ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 3)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 3)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Mar 25, 2006 11:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

แล้วจะมาตอบ การที่น้องอ้างหลักฐานเรื่อง การกล่าวคำเนียต ซึ่งบังนึกไม่ถึงว่า ทำไมน้องจึงอ้างหลักฐานอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ขอให้เราผูกมิตรกันไว้เถิดนะครับ ถึงแม้จะทัศนะแตกต่างก็ตาม

วิจารณ์

การผูกมิตรและให้เกียตริกันในด้านทัศนะหรือแนวทางนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดี และเป็นแบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺอยู่แล้วครับบังอะสัน และเรื่องหลักฐานที่ผมอ้างอิงไปเกี่ยวกับเรื่อง"การกล่าวคำเหนียต" นั้น เป็นการอ้างอิงหลักฐานจากปวงปราชน์นักมุจฮิดทั้งสิ้น ซึ่งผมจะนำมาอ้างอิงอย่างรายละเอียดในภายหลังเป็นคนๆไป อินชาอัลเลาะฮ์ และเรื่องการคัดค้านและหักล้างในหลักฐานเรื่องการกล่าวคำเหนียตนั้น เรารู้ดีว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพียงแต่ผมแค่รอบังอะสันหรือพี่น้องวะฮาบีย์นำเสนอเท่านั้น แล้วเราพร้อมเสมอที่จะทำการชี้แจงต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 2:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง Al-farook กล่าวว่า
การกล่าวคำเหนียต ก่อนจากละหมาด หรือก่อนจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม ถือว่าเป็นสุนัต ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า
إنما الأعمال بالنيات
"แท้จริง บรรดาการปฏิบัตินั้น ด้วยการเหนียต

ตอบ
น้องบ่าว al-farook ครับ หะดิษที่น้องนำมาอ้างอิงนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้สนับสนุน การกล่าวคำเนียต นะครับ หะดิษนี้ สอนเรื่อง การเจตนา(เนียต)ในอิบาดะฮและสิ่งดีงามต่างๆ ว่า ทำอะไร ทำสิ่งใด และจุดประสงค์ในการเนียต ว่า การทำเพื่ออัลลอฮ หรือ เพื่อใคร ซึ่งสาเหตุของหะดิษนี้ โปรดดูข้างล่างนี้

وقال الحافظ ابن حجر في الفتح (1/16) :
ورواه الطبراني من طريق أخرى عن الأعمش بلفظ : كان فينا رجل خطب امرأة يقال لها أم قيس فأبت أن تتزوجه حتى يهاجر فهاجر فتزوجها ، فكنا نسميه مهاجر أم قيس

และท่านอัล-ฮาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวเอาไว้ในฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 16 ว่า
“และรายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ จากสายายงานอื่น จากอัลอะอมัช ด้วยสำนวนที่ว่า “ ปรากฏว่าในหมู่พวกเรานั้น มีชายคนหนึ่ง ได้สู่ขอ หญิงนางหนึ่ง เรียกกันว่า “อุมมุกอ็ยส” แล้วนางก็ไม่ยอม ที่จะสมรสกับเขา จนกว่า เขาจะ ฮิจญเราะฮ (อพยพจากมักกะฮไปยังนครมะดีนะฮ) แล้วเขาก็ได้ทำการอิจญเราะฮ แล้วก็ได้สมรสกับนาง พวกเราเลยขนานนามเขาผู้นี้ว่า “ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส”
ท่านอิหม่ามสะยูฏีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

حديث " إنما الأعمال بالنيات " سببه أن رجلا هاجر من مكة إلى المدينة لا يريد بذلك الهجرة بل ليتزوج امرأة يقال لها : أم قيس ، فسمي مهاجر أم قيس

หะดิษ ที่ว่า “แท้จริงบรรดาการงานต่างนั้น ขึ้นอยู่กับการเจตนา” สาเหตุของมันคือ การทีมีชายคนหนึ่ง ได้อพยพจากนครมักกะ ไปยังนครมะดีนะฮ การอพยพดังกล่าวนั้น เขาไม่ได้มีจุดประสงค์ใด แต่ทว่า เพื่อต้อง การที่จะสมรสกับผู้หญิงนางหนึ่ง ที่เรียกกันว่า “อุมมุกอ็ยส” แล้วเขาผู้นี้ถูกขนานนามว่า “ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส”
- ดู ตัดรีบุรรอวีย ฟี ชัรหิ -ตักรีบีนนะวาวีย์ เล่ม 2 หน้า 929
............................
การที่คนเราจะทำอะไร เจตนาหรือ เนียต ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อยู่แล้ว และเนียตนั้น เป็นงานของ หัวใจ ไม่ใช่งานของปาก และเป้าหมายของการเนียตนั้นสำสำคัญที่สุด คือ ทำเพื่อใคร หะดิษนี้ ไม่ได้สนับสนุนการกล่าวคำเนียตแต่ประการใด
น้อง Al-farook กล่าวว่า
ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตจะเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงไปได้อย่างไร? ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการกล่าวคำเหนียตในบางส่วนของอิบาดะฮ์ต่างๆ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวคำเหนียตโดยให้บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ยิน ในขณะทำเอี๊ยะหฺรอมฮัจญฺว่า
لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเจ้าได้สนองต่อพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" (ดู ซ่อฮิหฺ มุสลิม เล่ม 2 หน้า 915 หะดิษที่ 215)
..............................................
ตอบ
น้องบ่าว al-farook ครับ คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า “ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว” นี้ไม่ใช่คำเนียตทำอุมเราะฮและฮัจญหรอกครับ เพราะขั้นตอนมีดังนี้คือ
1. เมื่อคนทำอุมเราะฮและฮัจญ สวมชุดเอียะรอมแล้ว
2. พร้อมเขาตั้งเจตนา(เนียต) เข้าสูพิธีฮัจญและอุมเราะฮ(กรณีทำหัจญ์กิรอน)
3. แล้วให้เขากล่าวตัลบียะฮว่า “ لبيك بعمرة وحج “(คำนี้ใช้กับกรณีที่ทำฮัจญกิรอน)
กล่าวคือ เนียตก่อนแล้วให้กล่าวตัลบียะฮดังกล่าว ไม่ใช่เริ่มเข้าสู่พิธีด้วยคำข้างต้น โดยอ้างว่า เป็นคำเนียต ข้ออ้างที่น้องอ้างมา ฟังไม่ขึ้นหรอกครับ ว่า นั้นคือ หลักฐานสำหรับกล่าวคำเนียต สมมุติว่าถ้าเป็นคำเนียตต้องเริ่มต้นคำเนียตก่อนที่จะเนียตว่า “ข้าพเจ้าเจตนาทำอุมเราะฮและฮัจญ เพื่ออัลลอฮ” หากจะอาบน้ำละหมาด ละหมาด หรือ ทำฮัจญ์นั้น มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบี ก็จะต้องอธิบายให้เหล่าเศาะหาบะฮรับรู้อย่างแน่นอน แต่เพราะไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบีจึงไม่อธิบายเอาไว้ และไม่ได้สอนให้เริ่มต้นการทำพิธีฮัจญ ด้วยคำว่า”

اللهم إني أريد العمرة- أو الحج
…………………….

