ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Sun May 20, 2012 2:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่างพี่น้องชายหญิงร่วมมารดา
ผู้ตายทิ้งแม่ ภรรยา พี่ชายร่วมมารดา..............................พี่ชายร่วมมารดาได้ 1/6
ผู้ตายทิ้งแม่ สามี พี่สาวร่วมมารดาสองคน......................พี่สาวร่วมมารดาได้ 1/3
ผู้ตายทิ้งพ่อ ลูกสาว พี่ชายร่วมมารดา พี่สาวร่วมมารดา....พี่ชายและพี่สาวร่วมมารดาไม่ได้เลย

ผู้ตายทิ้งสามี แม่ พี่ชายร่วมมารดา พี่สาวร่วมมารดา......พี่ชายและพี่สาวร่วมมารดาได้ 1/3

ความต่างของพี่น้องชายหญิงร่วมมารดา คือ
1. ผู้ชายและผู้หญิงได้เท่ากัน
2. หากอยู่คนเดียวได้น้อย แต่หากมีหลายคนได้เยอะ
3. พวกเขาไม่ได้รับผลกระทบจากพี่น้องชายหญิง และพี่น้องชายหญิงร่วมบิดา

ข้อสังเกตุ
1. กลุ่มสุดท้ายนี้คือกลุ่มของพี่น้อง (อัลฮาวาชีย์ ) จึงถูกกันโดยกฎสำคัญทั้งสอง
2. พี่น้องหญิง พี่น้องหญิงร่วมบิดา........มีผลกระทบต่อกัน คือ หากมีพี่น้องหญิงหนึ่งคน พี่น้องหญิงร่วมบิดาได้น้อยลง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Sun May 20, 2012 2:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

และก็มีบางกรณีที่พี่น้องสาวร่วมบิดาไม่ได้มรดก เช่น

ผู้ตายทิ้งแม่ ลูกสาว พี่สาว น้องสาวร่วมบิดา...............น้องสาวร่วมบิดาไม่ได้อะไรเลย เพราะพี่สาวเป็นอาซอบะห์ และน้องสาวต้องเป็นอาซอบะห์ด้วย แต่อาซอบะห์จะได้กับคนที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น นั่นคือ พี่สาว วัลลอฮูอะลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon May 21, 2012 8:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 4
อาซอบะห์

2. ชาวอาซอบะห์ หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกทั้งหมดหากเหลือตัวคนเดียว และเป็นบุคคลที่จะได้รับส่วนที่เหลือ
จากชาวฟัรฎูหากเขาอยู่ร่วมกับชาวฟัรฎู . ( [9] )

ประเภทของอาซอบะห์
1. บินนัฟซ ( โดยตนเอง ) คือ ผู้ชายทุกคน ยกเว้นสามีและพี่น้องชายร่วมมารดา ะผู้หญิงคือ นายทาสหญิง รวมทั้งสิ้น 14 คน
2. บิลฆอยร ( โดยผู้อื่น ) คือ ลูกสาว หลานสาว พี่น้องสาว และพี่น้องสาวร่วมบิดา เมื่อเมื่ออยู่ร่วมกับผู้ชายระดับเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 4 คน
3. มาอัลฆอยร ( ร่วมกับผู้อื่น)คือ พี่น้องสาว และพี่น้องสาวร่วมบิดา เมื่ออยู่ร่วมกับลูกสาวหรือหลานสาว. รวมทั้งสิ้น 2 คน

หมายเหตุ : อาซอบะห์นั้น สำหรับผู้ที่ใกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเท่านั้น فما بقي فأولى رجل ذكر
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครใกล้ชิดผู้ตายมากที่สุด ?


กฎ 2 ข้อเรื่องอาซอบะห์
1/ สายสัมพันธ์ความใกล้ชิด
ลูก พ่อ พี่น้องชาย อาน้าชาย นายทาส

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกชาย และอา : มรดกทั้งหมดได้กับลูกชาย เพราะลูกใกล้กว่าอา

ผู้ตายทิ้งพี่ชาย และอา : มรดกทั้งหมดได้กับพี่ชาย เพราะพี่ชายใกล้กว่าอา

ผู้ตายทิ้งอา และนายทาส : มรดกทั้งหมดได้กับอา เพราะอาใกล้กว่านายทาส


แล้วถ้าหากผู้ตายทิ้งลูกของพี่ชาย และน้องชายร่วมบิดา ใครได้รับอาซอบะห์ ?
2/ สายสัมพันธ์ความใกล้ชิด ระดับ ความเข้ม
ตัวอย่าง หากสายสัมพันธ์ต่างกัน สังเกตสายสัมพันธ์ใกล้กว่า
เช่น บิดา หลานชาย , มรดกที่เหลือได้กับหลานชาย

หากสายสัมพันธ์เท่ากัน สังเกตระดับ
เช่น ลูกของพี่ชาย น้องชายร่วมบิดา , มรดกทั้งหมดได้กับน้องชายร่วมบิดา

หากสายสัมพันธ์และระดับเท่ากัน สังเกตความเข้ม
เช่น น้องชาย พี่ชายร่วมบิดา , มรดกทั้งหมดได้กับน้องชาย.


สรุปง่ายๆนะครับ เราสามารถเรียงลำดับชาวอาซอบะห์ได้ตามลำดับ ผู้ชายที่มีสิทธิ์รับมรดก 15 คน ดังนี้
1.ลูกชาย
2.หลานชาย
3.พ่อ
4.ปู่
5.พี่น้องชาย
6.พี่น้องชายร่วมบิดา
7.ลูกของพี่น้องชาย
8.ลูกของพี่น้องชายร่วมบิดา
9.น้าชาย
10.น้าชายร่วมบิดา
11.ลูกของน้าชาย
12.ลูกของน้าชายร่วมบิดา
13.นายทาสชาย หรือ 14. นายทาสหญิง

เรียงลำดับอาซอบะห์ตามนี้เลยนะครับ วัลลอฮูอะลัม


***********************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon May 21, 2012 8:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 5
การกันสิทธิ์ ( الحجب )

การกันสิทธิ์ หมายถึง การกันสิทธิ์บุคคลหนึ่งจากกองมรดก ไม่ว่าจะเป็นการกันทั้งหมด หรือเป็นการกันเพียงบางส่วน สาเหตุเพราะมีคนหนึ่งกันไว้ หากกันทั้งหมด เรียกว่า ฮาญับฮิรมาน หากกันเพียงบางส่วน เรียกว่า ฮาญับนุกซอน . ( [10] )

ประเภทของการกันสิทธิ์
1/ ฮาญับเอาซอฟ ( ถูกกันเพราะลักษณะ ) คือ ฆ่าเจ้ามรดก ,เป็นทาส,และศาสนาต่างกัน
2/ ฮาญับอัชคอซ ( ถูกกันเพราะบุคคล ) คือ
2.1 นุกซอน ( บางส่วน )
2.2 ฮิรมาน ( ทั้งหมด )

ความแตกต่างระหว่างฮาญับเอาซอฟและฮาญับอัชคอซ
ฮาญับเอาซอฟ เช่น ผู้ตายทิ้งลูกที่ตกศาสนา และมารดา , มารดาจะได้ 1/3
ฮาญับอัชคอซ เช่น ผู้ตายทิ้งลูกชาย และมารดา , มารดาจะได้ 1/6

ตัวอย่างฮาญับนุกซอน และฮาญับฮิรมาน
ฮาญับนุกซอน เช่น มารดาได้รับ 1/3 แต่หากมีลูกชาย มารดาได้ 1/6 เท่านั้น คือได้น้อยลง
ฮาญับฮิรมาน เช่น ลูกชายสามารถกันหลานสาวได้ หลานสาวจะไม่ได้อะไรเลย.


***********************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon May 21, 2012 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 6
การคำนวณทั้ง 4

1/ ส่วนที่เหมือนกัน ( تماثل ตะมาซุล )
ตัวอย่าง
.............................2
1/2 สามี................1
1/2 พี่น้องสาว........1

1/2 เหมือนกัน เอา 2 มาวางได้เลย.



2/ ส่วนร่วมกัน ( تداخل ตะดาคุล )
ตัวอย่าง
...................................6
1/3 มารดา...................2
1/6 พี่สาวร่วมมารดา....1
ع น้าชาย.......................3

1/3 , 1/6 เลข3 เข้าในเลข 6 นำ 6 มาวางได้เลย.



3/ ส่วนควบกัน ( توافق ตะวาฟุก )
ตัวอย่าง
.........................................12
1/4 ภรรยา.........................3
1/6 พี่ชายร่วมมารดา.........2
ع อาชาย.............................7

1/4 ,1/6 หาครน.ได้ 12 นำ 12 มาวางไว้.



4/ ส่วนต่างกัน ( تباين ตะบายุน )
ตัวอย่าง
...............................12
1/3 มารดา..............4
1/4 ภรรยา...............3
ع น้าชาย...................5

1/3,1/4 หาครน.ได้ 12 นำ 12 มาวางไว้.



