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่มีความสามารถ ที่จะมั่นใจอย่างเด็ดขาดว่า เขาอยู่บนความถูกต้องหรือไม่นั้น แล้วเขามั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่มีทัศนะไม่ตรงกับเขา คือผู้ที่อยู่บนความหลงผิด

วะฮาบีย์เชื่อว่า ปัญหาคิลาฟียะฮ์นั้น ของฉันถูก ส่วนคนอื่นที่มีทัศนะต่างกับตนนั้น อยู่บนบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงตกนรก แล้ววะฮาบีย์เขาอยู่ในแนวทางของใครกันครับ ? คำถามนี้เราต้องจะให้คำตอบกันครับ ?

และหากการได้รับความเชื่อถือจากมนุษย์นั้น ผมไม่เอาด้วยครับ เพราะมันของปลอม

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 1:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

อันที่จริง น้อง al-farook หมดความชอบธรรมไปนานแล้วที่จะเข้ามาสนทนา เพราะน้องผิดสัญญาที่ให้ไว้กับ เจ้าของเว็บ มิหนำซ้ำ พวกคุณไม่เคยให้เกียรติเจ้าของบ้านแม้แต่น้อย น้องและสหายพูดเสียดสีอยู่ตลอดว่า เจ้าของเว็บไม่ยุติธรรมกับกับพวกคุณ
ผมจึงกล่าวไว้แล้วว่า “พวกคุณเป็นผีที่หาป่าช้าลงไม่ได้”

วิจารณ์

สัญญาที่ผมให้กับเจ้าของเวปนั้น ผมก็ได้ส่งข้อความ ข่าวสาร ไปถึงเจ้าของเวปแล้วครับ ในการขอมะอัพ เรื่องที่ผมไม่สามารถควบคุมมิตรสหายทุกเวลาเป็นการส่วนตัวได้ และผมก็บอกกับเจ้าของเวปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะมีมาตรการอย่างไรกับพวกเราก็แล้วแต่ดุลพินิจของท่านเจ้าของเวป และนี่คือสิ่งที่ผมได้เขียนถึงเจ้าของเวปตั้งแต่วันแรกที่กระทู้ล่าสุดถูกปิด ซึ่งผมคิดว่า มันไม่จำเป็นที่ต้องบอกกับ บังอะสัน ที่กล่าวหาว่า เราเป็นพวกทำลายอัลกุรอานและซุนนะฮ์

แล้วคำพูดใดบ้างหรือครับ "ที่เรากล่าวหาว่า เข้าของเวปไม่ยุติธรรมกับพวกเรา" แต่สำหรับผมนั้น ไม่มีหรอกครับ แม้จะเอ่ยชื่อวิจารณ์ อ.ฟารีด ผมก็ไม่เคยกล่าววิจารณ์สักคำ และยิ่งไปกว่านั้น ผมกลับให้เกียตริมากกว่าเสียอีก

แต่เท่าที่สนทนามา บังอะสันมักชอบสนทนา "ลายเครง" พวกเราเสมอหากการสนทนาของบังอะสันหมดหนทางจะไป ผู้อ่านโปรดตรวจสอบดูได้ครับ

บังคนอยากรู้ครับ เข้ามาก็สนทนานำเสนอที่อยู่ในประเด็นนะครับ อย่าสานต่อคำพูดของผมเลยครับ เพราะเดี๋ยวบังอะสันพูดตอบโต้เรา โดยมันอาจจะเป็นเหตุทำให้กระทู้นี้ถูกปิดอีก ก็เป็นได้ เนื่องจากเรื่องราววิชาการกำลังเป็นไปอย่างน่าสนใจครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 4:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม พี่น้องทุกๆ คนครับ

ผมได้มีโอกาส อ่านทุกๆ ความเห็นตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย แล้วก็อยากจะชี้แจง หรือ อาจตั้งคำ ซึ่งการตั้งคำถามของผม คงจะพาดพิงให้ผู้รู้ ช่วยเข้ามาตอบด้วยนะครับ

1. จากข้อความคุณ อัลอัซฮารีย์ โพสต์เมือวันที่ 14/06/05

" มาถึงสมัย ตาบิอิตตาบิอีน คือสมัยของ บรรดาอิมามทั้ง 4 อิมามอบูหะนีฟะฮ์ จะใช้ฟิกห์ที่หนักไปทาง สำนักที่เน้นความเห็น เนื่องจากท่านอาศัยอยู่ที่อิรัก ส่วนท่านอิมามมาลิก ท่านจะเน้นหนักไปทางสำนักหะดิษ เพราะท่านสามารถรับการรายงานหะดิษมากกว่า เนื่องจากท่านอาศัยอยู่ที่นครมะดีนะฮ์ และท่านไม่เคยเดินทางออกจากแคว้นหิญาซฺเลย ส่วนอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ก็จะทำการรวมหลักการของทั้งสองสำนักนี้ และท่านอะหฺมัดก็จะเน้นไปทางหะดิษมากกว่า "

คำถาม

ในคำอธิบายนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า อิมามอบูฮะนีฟะห์ มีมาตรฐานในการวินิจฉัย ที่อ่อนกว่าสามมัซฮับที่เหลือ สมมุตว่าพ่อแม่ของผมเกิดในปากีสถาน ตามมัซฮับ ฮานาฟีมา แต่เมือมาพบว่าหลักการในวินิจฉัยของ สามมัซฮับที่เหลือมีน้ำหนักมากกว่า แต่ผมยังตามมัซฮับฮานาฟีย์อยู่ อย่างนี้ ถือว่าเป็นการตามโดยอารมณ์หรือไม่ เพราะท่านอบูฮะนีฟะห์ เกิดในยุคที่ขี่อูฐเป็นพาหนะ แต่ยุคเราใช้อินเตอร์เนตแล้ว ดังนั้น การวินิจฉัยโดยใช้ฮะดิษ หรือ ฮะดิษผนวกกับการกิยาส จึงมีความแข็งแรงกว่าอย่างแน่นอน เพราะเรามีความสามารถในการรับฮะดิษได้มากกว่าในยุคนั้นๆ

2. 21/03/2005 คุณอะซันโพสต์

ผมว่าคุณอะซันโพสต์ รุนแรงเกิน เพราะมัซฮับเหล่านี้ ไม่ได้สอนให้เราไปตายแต่อย่างใด พวกเขาทำงานอย่างหนักในการวินิจฉัยปัญหาที่เป็นปัญหาที่มีความระเอียดอ่อน ซึ่งไม่ได้มีตัวบทระบุอย่างชัดเจน มัซฮับเหล่านี้ ไม่ได้สอนให้จ่ายซะกาตกันเฉพาะคนในเผ่า แต่อย่างใด พวกเขามีความเห็นแตกต่างในเรื่องปลีกย่อย

3. 16/01/06 คุณคนอยากรู้

ตัวอย่าง ขณะที่เราเข้าไปละหมาดที่มัสยิดหนึ่ง เราเห็นว่าพี่น้องมุสลิมเราบางคน อ่านบิสลาห์ดัง แต่ในขณะที่บางคนอ่านเบา หรือไม่อ่าน หรือพี่น้องเราบางคนยกมือขอดุอาห์หลังละหมาดเสร็จแล้วขรธที่บางคนไม่ขอดุอาห์อะไร หรือไม่ยกมือ จากตัวอย่างความแปลกแยกตรงนี้ ล้วนมาจาก ความขัดแย้งทางฟิกฮ์เป็นส่วนใหญ่

คำถาม

ในช่วงสมัยที่ผมเรียกกุรอ่าน ผมถูกสอนมาว่า เรามัซฮับชาฟีอีย์ เมือไปละหมาดในมัซยิดอื่นทีไม่ได้ตามมัซฮับชาฟีอีย์ จะต้องตักลีดตามมัซฮับนั้นก่อน การละหมาดของเราจะใช้ได้ คำพูดนี้ออกมาจากปราชญ์ผู้รู้ หรือ คนที่มีความคิดอุตริครับ

4. คุณคนอยากรู้ Konyakro 16/01/06

แหละนี้คือประเด็นของความไม่เข้าใจของผู้ที่ยืนในต่างทัศนะกับเรื่องการอาบน้ำละหมาด
... คุณดับดุลลาครับ กรุณาตั้งสมาธิและวางใจให้เป็นกลางสักครั้งนะครับแล้วเรามาทำความเข้าใจในประเด็นนี้พร้อมๆกับพี่น้องวะฮาบีย์อีกหลายคนที่ยังข้องใจเหมือนกับคุณ
ก่อนอื่นนคุณต้องเข้าใจว่า เรื่องการอาบน้ำละหมาดนั้นในทุกๆมัสหับทุกแนวทางรวมทั้งทัศนะของคุณเองก็อาศัยการวินิจฉัยของอุลามะทั้งสิ้นครับและการวินิจฉัยของอีหม่ามแต่ละท่านย่อมไม่เหมือนกันทั้งนี้ปัจัยหลายอย่างไม่ว่า ความรู้ความสามารถ หลักฐาน และที่สำคัญคือสติปัญญาที่อัลลอฮ์(วบ)ประทานมาให้แต่ละคนย่อมไม่เท่าเทียมกัน อันนี้คุณคงไม่ปฏิเสธ เรื่องความแตกต่างในคำวินิจฉัยหรือการมุตะญิดของผู้รู้นั้นย่อมไม่ตรงกันเสมอไปและเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นและก็ผ่านมานานแล้วเช่นกัน แต่สำหรับคนรุ่นหลังดังเช่นคุณและผมนั้นเป็นผ้ทีได้ชื่อว่า เป็นผู้ตามกันทั้งนั้นไม่มีสิทธในการออกความเห็นหรือวินิจฉัยตัวบทว่านั้นคือความบกพร่องหรือผิดพลาด

ตอบ

ผมได้อ่านจนจบแล้ว แต่ยังไม่เจอคำอธิบายมากขึ้นในเรื่องนี้ อาจจะยังเตรียมข้อมูล แต่ไม่เป็นไร ใจเย็นๆ ครับ กรุณาขึ้นไปดูใหม่ บนข้อความแรกของผม ที่พูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่แรกครับ แล้วลองดูคำตอบของคุณอีกทีช้า คุณกำลังพูดคนละเรื่องเดียวกัน ผมพูดเรื่องการอาบน้ำละหมาดของชาวบ้าน แต่คุณพูดเรื่องการอาบน้ำละหมาดตามการวินิจฉัยของอุละมาห์

ผมอยากบอกกับคุณว่า ที่เราลูปหัวสามเส้นกันนั้น ไม่ใช่ว่าอาศัยคำวินิจฉัยของตัวบทหรอกครับ แต่ชาวบ้านเขาทำแบบนี้ เพราะมันทำให้การอาบน้ำละหมาดไวขึ้น หรือพูดง่ายคือทำแบบลวกๆ แล้วคุณไปดูได้ เขาทำแบบนี้ตลอด ไม่ใช่ลูบสามเส้นบ้าง เต็มหัวบ้างโดยอาศัยหลักฐาน หรือตามซุนนะห์นบี

กรุณาอย่าเอาผมไปโยงกับอุลามาอ์ ผู้รู้ ไม่ใช่คุณคนเดียวที่รักอุลามาห์ คนอื่นเขาก็รักเหมือนกันครับ

อีกอย่างผมไม่ใช่วะฮาบีย์นะครับ และไม่ยึดมัซฮับใดๆด้วย ได้อ่านบทความของคุณอัลอัซฮาย์ และ คุณฟารุก ผมเองก็ให้น้ำหนักมากในทางนี้ กรุณาอย่าคิดว่า ถ้าคนอื่นไม่เหมือนคุณแล้วจะต้องเป็นอย่างนั้นไปซะทั้งหมด เพราะความคิดเช่นนี้เป็นบิดอะห์ อย่างที่คุณอัลฟารุกว่า

5. คำถามโดยรวมของผมนะครับ ใครจะตอบก็ได้นะครับ

กรณีถ้าผมทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใดในศาสนาขึ้นมา อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือ ได้รับหลักฐานที่ผิด แต่บังเอิญว่าสิ่งที่ผมทำนั้น ไปตรงกับคำวินิจฉัยของอุลามาห์บางท่าน อย่างนี้เรียกว่าเป็นบิดอะห์หรือไม่ ขอยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง

การอ่านตัลเกน คุณอัลฟารุกได้ชี้แจงว่า มีหลักฐาน แต่พี่น้องมุสลิมในประเทศไทยทำการอ่านตัลเกนกัน โดยต้นเรื่องมาจากมลายู ซึ่งเรียนกันในสมัยก่อน กล่าวคือ การอ่านตัลเกนจะเป็นการป้องกันมาลาอิกะห์ ไม่ให้เข้ามาทำการสอบสวนคนตาย และจะมีพิธีเชิญวิญญาณลงจากบ้าน และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย แต่จะขอเรื่องตัลเกนก่อนนะครับ ผมได้ทราบต้นเรื่องจากผู้รู้อาวุโสท่านหนึ่งแต่ไม่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเคยอ่านตัลเกนมาก่อน และที่มาที่ไปของมันก็มาจากหนังสือเล่มนี้

กรณีนี้อยากถามว่าเป็นบิดอะห์ หรือ เรื่องคิลาฟิยะห์ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