น้อง Al-farook กล่าวว่า
และวันหนึ่ง ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์(ร.ฏ.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวโดยต้องการรับประทานอาหารว่า " ณ ที่พวกเธอนั้น มีสิ่งใด(ที่จะรับประทาน)บ้างใหม? ท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าว" ไม่มี" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า
فإنى إذن صائم
"แท้จริง งั้น ฉันก็ทำการถือศีลอด" (ดู ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 809 หะดิษที่ 170)
………………..
ตอบ
มาชาอัลลอฮ นี้หรือน้อง หลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต นี้คือ คำสนทนาของท่านนบี ศ็อลฯ กับท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) คือ
1. เมื่อ ท่านหญิงอาอิฉะฮกล่าวว่า “ ไม่มี”
2. ท่านนบี ศอ็ลฯ ก็กล่าว ว่า “ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด”
แล้วเศาะหาบะฮท่านใดล่ะครับ เอาคำนี้มาเป็น หลักฐานในการกล่าวคำเนียต ถื่อศีลอด ตามที่คนบ้านเรากล่าวว่า نويت صوم رمضان لغد لله تعالى “ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน ในวันพรุ่งนี้เพื่ออัลลอฮ(ซ.บ)


ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
((ما تركت شيئاً يقربكم إلى الله إلا وأمرتكم به، وما تركت شيئاً يبعدكم عن الله إلا وقد نهيتكم عنه)

ฉันไม่ได้ทิ้งสิงใดที่ทำให้พวกท่านได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ นอกจากฉันได้ใช้พวกท่าน ด้วยมันแล้ว และฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่าน ห่างใกลจากอัลลอฮ นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่าน จากมันแล้ว –
صحيح، أخرجه عبد الرزاق في مصنفه: كتاب الجامع – باب القدر، حديث (20100)، وابن أبي شيبة: كتاب الزهد – باب ما ذكر عن نبينا في الزهد (8/129)، والطبراني في المعجم الكبير، حديث (1647)، قال الهيثمي في المجمع: ورجال الطبراني رجال الصحيح، غير محمد بن عبد الله بن يزيد المقرئ، وهو ثقة (8/264).

……………..
น้องครับ ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็ไม่มีหลักฐาน น้องจะทำ ก็เป็นสิทธิ์ของน้อง แต่..บังไม่แน่นอนครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 2:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอ้าคุยกันเรื่องกล่าวคำเนียต จู่ๆ น้องบ่าวเรา เอาของเก่ามาโพสต์อีกแล้ว บังก็งงเหมือนกันนะฮ การกล่าวคำเนียต อิหม่ามชาฟิอี ก็ไม่ได้สอนไว้ ก็ดันไปถือ มัซฮับนะวาวีย์อีกแล้ว นี่ถ้าจบอยู่แค่ อัสสุนนะฮ แบบอย่างนบี และเศาะหาบะฮ มันก็ happy ending ไปแล้วล่ะน้องบ่าว ไมต้องมาถูๆไถๆ กันอย่างนี้ ถามจริงๆเถอะ ถ้าไม่เอาบิดอะฮมาทำผักแกล้ม ไม่ได้หรือ เพราะที่เสียเวลากันอยู่นี่ ก็เรื่องนอก สุนนะฮที่มาทีหลังทั้งนั้น นี่ก็จะเอาเรื่อง ตัลกีนคนในหลุม ก็บิดอะฮอีกแหละ หวังว่าน้องบ่าวคงไม่โกรธนะ น้องบ่าวจะเพิ่มคำว่า"หะสะนะฮ" ก็เอาไปเถอะ ..เฮ้อกลุ้มจริง เมื่อไหร่ บิดอะฮ รวมมิตรแบบบ้านเราจะหมดเสียที (นี่ไม่ได้ว่าน้องบ่าวนะ)
น้องบ่าวเอ๋ย.. คนบ้านเรานะ เวลาจะไปทำหัจญ ต้องทำพิธีลงเรือน โดยมีผู้อวุโสนำ ลงไปแล้ว ห้ามหันหลังมามอง
..โอ้ย..สารพัด ทั้งนี้ ก็เข้าใจว่า เมื่อเห็นว่าดี ก็ทำ อันนี้ ยกตัวอย่าง เล่าสู่กันฟังแบบชาวบ้าน
บังคิดนะ...ถ้าผู้รู้ไม่ส่งเสริมชาวบ้านคงไม่กล้าทำแน่นอน
...........
นี่ก็ดึกแล้ว ขอนอนก่อน ชักเบื่อเหมือนกันกับ คำว่า"พวกวะฮบีย์"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 3:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

น้องบ่าว al-farook ครับ หะดิษที่น้องนำมาอ้างอิงนั้น มันไม่เกี่ยวและไม่ได้สนับสนุน การกล่าวคำเนียต นะครับ หะดิษนี้ สอนเรื่อง การเจตนา(เนียต)ในอิบาดะฮและสิ่งดีงามต่างๆ ว่า ทำอะไร ทำสิ่งใด และจุดประสงค์ในการเนียต ว่า การทำเพื่ออัลลอฮ หรือ เพื่อใคร ซึ่งสาเหตุของหะดิษนี้ โปรดดูข้างล่างนี้

วิจารณ์

บังอะสันจะนำสาเหตุของหะดิษ มาหักล้างเรื่องการ กล่าวคำเหนียต นั้น มันหักล้างผิดประเด็น คนละเรื่องเลยครับ หากบังยึดติดแค่สาเหตุของหะดิษนี้แล้ว การเหนียดในในการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การทำฮัจญฺ ก็ไม่ต้องเหนียต โดยอ้างหะดิษดังกล่าวแล้วล่ะครับ เพราะบังอะสันเจาะจงเพียงแค่สาเหตุ และหะดิษนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ละหมาด ถือศีลอด จ่ายซะกาต และการทำฮัจญฺ และ เรื่องอื่นก็ไม่เกี่ยว ว่างั้นเถอะ ที่หลังก่อนที่บังอะสัน จะทำการอ้างสาเหตุของหะดิษหรืออายะฮ์อัลกุรอานนั้น ก็สมควรดูด้วยว่า หลักการในการเข้าใจหะดิษนั้นเป็นอย่างไร จุดยืนเกี่ยวกับสาเหตุของการกล่าวหะดิษ หรือการประทานอัลกุรอานนั้น บรรดานักปราชน์เขาเข้าใจกว้างหรือแคบอย่างไร ? พออายะฮ์ที่ลงให้กับพวกนะซอรอและยะฮูดีย์ บังอะสันก็ไม่คำนึงถึงสาเหตุเลยเหมารวมบรรดามุสลิมีนด้วย แต่เวลาขัดแย้งกับสิ่งที่ตนต้องการ บังอะสันจำกัดมันแค่สาเหตุ เพื่อจะเอาสิ่งที่ตนไม่ต้องการออก โดยหารู้ไม่ว่า ต้องทำให้สิ่งอื่นๆอีกมากมายออกไปจากตัวบทหะดิษด้วย และนี้ก็คือหลักการของบังอะสัน ที่เราได้สังเกตุมาตลอดในการสนทนาครับ