***********************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Tue May 22, 2012 11:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 7
การตัซฮีฮ หมายถึง การหาค่าลงตัวที่น้อยที่สุดให้ผู้มีสิทธิ์แต่ละคน โดยไม่ต้องหาร. ( [11] )

1/ ส่วนที่เหมือนกัน (تماثل )
.................................3/3.........9
2/3 ลูกสาว3 คน.......2............6
ع.....พี่ชาย3 คน........1.............3


2/ ส่วนร่วมกัน( تداخل )
.......................................3/9...........27
2/3 ลูกสาว 9 คน...........2..............18
عพี่ชาย 3 คน..................1................9


3/ ส่วนควบกัน(توافق )
.......................................3/12............36
2/3 ลูกสาว 8 คน............2.................24
عพี่ชาย 6 คน..................1..................12


4/ ส่วนต่างกัน (تباين )
.............................................3/12.........36
2/3 ลูกสาว 8 คน..................2...............24
عพี่ชาย 3 คน........................1...............12
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 23, 2012 12:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 8
รูปแบบปัญหามรดกอิสลาม

ปัญหามรดกอิสลาม แบ่งเป็น 3 รูปแบบ :
1 ) ปัญหาอาดิละห์
.......................4
1/4 สามี.........1
ع ลูกชาย........3

2 ) ปัญหาซาอิดะห์ ( อัลอาวล์ )
3 ) ปัญหานากิเซาะห์ ( อัรร็อด )



การเพิ่มส่วน อัลอาวล์ ( العول )
อัลอาวล์ คือ การเพิ่มส่วนแบ่งของกองมรดก และลดส่วนแบ่งของทายาททุกคน. ( [12] )
ตัวอย่าง
.............................................6............7
1/2 สามี...............................3............3
1/2 พี่สาวร่วมบิดามารดา....3............3
1/6 ยาย...............................1............1

สรุป....ตัวเลขฐานปัญหา(มัซอะละห์) จากน้อยไปหามากไม่เป็นไร เช่น 6 ไปเป็น 7 ไม่เป็นไร สามารถทำได้เลย ถึงแม้จะมีสามีหรือภรรยาในกรณีนั้นก็ตาม



ส่วนเหลือ อัรร็อด ( الرد )
อัรร็อด คือ การลดส่วนแบ่งของกองมรดก และเพิ่มส่วนแบ่งของทายาทให้มากขึ้น.( [13] ) ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องมีส่วนเหลือจากฟัรฎู
2. ไม่มีผู้รับอาซอบะห์
3. สามี ภรรยาจะไม่ได้มากกว่าสิทธิของพวกเขา


หลักฐาน
อัลลอฮทรงตรัสว่า ( وأولوالأرحام بعضكم أولى ببعض في كتاب الله ) الأنفال : 75
ความว่า " และญาติทางสายโลหิตบางคนมีสิทธิมากกว่าอีกบางคนในคัมภีร์ของอัลลอฮ ."


อัรร็อด
1/ ไม่มีสามีหรือภรรยา

ทายาทคนเดียว
.......................1
ลูกสาว............1 ( ลูกสาวคนเดียวได้ 1/2 แต่ก็จะเหลืออีกครึ่งหนึ่ง และครึ่งหนึ่งนั้นก็ย้อนกลับมาหานาง นางจึงได้เต็ม)

ทายาทหลายคนและชนิดเดียวกัน
............................3
ลูกสาว 3 คน........3

ทายาทหลายคนแต่ต่างชนิดกัน
....................................6................5/3................15
1/6 ยาย 3 คน.............1................1.....................3
2/3 ลูกสาว 3 คน.........4................4....................12


2/ มีสามีหรือภรรยา
ทายาทคนเดียว
.................................4
1/4 ภรรยา...............1
มารดา......................3 ( มารดาได้ 1/3 และที่เหลือร็อด(ย้อนกลับมา)ดังนั้นมารดาเหมือนได้อาซอบะห์เลย

ทายาทหลายคนและชนิดเดียวกัน
...................................4
1/4 สามี.....................1
ลูกสาว 3 คน..............3


ทายาทหลายคนแต่ต่างชนิดกัน
....................................24.....................19
1/8 ภรรยา....................3........................3
1/2 ลูกสาว..................12.....................12
1/6 หลานสาว................4.......................4
***ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะ ภรรยาได้มากกว่า 1/8 กล่าวคือ 1/8 ของ19 ต้องน้อยกว่า 3 ไม่ใช่ 3


ต้องใช้วิธีที่ สอง
...................................8x4.........................6.................4x7..............................32
1/8 ภรรยา.................1.......................................................................................4
...................................7
................................1/2 ลูกสาว.................3................3...................................21
................................1/6 หลานสาว.............1................1.....................................7

จะสังเกตเห็นว่า ภรรยาจะได้ 1/8 ของ 32 พอดี นั่นคือ 4 .

สรุป หากตัวเลขฐานปัญหาน้อยลง เช่น 24 ไปเป็น 19 เราต้องดูว่ามีสามีหรือภรรยาหรือเปล่า
หากไม่มีก็ไม่เป็นไร ตอบได้เลย
แต่หากมีสามีหรือภรรยา เราต้องทำด้วยวิธีที่สอง ถึงจะถูกต้อง วัลลอฮูอะลัม


*****************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 23, 2012 12:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 9
วิธีแบ่งมรดก

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งมารดา ลูกสาว และน้าชาย
........................6
1/6 มารดา......1
1/2 ลูกสาว......3
ع น้าชาย.........2
- หากมีมรดกอยู่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด 6 แสนบาท มารดาจะได้ 1 แสนบาท ลูกสาวจะได้ 3 แสนบาท และน้าชายจะได้ 2 แสนบาท


-แต่หากมรดกมีอยู่ 2 ล้าน 4 แสนบาทล่ะ จะทำอย่างไร ?
วิธีทำ เอาส่วนที่ได้คูณกับมรดก แล้วหารกับจำนวนทั้งหมด
มารดา 1/6 x 24 = 4 แสนบาท
ลูกสาว 3/6 x 24 = 12 แสนบาท
น้าชาย 2/6 x 24 = 8 แสนบาท


หรืออีกวิธี คือ เอาส่วนทั้งหมดหารมรดก แล้วค่อยเอาผลที่ได้มาคูณกับส่วนที่ได้ของ แต่ละคน
วิธีทำ
24 หาร 6 = 4

มารดา 4x1 = 4 แสนบาท
ลูกสาว 3x4 = 12 แสนบาท
น้าชาย 2x4 = 8 แสนบาท

หมายเหตุ วิธีแรกจะดีกว่าวิธีที่สอง เพราะวิธีที่สองอาจเอาส่วนทั้งหมดมาหารมรดกไม่ลงตัว จะทำให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนได้ .



************************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 23, 2012 12:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 10
ปัญหามูชัรรอกะห์ มุชตะรอกะห์ ฮาญาริยะห์ ฮิมาริยะห์

ปัญหามูชัรรอกะห์ หมายถึง ปัญหาที่ชาวอาซอบะห์ไม่ได้รับมรดก เพราะชาวฟัรฎูรับ ไปหมดแล้ว . ( [14] )

ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้
1. สามี
2. ย่า ยาย หรือ มารดาที่ได้รับ 1/6
3. พี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา
4. พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป

รูปแบบปัญหา
ทรรศนะฮานาฟียะห์ และ ฮานาบีละห์ (ซึ่งท่านอุมัร บิน คอฏฏอบได้ตัดสินแบ่งเป็นครั้งแรก)
.............................................................................6
1/2 สามี...............................................................3
1/6 มารดา...........................................................1
1/3 พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป..........2
عพี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา..............-


ทรรศนะของมาลีกียะห์ และ ชาฟีอียะห์(ซึ่งท่านอุมัร บิน คอฏฏอบตัดสินแบ่งให้ในครั้งที่สอง)
..................................................................................................6/3.........................18
1/2 สามี....................................................................................3...............................9
1/6 มารดา................................................................................1...............................3
1/3 พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป................................................................4
ร่วมกับพี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา..........................2...............................2

หมายเหตุ ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะ พี่น้องชาย ( ร่วมบิดามารดา )ไม่ได้สิ่งใดเลยจากกองมรดก ( เขาเป็นชาวอาซอบะห์) เพราะไม่มีส่วนเหลือ ทั้ง ๆ ที่เขามีความใกล้ชิดกับผู้ตายมากกว่าพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาเสียอีก แต่พี่น้องชายหญิงร่วมมารดากลับได้มรดก , ท่านคอลีฟะห์อุมัร บุตรคอฏฏอบ จึงวินิจฉัยแบ่งให้ والله أعلم بالصواب

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات ،
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين ،
والحمد لله رب العالمين .



*******************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 23, 2012 12:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิง

( [1] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 13
( [2] ) ซูเราะห์ อันนิซาอฺ 11-14
( [3] ) ซูเราะห์ อันนิซาอฺ 176
( [4] ) ซอฮีฮ อัลบุคอรี 6/2476
( [5] ) ฮาชียะห์ อิบนุ อาบีดีน 6/758
( [6] ) ในทรรศนะของมาลีกียะห์ และชาฟีอียะห์
( [7] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฏียะห์ หน้า 130
( [8] ) อัลมูฮัซซับโดยอัชชีรอซี 2/25
( [9] ) อัลวาซีต โดยฆอซาลี 4/346
( [10] ) อัตตะรีฟาต โดย อัลญัรญานีย์ หน้า 111
( [11] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฏียะห์ หน้า 162
( [12] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 165
( [13] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 250
( [14] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 131

*******************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon May 28, 2012 8:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

الفرائض
القسم الثاني

تأليف
صابر بن عبدالقادر الجالوي







بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على خاتم الأنبياء والمرسلين وعلى آله وصحبه أجمعين ، أمابعد :
อัลฮัมดูลิลลาฮ ด้วยความช่วยเหลือจากเอกองค์อัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอาลา เอกสารประกอบการเรียนวิชาอัลฟารออิฎ แบ่งมรดกอิสลาม เล่ม 2 นี้จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี
อัลฟารออิฎเล่ม 2 นี้ประกอบไปด้วยการแบ่งมรดกของกะเทย ทารกในครรภ์ คนสาบสูญ คนตายหมู่ มรดกซ้อน และเครือญาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเข้าใจ และจดจำพื้นฐานการแบ่งมรดกจากเล่มแรก เพื่อให้การแบ่งมรดกนั้นถูกต้องตามหลักการอิสลามตามที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ ซึ่งพระองค์ได้ให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ที่เชื่อฟังพระองค์ด้วยสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน และผู้ที่ฝ่าฝืนด้วยนรกซึ่งเขาจะต้องอยู่ในนั้นตลอดกาล วัลอิลาซูบิลลาฮ ขออัลลอฮทรงให้เราห่างไกลจากนรกด้วยเถิด
ผู้เขียน ขอต่ออัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอาลาโปรดประทานความดีงามแก่เอกสารเล่มนี้ ยังประโยชน์แก่มวลมุสลิม และขอให้งานเขียนครั้งนี้ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อเอกองค์อัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอา และเป็นหนึ่งในการงานที่ถูกตอบรับด้วยเถิด