ผมชอบการอธิบายของคุณอัลฟารุก และ คุณอัลอัชอารีย์มากๆ เพราะให้ความรู้ค่อนข้างมากเลยที่เดียว เพราะทำให้ได้หลักฐานที่หนักแน่นขึ้นและมีความชัดเจนขึ้น ทำให้ผมสามารถนำไปปฎิบัติได้

ผมอยากให้พวกเราทั้งหมด ทั้งคุณอะซัน คุณอัลฟารุก คุณอัลอัชอารีย์ และคุณคนอยากรู้พูดคุยถึงปัญหาที่เป็นรากเหง้าของสังคมไทย กันบ้างน่าจะดีมากๆ ในฐานะที่เราก็กินข้าวแกงกัน คงไม่ได้กินโรตีแบบอาหรับตลอดสามมื้อ หรือ กินเบอร์เกอร์กันทุกๆวัน

ประสบการณ์ของผม ในฐานะที่เติบโตมาจากแนวทางมัซฮับ ผมว่าบ้านเรา ยังขาดความเข้าใจในเรื่องที่เรากำลังพูดคุยกันนี้เป็นอย่างมาก

ผมถามพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย ไม่ว่าจะแถวบ้าน หรือดะห์วะห์ที่มาตามสุเหร่า ว่าอิหม่ามชาฟีอีที่เราตามเนี่ยะ เป็นคนประเทศอะไร

คุณอาจจะไม่เชื่อก็ได้ว่า เกินห้าสิบเปอร์เซนต์ของพี่น้องเรา ตอบว่าเป็นคนไทย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 11:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความของ al-farook
วิจารณ์
เรื่องละหมาด เราไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องละหมาดวายิบหรือไม่ ? สุญูดวายิบหรือไม่ ? การตักบีรวายิบหรือไม่? เพราะเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องมาวินิจฉัย
แต่ประเด็นการขัดแย้งนั้น เป็นประเด็นอิจญฮาดวินิจฉัยจากบรรดานักปราชญ์ที่มีมาจากตัวบท เมื่อเรามีความเห็นไม่ตรงกัน ก็ไม่สมควรจะหุกุ่มอีกฝ่ายหนึ่งว่าทำบิดอะฮ์ และเชื่อว่า ฝ่ายตนเท่านั้นที่ถูกต้องฝ่ายเดียว และบังอะสันมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นเลยหรือครับว่า ทัศนะในเรื่องข้อขัดแย้งนั้น ฝ่ายตนเท่านั้นที่อยู่บนมาตรฐานของหุกุ่มของอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์
..........................
ตอบ
ผมพูดถึงวิธีหรือ รูปแบบของการละหมาด ต้องให้สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ และประเด็นการเข้าใจในตัวบทที่แตกต่างกัน หากตัวบทนั้นเศาะเฮียะ เราไม่ได้ขัดแย้ง ไม่ได้ตำหนิ แต่ที่เราพูดว่า บิดอะฮ คือ สิ่งที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีแบบอย่างจากอัสสุนนะฮ
และสิ่งใดก็ตามที่ผมปฏิบัติ ผมต้องมั่นใจว่าถูกต้อง ไม่ใช่ว่า เอ.. ถูกต้องหรือเปล่าที่กูทำ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในเรื่องมัสอะละฮ์อิจญฺฮาด หรือประเด็นข้อปลีกย่อยนั้น ตามแบบฉบับของสะสะฟุศศอลิหฺนั้น พวกเขาจะให้เกียตริซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็อยากจะยกคำพูดของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ เพื่อมาเสริมทัศนะของเราสักนิดนึง ซึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวว่า

ข้อความของ al-farook
فهذه المسائل التي تنازع فيها السلف والأئمة، فكل واحد منهم أقر الآخر على اجتهاده... فمن ترجح عنده تقليد الشافعي لم ينكر على من ترجح عنده تقليد مالك، ومن ترجح عنده تقليد أحمد لم ينكر على من ترجح عنده تقليد الشافعي، ونحو ذلك“. وإذا كان الأمر كذلك، فإن المنكر على مخالفيه ـ إذا كانوا قد اعتمدوا على أدلة قال بها بعض الأئمة ـ فهو مخالف لهذا النهج متعد على مخالفيه

" ดังนั้น บรรดาประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้ ที่บรรดาสะลัฟและบรรดานักปราชญ์ชั้นนำทั้งหลายนั้น ทุกๆคนจากพวกเขา ก็ให้การยอมรับกับผู้อื่น บนเรื่องของวินิจฉัยของเขา ดังนั้น ผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะให้น้ำหนักตักลีดกับอิมามมาลิก และผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำการตักลีดอิมามอะหฺมัด เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะที่ให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และเหมือนๆเช่นดังกล่าว และเมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ดังนั้น แท้จริง ผู้ที่ทำการตำหนิ ต่อบรรดาผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา - โดยที่ในเมื่อพวกเขาได้ทำการยึดบรรดาหลักฐานต่างๆที่บรรดานักปราชน์ชั้นำบางท่านได้กล่าวเอาไว้ - แน่นอนว่า เขา (ผู้ทำการตำหนิ) นั้น ย่อมเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับแนวทางนี้ อีกทั้งเขาได้ละเมิดต่อผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา " (ดู หนังสือ มัจญฺมั๊วะ อัล-ฟะตาวา ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 20 หน้า 292 )
……………
ตอบ
เอ้าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ก็ไหน เคยประณามอิบนุตัยมียะฮ เคยคิดจะขุดโคตร อิบนิตัยมียะฮ และเคยกล่าวหาท่านว่ามีอะกีดะฮที่ผิดอยู่มิใช่หรือ เป็นไงวันนี้ยกคำพูดของท่านมาอ้างเลยหรือ รู้ไหม อิบนุตัยมียะฮนี้แหละ ที่ต่อต้านบิดอะฮ และสิ่งที่ยกมาอ้างนั้น ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ที่ถูกอ้าง แล้วละครับ
…………………


ข้อความของ al-farook
ท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยอธิบายให้เราทราบว่า นักมุจญฺฮิด(ผู้วินิจฉัย) คนหนึ่งนั้น ไม่สามารถที่จะมั่นใจเด็ดขาดไว้ว่า เขาอยู่บนความถูกต้องตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ท่านอิมามมุสลิมได้รายงาน คำสั่งเสียของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต่อแม่ทัพทหารว่า

وإذا حاصرت أهل حصن، فأرادوك أن تنزلهم على حكم الله فلا تنزلهم على حكم الله، ولكن أنزلهم على حكمك، فإنك لا تدري أتصيب حكم الله فيهم أم لا

" เมื่อท่านได้ปิดล้อม ผู้ที่อยู่ในป้อมปราการณ์หนึ่ง แล้วพวกเขาต้องการให้ท่าน ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ ดังนั้น ท่านอยู่ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ แต่ท่านจงทำการตัดสินให้อยู่บนการตัดสินของท่าน(ด้วยการวินิจฉัย) เพราะว่าแท้จริง ท่านไม่รู้ว่า ท่านได้ตัดสินถูกต้อง ตามหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อพวกเขาหรือไม่ ? " (ดู หะดิษที่ 1731)
…………..
ตอบ
มันคนละเรื่อง ครับ และไม่ได้เป็นหลักฐาน ให้เราเอียะติกกอดว่า อิบาดะฮที่เราทำอยู่นั้น ต้อง คาดคะเนว่า ถูก แต่ไม่ให้มั่นใจ
เพราะเรื่อง อิบาดะฮที่เราทำนั้น ต้องมีหลักฐาน เมือมีหลักฐาน ก็ไมจำเป็นต้องวินิจฉัย ดังหลักการที่ว่า

لا اجتهاد مع النص

ไม่มีการอิจญติฮาด พร้อม กับมีตัวบทอยู่แล้ว
يوسف القرضاوي، \"الاجتهاد في الشريعة الإسلامية\"، ص178-179،

ท่านอิหม่ามอัชเชากานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

أن عمل المجتهد برأيه إنما هو رخصة له عند عدم الدليل، ولا يجوز لغيره أن يعمل به بالاجماع،

แท้จริง การปฏิบัติของมุจญตะฮิด ตามความเห็น ของเขาเองนั้น ความจริง มันเป็นข้อผ่อนผันสำหรับเขา เมื่อไม่มีหลักฐาน และโดยมติของนักปราชญ์นั้น ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นจากเขา นำไปปฏิบัติเป็นอันขาด

محمد بن علي الشوكاني، إرشاد الفحول إلى تحقيق الحق من علم الأصول، ص267

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติอิบาดะฮ นั้น ต้องมีหลักฐานที่เรามั่นใจ ไม่ใช่การการตักลิด เพราะการตักลิดคือ

هـو قبول رأي من لا تقوم به الحجـة بلا حجة.

คือ รับเอาความเห็น ของผู้ที่ไม่มีหลักฐานมายืนยัน โดยไม่มีหลักฐาน

العمل بقول الغير من غير حجة

การปฏิบัติตามคำพูดผู้อื่น โดยปราศจากหลักฐาน
محمد بن علي الشوكاني، إرشاد الفحول إلى تحقيق الحق من علم الأصول، ص265

…………..
ขอย้ำว่า การทำอีบาดะฮ ต้องมั่นใจในหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็ไม่ต้องทำ เช่น การกล่าวอุศอ็ลลี เป็นต้น
«ما كان النبي صلى الله عليه وآله وسلم يسأل مما لم ينزل عليه الوحي فيقول: لا أدري أو لم يجب حتى ينزل عليه الوحي، ولم يقل برأي ولا قياس لقوله تعالى: «بما أراك الله» (النساء: 501

ปรากฏว่าสิ่งที่ ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถูกถามจากสิ่งที่ไม่ได้มีวะหยูลงมา ท่านก็จะกล่าวตอบว่า ฉันไม่รู้ หรือ ไม่ตอบ จนกว่า วะหยูจะลงมา ท่านไม่พูดด้วยความคิดเห็น และ ไม่ได้เปรียบเทียบ(กิยาส) เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า “ตามที่อัลลอฮทรงสอนเจ้า / อันนิสาอ อายะฮ 501 - ดู อัลบุคอรี บทที่ 97 กิตาบุ้ลเอียะติศอม
..............................
เรื่อง ศาสนาต้อง มาจากวะหยู ส่วนเรื่อง อิจญติฮาดที่น้อง อัลฟารุกเอามาอ้างนั้น

เช่น

มันเรื่อง ยุทธวิธี และกุศโลบายในการทำสงคราม ซึ่ง บางครั้ง ท่านนบี ก็รับฟังความเห็นของเหล่าเศาะหาบะฮ


น้องอัล-ฟารุกกล่าวว่า
แต่เท่าที่สนทนามา บังอะสันมักชอบสนทนา "ลายเครง" พวกเราเสมอหากการสนทนาของบังอะสันหมดหนทางจะไป ผู้อ่านโปรดตรวจสอบดูได้ครับ
...........................
ตอบ

เมื่อเห็นว่า มีการพูดจาเสียดสี ดูถูก และกล่าวหาคู่สนทนา ผมก็ท้วงทิง ผมไม่มีสิทธิ์ที่จะสั่งใครให้ปิดกระทู้ และผมไม่ได้จนมุม อย่างที่น้อง al-farook ดูถูก เพียงแต่คิดว่ามันจะเกิดฟืตนะฮ ซึ่งตอนนี้ ก็เริ่มอีกแล้ว เมื่อคุณมาดูถูกผมอีก ฟิตนะฮก็จะเกิดขึ้นอีก ผมก็งงอยู่เหมือนกันว่า ทำไม จึงปล่อยให้พวกคุณ เอาไว้อีก เพราะรู้อยู่ว่า เราต่อต้านบิดอะฮ และเว็บนี้นี้ ผมเห็นว่า เป็นเผยแผ่ กิตาบุ้ลลอฮและอัสสุนนะฮ จึงเข้ามา และเป็นคนที่ไม่ยอมเรื่อง บิดอะฮอยู่ด้วย ถ้าท่านเว็บเห็นว่า ผมไม่ควรสนทนาต่อ ผมก็จะไป
……………
Dabdulla กล่าวว่า
ผมว่าคุณอะซันโพสต์ รุนแรงเกิน เพราะมัซฮับเหล่านี้ ไม่ได้สอนให้เราไปตายแต่อย่างใด พวกเขาทำงานอย่างหนักในการวินิจฉัยปัญหาที่เป็นปัญหาที่มีความระเอียดอ่อน ซึ่งไม่ได้มีตัวบทระบุอย่างชัดเจน มัซฮับเหล่านี้ ไม่ได้สอนให้จ่ายซะกาตกันเฉพาะคนในเผ่า แต่อย่างใด พวกเขามีความเห็นแตกต่างในเรื่องปลีกย่อย
dabdulla
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 43 ตอบ: Sun Apr 02, 2006 7:43 pm
………
ตอบ
ผมไม่รู้ว่า ผมไปรุนแรงกับมัซฮับที่ใหน ผมบอกแล้วว่า ในศาสนาอิสลามไม่มีการแบ่งเป็นมัซฮับ และไม่เคยประณามอิหม่ามทั้งสี่ เพียงแต่ตำหนิพวกที่ผูกขาดมัซฮับ เท่านั้น ไม่ได้เหมารวม ผมคิดว่าจะดูไปสักระยะหนึ่ง แล้วก็จะไม่เข้ามายุ่งอีก ผมไม่ได้มีความสุขกับการมาทะเลาะกันในหน้าคอ็มหรอกครับ ดังนั้น ขอให้สบายใจได้ ขอเวลาอีกนิด แล้วผมจะไม่มายุ่งอีก แต่ช่วยบอกพวกนักศึกษา อย่ามาพาดพิงผมอีก และ ผมจะไม่เข้ามายุ่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Apr 02, 2006 11:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก้ไข

