ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การสังกัดมัซฮับ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การสังกัดมัซฮับ
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ลัทธิ-นิกาย
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:07 am    ชื่อกระทู้: การสังกัดมัซฮับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ ذَلِكُمْ وَصَّاكُم بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

[6.153] และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง

قال ابن عباس في قوله‏; ‏{‏ولا تتبعوا السبل فتفرق بكم عن سبيله‏}‏ أمر اللّه المؤمنين بالجماعة ونهاهم عن الاختلاف والتفرقة، وأخبرهم أنه إنما هلك من كان قبلهم بالمراء والخصومات في دين اللّه، وقال الإمام أحمد بن حنبل عن عبد اللّه بن مسعود رضي اللّه عنه قال‏خط رسول اللّه صلى اللّه عليه وسلم خطاً بيده ثم قال‏; ‏(‏هذا سبيل اللّه مستقيماً‏)‏، وخط عن يمينه وشماله ثم قال‏ ‏(‏هذه السبل ليس منها سبيل إلا عليه شيطان يدعو إليه‏)‏، ثم قرأ‏ ‏{‏وأن هذا صراطي مستقيماً فاتبعوه ولا تتبعوا السبل فتفرق بكم عن سبيله‏}‏ ‏"‏رواه أحمد والحاكم والنسائي، وقال الحاكم‏; صحيح ولم يخرجاه‏


ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวเกี่ยวกับคำดำรัสของอัลลอฮที่ว่า (และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์) ว่า อัลลอฮทรงบัญชาแก่มวลผู้ศรัทธาทั้งหลายให้ให้ความสำคัญกับหมู่คณะ และห้ามพวกเขาไม่ให้ขัดแย้งและแตกแยกกัน และทรงบอกพวกเขาว่า ประชาติก่อนพวกเขานั้น ได้รับความวิบัติ เพราะทะเลาะวิวาทและโต้เถียงกัน ในเรื่อง ศาสนาของอัลลอฮ และท่านอิหม่ามอะหมัด บุตร หัมบัล ได้รายงานจาก อับดุลลอฮ บุตรมัสอูด (ร.ฎ) ว่า เขากล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขีดเส้นเส้นหนึ่ง ด้วยมือของท่าน แล้วกล่าวว่า ?นี้คือ แนวทางของอัลลอฮ อันเที่ยงตรง? และท่านได้ขีดเส้นไปทางด้านขวาและด้านซ้ายของท่าน แล้วกล่าวว่า ?นี้คือ หลายๆทาง ซึ่งไม่มีแนวทางใดจากหลายๆทางนั้น นอกจากมีชัยฏอน เชิญชวน ไปสู่แนวทางนั้น แล้วท่านก็อ่านอายะฮที่ว่า ? และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์? ? รายงานโดย อะหมัด อัลหากิมและอัลนะสาอีย์ และอัลหากิม กล่าวว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ โดยที่อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม ไม่ได้บันทึกมันไว้ ? ดูมุคตะศอ็รตัฟสีรอิบนิกะษีร อรรถาธิบายอายะฮที่ 153 ซูเราะฮอันอันอาม

.....................................

อายะฮนี่ แสดงให้เห็นว่า แนวทางแห่งศาสนาอิสลาม นั้นมีหนึ่งเดียว ไม่มีหลายๆแนวทาง เพราะการแตกเป็นหลายๆแนวทางนั้น เป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งและแตกแยก
และการแบ่งศาสนาป็นหลายนิกาย ก็เป็นมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง และ อิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่ได้เป็นตัวการแบ่งนิกาย นิกายคือ สิ่งที่พวกตะอัศศุบมัซฮับอุปโลกน์ขึ้นมา แล้วอ้างอีหม่ามทั้งสี่

asan


إِنَّ الَّذِينَ فَرَّقُواْ دِينَهُمْ وَكَانُواْ شِيَعاً لَّسْتَ مِنْهُمْ فِي شَيْءٍ إِنَّمَا أَمْرُهُمْ إِلَى اللّهِ ثُمَّ يُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُواْ يَفْعَلُونَ

[6.159] แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้นเจ้า (มุฮัมมัด) หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้น ย่อมไปสู่อัลลอฮ์แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน- อันอันอาม/159
คือ พวกเขาไม่ได้แยกตัวออกจากศาสนาของพวกเขา แต่ พวกเขาแบ่งแยกศาสนาของพวกเขา ออกเป็นนิกาย เช่น โรมันแคธอลิค โปรเตสแตนต์ ออร์โธดอกส์ เป็นต้น

ในตัฟสีรอัสสะอดีย์ ได้อธิบายอายะฮข้างต้นว่า

ودلت الآية الكريمة أن الدين يأمر بالاجتماع والائتلاف، وينهى عن التفرق والاختلاف في أهل الدين، وفي سائر مسائله الأصولية والفروعية

อายะฮอันทรงเกียรตินี้ แสดงให้รู้ว่า แท้จริง ศาสนา ใช้ให้ร่วมกัน และมีความสมานฉันท์ และห้ามการแตกแยกและขัดแย้งกัน ในบรรดาผู้ที่นับถือ ศาสนา ในในบรรดาประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับศาสนา ทั้งที่เป็นหลักการศาสนาและข้อปลีกย่อย - ดูตัฟสีร อัสสะอดีย เล่ม 8 อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
ในตัฟสีรอัลบัฆวีย อธิบายอายะฮข้างต้นว่า

أي: جعلوا دين الله وهو واحد-دين إبراهيم عليه السلام الحنفية-أدياناً مختلفة، فتهود قوم وتنصر قوم، يدل عليه قوله عز وجل: وكانوا شيعا ً، أي: صاروا فرقاً مختلفة وهم اليهود والنصارى في قول مجاهد و قتادة و السدي .


กล่าวคือ พวกเขา ทำให้ ศาสนาของอัลลอฮ ซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งเดียว -คือ ศาสนาอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ที่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง ให้กลายเป็นศาสนาต่างๆที่แตกต่างกัน แล้ว พวกหนึ่ง เป็นยะฮูดี และพวกหนึ่งเป็นนะศอรอ ซึ่งคำดำรัสของอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ได้แสดงบอกมันไว้ คือ ?และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่างๆ กล่าวคือ พวกเขากลายเป็น พวกที่แตกต่างกัน และพวกเขาคือ พวกยะฮูดี และ นะศอรอ ในทัศนะของ มุญฮิด เกาะตาดะฮและอัสสุดดีย ? ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
......................

ผมไม่ได้มีเจตนาว่า อิหม่ามทั้งสี แบ่งแยกนิกาย หรอกครับ ผมต้องการชีให้เห็นว่า การแบ่งแยกศาสนาเป็นนิกายหรือมัซฮับ แล้วพวกนั้นสังกัดนิกายนั้น พวกนี้สังกัดนิกายนี้ นี้มันเป็นพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับ พวกยะฮูดีและนะศอรอ ที่อัลลอฮกล่าวไว้
และมีคำอธิบายเพิ่มเติมจากตัฟสีรข้างต้นว่า

وقيل: هم أصحاب البدع والشبهات من هذه الأمة. وروي عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لعائشة: يا عائشة إن الذين فارقوا دينهم وكانوا شيعاً هم أصحاب البدع والشبهات من هذه الأمة .

มีผู้กล่าวว่า พวกเขาคือ ชาวบิดอะฮ และ พวกที่มีความคลุ่มเครือ(ในศาสนา ) จากประชาชาตินี้ และมีรายงานจากอุมัร บุตร อัลคอ็ฏฏอ็บ(ร.ฏ)ว่า แท้จริงท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิฉะฮว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้น พวกเขาคือ ชาวบิดอะฮและผู้ที่มีความคลุมเครือ(ในศาสนา)จากประชาตินี้
- ? ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
asan
وأخرج أبو داود , والترمذي عن الحارث بن عمرو عن أناس من أهل حمص من أصحاب معاذ { عن معاذ أن رسول الله صلى الله عليه وسلم لما بعثه إلى اليمن قال له : كيف تقضي إذا عرض لك قضاء ؟ قال : أقضي بكتاب الله , قال : فإن لم تجد في كتاب الله ؟ قال : فبسنة رسول الله , قال : فإن لم تجد في سنة رسول الله , ولا في كتاب الله ؟ قال : أجتهد رأيي , ولا آلو , فضرب رسول الله صلى الله عليه وسلم صدره , وقال : الحمد لله الذي وفق رسول رسول الله لما يرضي رسول الله

ท่านอบูดาวูดและท่านอัตติรมีซีย์ ได้บันทึจากท่าน อัลหาริษ บุตรอัมริน จากบรรดาผู้คนชาวหัมศิน จากบรรดาสหายของมุอาซ จากมุอาซว่า"ในขณะที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งมุอาซฺไปยังเยเมน ท่านร่อซูลกล่าวว่า "ท่านจะตัดสินอย่างไรหากมีมีคดีหนึ่งเกิดขึ้นกับท่าน ?" เขากล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกับสิ่งที่อยู่ในกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในกิตาบุลลอฮ์ล่ะ?" เขากล่าวว่า "ก็ด้วยซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)" ท่านนบีกล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ล่ะ?" เขาตอบว่า "ฉันก็จะทำการวินิจฉัยกับความเห็นของฉัน โดยฉันจะไม่ทำให้บกพร่อง" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้ตบอกของมุอาซฺ แล้วกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นอภิสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงชี้นำทูตของร่อซูลุลลอฮ์ให้กับสิ่งที่ทำให้ร่อซูลุลลอฮ์พอใจ"-
...ดู นัศบุรรอยะฮฟีตัครีจอะหาดีษฮิดายะฮ เล่ม 1 หน้า 39 บทว่าด้วยเรื่อง มารยาทของผู้ตัดสินคดี(كتاب أدب القاضي)

หะดิษข้างต้นกล่าวถึงเรื่อง การตัดสินคดีความ ซึ่งเกี่ยวเรื่องทางด้านสังคม การเมือง การปกครอง ปัญหาการการพิพาททางด้านสังคม นั้น ย่อมหลากหลาย ไม่มีสิ้นสุด ทุกคดีที่เกิดขึ้นแต่ละยุคแต่ละสมัย มันไม่ได้เหมือนกับที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบีเสมอไป เพราะฉะนั้นคดีใด ไม่ปรากฏการตัดสินเอาไว้ในอัลกุรอ่านและหะดิษ ก็ให้ผู้พิพากษาใช้การวินิจฉัยของตน ดังหะดิษที่ว่า


أخرج البخاري , ومسلم عن أبي قيس مولى عمرو بن العاص عن عمرو بن العاص أنه سمع رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : { إذا حكم الحاكم فاجتهد , فأصاب فله أجران , وإذا حكم وأخطأ فله أجر