ซ ซอบิร บิน อับดุลกอเดร์ อูมา
ผู้เขียน
10 ญามาดิลอาคีร 1433 / 1 พ.ค. 2012




สารบัญ หน้า
บทที่ 1 มรดกกะเทย 4
บทที่ 2 มรดกทารกในครรภ์ 8
บทที่ 3 มรดกคนสาบสูญ 10
บทที่ 4 มรดกคนตายหมู่ 12
บทที่ 5 มรดกซ้อน 15
บทที่ 6 มรดกเครือญาติ 18











บทที่ 1
มรดกกะเทย

กะเทย หมายถึง ผู้ที่มีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิง หรือไม่มีอวัยวะเพศอันใดอันหนึ่งเลย

ความเป็นไปได้ของการเป็นกะเทยมี 4 ทาง
1. ทางลูก 2. ทางพี่น้อง 3. ทางน้าอา 4. ทางปลดปล่อยทาส
ส่วนทางการเป็นพ่อแม่ หรือสามีภรรยา เป็นไปไม่ได้

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 200 ในขณะแบ่งปันมรดก ถ้าทายาทคนใดคนหนึ่งเป็นกะเทย ให้พิจารณาว่ากะเทยนั้นมีเพศใกล้ทางเพศชายหรือเพศหญิง ถ้าใกล้ทางเพศชายให้แบ่งปันแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นชาย ถ้าใกล้ทางเพศหญิง หรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นเพศใด ให้แบ่งปันมรดกแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นหญิง

กะเทยมีสองลักษณะ
1. ผู้มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง
2. ผู้ไม่มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด

สัญลักษณ์ในการทราบเพศกะเทย
1. การปัสสาวะ หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศชาย เขาคือชาย หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศหญิง เขาคือหญิง
หากปัสสาวะจากทั้งสองเพศ ให้สังเกตมาจากอวัยวะเพศไหนก่อน
หากมาพร้อมกัน ให้สังเกตปริมาณที่มากกว่า
หากมาพร้อมกันและปริมาณเท่ากัน ให้รอจนกระทั่งบรรลุศาสนภาวะ

สัญลักษณ์เพศเมื่อบรรลุศาสนภาวะ
สัญลักษณ์เพศชาย คือ เครา หลั่งน้ำอสุจิจากอวัยวะเพศชาย
สัญลักษณ์เพศหญิง คือ เลือดประจำเดือน เต้านมเต่งตึง

ลักษณะการแบ่งมรดกของกะเทย
1. หากเป็นกะเทยที่มีหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริงในอนาคต แต่ญาติๆต้องการให้แบ่ง เช่น ผู้ตายมีลูกชาย ลูกสาว และลูกกะเทย
5/4 4/5 20
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
ลูกชาย 2 2 8 - +2
ลูกสาว 1 1 4 - +1
ลูกกะเทย 2 1 5 +3 -
เก็บไว้ 3

คำอธิบาย เราจะสมมุติว่าลูกกะเทยนั้นเป็นชายหรือหญิง และให้ส่วนที่น้อยที่สุดให้เขาก่อน รอจนกระทั่งทราบแน่ชัดว่าเขาเป็นชายหรือหญิง จึงให้ส่วนที่เหลือกับเขา ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ให้ลูกชายจริง 8 ส่วน ให้ลูกสาวจริง 4 ส่วน และให้ลูกกะเทย 5 ส่วน รอจนทราบแน่ชัด หากลูกกะเทยเป็นชาย ก็ให้อีก 3 ส่วนที่เก็บไว้ให้เขา หรือหากเป็นหญิง ก็ต้องให้ส่วนที่เก็บไว้แก่ลูกชายจริง 2 ส่วน และลูกหญิงจริง 1 ส่วน





2. หากเป็นกะเทยที่ไม่หวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด
2/6 3/4 12
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
ลูกชาย 1 2 7
ลูกกะเทย 1 1 5
คำอธิบาย เราจะให้มรดกแก่ลูกกะเทยนี้ด้วยการให้จำนวนกลางของการสมมุติว่าเป็นชายและหญิง ดังเช่นตัวอย่าง
ลูกชายจริงได้ 6 ส่วน และ 8 ส่วน เราจึงให้ลูกชายจริง 7 ส่วน
ลูกกะเทยได้ 6 ส่วน และ 4 ส่วน เราจึงให้ลูกกะเทย 5 ส่วน จากทั้งหมด 12 ส่วน


ตัวอย่างมรดกกะเทยชายเท่านั้น เช่น ลูกสาวสองคน ลูกกะเทยของพี่น้องชาย และลูกของอา
3/2 3/2 6
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
2/3 ลูกสาว 1 1 2
ลูกสาว 1 1 2
ลูกกะเทยของพี่น้องชาย 1 - 1
ลูกของอา - 1 1

คำอธิบาย ในกรณีนี้ มรดกจะได้แก่กะเทยชายเท่านั้น เพราะหากเป็นหญิงก็จะไม่มีสิทธิ์รับมรดก เพราะลูกสาวของพี่น้องชายไม่มีสิทธิ์รับมรดกเพราะเป็นซาวิลอัรฮาม



ตัวอย่างมรดกกะเทยหญิงเท่านั้น เช่น สามี พี่น้องสาว และลูกกะเทยร่วมบิดา

2/14 7/4 28
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
½ สามี 1 3 13
พี่น้องสาว 1 3 13
ลูกกะเทยร่วมบิดา - 1 2

คำอธิบาย ในกรณีนี้ มรดกจะได้เฉพาะกะเทยที่เป็นหญิง เพราะหากเป็นชาย เขาก็จะไม่ได้รับมรดกเพราะเขาคือพี่น้องชายร่วมบิดาของผู้ตาย และมีสิทธิ์รับอาซอบะห์ ซึ่งมรดกได้หมดไปแล้ว จากการที่สามีได้หนึ่งส่วนสอง และพี่น้องสาวได้หนึ่งส่วนสอง والله أعلم










*****************************
บทที่ 2
มรดกทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์ หมายถึง ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมนุษย์ผู้ซึ่งสามีของนางได้ตายในขณะที่นางตั้งครรภ์ลูกของเขา ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีสิทธิรับมรดก หรือกันผู้อื่นทุกกรณี หรือมีสิทธิรับมรดกหรือกันผู้อื่นในบางกรณีหากทารกคลอดออกมามีชีวิต
ทารกในครรภ์ที่มีสิทธิรับมรดกอย่างแน่นอนโดยมติเอกฉันท์ (อิจมาอ) ต้องมี 2 เงื่อนไขดังนี้
1. ต้องอยู่ในมดลูกมารดาตอนที่เจ้ามรดกเสียชีวิต แม้เป็นเพียงน้ำอสุจิ
2. ต้องคลอดออกมามีชีวิต
ท่านรอซูลอัลลอฮ ได้กล่าว่า لَا يَرِثُ الصَّبِيُّ حَتَّى يَسْتَهِلَّ صَارِخًا
ความว่า ทารกจะไม่ได้รับมรดก จนกระทั่งเขาร้องส่งเสียง
- อายุครรภ์ที่น้อยที่สุดคือ 6 เดือนโดยมติเอกฉันท์ ( อิจมาอ )
- อายุครรภ์ที่มากที่สุดคือ 4 ปี
การคลอดของทารกมี 3 ลักษณะ
1. ทารกคลอดออกมาเสียชีวิต ไม่มีสิทธิรับมรดก
2. อวัยวะบางส่วนออกมายังมีชีวิต แต่ก็ตายเมื่ออวัยวะอื่นออกมา ไม่มีสิทธิรับมรดก
3. ทารกคลอดออกมามีชีวิต หากคลอดออกมาแล้วร้อง มีสิทธิรับมรดกโดยเอกฉันท์
วิธีที่ดีที่สุดในการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
หากผู้มีสิทธิรับมรดกพอใจที่จะประวิงเวลารอจนทารกคลอดเพื่อที่จะได้ทราบจริงๆว่าทารกคลอดออกมาเป็นเพศชายหรือหญิง และมีจำนวนกี่คน ก็จะเป็นการดีที่สุด เพื่อให้พ้นจากคิลาฟ ( ความเห็นที่แตกต่างของนักวิชาการ ) และจะเป็นการแบ่งเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าหากพวกเขาไม่พอใจและขอให้มีการแบ่งมรดกเราต้องจัดการแบ่งมรดกให้พวกเขา

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 198 ทารกในครรภ์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกตามส่วน เมื่อภายหลังเกิดมารอดอยู่
ในการแบ่งปันมรดก ให้กันส่วนของทารกในครรภ์ไว้ตามส่วนที่เป็นคุณที่สุดแก่ทารกนั้น แต่เมื่อเกิดมาแล้วทารกมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือหรือในกรณีที่ทารกนั้นมิได้เกิดมารอดอยู่ให้แบ่งปันส่วนมรดกนั้นๆ แก่ทายาทของเจ้ามรดก
วิธีการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
3/28 6/14 6/14 12/7 7/12 6/14 84
1/6 แม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
ทารกจากพ่อ - 3 3 6 4 3 - +42
1/3 พี่ชายร่วมแม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
พี่ชายร่วมแม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
ตาย ชาย หญิง ชายสอง หญิงสอง ชายหญิง เก็บไว้48
อธิบาย ทารกจากพ่อผู้ตาย ก็จะหมายถึง พี่น้องของผู้ตายนั่นเอง
และเลขเต็ม 3 6 12 7 6 สามเข้าไปในหก( ตาดาคุล ) หกเข้าไปในสิบสอง แต่สิบสองคูณด้วยเจ็ด( ตาบายุน ) จะได้ 84 ส่วนของแม่มี 28 14 14 14 12 14 ดังนั้นแม่จะได้ส่วนที่น้อยที่สุดก่อนก็คือ 12 ( ส่วนของทารกเป็นหญิงสองคน )
บทที่ 3
มรดกคนสาบสูญ
คนสาบสูญ หมายถึง ผู้ที่เราไม่ทราบข่าวคราวและความเป็นอยู่ของเขา ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือได้ตายไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการเดินทางหรือไม่เดินทาง ถูกฆ่า เรืออัปปาง ถูกจับเป็นเชลย หรือด้วยเหตุใดๆก็ตาม
นักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในกรณีคนสาบสูญ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฮากิม ( ผู้พิพากษาหรือ ดาโต๊ะยุติธรรม )