ข้อความของ al-farook

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในเรื่องมัสอะละฮ์อิจญฺฮาด หรือประเด็นข้อปลีกย่อยนั้น ตามแบบฉบับของสะสะฟุศศอลิหฺนั้น พวกเขาจะให้เกียตริซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็อยากจะยกคำพูดของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ เพื่อมาเสริมทัศนะของเราสักนิดนึง ซึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวว่า


فهذه المسائل التي تنازع فيها السلف والأئمة، فكل واحد منهم أقر الآخر على اجتهاده... فمن ترجح عنده تقليد الشافعي لم ينكر على من ترجح عنده تقليد مالك، ومن ترجح عنده تقليد أحمد لم ينكر على من ترجح عنده تقليد الشافعي، ونحو ذلك“. وإذا كان الأمر كذلك، فإن المنكر على مخالفيه ـ إذا كانوا قد اعتمدوا على أدلة قال بها بعض الأئمة ـ فهو مخالف لهذا النهج متعد على مخالفيه

" ดังนั้น บรรดาประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้ ที่บรรดาสะลัฟและบรรดานักปราชญ์ชั้นนำทั้งหลายนั้น ทุกๆคนจากพวกเขา ก็ให้การยอมรับกับผู้อื่น บนเรื่องของวินิจฉัยของเขา ดังนั้น ผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะให้น้ำหนักตักลีดกับอิมามมาลิก และผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำการตักลีดอิมามอะหฺมัด เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะที่ให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และเหมือนๆเช่นดังกล่าว และเมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ดังนั้น แท้จริง ผู้ที่ทำการตำหนิ ต่อบรรดาผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา - โดยที่ในเมื่อพวกเขาได้ทำการยึดบรรดาหลักฐานต่างๆที่บรรดานักปราชน์ชั้นำบางท่านได้กล่าวเอาไว้ - แน่นอนว่า เขา (ผู้ทำการตำหนิ) นั้น ย่อมเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับแนวทางนี้ อีกทั้งเขาได้ละเมิดต่อผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา " (ดู หนังสือ มัจญฺมั๊วะ อัล-ฟะตาวา ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 20 หน้า 292 )
……………
ตอบ
เอ้าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ก็ไหน เคยประณามอิบนุตัยมียะฮ เคยคิดจะขุดโคตร อิบนิตัยมียะฮ และเคยกล่าวหาท่านว่ามีอะกีดะฮที่ผิดอยู่มิใช่หรือ เป็นไงวันนี้ยกคำพูดของท่านมาอ้างเลยหรือ รู้ไหม อิบนุตัยมียะฮนี้แหละ ที่ต่อต้านบิดอะฮ และสิ่งที่ยกมาอ้างนั้น ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ที่ถูกอ้าง แล้วละครับ

…………………
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 6:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

ผมพูดถึงวิธีหรือ รูปแบบของการละหมาด ต้องให้สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ และประเด็นการเข้าใจในตัวบทที่แตกต่างกัน หากตัวบทนั้นเศาะเฮียะ เราไม่ได้ขัดแย้ง ไม่ได้ตำหนิ แต่ที่เราพูดว่า บิดอะฮ คือ สิ่งที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีแบบอย่างจากอัสสุนนะฮ
และสิ่งใดก็ตามที่ผมปฏิบัติ ผมต้องมั่นใจว่าถูกต้อง ไม่ใช่ว่า เอ.. ถูกต้องหรือเปล่าที่กูทำ

วิจารณ์

บังอะสันเข้าใจผิดแล้วครับ ไม่ใช่หมายถึงว่า สิ่งที่เรากระทำนั้นถูกหรือผิด หรือคาดว่าถูกหรือเปล่า ในขณะทำอิบาดะฮ์ ? เราผมกล่าวถึงว่า หนทางที่ได้มาจากหุกุ่มนั้น เป็นประเด็นวินิจฉัย ที่ ( الظنى ) หมายถึง คาดว่าถูกต้อง คือไม่มีผู้ใดรู้ว่า ประเด็นวินิจฉัยนั้นเป็นหุกุ่มตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ และไม่มีนักมุจญฺฮิดท่านใดกล้าอ้างว่า สิ่งที่ตนเองอิจญฺฮาดวินิจฉัยนั้น คือหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ แต่เรื่องหุกุ่มที่บอกว่า "วายิบละหมาด" เป็นเรื่องที่ ( اليقين ) มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นว่า มันเป็นหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ เนื่องจากพระองค์ได้กล่าวตรัสไว้ในอัลกุรอานอย่างชัดเจน อย่าง ( متواتر ) โดยไม่อนุญาติให้ทำการวินิจฉัยแล้ว ดังนั้น ประเด็นที่เราพูดนี้ คือประเด็นวินิจฉัยที่วะฮาบีย์หุกุ่มผู้อื่นว่าบิดอะฮ์ ไม่ใช่ประเด็นเรื่องสิ่งที่เราทำนั้นมั่นใจว่าถูกหรือไม่ถูก ซึ่งมันคนละประเด็นกัน ดังนั้น ประเด็นคิลาฟิยะฮ์ที่บังอะสันเชื่อมั่นใจว่าถูกต้องโดยเป็นหุกุ่มที่ถูกต้องตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์นั้น บังอะสันโกหก เนื่องจากไม่มีมุจญฺฮิดท่านใดกล้าพูดอย่างนั้น

อย่างเช่นเรื่องละหมาด ทั้งที่ซุนนะฮ์วะฮาบีย์ และ เราอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์มัซฮับทั้ง 4 ซึ่งส่วนมากแล้วทำละหมาดเหมือนกัน หรือส่วนมากทำตามซุนนะฮ์นบี(ซ.ล.) ตรงกัน แต่บางประเด็นมันมีข้อขัดแย้ง และประเด็นข้อขัดแย้งนี้ ก็เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องวินิจฉัยทั้งสิ้น ซึ่งมันได้รับหุกุ่มมาในหนทางของ ( الظنى) โดยไม่มีอัลกุรอาน และหะดิษที่มุตะวาติร มายืนยันหุกุ่มในปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับมาจากการวินิจฉัยทั้งสิ้น คือต่างฝ่ายได้รับหุกุ่มโดยได้จากหนทาง(การอ้างหลักฐาน) ที่ ( الظنى) ทั้งสิ้น และต่างฝ่ายก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า หุกุ่มของฉันนี่แหละครับ หุกุ่มของอัลเลาะฮ์ หมายถึง เป็นหุกุ่มที่ตรงตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ ซึ่งบรรดานักมุจญฺฮิดไม่มีผู้กล้ากล่าวได้ว่า หุกุ่มที่ตนวินิจฉัยมาจากตัวบทนั้น คือหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ เราเพียงแค่ได้รับหุกุ่มได้เพียงแค่ภายนอกที่เราทุ่มเทวินิจฉัยมาเท่านั้นเอง ส่วนลึกๆของหุกุ่มจะเป็นอย่างไรนั้น อัลเลาะฮ์เท่านั้น ที่ทรงรู้ยิ่ง นั่นคือจุดยืนและคุณลักษณะของสะลัฟ อิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ถูกถามเกี่ยวกับประเด็นอิจญฺฮาดว่า

أفرأيت الاجتهاد أيقال له: صواب على غير هذا المعنى؟ قلت: نعم على أنه إنما كلف فيما غاب عنه الاجتهاد، فإذا فعل فقد أصاب بالإتيان بما كلف، وهو صواب عنده على الظاهر، ولا يعلم الباطن إلا الله تعالى

"(มีผู้ถามได้ถามว่า) ท่านโปรดบอกฉัน เกี่ยวกับการอิจญฺฮาด(วินิจฉัย) ซึ่งจะกล่าวได้ใหมว่า มันถูกต้องตามความหมายอื่นนี้ ? ฉัน(อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวตอบว่า "ใช่แล้ว" บนการที่ว่า เขา(นักมุจญฺฮิด)ได้ถูกตกหนัก(ให้วินิจฉัย) ในสิ่งที่ ไม่มีการวินิจฉัยไว้ ดังนั้น เมื่อเขาได้ปฏิบัติ แล้วก็ตรงกับความถูกต้อง ด้วยการนำมาซึ่งสิ่งที่เขาได้ตกหนัก(ให้วินิจฉัย) โดยที่มัน (สิ่งที่ถูกวินิจฉัย) นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามทัศนะของเขา(มุจญฺฮิด) ตามสภาพภายนอก(ที่เขารู้จากการวินิจฉัย)เท่านั้น โดยที่ไม่มีผู้รู้แก่นแท้ภายในของมันได้(ว่าถูกต้องหรือไม่) นอกจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) เท่านั้น " ( ดู หนังสือ อัร-ริซาละฮ์ ของท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ หน้า 497 )

ดังนั้น ปัญหาคิลาฟียะฮ์ ที่วะฮาบีย์ ได้ทำการหุกุ่มผู้อื่นว่าบิดอะฮ์นั้น ไม่ใช่ได้รับมาจากหลักฐานที่ชี้ชัดว่ามันเป็นหุกุ่มบิดอะฮ์ ซึ่งได้มาเพียงแค่การวินิจฉัยเท่านั้นเอง ซึ่งมันเป็น ( الظنى) ส่วนอีกทัศนะหนึ่ง ซึ่งได้ทำการวินิจฉัยว่า อนุญาติให้กระทำมันได้ ก็ได้จากการวินิจฉัยที่อยู่ในกรอบของหลักการอิสลาม ก็ได้อ้างหลักฐานแบบ ( الظنى) ดังนั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับการวินิจฉัยจากหลักการที่ ( الظنى) เท่าๆกัน ก็ไม่อนุญาติให้ฝ่ายหนึ่ง ทำการละเมิดอีกฝ่ายหนึ่งว่า เขานั้นทำบิดอะฮ์ หรือ คุณต้องทำตามทัศนะของเรา ซึ่งแบบนี้มันไม่ใช่หลักการของสะลัฟ แต่มันเป็นหลักการของพวกบิดอะฮ์

อ้างจากบังอะสัน

เอ้าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ก็ไหน เคยประณามอิบนุตัยมียะฮ เคยคิดจะขุดโคตร อิบนิตัยมียะฮ และเคยกล่าวหาท่านว่ามีอะกีดะฮที่ผิดอยู่มิใช่หรือ เป็นไงวันนี้ยกคำพูดของท่านมาอ้างเลยหรือ รู้ไหม อิบนุตัยมียะฮนี้แหละ ที่ต่อต้านบิดอะฮ และสิ่งที่ยกมาอ้างนั้น ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ที่ถูกอ้าง แล้วละครับ

วิจารณ์

บังอะสันครับ ผมได้บอกบังอะสันไปแล้วไงครับว่า "ผมก็อยากจะยกคำพูดของท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ เพื่อมาเสริมทัศนะของเรา" ผมแค่กล่าวนำคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะอ์ มากล่าวเป็นหลักฐานเสริมเท่านั้นเอง ไม่ใช่นำมาเป็นหลักฐานหลักที่จะมาสนับสนุนแนวทางของเรา แต่การที่ผมนำคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์มากล่าวเสริมนั้น สำหรับวะฮาบีย์โดยเฉพาะ ไม่ใช่สำหรับพวกเรา และการเอาหลักฐานจากบุคคลที่ฝ่ายวะฮาบีย์ยอมรับ ย่อมเป็นหลักฐานที่หนักแน่นกว่าสำหรับวะฮาบีย์ มากกว่าที่เราจะเอาอุลามาอ์ที่วะฮาบีย์ไม่ยอมรับมานำเสนอ เกลือจิ้มเกลือ มันใช้ได้ดีสำหรับฝ่ายตรงข้ามนะครับบังอะสัน การที่เราจะสนทนากับชีอะฮ์นั้น หากเราเอาหลักฐานของซุนนะฮ์ในโต้ตอบพวกเขาแล้ว พวกเขาคงหัวเราะเอานะครับ แต่หากว่าเราเอาหลักฐานจากตำราของชีอะฮ์เอง ไปโต้ตอบพวกเขาแล้ว แน่นอนว่า พวกเขาต้องรับพิจารณาในการชี้แจง บังอะสันเข้าใจยังครับ และผมก็ทราบดีว่า บังอะสันต้องมามุกเดิมที่ว่า "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง " ผมจึงพูดสำทับดักไว้แล้วว่า "มันเป็นแค่คำพูดเสริม"

