ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ผ่านก็ส่งต่อไป“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?”
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ผ่านก็ส่งต่อไป“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?”
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Fri Sep 11, 2009 9:04 am    ชื่อกระทู้: ผ่านก็ส่งต่อไป“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“แล้วออกอีดอีดิ้ลฟิตริปีนี้ จะตามใครดีเอ่ย ?”

ใกล้เข้ามาอีกแล้วครับพี่น้องที่รักทุกท่าน เวลาแห่งการรอคอยว่าปีนี้พี่น้องมุสลิมในประเทศไทยจะออกอีดพร้อมกันหรือเปล่า ? โดยส่วนตัวแล้วอยากให้ออกอีดพร้อมกัน เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกที่มีความสุขมาก ๆๆๆ ที่จะได้ไปเยี่ยมญาติพี่น้องและเพื่อน ๆ ได้ในวันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นวันหยุดราชการด้วยแล้วยิ่งเยี่ยมยอดไปอีกเพราะจะได้บรรยากาศแห่งเอกภาพในวันอีดอันเป็นวันรื่นเริงของมุสลิมทุกคน และในปีนี้คาดว่าน่าจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายนนี้ อินชาอัลลอฮฺ / วัลลอฮุอะอฺลัม
บอกตรง ๆ ว่า เซ็ง ๆๆๆๆๆๆ เอามาก ๆๆๆๆ ที่ออกอีดไม่ตรงกัน หันไปทางนี้ บ้านญาติคนหนึ่งกำลังตักบีรวันอีดแต่เช้าตรู่ ขณะที่บ้านญาติอีกหลังหนึ่งเพิ่งกินข้าวซูโฮร์เสร็จ หันไปทางนั้นเพื่อนรักคนหนึ่งกำลังเดินไปละหมาดอีด แต่เพื่อนซี้อีกคนหนึ่งกำลังถือบวชอยู่ มันอะไรกันนักกันหนาละครับพี่น้อง
วันอีดที่นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่าเป็น “วันรื่นเริง” กลับกลายเป็น “วันแห่งความเซ็ง” ของผมไป อัซตัฆฟีลุลลอฮ์ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร นานาจิตตัง ตังค์ใครก็ตังค์มัน ใครรู้อย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น จะไปว่าฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ผิดก็คงไม่ได้ เพราะไม่มีใครอยากทำผิดทำบาปอย่างแน่นอน ส่วนตัวผมก็มีจุดยืนที่มั่นคงและแน่นอน เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบท่านก็จะรู้เองว่า “ผมจะออกอีดตามใคร ?”

1.การออกอีดของพี่น้องมุสลิมในประเทศไทย มีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกันคือ

กลุ่มที่ 1- เป็นพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศ ที่ออกอีดตามการประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี
- ประกอบด้วยพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ และมัสยิดส่วนใหญ่ในประเทศไทย
- มีการส่งคนออกไปดูเดือนใหม่ที่จังหวัดชลบุรีและภาคใต้ในทุกวันที่ 29 ของทุกเดือน ทั้งปี
- ใช้ปฏิทินละหมาดที่คำนวณโดยนักดาราศาสตร์มุสลิมของไทย
กลุ่มที่ 2 - เป็นพี่น้องมุสลิมส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “ชาวซุนนะห์” รุ่นแรก ๆ
- เท่าที่ทราบกลุ่มนี้ ไม่เคยมีข่าวว่า “มีการดูเดือนในประเทศเลย” แม้สักครั้งเดียว
- คอยฟังข่าวการดูเดือนจากซาอุดี้อาระเบียเพียงอย่างเดียว
- ใช้ปฏิทินละหมาดที่คำนวณโดยนักดาราศาสตร์มุสลิมของไทย
กลุ่มที่ 3 -เป็นพี่น้องมุสลิมส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “ชาวซุนนะห์” แต่เป็นรุ่นหลังๆ
- มีทัศนะให้ใช้การดูเดือนจากทั่วโลก
- อดีต - เคยผิดพลาดอย่างแรงในเรื่องการ “ดูเดือน” มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน โดยไปยึดเอาการเห็นเดือนในประเทศจีนมาเข้ารอมฎอน จนทำให้สมาชิกถือศีลอดรอมฎอน และละหมาดอีดผิดพลาดมาแล้ว (ขณะนั้นไม่เคยดูเดือนในประเทศเช่นกัน)
- ปัจจุบัน – มีการส่งคนออกไปดูเดือนในหลายจังหวัดด้วยกัน (ทำตามซุนนะห์)
- ปฏิเสธใช้การคำนวณเพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการออกไปดูเดือน แต่ยอมใช้การคำนวณในปฏิทินละหมาด (เข้าใจว่านำมาจากเว็บไซท์ของมุสลิมในต่างประเทศ) และมีสมาชิกบางส่วนเริ่มดูแสงแดดในการละหมาดและแก้บวชละศีลอดบ้างแล้ว (ในต่างจังหวัด)
- ใช้ปฏิทินละหมาดที่จัดทำขึ้นเอง (เฉพาะเวลาฟะญัร จะช้ากว่าปฏิทินทั่วไป ประมาณ 10 นาที)
กลุ่มที่ 4 - เป็นพี่น้องมุสลิมส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “ชาวซุนนะห์” เช่นกัน
- ยอมรับการคำนวณเพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการออกไปดูเดือน
- มีคนออกไปดูเดือนใหม่ (ฮิลาล) ในทุกวันที่ 29 ของทุกเดือน ทั้งปี
- มีการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เกือบทุกวัน ทั้งปี (เช้า และค่ำ)
- ใช้ปฏิทินละหมาดที่คำนวณโดยนักดาราศาสตร์มุสลิมของไทย
- มีทัศนะการดูเดือนใหม่ (ฮิลาล)ในประเทศของตัวเอง

2. หลักฐานทางศาสนาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้าบวชและออกบวช
จากหะดีษเศาะฮี้ย์มุสลิม บทที่ 13 ซึ่งว่าด้วยการถือศีลอด
จากกุร็อยบ์เล่าว่า อุมมุฟัฎล์บุตรสาวของอัลหาริษได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะฮ์ที่เมืองชาม เขาเล่าว่า เมื่อฉันถึงประเทศชามแล้วได้ปฏิบัติภารกิจของนางเสร็จสิ้นแล้ว ก็พอดีเกิดจันทร์เสี้ยวเข้าเดือนรอมฎอนกับฉัน ขณะนั้นฉันยังอยู่ในประเทศชาม โดยที่ฉันเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนวันศุกร์ ครั้นเมื่อฉันเดินทางกลับมาถึงมะดีนะฮ์ในช่วงสุดท้ายของเดือนรอมฎอน อับดุลลอฮ์อิบนุ อับบาสได้ถามฉัน (ในเรื่องต่างๆ) และเขาก็ได้พูดถึงเรื่องจันทร์เสี้ยว โดยเขาถามว่า
“พวกท่าน (ที่ชาม) เห็นจันทร์เสี้ยว (เข้ารอมฎอน ) เมื่อไร ? ”
ฉันตอบว่า “ พวกเรา (และชาวเมืองชาม) เห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) ในคืนวันศุกร์ ”
อับดุลลอฮ์จึงกล่าวว่า “ ท่านเห็นจันทร์เสี้ยว (ด้วยตัวของท่านเอง) จริงหรือ ?”
ฉันตอบว่า “ใช่แล้ว และผู้อื่น (ชาวเมืองชาม) ก็เห็น พวกเขาก็ถือศีลอดกันตั้งแต่วันนั้นรวมทั้งมุอาวิยะฮ์ด้วย ”
ท่านอับดุลลอฮ์กล่าวว่า “ แต่พวกเราเห็นมันในคืนวันเสาร์ พวกเราจึงยังคงถือศีลอดจนกว่าจะครบสามสิบวัน (ที่มะดีนะฮ์) หรือจนกว่าพวกเราจะเห็นมัน(จันทร์เสี้ยวเดือนเชาวาล) ”
ฉันจึงถามว่า “ ก็ยังไม่พออีกหรือกับด้วยการเห็นของมุอาวียะฮ์และการถือศีลอดของเขา ( เพื่อให้ชาวมะดีนะฮ์นับตาม) ? ”
ท่านอับดุลลอฮ อิบนุ อับบาสกล่าวว่า “ไม่หรอก ! วิธีนี้แหละที่ท่านรอซู้ลฯ สั่งใช้พวกเราให้ถือปฏิบัติตาม ”
(รายงานฮะดีษนี้โดยท่านมุสลิม และมีในรายงานของท่านอบูดาวูด / ท่านนะซาอีย์ / ท่านติรมีซีย์ / ท่านบัยฮะกีย์ และท่านเฏาะฮาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษาร”)
สาระสำคัญของฮะดีษนี้ คือ
1.ให้แต่ละเมืองใช้การดูเดือนของเมืองตนเอง ไม่ต้องตามเมืองอื่นหรือประเทศอื่น
2. วิธีนี้เป็นคำยืนยันของท่านอับดุลลอฮ์ อับนุอับบาส ซึ่งเป็นซอฮาบะฮ์ที่ท่านรอซู้ลให้การรับรอง
3. วิธีนี้เป็นวิธีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งใช้ให้มุสลิมปฏิบัติ