อ้างจากบังอะสัน

การที่คนเราจะทำอะไร เจตนาหรือ เนียต ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อยู่แล้ว และเนียตนั้น เป็นงานของ หัวใจ ไม่ใช่งานของปาก และเป้าหมายของการเนียตนั้นสำสำคัญที่สุด คือ ทำเพื่อใคร หะดิษนี้ ไม่ได้สนับสนุนการกล่าวคำเนียตแต่ประการใด

วิจารณ์

หะดิษนี้ ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า การกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์ หะดิษนี้ไม่ใช่สนับสนุนการกล่าวคำเหนียต และหะดิษนี้ก็ไม่ได้ห้ามการกล่าวคำเหนียต การเหนียตเป็นหน้าที่ของหัวใจ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปที่ไม่มีใครปฏิเสธ บังอะสันครับ เป้าหมายของการเหนียตในวิชาฟิกห์นั้น คือการเจนตาตั้งใจในการทำอิบาดะฮ์ เท่านั้นก็พอแล้ว ส่วนจะเหนียตว่าเพื่อใครนั้น ก็ไม่ต้องเหนียตในละหมาดก็ได้ คือเหนียตว่า "ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุฮฺริ " ก็เพียงพอแล้ว และนั่นคือเป้าหมายสำคัญในการทำให้ละหมาดใช้ได้ ซึ่งตอนนี้เรากำลังพูดถึงวิชาฟิกห์นะครับ สำหรับการกระทำอิบาดะฮ์เพื่อใครนั้น มันเป็นเรื่องหลัก อิหฺซาน ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง และจึงอยู่ว่าการเหนียตนั้นเป็นเรื่องของหัวใจ ไม่ใช่งานของปาก แต่เราก็ไม่ใช่บอกว่าวายิบต้องเหนียตด้วยปากนี่ครับบังอะสัน แต่เราแค่บอกว่า การกล่าวคำเหนียตด้วยปากนั้นได้ ขอย้ำว่า "การกล่าวคำเหนียต" ไม่ใช่ "การเหนียตด้วยปาก" บรรดาอุลามาอ์นักมุจญฺฮิด ถือว่า อนุญาติให้กล่าวคำเหนียตได้ เพื่อที่จะให้ตอกย้ำหัวใจให้มีความหนักแน่น ในการตั้งใจที่เหนียตในการทำอิบาดะฮ์ และทำให้ห่างใกลจากการ "วิสวัส" ดังนั้น การที่บรรดาอุลามาอ์มุจญฺฮิดได้สนับสนุนในเรื่องนี้ ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการกล่าวคำเหนียตโดยตรง แต่ผลที่ตามมาต่างหากล่ะครับที่เป็นเป้าหมายสำหรับ นั่นก็คือ การทำให้เหนียตมีสมาธิ ในขณะตักบีร การทำให้เหนียตมีสมาธินั้นดีใหมครับบังอะสัน ? บังอะสันก็ต้องตอบว่า ดีซิ ! แล้วผมถามต่อว่า แล้วสิ่งที่ทำให้เหนียตมีสมาธิล่ะเป็นสิ่งที่ดีใหม? บังอะสันตอบว่า ไม่ดี เพราะมันเป็นบิดอะฮ์ !!! (เช่นการกล่าวคำเหนียต)

ส่วนประเด็นต่อมาในเรื่องฮัจญฺ และถือศีลอดที่บังอะสันสาธยายมา นั้น เดี๋ยวผมจะมาตอบ ชี้แจง เพราะผมต้องไปเรียนก่อนครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 4:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

เนียตคือเจตนาที่ต้องมีอยู่ในอิบาดะฮ์ทุกเรื่อง ซึ่งมีตัวบทหลักฐานชัดเจนจากอัลกุรอ่านและฮะดีสครับท่าน ไม่มีการคิลาฟในหมู่นักวิชาการด้วย แต่ที่กำลังถกกันอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องเนียตนะครับ แต่เป็นเรื่องการกล่าวเนียต คือเอาสิ่งที่อยู่ในใจเรียงร้อยออกมาเป็นคำพูด เขาเรียกว่า ตะลัฟฟุซ ขอรับท่าน

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้ (ถ้ามีนำเสนอด้วย)

ด้วยเหตุนี้ฝ่ายที่สนับสนุนให้ทำจึงต้องเอาหลักฐานเรื่องอื่นมากิยาสแทน เช่นเรื่องฮัจญ์ หรือเรื่องบวชเป็นต้น ซึ่งบังอะสันได้วิจารณ์ไปแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่า การนำเอาเรื่อง การละหมาด,บวช,ฮัจญ์มากิยาสเพื่อเป็นหลักฐานเรื่องการ ตะลัฟซุฟฟุซก่อนละหมาดนนี้อิหม่ามทั้งสี่ โดยเฉพาะท่านอิหม่ามซาฟีอีก็ไม่ได้กระทำไว้ขอรับท่าน เพราะเรื่องเหล่านี้แม้จะเป็นอิบาดะห์หลักๆเหมือนกัน แต่รายละเอียด เงื่อนไข วิธีการต่างกัน ที่สำคัญก็คือวิธีการละหมาดนั้นท่านนะบีได้สอนไว้ครบแล้ว และท่านก็สั่งว่า
ศ็อลลูกะมาร่ออัยตุมูนีอุศอ็ลลี แปลว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงละหมาดเหมือนที่เห็นฉันละหมาด

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
คนที่เดินผ่าน
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/02/2006
ตอบ: 104
ที่อยู่: jaseen_muslim@hotmail.com

ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 8:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[B]...อัสลามมุอะลัยกุม วะร่อมาตุ้ลลอ วะบ่าร่อกาตุฮ...
...ได้เข้ามาอ่านอีกครั้ง ผมคิดว่าถ้าการสนทนาเป็นไปในรูปแบบนี้ มันก็คงวนเวียนอยู่เช่นเดิมไม่รู้จบ หาข้อสรุปไม่ได้...
...การสนทนาเราควรเคร่งครัดในกฏกติกา เราควรนำเสนอจากอัลกรุอานและแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นหลัก...
...มาตราฐานของเราคือแบบอย่างของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะเป็นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุดและถูกต้องที่สุด...
...อัลลอฮ ตะอาลา ตรัสว่า " ถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็จงนำเรื่องนั้นกลับไปยังอัลลอฮและร่อซูล หากว่าพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮและวันอาคิเราะฮฺ นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง" อัลนิซาอฺ 4 : 59 ...
...ไม่ว่าในประเด็นใดๆที่คุณ Al-Azharyและคุณ Al-Farook นำมาพูดคุยชี้แจง ก็ควรนำเสนอจากหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เท่านั้น ถ้าไม่มีก็ควรยุติบทบาทของตัวเองในประเด็นนั้นๆ ...
...ถ้ามีหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วเรามาคุยกันว่า คุณเข้าใจอย่างไร เราเข้าใจอย่างไร แล้วให้พี่น้องที่เข้ามาอ่าน คิลาฟเอา และก็จบประเด็นไป จะได้ไม่ต้องมีการมาเสียดสีต่อกัน และเกิดฟิตนะห์เปล่าๆ...
...ส่วนประเด็นในการละหมาด การกล่าวเหนียต อุซอลลีนั้น ง่ายๆสั้นๆครับ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย จะละหมาดเช่นเดียวกับที่ท่านเห็นฉันละหมาด " บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ ...
... คุณ Al-Farook ก็ควรนำเสนอหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการกล่าวเหนียต อุซอลลี ในประเด็นการละหมาด ถ้ามีก็นำเสนอมา แต่ถ้าไม่มีคุณก็ควรบอกกับพี่น้อง ลูกศิษของตนเองว่าไม่มีแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นคุณจะนำเสนอทัศนะของอุลามาท่านใด ก็เชิญตามสบาย เพื่อให้พี่น้องที่เข้ามาอ่านมาศึกษาหาความรู้ ได้คิลาฟเอาว่าจะยึดปฏิบัติแบบไหน แค่นั้นพอแล้วก็จบกันไป...
...ก่อนจบขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดของ ท่านอิมาม มาลิก ร่อฮิมุลลอฮฺ " แต่ละคนนั้น คำพูดของเขาจะได้รับการยอมรับหรือถูกขว้างทิ้งไปได้ทั้งนั้น นอกจากคำพูดของเจ้าของหลุมศพนี้เท่านั้น พลางท่านชี้ไปที่หลุมศพของ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม " ...

...วัสลามมุอะลัยกุม วะร่อมาตุ้ลลอ วะบ่าร่อกาตุฮ...

ปล. ....โอกาศหน้าถ้าผมเข้ามา ผมจะนำเสนอ บิดอะห์ชัดๆ พูดคุยกันในวงกว้างๆ เพื่อชาวบ้านเข้ามาอ่านได้มีโอกาศสนทนาได้ด้วยให้เกิดความเข้าใจ เพราะมันเป็นสิ่งใกล้ตัว และผูกพัน กับชาวบ้านตั้งแต่เกิดจนกระทั้งตาย ในสังคมมุสลิมไทย ที่อ้างตัวว่าตามมัสหับ อิมาม ชาฟีอี (แต่ถ้าตามจริงๆไม่ใช่แบบนี้) ที่กระทำกันทุกหัวระแหง ทุกหย่อมย่าน เป็นพิธีกรรมฮอตฮิต ติดช๊าตอันดับหนึ่ง หาที่มาที่ไปไม่ได้ แต่นิยมทำกันมาก ตั้งแต่มุสลิมชาวบ้านที่ไม่เอารู้เอาชี้ เรื่อยไปยัน โต๊ะครูสอนศาสนา (ผมหมายถึงคนที่กระทำนะครับส่วนใครที่ไม่ได้กระทำก็ไม่ต้องเดือดร้อนนะครับ) พิธีกรรมนั้นคือ การทำอีซิกุโบร์และอาระวะฮ์ ....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความของน้อง al-farook
أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

ตอบ
บังขอยืมคำถามของน้องอาดีล ที่ว่า

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง

ครับ... ทำไมไม่จำกัดอยู่กับรูปแบบที่นบี ทำแบบอย่างและสอนไว้ ทำไมจึงพยายามดิ้น ด้วยการอ้างนั้น อ้างนี่ การเพิ่มเติมการกล่าวคำเนียต ใน เรื่อง ละหมาด การทำฮัจญและอื่นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติม บน รูปแบบที่ท่านนบีได้ทำแบบอย่างไว้แล้ว แล้วกล่าวว่า "เป็นสุนัต" ซึ่ง หมายถึง สิ่งที่ได้บุญกับผู้ที่ปฏิบัติ และ ไม่เป็นบาปแก่ผู้ที่ละทิ้ง แล้วที่ว่าได้บุญ นั้น ได้บุญจากใคร และใครรับรองการกล่าวคำเนียตที่เพิ่มขึ้นมา และจำเป็นอะไรหรือ ที่ต้องทำอย่างนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Mar 26, 2006 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
เห็นด้วยกับคุณ คนที่เดินผ่าน 100%
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 12:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

อืม...เห็นด้วยกับ คนที่เดินผ่าน

ถ้านักศึกษาอัซฮัรกับพวกเข้ามาก็ช่วยยืนยันหน่อยครับ

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้


เมื่อไม่มีหลักฐานตรงๆ ก็หันไปใช้หลักกิยาสอย่างนี้ใช่ใหม

กรุณายืนยันด้วยหลักฐานนะขอรับครับ ถ้ามีก็นำเสนอด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 4:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากคนเดินผ่าน

... คุณ Al-Farook ก็ควรนำเสนอหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ แบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการกล่าวเหนียต อุซอลลี ในประเด็นการละหมาด ถ้ามีก็นำเสนอมา แต่ถ้าไม่มีคุณก็ควรบอกกับพี่น้อง ลูกศิษของตนเองว่าไม่มีแบบอย่างจากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากนั้นคุณจะนำเสนอทัศนะของอุลามาท่านใด ก็เชิญตามสบาย เพื่อให้พี่น้องที่เข้ามาอ่านมาศึกษาหาความรู้ ได้คิลาฟเอาว่าจะยึดปฏิบัติแบบไหน แค่นั้นพอแล้วก็จบกันไป...