และการที่บังอะสันบอกว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ต่อต้านบิดอะฮ์นั้น ผมก็ยอมรับครับ แต่ขณะเดียวกัน ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ก็มีทัศนะที่บิดอะฮ์เช่นเดียวกัน เช่นกล่าวว่า ชนิดมวลสารเดิมของโลกนี้ ก่อดีม (คืออยู่พร้อมกับอัลเลาะฮ์ตั้งแต่เดิม ซึ่งถือว่ากุฟูรและชิริกตามหลักการ) นรกนั้นมีวันเสียหาย (แบบนี้ฟิรอูนและจอจ ดับบิลยูบูชก็ได้ออกจากนรกว่านั้นเถอะ) ทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เป็นทัศนะที่เป็นซุนนะฮ์ หรือบิดอะฮ์ครับ บังอะสัน ใหนละครับ ที่บอกว่าต้านบิดอะฮ์ และการที่ผมได้บอกทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นี้ ไม่ใช่ว่าจะไปตำหนิท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่เพียงแค่อยากจะบอกว่าให้บังอะสันรู้ว่า อุลามาอ์ทุกๆคนนั้น ต่างต่อต้านบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงทั้งนั้นแหละครับ และเพื่อจะบอกให้บังอะสันระวังทัศนะบางอย่างที่บิดอะฮ์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และถือว่าไม่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในการกล่าวทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ แต่กระนั้น เราก็ไม่หุกุ่มว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นกาเฟร โดยที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เป็นอุลามาอ์ท่านหนึ่งของอิสลามครับ "การที่เราหุกุ่มผู้หนึ่งผิดพลาด ว่าเขาเป็นคนดี ย่อมดีกว่า การที่เราหุกุ่มผิดพลาดว่าเขาเป็นคนชั่ว" ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และทัศนะที่บิดอะฮ์ของท่านนั้น เราก็ขอให้ท่านไปตอบคำถามกับอัลเลาะฮ์ก็แล้วกันครับ แต่หากว่าวะฮาบีย์ชอบหุกุ่มผู้อื่นว่ามีทัศนะที่บิดอะฮ์และทำบิดอะฮ์ ก็ไม่แปลก หากเราจะหยิบยกทัศนะบิดอะฮ์ของอุลามาอ์ที่วะฮาบีย์นับถือ เพื่อมาเตือนสติว่า ไม่มีผู้ใดที่จะถูกต้องไปทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ การผ่อนปรน และมีความใจกว้างนั้น ย่อมเป็นแบบฉบับและสะละฟุศศอลิหฺ และ ผู้มีภูมิธรรม

และบังอะสันกล่าวลงท้ายว่า " และสิ่งที่ยกมาอ้างนั้น ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ที่ถูกอ้าง แล้วละครับ" บังอะสันครับ สิ่งที่ผมยกมานั้น มันผิดวัตถุประสงค์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์อย่างไร ? บังอะสันต้องอธิบายเหตุผลทางวิชาการมาครับ ไม่ใช่พูดทิ้งไว้ตามอารมณ์ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

فهذه المسائل التي تنازع فيها السلف والأئمة، فكل واحد منهم أقر الآخر على اجتهاده... فمن ترجح عنده تقليد الشافعي لم ينكر على من ترجح عنده تقليد مالك، ومن ترجح عنده تقليد أحمد لم ينكر على من ترجح عنده تقليد الشافعي، ونحو ذلك“. وإذا كان الأمر كذلك، فإن المنكر على مخالفيه ـ إذا كانوا قد اعتمدوا على أدلة قال بها بعض الأئمة ـ فهو مخالف لهذا النهج متعد على مخالفيه

" ดังนั้น บรรดาประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้ ที่บรรดาสะลัฟและบรรดานักปราชญ์ชั้นนำทั้งหลายนั้น ทุกๆคนจากพวกเขา ก็ให้การยอมรับกับผู้อื่น บนเรื่องของวินิจฉัยของเขา ดังนั้น ผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะให้น้ำหนักตักลีดกับอิมามมาลิก และผู้ใดที่ทัศนะของเขาให้น้ำการตักลีดอิมามอะหฺมัด เขาก็จะไม่ไปตำหนิผู้ที่เขามีทัศนะที่ให้น้ำหนักการตักลีดอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และเหมือนๆเช่นดังกล่าว และเมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ดังนั้น แท้จริง ผู้ที่ทำการตำหนิ ต่อบรรดาผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา - โดยที่ในเมื่อพวกเขาได้ทำการยึดบรรดาหลักฐานต่างๆที่บรรดานักปราชน์ชั้นำบางท่านได้กล่าวเอาไว้ - แน่นอนว่า เขา (ผู้ทำการตำหนิ) นั้น ย่อมเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับแนวทางนี้ อีกทั้งเขาได้ละเมิดต่อผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับเขา " (ดู หนังสือ มัจญฺมั๊วะ อัล-ฟะตาวา ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 20 หน้า 292 )

บังอะสันครับ แล้วจุดประสงค์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นอย่างไร ? จากคำกล่าวของท่านนี้ โปรดชี้แจง หากบังไม่ชี้แจง ก็แสดงว่าคำกล่าวของผมก็ยังมีน้ำหนักอยู่อย่างนั้น อัลหัมดุลิลลาห์

อ้างจากบังอะสัน

มันคนละเรื่อง ครับ และไม่ได้เป็นหลักฐาน ให้เราเอียะติกกอดว่า อิบาดะฮที่เราทำอยู่นั้น ต้อง คาดคะเนว่า ถูก แต่ไม่ให้มั่นใจ
เพราะเรื่อง อิบาดะฮที่เราทำนั้น ต้องมีหลักฐาน เมือมีหลักฐาน ก็ไมจำเป็นต้องวินิจฉัย
บังอะสันกล่าวอีกว่า
เรื่อง ศาสนาต้อง มาจากวะหยู ส่วนเรื่อง อิจญติฮาดที่น้อง อัลฟารุกเอามาอ้างนั้น เช่น มันเรื่อง ยุทธวิธี และกุศโลบายในการทำสงคราม ซึ่ง บางครั้ง ท่านนบี ก็รับฟังความเห็นของเหล่าเศาะหาบะฮ์

วิจารณ์

1. "คำว่าคาดคะเนว่าถูกต้อง" นั้น คือ หนทางของที่ได้รับมาของหลักฐาน ไม่ใช่ตอนทำอิบาดะฮ์ ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้ว บังอะสันกรุณาอย่าหลงประเด็น

2. เรื่องอิบาดะฮ์นั้น เมื่อมีหลักฐานก็ไม่ต้องวินิจฉัยนั้น หมายถึง เมื่อมีหลักฐานที่มีข้อบ่งชี้ ( الدلالة) ที่ชัดเจน และ เด็ดขาดแล้ว จึงไม่อนุญาติวินิจฉัย แต่สำหรับ หลักฐานที่มีข้อบ่งชี้ที่ยังไม่ชัดเจน เช่นมีความหมายหลายนัย ก็ต้องวินิจฉัย (อิจญฺฮาด) อย่างไม่ต้องสงสัย เช่น อายะอ์ที่ว่า ( وامسحوا برؤسكم ) " และพวกท่านจงเช็ดศรีษะของพวกท่าน" ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า อายะฮ์อัลกุรอานนี้มีความเด็ดขาด ( قطعى) ในเรื่องของการยืนยันว่ามันเป็นอัลกุรอานอย่างแน่นอน แต่ข้อบ่งชี้ ( الدلالة) ของอายะฮ์นี้ ยังไม่ชัดเจน ( الظنى ) เนื่องจากข้อบ่งชี้ของหุกุ่มมันมีหลายนัย ตรงอักษร (บาอ์) ซึ่งบรรดาอุลามาอ์ต้อง วินิจฉัย(อิจญฺฮาด) ว่ามันมีความหมายใดกันแน่ มีความหมายแบบ (تبعيض) คือเช็ดแค่บางส่วน ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ หรือมีความหมายแบบ ( إلصاق) เช็ดโดยทั้งหมด ตามทัศนะของอิมามมาลิก หรือเอาหะดิษมาอธิบายที่ว่าท่านนบี(ซ.ล.) เช็ด เศษหนึ่งส่วนสี่ของศรีษะ เพื่อจะมาอธิบายความหมายของ (บาอ์) ตัวนี้ ตามทัศนะของหะนะฟีย์ (หากการรายงานทัศนะของมัซฮับมีความคาดเคลื่อน ก็มะอัฟด้วย) อีกตัวอย่างเช่น คำว่า ( ثلاثة قروء ) "สามกุรุอฺ" ซึ่งคำนี้ ได้ถูกระบุยืนยันเด็ดขาด( قطعى) แล้วว่ามันคือ ถ้วยคำที่เป็นอัลกุรอาน คำการบ่งชี้ของมันนั้น ยังไม่เด็ดขาด ( الظنى) เนื่องจากมันมีความหมายหลายนัย จึงได้ทำการวินิจฉัยโดยใช้หลักภาษาอาหรับและหลักฐานจากหะดิษมามาวินิจฉัยอธิบาย ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์มีทัศนะว่า มันคือ "การเกลี้ยงสามครั้ง" แต่อิมามอบูหะนีฟะฮ์มีทัศนะว่า มันคือ "การมีเฮดสามครั้ง" เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะทราบได้ว่า ต้องมีการวินิจฉัย เมื่ออยู่พร้อมกับหลักฐานที่ยังมีข้อบ่งชี้ที่ไม่ชัดเจน ดังนั้น บังอะสันจะกล่าวลอยๆเพียงอย่างเดียวว่า เมื่อมีหลักฐาน ก็วินิจฉัยไม่ได้นั้น มันไม่ถูกต้องนัก

3. บังอะสันพยายามอ้างสาเหตุของหะดิษเพื่อมาจำกัดทัศนะของตนเองว่า เรื่องกลยุทธสงครามนั้น อนุญาติให้อิจญฺฮาดได้ แต่เรื่องอิบาดะฮ์ไม่อนุญาติให้อิจญฺาดเมื่อมีหลักฐาน ซึ่งเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง โดยที่ผมได้อธิบายกับบังอะสันไปแล้วในข้อที่ 2
ท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยอธิบายให้เราทราบว่า นักมุจญฺฮิด(ผู้วินิจฉัย) คนหนึ่งนั้น ไม่สามารถที่จะมั่นใจเด็ดขาดไว้ว่า เขาอยู่บนความถูกต้องตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ท่านอิมามมุสลิมได้รายงาน คำสั่งเสียของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต่อแม่ทัพทหารว่า

وإذا حاصرت أهل حصن، فأرادوك أن تنزلهم على حكم الله فلا تنزلهم على حكم الله، ولكن أنزلهم على حكمك، فإنك لا تدري أتصيب حكم الله فيهم أم لا

" เมื่อท่านได้ปิดล้อม ผู้ที่อยู่ในป้อมปราการณ์หนึ่ง แล้วพวกเขาต้องการให้ท่าน ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ ดังนั้น ท่านอยู่ทำการตัดสินพวกเขาให้อยู่ บนคำตัดสินของอัลเลาะฮ์ แต่ท่านจงทำการตัดสินให้อยู่บนการตัดสินของท่าน(ด้วยการวินิจฉัย) เพราะว่าแท้จริง ท่านไม่รู้ว่า ท่านได้ตัดสินถูกต้อง ตามหุกุ่มของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อพวกเขาหรือไม่ ? " (ดู หะดิษที่ 1731)

บังอะสันลองพิจารณาในตัวบทของหะดิษนี้ซิครับ ซึ่งผมได้อ้างอิงไว้ไม่ใช่เพื่อที่จะบอกเรื่องการอิจญฺฮาดเรื่องอิบาดะฮ์หรือไม่ใช่เรื่องอิบาดะฮ์ แต่จุดมุ่งหมายของผมที่บังอะสันละเลยไม่ยอมหยิบยกมาวิจารณ์นั้น คือเรื่องหุกุ่ม ที่มุษย์วินิจฉัยขึ้นมา โดยอ้างว่ามันคือหุกุ่มของอัลเลาะฮ์หรือหุกุ่มตามทัศนะของอัลเลาะฮ์นั้น ย่อมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวินิจฉัยของเรื่องอิบาดะฮ์(ซึ่งผมได้อธิบายแล้วในข้อ 2) หรือเรื่องของดุนยา เช่น กลยุทธสงคราม ที่อ้างอิงจากหุกุ่มตามหลักการของอิสลาม และหะดิษนี้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่รู้ได้ว่า หุกุ่มตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ที่ผู้รู้(มุจญฺฮิด)วินิจฉัยนั้น มันเป็นอันใดกันแน่ แต่ที่แน่ๆนั้น อัลเลาะฮ์จะทรงตอบแทนมุจญฺฮิดที่ทำการวินิจฉัย เมื่อเป็นเช่นนี้ บังอะสันกล้าพูดใหมล่ะครับว่า ทุกๆทัศนะที่บังอะสันยึดถืออยู่ในเรื่องอิบาดะฮ์จากประเด็นปัญหาคิลาฟียะฮ์นั้น คือหุกุ่มตามทัศนะที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ ส่วนผู้อื่นไม่ใช่หุกุ่มที่ผิดไม่ใช่เป็นไปตามทัศนะของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ซึ่งหากบังอะสันไม่กล้าตอบ ก็อย่ากล่าวหาทัศนะอื่นในเรื่องคิลาฟียะฮ์ว่า เป็น "บิดอะฮ์" ทำบาปตกนรก

อ้างจากบังอะสัน

ผมไม่รู้ว่า ผมไปรุนแรงกับมัซฮับที่ใหน ผมบอกแล้วว่า ในศาสนาอิสลามไม่มีการแบ่งเป็นมัซฮับ และไม่เคยประณามอิหม่ามทั้งสี่ เพียงแต่ตำหนิพวกที่ผูกขาดมัซฮับ เท่านั้น