บันทึกโดยบุคอรี ,มุสลิมจากอบีกอยสฺ ทาสของอัมริน บุตรอัลอาศ จากอัมริน บุตร อัลอาศ ว่า แท้จริง เขาได้ยินรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า " เมื่อผู้พิพากษาตัดสินคดี แล้วเขาได้ทำการวินิจฉัยอย่างเต็มความสามารถ แล้วปรากฏว่าถูกต้อง เขาก็ได้รับการตอบแทนสองเท่า และเมื่อเขาตัดสิน และเกิดการผิดพลาด เขาก็ได้รับการตอบแทนหนึ่งเท่า
- จากหนังสือที่อ้างอิงแล้ว
........................
เพราะฉะนั้นจะเอาหะดิษนี้ มาอ้างเรื่องการอิจญติฮาดในเรื่องอิบาดะฮไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน และไม่ใช่หลักฐานที่มาอ้างเรื่อง การสังกัดมัซฮับ และไม่ใช่หลักฐานให้ตามความเห็นของผู้รู้ โดยปราศจากหลักฐาน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

إِنَّ الْعُلَمَاءَ وَرَثَةُ الْأَنْبِيَاءِ إِنَّ الْأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوا دِينَارًا وَلَا دِرْهَمًا إِنَّمَا وَرَّثُوا الْعِلْمَ فَمَنْ أَخَذَ بِهِ أَخَذَ بِحَظٍّ ‏ ‏وَافِرٍ

แท้จริงบรรดาผู้รู้(อุละมาอฺ)นั้น เป็นทายาทของบรรดานบี แท้จริงบรรดานบีนั้น ไม่ได้ทิ้งดินารและไม่ได้ทิ้งดิรฮัมไว้ให้เป็นมรดก ความจริง พวกเขาได้ทิ้งวิชาความรู้ไว้เป็นมรดก ดังนั้นใคร เอามันไว้ ผู้นั้นก็ได้ประสบโชคอันเต็มเปี่ยม -รายงานโดยอัตติมิซีย์
........................
ความหมายหะดิษขอชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า ทายาททางวิชาการของบรรดานบี นั้น เขาจะต้องรับวิชาความรู้จากบรรดานบี ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ไม่รู้ ส่วนวิชาความรู้ที่เกิดจากการอิจญติฮาดด้วยปัญญาของพวกเขา ในเรื่องศาสนา ย่อมมีผิด มีถูก ซึ่งต่างกับบรรดานบี ที่ได้รับการปกป้องจากอัลลอฮจากความผิดพลาดในการถ่ายทอดคำสอนศาสนา อัลกุรอ่าน ได้ระบุว่า
قل انما أنا بشر مثلكم يوحي الي

จงกล่าวเถิด แท้จริง ฉันเป็นมนุษย์ปุถุชน เหมือนพวกท่าน มีโองการ(วะหยู)แก่ฉัน

เพราะฉะนั้น ตามนบี และตามอุลามาอฺแตกต่างกัน


อิบนิตัยมียะอ( ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)

واتباع شخص لمذهب شخص بعينه لعجزه عن معرفة الشرع من غير جهته إنما هو مما يسوغ له ، ليس هو مما يجب على كل أحد إذا أمكنه معرفة الشرع بغير ذلك الطريق ، بل كل أحد عليه يتقي الله ما استطاع ، ويطلب علم ما أمر الله به ورسوله ، فيفعل المأمور ، ويترك المحظور ، والله أعلم {أهـ.

และการที่บุคคลหนึ่ง ปฏิบัติตามมัซฮับ(ทัศนะ)ของบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะเขาไม่มีความสามารถ รู้เรื่องศาสนาได้อื่นจากวิธีนั้น แท้จริง มันคือ ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่อนุญาตให้แก่เขาเทานั้น มันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นแก่ทุกคน เมื่อเขาสามารถ รู้ศาสนา ด้วยอื่นจากหนทางดังกล่าวนั้น แต่ทว่า ทุกคน จำเป็นจะต้องยำเกรงต่ออัลลอฮ เท่าที่เขาสามารถ และ เขาจะต้องแสวงหา ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ทรงใช้ แล้วปฏิบัติตามสื่งที่ถูกใช้ และละทิ้งสิ่งที่ถูกห้าม - วัลลอฮุอะลัม - อัลฟะตาวา 20/116

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
ดังที่อัลกุรอ่าน ระบุว่า

فاسألوا أهل الذكر إن كنتم لاتعلمون
พวกเจ้าจงถามผู้รู้ หากพวกเจ้าไม่รู้ - อัลนะหลิ/43

ألا سألوا إذ لم يعلموا، فإنما شفاء العي السؤال
พวกท่านไม่ถามหรอกหรือ เมื่อพวกท่านไม่รู้ ความจริง ยาของความโง่ คือ การถาม - อบูดาวูด หะดิษหมายเลข 384
رواه أبو داود في باب الطهارة 1: 142 رقم: 336.
...........
เพราะฉะนั้น อิสลามสอนให้แสวงหาความรู้ ไม่ใช่ยอมอยู่ในสภาพโง่ดักดาน ไม่ยอมเรียน ไม่ยอมศีกษาหาความจริง และการแสวงหาความจริง ต้องศึกษาจากผู้รู้จริง และความจริงนั้น ในศาสนานั้น ต้องมาจากอัลลอฮและรอซูล มาดูตัวอย่างคนที่ไม่อยากโง่

وقال أبو العسيف إنّ ابني كان عسيفاً على هذا فزنى بامرأته فافتديت منه بمائة شاه وخادم ثم سألت رجالاً من أهل العلم فأخبروني أن على ابني جلد مائة، وتغريب عام وعلى امرأته هذا الرجم
และอบูอุสัยฟ์ กล่าวว่า ?แท้จริงบุตรชายของข้าพเจ้า ได้ทำการละเมิดต่อชายผู้นี้ แล้วเขา(บุตรชาย)ได้เล่นชู้กับภรรยของเขา แล้วข้าพเจ้าได้ไถ่ตัวเขา ด้วยแพะหนึ่งร้อยตัวและ คนรับใช้หนึ่งคน ต่อมา ข้าพเจ้าได้ถาบบรรดาชายที่มีความรู้ แล้วพวกเขาบอกข้าพเจ้าว่า แท้จริง บุตรขายของข้าพเจ้าจะต้องถูกลงโทษโดยการโบย 100 ครั้งและเนรเทศหนึ่งปี และภรรยาของชายผู้นี้ จะมีโทษโดยการขว้างด้วยก้อนหินจนตาย
البخاري 4: 1672، مسلم 2: 69 باب الاعتراف بالزنى.
..
จากหะดิษข้างต้น จะพบว่า ตอนแรกอบูอุสัยฟ์ ทำไปเพราะความไม่รู้ แต่ต่อมาก็พยายามถามผู้มีความรู้ หลายคน จนได้ข้อเท็จจริง นี้คือ ตัวอย่างของผู้แสวงหาสัจธรรม ไม่ใช่นั่งโง่ดักดาน ยอมอยู่ในสภาพคนอาวาม โดยไม่แสวงหาความจริง และคอยที่จะปิดตาให้คนอื่นมาป้อน ซี่งไม่รู้ว่า สิ่งที่คนมาป้อนให้ มันเป็นอะไร
.....................

ที่นี้มาดูฝ่ายผู้มีความรู้ นั้น ก็ต้องรู้จริง และมีจรรยาบรรในการถ่ายทอดความจริงให้กับผู้ไม่รู้ จะถูกสอนอะกีดะฮให้แก่ผู้ไม่รู้ว่า ศาสนาอิสลาม ต้องมาจากอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ไม่ใช่การตักลิดมัซฮับ แบบหูหนวกตาบอด ไม่ใช่ปิดตาชาวบ้านโดยสอนว่า คนอาวามต้องตามมัซฮับ
من أفتى بغير علم كان إثم ذلك على الذي أفتاه".

ผู้ใดฟัตวา(ตอบปัญหาศาสนา) โดยไม่มีความรู้ ความผิด(บาป)นั้น จะตกอยู่ที่ผู้ที่ฟัตวามัน ? รายงานโดย อะหมัดและอิบนุมาญะฮ
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาสอนไม่ใช่หรือว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

[4.59] ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮ์ และร่อซู้ล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง - 4/59
.....................
จะสอนให้ชาวบ้านโง่ หรือสอนให้พวกเขาตาสว่าง ก็พิจารณาเอาเอง


إن هذه المذاهب الأربعة المدونة المحررة قد إجمعت الأمة أو من يعتد به منها على جواز تقليدها إلى يومنا هذا

ความว่า " แท้จริง บรรดามัซฮับทั้งสี่ที่ได้ถูกบันทึกหลักการไว้เรียบร้อยแล้ว อุมมะฮฺอิสลามได้ลงมติหรือผู้ที่ถูกนับด้วยกับเขาจากการลงมติได้ มีมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้ทำการตักลีดตามบรรดามัซฮับทั้งสี่ได้ จนกระทั้งถึงวันของเรานี้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

asan

وقال أبو عبد الله بن خويز منداد البصري المالكي : التقليد معناه في الشرع الرجوع إلى قول لا حجة لقائلة عليه , وذلك ممنوع منه في الشريعة , والاتباع : ما ثبت عليه حجة . وقال في موضع آخر من كتابه : كل من اتبعت قوله من غير أن يجب عليك قبوله بدليل يوجب ذلك فأنت مقلده , والتقليد في دين الله غير صحيح , وكل من أوجب الدليل عليك اتباع قوله فأنت متبعه , والاتباع في الدين مسوغ , والتقليد ممنوع

และอบูอับดุลลอฮ บุตร คุวัยซฺ มันดาด อัลบะเศาะรี อัล-มาลิกีย์ กล่าวว่า " การตักลีด ความหมายในทางศาสนาคือ การกลับไปหาคำพูดใดๆ ที่ไม่หลักฐานสำหรับผู้ที่กล่าวคำพูดนั้น และดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งถูกห้ามในศาสนาบัญญัติ และคำว่า"อิตบาอฺคือ (การตาม)สิ่งที่ปรากฏหลักฐานยืนยัน และเขา(อบูอับดุลลอฮ)ได้กล่าวเอาไว้ในที่อื่นจากหนังสือของเขาว่า
" ทุกๆผู้ที่ท่านได้ตามคำพูดของเขา โดยไม่ได้จำเป็นแก่ท่านจะต้องรับรองมัน ด้วยหลักฐานว่าจำเป็นดังกล่าว ท่านก็คือ มุกอ็ลลิด(ผู้เชื่อตาม)เขา และการตักลีดในศาสนาของอัลลอฮนั้น ไม่ถูกต้อง และทุกผู้ที่มีหลักฐานว่าวายิบท่านจะต้องตามเคำพูดของ ท่านก็คือผู้เจริญรอยตามเขา และการอิตติบาอ(เจริญรอยตาม)ในศาสนานั้น เป็นสิ่งอนุญาต และการตักลิด(การเชื่อตาม)นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม

- อะลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 138 อัตตักลิด วัลอิตติบาอฺ ฟิดดีน

asan

ومن ادعى وجوب تقليد العامي للمفتي فقد ادعى الباطل وقال قولا لم يأت به قط نص قرآن ولا سنة ولا إجماع ولا قياس , وما كان هكذا فهو باطل لأنه قول بلا دليل , بل البرهان قد جاء بإبطاله , قال تعالى ذاما لقوم قالوا : { إنا أطعنا سادتنا وكبراءنا فأضلونا السبيلا

และผู้ใดอ้างว่า คนอาวาม(คนทั่วไป)ต้องตักลิดตามมุฟตี แท้จริง เขาได้อ้างเรื่องเท็จ และเขาได้กล่าวคำพูด ที่ไม่ปรากฏหลักฐานจาก อัลกุรอ่าน อัสสุนนะฮ ,อิจญมาอฺและกิยาส แม้แต่น้อย และสิ่งที่ปรากฏเช่นนี้ มันเป็นเท็จ เพราะว่า แท้จริงมันเป็นคำพูดโดยปราศจากหลักฐาน แต่ตรงกันข้าม มีหลักฐาน ที่มาหักล้างมัน ,อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาได้ทรงตรัสไว้เป็นการตำหนิคนพวกหนึ่ง ซึ่งพวกเขากล่าวว่า(แท้จริงพวกเราได้เชื่อฟังหัวหน้าของเราและผู้อวุโสของเรา แล้วพวกเขาทำให้เราหลงทาง) - อัลมะหัลลา บิลอะษัร เล่ม 1 หน้า 85

asan

وقد نهى الأئمة الأربعة عن تقليدهم , وذموا من أخذ أقوالهم بغير حجة ; فقال الشافعي : مثل الذي يطلب العلم بلا حجة كمثل حاطب ليل , يحمل حزمة حطب وفيه أفعى تلدغه وهو لا يدري , ذكره البيهقي

และความจริง อิหม่ามทั้งสี่ ได้ห้ามตักลีด(เชื่อตาม)พวกเขา และพวกเขาตำหนิผู้ที่ยึดเอาคำพูดของพวกเขาโดยปราศจากหลักฐาน แล้วท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า" อุปมาผู้ที่ศึกษาหาความรู้ โดยไม่มีหลักฐาน อุปมัยดังเช่น คนหาไม้ฟืนยามค่ำคืน ,เขาแบกมัดของไม้ฟืน และในนั้นมีงูจะกัดเขาอยู่ โดยที่เขาไม่รู้ ,อัลบัยฮะกีย์ได้ระบุเอาไว้
- อะอฺลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 139
.............
ระวังงูจะกัดเอานะท่านผู้อาวามทั้งหลาย

คิดนอกละหมาด

ขออัลลอฮฺ {ซบ} ทรงโปรดให้ความเข้าใจที่เที่ยงแท้แก่ผมและทุกท่านด้วย

asan

وقد فرق أحمد بين التقليد والاتباع فقال أبو داود : سمعته يقول : الاتباع أن يتبع الرجل ما جاء عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن أصحابه , ثم هو من بعد في التابعين مخير , وقال أيضا : لا تقلدني ولا تقلد مالكا ولا الثوري ولا الأوزاعي , وخذ من حيث أخذوا

และความจริง อิหม่ามอะหมัด ได้แบ่งแยกระหว่าง การตักลิด(การเชื่อตาม)และ การอิตติบาอฺ(การเจริญรอยตาม) โดยที่ท่านอบูดาวูดได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้ยินเขา(อะหมัด)กล่าวว่า "อัลอิตติบาอฺ คือ การที่คนนั้น เขาได้ตามสิ่งที่มาจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และจากบรรดาสาวกของท่าน หลังจากนั้น คือ ผู้ที่อยู่สมัยหลังจากนั้น ในการตามนั้น ให้มีทางเลือก และเขา(อะหมัด)ได้กล่าวไว้อีกว่า"อย่าตักลีดตามข้าพเจ้า,อย่าตักลิดตามมาลิก,อย่าตักลิดตามอัษเษารีย์และอย่าตักลิดตามอัลเอาซาอีย์ และให้เอา ตามที่พวกเขาเอามา -อะอฺลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 139

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Mon Aug 29, 2016 1:02 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

asan

وقال أبو عبد الله بن خويز منداد البصري المالكي : التقليد معناه في الشرع الرجوع إلى قول لا حجة لقائلة عليه , وذلك ممنوع منه في الشريعة , والاتباع : ما ثبت عليه حجة . وقال في موضع آخر من كتابه : كل من اتبعت قوله من غير أن يجب عليك قبوله بدليل يوجب ذلك فأنت مقلده , والتقليد في دين الله غير صحيح , وكل من أوجب الدليل عليك اتباع قوله فأنت متبعه , والاتباع في الدين مسوغ , والتقليد ممنوع

และอบูอับดุลลอฮ บุตร คุวัยซฺ มันดาด อัลบะเศาะรี อัล-มาลิกีย์ กล่าวว่า " การตักลีด ความหมายในทางศาสนาคือ การกลับไปหาคำพูดใดๆ ที่ไม่หลักฐานสำหรับผู้ที่กล่าวคำพูดนั้น และดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งถูกห้ามในศาสนาบัญญัติ และคำว่า"อิตบาอฺคือ (การตาม)สิ่งที่ปรากฏหลักฐานยืนยัน และเขา(อบูอับดุลลอฮ)ได้กล่าวเอาไว้ในที่อื่นจากหนังสือของเขาว่า
" ทุกๆผู้ที่ท่านได้ตามคำพูดของเขา โดยไม่ได้จำเป็นแก่ท่านจะต้องรับรองเขา ด้วยหลักฐานว่าจำเป็นดังกล่าว ท่านก็คือ มุกอ็ลลิด(ผู้เชื่อตาม)เขา และการตักลีดในศาสนาของอัลลอฮนั้น ไม่ถูกต้อง และทุกผู้ที่ทำถูกต้องตามหลักฐาน ก็จำเป็นแก่ท่านต้องตามคำพูดของเขา ท่านก็คือ ผู้ที่เจริญรอยตามเขา และการอิตติบาอ(เจริญรอยตาม)ในศาสนานั้น เป็นสิ่งอนุญาต และการตักลิด(การเชื่อตาม)นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม

- อะลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 138 อัตตักลิด วัลอิตติบาอฺ ฟิดดีน

asan

ومن ادعى وجوب تقليد العامي للمفتي فقد ادعى الباطل وقال قولا لم يأت به قط نص قرآن ولا سنة ولا إجماع ولا قياس , وما كان هكذا فهو باطل لأنه قول بلا دليل , بل البرهان قد جاء بإبطاله , قال تعالى ذاما لقوم قالوا : { إنا أطعنا سادتنا وكبراءنا فأضلونا السبيلا

และผู้ใดอ้างว่า คนอาวาม(คนทั่วไป)ต้องตักลิดตามมุฟตี แท้จริง เขาได้อ้างเรื่องเท็จ และเขาได้กล่าวคำพูด ที่ไม่ปรากฏหลักฐานจาก อัลกุรอ่าน อัสสุนนะฮ ,อิจญมาอฺและกิยาส แม้แต่น้อย และสิ่งที่ปรากฏเช่นนี้ มันเป็นเท็จ เพราะว่า แท้จริงมันเป็นคำพูดโดยปราศจากหลักฐาน แต่ตรงกันข้าม มีหลักฐาน ที่มาหักล้างมัน ,อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาได้ทรงตรัสไว้เป็นการตำหนิคนพวกหนึ่ง ซึ่งพวกเขากล่าวว่า(แท้จริงพวกเราได้เชื่อฟังหัวหน้าของเราและผู้อวุโสของเรา แล้วพวกเขาทำให้เราหลงทาง) - อัลมะหัลลา บิลอะษัร เล่ม 1 หน้า 85

asan

وقد نهى الأئمة الأربعة عن تقليدهم , وذموا من أخذ أقوالهم بغير حجة ; فقال الشافعي : مثل الذي يطلب العلم بلا حجة كمثل حاطب ليل , يحمل حزمة حطب وفيه أفعى تلدغه وهو لا يدري , ذكره البيهقي

และความจริง อิหม่ามทั้งสี่ ได้ห้ามตักลีด(เชื่อตาม)พวกเขา และพวกเขาตำหนิผู้ที่ยึดเอาคำพูดของพวกเขาโดยปราศจากหลักฐาน แล้วท่านอิหม่ามชาฟิอีย์กล่าวว่า" อุปมาผู้ที่ศึกษาหาความรู้ โดยไม่มีหลักฐาน อุปมัยดังเช่น คนหาไม้ฟืนยามค่ำคืน ,เขาแบกมัดของไม้ฟืน และในนั้นมีงูจะกัดเขาอยู่ โดยที่เขาไม่รู้ ,อัลบัยฮะกีย์ได้ระบุเอาไว้
- อะอฺลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 139
.............
ระวังงูจะกัดเอานะท่านผู้อาวามทั้งหลาย

คิดนอกละหมาด

ขออัลลอฮฺ {ซบ} ทรงโปรดให้ความเข้าใจที่เที่ยงแท้แก่ผมและทุกท่านด้วย

asan

وقد فرق أحمد بين التقليد والاتباع فقال أبو داود : سمعته يقول : الاتباع أن يتبع الرجل ما جاء عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن أصحابه , ثم هو من بعد في التابعين مخير , وقال أيضا : لا تقلدني ولا تقلد مالكا ولا الثوري ولا الأوزاعي , وخذ من حيث أخذوا

และความจริง อิหม่ามอะหมัด ได้แบ่งแยกระหว่าง การตักลิด(การเชื่อตาม)และ การอิตติบาอฺ(การเจริญรอยตาม) โดยที่ท่านอบูดาวูดได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้ยินเขา(อะหมัด)กล่าวว่า "อัลอิตติบาอฺ คือ การที่คนนั้น เขาได้ตามสิ่งที่มาจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และจากบรรดาสาวกของท่าน หลังจากนั้น คือ ผู้ที่อยู่สมัยหลังจากนั้น ในการตามนั้น ให้มีทางเลือก และเขา(อะหมัด)ได้กล่าวไว้อีกว่า"อย่าตักลีดตามข้าพเจ้า,อย่าตักลิดตามมาลิก,อย่าตักลิดตามอัษเษารีย์และอย่าตักลิดตามอัลเอาซาอีย์ และให้เอา ตามที่พวกเขาเอามา -อะอฺลามุลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 139

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
อิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

" قد ذم الله تعالى في القرآن من عدل عن اتباع الرسل إلى ما نشأ عليه من دين آبائه وهذا هو التقليد الذي حرمه الله ورسوله وهو : أن يتبع غير الرسول فيما خالف فيه الرسول ، وهذا حرام باتفاق المسلمين على كل أحد ; فإنه لا طاعة لمخلوق في معصية الخالق , والرسول طاعته فرض على كل أحد من الخاصة والعامة في كل وقت وكل مكان ; في سره وعلانيته وفي جميع أحواله . . . . وقد أوجب الله طاعة الرسول على جميع الناس في قريب من أربعين موضعا من القرآن .
وتقليد العاجز عن الاستدلال للعالم يجوز عند الجمهور . . . والتقليد المحرم بالنص والإجماع : أن يعارض قول الله ورسوله بما يخالف ذلك كائنا من كان المخالف لذلك " انتهى .