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 199 ในกรณีที่ปรากฏว่ามีทายาท หรือผู้รับพินัยกรรมผู้ใดสูญไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และมิสามารถทราบได้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตาย ให้กันส่วนแบ่งของผู้นั้นไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 10 หรือจนกว่าผู้นั้นจะได้รับส่วนแบ่งของตนไปภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ผู้นั้นได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างไรก็ดีมิให้เกิน 10 ปี
(1) ถ้าผู้ที่สูญไปนั้นมิได้มารับส่วนแบ่งของตนไป ภายในกำหนดในวรรคก่อน ให้นำบัญญัติแห่งมาตรา 194 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
(2) ถ้าผู้ที่สูญไปนั้นไม่มีทายาท ให้มรดกที่กันไว้นั้นตกได้แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดก



การแบ่งมรดกคนสาบสูญ
7/2 2/7 14
1/2 สามี 3 1 6
1/2 พี่สาว 3 1 6
พี่สาวร่วมพ่อ 1 - -
น้องชายร่วมพ่อสาบสูญ - -
ตาย มีชีวิต เก็บ 2



18/4 8/9 72
1/2 สามี 9 3 27
1/3 พี่ชายร่วมแม่ 3 1 9
พี่ชายร่วมแม่ 3 1 9
น้องสาว 1 3 4
พี่ชายสาบสูญ 2 - -
มีชีวิต ตาย เก็บ 23




7/2 2/7 14
1/2 สามี 3 1 6
½ พี่สาว 3 1 6
พี่สาวร่วมพ่อสาบสูญ 1 - -
มีชีวิต ตาย เก็บ 2













*****************************
บทที่ 4
มรดกคนตายหมู่
คนตายหมู่ หมายถึง ทุกๆคนที่ตายหมู่ด้วยเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดพร้อมกัน และไม่ทราบว่าใครตายเป็นคนแรก เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม จมน้ำ สงคราม อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือเครื่องบิน เป็นต้น
ตัวอย่าง สามี ภรรยา และลูกชายทั้งสองได้เสียชีวิตจากตึกถล่ม และไม่ทราบว่าใครเสียชีวิตเป็นคนแรก หรือรู้แต่ก็ลืมไป หรือรู้แต่ไม่ได้เจาะจงว่าใครเป็นลำดับที่เท่าไหร่ และสามีได้ทิ้ง ภรรยาอีกคน แม่ และน้าชาย ส่วนภรรยาได้ทิ้ง ลูกชายจากสามีอีกคน และพ่อ
1. สมมุติว่าสามีเสียชีวิตเป็นคนแรก
48/6 6/3 6/34 288
สามี ตาย -
ภรรยา ภรรยา 3 ตาย -
ลูกชายสองคน ลูกชาย 34 ตาย -
ภรรยา 3 18
แม่ 8 ย่า 1 82
พ่อ 1 3
ลูกชาย 5 พี่ชายร่วมแม่ 1 49
น้าชายร่วมพ่อ 4 136


2. สมมุติว่า ภรรยาเสียชีวิตเป็นคนแรก
24/6 12/3 6/7
ภรรยา ตาย -
สามี สามี 6 ตาย -
ลูกชายสองคน ลูกชาย 7 ตาย -
ลูกชาย 7 พี่ชายร่วมแม่ 1 49
พ่อ 4 24
ภรรยา 3 9
แม่ 4 ย่า 1 19
น้าชาย 5 น้าร่วมพ่อ 4 43

3. สมมุติว่า ลูกชายเสียชีวิตเป็นคนแรก
3/6 6/1 12/1 18
ภรรยา แม่ 1 ตาย -
สามี พ่อ 2 ตาย -
ลูกชายสองคน ตาย - -
พ่อ 1 1
ลูก 5 5
ภรรยา 3 3
แม่ 4 4
น้าชาย 5 5

บทที่ 5
มรดกซ้อน
มรดกซ้อน หมายถึง มีผู้หนึ่งเสียชีวิต และก่อนที่จะมีการแบ่งมรดกของเขานั้น ผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกจากเขาก็ได้เสียชีวิตตามไปไปหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น
ตัวอย่าง เช่น คนหนึ่งเสียชีวิตและมีลูกชายสี่คน และยังไม่มีการแบ่งมรดกของเขา ลูกชายคนแรกก็ตายและเขามีลูกชายสองคน และคนที่สองมีลูกชายสามคน และคนที่สามมีลูกชายสี่คน
4/12 2/6 3/4 4/3 48
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 12
ลูกชาย 1 6
ลูกชาย 1 6
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกสาวที่ไม่ใช่ลูกเธอ และพี่ชาย ก่อนที่จะแบ่งมรดก ลูกสาวได้เสียชีวิตจากสามีและลูกชาย ( ตะมาซุล 4 และ 4 )
8/1 4/1 8
1/8 ภรรยา 1 1
1/2 ลูกสาวที่ไม่ใช่ลูกเธอ 4 ตาย -
ع พี่ชาย 3 3
สามี 1 1
ลูกชาย 3 3



ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกสาวจากเธอ และพี่ชาย และก่อนที่จะแบ่งมรดก ลูกสาวได้เสียชีวิตจากสามีและลูกสาว ( ตะวาฟุก 4 และ 12 )
8/3 12/1 24
1/8 ภรรยา 1 แม่ 2 5
1/2 ลูกสาวจากเธอ 4 ตาย 1 -
ع พี่ชาย 3 น้าชาย 1 10
สามี 3 3
ลูกสาว 6 6


ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกชายและลูกสาวจากเธอ และก่อนแบ่งมรดก ลูกชายเสียชีวิตจากบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น ( ตะบายุน 14 และ 5 )
24/5 5/14 120
1/8 ภรรยา 3 แม่ 2 43
ع ลูกชาย 14 ตาย -
ลูกสาว 7 พี่ชาย 3 77


ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกชายและลูกสาวจากนาง หลังจากนั้นลูกสาวก็ตายจากไป ( ตะบายุน 7 และ 3 )
24/3 3/7 72 9
1/8 ภรรยา 3 แม่ 1 16 2
ع ลูกชาย 14 พี่ชาย 2 56 7
ลูกสาว 7 ตาย - - -






*****************************
บทที่ 6
มรดกเครือญาติ ( ซาวิลอัรฮาม )
เครือญาติ หมายถึง ผู้ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ตายที่ไม่ได้รับสิทธิ์ฟัรฎ หรืออาซอบะห์.

เครือญาติแบ่งเป็น 4 ประเภท
1. ผู้ที่สืบเชื้อสายจากผู้ตาย ( บูนุวะห์ ทางลูก ) ได้แก่
ลูกของลูกสาวผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป
ลูกของลูกสาวของลูกชายผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป

2. ผู้ที่ผู้ตายสืบเชื้อสายมาจากเขา ( อูบูวาะห์ ทางพ่อแม่ ) ได้แก่
ตา และผู้สืบทอดสูงชั้นขึ้นไป เช่น พ่อของแม่ หรือพ่อของพ่อของแม่
ทวดหญิง ได้แก่ ยายผู้ซึ่งอยู่ในตำแหน่งถัดจากผู้ที่มิได้รับส่วนใดๆจากมรดก เช่น แม่ของพ่อของแม่ แม่ของแม่ของพ่อของแม่

3. ผู้สืบญาติทางพ่อแม่ของผู้ตาย ( อูคูวะห์ ทางพี่น้อง ) ได้แก่
ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่ ทั้งชายและหญิง
ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่
ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ และลูกๆของเขาในชั้นต่ำลงไป ทั้งชายและหญิง

4. ผู้สืบญาติทางปู่ย่า ยายของผู้ตาย ( อูมูมะห์ ทางน้าอา ) ได้แก่
น้าอา(พี่น้องชายหญิงของพ่อ)ร่วมแม่ ลุงป้า( พี่น้องชายหญิงของแม่)
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา
น้าอาของพ่อร่วมแม่ ลุงป้าของพ่อ น้าอาของแม่ ลุงป้าของแม่
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา
เครือญาติทั้งหมดนี้จะได้รับมรดกตามลำดับคนที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น เหมือนรับอาซอบะห์บินนัฟซ (ด้วยตัวเอง) คือ ทางลูก ทางพ่อแม่ ทางพี่น้อง หรือทางน้าอา ตามลำดับ

ทรรศนะของผู้รู้เกี่ยวกับการรับมรดกของเครือญาติ
1. เครือญาติรับมรดกได้ โดยมีเงื่อนไขสองข้อ คือ ต้องไม่มีชาวฟัรฎู (ยกเว้นสามีหรือภรรยา) และไม่มีชาวอาซอบะห์
คือ ทรรศนะของท่านอบูฮานีฟะห์ และอะห์มัด อุมัร อาลี อิบนุมัสอูด และอิบนุอับบาซ

หลักฐาน
อัลกุรอ่าน قال الله تعالى
وَالَّذِينَ آمَنُوا مِن بَعْدُ وَهَاجَرُوا وَجَاهَدُوا مَعَكُمْ فَأُولَٰئِكَ مِنكُمْ وَأُولُو الْأَرْحَامِ بَعْضُهُمْ أَوْلَىٰ بِبَعْضٍ فِي كِتَابِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
سورة الأنفال : 75
“และบรรดาผู้ที่ได้ศรัทธาที่หลัง และได้อพยพ และต่อสู้ร่วมกับพวกเจ้านั้น ชนเหล่านี้แหละเป็นส่วนหึ่งของพวกเจ้า และบรรดาญาตินั้น บางส่วนของพวกเขาเป็นผู้สมควรต่ออีกบางส่วน ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง”