3. ประวัติโดยย่อของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส
อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาสเป็นอัจฉริยะแห่งประชาชาติของท่านนบีมุฮัมมัด เป็นผู้เชี่ยวชาญในอัล กุรอานทั้งทางด้านถ้อยคำและความหมาย สามารถเข้าถึงเป้าหมายของอัลกุรอาน รู้จุดประสงค์และฮิกมะฮ์ของอัลกุรอานได้เป็นอย่างดี เป็นซอฮาบะฮ์ผู้มีเกียรติผู้หนึ่งที่มีความประเสริฐเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมไม่มีข้อตำหนิหรือขาดตกบกพร่อง เป็นญาติใกล้ชิดกับท่านรอซู้ลเพราะเป็นบุตรของลุงของท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านสามารถท่องจำหะดีษจากท่านนบีได้ถึง 1,660 ฮะดีษ
อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับอิบนุอับบาสไว้มีความว่า
"และผู้ใดที่อัลลอฮฺ ทรงประทานฮิกมะฮ์ให้แก่เขา ดังนั้นพระองค์ได้ทรงประทานความดีมากมายให้แก่เขาแล้ว" (อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 269)
( ในอายะฮ์นี้ คำว่า “ฮิกมะฮ์” คือ ความรู้ความเข้าใจ พูดถูกต้อง มีสติปัญญา ยำเกรง และนอบน้อม)
เมื่อท่านอิบนุอับบาส ได้มาอยู่กับท่านรอซู้ลตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ คอยเป็นห่วงเป็นใยและคอยปรนนิบัติท่านรอซู้ลทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ เมื่อท่านรอซู้ลละหมาด ท่านอิบนิอับบาสก็จะละหมาดตาม เมื่อท่านรอซู้ลเดินทางไกลท่านอิบนุอับบาสก็จะติดตามไปด้วยเสมอ จนกระทั่งเปรียบเสมือนดังเงาที่เฝ้าติดตามท่านรอซู้ลไปทุกฝีก้าว พร้อมกับหัวใจอันบริสุทธิ์คอยตอบรับคอยจดจำในทุกอิริยาบถของท่านรอซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอาไว้
ท่านรอซู้ลเคยยกมือทั้งสองข้างขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺว่า
"โอ้ อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงโปรดประทานฮิกมะฮฺให้แก่อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส ด้วยเถิด"
ท่านมัสรูก อิบนิ อัจญดะอ์ ผู้อยู่ในสมัยถัดจากยุคซอฮาบะฮฺหรือที่เรียกว่าตาบิอีนรุ่นอาวุโส ได้กล่าวว่า "เมื่อฉันเห็นท่านอิบนุ อับบาส ครั้งใด ฉันต้องกล่าวว่า นี่คือผู้ที่สง่างาม เมื่อท่านพูดอะไรออกไป ฉันต้องกล่าวว่า นี่คือผู้ที่ชี้แจงที่ชัดเจนที่สุด"
จากประวัติย่อ ๆ ของอิบนุอับบาสที่กล่าวมานี้ ก็เพียงพอแล้ว กับคำพูดของท่านที่ว่า
วิธีนี้แหละ (ดูเดือนเมืองใครเมืองมัน หรือประเทศใครประเทศมัน ) ที่ท่านรอซู้ลฯ สั่งใช้พวกเราให้ถือปฏิบัติตาม ”

4. ทัศนะต่อเรื่องนี้ของบรรดาผู้รู้และอุละมาอ์ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับโลก
1. ท่านเช็คมะห์มูด มุฮัมมัดค็อฏฏ็อบ อัซ-ซุบกีย์ ได้อธิบายคำพูดของท่านอิบนุอับบาส ที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลสั่งใช้เรา” ว่า คือท่านรอซู้ลได้สั่งเราว่า ไม่ต้องไปยึดถือการเห็นเดือนของที่อื่นจากพวกเรา และไม่ต้องไปตามการเห็นเดือนของเขา....เราไม่จำเป็นต้องยึดถือการเห็นเดือน (จากที่ใด) เว้นแต่การการเห็นเดือนของชาวเมืองเราเองเท่านั้น.....นี่คือสิ่งที่เข้าใจได้ในทันที (จากคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาสข้างต้น)
(จากหนังสือ “อัล-มันฮัลฯ” เล่มที่ 10 หน้า 51) เจ้าของหนังสือยังได้กล่าวต่อไปว่า
“ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า - มีการปฏิบัติกันตามฮะดีษบทนี้สำหรับบรรดานักวิชาการ นั่นคือ สำหรับชาวเมืองใด ก็ให้เขาดูเดือนของพวกเขาเอง (จบคำพูดของท่านอัตติรมีซี)
...นี่คือสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพราะประชาชนทุก ๆกลุ่ม จะถูกสั่งให้เห็นเดือนเสี้ยวของพวกเขาเอง ดังนั้น ชาวอียิปต์ก็ไม่จำเป็นต้องตามการเห็นเดือนของชาวมักกะฮ์ และชาวมอร็อคโคก็ไม่จำเป็นต้องตามการเห็นเดือนของชาวอียิปต์ เป็นต้น”

2. ท่านอิหม่ามอัซ-ซินดีย์ ได้กล่าวอธิบายคำพูดของท่านอิบนุอับบาสดังกล่าว ในหนังสืออธิบายฮะดีษสุนันของท่านอัน-นะซาอีเล่มที่ 4 หน้า 436 ว่า
“และ (เป็นไปได้เช่นกันว่า จุดประสงค์จากคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาสที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลสั่งใช้เรา” ก็คือ) ท่านรอซู้ล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งใช้เราว่า ให้ยึดถือการเห็นเดือนของชาวเมืองเราเป็นเกณฑ์ และไม่จำเป็นจะต้องไปยึดถือการเห็นเดือนที่อื่นจากชาวเมืองเรา”

3. ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้กล่าวในการตั้งชื่อบทฮะดีษของท่านกุร็อยบ์บทนี้ด้วยข้อความว่า
“บทว่าด้วยการอธิบายว่า สำหรับแต่ละเมือง ก็ให้ชาวเมืองดูเดือน (เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) ของตนเอง และเมื่อพวกเขาเห็นเดือนเสี้ยว หุก่มการเห็นเดือนของพวกเขา (คือวาญิบถือศีลอดหรือวาญิบออกอีด) ก็จะเป็นที่กำหนดสำหรับเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลจากพวกเขาไม่ได้”

4. ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวในการอธิบายการตั้งชื่อบทฮะดีษของอิหม่ามมุสลิมข้างต้นว่า
“ ในบทนี้ มี (กล่าวถึง) ฮะดีษของท่านกุร็อยบ์ จากท่านอิบนุอับบาส ซึ่งฮะดีษบทนี้ชัดเจนในการสื่อความหมายของการตั้งชื่อบท” (จากหนังสือ “ชัรหุมุสลิม” ของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ เล่มที่ 7 หน้า 197)
“และที่ถูกต้องตามทัศนะสหายของเรา (หมายถึงผู้ดำเนินตามแนวมัซฮับชาฟิอี) คือ การเห็น(เดือนเสี้ยว)นั้น จะไม่ครอบคลุมสำหรับบุคคลทั่วไป แต่จะใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกันตามระยะทางที่ไม่สามารถย่อละหมาดได้เท่านั้น" (จากหนังสือ ชัรหุมุสลิม เล่ม 1 หน้า 348)
5. ท่านอัต-ติรมีซีย์ ได้กล่าวในตอนเริ่มต้นฮะดีษของท่านกุร็อยบ์บทนี้ว่า
“บทว่าด้วยสิ่ง (คือฮะดีษ) ที่มี (รายงาน) มาว่า สำหรับชาวเมืองใดนั้น ให้พวกเขาดูเดือนของพวกเขาเอง”
แล้วท่านอัต-ติรมีซีย์ก็กล่าวก็กล่าวปิดท้ายฮะดีษของท่านกุร็อยบ์ด้วยข้อความว่า
“ฮะดีษของท่านอิบนุอับบาส (บทนี้) เป็นฮะดีษที่สวยงาม ถูกต้อง และฆอรีบ (แปลก) มีการปฏิบัติกันตามฮะดีษบทนี้สำหรับบรรดานักวิชาการ นั่นคือ สำหรับชาวเมืองใด ก็ให้พวกเขาดูเดือนของพวกเขาเอง”

6. ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ นักวิชาการฮะดีษชาวอินเดีย ได้กล่าวในหนังสือ “ตั๊วะห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์ ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายฮะดีษอัต-ติรมีซีย์ของท่าน เล่มที่ 3 หน้า 377 ว่า
“แล้วฉัน (กุร็อยบ์) จึงกล่าวถามว่า .. “การเห็นเดือนของท่านมุอาวียะฮ์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอสำหรับท่านอีกหรือ ? ท่านอิบนุอับบาสก็ตอบว่า “ ไม่ !” .....คำตอบนี้ตามรูปการแล้วแสดงว่า แต่ละเมืองมีสิทธิที่จะดูเดือนของตนเอง , และการเห็นเดือน ณ เมืองหนึ่ง ไม่เพียงพอ (คือไม่จำเป็น) สำหรับอีกเมืองหนึ่ง”

7. ท่านอัน-นะซาอีย์ ได้ตั้งบทเกี่ยวกับฮะดีษของท่านกุร็อยบ์ไว้เช่นกันว่า “ความแตกต่างของชาวเมืองต่าง ๆ ในการเห็นเดือน”
ซึ่งท่านอิหม่ามอัซ-ซินดีย์ได้อธิบายว่า การตั้งชื่อบทดังกล่าวของท่านอัน-นะซาอีย์ มีความโน้มเอียงไปในด้านความหมายที่สอง (คือ ประชาชนแต่ละเมืองมีสิทธิดูเดือนของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องไปตามการเห็นเดือนของเมืองอื่น)
(จากหนังสือ “สุนันอัน-นะซาอีย์” พร้อมคำอธิบายของท่านอิหม่ามอัซซินดีย์ เล่มที่ 4 หน้า 436)

8.ท่านอิบนุฮะญัร อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 4 หน้า 123 ว่า
“บรรดานักวิชาการได้ขัดแย้งกันในเรื่องนี้ (คือเรื่องการดูเดือนเสี้ยวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) เป็นหลายทัศนะด้วยกัน ทัศนะที่หนึ่ง อนุญาตให้ประชาชนแต่ละเมือง ปฏิบัติตามการเห็นเดือนของตนเองได้....... ซึ่งในหนังสือเศาะเหี๊ยะฮ์มุสลิม มีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส (หมายถึงฮะดีษกุร็อยบ์บทนี้) เป็นสิ่งที่ยืนยันทัศนะนี้”

9.ท่านอิหม่ามชาฟีอีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัร-ริซาละฮ์” หน้า 424 ว่า
“แท้จริง ฮะดีษของท่านรอซู้ล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ในที่นี้คือคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาส
ที่ว่า...อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลได้สั่งใช้เรา)” จะแน่นอน (คือเป็นหลักฐานได้) ด้วยตัวของมันเอง , ไม่ใช่ เพราะมีใครนำมาปฏิบัติภายหลังหรอก”...
10. ท่านอัล-บานีย์ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 398 ซึ่งเกี่ยวกับฮะดีษของท่านกุร็อยบ์บทนี้ ซึ่งสรุปได้ว่า ....
เนื้อหาจากฮะดีษของท่านกุร็อยบ์ข้างต้นนี้ หมายถึงในกรณีของผู้ถือศีลอดจากการเห็นเดือนเสี้ยวในประเทศของตนเอง แล้วต่อมา เขาก็ได้รับข่าวในตอนกลางหรือตอนปลายเดือนรอมฎอนว่า มีผู้เห็นเดือนเสี้ยวที่เมืองอื่นก่อนหน้าการเห็นเดือนในเมืองตนเองแล้ว 1 วัน ซึ่งในกรณีนี้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดตามความเชื่อของตนต่อไป พร้อมกับชาวเมืองเดียวกันจนกว่าจะเห็นเดือนเสี้ยวหรือจนกว่าจะนับเดือนครบ 30 วันโดยไม่จำเป็นต้องไปตามการเห็นเดือนของเมืองอื่นตามที่ได้ข่าวมานั้น...
และท่านได้เสนอแนะไว้ในหน้าเดียวกันนี้อีกว่า
“ และแนวทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของรัฐหรือบรรดาประเทศต่าง ๆ ของอิสลามในเรื่องนี้ (การถือศีลอดและการออกอีด) ฉันเห็นว่าเป็นหน้าที่ของแต่ละกลุ่มในแต่ละประเทศ จะต้องถือศีลอดพร้อมกับรัฐหรือประเทศของตนเองเสียก่อน พวกเขาจะต้องไม่แตกแยกกันเอง โดยการที่บางกลุ่มถือศีลอดพร้อมกับประเทศของตน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถือศีลอดพร้อมกับประเทศอื่นที่ถือศีลอดก่อนหรือหลังประเทศของตนเอง เพราะในการกระทำดังกล่าว จะเป็นการขยายแวดวงแห่งความขัดแย้งในกลุ่มเดียวกันให้ขยายกว้างออกไป....”

11. เชคมุฮัมมัด ซอและฮ์ อิบนุ อุษัยมีน กล่าวว่า “ เป็นวายิบ(บังคับ)สำหรับท่าน ท่านจะต้องปฏิบัติตามการเห็นเดือนเสี้ยว(ฮิลาล) ในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่”
(จากหนังสือ อัล-อะกอลลียาต อัล-มุสลิมะฮ์ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23) และกล่าวอีกว่า
“พวกท่านควรถือศีลอดและงดศีลอดให้สอดคล้องกับประชาชนของประเทศที่ท่านอาศัยอยู่ ไม่ว่ามันจะตรงกันกับประเทศเดิมของท่านหรือไม่ก็ตาม เช่นเดียวกับวันอะเราะฟะฮ์ที่ให้ท่านปฏิบัติตามประเทศที่ท่านอาศัยอยู่” (จาก มัจญมูอ์ อัลฟะตะวาที่ 19)

12. เชคอับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮฺ บิน บาซ ( กรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการชี้ขาดปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดี้อาระเบีย) กล่าวว่า
“เป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) เหนือพวกเขาที่จะต้องทำการถือศีลอด ออกอีด และนมาซอีดทั้งสองพร้อมกับพี่น้องมุสลิมทั้งหลายในประเทศของพวกเขา”
(จากหนังสือ ฟะตะวา อัลลุจนะฮ์ อัดดาอิมะฮ์ ลิลบุหูษอัลอิลมียะฮ์ วัลอิฟตาอ์ เล่ม12 หน้า 144)
ที่สำคัญก็คือ ปรากฏว่า ไม่มีนักวิชาการในโลกมุสลิมท่านใดสักคนที่จะนำเสนอหลักฐานแม้แต่บทเดียวว่า “วาญิบจะต้องตามการเห็นเดือนจากต่างประเทศเพื่อถือศีลอดหรือออกอีดโดยอิสระ” และการตามการเห็นเดือนของต่างประเทศนั้น มิใช่การตามอย่างอิสระ แต่จะต้องคำนึงถึง“เอกภาพ” และความพร้อมเพรียงกับคนส่วนใหญ่ในประเทศด้วย
5. ผู้รู้และอุละมาอ์ รวมทั้งซอฮาบะฮ์ ที่สนับสนุนให้ใช้ทัศนะต่าง ๆ



ทัศนะที่ใช้เดือนในประเทศตนเอง
ท่านอิบนุอับบาส (ซอฮาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดนบี)
ท่านบัยฮะกีย์ / ท่านอบูดาวูด / ท่านมุสลิม
ท่านอัต-ติรมีซีย์ / ท่านอัน-นะซาอีย์
เช็คมะห์มูด มุฮัมมัดค็อฏฏ็อบ อัซ-ซุบกีย์
ท่านอิหม่ามอัซ-ซินดีย์ / อิหม่ามนะวะวีย์
ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ / ท่านเฏาะฮาวีย์
ท่านอิบนุฮะญัร อัสเกาะลานีย์
ท่านอิหม่ามชาฟีอีย์ / ท่านอัล-บานีย์
เชคมุฮัมมัด ซอและฮ์ อิบนฺ อุษัยมีน
เชคอับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮฺ บินบาซ

ทัศนะที่ใช้เดือนทั่วโลก (เมืองอื่น)
- ท่านกุรอยบ์ (เป็นตาบิอีน)
- ท่านอัช-เชากานีย์ (ผู้รู้สมัยหลัง)
- อัลบานีย์ (แต่แนะนำให้ใช้ “เอกภาพ”
การออกอีดในประเทศตนเอง)
- นักวิชาการศาสนาเมืองไทยกลุ่มหนึ่ง

ทัศนะที่ใช้เดือนเฉพาะซาอุดี้อาระเบีย
- นักวิชาการศาสนาเมืองไทยกลุ่มหนึ่ง


6.ทัศนะของประเทศมุสลิมต่าง ๆ


ทัศนะที่ใช้เดือนในประเทศตนเอง
ซาอุดี้อาระเบีย / อิยิปต์ / อัลจีเรีย / มอร็อคโค ตูนีเซีย / บรูไน / มาเลเซีย / อินโดนีเซีย /เยเมน ลิเบีย / ซีเรีย / โอมาน / อิหร่าน / ปากีสถาน อินเดีย / บังคลาเทศ

ทัศนะที่ใช้เดือนทั่วโลก
- ไม่มี
ทัศนะที่ใช้เดือนเฉพาะซาอุดี้อาระเบีย
คูเวต / อาหรับเอมิเรต / บาหเรน / กาตาร์ จอร์แดน / ปาเลสไตน์ / ซูดาน / อิรัค


6. ฮะดีษ “ ซูมูลิรุยะติฮี....”
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์…ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว (ของเดือนใหม่) และพวกท่านจงละศีลอด (วันอีด) เมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว (ของเดือนใหม่) ดังนั้นหากมีเมฆหมอกมาบดบังเหนือพวกท่าน พวกท่านจงนับเดือนชะอ์บานให้ครบ 30 วัน”
(รายงานโดยบุคอรี)
ฮะดีษนี้เป็นฮะดีษที่ถูกยอมรับโดยทุกฝ่าย ไม่มีการขัดแย้ง เพราะเนื้อหาชัดเจน เข้าใจได้โดยไม่ต้องมีการอธิบายหรือตีความใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นวิธีการเข้าบวชและออกอีดที่ท่านรอซู้ลใช้ให้มุสลิมปฏิบัติ คือ
1. เมื่อมีการเห็นฮิลาล (จันทร์เสี้ยวใหม่ – ในคืนวันที่ 29 ชะอ์บาน) ก็ให้ถือศีลอดรอมฎอน
2. เมื่อมีการเห็นฮิลาล (จันทร์เสี้ยวใหม่ – ในคืนวันที่ 29 รอมฎอน) ก็ให้ออกจากศีลอด (คือวันอีด)
3. หากมีอุปสรรคต่าง ๆ ( เช่น มีเมฆมาบัง ฟ้าคลึ้ม หรือฝนตก อากาศผิดปกติ เป็นต้น) จนทำให้ไม่สามารถเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนนั้น ก็ให้นับวันในเดือนนั้น (ชะอ์บาน/รอมฎอน) ให้ครบ 30 วัน
เป็นวิธีที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ปฏิบัติได้ ที่ท่านนบี “ใช้ให้ปฏิบัติ” แต่ก็มีบางคนบางกลุ่มมาทำให้เป็นเรื่องยาก และแตกต่างจากที่ท่านรอซู้ลสั่งใช้

7.วิธีปฎิบัติของกลุ่มต่าง ๆ ต่อฮะดีษ “ ซูมูลิรุยะติฮี....”


ทัศนะที่ใช้เดือนในประเทศตนเอง
1.ออกไปดูฮิลาลในคืนวันที่ 29
2.มีอุปสรรค ทำให้มองไม่เห็น
3.นับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน

ทัศนะที่ใช้เดือนทั่วโลก
1.ออกไปดูฮิลาลในคืนวันที่ 29
2.มีอุปสรรค ทำให้มองไม่เห็น
3.รอ..ค้นหาทางอินเตอร์เน็ตจนถึงตี 2-3
4.จึงค่อยนับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน

ทัศนะที่ใช้เดือนเฉพาะซาอุดี้อาระเบีย
1.(ไม่มีข่าวว่า)ออกไปดูฮิลาลในคืนวันที่ 29
2.มีอุปสรรค ทำให้มองไม่เห็น
3.รอ..ฟังข่าวจากซาอุดี้อารเบียจนถึงตี 2-3
4.จึงค่อยนับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน



พิจารณาเอาเองว่าเถิดครับว่า “แบบไหนที่ท่านรอซู้ลสั่งใช้ ! / วิธีไหนที่เป็นซุนนะฮ์จริงๆ !”

“จะตามคำพูดของอับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส หรือจะตาม (ทัศนะของ) ท่านครูบ้านเรา ก็ตัวใครตัวมันละครับพี่น้อง แต่ขออย่างหนึ่งน่ะ คือ ขอให้ตัดสินใจตามอย่างรู้เป้าหมายของศาสนา มีวิสัยทัศน์ และมีวุฒิภาวะ อย่าใช้การ “ตะอัซซุฟ – ยึดตัวบุคคล” หรือ “ ตั๊กลี้ด – ตามอย่างมือบอด ปิดตา ปิดสมองตนเอง” เป็นแนวทางในการตัดสินใจก็แล้วกัน ! ”
อินชาอัลลอฮ์ – หวังว่าปีนี้มุสลิมไทยจะได้ละหมาดอีดิ้ลฟิตริพร้อมกัน นะครับ

วัสสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
muslimthai
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 13/09/2009
ตอบ: 1