แท้จริงอัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงตำหนิผู้ที่หันเหออกจากการปฏิบัติตามบรรดารอซูล ไปสู่สิ่ง เขาได้รับการปลูกฝังบนมัน จากศาสนาของบรรพบุรุษของเขา และนี้คือ การตักลิด(การเชื่อตาม)ที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ได้ห้ามไว้ กล่าวคือ การตามอื่นจากรอซูล ในสิ่งที่ขัดแย้งกับรอซูล และกรณีนี้ เป็นสิ่งต้องห้ามแก่ทุกคน โดยมติเห็นฟ้องของบรรดามุสลิม แท้จริง ไม่มีการเชื่อฟังมัคลูค(มนุษย์) ในการฝ่าฝืนต่อพระผู้สร้าง(อัลลอฮ) และการเชื่อฟังต่อรอซูลนั้น เป็นข้อบังคับแก่ทุกคน ทั้งที่เป็นบุคคลเฉพาะ หรือคนทั่วไป(คนอาวาม) ในทุกเวลาและสถานที่ ,ในที่ลับและที่เปิดเผย และในทุกสภาพการณ์ .......และความจริงอัลลอฮได้ทรงกำหนดให้ การตามรอซูล เป็นหน้าที่ แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งระบุไว้ประมาณ สี่สิบแห่ง จากอัลกุรอ่าน

และการตักลิด ของผู้ที่ไม่สามารถอ้างอิงหลักฐาน ต่อผู้มีความรู้นั้น เป็นที่อนุญาตในทัศนะนักปราชญ์ส่วนใหญ่ .....และการตักลิดที่ต้องห้าม โดยหลักฐาน จากตัวบทและ อัลอิจญมาอฺนั้น คือ การปฏิบัติที่สวนทางกับคำพูดของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ด้วยสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งนั้น (การตักลิดนั้นต้องห้าม)ตราบใดเที่เขาเป็นผู้ขัดแย้งดังกล่าวนั้น
- มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 19 หน้า 260-266

ท่านอิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
إن العامي لا يتصور أن يصح له مذهب ، ولو تصور ذلك لم يلزمه ولا لغيره ، ولا يلزم أحد قط أن يتمذهب بمذهب رجل من الأمة بحيث يأخذ أقواله كلها ويدع أقوال غيره ،وهذه بدعةٌ حدثت في الأمة لم يقل بها أحد من أئمة الإسلام ، وهم أعلى رتبة وأجل قدراً وأعلم بالله ورسوله من أن يلزموا الناس بذلك ،وأبعد منه قول من قال يلزمه أن يتمذهب بمذهب عالم من العلماء وأبعد منه قول من قال يلزمه أن يتمذهب بأحد المذاهب الأربعة . أعلام الموقعين 4/ 262

แท้จริง คนทั่วไป(คนอาวาม)นั้น อย่าได้คิดไปว่า มัซฮับของเขาถูกต้อง และถ้าเขาคิดไปอย่างนั้น เขาก็ไม่ยึดติดกับมันและไม่ยึดติดอื่นจากมัน และคนหนึ่งคนใด จะไม่ยึดติด โดยการสังกัดมัซฮับ ของคนใดจากจากอุมมะฮเท่านั้น โดยที่ยึดเอาคำพูดของเขาทั้งหมด และทิ้งบรรดาคำพูดของผู้อื่น และนี้คือ ?บิดอะฮ? ที่เกิดขึ้นในประชาชาตินี้ ,ไม่มีคนใดจากบรรดาผู้นำ(อิหม่าม)แห่งอิสลาม กล่าวอย่างนั้น (หมายถึงสังกัดมัซฮับโดยเฉพาะ) และพวกเขา คือผู้ที่อยู่ในฐานะที่สูงส่งและมีความเป็นเลิศ ในบารมี และมีความรู้ ในอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ยิ่งกว่า การทีพวกเขายึดติดอยู่กับมนุษย์ ด้วยดังกล่าวนั้น และ คำพูดของผู้ที่กล่าวว่า จำเป็นต้องสังกัดมัซฮับอุลามาอฺ ห่างใกลจากเขา(อิหม่ามแห่งอิสลาม) ยิ่งนัก และคำพูดของผู้ที่กล่าวว่า ต้องสังกัดมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดจากสี่มัซฮับ ก็ห่างใกลจากเขายิ่งนัก(เช่นกัน) - ดูหนังสือ อะอฺลามุ้ลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 262
......................
สรุปจากคำพูดของท่านอิบนุกอ็ยยิม คือ การยึดติดกับมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งโดยเฉพาะนั้น เป็น บิดอะอ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Oct 22, 2012 12:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อความทั้งหมดข้างต้น เป็นเนื้อหาที่ผมใช้เสวนากับ อ.อารีฟีน แสงวิมาน ในเว็บซุนนะสะติวเด้น หลายปีแล้ว ต้องขอขอบคุณ อ.อารีฟีน แสงวิมาณ ที่เก็บเอาไว้อย่างดี
Idea

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 20, 2013 5:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وَمَنْ تَعَصَّبَ لِوَاحِدِ بِعَيْنِهِ مِنْ الْأَئِمَّةِ دُونَ الْبَاقِينَ فَهُوَ بِمَنْزِلَةِ مَنْ تَعَصَّبَ لِوَاحِدِ بِعَيْنِهِ مِنْ الصَّحَابَةِ دُونَ الْبَاقِينَ . كالرافضي الَّذِي يَتَعَصَّبُ لِعَلِيِّ دُونَ الْخُلَفَاءِ الثَّلَاثَةِ وَجُمْهُورِ الصَّحَابَةِ . وَكَالْخَارِجِيِّ الَّذِي يَقْدَحُ فِي عُثْمَانَ وَعَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا . فَهَذِهِ طُرُقُ أَهْلِ الْبِدَعِ وَالْأَهْوَاءِ الَّذِينَ ثَبَتَ بِالْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ وَالْإِجْمَاعِ أَنَّهُمْ مَذْمُومُونَ خَارِجُونَ عَنْ الشَّرِيعَةِ وَالْمِنْهَاجِ الَّذِي بَعَثَ اللَّهُ بِهِ رَسُولَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ . فَمَنْ تَعَصَّبَ لِوَاحِدِ مِنْ الْأَئِمَّةِ بِعَيْنِهِ فَفِيهِ شَبَهٌ مِنْ هَؤُلَاءِ سَوَاءٌ تَعَصَّبَ لِمَالِكِ أَوْ الشَّافِعِيِّ أَوْ أَبِي حَنِيفَةَ أَوْ أَحْمَد أَوْ غَيْرِهِمْ .

ผู้ใดยึดถือ(สังกัดแนวคิดในเรื่องศาสนา)กับคนหนึ่งคนใดเป็นการเฉพาะ จากบรรดาอิหม่าม โดยไม่ยึดถือ(แนวคิด)บรรดาคนอื่นที่เหลือ เขาก็อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ที่ยึดถือคนหนึ่งคนใดจากเหล่าเศาะหาบะฮ เป็นการเฉพาะ โดยไม่ยึดถือบรรดาคนอื่นที่เหลือ เช่น พวกรอฟิเฎาะฮ ที่ยึดถือ อาลี (เป็นการเฉพาะ) โดยไม่ยึดถือบรรดาเคาะลิฟะฮสามคน และบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮส่วนมาก และ เช่น พวกเคาะวาริจญ์ ที่ ให้ร้าย อุษมานและอาลี (ร.ฎ) เหล่านี้คือ แนวทางของชาวบิดอะฮ และบรรดาผู้ตามอารมณ์ (ตามความคิดเห็นเป็นใหญ่) คือ บรรดาผู้ที่อัลกุรอ่าน,อัสสุนนะฮ และอัลอิจญมาอฺ ได้ยืนยันว่า แท้จริง พวกเขา ถูกตำหนิ เป็นผู้ที่ออกนอกแนวทางแห่งชะรีอะฮ และแนวทางที่อัลลอฮได้ส่งรซูลของพระองค์ ศอ็ลฯด้วยมัน ดังนั้น ผู้ใด ยึดถือ(สังกัด) คนหนึ่งคนใด จากบรรดาอิหม่าม เป็นการเฉพาะ ในมัน (ในกรณีนี้) คล้ายจากพวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่า จะยึดถือ (สังกัด)มาลิก ,หรือชาฟิอี, หรืออบีหะนีฟะฮ หรืออะหมัด หรืออื่นจากเขา – ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 252

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่

وَإِذَا كَانَ الرَّجُلُ مُتَّبِعًا لِأَبِي حَنِيفَةَ أَوْ مَالِكٍ أَوْ الشَّافِعِيِّ أَوْ أَحْمَد : وَرَأَى فِي بَعْضِ الْمَسَائِلِ أَنَّ مَذْهَبَ غَيْرِهِ أَقْوَى فَاتَّبَعَهُ كَانَ قَدْ أَحْسَنَ فِي ذَلِكَ وَلَمْ يَقْدَحْ ذَلِكَ فِي دِينِهِ . وَلَا عَدَالَتِهِ بِلَا نِزَاعٍ ; بَلْ هَذَا أَوْلَى بِالْحَقِّ وَأَحَبُّ إلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِمَّنْ يَتَعَصَّبُ لِوَاحِدِ مُعَيَّنٍ غَيْرِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَمَنْ يَتَعَصَّبُ لِمَالِكِ أَوْ الشَّافِعِيِّ أَوْ أَحْمَد أَوْ أَبِي حَنِيفَةَ وَيَرَى أَنَّ قَوْلَ هَذَا الْمُعَيَّنِ هُوَ الصَّوَابُ الَّذِي يَنْبَغِي اتِّبَاعُهُ دُونَ قَوْلِ الْإِمَامِ الَّذِي خَالَفَهُ .
فَمَنْ فَعَلَ هَذَا كَانَ جَاهِلًا ضَالًّا ; بَلْ قَدْ يَكُونُ كَافِرًا ; فَإِنَّهُ مَتَى اعْتَقَدَ أَنَّهُ يَجِبُ عَلَى النَّاسِ اتِّبَاعُ وَاحِدٍ بِعَيْنِهِ مِنْ هَؤُلَاءِ الْأَئِمَّةِ دُونَ الْإِمَامِ الْآخَرِ فَإِنَّهُ يَجِبُ أَنْ يُسْتَتَابَ فَإِنْ تَابَ وَإِلَّا قُتِلَ . بَلْ غَايَةُ مَا يُقَالُ : إنَّهُ يَسُوغُ أَوْ يَنْبَغِي أَوْ يَجِبُ عَلَى الْعَامِّيِّ أَنْ يُقَلِّدَ وَاحِدًا لَا بِعَيْنِهِ مِنْ غَيْرِ تَعْيِينِ زَيْدٍ وَلَا عَمْرٍو