หะดีษ ท่านนบี (ซอล) ได้กล่าวว่า
والخال وارث من لا وارث له
และลุง(พี่น้องชายของแม่)นั้น มีสิทธิ์รับมรดก สำหรับผู้ที่ไม่มีญาติอื่นแล้ว

2. เครือญาติรับมรดกไม่ได้ และมรดกนั้นต้องไปสู่คลังอิสลาม (บัยตุลมาล) หากไม่มีผู้รับมรดกแบบฟัรฎูหรืออาซอบะห์
คือ ทรรศนะเดิมของชาวมาลีกียะห์และชาฟีอียะห์ และซัยด์ บินซาบิต ซาอีด บินมุซัยยับ ซาอีด บิน ญุบัยร์ อัลเอาซาอีย์ และอิบนูญารีร

หลักฐาน
มีรายงานจากอบูอาวูดเช่นกันแต่เป็นหะดีษที่ขาดตอน ว่าท่านนบีเคยขอต่ออัลลอฮเกี่ยวกับการแบ่งมรดกของน้า(พี่น้องสาวของพ่อ)และป้า และมีวะห์ยูว่า ไม่ได้อะไรเลยสำหรับทั้งสอง
สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ ซาวิลอัรฮาม(เครือญาติ)มีสิทธิ์รับมรดก วัลลอฮุอะลัม

วิธีการแบ่งมรดกเครือญาติ
1. แบ่งตามลำดับชั้น ( อะห์ลุตตันซีล )
โดยพิจารณาแบ่งมรดกให้ผู้มีสิทธิตามลำดับความใกล้ไกลของเครือญาติโดยธรรมในประเภทนั้น ๆ ถ้าหากว่า ผู้มีสิทธิ์เป็นลูกสาวของลูกสาว ก็รับมรดกในแบบลูกสาว
ถ้าผู้รับมรดกเป็นลูกสาวของพี่ชาย ก็รับมรดกในแบบพี่ชาย เป็นต้น

ยกเว้น ลุงและป้า( พี่น้องชายหญิงของแม่ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบแม่
และ น้าและอา( พี่น้องชายหญิงของพ่อ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบพ่อ ซึ่งท่านอุมัร บิน คอตตอบได้แบ่งมรดกให้อาและป้า โดยแบ่งให้ป้าในสถานะแม่ และอาในสถานะพ่อ และท่านอิบนุมัสอูดก็ได้ตัดสินลักษณะนี้เช่นกัน

ตำแหน่งเครือญาติ
1. ลูก(ชายและหญิง)ของลูกสาว อยู่ในสถานะลูกสาว
2. ลูกของลูกสาวของลูกชาย อยู่ในสถานะลูกชาย
3. ลูกของพี่น้องหญิง อยู่ในสถานพี่น้องหญิง
4. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมพ่อ
5. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมแม่
6. ลูกสาวของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะพี่น้องชาย
7. ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมพ่อ
8. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะลูกชายของพี่น้องชาย
9. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่สถานะลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ
10. ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมแม่
11. น้า(พี่น้องชายของพ่อ)ร่วมแม่ หรือน้าของพ่อ หรือน้าของปู่ อยู่ในสถานะพ่อ
12. อา( พี่น้องหญิงของพ่อ) หรืออาของพ่อ หรืออาของปู่ อยู่ในสถานพ่อ
13. ลูกสาวของน้า อยู่ในสถานะน้า
14. ลูกสาวของน้าร่วมพ่อ อยู่ในสถานะน้าร่วมพ่อ
15. ลูกสาวของน้าร่วมแม่ อยู่ในสถานะน้าร่วมแม่
16. ลูกสาวของลูกชายของน้า อยู่ในสถานะลูกชายของน้า
17. ลูกสาวของลูกชายของน้าร่วมพ่อ อยู่ในสถานะลูกชายของน้าร่วมพ่อ
18. ลูกสาวของลูกชายของน้าร่วมแม่ อยู่ในสถานะลูกชายของน้าร่วมแม่
19. ลุงป้า(พี่น้องชายหญิงของแม่) อยู่ในสถานะแม่
20. ลุงและป้าของพ่อ อยู่ในสถานะแม่ของพ่อ(ย่า)
21. ลุงและป้าของแม่ อยู่ในสถานะแม่ของแม่(ยาย)
22. ทวดชายที่มาจากทางแม่ อยู่ในสถานะแม่
23. ทวดชายที่มาจากทางพ่อ อยู่ในสถานะพ่อ
24. ทวดหญิงที่มาจากทางแม่ อยู่ในสถานะยาย
25. ทวดหญิงที่มาจากทางพ่อ อยู่ในสถานะย่า
26. บุคคลใดที่อยู่ระดับต่ำกว่านี้ ก็จะอยู่ในสถานะบนกว่านี้หนึ่งระดับ
ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้ง ลูกสาวของลูกสาว ลูกชายของน้องสาว และลูกสาวของพี่ชายร่วมพ่อ
2
ลูกสาวของลูกสาว คือ ลูกสาว 1/2 1
ลูกชายของน้องสาว คือ น้องสาว ع 1
ลูกสาวของพี่ชายร่วมพอ คือ พี่ชายร่วมพ่อ م - โดนกันโดยน้องสาว

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่สาว ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อ ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่
และลูกสาวของน้าชาย
6
ลูกสาวของพี่สาว คือ พี่สาว 1/2 3
ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อ คือ น้องสาวร่วมพ่อ 1/6 1
ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่ คือ พี่สาวร่วมแม่ 1/6 1
ลูกสาวของน้า คือ น้า ع 1

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งอา( พี่น้องสาวของพ่อ ) และป้า ( พี่น้องสาวของแม่ )
3
อา คือ พ่อ ع 2
ป้า คือ แม่ 1/3 1

ข้อควรระวัง
1. ไม่มีความแตกต่างระหว่างชายหญิงของการแบ่งมรดกเครือญาติ แม้จะในระดับเดียวกัน
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกชายของลูกสาวสามคน และลูกสาวของลูกสาว
4
ลูกชายของลูกสาว 3 คน คือ ลูกสาว 3 คน 3
ลูกสาวของลูกสาว คือ ลูกสาว 1

2. ลุงและป้าไม่มีสิทธิ์รับมรดกพร้อมกับตา เพราะพ่อกันสิทธิ์พี่น้อง
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือญาติทั้งสองสถานะ จะได้รับสิทธิ์ทั้งสองสถานะ
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่ (และเขาคือลูกชายของน้า) ลูกสาวของลูกชายของน้า
6x2 12
ลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่ พี่ชายร่วมแม่ 1/6 1 2 7
ลูกชายของน้า ع 5 5
ลูกสาวของลูกชายของน้า ลูกชายของน้า 5

2. แบ่งตามความใกล้ชิด ( อะห์ลุลกอรอบะห์ )
การแบ่งด้วยวิธีนี้เป็นการแบ่งแบบมัซฮับฮานาฟียะห์และผู้ที่ทำตามพวกเขา นั่นคือการแบ่งมรดกเครือญาติเหมือนการแบ่งมรดกแบบอาซอบะห์ ให้ผู้ที่ใกล้กว่าเท่านั้น
ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของลูกสาว ลูกสาวของพี่ชาย และลูกสาวของน้า
ลูกสาวของลูกสาว รับมรดกทั้งหมด ทางลูกใกล้ที่สุด
ลูกสาวของพี่ชาย ไม่ได้รับ ทางพี่น้อง
ลูกสาวของน้า ไม่ได้รับ ทางน้าอา

สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ แบ่งตามลำดับชั้น (อะห์ลุตตันซีล) ตามทรรศนะของผู้รู้ส่วนใหญ่ วัลลอฮูอะลัม
ทบทวนท้ายบท
หลังจากจัดการเรื่องสิทธิ์ต่างๆของผู้ตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าทำศพ ชำระหนี้สิน และวาซียัต(พินัยกรรม)
เราจะแบ่งมรดกให้กับบุคคลเหล่านี้ตามลับดับดังนี้
1. ชาวฟัรฎู
2. ชาวอาซอบะห์
3. อัรร๊อดให้ชาวฟัรฎู นอกจากสามีหรือภรรยา
4. ซาวิลอัรฮาม (เครือญาติ)
5. อัรร๊อดให้สามีหรือภรรยา
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه ومن تبعهم بإحسان إلى يوم الدين
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Sun Jun 03, 2012 3:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

الفرائض
القسم الثاني

تأليف
صابر بن عبدالقادر الجالوي







بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على خاتم الأنبياء والمرسلين وعلى آله وصحبه أجمعين ، أمابعد :
อัลฮัมดูลิลลาฮ ด้วยความช่วยเหลือจากเอกองค์อัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอาลา เอกสารประกอบการเรียนวิชาอัลฟารออิฎ แบ่งมรดกอิสลาม เล่ม 2 นี้จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี
อัลฟารออิฎเล่ม 2 นี้ประกอบไปด้วยการแบ่งมรดกของกะเทย ทารกในครรภ์ คนสาบสูญ คนตายหมู่ มรดกซ้อน และเครือญาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเข้าใจ และจดจำพื้นฐานการแบ่งมรดกจากเล่มแรก เพื่อให้การแบ่งมรดกนั้นถูกต้องตามหลักการอิสลามตามที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ ซึ่งพระองค์ได้ให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ที่เชื่อฟังพระองค์ด้วยสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน และผู้ที่ฝ่าฝืนด้วยนรกซึ่งเขาจะต้องอยู่ในนั้นตลอดกาล วัลอิลาซูบิลลาฮ ขออัลลอฮทรงให้เราห่างไกลจากนรกด้วยเถิด
ผู้เขียน ขอต่ออัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอาลาโปรดประทานความดีงามแก่เอกสารเล่มนี้ ยังประโยชน์แก่มวลมุสลิม และขอให้งานเขียนครั้งนี้ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อเอกองค์อัลลอฮซุบฮานาฮูวาตาอา และเป็นหนึ่งในการงานที่ถูกตอบรับด้วยเถิด