วิจารณ์

นั่นแหละครับ มันรุนแรงบังอะสัน เพราะบังอะสันบอกว่า "ในศาสนาอิสลามไม่มีการแบ่งมัซฮับ" ก็แสดงว่า "มัซฮับทั้ง 4 ที่เกิดขึ้นนั้น ก็ไม่ใช่อิสลาม ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในศาสนาอิสลามซิครับ ซึ่งแบบนี้จะไม่มีผู้ใดพูด นอกจากพวกบิดอะฮ์ เนื่องจากมีนักปราชญ์แห่งโลกอิสลามมากมายเหลือเกินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่พวกเขามีมัซฮับ หรือว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในแนวทางของอิสลามเนื่องจากมีมัซฮับ ? ซึ่งจะไม่พูดแบบนี้นอกจากพวกบิดอะฮ์ และผู้ที่ผูกขาดมัซฮับนั้น จะถูกตำหนิ ต่อเมื่อพวกเขาเอี๊ยะติก๊อตว่า วายิบต้องผูกขาด เพราะเท่ากับเขาตั้งเงื่อนไขในสิ่งที่อัลกุรอานไม่ได้ระบุเอาไว้ หรือเขาผูกขาดมัซฮับโดยเอี๊ยะติก๊อตว่า มัซฮับของเขาเท่านั้นที่ถูก แบบนี้ย่อมถูกตำหนิอย่างรุนแรง หรือเขาได้ผูกขาดหุกุ่มของมัสอะละฮ์วินิจฉัยหนึ่งว่า ทัศนะของเขาเท่านั้นที่ถูก แต่ทัศนะอื่นนั้นผิด เขาย่อมกระทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ดังนั้น การผูกขาดมัซฮับโดยสมัครใจและไม่เอี๊ยะติก๊อตว่ามัซฮับของตนวายิบต้องสังกัด หรือ ไม่เอี๊ยะติก๊อตว่ามัซฮับของตนเท่านั้นที่ถูก ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาติให้กระทำได้ โดยหลักฐานที่ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีนที่กูฟะฮ์(อิรัก) ที่เป็นคนเอาวามได้ทำการตามมัซฮับของท่านอิบนุมัสอูดเท่านั้น ก็เป็นที่อนุญาติ ซึ่งหากการสังกัดมัซฮับแบบเป็นการเฉพาะ เป็นบิดอะฮ์แล้ว แน่นอนว่า บรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีนที่เป็นคนเอาวามก็ต้องกระทำบิดอะฮ์ไปด้วย ซึ่งจะไม่มีผู้ใดกล่าวอย่างนี้ นอกจากพวกบิดอะฮ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 7:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากคุณอับดุลลา

ในช่วงสมัยที่ผมเรียกกุรอ่าน ผมถูกสอนมาว่า เรามัซฮับชาฟีอีย์ เมือไปละหมาดในมัซยิดอื่นทีไม่ได้ตามมัซฮับชาฟีอีย์ จะต้องตักลีดตามมัซฮับนั้นก่อน การละหมาดของเราจะใช้ได้ คำพูดนี้ออกมาจากปราชญ์ผู้รู้ หรือ คนที่มีความคิดอุตริครับ

วิจารณ์

ต้องดูก่อนครับ คุณอับดุลลา คุณจะไปกล่าวว่า ผู้ที่รู้บอกกับคุณดังกล่าวนี้ เป็นที่มีความคิดอุตริ นั้น ต้องดูกรณีด้วยนะครับ ว่า หากผู้ที่อยู่ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ เกิดเอี๊ยะติก๊อตขึ้นว่า หากเขาละหมาดโดยตามที่ไม่บิสมิลลาห์ นั้นใช้ไม่ได้ นอกจากการตักลีด ก็ให้เขาทำการตักลีดตามมัซฮับหะนะฟีย์ (เนื่องจากเขาถือว่ามัซฮับหะนะฟีย์นั้นถูกต้องเหมือนกัน) ก็ให้เขากระทำได้ แต่หากว่าผู้ที่อยู่มัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ เอี๊ยะติก๊อตว่า การตามอิมามมัซฮับหะนะฟีย์ที่ไม่บิสมิลลาห์ก็เซาะหฺ ใช้ได้เหมือนกัน ก็อนุญาติให้ตามได้เลย โดยไม่ต้องตักลีด ดังนั้น ประเด็นที่แตกต่างกันก็คือ การเอี๊ยะติก๊อตของแต่ละบุคคลในการตาม แต่ต่างก็สอดคล้องกันที่ว่า ทั้งสองนั้น ก็ไม่เอี๊ยะติก๊อตว่า การไม่อ่านบิสมิลลาห์ในละหมาดของมัซฮับหะนะฟีย์นั้นผิด แต่สำหรับผมนั้น เลือกแนวทางที่ 2 ครับ คือตามได้เลยโดยไม่ต้องตักลีด

อ้างจากคุณอับดุลลา

อีกอย่างผมไม่ใช่วะฮาบีย์นะครับ และไม่ยึดมัซฮับใดๆด้วย ได้อ่านบทความของคุณอัลอัซฮาย์ และ คุณฟารุก ผมเองก็ให้น้ำหนักมากในทางนี้ กรุณาอย่าคิดว่า ถ้าคนอื่นไม่เหมือนคุณแล้วจะต้องเป็นอย่างนั้นไปซะทั้งหมด เพราะความคิดเช่นนี้เป็นบิดอะห์ อย่างที่คุณอัลฟารุกว่า

วิจารณ์

สำหรับผมนั้น อยู่มัซฮับชาฟิอีย์ครับ แต่ไม่ตะอัศศุบมัซฮับของตนเอง โดยไปหุกุ่มมัซฮับอื่นในประเด็นวินิจฉัยว่าผิดพลาดไม่ถูกต้อง หรือเป็นบิดอะฮ์ นั่นคือการให้น้ำหนักและจุดยืนของผม ไม่ใช่หมายความว่า ผมไม่ยึดมัซฮับใดๆ เหมือนกับแนวทางของคุณ หรือตามที่คุณเข้าใจจากจุดยืนของผมนะครับ และจากคำพูดของบังคนอยากรู้นั้น เพียงแค่จะบอกว่า ประเด็นที่อยู่ในการวินิจฉัยนั้น ไม่สมควรที่จะไปว่า คนนั้นผิด หรือ เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง คือเราต้องการให้มีความใจกว้างในประเด็นที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย โดยไม่ไปหุกุ่มพี่น้องมุสลิมด้วยการกัน เนื่องจากประเด็นการวินิจฉัยนั้น ไม่มีผู้ใดมั่นใจได้ว่า ทัศนะของฉันนั้นตรงกับทัศนะที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์

อ้างจากคุณอัลดุลลา

การอ่านตัลเกน คุณอัลฟารุกได้ชี้แจงว่า มีหลักฐาน แต่พี่น้องมุสลิมในประเทศไทยทำการอ่านตัลเกนกัน โดยต้นเรื่องมาจากมลายู ซึ่งเรียนกันในสมัยก่อน กล่าวคือ การอ่านตัลเกนจะเป็นการป้องกันมาลาอิกะห์ ไม่ให้เข้ามาทำการสอบสวนคนตาย และจะมีพิธีเชิญวิญญาณลงจากบ้าน และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย แต่จะขอเรื่องตัลเกนก่อนนะครับ ผมได้ทราบต้นเรื่องจากผู้รู้อาวุโสท่านหนึ่งแต่ไม่เอ่ยนาม ซึ่งท่านเคยอ่านตัลเกนมาก่อน และที่มาที่ไปของมันก็มาจากหนังสือเล่มนี้

วิจารณ์

ผมลืมตาดูโลก มาแล้วเกือบ 28 ปี ไม่เคยเห็นพี่น้องมุสลิมที่มีมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ในเมืองไทย ทำพิธีส่งหรือเชิญวิญญานลงจากบ้าน ??? คุณช่วยบอกรายละเอียดให้ผมฟังสักนิดก็จะดีไม่น้อยเลยนะครับ ผมจะได้รับความรู้บ้าง ส่วนหลักฐานเรื่องตัลกีน ผมได้ตั้งกระทู้นำเสนอไปแล้ว แต่ถูกลบไป และเรื่องกุนูตก็ถูกลบไปอีก แต่หากผมนำเสนอมาอีก ผมเกรงว่าทางเวปมาสเตอร์จะลบอีกนะครับ ผมก็ให้คุณไปดูที่กระดานเสวนาเวปนี้ครับ http://www.miftahcairo.com/ และผมก็จะส่งไปทาง"ข่าวสาร" ถึงคุณนะครับ แล้วคุณก็โปรดวิจารณ์ออกความเห็นในสิ่งที่ผมนำเสนอเรื่องหลักฐานการอ่านตัลกีนด้วยนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 8:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

คำวิจารณ์ของน้อง al-farook ครั้งหลังสุด ถือ ว่าไม่มีคำพูดเสียดสี และมีความสุภาพพอสมควร

ดังนั้น ต่อไปนี้ ขอให้สนทนากันต่อเถอะครับ ให้อยู่ในมาตรฐานนี้ สำหรับผม ขอยุติเพียงแค่นี้ และไม่อนุญาตให้ใครเข้ามาพาดพิงถึงผมอีก จึงเรียนมาเพื่อทราบ
วัสสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 12:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของผู้ไม่รู้ บางคนที่หยิบยกอายะมาไว้บนความเข้าใจของตนเอง

وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ ذَلِكُمْ وَصَّاكُم بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
[6.153] และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง

และพี่น้องก็จะเห็นว่าวะฮาบีย์บางคน เคยบอกว่าอัลกรุอานนั้น จำกัดการอธิบายไว้เพียงแค่ท่านนบีเท่านั้นและไม่มีใครรู้ดีกว่าท่านในคำอธิบายนั้น และถึงขาดตะอัศศุบว่าเขานั้นจะไม่ยึดตามการให้ความเห็นของอุลามะท่านใด นอกจาก กิตาบุลลอฮ์และซุนนะนบี
แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นต้องอาศัยคำอธิบายตัวบทบางอย่าง จากซอฮาบะและอุลามะบ้าง หรือจากผู้ที่ตนตักลีดตามบ้าง
ดังเช่นคำอธิบายอายะข้างบนนี้

คำอธิบายของอิบนุอับบาส
ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวเกี่ยวกับคำดำรัสของอัลลอฮที่ว่า (และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์) ว่า อัลลอฮทรงบัญชาแก่มวลผู้ศรัทธาทั้งหลายให้ให้ความสำคัญกับหมู่คณะ และห้ามพวกเขาไม่ให้ขัดแย้งและแตกแยกกัน และทรงบอกพวกเขาว่า ประชาติก่อนพวกเขานั้น ได้รับความวิบัติ เพราะทะเลาะวิวาทและโต้เถียงกัน ในเรื่อง ศาสนาของอัลลอฮ และท่านอิหม่ามอะหมัด บุตร หัมบัล ได้รายงานจาก อับดุลลอฮ บุตรมัสอูด (ร.ฎ) ว่า เขากล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขีดเส้นเส้นหนึ่ง ด้วยมือของท่าน แล้วกล่าวว่า “นี้คือ แนวทางของอัลลอฮ อันเที่ยงตรง” และท่านได้ขีดเส้นไปทางด้านขวาและด้านซ้ายของท่าน แล้วกล่าวว่า “นี้คือ หลายๆทาง ซึ่งไม่มีแนวทางใดจากหลายๆทางนั้น นอกจากมีชัยฏอน เชิญชวน ไปสู่แนวทางนั้น แล้วท่านก็อ่านอายะฮที่ว่า “ และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์” – รายงานโดย อะหมัด อัลหากิมและอัลนะสาอีย์ และอัลหากิม กล่าวว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ โดยที่อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม ไม่ได้บันทึกมันไว้ – ดูมุคตะศอ็รตัฟสีรอิบนิกะษีร อรรถาธิบายอายะฮที่ 153 ซูเราะฮอันอันอาม


ดังจะเห็นว่าความแตกต่างนั้นล้วนมาจากสาเหตุ ของความไม่เข้าใจในตัวบทอย่างลึกซึ้งของผู้นำเสนอ
แต่ด้วยความตะอัศศุบในแนวทางตนเองเลยคิดไปว่าโองการต่างๆในอัลกรุอานนั้นลงมาเพื่อที่ให้เครดิตแนวทางของตนเองและมุ่งโจมตีและจะสำทับผู้อยู่ที่ในแนวทางอื่น ..โดยไม่ได้มุ่งที่จะทำความเข้าใจแนวทางอื่นในอดีตว่า เขาเหล่านั้นนำแบบอย่างมาจากไหน และจากใคร

และ สิ่งที่มุจญฺฮิดของท่าน อีหม่ามทั้งสีนั้น ต่างก็มีแนวทางที่เที่ยงตรงเดียวกัน คือยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฺ และไม่ได้เป็นบิดอะแต่อย่างใด อย่างที่วะฮาบีย์ไดเข้าใจ ครั้นตนเองไม่เข้าใจก็จะเอาไปเทียบกับพวกยาฮูดีและนะซอรอ สิ่งเหล่านี้คือการนำไปสู้การแตกแยกอย่างชัดเจน
หากผู้ใดนำมัซฮับทั้งสี่ไปเปรียบกับพวกยาฮูดีและนะซอรอนั้น แสดงว่าเขาผู้นั้นเป็นคนที่มีคลั้งในแนวคิดของตัวเอง โดยแยกแยะสัจจะธรรมไม่ออก

จริงอยู่ ท่านซอฮาบะ อิบนุอับบาส มีทัศนะว่าคำว่า ละสามะ คือการร่วมประเวณีหมายความว่า"การถูกผิวหนังสตรีที่แต่งงานได้นั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด นอกจากร่วมประเวณี เท่านั้นแต่ท่าน ซอฮาบะอย่างท่านอิบนุอุมัรมีทัศนะว่า คำนี้คือหมายถึงการกระทบหรือสัมผัสเท่านั้น หมายความว่า"การกระทบผิวหนังสตรีที่แต่งงานได้นั้น ทำให้เสียน้ำละหมาด"
เนื่องจากการตีความที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองก็ไม่ได้เเอการตีความมาจุดประเด็นให้แตกแยกเหมือนวะฮาบีย์ในปัจจุบันที่ตะอัศศุบว่าตนเท่านั้นที่ถูกต้องฝ่ายเดียว โดยไม่ฟังคำวินิจฉัยของซอฮาบะอีกคน

และที่ท่านอิมามอะหฺมัด อนุญาติให้ทำการอ่านตัลกีนมัยยิดได้นั้น หมายความว่าอย่างไร ในเมื่อเขาอ้างนักหนาว่า เขานั้นเดินทางตามของอิหม่ามอะฮ์หมัด หรือว่าสลัฟท่านี้เป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางของอิสลาม ตามทัศนะของวะฮาบีย์และอีกหลายๆท่านที่วินิจฉัยไม่เหมือนกับความเข้าใจของวะฮาบีย์ก็ไม่ทราบว่าเขาเหล่านั้นโดนฮูกมด้วยหรือปล่าว??