และเมื่อปรากฏว่าคนหนึ่งตามอบูหะนีฟะฮ หรือ มาลิก หรือ ชาฟิอี หรืออะหมัด และเขาเห็นว่าในบางประเด็น มัซฮับอื่น มีหลักฐานแข็งแรงกว่า เขาก็จงตาม มัน(ตามมัซฮับที่หลักฐานแข็งแรงกว่า) แน่นอนเขาได้ทำดีในเรื่องดังกล่าว และไม่ถือว่าดังกล่าวเป็นความเสียหายในศาสนาของเขา และไม่มีผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของเขา โดยไม่มีข้อขัดแย้ง(ระหว่างนักวิชาการ) ในทางกลับกัน นี้คือ ที่ดียิ่ง กับความถูกต้อง และเป็นที่ที่รักยิ่งแก่อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ่งกว่า การยึดถือ(ตะอัศศุบ) แนวคิดคนหนึ่งคนใดเป็นการเฉพาะ อื่นจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังเช่น ผู้ที่ยึดถือ(ยึดติด) กับ มาลิก ,ชาฟิอี,อะหมัด และอบูหะนีฟะฮ และเขาเห็นว่า คำพูด(ทัศนะ)ของคนที่เขายึดถือเป็นการเฉพาะคนนี้ ถูกต้อง ที่เขาควรจะปฏิบัติตาม ไม่ใช่ทัศนะอิหม่ามคนอื่น ที่เห็นต่างกับเขาผู้นั้น และผู้ใดปฏิบัติแบบนี้(หมายถึงยึดติดว่าคำพูดของอิหม่ามของเขาเท่านั้นที่ควรตามและถูกต้อง) เขาก็เป็นคนโง่และหลงทาง ยิ่งกว่านั้น บางที่เขาอาจจะกลายเป็นกาเฟร เมื่อเขาเอียะติกอด(เชื่อมั่น)ว่า วายิบแก่มนุษย์จะต้องตามคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะจากบรรดาอิหม่ามเหล่านี้ ไม่ใช่อิหม่ามคนอื่น ดังนั้นวาญิบเขาจะต้องขอให้เขาเตาบัต ถ้าหากเขาเตาบะฮ และถ้าไม่เตาบัต เขาก็จะถูกประหาร – เล่ม 22 หน้า 249
สรุปคำพูดของอิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ
หนึ่ง - เมื่อปรากฏว่าคนหนึ่งตามอบูหะนีฟะฮ หรือ มาลิก หรือ ชาฟิอี หรืออะหมัด และเขาเห็นว่าในบางประเด็น มัซฮับอื่น มีหลักฐานแข็งแรงกว่า เขาก็จงตามมัซฮับที่หลักฐานแข็งแรงกว่า
สอง – ผู้ที่ควรจะยึดถือเป็นการเฉพาะคือ นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
สาม- การเชื่อว่า วายิบต้องตามมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดเป็นการเฉพาะ เท่านั้น จะตามคนอื่นไม่ได้ จะทำให้ผู้นี้เป็นกาเฟรได้ และจะต้องให้ผู้นี้เตาบัต หากไม่ยอมเตาบัต มีโทษถึงขั้นประหาร

การตามมัซฮับไม่ผิด ที่ผิดคือ การยึดติด
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

بَلْ غَايَةُ مَا يُقَالُ : إنَّهُ يَسُوغُ أَوْ يَنْبَغِي أَوْ يَجِبُ عَلَى الْعَامِّيِّ أَنْ يُقَلِّدَ وَاحِدًا لَا بِعَيْنِهِ مِنْ غَيْرِ تَعْيِينِ زَيْدٍ وَلَا عَمْرٍو .
وَأَمَّا أَنْ يَقُولَ قَائِلٌ : إنَّهُ يَجِبُ عَلَى الْعَامَّةِ تَقْلِيدُ فُلَانٍ أَوْ فُلَانٍ فَهَذَا لَا يَقُولُهُ مُسْلِمٌ .
แต่ทว่า ความมุ่งหมาย คือ สิ่งที่ถูกกล่าวว่า “

แท้จริง อนุญาต หรือ สมควร หรือ วาญิบ แก่คนอาวาม ให้ตามคนหนึ่งคนใด โดยไม่เป็นการเฉพาะ โดยไม่เฉพาะว่า นายเซด นายอุมัร สำหรับผู้ที่กล่าวว่า “แท้จริงวายิบ(จำเป็น)เหนือคนอาวาม ต้องตาม คนนั้น คนนี้ คำพูดแบบนี้ มุสลิมเขาไม่พูดกัน-มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 249
สรุปจากคำพูดของอิบนุตัยมียะฮคือ
หนึ่ง- สมควรคนทั่วไป(คนอาวาม )จะต้องตามคนหนึ่งคนใด ไม่เป็นเฉพาะ โดยไม่เฉพาะว่า จะต้องตาย นายนั้น นายนี้ เป็นการเฉพาะ
สอง – การกล่าวว่า วาญิบคนอาวามจะต้องตามคนนั้น คนนี้ คำพูดแบบนี้นี้คนที่เป็นมุสลิมเขาไม่พูดคำนี้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 20, 2013 5:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
فَإِنَّ أَهْلَ الْحَقِّ وَالسُّنَّةِ لَا يَكُونُ مَتْبُوعُهُمْ إلَّا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الَّذِي لَا يَنْطِقُ عَنْ الْهَوَى إنْ هُوَ إلَّا وَحْيٌ يُوحَى فَهُوَ الَّذِي يَجِبُ تَصْدِيقُهُ فِي كُلِّ مَا أَخْبَرَ ; وَطَاعَتُهُ فِي كُلِّ مَا أَمَرَ وَلَيْسَتْ هَذِهِ الْمَنْزِلَةُ لِغَيْرِهِ مِنْ الْأَئِمَّةِ بَلْ كُلُّ أَحَدٍ مِنْ النَّاسِ يُؤْخَذُ مِنْ قَوْلِهِ وَيُتْرَكُ إلَّا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

แท้จริงผู้ที่อยู่บนความถูกต้องและอัสสุนนะฮ ผู้ที่ถูกปฏิบัติตามของพวกเขาจะไม่มี นอกจากรซูลุลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น ผู้ซึ่งและเขา (มุหัมมัด) มิได้กล่าวออกมาจากอารมณ์ (ตนเอง) เว้นแต่มันคือวะหฺยูที่ถูกวิวรณ์แก่เขา และเขาคือผู้ที่วาญิบต้องเชื่อ ในทุกสิ่งที่เขาบอก และเชื่อฟังปฏิบัติตามต่อเขาในทุกสิ่งที่เขาสั่ง และตำแหน่งนี้ ไม่เป็นของผู้ใดอื่นจากเขา(อื่นจากนบี) จากบรรดาอิหม่าม ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ทุกคน คำพูดของเขาถูกเอามา(ปฏิบัติ)และถูกทิ้งไป ยกเว้น รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 3 หน้า 347
สรุปจากคำสอนของอิบนุตัยมียะฮ
หนึ่ง – ผู้ที่อยู่บนความถูกต้องและอัสสุนนะฮนั้น ผู้ที่เขาตามคือ รซูลุลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น
สอง – รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ ผู้ที่ได้รับวะหยูจากอัลลอฮ
สาม- คำพูดของผู้อื่น อาจจะมีคนเอาไปเป็นแนวปฏิบัติหรืออาจจะทิ้งไป ยกเว้นคำพูดจากรซูลุลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
.......
ข้างต้นคือ คำสอนของผู้ที่พยายามสอนผู้คนให้ตามสุนนะฮจากรซูลุลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

อิหม่ามอัชเชากานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า)

وَاعْلَمْ : أَنَّهُ لَا خِلَافَ فِي أَنَّ رَأْيَ الْمُجْتَهِدِ ، عِنْدَ عَدَمِ الدَّلِيلِ ، إِنَّمَا هُوَ رُخْصَةٌ لَهُ ، يَجُوزُ لَهُ الْعَمَلُ بِهَا عِنْدَ فَقْدِ الدَّلِيلِ ، وَلَا يَجُوزُ لِغَيْرِهِ الْعَمَلُ بِهَا بِحَالٍ مِنَ الْأَحْوَالِ ، وَلِهَذَا نَهَى كِبَارُ الْأَئِمَّةِ عَنْ تَقْلِيدِهِمْ ، وَتَقْلِيدِ غَيْرِهِمْ

พึงทราบเถิดว่า ไม่มีการขัดแย้ง เกี่ยวกับความเห็นของมุจญตะฮิด ขณะที่ไม่มีหลักฐาน ความจริงมันเป็นการผ่อนปรนสำหรับเขา ,อนุญาตให้เขาปฏิบัติด้วยมัน ขณะที่ไม่มีหลักฐาน และไม่อนุญาตให้ผู้อื่นจากเขา ปฏิบัติด้วยมัน จะด้วยโอกาสใดๆก็ตาม และเพราะเหตุนี้ บรรดาอิหม่ามผู้อวุโส ได้ห้ามเชื่อตามพวกเขา และห้ามเชื่อตามผู้อื่น – ดู อิรชาดุลฟุหูล เล่ม 2 หน้า 764
คำว่าตักลิดคือ
التَّقْلِيدُ هُوَ قَبُولُ قَوْلٍ بِلَا حُجَّةٍ
ตักลิดคือ การรับเอาคำพูดใดๆ โดยไม่มีหลักฐาน – อัลมุสตัศฟา หน้า 371

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 09, 2014 9:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[b]ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า

لا تعتقد أن مذهبك افضل المذاهب وأحبها إلى الله ، فإنك لا دليل لك على ذلك ، ولا لمخالفك أيضا ، بل الأئمة رضى الله عنه كلهم على خير كثير ولهم فى صوابهم أجران على كل مسألة وفى خطئهم أجر واحد

"ท่านอย่าเชื่อมั่นว่า แท้จริงมัซฮับของท่านนั้น ประเสริฐที่สุดจากมัซฮับทั้งหลาย และเป็นมัซฮับที่รักยิ่งทีสุดแก่อัลเลาะฮ์ เพราะแท้จริง ท่านไม่มีหลักฐานสำหรับต่อการยืนยันในสิ่งดังกล่าว และไม่มีหลักฐานสำหรับผู้ที่มีมัซฮับขัดแย้งกับท่านเช่นกัน แต่บรรดาอิมาม(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม) ทั้งหมดนั้น อยู่บนความดีงามอันมากมาย และทุกประเด็นปัญหาที่พวกเขามีความถูกต้องนั้น ก็จะได้รับ 2 การตอบแทนสำหรับพวกเขา และในความผิดพลาด ย่อมได้รับผลการตอบแทนเดียว" ดู หนังสือ ซัฆฺล์ อัลอิลม์ วะ อัลเฏาะลับ ของท่าน อัซซะฮะบีย์ หน้า 14

อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وَاتَّفَقُوا كُلُّهُمْ عَلَى أَنَّهُ لَيْسَ أَحَدٌ مَعْصُومًا فِي كُلِّ مَا يَأْمُرُ بِهِ وَيَنْهَى عَنْهُ إلَّا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَلِهَذَا قَالَ غَيْرُ وَاحِدٍ مِنْ الْأَئِمَّةِ : كُلُّ أَحَدٍ مِنْ النَّاسِ يُؤْخَذُ مِنْ قَوْلِهِ وَيُتْرَكُ إلَّا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

และพวกเขา(อุลามาอฺ)ทั้งหมดเห็นฟ้องกันว่า ไม่มีคนใดได้รับการปกป้องจากความผิดพลาด(มะอฺศูม) ในทุกสิ่งที่เขาใช้ และเขาห้าม นอกจากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
และเพราะเหตุนี้ บรรดาอิหม่ามหลายท่านได้กล่าวว่า "มนุษย์ทุกคน คำพูดของเขาถูกนำมา(ปฏิบัติ)และถูกทิ้ง นอกจาก รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

وَهَؤُلَاءِ الْأَئِمَّةُ الْأَرْبَعَةُ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ قَدْ نَهَوْا النَّاسَ عَنْ تَقْلِيدِهِمْ فِي كُلِّ مَا يَقُولُونَهُ وَذَلِكَ هُوَ الْوَاجِبُ عَلَيْهِمْ ; فَقَالَ أَبُو حَنِيفَةَ : هَذَا رَأْيِي وَهَذَا أَحْسَنُ مَا رَأَيْت ; فَمَنْ جَاءَ بِرَأْيٍ خَيْرٍ مِنْهُ قَبِلْنَاهُ
,และบุคคลเหล่านี้คือ บรรดาอิหม่ามทั้งสี่ (ขออัลลอฮเมตตาต่อพวกเขาเหล่านี้) แท้จริง พวกเขาได้ห้ามมนุษย์ไม่ให้ตักลิด(เชื่อตาม)พวกเขา และดังกล่าวนั้น(การห้ามตักลิด)คือ สิ่งที่วายิบแก่พวกเขา โดยที่อบูหะนีฟะฮได้กล่าวว่า"นี้คือ ความเห็นของข้าพเจ้า ดังนั้นผู้ใดนำมาซึ่งความเห็นที่ดีกว่ามัน เราก็รับมัน - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 20 หน้า 120

อัล-กะมาล อิบนุ อัล-ฮุมาม กล่าวว่า ในหนังสือ อัตตะหฺรีร ของท่านว่า

و هل يقلد غيره في غيره؟ المختار: نعم، للقطع بأنهم كانوا يستفتون مرة واحدا و مرة غيره، غير ملتزمين مفتيا واحدا. فلو التزم مذهبا معينا كأبي حنيفة أو الشافعي فقيل يلزم، و قيل لا

"คนมุก๊อลลิดสามารถตักลีดคนอื่น(หมายถึงอิมามท่านอื่นจากอิมามที่เขาตักลีดอยู่) ในสิ่งอื่นจากมัน(หมายถึงประเด็นอื่นที่เขาได้ตักลีดตามอิมามคนแรก) ได้หรือไม่? ทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นแล้วก็คือ ทำได้ เพราะถือว่าเด็ดขาดแล้วว่า พวกเขา(คนมุก๊อลลิด)ทำการขอคำฟัตวาครั้งหนึ่ง กับ(มุฟตีมุจญฺฮิด)คนหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่ง กับ(มุฟตีมุจญฺฮิด)อีกคนหนึ่ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องยึดอยู่กับมุฟตีเพียงแค่คนเดียว ดังนั้น หากเขาต้องสังกัดมัซฮับหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่นอบูหะนีฟะฮ์และอิมามชาฟิอีย์ ก็มีทัศนะหนึ่งกล่าวว่า จำเป็น และอีกทัศนะหนึ่งบอกว่า ไม่จำเป็น(แต่อนุญาต)" ดู หนังสืออธิบายอัตตะหฺรีร ของท่าน อิบนุ อัลฮุมาม คือหนังสือ อัตตักรีร วะ อัตตะหฺบีร ของท่าน อิบนุ อะมีร อัลหาจญฺ เล่ม 3 หน้า 350

ปรากฏใน อัล-อะหกาม ฟีอุซูลุ้ลอะหกามว่า เล่ม 6 หน้า 226 ว่า

هل يجوز التعبد بهذه المذاهب المستحدثة، وهل تبرأ ذمّة المكلف باتباع واحد منها؟
لقد أجاب ابن حزم على هذا السؤال، فقال: وأما مَن أخذ برأي أبي حنيفة أو رأي مالك أو غيرهما، فقد أخذ بما لم يأمره الله تعالى قط بالأخذ به، وهذه معصية لا طاعة

อนุญญาตให้ทำการอิบาดะฮ (ต่ออัลลอฮ)ด้วยการตามบรรดามัซฮับที่ถูกตั้งขึ้นใหม่นี้หรือไม่ ?และ มุกัลลัฟจะพ้นจากภาระหน้าที่(ที่ศาสนาบังคับ)หรือไม่ ด้วยการตามคนหนึ่งคนใดจากนั้น?อิบนุฮัซมิน ได้ตอบคำถามนี้ว่า “และสำหรับผู้ที่ถือเอาความเห็นของอบูหะนีฟะฮ หรือ ของมาลิก หรือ คนอื่นจากทั้งสองนั้น(มาปฏิบัติ) แน่นอน เขาได้ถือเอาสิ่งที่อัลลอฮ(ซ.บ)ไม่ได้สั่งมันเอาไว้ ว่า ให้ยึดเอามันมาปฏิบัติแม้แต่น้อย และนี้คือ การฝ่าฝืน (อัลลอฮ)ไม่ใช่การเชื่อฟัง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Apr 26, 2015 5:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 09, 2014 9:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
إن العامي لا يتصور أن يصح له مذهب ، ولو تصور ذلك لم يلزمه ولا لغيره ، ولا يلزم أحد قط أن يتمذهب بمذهب رجل من الأمة بحيث يأخذ أقواله كلها ويدع أقوال غيره ،وهذه بدعةٌ حدثت في الأمة لم يقل بها أحد من أئمة الإسلام ، وهم أعلى رتبة وأجل قدراً وأعلم بالله ورسوله من أن يلزموا الناس بذلك ،وأبعد منه قول من قال يلزمه أن يتمذهب بمذهب عالم من العلماء وأبعد منه قول من قال يلزمه أن يتمذهب بأحد المذاهب الأربعة . أعلام الموقعين 4/ 262

แท้จริง คนทั่วไป(คนอาวาม)นั้น อย่าได้คิดไปว่า มัซฮับของเขาถูกต้อง และถ้าเขาคิดไปอย่างนั้น เขาก็ไม่ยึดติดกับมันและไม่ยึดติดอื่นจากมัน และคนหนึ่งคนใด จะไม่ยึดติด โดยการสังกัดมัซฮับ ของคนใดจากจากอุมมะฮเท่านั้น โดยที่ยึดเอาคำพูดของเขาทั้งหมด และทิ้งบรรดาคำพูดของผู้อื่น และนี้คือ ?บิดอะฮ? ที่เกิดขึ้นในประชาชาตินี้ ,ไม่มีคนใดจากบรรดาผู้นำ(อิหม่าม)แห่งอิสลาม กล่าวอย่างนั้น (หมายถึงสังกัดมัซฮับโดยเฉพาะ) และพวกเขา คือผู้ที่อยู่ในฐานะที่สูงส่งและมีความเป็นเลิศ ในบารมี และมีความรู้ ในอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ยิ่งกว่า การทีพวกเขายึดติดอยู่กับมนุษย์ ด้วยดังกล่าวนั้น และ คำพูดของผู้ที่กล่าวว่า จำเป็นต้องสังกัดมัซฮับอุลามาอฺ ห่างใกลจากเขา(อิหม่ามแห่งอิสลาม) ยิ่งนัก และคำพูดของผู้ที่กล่าวว่า ต้องสังกัดมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดจากสี่มัซฮับ ก็ห่างใกลจากเขายิ่งนัก(เช่นกัน) - ดูหนังสือ อะอฺลามุ้ลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 262
......................

]

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Aug 26, 2014 8:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


มันแปลกไหม ที่อิหม่ามสี่ ไม่สังกัดมัซฮับ เป็นการเฉพาะ อีกทั้งท่านเหล่านี้ไม่เคยมีอักษรเดียวที่เป็นคำพูดสอนให้อุมมะฮอิสลามสังกัดมัซฮับ
ท่านอิบนุกอ็ยยิม ก็งง ท่านกล่าวว่า

فَيَالَلَّهِ الْعَجَبُ ، مَاتَتْ مَذَاهِبُ أَصْحَابِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَذَاهِبُ التَّابِعِينَ وَتَابِعَيْهِمْ وَسَائِرُ أَئِمَّةِ الْإِسْلَامِ ، وَبَطَلَتْ جُمْلَةٌ إلَّا مَذَاهِبَ أَرْبَعَةِ أَنْفُسٍ فَقَطْ مِنْ بَيْنَ سَائِرِ الْأَئِمَّةِ وَالْفُقَهَاءِ ، وَهَلْ قَالَ ذَلِكَ أَحَدٌ مِنْ الْأَئِمَّةِ أَوْ دَعَا إلَيْهِ أَوْ دَلَّتْ عَلَيْهِ لَفْظَةٌ وَاحِدَةٌ مِنْ كَلَامِهِ عَلَيْهِ ؟ وَاَلَّذِي أَوْجَبَهُ اللَّهُ - تَعَالَى وَرَسُولُهُ عَلَى الصَّحَابَةِ وَالتَّابِعِينَ وَتَابِعِيهِمْ هُوَ الَّذِي أَوْجَبَهُ عَلَى مَنْ بَعْدَهُمْ إلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ ، لَا يَخْتَلِفُ الْوَاجِبُ وَلَا يَتَبَدَّلُ