ซ ซอบิร บิน อับดุลกอเดร์ อูมา
ผู้เขียน
10 ญามาดิลอาคีร 1433 / 1 พ.ค. 2012




สารบัญ หน้า
บทที่ 1 มรดกกะเทย 4
บทที่ 2 มรดกทารกในครรภ์ 8
บทที่ 3 มรดกคนสาบสูญ 10
บทที่ 4 มรดกคนตายหมู่ 12
บทที่ 5 มรดกซ้อน 15
บทที่ 6 มรดกเครือญาติ 18











บทที่ 1
มรดกกะเทย

กะเทย หมายถึง ผู้ที่มีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิง หรือไม่มีอวัยวะเพศอันใดอันหนึ่งเลย

ความเป็นไปได้ของการเป็นกะเทยมี 4 ทาง
1. ทางลูก 2. ทางพี่น้อง 3. ทางน้าอา 4. ทางปลดปล่อยทาส
ส่วนทางการเป็นพ่อแม่ หรือสามีภรรยา เป็นไปไม่ได้

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 200 ในขณะแบ่งปันมรดก ถ้าทายาทคนใดคนหนึ่งเป็นกะเทย ให้พิจารณาว่ากะเทยนั้นมีเพศใกล้ทางเพศชายหรือเพศหญิง ถ้าใกล้ทางเพศชายให้แบ่งปันแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นชาย ถ้าใกล้ทางเพศหญิง หรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นเพศใด ให้แบ่งปันมรดกแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นหญิง

กะเทยมีสองลักษณะ
1. ผู้มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง
2. ผู้ไม่มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด

สัญลักษณ์ในการทราบเพศกะเทย
1. การปัสสาวะ หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศชาย เขาคือชาย หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศหญิง เขาคือหญิง
หากปัสสาวะจากทั้งสองเพศ ให้สังเกตมาจากอวัยวะเพศไหนก่อน
หากมาพร้อมกัน ให้สังเกตปริมาณที่มากกว่า
หากมาพร้อมกันและปริมาณเท่ากัน ให้รอจนกระทั่งบรรลุศาสนภาวะ

สัญลักษณ์เพศเมื่อบรรลุศาสนภาวะ
สัญลักษณ์เพศชาย คือ เครา หลั่งน้ำอสุจิจากอวัยวะเพศชาย
สัญลักษณ์เพศหญิง คือ เลือดประจำเดือน เต้านมเต่งตึง

ลักษณะการแบ่งมรดกของกะเทย
1. หากเป็นกะเทยที่มีหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริงในอนาคต แต่ญาติๆต้องการให้แบ่ง เช่น ผู้ตายมีลูกชาย ลูกสาว และลูกกะเทย
5/4 4/5 20
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
ลูกชาย 2 2 8 - +2
ลูกสาว 1 1 4 - +1
ลูกกะเทย 2 1 5 +3 -
เก็บไว้ 3

คำอธิบาย เราจะสมมุติว่าลูกกะเทยนั้นเป็นชายหรือหญิง และให้ส่วนที่น้อยที่สุดให้เขาก่อน รอจนกระทั่งทราบแน่ชัดว่าเขาเป็นชายหรือหญิง จึงให้ส่วนที่เหลือกับเขา ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ให้ลูกชายจริง 8 ส่วน ให้ลูกสาวจริง 4 ส่วน และให้ลูกกะเทย 5 ส่วน รอจนทราบแน่ชัด หากลูกกะเทยเป็นชาย ก็ให้อีก 3 ส่วนที่เก็บไว้ให้เขา หรือหากเป็นหญิง ก็ต้องให้ส่วนที่เก็บไว้แก่ลูกชายจริง 2 ส่วน และลูกหญิงจริง 1 ส่วน





2. หากเป็นกะเทยที่ไม่หวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด
2/6 3/4 12
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
ลูกชาย 1 2 7
ลูกกะเทย 1 1 5
คำอธิบาย เราจะให้มรดกแก่ลูกกะเทยนี้ด้วยการให้จำนวนกลางของการสมมุติว่าเป็นชายและหญิง ดังเช่นตัวอย่าง
ลูกชายจริงได้ 6 ส่วน และ 8 ส่วน เราจึงให้ลูกชายจริง 7 ส่วน
ลูกกะเทยได้ 6 ส่วน และ 4 ส่วน เราจึงให้ลูกกะเทย 5 ส่วน จากทั้งหมด 12 ส่วน


ตัวอย่างมรดกกะเทยชายเท่านั้น เช่น ลูกสาวสองคน ลูกกะเทยของพี่น้องชาย และลูกของอา
3/2 3/2 6
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
2/3 ลูกสาว 1 1 2
ลูกสาว 1 1 2
ลูกกะเทยของพี่น้องชาย 1 - 1
ลูกของอา - 1 1

คำอธิบาย ในกรณีนี้ มรดกจะได้แก่กะเทยชายเท่านั้น เพราะหากเป็นหญิงก็จะไม่มีสิทธิ์รับมรดก เพราะลูกสาวของพี่น้องชายไม่มีสิทธิ์รับมรดกเพราะเป็นซาวิลอัรฮาม



ตัวอย่างมรดกกะเทยหญิงเท่านั้น เช่น สามี พี่น้องสาว และลูกกะเทยร่วมบิดา

2/14 7/4 28
หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
½ สามี 1 3 13
พี่น้องสาว 1 3 13
ลูกกะเทยร่วมบิดา - 1 2

คำอธิบาย ในกรณีนี้ มรดกจะได้เฉพาะกะเทยที่เป็นหญิง เพราะหากเป็นชาย เขาก็จะไม่ได้รับมรดกเพราะเขาคือพี่น้องชายร่วมบิดาของผู้ตาย และมีสิทธิ์รับอาซอบะห์ ซึ่งมรดกได้หมดไปแล้ว จากการที่สามีได้หนึ่งส่วนสอง และพี่น้องสาวได้หนึ่งส่วนสอง والله أعلم










*****************************
บทที่ 2
มรดกทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์ หมายถึง ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมนุษย์ผู้ซึ่งสามีของนางได้ตายในขณะที่นางตั้งครรภ์ลูกของเขา ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีสิทธิรับมรดก หรือกันผู้อื่นทุกกรณี หรือมีสิทธิรับมรดกหรือกันผู้อื่นในบางกรณีหากทารกคลอดออกมามีชีวิต
ทารกในครรภ์ที่มีสิทธิรับมรดกอย่างแน่นอนโดยมติเอกฉันท์ (อิจมาอ) ต้องมี 2 เงื่อนไขดังนี้
1. ต้องอยู่ในมดลูกมารดาตอนที่เจ้ามรดกเสียชีวิต แม้เป็นเพียงน้ำอสุจิ
2. ต้องคลอดออกมามีชีวิต
ท่านรอซูลอัลลอฮ ได้กล่าว่า لَا يَرِثُ الصَّبِيُّ حَتَّى يَسْتَهِلَّ صَارِخًا
ความว่า ทารกจะไม่ได้รับมรดก จนกระทั่งเขาร้องส่งเสียง
- อายุครรภ์ที่น้อยที่สุดคือ 6 เดือนโดยมติเอกฉันท์ ( อิจมาอ )
- อายุครรภ์ที่มากที่สุดคือ 4 ปี
การคลอดของทารกมี 3 ลักษณะ
1. ทารกคลอดออกมาเสียชีวิต ไม่มีสิทธิรับมรดก
2. อวัยวะบางส่วนออกมายังมีชีวิต แต่ก็ตายเมื่ออวัยวะอื่นออกมา ไม่มีสิทธิรับมรดก
3. ทารกคลอดออกมามีชีวิต หากคลอดออกมาแล้วร้อง มีสิทธิรับมรดกโดยเอกฉันท์
วิธีที่ดีที่สุดในการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
หากผู้มีสิทธิรับมรดกพอใจที่จะประวิงเวลารอจนทารกคลอดเพื่อที่จะได้ทราบจริงๆว่าทารกคลอดออกมาเป็นเพศชายหรือหญิง และมีจำนวนกี่คน ก็จะเป็นการดีที่สุด เพื่อให้พ้นจากคิลาฟ ( ความเห็นที่แตกต่างของนักวิชาการ ) และจะเป็นการแบ่งเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าหากพวกเขาไม่พอใจและขอให้มีการแบ่งมรดกเราต้องจัดการแบ่งมรดกให้พวกเขา

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 198 ทารกในครรภ์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกตามส่วน เมื่อภายหลังเกิดมารอดอยู่
ในการแบ่งปันมรดก ให้กันส่วนของทารกในครรภ์ไว้ตามส่วนที่เป็นคุณที่สุดแก่ทารกนั้น แต่เมื่อเกิดมาแล้วทารกมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือหรือในกรณีที่ทารกนั้นมิได้เกิดมารอดอยู่ให้แบ่งปันส่วนมรดกนั้นๆ แก่ทายาทของเจ้ามรดก
วิธีการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
3/28 6/14 6/14 12/7 7/12 6/14 84
1/6 แม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
ทารกจากพ่อ - 3 3 6 4 3 - +42
1/3 พี่ชายร่วมแม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
พี่ชายร่วมแม่ 1 1 1 2 1 1 12 +2
ตาย ชาย หญิง ชายสอง หญิงสอง ชายหญิง เก็บไว้48
อธิบาย ทารกจากพ่อผู้ตาย ก็จะหมายถึง พี่น้องของผู้ตายนั่นเอง
และเลขเต็ม 3 6 12 7 6 สามเข้าไปในหก( ตาดาคุล ) หกเข้าไปในสิบสอง แต่สิบสองคูณด้วยเจ็ด( ตาบายุน ) จะได้ 84 ส่วนของแม่มี 28 14 14 14 12 14 ดังนั้นแม่จะได้ส่วนที่น้อยที่สุดก่อนก็คือ 12 ( ส่วนของทารกเป็นหญิงสองคน )
บทที่ 3
มรดกคนสาบสูญ
คนสาบสูญ หมายถึง ผู้ที่เราไม่ทราบข่าวคราวและความเป็นอยู่ของเขา ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือได้ตายไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการเดินทางหรือไม่เดินทาง ถูกฆ่า เรืออัปปาง ถูกจับเป็นเชลย หรือด้วยเหตุใดๆก็ตาม
นักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในกรณีคนสาบสูญ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฮากิม ( ผู้พิพากษาหรือ ดาโต๊ะยุติธรรม )