ตอบตอบ: Sun Sep 13, 2009 6:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
ผมแนะนำให้ตามอัลลอฮฺและรอซูล Solallah ดีกว่าไหมครับ?จะได้ไม่ต้องปวดหัว
ก็ท่านนบี Solallah สั่งให้ดูเดือนเข้าบวชออกบวชก็ดูสิครับเห็นก็เอาไม่เห็นก็ไม่ต้องเอา ท่านนบี Solallah ไม่ได้กล่าวว่าต้องเอาตามประเทศนิครับที่ไหนเห็นก็ตามกันได้นี่แหละครับที่ท่านรอซูล Solallah ใช่ไม่เห็นยากอย่างเช่นที่อรรถาธิบายมายืดยาวเลยสุดท้ายก็จะเอาเหมือนจุฬาใช้ไหมครับ? เอกภาพของมุสลิมที่แท้จริงจะเอาแค่ประเทศไทยเหรอมุสลิมที่อื่นไม่ต้องการความเป็นเอกภาพหรือครับ ประเทศไทยออกวันนึง ที่นั้นออกอีกวันนึง ที่นี่ออกอีกวัรนึง แล้วไหนไหนละครับเอกภาพที่ท่านว่า
อยากทราบว่ายกตัวอย่างศอฮาบะฮฺท่านอิบนุอับบาสท่านเดียวหรือครับ แล้วศอฮาบะฮฺท่านอื่นเขาปฏิบัติเช่นไรครับหรือท่านจะเอาแค่ท่านอิบนุอับบาสท่านเดียว เข้าใจหลอกคนนะครับ
ปวดร้าวมากกับข้อความนี้
[color=red]ทัศนะที่ใช้เดือนทั่วโลก (เมืองอื่น)
- ท่านกุรอยบ์ (เป็นตาบิอีน)
- ท่านอัช-เชากานีย์ (ผู้รู้สมัยหลัง)
- อัลบานีย์ (แต่แนะนำให้ใช้ “เอกภาพ”
การออกอีดในประเทศตนเอง)
- นักวิชาการศาสนาเมืองไทยกลุ่มหนึ่ง
แล้วที่ท่านยกมาเป็นผูรู้สมับไหนครับ? ผมยังไม่ได้ยินว่านักวิชาการที่ท่านยกมาทั้งหมดปฏิเสธการรับเดือนจากที่อื่นเลยสักคนเดียว ที่บอกว่าเพื่อความเป็นเอกภาพ นั้นเป็นความเห็นของท่านต่างๆเหล่านั้นครับท่านจะเอาความเห็นมาเป็นหลักฐานก็เซิญสิครับ อย่าไปให้คำจำกัดความใครว่าเป็นตาบิอีน เป็นผู้รู้สมัยหลัง นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เหมือนกับจะดูถูกบุคคลเหล่านั้น มันไม่ดีนะครับ ท่านต่างๆเหล่านั้นก็เป็นผู้มีบุญคุณกับสังคมโลกมุสลิมทุกคนนะครับ คุณ bundung จะตามหรือไม่ตามเขาก็ไม่น่าสบประมาทท่านเหล่านั้นเลย จะเป็นผู้รู้สมัยไหน อัลลอฮฺก็ทรงยกเกียรติพวกเขาเหล่านั้นแล้ว อย่าไปลดเกียรติท่านเหล่านั้นเลยครับ
หมายเหตุ หากว่าอยากจะหายเซ็งผมแนะนำให้ย้ายไปอยู่ซาอุดิอารเบียซิครับประทศนั้นเข้าบวข-ออกอีดพร้อมกันทั้งประเทศและไม่ตามประเทศไหนด้วยนครับ ดีนะครับเหมาะกับคุณดี
Idea
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Mon Sep 14, 2009 4:20 am    ชื่อกระทู้: مجمع ا& ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอนำเสนอเอามติที่ประชุมของสภานิติบัญญัติอิสลาม (مجمع الفقهاء) ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมด้านวิชาการ ณ ที่ทำการองค์การสายสัมพันธ์มุสลิมโลกนครมักกะฮ์ ระหว่างวันที่ 7-17 เดือนรอบีอุ้ลอาเครจากนิตยสาร (مجلة البحوث) อัลบุฮูษ ฉบับที่ 28 ฮิจเราะฮ์ที่1410
بشأن العمل بالرؤية في إثبات الأهلة لا بالحساب
โดยเนื้อหาการประชุมให้ร่วมเฝ้าดูจันทร์เสี้ยว โดยห้ามการใช้วิธีคำนวนทางดาราศาสตร์
وبعد أن قام أعضاء مجلس المجمع الفقهي الإسلامي بدراسة وافية لهذا الموضوع على ضوء النصوص الشرعية قرر مجلس المجمع الفقهي الإسلامي تأييده لجمعية الدعوة الإسلامية فيما ذهبت إليها لوضوح الأدلة الشرعية في ذلك.

كما يقرر أنه بالنسبة لهذا الوضع الذي يوجد في أماكن مثل سنغافورة وبعض مناطق آسيا وغيرها، حيث تكون سماؤها محجوبة بما يمنع الرؤية فإن للمسلمين في تلك المناطق وما شابهها أن يأخذوا بمن يثقون به من البلاد الإسلامية التي تعتمد على الرؤية البصرية للهلال دون الحساب بأي شكل من الأشكال عملاً بقوله صلى الله عليه وسلم: ((صوموا لرؤيته وافطروا لرؤيته فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين)).

ภายหลังที่คณะประชุมของสภานิติศาสตร์อิสลาม ได้ทำการวิจัยโดยกว้างเกี่ยวกับประเด็นการประจักษ์ จันทร์เสี้ยวภายใต้ตัวบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่ประชุมได้ให้การสนับสนุนต่อชมรมดะอวะฮ์อิสลาม (ประเทศสิงค์โปร์) ต่อสิ่งที่ทางชมรมดำเนินอยู่และเพื่อเป็นการนำตัวบทของศาสนาตีแผ่ให้ทุกๆคนทราบ ฉนั้นตามมติที่ประชุมเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ประเทศสิงค์โปร์ หรือบางพื้นที่ของกลุ่มประเทศ เอเชีย และที่อื่นๆ โดยที่บางครั้งทรรศนะวิสัยของประเทศแถบนี้ไม่ค่อยจะดีมากนักบางครั้งก็ถูกปกคลุมด้วยกับเมฆหมอก ที่ประชุมจึงเห็นว่าสมควรให้มวลบรรดามุสลิมทุกๆคน ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ดังกล่าว หรือประเทศใกล้เคียงให้ยึดเอาการเห็นจันทร์เสี้ยวจากประเทศมุสลิมที่เชือถือได้ ภายหลังจากที่พวกเขาได้เห็นจันทร์เสี้ยวและทำการพิสูจน์การปรากฎจันทร์เสี้ยวโดยห้ามใช้วิธีคำนวนทางดาราศาสตย์ ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยวิธีใดก็ตาม
เพื่อเป็นไปตามคำสั่งใช้ของท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม ( พวกท่านทั้งหลายจงถืออศีลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว และจงออกศีลอด ( อีดิ้ลฟิตริ ) เมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว หากมีเมฆหมอกมาบดบัง พวกท่านทั้งหลายก็จงนับเดือน ชะอบาน ให้คลบ 30 วัน )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Mon Sep 14, 2009 11:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรุณาเอาต้นฉบับจริงมาลงให้ดูก็จะเป็นการดีครับ

เพราะผมมีต้นฉบับจริง ซึ่งวัน เดือน ปี คล้ายกันแต่ไม่ตงกัน เป็นของรอบีเฏาะฮฺเหมือนกันครับ

คือ

The 4th Meeting of the Council

From 7th of Rabi Al-Thani-17 * of Rabi AI-Thani 1401 Hijri

11th of Feb-21st of Feb 1981
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nadwa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2009
ตอบ: 9


ตอบตอบ: Mon Sep 14, 2009 4:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.hilalsighting.org/papers/MWL-1981HilalSighting-locality.pdf
http://www.midad.me/fatwa/view/498