ยา..อัลลอฮ น่าประหลาดใจอะไรเช่นนี้ ..บรรดามัซฮับของเหล่าสาวกรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ,บรรดามัซฮับ ตาบิอีน และผู้ที่เจริญรอยตามพวกเขา และ เหล่าอิหม่ามแห่งอิสลาม ได้ตายลง และได้เป็นโมฆะทั้งหมด ยกเว้น มัซฮับ 4 คน เท่านั้น ในท่ามกล่าง บรรดาอิหม่ามและฟุเกาะฮาอฺอื่นๆ และ มีไหม คนหนึ่งคนใดจากบรรดาอิหม่าม ได้กล่าวดังกล่าว หรือ เชิญชวนไปสู่ (การสังกัด)ต่อเขา หรือ มีถ้อยคำสักคำไหม จากคำพูดของเขา ที่แสดงบอกบนมัน ? ทั้งๆที่ สิ่งที่อัลลอฮ ตะอาลาและรอซูลของพระองค์ ได้กำหนดให้แก่บรรดาเศาหะบะฮ ,ตาบีอีน และตาบิอีตตาบิอีน คือ สิ่งที่ พระองค์ทรงกำหนดให้เป็นข้อบังคับ(วาญิบ) แก่ผู้ที่อยู่ยุคหลังจากพวกเขา ตราบจนวันกิยามะฮ สิ่งที่เป็นวาญิบไม่ได้แตกต่างและไม่ได้เปลี่ยนแปลง – ดู เอียะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 202 เรื่อง
.........
จากคำพูดอิบนุกอ็ยยิม ข้างต้น ท่านอิบนุกอ็ยยิม ก็ประหลาดใจเพราะ
ประการที่ 1 บรรดามัซฮับเศาะหาบะฮ ตาบิอีน ,ตาบิอิตตาบิอีน และบรรดาปราชญ์ ระดับอิหม่ามแห่งอิสลามอื่นๆ ได้ตายไปจากโลกและเป็นโมฆะหมด แต่กลับมาเหลือแค่ มัซฮับของคน 4 คน นี่คือสิ่งที่แปลก
ประการที่ 2 มี คำพูดสักคำไหม ที่บรรดาอิหม่าม กล่าวถึงการสังกัดมัซฮับหรือ เรียกร้องให้มาสังกัดมัซฮับของตน
ประการที่ 3 นี้แปลกมาก เพราะสิ่งใดก็ตาม ที่อัลลอฮและรอซูลบังคับแก่เหล่าเศาะหาบะฮ และคนยุคตาบิอีน สิ่งนั้นก็เป็นข้อบังคับคนยุคหลังด้วย ข้อบังคับนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง และใหนละครับ ที่มีข้อบังคับให้สังกัดมัซฮับแบบเจาะจง


มาดูความสุดโต่งของปราชญ์ ที่มีนามว่า เช็คอัศศอวีย์ อธิบายว่า

ولا يجوز تقليد ما عدا المذاهب الأربعة ، ولو وافق قول الصحابة ، والحديث الصحيح والآية ، فالخارج عن المذاهب الأربعة ضال مضل ، وربما أداه ذلك إلى الكفر ، لأن الأخذ بظواهر الكتاب والسنة من أصول الكفر

ไม่อนุญาให้ตักลิด(เชื่อตาม) อื่นจากมัซฮับทั้งสี่ แม้ว่าจะสอดคล้องกับคำพูดของเศาะหาบะฮและหะดิษเศาะฮเฮียะ และ อายะฮ ก็ตาม เพราะการออกจากมัซฮับทั้งสี่นั้น เป็นการหลงผิด และเป็นผู้ที่ทำให้หลงผิด และบางที่ ดังกล่าวนั้นอาจจะนำไปสู่การเป็นกุฟุร เพราะการเอาตามความหมายที่ปรากฏของอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากรากฐานการกุฟุร
-ตัสสีรอัศศอวีย์ เล่ม 3 หน้า 9

เห็นไหมครับ ว่าท่านผู้นี้ คลั่งใคล้และตะอัศศุบกับมัซฮับขนาดใหนเช็คมุหัมหมัดอามีน อัชชันกิฏีย์ ได้กล่าวตอบโต้ในตัฟสีรของท่านว่า

أَمَّا قَوْلُهُ بِأَنَّهُ لَا يَجُوزُ الْخُرُوجُ عَنِ الْمَذَاهِبِ الْأَرْبَعَةِ ، وَلَوْ كَانَتْ أَقْوَالُهُمْ مُخَالِفَةً لِلْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ ، وَأَقْوَالِ الصَّحَابَةِ ، فَهُوَ قَوْلٌ بَاطِلٌ بِالْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ وَإِجْمَاعِ الصَّحَابَةِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ ، وَإِجْمَاعِ الْأَئِمَّةِ الْأَرْبَعَةِ أَنْفُسِهِمْ
สำหรับคำพูดของเขา ที่ว่า ไม่อนุญาให้ออกจากมัซฮับทั้งสี่ แม้ว่าบรรดาคำพูดของพวกเขาจะขัดแย้งกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ และกับคำพูดของเศาะหาบะฮ ก็ตาม มันคือ คำพูดเป็นเท็จ(หมายถึงถูกให้เป็นโมฆะ) ด้วยอัลกุรอ่าน ด้วยอัสสุนนะฮ ,ด้วยมติของบรรดาเศาะหาบะฮ(ร.ฎ) และมติของอิหม่ามทั้งสี่เอง - อัฎวาอุลบะยาน เล่ม 7 หน้า 562

คนตะอัศศุบมัซฮับบางคน ที่มีทิฐิต่อให้นำหลักฐานมาเศาะเฮียะแค่ใหน ถ้าไม่ตรงกับมัซฮับที่ตนสังกัด ก็จะไม่รับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 03, 2014 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประเด็นการอ่าน"อัลบัสมะละฮ"


อัลบานีย์ กล่าวว่า
وقد جمع ابن القيم بين المذهب الاول والثاني فقال: كان النبي صلى الله عليه وسلم يجهر (ببسم الله الرحمن الرحيم) تارة، ويخفيها أكثر مما يجهر بها، ولا ريب أنه لم يجهر بها دائما في كل يوم وليلة خمس مرات أبدا، حضرا وسفرا، ويخفي ذلك على خلفائه الراشدين وعلى جمهور أصحابه وأهل بلده في الاعصار الفاضلة .
และ อิบนุกฮ็ยยิม ได้รวมทัศนะแรก(ทัศนะที่อ่านเสียงดัง) และทัศนะที่สอง(ที่อ่านเสียงเบา) แล้วเขากล่าวว่า “ปรากฏว่านบี ศอ็ลฯ อ่านบิสมิลละฮ ฮิรเราะหมานนิรเราะฮีม ด้วยเสียงดังในบางครั้ง และอ่านมันด้วยเสียงเบา มากกว่าอ่านมันด้วยเสียงดัง และไม่ต้องสงสัยเลยว่า แท้จริงท่านนบีไม่ได้อ่านมันด้วยเสียงดังตลอด ในทุกวัน ทุกคืน 5 ครั้งตลอดไป ไม่ว่าอยู่ที่บ้าน หรือเดินทาง และ ท่านนบีอ่านเสียงเบาดังกล่าว ได้ปรากฏแก่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีนของท่าน ,แก่บรรดาเหล่าเศาะหาบะฮส่วนใหญ่ และแก่บรรดาชาวเมืองร่วมสมัย ของมท่าน อันประเสริฐ- ดู ตะมามุลมินนะฮ 1/169
...........
สรุป ท่านนบี อ่านเบามากกว่าอ่านดัง เพราะฉะนั้น การอ่านดังอ่านเบ่า ไม่เกี่ยวกับประเด็นเป็นบิดอะฮนะครับ

อิบนุกุดามะฮ (ร.ฮ) กล่าวว่า
( وَلَا يَجْهَرُ بِهَا ) يَعْنِي ( بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ ) . وَلَا تَخْتَلِفُ الرِّوَايَةُ عَنْ أَحْمَدَ أَنَّ الْجَهْرَ بِهَا غَيْرُ مَسْنُونٍ . قَالَ التِّرْمِذِيُّ : وَعَلَيْهِ الْعَمَلُ عِنْدَ أَكْثَرِ أَهْلِ الْعِلْمِ ، مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَنْ بَعْدَهُمْ مِنْ التَّابِعِينَ ، مِنْهُمْ أَبُو بَكْرٍ وَعُمَرُ وَعُثْمَانُ وَعَلِيٌّ . وَذَكَرَهُ ابْنُ الْمُنْذِرِ ، عَنْ ابْنِ مَسْعُودٍ ، وَابْنِ الزُّبَيْرِ ، وَعَمَّارٍ . وَبِهِ يَقُولُ الْحَكَمُ وَحَمَّادٌ ، وَالْأَوْزَاعِيُّ ، وَالثَّوْرِيُّ ، وَابْنُ الْمُبَارَكِ ، وَأَصْحَابُ الرَّأْيِ .
และจะไม่อ่านเสียงดังด้วยมัน) หมายถึง (บิสมิลลาฮิรเราะหฺมานิรเราะฮีม) และ รายงานจากอิหม่ามอะหมัด ไม่มีการขัดแย้ง ว่า แท้จริงการอ่านดังด้วยมันนั้น ไม่เป็นสิ่งที่เป็นสุนัต ,อัตติรมิซีย์กล่าวว่า “บนมัน (บนทัศนะที่ไม่อ่านดัง) นักปราชญ์ส่วนมาก จาก บรรดาเศาะหาบะฮ นบี ศอ็ลฯ และบรรดาตาบิอีนหลังจากพวกเขา ได้ปฏิบัติกัน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ อบูบักร์ ,อุมัร ,อุษมาน และ อาลี และอิบนุอันมันซีร ได้กล่าวมันเอาไว้ จาก อิบนุมัสอูด ,อิบนุอัซซุเบรฺ และอัมมัร และ อัลหะกัม ,หัมมาด ,อัษเษารีย์ ,อิบนุอัลมุบารอ็ก และ อัศหาบุรเราะย (หมายถึงอบูหะนีฟะฮ ได้กล่าว(หมายถึงมีทัศนะ)ด้วยมัน(หมายถึง ด้วยทัศนะที่อ่านไม่ดัง ) ดู อัลมุฆนีย์ ของอิบนุกุดามะฮ เล่ม 1 หน้า 285
เรื่อง مسألة الجهر بالبسملة في الصلاة
……….
บรรดาเคาลีฟะฮทั้งสี เหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และปราชญ์ส่วนใหญ่ มีทัศนะอ่าน บิสมิลละฮ เบาๆ ถือว่า เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก แต่ หากใครก็ตามผูกขาดกับมัซฮับ แบบสุดโต่ง ไม่เข้าใจหลักการมัซฮับ ก็จะสูญเสียโอกาส ที่จะเปลี่ยนมายึดทัศนะที่มีน้ำหนักกว่า ชาวบ้านบางคน ไม่ยอมละหมาดตามหลังคนอ่านบิสมิลละฮ เสียงเบา บางคน ถึงกับละหมาดใหม่ เพราะถูกหลอกว่า คนที่เป็นวะฮบีย์ไม่อ่าน “บิสมิลละฮ” นี่คือ กำแพงที่คนอาวามส่วนใหญ่ไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ เพราะต้องผูกขาดในสิ่งที่ตนสังกัด ขออัลลอฮโปรดฮิดายะฮพวกเขาด้วยเถิด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Feb 06, 2015 10:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