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 199 ในกรณีที่ปรากฏว่ามีทายาท หรือผู้รับพินัยกรรมผู้ใดสูญไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และมิสามารถทราบได้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตาย ให้กันส่วนแบ่งของผู้นั้นไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 10 หรือจนกว่าผู้นั้นจะได้รับส่วนแบ่งของตนไปภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ผู้นั้นได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างไรก็ดีมิให้เกิน 10 ปี
(1) ถ้าผู้ที่สูญไปนั้นมิได้มารับส่วนแบ่งของตนไป ภายในกำหนดในวรรคก่อน ให้นำบัญญัติแห่งมาตรา 194 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
(2) ถ้าผู้ที่สูญไปนั้นไม่มีทายาท ให้มรดกที่กันไว้นั้นตกได้แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดก



การแบ่งมรดกคนสาบสูญ
7/2 2/7 14
1/2 สามี 3 1 6
1/2 พี่สาว 3 1 6
พี่สาวร่วมพ่อ 1 - -
น้องชายร่วมพ่อสาบสูญ - -
ตาย มีชีวิต เก็บ 2



18/4 8/9 72
1/2 สามี 9 3 27
1/3 พี่ชายร่วมแม่ 3 1 9
พี่ชายร่วมแม่ 3 1 9
น้องสาว 1 3 4
พี่ชายสาบสูญ 2 - -
มีชีวิต ตาย เก็บ 23




7/2 2/7 14
1/2 สามี 3 1 6
½ พี่สาว 3 1 6
พี่สาวร่วมพ่อสาบสูญ 1 - -
มีชีวิต ตาย เก็บ 2













*****************************
บทที่ 4
มรดกคนตายหมู่
คนตายหมู่ หมายถึง ทุกๆคนที่ตายหมู่ด้วยเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดพร้อมกัน และไม่ทราบว่าใครตายเป็นคนแรก เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม จมน้ำ สงคราม อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือเครื่องบิน เป็นต้น
ตัวอย่าง สามี ภรรยา และลูกชายทั้งสองได้เสียชีวิตจากตึกถล่ม และไม่ทราบว่าใครเสียชีวิตเป็นคนแรก หรือรู้แต่ก็ลืมไป หรือรู้แต่ไม่ได้เจาะจงว่าใครเป็นลำดับที่เท่าไหร่ และสามีได้ทิ้ง ภรรยาอีกคน แม่ และน้าชาย ส่วนภรรยาได้ทิ้ง ลูกชายจากสามีอีกคน และพ่อ
1. สมมุติว่าสามีเสียชีวิตเป็นคนแรก
48/6 6/3 6/34 288
สามี ตาย -
ภรรยา ภรรยา 3 ตาย -
ลูกชายสองคน ลูกชาย 34 ตาย -
ภรรยา 3 18
แม่ 8 ย่า 1 82
พ่อ 1 3
ลูกชาย 5 พี่ชายร่วมแม่ 1 49
น้าชายร่วมพ่อ 4 136


2. สมมุติว่า ภรรยาเสียชีวิตเป็นคนแรก
24/6 12/3 6/7
ภรรยา ตาย -
สามี สามี 6 ตาย -
ลูกชายสองคน ลูกชาย 7 ตาย -
ลูกชาย 7 พี่ชายร่วมแม่ 1 49
พ่อ 4 24
ภรรยา 3 9
แม่ 4 ย่า 1 19
น้าชาย 5 น้าร่วมพ่อ 4 43

3. สมมุติว่า ลูกชายเสียชีวิตเป็นคนแรก
3/6 6/1 12/1 18
ภรรยา แม่ 1 ตาย -
สามี พ่อ 2 ตาย -
ลูกชายสองคน ตาย - -
พ่อ 1 1
ลูก 5 5
ภรรยา 3 3
แม่ 4 4
น้าชาย 5 5

บทที่ 5
มรดกซ้อน
มรดกซ้อน หมายถึง มีผู้หนึ่งเสียชีวิต และก่อนที่จะมีการแบ่งมรดกของเขานั้น ผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกจากเขาก็ได้เสียชีวิตตามไปไปหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น
ตัวอย่าง เช่น คนหนึ่งเสียชีวิตและมีลูกชายสี่คน และยังไม่มีการแบ่งมรดกของเขา ลูกชายคนแรกก็ตายและเขามีลูกชายสองคน และคนที่สองมีลูกชายสามคน และคนที่สามมีลูกชายสี่คน
4/12 2/6 3/4 4/3 48
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 ตาย -
ลูกชาย 1 12
ลูกชาย 1 6
ลูกชาย 1 6
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 4
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ลูกชาย 1 3
ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกสาวที่ไม่ใช่ลูกเธอ และพี่ชาย ก่อนที่จะแบ่งมรดก ลูกสาวได้เสียชีวิตจากสามีและลูกชาย ( ตะมาซุล 4 และ 4 )
8/1 4/1 8
1/8 ภรรยา 1 1
1/2 ลูกสาวที่ไม่ใช่ลูกเธอ 4 ตาย -
ع พี่ชาย 3 3
สามี 1 1
ลูกชาย 3 3



ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกสาวจากเธอ และพี่ชาย และก่อนที่จะแบ่งมรดก ลูกสาวได้เสียชีวิตจากสามีและลูกสาว ( ตะวาฟุก 4 และ 12 )
8/3 12/1 24
1/8 ภรรยา 1 แม่ 2 5
1/2 ลูกสาวจากเธอ 4 ตาย 1 -
ع พี่ชาย 3 น้าชาย 1 10
สามี 3 3
ลูกสาว 6 6


ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกชายและลูกสาวจากเธอ และก่อนแบ่งมรดก ลูกชายเสียชีวิตจากบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น ( ตะบายุน 14 และ 5 )
24/5 5/14 120
1/8 ภรรยา 3 แม่ 2 43
ع ลูกชาย 14 ตาย -
ลูกสาว 7 พี่ชาย 3 77


ตัวอย่าง คนหนึ่งเสียชีวิตและทิ้งภรรยา ลูกชายและลูกสาวจากนาง หลังจากนั้นลูกสาวก็ตายจากไป ( ตะบายุน 7 และ 3 )
24/3 3/7 72 9
1/8 ภรรยา 3 แม่ 1 16 2
ع ลูกชาย 14 พี่ชาย 2 56 7
ลูกสาว 7 ตาย - - -






*****************************
บทที่ 6
มรดกเครือญาติ ( ซาวิลอัรฮาม )
เครือญาติ หมายถึง ผู้ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ตายที่ไม่ได้รับสิทธิ์ฟัรฎ หรืออาซอบะห์.

เครือญาติแบ่งเป็น 4 ประเภท
1. ผู้ที่สืบเชื้อสายจากผู้ตาย ( บูนุวะห์ ทางลูก ) ได้แก่
ลูกของลูกสาวผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป
ลูกของลูกสาวของลูกชายผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป

2. ผู้ที่ผู้ตายสืบเชื้อสายมาจากเขา ( อูบูวาะห์ ทางพ่อแม่ ) ได้แก่
ตา และผู้สืบทอดสูงชั้นขึ้นไป เช่น พ่อของแม่ หรือพ่อของพ่อของแม่
ทวดหญิง ได้แก่ ยายผู้ซึ่งอยู่ในตำแหน่งถัดจากผู้ที่มิได้รับส่วนใดๆจากมรดก เช่น แม่ของพ่อของแม่ แม่ของแม่ของพ่อของแม่

3. ผู้สืบญาติทางพ่อแม่ของผู้ตาย ( อูคูวะห์ ทางพี่น้อง ) ได้แก่
ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่ ทั้งชายและหญิง
ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่
ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ และลูกๆของเขาในชั้นต่ำลงไป ทั้งชายและหญิง

4. ผู้สืบญาติทางปู่ย่า ยายของผู้ตาย ( อูมูมะห์ ทางน้าอา ) ได้แก่
น้าอา(พี่น้องชายหญิงของพ่อ)ร่วมแม่ ลุงป้า( พี่น้องชายหญิงของแม่)
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา
น้าอาของพ่อร่วมแม่ ลุงป้าของพ่อ น้าอาของแม่ ลุงป้าของแม่
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา
เครือญาติทั้งหมดนี้จะได้รับมรดกตามลำดับคนที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น เหมือนรับอาซอบะห์บินนัฟซ (ด้วยตัวเอง) คือ ทางลูก ทางพ่อแม่ ทางพี่น้อง หรือทางน้าอา ตามลำดับ

ทรรศนะของผู้รู้เกี่ยวกับการรับมรดกของเครือญาติ
1. เครือญาติรับมรดกได้ โดยมีเงื่อนไขสองข้อ คือ ต้องไม่มีชาวฟัรฎู (ยกเว้นสามีหรือภรรยา) และไม่มีชาวอาซอบะห์
คือ ทรรศนะของท่านอบูฮานีฟะห์ และอะห์มัด อุมัร อาลี อิบนุมัสอูด และอิบนุอับบาซ

หลักฐาน
อัลกุรอ่าน قال الله تعالى
وَالَّذِينَ آمَنُوا مِن بَعْدُ وَهَاجَرُوا وَجَاهَدُوا مَعَكُمْ فَأُولَٰئِكَ مِنكُمْ وَأُولُو الْأَرْحَامِ بَعْضُهُمْ أَوْلَىٰ بِبَعْضٍ فِي كِتَابِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
سورة الأنفال : 75
“และบรรดาผู้ที่ได้ศรัทธาที่หลัง และได้อพยพ และต่อสู้ร่วมกับพวกเจ้านั้น ชนเหล่านี้แหละเป็นส่วนหึ่งของพวกเจ้า และบรรดาญาตินั้น บางส่วนของพวกเขาเป็นผู้สมควรต่ออีกบางส่วน ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง”