สลาม พี่น้อง
ขอสันติจงประสบแก่ทุกท่าน
เพื่อความกระจ่างแก่ผู้ที่กำลังค้นหาความรู้ ความจริง และคำตอบ ของผู้รู้(อุลามาอฺ)ที่ได้เชื่อถือได้และได้รับการยอมรับจากมุสลิมทั่วโลก เกี่ยวกับเรื่อง การกำหนดเดือนทั้ง 12 เดือนของมุสลิม
กรุณาเปิดลิ้งที่แนบมาข้างบน ซึ่งรายละเอียด มีทั้งภาษาอรับ และอังกฤษ ใครอ่านภาษาอะไรได้ก็ทำความเข้าใจกันดูนะ

ลิ้งแรก เป็นมติให้กำหนดเดือนโดยใช้จันทร์เสี้ยวท้องถิ่น
ลิ้งสอง เป็นมติที่ไม่ให้ใช้การคำนวณเพื่อกำหนดเดือน (นั่งเทียนเปิดคอมกำหนด)

ทั้งสองมตินี้มีการประชุมกันในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างวันที่ 7-17 รอบีอุลอาคิร ในปี ฮศ 1401 ตรงกับ คศ 1981

สรุป ตามเนื้อหามติทั้งสองได้ดังนี้

- ให้มุสลิมดูจันทร์เสี้ยวท้องถิ่นของตนเพื่อกำหนดการเข้า ออกเดือนใหม่ ทั้ง 12 เดือน
- ไม่ให้ใช้การคำนวณเพื่อกำหนดการเข้า ออกเดือนใหม่ ทั้ง 12 เดือน แต่ให้ใช้การดูให้เห็น
จริงหากดูแล้วไม่เห็นให้นับเดือนนั้นเป็น 30 วัน ถือตามหะดีษศูมู ทั้งนี้เพราะอิลามเร่มวัน
ใหม่หลังดวงอาทิตย์ตก และเพื่อให้การปฏิบัติตามหะดีษได้อย่างครบถ้วนเหมือนกันทั่วทุกปะ
เทศที่ไม่ไกลกันมาก คือดูแล้วเห็น = 29 วัน ดูแล้วไม่เห็น = 30 วัน
- ประเทศที่ใกล้กันให้ดูประกาศของประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และปากิสถาน
เป็นต้น เพราะเวลาไม่ต่างกันมากนัก และยังอู่ในช่วงของต้นวันใหม่ คือ ช่วงหลังดวงอาทิตย์
ตก

หวังว่าคงมีประโยชน์แก่ผู้ต้องการเรียนรู้ที่ใช้สติปัญญาในการศึกษาอย่างแน่นอน

วัสลาม
นัดวา

น้อมรับคำวิจารณ์ เฉพาะเนื้อหาในบทรุปเท่านั้น สำหรับการวิจารณ์มตินั้น กรุณาอย่าวิจารณ์เพราะไม่มีผู้รู้ท่านใดในประเทศไทยที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับเท่ากันคณะนิติศาสตร์ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 6:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นี้ครับ แต่ต้องขออภัย เขียนปี ผิด ปี 1401

السؤال: الحمد لله وحده والصلاة والسلام على من لا نبي بعده. أما بعد: إن مجلس المجمع الفقهي الإسلامي قد اطلع في دورته الرابعة المنعقدة بمقر الأمانة العامة لرابطة العالم الإسلامي بمكة المكرمة في الفترة ما بين السابع والسابع عشر من شهر ربيع الآخر سنة 1401هـ. على صورة خطاب جمعية الدعوة الإسلامية في سنغافورة المؤرخ في 16شوال 1399هـ الموافق 8 أغسطس 1979م الموجه لسعادة القائم بأعمال سفارة المملكة العربية السعودية هناك والذي يتضمن أنه حصل خلاف بين هذه الجمعية وبين المجلس الإسلامي في سنغافورة في بداية شهر رمضان ونهايته سنة 1399هـ الموافق 1979م حيث رأت الجمعية ابتداء شهر رمضان وانتهاءه على أساس الرؤية الشرعية وفقاً لعموم الأدلة الشرعية بينما رأى المجلس الإسلامي في سنغافورة ابتداء ونهاية رمضان المذكور بالحساب الفلكي معللاً ذلك بقوله: بالنسبة لدول منطقة آسيا حيث كانت سماؤها محجبة بالغمام وعلى وجه الخصوص سنغافورة فالأماكن لرؤية الهلال أكثرها محجوبة عن الرؤية وهذا يعتبر من المعذورات التي لا بد منها لذا يجب التقدير عن طريق الحساب)).

وبعد أن قام أعضاء مجلس المجمع الفقهي الإسلامي بدارسة وافية لهذا الموضوع على ضوء النصوص الشرعية قرر مجلس المجمع الفقهي الإسلامي تأييده لجمعية الدعوة الإسلامية فيما ذهبت إليه لوضوح الأدلة الشرعية في ذلك. كما يقرر أنه بالنسبة لهذا الوضع الذي يوجد في أماكن مثل سنغافورة وبعض مناطق آسيا وغيرها، حيث تكون سماؤها محجوبة بما يمنع الرؤية فإن للمسلمين في تلك المناطق وما شابهها أن يأخذوا بمن يثقون به من البلاد الإسلامية التي تعتمد على الرؤية البصرية للهلال دون الحساب بأي شكل من الأشكال عملاً بقوله صلى الله عليه وسلم: ((صوموا لرؤيته وافطروا لرؤيته فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين)).
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 7:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศ ที่ออกอีดตามการประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี
بسم الله الرحمن الرحيم

السؤال الخامس من الفتوي رقم 4029
س5: هل يجوز التصويت في الانتخابات والترشيح لها ؟مع العلم أن بلادنا تحكم بغير ماأنزل الله .
ج5: لا يجوز للمسلم أن يرشح نفسه رجاء أن ينتظم في سلك حكومة تحكم بغير ماأنزل الله وتعمل بغير شريعة الإسلام فلا يجوز لمسلم أن ينتخبه أو غيره ممن يعملون في هذه الحكومة إلا إذا كان من رشح نفسه من المسلمين ومن ينتخبون يرجون بالدخول في ذلك أن يصلوا بذلك إلي تحويل الحكم إلي العمل بشريعة الإسلام واتخذوا ذلك وسيلة إلي التغلب علي نظام الحكم علي ألا يعمل من رشح نفسه تمام الدخول إلا مناصب لا تتنافي مع الشريعة الإسلامية


اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والأفتاء

عضو عضو نائب الرئيس الرئيس

عبد الله بن قعود عبد الله بن غديان عبد الرزاق عفيفي عبد العزيز بن باز


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

الجمعيات الإسلامية في بلاد الكفر
الجمعيات الإسلامية في بلاد الكفر
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء
الاثنين 17 شوال 1428 الموافق 29 أكتوبر 2007






السؤال
هل يجوز إقامة أحزاب إسلامية في دولة علمانية وتكون الأحزاب رسمية ضمن القانون، ولكن غايتها غير ذلك، وعملها الدعوي سري؟
الفتوى
يشرع للمسلمين المبتلين بالإقامة في دولة كافرة أن يتجمعوا ويترابطوا ويتعاونوا فيما بينهم سواء كان ذلك باسم أحزاب إسلامية أو جمعيات إسلامية؛ لما في ذلك من التعاون على البر والتقوى.
وبالله التوفيق، وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم.
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء

ขอให้ อ. asan ช่วยแปล ให้ คุณ bundung เข้าใจทีครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 8:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมขอตอบโต้ คำพูดของคุณ bundung ที่ว่า วิธีนี้แหละ (ดูเดือนเมืองใครเมืองมัน หรือประเทศใครประเทศมัน ) ที่ท่านรอซู้ลฯ สั่งใช้พวกเราให้ถือปฏิบัติตาม ”
และคำนี้ (พิจารณาเอาเองว่าเถิดครับว่า “แบบไหนที่ท่านรอซู้ลสั่งใช้ ! / วิธีไหนที่เป็นซุนนะฮ์จริงๆ !” )

“จะตามคำพูดของอับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส หรือจะตาม (ทัศนะของ) ท่านครูบ้านเรา ก็ตัวใครตัวมันละครับพี่น้อง แต่ขออย่างหนึ่งน่ะ คือ ขอให้ตัดสินใจตามอย่างรู้เป้าหมายของศาสนา มีวิสัยทัศน์ และมีวุฒิภาวะ อย่าใช้การ “ตะอัซซุฟ – ยึดตัวบุคคล” หรือ “ ตั๊กลี้ด – ตามอย่างมือบอด ปิดตา ปิดสมองตนเอง” เป็นแนวทางในการตัดสินใจก็แล้วกัน ! ”
อินชาอัลลอฮ์ – หวังว่าปีนี้มุสลิมไทยจะได้ละหมาดอีดิ้ลฟิตริพร้อมกัน นะครับ



وقال الشوكاني رحمه الله تعالى في نيل الأوطار: (4/268): واعلم أن الحجة إنما هي في المرفوع من رواية ابن عباس لا في اجتهاده الذي فهم عنه الناس، والمشار إليه بقوله هكذا أمرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم هو قوله: فلا نزال نصوم حتى نكمل ثلاثين. والأمر الكائن من رسول الله صلى الله عليه وسلم هو ما أخرجه الشيخان وغيرهما بلفظ: "لا تصوموا حتى تروا الهلال، ولا تفطروا حتى تروه، فإن غُم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين"، وهذا لا يختص بأهل ناحية على جهة الافراد، بل هو خطاب لكل من يصلح له من المسلمين، فالاستدلال به على لزوم رؤية أهل بلد لغيرهم من أهل البلاد أظهر من الاستدلال به على اللزوم، لأنه إذا رآه أهل بلد فقد رآه المسلمون فيلزم غيرهم ما لزمهم،

อิหม่ามอัชเชากานีย์ได้กล่าวว่า
( โปรดรู้ไว้เถิดว่า ) แท้จริง สิ่งที่ถูกนำมาอ้างอิง มันคือ หะดีษที่สูงส่ง เนืองจากมีศอฮาบะห์หลายท่านร่วมกันเล่าหะดีษ จาก ริวายะห์ ของอินุอับบาส โดยไม่เกียวข้องกับอิบนุอับบาสใช้การ
วิเคาระห์หะดีษหรือใช้ดุลย์พินิจส่วนตัว ตามคนส่วนมากพากันเข้าใจว่า อิบนิอับบาสไม่รับการเห็นเดือนของ กุเรบ ที่เมืองชามกับคนในเมืองนั้น แต่สิ่งที่ชี้ชัดและยืนยันในเรืองดังกล่าวก็คือ คำพูดของอิบนิอับบาสเองที่ว่า ( อย่างนี้แหละที่ รอซูลใช้เรา และคำพูดของท่านอีกว่า พวกเราจะ ดำรงไว้ซึงการถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน)
ตรงนี้คือคำสังจากท่านรอซูลุลลอฮ ซ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม
หะดีษที่รายงานโดย อิหม่ามบุคคอรีย์และมุสลิม โดยมีใจความว่า
(พวกท่านทั้งหลายจงอย่าได้ถือศีลอดจนกว่าพวกท่านจะเห็นจันทร์เสี้ยว และพวกเจ้าอย่าได้ละศีลอด( อีดิ้ลฟิตริ) จนกว่าพวกท่านจะเห็นจันทร์เสี้ยว หากว่ามีเมฆหมอกมาปกคลุมก็จงนับเดือน ชะบานให้ครบ 30 วัน)
คำสั่งใช้ดังกล่าวมิได้หมายถึงกลุ่มชนที่อยู่มุมหนึ่งมุมใดหรือทิศหนึ่งทิศใด โดยเฉพาะ แต่ว่าคำสั่งของท่านมันคือสิ่งที่อนุญาติ ให้มวลมุสลิมทุกคน ยิ่งไปกว่านั้นมันคือ สาสน์จากท่านนบีถึงประชาชาติโดยรวม ดังนั้นแล้วการนำหลักฐานมายืนยันในเรืองที่จำเป็นต้องติดตามการประจักษ์จันทร์เสี้ยวของประเทศหนึ่งประเทศใด ชัดเจนกว่า การนำเสนอ หลักฐานที่ไม่มีการเชื่อถือหรือติดตามกัน เนื่องจากว่าเหมือไหร่ที่ประเทศหนึ่งประเทศใดเห็นจันทร์เส้ยวแล้ว ย่อมหมายถึง การเห็นของบรรดามวลมุสลิมทั่วไปด้วย เพราะสิ่งใดที่จำเป็นต่อพวกเขา มันก็คือข้อจำเป็นสำหรับผู้อืนด้วย



อิหม่ามอัชเชากานีย์ได้กล่าวอีกว่า

ثم قال الشوكانى : عدم عمل ابن عباس برؤية أهل الشام مع عدم البعد الدى يمكن معه اختلاف عمل اجتهاد وليس بحجة

การที่อินนุอับบาส ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของประชาชนเมืองชาม ทั้งๆที่ระยะทางทั้ง สองเมือง
(คือ เมือง มะดีนะห์ กับ เมืองชาม) มิได้ห่างไกลกันมากเกินไปที่จะนำมาเป็นประเด็นสำคัญของข้อแตกต่าง ทางด้านข้างขึ้นข้างแรมของแต่ละพื้นที่ไม่ได้ แต่มันคือการใช้ดุลพินิจของ อินุอับบาสเอง ซึ่งมิได้มาจากตัวบทของศาสนา ( จากหนังสือ نيل الأوطار นัยรุ้ลเอาฎอร. โดยอิหม่ามมูหมัด
บินอาลี อัชเชากานีย์ เสียชีวิติเมื่อฮิจเราะห์ 1255 เล่มที่ 4 แผ่นที่ 195 พิมพ์ที่ ดารุ้ลฟิกร อัลอะรอบีย์ )

หวังว่าคุณคงตัดสินใจได้สักที นะครับ ว่าจะตามหลักการที่ถูกต้องหรือไม่ (ตอบที หากไม่พอ จะนำหลักฐานมาเพิ่มเติมให้อีก)
وباالله توفيق
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสสลามุอะลัยกุม ฯ ครับพี่น้อง

ขอบคุณมากครับที่เอามาลงให้ดู

ผมยอมรับในทัศนะของอัชเชากานีย์และอุละมาอ์ทุกท่าน แต่เมื่อต้องตัดสินใจ ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าสมควรจะเลือกทางไหนครับ ดังนั้น นอกจากอัชเชากานีย์แล้ว ยังมีอุละมาท่านอื่นอีกหรือไม่ที่แสดงทัศนะเรื่องนี้เหมือนอัชเชากานีย์ ? ส่วนอุละมาอ์ที่ผมนำมาเสนอแล้วนั้น (ท่านอิบนุอับบาส (ซอฮาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดนบี) ท่านบัยฮะกีย์ / ท่านอบูดาวูด / ท่านมุสลิม ท่านอัต-ติรมีซีย์ / ท่านอัน-นะซาอีย์ เช็คมะห์มูด มุฮัมมัดค็อฏฏ็อบ อัซ-ซุบกีย์ ท่านอิหม่ามอัซ-ซินดีย์ / อิหม่ามนะวะวีย์ ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ / ท่านเฏาะฮาวีย์ ท่านอิบนุฮะญัร อัสเกาะลานีย์ ท่านอิหม่ามชาฟีอีย์ / ท่านอัล-บานีย์ เชคมุฮัมมัด ซอและฮ์ อิบนฺ อุษัยมีน เชคอับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮฺ บินบาซ) ก็มีน้ำหนักพอที่จะตัดสินใจได้ ครับ

ถ้าไม่ลำบากช่วยบอกชื่ออุละมาอ์เหล่านั้นมาด้วย เพราะผมอ่านหนังสือของอาจารย์มุรีด (ถ้าจำไม่ผิด) ก็มีเพียงชื่อของท่านอัชเชากานีย์ท่านเดียวเท่านั้น (ต้องขอโทษด้วย)