إِنَّ الَّذِينَ فَرَّقُواْ دِينَهُمْ وَكَانُواْ شِيَعاً لَّسْتَ مِنْهُمْ فِي شَيْءٍ إِنَّمَا أَمْرُهُمْ إِلَى اللّهِ ثُمَّ يُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُواْ يَفْعَلُونَ

[6.159] แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้นเจ้า (มุฮัมมัด) หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้น ย่อมไปสู่อัลลอฮ์แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน- อันอันอาม/159
คือ พวกเขาไม่ได้แยกตัวออกจากศาสนาของพวกเขา แต่ พวกเขาแบ่งแยกศาสนาของพวกเขา ออกเป็นนิกาย เช่น โรมันแคธอลิค โปรเตสแตนต์ ออร์โธดอกส์ เป็นต้น

ในตัฟสีรอัสสะอดีย์ ได้อธิบายอายะฮข้างต้นว่า

ودلت الآية الكريمة أن الدين يأمر بالاجتماع والائتلاف، وينهى عن التفرق والاختلاف في أهل الدين، وفي سائر مسائله الأصولية والفروعية

อายะฮอันทรงเกียรตินี้ แสดงให้รู้ว่า แท้จริง ศาสนา ใช้ให้ร่วมกัน และมีความสมานฉันท์ และห้ามการแตกแยกและขัดแย้งกัน ในบรรดาผู้ที่นับถือ ศาสนา ในในบรรดาประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับศาสนา ทั้งที่เป็นหลักการศาสนาและข้อปลีกย่อย - ดูตัฟสีร อัสสะอดีย เล่ม 8 อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
ในตัฟสีรอัลบัฆวีย อธิบายอายะฮข้างต้นว่า
أي: جعلوا دين الله وهو واحد-دين إبراهيم عليه السلام الحنفية-أدياناً مختلفة، فتهود قوم وتنصر قوم، يدل عليه قوله عز وجل: وكانوا شيعا ً، أي: صاروا فرقاً مختلفة وهم اليهود والنصارى في قول مجاهد و قتادة و السدي .

กล่าวคือ พวกเขา ทำให้ ศาสนาของอัลลอฮ ซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งเดียว -คือ ศาสนาอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ที่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง ให้กลายเป็นศาสนาต่างๆที่แตกต่างกัน แล้ว พวกหนึ่ง เป็นยะฮูดี และพวกหนึ่งเป็นนะศอรอ ซึ่งคำดำรัสของอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ได้แสดงบอกมันไว้ คือ ?และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่างๆ กล่าวคือ พวกเขากลายเป็น พวกที่แตกต่างกัน และพวกเขาคือ พวกยะฮูดี และ นะศอรอ ในทัศนะของ มุญฮิด เกาะตาดะฮและอัสสุดดีย ? ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
......................
ผมไม่ได้มีเจตนาว่า อิหม่ามทั้งสี แบ่งแยกนิกาย หรอกครับ ผมต้องการชีให้เห็นว่า การแบ่งแยกศาสนาเป็นนิกายหรือมัซฮับ แล้วพวกนั้นสังกัดนิกายนั้น พวกนี้สังกัดนิกายนี้ นี้มันเป็นพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับ พวกยะฮูดีและนะศอรอ ที่อัลลอฮกล่าวไว้
และมีคำอธิบายเพิ่มเติมจากตัฟสีรข้างต้นว่า

وقيل: هم أصحاب البدع والشبهات من هذه الأمة. وروي عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لعائشة: يا عائشة إن الذين فارقوا دينهم وكانوا شيعاً هم أصحاب البدع والشبهات من هذه الأمة .

มีผู้กล่าวว่า พวกเขาคือ ชาวบิดอะฮ และ พวกที่มีความคลุ่มเครือ(ในศาสนา ) จากประชาชาตินี้ และมีรายงานจากอุมัร บุตร อัลคอ็ฏฏอ็บ(ร.ฏ)ว่า แท้จริงท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิฉะฮว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้น พวกเขาคือ ชาวบิดอะฮและผู้ที่มีความคลุมเครือ(ในศาสนา)จากประชาตินี้
- ? ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ 159 ซูเราะฮอันอันอาม
asan
وأخرج أبو داود , والترمذي عن الحارث بن عمرو عن أناس من أهل حمص من أصحاب معاذ { عن معاذ أن رسول الله صلى الله عليه وسلم لما بعثه إلى اليمن قال له : كيف تقضي إذا عرض لك قضاء ؟ قال : أقضي بكتاب الله , قال : فإن لم تجد في كتاب الله ؟ قال : فبسنة رسول الله , قال : فإن لم تجد في سنة رسول الله , ولا في كتاب الله ؟ قال : أجتهد رأيي , ولا آلو , فضرب رسول الله صلى الله عليه وسلم صدره , وقال : الحمد لله الذي وفق رسول رسول الله لما يرضي رسول الله

ท่านอบูดาวูดและท่านอัตติรมีซีย์ ได้บันทึจากท่าน อัลหาริษ บุตรอัมริน จากบรรดาผู้คนชาวหัมศิน จากบรรดาสหายของมุอาซ จากมุอาซว่า"ในขณะที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ส่งมุอาซฺไปยังเยเมน ท่านร่อซูลกล่าวว่า "ท่านจะตัดสินอย่างไรหากมีมีคดีหนึ่งเกิดขึ้นกับท่าน ?" เขากล่าวว่า "ฉันจะตัดสินด้วยกับสิ่งที่อยู่ในกิตาบุลลอฮ์" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในกิตาบุลลอฮ์ล่ะ?" เขากล่าวว่า "ก็ด้วยซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)" ท่านนบีกล่าวว่า "หากไม่มีระบุไว้ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ล่ะ?" เขาตอบว่า "ฉันก็จะทำการวินิจฉัยกับความเห็นของฉัน โดยฉันจะไม่ทำให้บกพร่อง" ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้ตบอกของมุอาซฺ แล้วกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นอภิสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงชี้นำทูตของร่อซูลุลลอฮ์ให้กับสิ่งที่ทำให้ร่อซูลุลลอฮ์พอใจ"-
...ดู นัศบุรรอยะฮฟีตัครีจอะหาดีษฮิดายะฮ เล่ม 1 หน้า 39 บทว่าด้วยเรื่อง มารยาทของผู้ตัดสินคดี(كتاب أدب القاضي)

หะดิษข้างต้นกล่าวถึงเรื่อง การตัดสินคดีความ ซึ่งเกี่ยวเรื่องทางด้านสังคม การเมือง การปกครอง ปัญหาการการพิพาททางด้านสังคม นั้น ย่อมหลากหลาย ไม่มีสิ้นสุด ทุกคดีที่เกิดขึ้นแต่ละยุคแต่ละสมัย มันไม่ได้เหมือนกับที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบีเสมอไป เพราะฉะนั้นคดีใด ไม่ปรากฏการตัดสินเอาไว้ในอัลกุรอ่านและหะดิษ ก็ให้ผู้พิพากษาใช้การวินิจฉัยของตน ดังหะดิษที่ว่า


أخرج البخاري , ومسلم عن أبي قيس مولى عمرو بن العاص عن عمرو بن العاص أنه سمع رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : { إذا حكم الحاكم فاجتهد , فأصاب فله أجران , وإذا حكم وأخطأ فله أجر

บันทึกโดยบุคอรี ,มุสลิมจากอบีกอยสฺ ทาสของอัมริน บุตรอัลอาศ จากอัมริน บุตร อัลอาศ ว่า แท้จริง เขาได้ยินรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า " เมื่อผู้พิพากษาตัดสินคดี แล้วเขาได้ทำการวินิจฉัยอย่างเต็มความสามารถ แล้วปรากฏว่าถูกต้อง เขาก็ได้รับการตอบแทนสองเท่า และเมื่อเขาตัดสิน และเกิดการผิดพลาด เขาก็ได้รับการตอบแทนหนึ่งเท่า
- จากหนังสือที่อ้างอิงแล้ว
........................
เพราะฉะนั้นจะเอาหะดิษนี้ มาอ้างเรื่องการอิจญติฮาดในเรื่องอิบาดะฮไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน และไม่ใช่หลักฐานที่มาอ้างเรื่อง การสังกัดมัซฮับ และไม่ใช่หลักฐานให้ตามความเห็นของผู้รู้ โดยปราศจากหลักฐาน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Feb 06, 2015 10:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านนบีสอนว่า
طلب العلم فريضة على كل مسلم
การแสวงหาวิชาความรู้ เป็นข้อบังคับแก่มุสลิมทุกคน -รายงานโดยอิบนิมาญะฮ จากอะนัส

การศึกษาศาสนาเป็นหน้าที่มุสลิมทุกคน จะอ้างว่า เราคนอาวาม ต้องตักลิดตามอุลามาอฺ เราต้องไม่ลืมว่า ศาสนาสอนให้เราแสวงหาสัจธรรม สอนให้ตามอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เพราะฉะนนั้นเราคนอาวามก็ต้องศึกษาสิ่งเหล่านี้กับผู้รู้
ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
من يُرِدِ اللهُ به خيراً يفقهه في الدين

ผู้ใดอัลลอฮต้องการให้เขาได้รับความดีงาม พระองค์จะให้เขามีความเข้าใจในศาสนา -รายงานโดยมุสลิม กิตาบุลอิลมิ

ความเข้าใจในศาสนา ไม่ใช่หมายถึง ปิดตาให้คนอื่นป้อน คือเขาจะต้องลืมตาให้เห็น ให้รู้ด้วยว่า สิ่งที่อุลามาอฺป้อนนั้น คือ อะไร ศาสนานาทีมาจากอัลลอฮและจากรอซูลของพระองค์หรือเปล่า


وقال ابن عباس في قوله : { اتبعوا ما أنزل إليكم من ربكم } , الكتاب والسنة

และอิบนุอับบาสได้กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า ("พวกเจ้าจงปฏิบัติตาม สิ่งที่ถูกประทานให้แก่พวกเจ้า จากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า) หมายถึง อัลกิตาบ และอัสสุนนะฮ
- قواعد الأحكام في مصالح الأنام เกาะวาอิดุลอัลอะหกาม ฟี มะศอลิหิลอะนาม เล่ม 1 หน้า 19

เพราะฉะนั้น ผู้เรียนต้องลืมตาดูด้วยว่า สิ่งที่อุลามาอฺป้อน และเขาบริโภคเข้าไปคือ อะไร อัลกุรอ่าน และอัสสุนนะฮ หรือเปล่า หรือ บิดอะฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ลัทธิ-นิกาย ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.25 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