วิจารณ์

เป็นที่ทราบกันว่า การกล่าวคำเหนียตไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็น ตามที่ผมได้เรียนไปแล้วข้างต้น การที่พวกวะฮาบีย์หุกุ่มว่า การกล่าวคำเหนียตนั้น มีอัลกุรอานและหะดิษบทใด มีบรรดซอฮาบะฮ์ท่านใด มีบรรดาอิมามทั้งสี่ท่านใดบ้าง ที่หุกุ่มว่าการกล่าวคำเหนียตเป็นบิดอะฮ์และตกนรก ถ้ามีโปรดบอกและยกอ้างอิงมาด้วย แล้วพวกเราจะไม่ทำการกล่าวคำเหนียตอีกต่อไปครับ แต่ถ้าไม่มีก็แสดงว่าพวกคุณนั้น ก็ตัดสินปัญหาโดยไม่มีหลักการจากสะละฟุศศอลิหฺ และการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำนั้น ย่อมเป็นชี้ว่าเป็นสิ่งที่หะรอมหรือไม่? และเป็นที่ทราบว่า ตัวบทต่างๆนั้นมีจำกัด แต่เหตุการณ์และปัญหาต่างๆมันมีขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะนั้น ประเด็นที่เข้าอยู่ในขอบข่ายของสิ่งที่หะรอม มันก็เป็นของหะรอม และสิ่งที่ใดที่อยู่ขอบข่ายของวายิบ มันก็เป็นวายิบ และสิ่งที่ใดอยู่ในขอบข่ายสุนัตมันก็เป็นสุนัต ปัญหามากมายที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยนบี(ซ.ล.) ก็จึงจำเป็นต้องใช้หลักวิชาการมาตัดสิน ดังนั้นการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำนั้น ไม่ได้ชี้ว่าเป็นสิ่งที่หะรอม หากมีก็โปรดยกหลักฐานมาซิครับ และเป็นที่ทราบดีว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่กล่าวคำเหนียตนั้น เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ไม่มีจิตใจ"วิสวัส" และการละหมาดตามที่เราเห็นหรือเรียนรู้ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ละหมาดนั้น เราย่อมตามมากกว่าพวกท่าน แต่เรื่องของการคำกล่าวเหนียต ไม่ใช่เป็นเรื่องในละหมาด แต่เป็นเรื่องก่อนละหมาด ดังนั้นก่อนละหมาด แนวทางของวะฮาบีย์ห้ามทำอะไรบ้าง โปรดบอกมาเป็นข้อๆพร้อมด้วยหลักฐานครับ ? หากวาฮาบีย์ไม่มีหลักฐานมากล่าวถึงหะรอม ก็โปรดอย่าหุกุ่มขึ้นมาในศาสนา
และผมก็บอกแล้วว่า ผมจะพูดตามหลักการอ้างหลักฐานของสะลัฟ ไม่ใช่หลักการของวะฮาบีย์

อ้างจากคนเดินผ่าน

ปล. ....โอกาศหน้าถ้าผมเข้ามา ผมจะนำเสนอ บิดอะห์ชัดๆ พูดคุยกันในวงกว้างๆ เพื่อชาวบ้านเข้ามาอ่านได้มีโอกาศสนทนาได้ด้วยให้เกิดความเข้าใจ เพราะมันเป็นสิ่งใกล้ตัว

วิจารณ์

ดีครับ คุณคนเดินผ่าน หากคุณและไออาเอฟจะเข้ามาร่วมสนทนาในประเด็นนี้ ผมจะได้ชวน บังมุหัมมัดเข้ามาสนทนาร่วมด้วยนะครับ เพราะบังมุหัมมัดเป็นคู่สนทนาที่เหมาะกับพวกคุณ (นอกจากบังอะสัน เพราะผมเกรงว่าหากคุยกับบังมุหัมมัดแล้ว ผมไม่อยากจะให้บังอะสันต้องหลุดถ้อยคำหยาบคายออกมาอีกเป็นครั้งที่สอง)

และกระผมเอง ก็อยากจะสนทนาเกี่ยวกับบิดอะฮ์ของวะฮาบีย์บ้างนะครับ เอาให้ชัดๆไปเลยนะครับ คือผมเกรงใจพวกท่านมานาน ชาวบ้านจะได้รับรู้กันชัดๆจะๆเสียทีนะครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 5:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากคุณอะดีล

การตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวถ้อยความเนียตก่อนละหมาดนี้ไม่มีตัวบทหลักฐานใดๆยืนยันเลย

หลักฐานจากอัลกุรอ่านไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
หลักฐานจากฮะดีสก็ไม่มี (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
การกระทำของศอฮาบะฮ์ก็ไม่มีเช่นกัน (ถ้ามีนำเสนอด้วย)
บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้ทำและไม่ได้สอนไว้ (ถ้ามีนำเสนอด้วย)

วิจารณ์

คุณอะดีลครับ คำว่า"ตัวบทหลักฐาน" หรือการ "อ้างอิงหลักฐาน" นั้น เราต้องตามแบบฉบับการอ้างหลักฐานแบบสะลัฟนะครับ สี่ประการที่คุณว่ามานั้น เป็นแบบฉบับการอ้างหลักฐานของใคร ? ถ้าหากแบบสะลัฟนั้น คือ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ กิยาส และคำกล่าวซอฮาบะฮ์ หากคุณต้องการสนทนาในทางวิชาการล่ะครับ คุณก็ต้องทำการสนทนาที่อยู่ในกรอบของวิชาการ อยู่ในรูปแบบของการอ้างหลักฐานแบบสะละฟุศศอลิหฺ
งั้นผมมีปัญหาเกิดขึ้นอยากถามคุณสักนิดหนึ่ง คือมีหม้อซุปเนื้อที่กำลังต้มเดือดอยู่ เกิดมีนกตัวหนึ่งบินตกลงมาในหม้อ แล้วตาย ผมอยากทราบว่า ในซุปต้มเนื้อนี้ หุกุ่มว่าอย่างไร ? มีอัลกุรอาน หะดิษ ซอฮาบะฮ์ ตามหลักการของคุณที่อ้างอิงมาสักครู่ ขอให้ช่วยตอบด้วย อย่าหนีคำถามนะครับ ? และให้ตอบตามหลักการของคุณมาด้วยนะ นี่ปัญหาข้อแรกเท่านั้น ผมยังมีปัญหาอีกมากมายเหลือที่จะให้คุณตอบตามหลักการของคุณ แต่ขอให้ตอบข้อนี้ก่อนนะครับ
และอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผมอยากให้มิตรสหายวะฮาบีย์ทั้งหลายของบังอะสันเข้าใจไว้ด้วยว่า บรรดาอุลามาอ์นั้น เราใช้พวกเขามาเป็น وسيلة ไปสู่หุกุ่ม ไม่ใช่เป็น غاية ไปยังหุกุ่ม หากคำนี้ไม่เข้าใจคำนี้ ให้ถามผมน่ะ

อ้างจากคุณอะดีล

สงสัยว่า ทำไมนักศึกษาอัซฮัร จึงไม่พยายามรักษารูปแบบละหมาดตามที่นะบีสั่ง

วิจารณ์

ผมไม่ทราบว่า รูปแบบในละหมาด หรือนอกละหมาดครับ ? และเรื่องการกล่าวคำเหนียตเป็นเรื่องนอกละหมาด แล้วมันไปเกี่ยวและทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับรูปแบบของละหมาด ?? ผมว่าคุณอย่าตั้งคำถามตบตาคนอ่านดีกว่า งั้นผมก็อยากจะถามอีกนะครับว่า หากมีคนหนึ่ง ได้อาบน้ำละหมาดมา แล้วเขาได้ทำการซิกรุลลอฮ์ เรื่อยๆจนกระทั้งมายืนที่ละหมาด และก็ทำการตักบีรละหมาด คุณจะว่าอย่างไรกับการกระทำของคนดังกล่าว ?