แต่จริงๆแล้วคำว่า หนทางที่เที่ยงตรง และคำว่า"แนวทางของฉัน ในอายะฮ์ คือเป็น "เรื่องของอากิดะฮ์" ไม่ใช่เรื่องของ "ฟิกห์" แต่อย่างใด
ท่านอัดดะฮฺละวีย์กล่าวว่า

إن هذه المذاهب الأربعة المدونة المحررة قد إجمعت الأمة أو من يعتد به منها على جواز تقليدها إلى يومنا هذا ، وفى ذلك من المصالح مالا يخفى ، لا سيما فى هذه الأيام التى قصرت فيها الهمم جدا وأشربت النفوس الهوى وأعجب كل ذى رأى برأيه

ความว่า " แท้จริง บรรดามัซฮับทั้งสี่ที่ได้ถูกบันทึกหลักการไว้เรียบร้อยแล้ว อุมมะฮฺอิสลามได้ลงมติหรือผู้ที่ถูกนับด้วยกับเขาจากการลงมติได้ มีมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้ทำการตักลีดตามบรรดามัซฮับทั้งสี่ได้ จนกระทั้งถึงวันของเรานี้ และในสิ่งดังกล่าวเป็นการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดายุคสมัยนี้ ซึ่งบรรดาปฏิธานความุ่งมั่นได้ถดถอยลงไปอย่างมาก และบรรดาจิตใจได้ดื่มด่ำกับอารมณ์ และทุกๆผู้มีความเห็น ต่างก็อวดว่าดีด้วยความเห็นของเขา " ดู หนังสือ อัลอันซอฟ ของอิมามอัดดะฮฺละวีย์ หน้า 53 และหนังสือ อัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮฺ ของอิมามอัดดะฮฺละวีย์ เล่ม 1 หน้า 123 ตีพิมพ์ที่ อัลค๊อยรียะฮฺ

ดังนั้น อุมมะฮ์อิสลามียะฮ์ ได้ยอมรับในบรรดามัซฮับทั้ง 4 ก่อนที่จะมีแนวทางของวะฮาบีย์ขึ้นมาเสียอีก โดยที่ประชาชาติอิสลามไม่ได้เข้าใจว่า อายะฮ์ดังกล่าวนั้น ได้ทำาการตำหนิถึงการมีมัซฮับ ซึ่งหากวะฮาบีย์คิดว่า อายะฮ์นี้หมายถึงการมัซฮับ ก็หมายความว่า อุมมะฮ์อิสลามก่อนจากแนวทางวะฮาบีย์เกิดขึ้นมานั้น ย่อมอยู่ในความหลงผิดทั้งสิ้น ซุบหานัลลอฮ์ !!! ขออัลเลาะฮ์ทรงปกป้องจากแนวทางของวะฮาบีย์ด้วยเถิด

ท่านอัช-ชาฏิบีย์อุลามะที่วะฮาบีย์ยกย่องได้กล่าวรายงานไว้ว่า
" ท่านอิบนุบัฏฏอนได้เล่ารายงานไว้ในชัรหฺซ่อเฮี๊ยะหฺอัล-บุคคอรีย์ จากอบูหะนีฟะฮ์ ท่านกล่าวว่า "ฉันได้พบกับ อะฏออฺ บิน อบีร่อบาหฺ ที่มักกะฮ์" ฉันจึงถามเขาจากเรื่องหนึ่ง แล้วท่านอะฏออฺกล่าวว่า "ท่านมาจากใหน ?" ฉันตอบว่า "มาจากกูฟะฮ์" ท่านอะฏอกล่าวว่า "ท่านมาจากหมู่บ้านที่ทำให้แตกแยกกับศาสนาของพวกเขา แล้วพวกเขาแยกเป็นพวกเป็นกลุ่ม ? " ฉันตอบว่า "ใช่" ท่านอะฏออฺถาม "ท่านมาจากจำพวกใหนละ? " ฉันตอบว่า "มาจากผู้ที่ไม่ด่าทอสะลัฟ ฉันศรัทธาด้วยก่อดัร(การกำหนดสภาวะของอัลเลาะฮ์) และไม่กล่าวกุฟุรกับผู้ใด เนื่องจากการทำบาปของเขา" ดังนั้น ท่านอะฏออฺกล่าวว่า "ท่านเป็นที่รู้จักแล้ว ฉะนั้น ท่านจงดำรงมั่นมันไว้"

จะเห็นว่าความเห๋นที่แตกต่างในสมัยท่านบีก็มีเป็นตัวอย่างและยิ่งสมัยของซอฮาบะนั้นยิ่งชัดเจนมาก แต่ความแปลกแยกเหล่านี้ไม่ใช่ก็ให้เกิดฟิตนะแต่อย่างใด ดดยที่ไม่มุ่งโจมตีแนวทางของตนอื่นเพราะเขาต่างให้เกียติรซึ่งกันและกันในคำวินิจฉัยนั้น

ความแตกแยกนั้นบางครั้งเกิดจากนำเสนอสู่ของกลุ่มบางกลุ่มที่คิดไปว่า อุมัรของท่านบีที่ถูกแบ่งออกเป็น 73 พวกนั้น คือพวกมีมัสหับทั้งหลายและรวมทั้งกลุ่มอื่นด้วย วะฮาบีย์เลยตระหนักว่าแนวทางของตนนั้นคือใช่เลยและเป็นพวกไม่ยึดตามความคิดเห็นของใครหรือเป็นลามัสหับ และโยงไปสมัยท่านบีที่ยังไม่มีการแบ่งเรื่องความแตกต่างจากวิชาฟิกฮ์
จริงๆแล้ว เขาลืมคิดไปว่าขณะนั้นท่านนบียังมีชีวิตอยู่และท่านเป็นผู้แจกแจงประเด็นต่างๆด้วยตัวเองคือไม่ว่าเรื่องอากิดะฮ์(อูศูล) และเรื่องเรื่องฟิกห์
จะเห็นว่า จากการบันทึกหรือการรับรายงานที่ถ่ายทอดไม่เหมือนกันนี้แหละเลยทำให้เกิดวคามแตกต่างกันเรื่องฮ๔กมและหลักการต่างๆเพราะซฮาบะนั้นได่รับข้อมูลไม่เหมือนกันนั้นเอง
และก็ไม่มีนักปราชญ์ท่านใด ที่ฟันธงวา การมีมัซฮับนั้นเป็นบิดอะ เหมือนวะฮาบีย์ที่กล้าฮูกมการวินิจฉัยของอุลามะของโลกอย่างสิ้นคิด โดยผลักเขาเหล่านั้นเข้าไปอยู่ใน กลุ่มผู้ที่ลงนรกเลยแม้แต่น้อย แล้วกลับโจมตีเรื่องการมีมัซฮับ
เช่นท่าน อุมัร มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ท่าน อลี ก็มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ท่านอิบนุอับบาสมีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ท่านอับดุลเลาะฮ์ อิบนุ อุมัร ก็มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งพวกเขามีความเห็นที่ขัดแย้งกัน แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาแต่ประการใดเลยแม้แต่น้อย

ตัวอย่างข้างล่างนี้ผมยกให้พี่น้องวะฮาบีย์ผู้มีใจเป็นธรรมได้โปรดพิจรณากับคำวินิจฉัยของซอฮาบะชและให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นบ้างที่ต่างก็ผู้ที่ท่านบีรับรองในความรู้ของเขา

-----------ท่าน อิบนุอับบาส มีทัศนะว่า "การถูกผิวหนังสตรีที่แต่งงานได้นั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด นอกจากร่วมประเวณี แต่ท่าน อิบนุอุมัรมีทัศนะว่า "การกระทบผิวหนังสตรีที่แต่งงานได้นั้น ทำให้เสียน้ำละหมาด" ผมอยากถามว่า การขัดแย้งในประเด็นฟิกห์ของทั้งสองท่านนี้ ทำให้เกิดความแตกแยกกันหรือไม่? และเป็นมูลเหตุทำให้เกิดความแตกแยกกันหรือไม่? ตอบ ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าการขัดแย้งทางด้านฟิกห์นี้ไม่ทำให้เกิดความแตกแยกแต่ประการใด นอกจากวะฮาบีย์

-----ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์มีความเห็นพร้องกับท่านอิบนุอุมัร และท่านอบูหะนีฟะฮ์มีความเห็นพร้องกับท่านอิบนุอับบาส ผมอยากถามว่า การขัดแย้งประเด็นของฟิกห์นี้ ทำให้เกิดความแตกแยกหรือไม่ ? และพวกเขาได้ชื่อว่า อยู่นอก"แนวทางของอัลเลาะฮ์ที่เที่ยงตรง"หรือไม่? หากบังอะสัตอบว่าไม่ ผมก็อยากถามว่า แล้วคนเอาวามที่ตักลีดมัซฮับของท่านทั้งสองนั้น คือผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงของอัลเลาะฮ์กระนั้นหรือ?

------ท่านอุมัรมีทัศนะว่า "ชายใดที่ทำการแต่งงานกับหญิงผู้หนึ่งที่กำลังอยู่ในช่วงอิดดะฮ์นั้น" เขาจะถูกห้ามแต่งงานกับผู้คนนั้นตลอดไป "เพราะผู้ใดที่ทำการสิ่งหนึ่งก่อนถึงเวลาของมันนั้น เขาย่อมถูกลงโทษด้วยการห้ามกับมันตลอดไป" เช่นลูกฆ่าพ่อเพื่อได้รับมรดก เป็นต้น แต่ท่าน อลี กล่าวว่า ต้องแยกทั้งสองออกจากกัน และเมื่อหมดอิดดะฮ์แล้ว ก็สามารถแต่งงานได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมอยากถามบังอะสันว่า การขัดดังกล่าว ต้องทำให้อุมมะฮ์อิสลามต้องแตกแยกหรือไม่? และมันเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดความแตกแยกหรือไม่?

----ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ มีทัศนะว่า วายิบต้องอ่านบิสมิลลาห์ ในซูเราะฮ์อัล-ฟาติหะฮ์ ในละหมาด แต่อิมาม อบูหะนีฟะฮ์มีทัศนะว่า ไม่วายิบ ซึ่งการขัดแย้งของอิมามทั้งสองนี้ เป็นมูลเหตุของการทำให้แตกแยกหรือไม่?

-----อิมามอัช-ชาฟิอีย์มีทัศนะว่า ในละหมาดที่อิมามอ่านเสียงดังนั้น มะมูมต้องอ่านอัลฟาติหะฮ์ในทุกๆร่อกะอัต แต่อิมามอบูหะนีฟะฮ์กล่าวว่า มะมูมไม่ต้องอ่าน ผมอยากทราบว่า การขัดแย้งทั้งสองทัศนะนี้ มันเป็นมูลเหตุให้เกิดความแตกแยกหรือไม่?