เรื่องที่คุณโพสมานั้น ที่ที่ประชุมของอัรรอบีเฏาะฮ์ ตอบคำถามของประเทศสิงคโปร์นั้น ก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่อันนั้น เพียงเป็นการตอบปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ผมอยากให้ได้ไปดูบทสรุปของการประชุมวันนั้น ว่า ที่ประชุมของรอบีเฏาะฮ์ เขาสรุปเรื่องการเข้าบวช / ออกบวช เป็นอย่างไร
ผมไม่มีภาษาไทย มีแต่ภาษาอรับกับอังกฤษ จะลองโพสไปให้ดู ไม่ทราบว่าจะได้หรือ เปล่า หารว่า"พสไปได้ กรุณาให้คุณ assan ช่วยแปลให้ด้วยก็จะดีครับ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่พี่น้องของเราด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
bundung
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 11/09/2009
ตอบ: 22


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 10:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nadwa
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2009
ตอบ: 9


ตอบตอบ: Tue Sep 15, 2009 5:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สลาม พี่น้องที่รักการเรียนรู้ทุกท่าน
คงจะดีมากนะครับ ถ้าคุณบันดุงหาคำแปลมาลงให้ทุกท่านอ่านด้วย เพราะจะได้เข้าใจกระจ่างขึ้นบ้างในเนื้อหาสาระ อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณทุกท่านที่กรุณานำหลักฐาน (ที่ไม่ได้คิดเอง) มาลงเพื่อให้รับทราบว่าอุละมาอฺระดับโลกนั้นเข้าว่าอย่างไรกับเรื่องนี้ (ดูจันทร์เสี้ยว)
คุณกิสมัต ก็อีกท่านต้องขอบคุณที่ไปนำฟัตวาของอุละมาอฺมาลงเพื่อ ขยายความในเนื้อหาต่างที่เกี่ยวข้องให้กระจ่างมากขึ้น แต่ผมขออนุญาตใช้ความรู้ในภาษาอรับที่มีอยู่บ้าง อธิบายความตามเนื้อหาที่ฟัตวาเกี่ยวกับการลงเลือกตั้งในประเทศที่ไม่ใช่อิสลาม ดังนี้

بسم الله الرحمن الرحيم

السؤال الخامس من الفتوي رقم 4029
س5: هل يجوز التصويت في الانتخابات والترشيح لها ؟مع العلم أن بلادنا تحكم بغير ماأنزل الله .
ج5: لا يجوز للمسلم أن يرشح نفسه رجاء أن ينتظم في سلك حكومة تحكم بغير ماأنزل الله وتعمل بغير شريعة الإسلام فلا يجوز لمسلم أن ينتخبه أو غيره ممن يعملون في هذه الحكومة إلا إذا كان من رشح نفسه من المسلمين ومن ينتخبون يرجون بالدخول في ذلك أن يصلوا بذلك إلي تحويل الحكم إلي العمل بشريعة الإسلام واتخذوا ذلك وسيلة إلي التغلب علي نظام الحكم علي ألا يعمل من رشح نفسه تمام الدخول إلا مناصب لا تتنافي مع الشريعة الإسلامية

เนื้อหาตามฟัตวาถ้าอ่านให้ดีแล้วจะพบว่ามีเป้าหมายเจาะจงเกี่ยวกับมุสลิมที่จะลงเลือกตั้งเอง หรือส่งผู้อื่นให้ไปเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศ ซึ่งต่างกับกรณีของการเลือกจุฬาฯ เพราะการเลือกจุฬานั้น เลือกโดยพี่น้องมุสลิม เพื่อสังคมมุสลิมในประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ดี และยังประโยชน์แก่สังคมมุมลิมโดยรวม (ทั้งนี้หากได้จุฬาที่มีคุณภาพด้วย) ประโยชน์ที่สังคมมุสลิมจะได้รับ (หากได้จุฬาที่มีคุณภาพ) นั้นมีอยู่มากมาย รวมทั้งการนำกฏหมายอิสลามบางอย่างมาใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถต่อรองกับรัฐบาลได้อีกด้วย
เข้าใจว่าสาเหตุที่ฟัตวานี้ห้ามมสลิมการลงเลือกตั้งใหญ่ทางการเมืองนั้น เพราะกลัวว่ามุสลิมที่เล่นการเมืองจะตกเป็นเครื่องมือของกาเฟรมากกว่าการแก้ปัญหา เพราะตำแหน่งทางการเมืองนั้นไม่สามารถยืนยันการเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ผิดกับการที่มุสลิมเลือกมุสลิมมาเป็นผู้นำเองในประเทศ และแจ้งผลแก่รัฐบาลเพื่อที่จะได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามวิถีทางของศาสนา เพราะน้ำหนักในการต่อรองนั้นย่อมมีมากกว่า
เพื่อให้กระจ่างมากขึ้น ทุกท่านลองดูตัวอย่างจากกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ที่ได้จัดตั้งทีมงานขึ้นมาเพื่อติดตาม และช่วยเหลือมุลิมะฮฺเรื่องการคลุมฮิญาบในสถานที่ราชการ และมหาวัทยาลัย อื่นๆ ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่ามีผลในทางบวกมากกว่าทางลบ เพราะทำให้หนักเป็นเบาได้หลายกรณีแล้ว แต่ถ้ามีสำนักงานสูงสุดของมุสลิมติดตามเรื่องอย่างจริงจังย่อมมีน้ำหนักกว่าอย่างแน่นอน
ฉะนั้น ขอสรุปแบบสั้นๆตรงนี้ว่า เจตนาของฟัตวานั้นคือห้ามมุสลิมที่จะลงเลือกตั้งเอง หรือส่งผู้อื่นให้ไปเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศ

ลองคิดดูก็แล้วกันว่าถ้าห้ามการเลือกตั้งทุกอย่างในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม แล้วพี่น้องมุสลิมคงจะหาผู้นำไม่ได้แน่นอน เพราะอิหม่ามก็จะมีไม่ได้ เนื่องจากมาจากการเลือกตั้ง แล้วที่นี้ใครจะฟังใครกันล่ะ เพราะดูเหมือนว่าทุกวันนี้ ผู้รู้ในสังคมต่างแย่งกันเป็นผู้นำเช่นกัน โดยที่อาจไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังทำให้สังคมแตกแยกอยู่หรือเปล่า

สุดท้ายนี้ ขอให้เราลองย้อนมาดูสังคมอีกครั้งดีกว่าว่าเราจะแก้ปัญหากันที่จุดไหน เช่น
ถ้าจะไม่ให้การเลือกตั้งจุฬาเป็นแบบเดิม ก็หาทางเลือกแบบอิสลามซิครับ
หรือว่าเรากำลังมองที่ตัวจุฬากันแน่ว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ จึงไม่เห็นด้วย ถ้าเช่นนั้นก็ต้องเข้าพบและพูดคุยกับท่าน แบบตัวต่อตัว อย่าได้ออกประจานตามงานบรรยายเหมือนอาจารย์บางท่าน เพราะไม่ปรากฏมีหลักฐานจากทั้งกรุอาน และหะดีษว่าอิสลามส่งเสริมวิถีการดังกล่าว (ถ้ามีลองยกมาให้ทราบด้วย)
และถ้าจะให้เจ้าของเว็ปนี้เป็นจุฬาก็คงต้องมาเถียง (ทะเลาะ) กับอัสลาฟิยูนอีกแน่ ทั้งๆ ที่ตอนอยู่ด้วยกันนั้นเรื่องเดียวกันตอบเหมือนกันแนวเดียวกัน แต่พอแยกวงแล้วแทบทุกเรื่องแย้งกันหมด นี้หรือผู้รู้มุสลิมที่น่ายกย่อง

ต้องขอโทษพี่น้องด้วยถ้าใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนะครับ
น้อมรับคำวิจารณ์ด้วยความเคารพ

วัสลาม
นัดวา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.23 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