และผมอยากถามว่า หากเราทำการอิสติฆฟาร ก่อนการตักบีรเข้าละหมาดนั้นได้หรือเปล่าครับ ?? โปรดตอบให้เราด้วยนะครับ และตอบให้ตรงประเด็นด้วยนะครับ อย่าหนีอีก และผมก็มีปัญหาอีกมากเลยทีเดียวครับ

แล้วอีกอย่างหนึ่ง ท่านอุมัรและท่านอิบนุมัสอูด ได้ทำการเพิ่มตะชะฮุดในละหมาดด้วย ส่งสัยไม่ใช่นักศึกษาอัซฮัรอย่างเดียวที่ไม่รักษารูปแบบการละหมาดตามท่านนบี(ซ.ล.) ผมว่าซอฮาบะฮ์ก็ไม่รักษารูปแบบการละหมาดของท่านนบี(ซ.ล.) ตามทัศนะของคุณอะดีลวะฮาบีย์ผู้อ้างว่าตามสะลัฟแน่เลยครับ คิก คิก

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 5:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

มาชาอัลลอฮ นี้หรือน้อง หลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต นี้คือ คำสนทนาของท่านนบี ศ็อลฯ กับท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฏ) คือ
1. เมื่อ ท่านหญิงอาอิฉะฮกล่าวว่า “ ไม่มี”
2. ท่านนบี ศอ็ลฯ ก็กล่าว ว่า “ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด”
แล้วเศาะหาบะฮท่านใดล่ะครับ เอาคำนี้มาเป็น หลักฐานในการกล่าวคำเนียต ถื่อศีลอด ตามที่คนบ้านเรากล่าวว่า نويت صوم رمضان لغد لله تعالى “ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน ในวันพรุ่งนี้เพื่ออัลลอฮ(ซ.บ)

วิจารณ์

บังอะสันครับ คำกล่าวการเหนียตนั้นมันกว้าง ไม่ใช่จำกัดคำเหนียตเฉพาะว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอดเดือนเราะมะฏอน" เพียงแค่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอดฟัรฏู" หรือเหนียตศีลอดสุนัตว่า "ข้าพเจ้าถือศีลอด" ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และท่านนบี(ซ.ล.) ก็ได้กล่าวมันออกมาจากเจตนาเหนียตของท่าน ในขณะที่ท่านต้องใจจะถือศีลอด ดังที่หะดิษนบีบอกว่า "ดังนั้น ฉันก็ถือศีลอด" เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวคำเหนียตอยางนี้ หลักฐานที่เราบังอะสันสมควรจะถามหรือจะตัดสินทางด้านวิชาการก็คือ มาตรฐานของหลักฐานใดบ้าง ที่สามารถนำวางเงื่อนไขหุกุ่มได้ตามแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ

แต่บังอะสันถามว่า "ซอฮาบะฮ์ท่านใดนำมากล่าวเป็นคำเหนียตว่า" บังอะสันถามถึงหลักฐานการระทำของซอฮาบะฮ์ ซึ่งนั่นก็เป็นหลักฐานหนึ่งของ สะละฟุศศอลิหฺ แต่ทำไมบังอะสันไม่ถามว่า เอาไปกิยาสไว้ใหม? บ้างล่ะครับ ซึ่งมันก็เป็นหลักฐานหนึ่งของสะละฟุศศอลิหฺ (ซึ่งพวกเราได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการกิยาส) ทำไมบังอะสันถึงถามมาตรฐานการอ้างหลักฐานเพียงบางส่วน(เช่นการกระทำของซออาบะฮ์) แล้วทำไมไม่ถามเราอีกมาตรฐานการอ้างหลักฐนหนึ่งของสะลัฟการเกี่ยวกับการกิยาสบ้างล่ะครับ ? หรือว่าเอามาตรฐานการอ้างหลักฐานของสะลัฟมาใช้ แต่ผลออกมากลับเป็นบิดอะฮ์อย่างนั้นหรือครับ ? ซึ่งแบบนี้นักปราชน์ท่านใดพูดไว้บ้าง ? หรือว่ามีแต่อุลามาอ์ของวะอาบีย์ที่พูดอย่างนี้ ? คือมาตรฐานของสะลัฟนั้น เมื่อนำเอามาใช้ ผลลัพธ์จะออกเป็นบิดอะฮ์ ?? บังอะสันและมิตรสหายครับ การพูดอ้างว่าตามท่านซุนนะฮ์ท่านนบี(ซ.ล.)นั้นง่ายเหมือนกล้วยปลอกเข้าใจ ซึ่งเด็กๆเขาพูดกันได้ แต่การดำเนินตามหลักการของสะลัฟจริงๆ นั่นซิครับ มันอยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา เหมือนกับที่บังอะสันกำลังเป็นอยู่นี่แหละ ดังนั้นการตามสะลัฟนั้น ไม่ใช่จำกัดอยู่ในการตามกระทำที่ออกมาจากพวกเขาอย่างเดียว แต่มันรวมถึงการตามหลักการต่างๆในมาตรฐานการอ้างหลักฐานของพวกเขาด้วย และการอ้างหลักฐานที่ว่า"นบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ"นั้น ชี้ถึงหะรอม ซึ่งมาตรฐานการอ้างหลักฐานนี้ ไม่ใช่เป็นมาตรฐานในการอ้างหลักฐานของสะละฟุศศอลิหฺ ในบังอะสันและมิตรสหายวะฮาบีย์ลองยกตัวอย่างของสะละฟุศศอลิหฺมาซิว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำ" เป็น "ดะลีล" (หลักฐาน) หนึ่ง ที่ชี้ถึงหะรอม ??

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 5:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

สมมุติว่าถ้าเป็นคำเนียตต้องเริ่มต้นคำเนียตก่อนที่จะเนียตว่า “ข้าพเจ้าเจตนาทำอุมเราะฮและฮัจญ เพื่ออัลลอฮ” หากจะอาบน้ำละหมาด ละหมาด หรือ ทำฮัจญ์นั้น มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบี ก็จะต้องอธิบายให้เหล่าเศาะหาบะฮรับรู้อย่างแน่นอน แต่เพราะไม่มีบัญญัติให้กล่าวคำเนียต ท่านนบีจึงไม่อธิบายเอาไว้ และไม่ได้สอนให้เริ่มต้นการทำพิธีฮัจญ ด้วยคำว่า”

วิจารณ์

บังอะสันครับ สิ่งที่ดีนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้บอกเป็นการเฉพาะหรือครับ ? และสิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำขึ้นมาเอง เช่นการเพิ่มในการอ่านตะชะฮุด การเพิ่มการตัลบียะฮ์ในฮัจญฺ และการละหมาดของท่านค่อบีบก่อนถูกสังหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีใหมครับ และเมื่อเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ทำไมท่านร่อซูล(ซ.ล.)ถึงไม่บัญญัติบอกบรรดาซอฮาบะฮ์? ดังนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้บอกบัญญัติไว้ ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นสิ่งที่บิดอะฮ์ไปเสียทั้งหมด