ตัวอย่างที่ผมกล่าวมานี้ คือการขัดแย้งในเรื่องฟิกห์ และการขัดแย้งในเรื่องฟิกห์นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก หากการขัดแย้งในเรื่องฟิกห์เป็นมูลเหตุทำให้เกิดความแตกแยกนั้น แน่นอนว่า ผู้ที่กระทำผิดต่ออายะฮ์ดังกล่าว คือ บรรดาซอฮาบะฮ์และสะละฟุศศอลิหฺ ซึ่งดังกล่าวนี้ การกล่าวว่าการขัดแย้งในเรื่องฟิกห์เป็นมุลเหตุทำให้เกิดความแตกนั้น จะไม่มีผู้ใดกล่าวอย่างนี้ นอกจาก ผู้บิดอะฮ์เท่านั้น


แล้วผู้ใดบอกครับ ว่าแนวทางการวินิจฉัยของอิมามทั้งสี่นั้นไม่ใช่มัซฮับ หรือไม่เรียกว่ามัซฮับ อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวคำที่เลื่องลือของท่านว่า

إذا صح الحديث فهو مذهبى

ความว่า "เมื่อหะดิษซอฮิหฺ มันย่อมเป็นมัซฮับของฉัน"

พิจารณาซิครับบังอะสัน อิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า "มัซฮับของฉัน" นั่นก็ย่อมหมายความว่า การวินิจฉัยของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ที่มาจากตัวบทของศาสนานั้น ก็คือ "มัซฮับ" นั่นเอง แล้วทำไมเราจะตามมัซฮับที่อุมมะฮ์อิสลามยอมรับไม่ได้ ดังนั้น มัซฮับทั้ง 4 เป็นที่ยอมรับของอุมมะฮ์อิสลาม นอกจาก วะฮาบีย์ เท่านั้น ที่กล่าวว่า มัซฮับ เป็นบิดอะฮ์

อ้างจาก บังอะสัน

อายะฮนี่ แสดงให้เห็นว่า แนวทางแห่งศาสนาอิสลาม นั้นมีหนึ่งเดียว ไม่มีหลายๆแนวทาง เพราะการแตกเป็นหลายๆแนวทางนั้น เป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งและแตกแยก

อายะฮ์แสดงให้เห็นว่า แนวทางแห่งศาสนาอิสลาม ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ก็คือ ในเรื่อง "อากิดะฮ์" ไม่ใช่เรื่องฟิกห์ ที่เป็นข้อปลีกย่อย จนเกิดมัซฮับขึ้นมา เช่นเรื่อง การอาบน้ำละหมาด ไม่มีมัซฮับใดที่กล่าวว่า ไม่วายิบต้องอาบน้ำละหมาด เนื่องจากว่า มันเป็นประเด็นหลักฐาน แต่พวกเขาขัดแย้งกันเรื่องการการเสียน้ำละหมาดเท่านั้นเอง การประเด็นเรื่องการเสียน้ำละหมาดนั้น มันเป็นประเด็นข้อปลีกย่อยเท่านั้น ซึ่งเป็นใช่เป็นมูลเหตุในการทำให้เกิดการแตกแยกแต่ประการใด

เรื่องการละหมาด บรรดามัซฮับต่างๆ บอกว่าฟัรดูต้องละหมาด แต่รุกุ่นละหมาดมีอะไรบ้าง และอะไรบ้างของละหมาดที่เป็นวายิบ เป็นสุนัต เป็นสิ่งที่ทำให้เสีย สิ่งเหล่านี้ย่อมมีความขัดแย้งกันในรายละเอียด ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการขัดแย้งแต่ประการใด

ดังนั้น อายะฮ์ดังกล่าวนี้ ย่อมตำหนิเกี่ยวกับ การแตกแยกในเรื่องของ "อากิดะฮ์" ไม่ใช่ในเรื่องของฟิกห์ ซึ่งหากการขัดแย้งในเรื่องฟิกห์เป็นมูลเหตุของการขัดแย้งแล้ว บรรดาซอฮาบะฮ์คือกลุ่มแรกที่ขัดต่ออายะฮ์ 6.153 ดังกล่าวอย่างแน่นอน และไม่มีผู้ใดพูดหลักการอย่างนี้ นอกจาก พวกบิดอะฮ์

การแบ่งนิกายในเรื่องอากิดะฮ์ ย่อมเป็นมูลเหตุของการขัดแย้งอย่างแน่นอน แต่การมีมัซฮับย่อมไม่ใช่เป็นมูลเหตุแห่งการขัดแย้ง ซึ่งทัศนะของบรรดาอิมามทั้งสี่นั้น ก็คือ มัซฮับ อย่างเช่นอิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า "มัซฮับของฉัน " คือ เมื่อมีหะดิษที่ซอฮิหฺ นั่นคือ มัซฮับของฉัน" หากการมีมัซฮับเป็นมูลเหตุที่นำไปสู่การแตกแยกแล้ว แน่นอนเหลือเกินว่า อิมามทั้งสี่ ย่อมเป็นชนกลุ่มแรกที่เป็นมูลเหตุในการสร้างความแตกแยกไปประชาชาติอิสลาม ซึ่งดังกล่าวนี้ ย่อมไม่มีผู้พูดอย่างนั้น นอกจากพวกบิดอะฮ์

Rolling Eyes แล้วอะไรคือมูลเหตุการของแตกแยกครับ ตอบ มูลเหตุของการแตกแยกนั้น คือ "การตะอัศศุบ" " ความคลั่งใคล้" ในแนวทางของตน หรือ ในทัศนะใดทัศนะหนึ่งของตน ความตะอัศศุบ นี้เช่น เชื่อว่าแนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง ส่วนทัศนะหรือแนวทางอื่นนั้นผิด เป็นบิดอะฮ์ ตกนรก เช่นกล่าวว่า อ่านอ่านกุนูตนั้นเป็นบิดอะฮ์ตกนรก เนื่องจากแนวทางของฉันที่ไม่อ่านกูนูตผู้เดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง การอ่านตัลกีนมัยยิดเป็นบิดอะฮ์ตกนรก ซึ่งจากแนวทางของฉันที่ไม่อนุญาติให้อ่านตัลกีนเท่านที่ถูกต้อง ผู้อื่นจากพวกเราที่กระทำย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่เป็นบาป นี่แหละคือความหมายของพฤติกรรมที่ตะอัศศุบ และไม่มีความหมายที่ชี้ถึงตะอัสศุบนอกจาก พฤติกรรมเฉกเช่นดังกล่าวนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความแตกแยกในสังคมจึงเกิดขึ้น เนื่องจาก มีกลุ่มหนึ่ง ตะอัศศุบ คลั่งใคล้ เชื่อว่า แนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง แนวทางอื่นๆเป็นบิดอะฮ์ตกนรก และแนวทางที่ตะอัศศุบนี่แหละที่เขาเรียกว่า "นิกาย" เช่ น "นิกาย......??"(คือนิกายที่กล่าวว่าแนวทางของกูเท่านั้นที่ถูกแนวทางอื่นบิดอะฮ์ตกนรก)



วะฮาบีย์บางคนถึงขนาดกล่าว่าและ อิหม่ามทั้งสี่เป็นตัวการแบ่งนิกาย
ผมขอกล่าวว่า คำเหล่านั้นคือ สิ่งที่พวกวะฮาบีย์ตะอัศศุบมัซฮับอุปโลกน์ขึ้นมา แล้วใส่ร้ายให้แก่อีหม่ามทั้งสี่ อย่างขาดคุณธรรมและขาดจรรยาบรรณที่ดี

ทั้งที่ บรรดาอิมามทั้งสี่ เช่น อิมามอัช-ชาฟิอีย์ ก็ได้บอกว่า "มันคือมัซฮับของฉัน" ซึ่งพวกเขาเหล่านั้น ได้ทำการวินิจฉัยหุกุ่มจากบทบัญญัติของศาสนา และการวินิจฉัยของอิมามทั้งสี่เหล่านั้น เขาเรียกว่า "มัซฮับ" และบรรดาสานุศิษย์ของบรรดาอิมามเหล่านั้น ก็ไม่ได้อุปโลกน์หุกุ่มขึ้นมาแล้ว อ้างถึงอิมามทั้งสี่ ซึ่งบรรดาสานุศิษย์เหล่านั้น ได้ทำการรายงานบันทึกคำกล่าวของบรรดาอิมามเหล่านั้น และได้ถ่ายทอดจนมาถึงปัจจุบัน และบรรดาอิมามทั้งสี่เอง ก็ได้บันทึกหรือบอกให้บันทึกกับมัซฮับของท่านเป็นตำราขึ้นมา แล้วสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่นหนังสือ อัล-อุม หนังสือ อัรริซาละฮ์ ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เป็นต้น

คำว่า "มัซฮับ" หมายถึง
เช่น อิมามนะวาวีย์ได้ยึดนำมาเป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยของอิมามชาฟิอีย์ ฉะนั้นอิมามนะวาวีย์จึงเป็นอุลามาอฺมัซฮับชาฟิอีย์ และได้แต่งหนังสือมากมายเกี่ยวกับฟิกห์มัซฮับชาฟิอีย์ เช่นหนังสือ อัลมินฮาจญฺ หนังสือ เราเฏาะตุฏฏอลิบีน และหนังสืออัลมัจญฺมั๊วะ ดังนั้น อาจารย์อะสันเข้าใจคำว่ามัซฮับหรือยังครับ หากอิมามชาฟิอีย์เข้าใจแล้ว ทีหลังก็อย่าไปบอกว่า เราสังกัดมัซฮับนบีมุหัมมัด(ซ.ล.)นะครับ จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียใจ ที่มีอุลามาอฺสะละฟีย์พยายามบอกคนเอาวามทั่วไปและเก็บเกี่ยวจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเอาวามว่า เราต้องสังกัดมัซฮับนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) ซึ่งทำให้คนทั่วไปหลงเข้าใจผิด และหลังเข้ามาอยู่มัซฮับสะละฟีย์ที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่

คำพูดของอาจารย์ชาฟิอีย์นี้ ชี้ให้เห็นว่าบรรดามัซฮับนั้น ต่างมีความการแข่งขันกัน จนต้องบันทึกเขียนตำราขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางของตน จนกระทั้งอาจารย์อะสันเคยกล่าวว่า มัซฮับเกิดขึ้นเพราะการเมือง!! ผมไม่ทราบว่าเอาหลักฐานมาจากใหน ? หรือว่าพูดขึ้นมาเพราะตามอุลามาอฺมัซฮับสะละฟีย์ที่บิดอะฮฺอุตริกรรมขึ้นมาใหม่ ด้วยความอัคติกับมัซฮับทั้งสี่ หรือผู้ที่สังกัดมัซฮับทั้งสี่

Embarassed ความจริงมัซฮับนั้น ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยซอฮาบะฮฺแล้ว คือมัซฮับ อะฮฺลุลหะดิษ และมัซฮับอะฮฺลุรเราะอฺ มัซฮับอะฮฺลุลหะดิษนั้นจะอยู่ที่หิยาซ คือที่มักกะฮฺและนครมะดีนะฮฺเป็นต้น ที่มะดีนะฮฺก็มีท่าน ซัยดฺ บิน ษาบิต และท่านอิบนุอุมัร เป็นต้น บรรดาสานุศิษย์ของพวกเขา ก็เช่น สะอีด บิน อัลทุซัยยับ อุรวะฮฺ บิน อัซซุบัยรฺ กอซิม บิน มุหัมมัด บิน อบีบักร เป็นต้น ที่มักกะฮฺก็จะมีท่าน อิบนุ อับบาส สานุศิษย์ของท่านก็คือ อัลอิกริมะฮฺ ท่านอะฏออฺ บิน อบีริบาหฺ เป็นต้น และมัซฮับอะฮฺลุรเราะอฺนั้น จะอยู่ที่ กูฟะฮฺ อิรัก ก็มีท่าน อิบนุมัสอูด ท่านมีสานุศิษย์ก็คือ อัลเกาะมะฮฺ บิน กัยสฺ มัสรูก บิน อัจญฺดะอฺ อัลอัสวัด บิน ยะซีด เป็นต้น เป็นที่ทราบดีว่า บรรดาซอฮาบะฮฺนั้น พวกเขาไม่ใช่นักฟัตวา หรือนักมุจญฺฮิดไปหมดทุกคน และในเรื่องศาสนานั้น ไม่ใช่ว่าจะเอามาจากบรรดาซอฮาบะฮฺทั้งหมดไปเสียทุกคนเช่นกัน ดังนั้นบรรดาซอฮาบะฮฺทั่วไปที่ไม่ถึงขั้นวินิจฉัยได้ ก็จะตักลีดตามบรรดาซอฮาบะฮฺที่ทรงความรู้และสามารถฟัตวาและวินิจฉัยได้

ชาวนครมะดีนะฮฺก็จะตักลีดตามท่านซัยดฺบินษาบิตและท่านอิบนุอุมัร เป็นต้น ชาวมักกะฮฺก็ตักลีดตามหุกุ่มของท่านอิบนุอับบาส เป็นต้น และชาวกูฟะฮฺอิรักก็ตักลีดตามท่านอิบนุมัสอูด เป็นต้น การที่เรียกว่า มัซฮับอะฮฺลุลหะดิษนั้น เนื่องจากว่า ในบริเวนแถบหิยาซฺ คือมักกะฮฺและมะดีนะฮฺนั้น จะสามารถรับหะดิษได้มากกว่าที่กูฟะฮฺอิรัก เนื่องจากเป็นสถานที่ลงวะหฺยู และบรรดาซอฮาบะฮฺอาศัยอยู่นั่นมาก ซึ่งแตกต่างกับที่กูฟะฮฺอิรัก ที่ได้รับหะดิษน้อยกว่าที่นครมะดีนะฮฺ และมีพวกบิดอะฮฺที่ชอบกุหะดิษมากกว่า ด้วยเหตุเช่นนี้ พวกเขาจึงมีความเข้มงวดในการรับหะดิษ เมื่อปัญหาหนึ่งไม่มีตัวบทหะดิษมายืนยัน พวกเขาก็จะทำการกิยาสให้ความเห็น พวกเขาจึงถูกเรียกว่า อะฮฺลุลเราะอฺ แต่ก็นครมะดีนะฮฺก็ใช้กิยาสเช่นเดียวกันแต่ก็จะน้อยมาก

คนเอาวามทั่วไปที่ไม่มีความสามารถเข้าใจหลักการในการวินิจฉัยและเข้าใจอัลกุรอานและหะดิษนั้น ก็ให้เขาตามอุลามาอฺมุจญฺฮิดผู้ทรงความรู้ ก็เท่ากับว่าเขาได้ตามอัลกุรอานและซุนนะฮฺแล้วครับ ในสิ่งดังกล่าวนั้น ท่านอัชชาฏิบีย์ ได้กล่าวไว้ว่า

فتاوى المجتهدين بالنسبة إلى العوام ، كالأدلة الشرعية بالنسبة إلى المجتهدين والدليل عليه أن وجود الأدلة بالنسبة الى المقلدين وعدمها إذا كانوا لا يستندون منها شيئا . فليس النظر فى الأدلة والإستنباط من شأنهم ولا يجوز ذلك لهم البتة ، وقد قال تعالى فأسألوا أهل الذكر إن كنتم لا تعلمون) والمقلد غير عالم فلا يصح له إلا سؤال أهل الذكر، وإليهم مرجعه فى أحكام الدين على الإطلاق، فهم إذاً القائمون له مقام الشرع، وأقوالهم قائمة مقام الشارع

ความว่า " บรรดาฟัตวาของบรรดาอุลามาอฺมัจญฺตะฮิด โดยคำนึงของคนเอาวามทั่วไปนั้น เปรียบเสมือนบรรดาหลักฐานตามหลักศาสนา โดยพาดพิงไปยังอุลามาอฺมุจญฺติฮิดีน หลักฐานยืนต่อมัน(สิ่งดังกล่าว) คือ การมีหลักบรรดหลักฐานหรือไม่มี โดยคำนึงถึงคนบรรดามุก๊อลลิดนั้น เมื่อพวกเขาไม่สามารถอ้างอิงหลักฐานอะไรได้ (คือไม่สามารถอ้างอิงหลักฐานถึงหุกุ่มนั้นได้) ดังนั้นการพิจารณาในหลักบรรดาหลักฐานและการวินิจฉันหุกุ่มนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของพวกเขา และไม่อนุญาติสิ่งดังกล่าวให้กับพวกเขาโดยเด็ดขาด โดยที่อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า " ดังนั้น พวกเจ้าจงถามผู้มีความรู้ หากพวกเจ้าไม่รู้ " และคนมุก๊อลลิดคือคนที่ไม่มีความรู้ ดังนั้น จึงไม่ถูกต้องสำหรับเขา นอกจากถามบรรดาผู้รู้มุจญฺฮิดเท่านั้น และไปยังพวกเขานั้น(คือมุจญฺตะฮิด) ย่อมสิ่งที่อ้างอิงของเขา(มุก๊อลลิด) ในบรรดาหุกุ่มต่างๆของศาสนาอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ ดังนั้นพวกเขา(มุจญฺติฮิด) คือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งของหลักการศาสนาสำหรับคนมุก๊อลลิด และบรรดาคำพูดของพวกเขานั้น(อุลามาอฺมุจญฺฮิด)อยู่ในตำแหน่งของผู้บัญญัติศาสนา(สำหรับคนมุก๊อลลิด)" ดู หนังสือ อัล-มุวาฟิก๊อด เล่ม 4 หน้า 290 - 292

ท่านอิมาม อัลเกาะรอฟีย์ ได้กล่าวในหนังสือ ชัรหฺ ตันกีหฺ อัลฟุซูล ของท่าน ในบทที่ 19 ซึ่งว่าด้วยเรื่อง อัลอิจญฺฮาด ท่านกล่าวว่าไว้ว่า

مذهب مالك وجمهور العلماء رضى الله عنه وجوبه وإبطال التقليد لقوله تعالى (فاتقوا الله ما استطعتم)
وقد إستثنى مالك رحمه الله من ذلك أربع عشر صورة لأجل الضرورة الأولى : قال إبن القصار قال مالك : يجب على العوام تقليد المجتهد فى الأحكام كما يجب على المجتهدين الإجتهاد فى أعيان الأدلة وهو قول جمهور العلماء خلافا لمعتزلة بغداد

ความว่า " มัซฮับของอิมามมาลิก และอุลามาอฺส่วนมาก (ร.ฏ.) นั้น วายิบต้องอิจญฺฮาด และห้ามการตักลีด เพราะอัลเลาะฮฺทรงตรัสว่า " ดังนั้น สูเจ้าจงยำเกรงต่อพระองค์เท่าที่สุดความสามารถ " โดยที่แท้จริง อิมามมาลิก (ร.ห.) ได้ยกเว้นจากสิ่งดังกล่าว ถึง14รูปแบบด้วยกัน อันเนื่องจากความจำเป็น คือประการที่หนึ่ง ท่านอิบนุ อัลก๊อซซอรกล่าวว่า อิมามมาลิกได้กล่าวว่า จำเป็นต่อคนเอาวามทั่วไป ทำการตักลีดมุจญฺฮิด ในบรรดาหุกุ่มต่างๆ ซึ่งเฉกเช่นเดียวกันกับการจำเป็นต่อบรรดานักมุจญฺฮิด โดยการวินิจฉัยจากบรรดาตัวหลักฐานต่างๆ และมันก็คือคำกล่าวของอุลามาอฺส่วนใหญ่ โดยที่ขัดแยังกับ กลุ่มมั๊วะตะซิละฮฺ ที่บุฆดาด " ดู หน้า 337 ตีพิมพ์ที่ ดารฺ อัลฟิกรฺ ปีที่ 2003 - 1424 และหน้า 430 ตีพิมพ์ ที่บริษัท เฏาะบาอะฮฺ อัลอาละมียะฮฺ
อิบนุ อัลก๊อยยิม กล่าวอีกเช่นกันว่า

الفائدة العشرون: لا يجوز للمقلد أن يفتي في دين الله بما هو مقلد فيه و ليس على بصيرة فيه سوى أنه قول من قلده دينه و هذا إجماع من السلف كلهم و صرح به الإمام أحمد و الشافعي رضي الله عنهما،

ความว่า " ผลประโยชน์ที่20 ไม่อนุญาติให้กับคนมุก๊อลลิดทำการฟัตวาในศาสนาของอัลเลาะฮฺ ด้วยกับสิ่งที่เขาตักลีดตามอยู่โดยที่เขาไม่มีความรู้เห็นแจ้งในมัน นอกเสียจากมันเป็นคำพูดของอุลามาอฺผู้ที่เขาได้ตักลีดตามเกี่ยวกับศาสนาของอัลเลาะฮฺ และนี้ก็คือมติเอกฉันท์จากอุลามาอฺสะลัฟทั้งหมด และอิมามอะหฺมัดและอิมามชาฟิอีย์(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน " ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 175 ตีพิมพ์ที่ อัสสะอาดะฮฺ
พี่น้องจะเห็นว่า แนวทางวะฮาบีย์นั้นมุ่งเผยแพร่และโจมตีคำวินิจฉัยของอลามะยุคก่อนโดยเดินทตามท่านอีหม่ามอิบนุตัยมียะที่มีความคิดสุดโต่ง และไม่ยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น
แม้กระทั้งท่านตำหนิผู้ที่มุ่งเยี่ยมกุโบร์ว่า เป็นบิดอะการตกแต่งสิ่งที่อยู่บนกุโบร์ว่าเป็นชิริกบ้างฯลฯ
โดยเอาความเห็นของตัวเองมาตัดสินแทบทุกอย่าง ....นะอูซุบิลลาฮ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 12:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ข้อย้ำ อีกครั้ง ผมได้ยุติแล้ว และไม่หะลาลให้พาดพิง และกล่าวเสียดสี ผมอีก หากทางผู้ดูแลบอร์ดปล่อยให้เกิดขึ้นอีก ผมขอแสดงความเสียใจด้วย ผมไม่ต้องการสนทนาศาสนาแบบนี้ ผมจึงขอยุติ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 12:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีคนๆหนึ่งครับที่พยายามสร้างฟิตนะด้วยคำพูดเสียดสีพี่น้องมุสลิมอย่างเช่นคำๆนี้ครับ
“พวกคุณเป็นผีที่หาป่าช้าลงไม่ได้”
พี่น้องทั้งหลายที่รักความเป็นธรรมครับ การใส่ร้ายโดยการสาปส่งหรือเสียดสีดาทอนั้นมันคือมารยาทของคนที่ขาดความรู้ที่ถูกต้องของศาสนาครับและถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งเขากำลังใช้นิสัยคนมุนาฟีกีน อย่าชัดเจน
การที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยที่มองว่าผู้อื่นอยู่ในแนวทางที่ผิดพลาด นี้คือการไม่ยอมสำรวจหรือทำความสะอาดตัวเอง และม่งทีจะทำให้เกิดความแตกแยกอย่างเห็ได้ชัด

ผมประทับใจในคำพูดของคุณดัลดุลลาที่ออกมายอมรับโดยเปิดเผยว่า เขานั้นไม้ได้ อยู่ในแนวทางวะฮาบีย์ หรือทัศนะของอิบุตัยมียะแล้ว
ก็แสดงว่า สิ่งที่เราพยายามชี้แจงให้พี่น้องวะฮาบีย?เหลือได้เห็นนั้น เริ่มจะมองภาพออกแล้วว่า

เราผู้อยู่ในแนวทางของสลัฟของิหม่ามชาฟีอีหรืออีหม่ามทั้ง4นั้น ไม่ผิดพลาดและไม่เบิดอะแต่อย่างใด อย่างน้อย คุณดัลดุลลาก็คือจุดเริ่มต้นที่ดี..ในครั้งนี้ ขออัลลอฮ์จงฮิดายะสิ่งถูกต้องให้คุณด้วย

ฉนั้นความแตกต่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เราผู้ต่างมัสหับต้องขัดแย้งแต่อย่างใด ถ้าเราต่างยอมรับและให้เกียติรต่อกันใส่งที่ผู้มีความรู้ในอดีตต่างก็ยึดถือตามกีตาบุลลอฮ์และซุนนบีกันทั้งนั้น

ผมปลื้มใจที่คุณดับดุลลา เริ่มจะเปิดใจรับข่าวสารจากทัศนะฝ่ายอื่นบ้าง โดยไม่ยึดติดหรือฝังตัวจนลืมมองส่ายตาไปยังทัศนะอื่นบ้าง
Idea ผมไม่ได้บังคับให้คุณดับดุลลาต้องอยู่ในแนวทางของอัชาฟีอีหรืออีหม่ามทั้ง4เลย เพียงจะบอกการมีแนวทางยึดถือนั้นมันจำเป็นในการใช้ชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานของหลัการศาสนา และง่ายในการปฏิบัติอามัลอิบาดัด ในทางของตนเท่านั้นไม่ใช่เที่ยว สะเปะสะปะหยิบฉวยของแนวทางนั้นนิด..แนวทางนี้หน่อยตามอารมฌ์ตัวเอง ให้มันเสร็จแบบง่ายๆกับศาสาสนาของพระองค์หรือ ไม่ใช่เพื่อชัยชนะ เลย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Mon Apr 03, 2006 3:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม คุณอัลฟารุกครับ

เรื่องการอ่านตัลเกน ที่ผมได้ยินมานั้น เป็นการบรรยายของอาจารย์ท่านหนึ่ง ก็คือ อาจารย์ ยูซุฟ ฮัซซัน ส่วนรายละเอียด และข้อมูลที่จะหามาให้ได้นั้น ผมต้องอาศัยความสามารถมาพอสมควร ซึ่งถ้าหากว่าทางวิทยากร หรือ ทางเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ มีเทปนั้น ก็อยากให้ทำการบันทึกลงในเวป เพื่อใช้เป็นหัวข้อในการศึกษากัน

ส่วนประโยคที่คุณอัลฟารุกกล่าวว่า

: ต้องดูกรณีด้วยนะครับ ว่า หากผู้ที่อยู่ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ เกิดเอี๊ยะติก๊อตขึ้นว่า หากเขาละหมาดโดยตามที่ไม่บิสมิลลาห์ นั้นใช้ไม่ได้ นอกจากการตักลีด ก็ให้เขาทำการตักลีดตามมัซฮับหะนะฟีย์ (เนื่องจากเขาถือว่ามัซฮับหะนะฟีย์นั้นถูกต้องเหมือนกัน) ก็ให้เขากระทำได้ :

ประโยคนี้ทั้งประโยค ผมไม่เข้าใจครับ ต้องขออภัยด้วย หลักการในการตักลีดมีว่าอย่างไร และมีหลักฐานอย่างไรครับ ตามที่ได้ทราบมา ก็คือ การอ่านบิสมิลลาห์ และไม่อ่าน ต่างก็มีหลักฐานทั้งคู่ แต่การไม่อ่านมีน้ำหนักมากกว่า ผมขอเรียกคณะเก่ากับวะฮาบีย์แล้วกันในกรณีนี้ กรณีวะฮาบีย์ ไม่อ่าน แต่คณะเก่าจะอ่านกัน กรณีวะฮาบีย์เนี่ยะแหละครับที่ผมได้มารู้ถึงข้อมูลตรงนี้ แต่กรณีคณะเก่าคือทำตามกันมา ถ้ากรณีมีหนังสือแปลไทยที่อธิบายถึงเรื่องนี้เป็นภาษาไทยช่วยบอกด้วยนะครับ ต้องการศึกษาเพิ่มเติม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.26 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