แล้วการดุอาอ์ค่อตัมอัลกรุอาน ในละหมาดตะรอวิหฺ และการอ่านกุนูตในละหมาดวิติรในมักกะฮ์โดยอ่านดุอาอ์เสียยืดยาวที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้บอกกำหนดเฉพาะไว้นั้น แถมยังอ่านเสียงดังอีก และทำเป็นนิจสินอีก มันเป็นบิดอะฮ์ที่ล่มหลงใหมครับ ช่วยตอบคำถามแทนอิมามมักกะฮ์ปัจจุบันหน่อยซิครับ เนื่องจากถ้ามันเป็นสิ่งดีแล้ว แน่นอนว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ก็ต้องบัญญัติใช้ตามหลักการของบังอะสันไม่ใช่หรือครับ? หรือว่าการกระทำของกลุ่มวะฮาบีย์ไม่เป็นบิดอะฮ์ ถึงแม้ว่านบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำก็ตาม? ฮ้าๆ ยังไงบังอะสันก็อย่าทำตนให้อยู่บนหลักการที่คลุมเครือ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 5:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

น้องบ่าว al-farook ครับ คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า “ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว” นี้ไม่ใช่คำเนียตทำอุมเราะฮและฮัจญหรอกครับ เพราะขั้นตอนมีดังนี้คือ
1. เมื่อคนทำอุมเราะฮและฮัจญ สวมชุดเอียะรอมแล้ว
2. พร้อมเขาตั้งเจตนา(เนียต) เข้าสูพิธีฮัจญและอุมเราะฮ(กรณีทำหัจญ์กิรอน)
3. แล้วให้เขากล่าวตัลบียะฮว่า “ لبيك بعمرة وحج “(คำนี้ใช้กับกรณีที่ทำฮัจญกิรอน)
กล่าวคือ เนียตก่อนแล้วให้กล่าวตัลบียะฮดังกล่าว ไม่ใช่เริ่มเข้าสู่พิธีด้วยคำข้างต้น โดยอ้างว่า เป็นคำเนียต ข้ออ้างที่น้องอ้างมา ฟังไม่ขึ้นหรอกครับ

วิจารณ์

บังอะสันครับ เราไม่คุยถึงเรื่องกรณี ฮัจญฺกิรอนครับ แต่เราเน้นเรื่องการกล่าวคำเหนียต เช่นในเรื่องฮัจญฺ ที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าว คำว่า لبيك بعمرة وحج ที่มีความหมายว่า “ข้าพเจ้าได้ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ท่าน โดย การทำอุมเราะฮและฮัจญแล้ว” ซึ่งคำๆนี้ บังอะสันตีความโดยไร้ความเข้าใจ โดยเหมารวมว่ามันคือการกล่าวตัลบียะฮ์ ไม่ใช่คำเหนียตที่กล่าวออกมาตามความตั้งใจที่ตนได้กระทำฮัจญฺ หรือฮัจญฺและอุมเราะฮ์ เมื่อเป็นเช่นนี้บังอะสันต้องเข้าใจคำว่า الإهلال กับคำว่า التلبية เสียก่อนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. การ الإهلال คือ ในขณะที่เข้าเขตอิหฺรอม ก็ให้มีการกล่าวออกมาโดยเสียงดังกับจุดมุ่งหมายหรือเจตนาในขณะที่เริ่มครองเอี๊ยะหฺรอม คือ สุนัตให้กล่าวออกมาเป็นคำพูดในขณะที่เหนียตตั้งใจทำการครองอิหฺรอม และให้กล่าวตามที่ผู้ทำอิหฺรอมเจตนาเอาไว้

2. التلبية คือการกล่าว ลับบัยกัลลอฮัมมะลับบัยก์......(จนจบ) หลังจากเข้าครอบอิหฺรอมแล้ว และสุนัติให้กล่าวเรื่อยๆตามสมัคใจ และมีสถานที่ต่างๆที่ส่งเสริมให้กล่าว ก็ต้องกลับไปดูหนังสือฟิกห์และหะดิษ เช่นท่าน อะนัสกล่าวว่ารายงานว่า

سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم أهل بهما جميعا : لبيك عمرة وحجا . لبيك عمرة وحجا

"ฉันได้ยิน ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ทำการเริ่มกล่าวโดยเสียงดัง(ในขณะเริ่มครองอิหฺรอม) ด้วยการทำฮัจญฺและอุมเราะฮ์พร้อมๆกันว่า "ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 214

หรืออีกรายงานหนึ่งรายงานว่า ท่านอะนัสได้ยินท่านร่อซูลกล่าว(ตอนเริ่มเข้าอิหฺรอม) ว่า

لبيك بعمرة وحج

"ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ" ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 215

นั่นคือคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ในขณะที่เริ่มเข้าทำฮัจญฺ โดยกล่าวตามที่ท่านได้เจตนาเหนียตไว้ว่า ท่านจะทำอะไร ? เช่นมีซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ได้ทำการกล่าวคำเหนียตการทำฮัจญีแทนพี่น้องหรือญาติของเขาในขณะที่เริ่มเข้าครองอิหฺรอมว่า

عن ابن عباس أن النبى صلى الله عليه وسلم سمع رجلا يقول : لبيك عن شبرمة ، قال : من شبرمة ؟ قال : أخ لى أو قريب لى ، فقال : حججت عن نفسك ؟ قال : لا ، قال : حج عن نفسك ثم حج عن شبرمة . رواه أبوداود وابن ماجه وصححه الحاكم والراجح عند احمد وقفه

" จากท่านอิบนุอับบาส แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.) ได้ยินชาคนหนึ่ง กล่าวว่า" ข้าพเจ้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์(ในการทำฮัจญฺ)แทน ชุบรุมะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ชุบรุมะฮ์เป็นใครหรือ? เขาตอบว่า "เขาคือพี่น้องฉัน หรือ ญาติใกล้ชิดของฉัน" ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า "ท่านทำฮัจญฺให้ตัวท่านหรือยัง" ? เขาตอบว่า "ยัง" ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า " ท่านจงทำฮัจญฺให้กับตัวท่านก่อน จากนั้น ท่านก็จงทำฮัจญฺแทนชุบรุมะฮ์ " รายงานโดย อบูดาวูด และ อิบนุมะฮ์ และท่านหากิมถือว่าหะดิษนี้ซอฮิหฺ แต่ที่มีน้ำหนักตามทัศนะของท่านอะหฺมัดนั้น คือหะดิษนี้เมากูฟ (แต่ที่แน่ๆคือสายรายงานนี้ซอฮิหฺครับผม) (ดู บุลูฆุลมารอม หน้า 131)

จากเหตุการณ์ตรงนี้ เราจะพบว่า ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง ได้กำลังเริ่มทำการเข้าครองอะหฺรอมโดยกล่าวเป็นคำพูดออกมาตามที่ตนเองเจตนาในการทำฮัจญฺแทนพี่น้องของเขาที่ชื่อ ชุบรุมะฮ์ ซึ่งตรงนี้ บรรดาปวงปราชน์มีความเข้าใจว่า มันคือ "กล่าวคำเหนียตฮัจญฺ"

ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ กล่าวว่า

المحرم اي مريد الإحرام ينوى بقلبه وجوبا بالخبر إنما الأعمال بالنيات ولسانه ندبا للإتباع

" ผู้ที่ครอบอิหฺรอม หมายถึง ผู้ที่ต้องการทำอิหฺรอมนั้น ให้เขทำการเหนียตด้วยหัวใจของเขา โดยเป็นการวายิบ ด้วยสาเหตุของหะดิษที่ว่า "แท้จริงบรรดาการอะมัล ต้องด้วยการเหนียต" และเหนียตด้วยการกล่าวด้วยลิ้น โดยเป็นสุนัต เพราะว่าตามท่านนบี(ซ.ล.) " ดู ตัวะหฺฟะตุลมั๊วะหฺตาจ เล่ม 3 หน้า 27

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าว โดยท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ได้อธิบายว่า

ويندب النطق بالمنوى قبيل التكبير ليساعد اللسان القلب وخروجا من خلاف من أوجبه وإن شد وقياسا على ما يأتى فى الحج المندفع به التشنيع بأنه لم ينقل

"สุนัต ให้ทำการกล่าวคำเหนียต ก่อนจากตักบีรเล็กน้อย เพื่อลิ้นจะได้ช่วยกับหัวใจ และเพื่อออกจากการขัดแย้งกับผู้ที่มีทัศนะว่าวายิบ ซึ่งหากแม้นว่าเขาจะมีทัศนะที่แวกแนว และเพราะไปกิยาส กับสิ่งที่จะนำมากล่าวในเรื่องฮัจญฺ ที่จะมาโต้ตอบการตำหนิ ว่ามันไม่ได้ถูกถ่ายทอด(หลังฐานไว้) " ดู ตัวะหฺฟะตุลมั๊วะหฺตาจ อธิบาย หนังสือมินฮาจของอิมามอันนะวาวีย์ เล่ม 2 หน้า 12

ดังนั้น การกล่าวคำเหนียตในเรื่องของฮัจญฺหรือเรื่องของการถือศีลอด จะก่อนหรือหลังการเหนียต ไม่ใช่เป็นประเด็นสำคัญ แต่เราเน้นประเด็นที่ว่า อนุญาติให้กล่าวคำเหนียตได้หรือไม่? หรือการกล่าวคำเหนียต หรือกล่าวออกมาจากสิ่งที่ตนเองตั้งใจจะทำอิบาดะฮ์นั้นได้หรือไม่? ซึ่งตรงนี้คือประเด็น ซึ่งก่อนที่เราจะกล่าวคำเหนียต เราก็นึกคำเหนียตก่อนอยู่แล้ว และก็กล่าวคำเหนียตออก ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นตัวตอกย้ำและทำให้เราทำการเหนียตในตักบีรได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น

ท่าน อิบนุ กุดดามะฮ์ (อุลามาอ์มัซฮับหัมบะลีย์ ที่อุลามาอ์วะฮาบีย์ให้การยกย่อง) ได้กล่าวไว้ ว่า

وقول النبى صلى الله عليه وسلم : إنما الأعمال بالنيات . ومعنى النية القصد ومحلها القلب ، وإن لفظ بما نواه كان تأكيدا

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า "แท้จริงบรรดาอะมัล ต้องด้วยการเหนียต" โดยที่ความหมายของการเหนียตก็คือ การมุ่งเจตนา และสถานที่ของมันอยู่ที่หัวใจ และหากว่าเขากล่าว ด้วยกับสิ่งที่เขาได้เหนียต แน่นอนว่า มันย่อมเป็นการตอกย้ำ(กับหัวใจ) " ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดดามะฮ์ เล่ม 2 หน้า 15

ผมไม่ทราบว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์ มีทัศนะที่บิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์หรือเปล่า? สงสัยว่า ท่านอิบนุกุดดามะฮ์นี้ ไม่เข้าใจหะดิษที่บังอะสันอ้างว่า

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

((ما تركت شيئاً يقربكم إلى الله إلا وأمرتكم به، وما تركت شيئاً يبعدكم عن الله إلا وقد نهيتكم عنه)

ฉันไม่ได้ทิ้งสิงใดที่ทำให้พวกท่านได้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ นอกจากฉันได้ใช้พวกท่าน ด้วยมันแล้ว และฉันไม่ได้ทิ้งสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่าน ห่างใกลจากอัลลอฮ นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่าน จากมันแล้ว –

เป็นแน่เลยครับ และผมสงสัยว่า การกล่าวคำเหนียตที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำก่อนการละหมาดนี้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์ !!! แต่ที่แน่ๆคือ ท่านร่อซุลไม่ได้ห้ามกับมัน (หากมีวะฮาบีย์โปรดนำมาอ้างอิงด้วยครับ) แต่ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวห้ามมันนั้น เพราะว่าการเหนียต ไม่ได้ทำให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์เลย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับทำให้หัวใจมีสมาธิในการเหนียตเข้าสู่การละหมาด !!!

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 27, 2006 5:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

ข้อความของน้อง al-farook
أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي.

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

วิจารณ์

หลักฐานของหลักศาสนานั้น คือการกิยาสด้วยนะครับบังอะสัน ซึ่งมันเป็นทัศนะของ ซอฮาบะฮ์และสะละฟุสศอลิหฺ หากจะยกคำกล่าวของผมแล้ว กรุณยกมาให้ครบถ้วนจะดีมากครับ กรุณาอย่ายกบางส่วนเหมือนกับที่บังอะสันชอบกระทำมากับคำพูดของอิมามอัชชาฟิอีย์ เพราะมันอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด

อ้างจากบังอะสัน

แล้วที่ว่าได้บุญ นั้น ได้บุญจากใคร และใครรับรองการกล่าวคำเนียตที่เพิ่มขึ้นมา และจำเป็นอะไรหรือ ที่ต้องทำอย่างนี้

วิจารณ์

เราทำอิบาดะฮ์ไม่เน้นผลบุญครับ เราทำตามเพียงหน้าที่ของผู้เป็นบ่าวเท่านั้น และบังอะสันพูด หากมันเป็นสุนัตที่ทำแล้วได้บุญละทิ้งไม่ได้รับโทษ แต่หลังจากคำพูดนี้ บังอะสันกลับพูดแบบไม่เข้าใจถ้อยความว่า “และจำเป็นอะไรหรือที่ต้องทำอย่างนี้” อะไรกันครับบังอะสัน ผมอีกตั้งหลายครั้งแล้วว่า มันไม่ใช่วายิบ และไม่ใช่จำเป็น ผมสงสัยบังอะสันจะยกคำกล่าวของผมแบบท่อนๆยังไม่พอ ดันยังมาวกวนกับคำพูดของตนเองอยู่อีก
Laughing Laughing

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.12 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