หะดีษ ท่านนบี (ซอล) ได้กล่าวว่า
والخال وارث من لا وارث له
และลุง(พี่น้องชายของแม่)นั้น มีสิทธิ์รับมรดก สำหรับผู้ที่ไม่มีญาติอื่นแล้ว

2. เครือญาติรับมรดกไม่ได้ และมรดกนั้นต้องไปสู่คลังอิสลาม (บัยตุลมาล) หากไม่มีผู้รับมรดกแบบฟัรฎูหรืออาซอบะห์
คือ ทรรศนะเดิมของชาวมาลีกียะห์และชาฟีอียะห์ และซัยด์ บินซาบิต ซาอีด บินมุซัยยับ ซาอีด บิน ญุบัยร์ อัลเอาซาอีย์ และอิบนูญารีร

หลักฐาน
มีรายงานจากอบูอาวูดเช่นกันแต่เป็นหะดีษที่ขาดตอน ว่าท่านนบีเคยขอต่ออัลลอฮเกี่ยวกับการแบ่งมรดกของน้า(พี่น้องสาวของพ่อ)และป้า และมีวะห์ยูว่า ไม่ได้อะไรเลยสำหรับทั้งสอง
สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ ซาวิลอัรฮาม(เครือญาติ)มีสิทธิ์รับมรดก วัลลอฮุอะลัม

วิธีการแบ่งมรดกเครือญาติ
1. แบ่งตามลำดับชั้น ( อะห์ลุตตันซีล )
โดยพิจารณาแบ่งมรดกให้ผู้มีสิทธิตามลำดับความใกล้ไกลของเครือญาติโดยธรรมในประเภทนั้น ๆ ถ้าหากว่า ผู้มีสิทธิ์เป็นลูกสาวของลูกสาว ก็รับมรดกในแบบลูกสาว
ถ้าผู้รับมรดกเป็นลูกสาวของพี่ชาย ก็รับมรดกในแบบพี่ชาย เป็นต้น

ยกเว้น ลุงและป้า( พี่น้องชายหญิงของแม่ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบแม่
และ น้าและอา( พี่น้องชายหญิงของพ่อ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบพ่อ ซึ่งท่านอุมัร บิน คอตตอบได้แบ่งมรดกให้อาและป้า โดยแบ่งให้ป้าในสถานะแม่ และอาในสถานะพ่อ และท่านอิบนุมัสอูดก็ได้ตัดสินลักษณะนี้เช่นกัน

ตำแหน่งเครือญาติ
1. ลูก(ชายและหญิง)ของลูกสาว อยู่ในสถานะลูกสาว
2. ลูกของลูกสาวของลูกชาย อยู่ในสถานะลูกชาย
3. ลูกของพี่น้องหญิง อยู่ในสถานพี่น้องหญิง
4. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมพ่อ
5. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมแม่
6. ลูกสาวของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะพี่น้องชาย
7. ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมพ่อ
8. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะลูกชายของพี่น้องชาย
9. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่สถานะลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ
10. ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมแม่
11. น้า(พี่น้องชายของพ่อ)ร่วมแม่ หรือน้าของพ่อ หรือน้าของปู่ อยู่ในสถานะพ่อ
12. อา( พี่น้องหญิงของพ่อ) หรืออาของพ่อ หรืออาของปู่ อยู่ในสถานพ่อ
13. ลูกสาวของน้า อยู่ในสถานะน้า
14. ลูกสาวของน้าร่วมพ่อ อยู่ในสถานะน้าร่วมพ่อ
15. ลูกสาวของน้าร่วมแม่ อยู่ในสถานะน้าร่วมแม่
16. ลูกสาวของลูกชายของน้า อยู่ในสถานะลูกชายของน้า
17. ลูกสาวของลูกชายของน้าร่วมพ่อ อยู่ในสถานะลูกชายของน้าร่วมพ่อ
18. ลูกสาวของลูกชายของน้าร่วมแม่ อยู่ในสถานะลูกชายของน้าร่วมแม่
19. ลุงป้า(พี่น้องชายหญิงของแม่) อยู่ในสถานะแม่
20. ลุงและป้าของพ่อ อยู่ในสถานะแม่ของพ่อ(ย่า)
21. ลุงและป้าของแม่ อยู่ในสถานะแม่ของแม่(ยาย)
22. ทวดชายที่มาจากทางแม่ อยู่ในสถานะแม่
23. ทวดชายที่มาจากทางพ่อ อยู่ในสถานะพ่อ
24. ทวดหญิงที่มาจากทางแม่ อยู่ในสถานะยาย
25. ทวดหญิงที่มาจากทางพ่อ อยู่ในสถานะย่า
26. บุคคลใดที่อยู่ระดับต่ำกว่านี้ ก็จะอยู่ในสถานะบนกว่านี้หนึ่งระดับ
ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้ง ลูกสาวของลูกสาว ลูกชายของน้องสาว และลูกสาวของพี่ชายร่วมพ่อ
2
ลูกสาวของลูกสาว คือ ลูกสาว 1/2 1
ลูกชายของน้องสาว คือ น้องสาว ع 1
ลูกสาวของพี่ชายร่วมพอ คือ พี่ชายร่วมพ่อ م - โดนกันโดยน้องสาว

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่สาว ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อ ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่
และลูกสาวของน้าชาย
6
ลูกสาวของพี่สาว คือ พี่สาว 1/2 3
ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อ คือ น้องสาวร่วมพ่อ 1/6 1
ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่ คือ พี่สาวร่วมแม่ 1/6 1
ลูกสาวของน้า คือ น้า ع 1

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งอา( พี่น้องสาวของพ่อ ) และป้า ( พี่น้องสาวของแม่ )
3
อา คือ พ่อ ع 2
ป้า คือ แม่ 1/3 1

ข้อควรระวัง
1. ไม่มีความแตกต่างระหว่างชายหญิงของการแบ่งมรดกเครือญาติ แม้จะในระดับเดียวกัน
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกชายของลูกสาวสามคน และลูกสาวของลูกสาว
4
ลูกชายของลูกสาว 3 คน คือ ลูกสาว 3 คน 3
ลูกสาวของลูกสาว คือ ลูกสาว 1

2. ลุงและป้าไม่มีสิทธิ์รับมรดกพร้อมกับตา เพราะพ่อกันสิทธิ์พี่น้อง
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือญาติทั้งสองสถานะ จะได้รับสิทธิ์ทั้งสองสถานะ
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่ (และเขาคือลูกชายของน้า) ลูกสาวของลูกชายของน้า
6x2 12
ลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่ พี่ชายร่วมแม่ 1/6 1 2 7
ลูกชายของน้า ع 5 5
ลูกสาวของลูกชายของน้า ลูกชายของน้า 5

2. แบ่งตามความใกล้ชิด ( อะห์ลุลกอรอบะห์ )
การแบ่งด้วยวิธีนี้เป็นการแบ่งแบบมัซฮับฮานาฟียะห์และผู้ที่ทำตามพวกเขา นั่นคือการแบ่งมรดกเครือญาติเหมือนการแบ่งมรดกแบบอาซอบะห์ ให้ผู้ที่ใกล้กว่าเท่านั้น
ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของลูกสาว ลูกสาวของพี่ชาย และลูกสาวของน้า
ลูกสาวของลูกสาว รับมรดกทั้งหมด ทางลูกใกล้ที่สุด
ลูกสาวของพี่ชาย ไม่ได้รับ ทางพี่น้อง
ลูกสาวของน้า ไม่ได้รับ ทางน้าอา

สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ แบ่งตามลำดับชั้น (อะห์ลุตตันซีล) ตามทรรศนะของผู้รู้ส่วนใหญ่ วัลลอฮูอะลัม
ทบทวนท้ายบท
หลังจากจัดการเรื่องสิทธิ์ต่างๆของผู้ตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าทำศพ ชำระหนี้สิน และวาซียัต(พินัยกรรม)
เราจะแบ่งมรดกให้กับบุคคลเหล่านี้ตามลับดับดังนี้
1. ชาวฟัรฎู
2. ชาวอาซอบะห์
3. อัรร๊อดให้ชาวฟัรฎู นอกจากสามีหรือภรรยา
4. ซาวิลอัรฮาม (เครือญาติ)
5. อัรร๊อดให้สามีหรือภรรยา
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه ومن تبعهم بإحسان إلى يوم الدين
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Sun Jun 03, 2012 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัลฟะรออิฎ ภาคสอง

มรดกกะเทย มรดกทารกในครรภ์ มรดกคนสาบสูญ ฯลฯ



2.rar
 คำจำกัดความ:
มรดกกะเทย มรดกทารกในครรภ์ ฯลฯ

ดาวน์โหลด
 ชื่อไฟล์:  2.rar
 ขนาดไฟล์:  36.46 กิโลไบต์
 ดาวน์โหลด:  867 ครั้ง

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Sun Jun 03, 2012 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 1
มรดกกะเทย

กะเทย หมายถึง ผู้ที่มีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิง หรือไม่มีอวัยวะเพศอันใดอันหนึ่งเลย

ความเป็นไปได้ของการเป็นกะเทยมี 4 ทาง
1. ทางลูก 2. ทางพี่น้อง 3. ทางน้าอา 4. ทางปลดปล่อยทาส
ส่วนทางการเป็นพ่อแม่ หรือสามีภรรยา เป็นไปไม่ได้ เพราะการจะเป็นพ่อ แม่ สามี หรือภรรยานั้น ต้องที่ชัดเจนว่าเขาเป็นชายหรือหญิง

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 200 ในขณะแบ่งปันมรดก ถ้าทายาทคนใดคนหนึ่งเป็นกะเทย ให้พิจารณาว่ากะเทยนั้นมีเพศใกล้ทางเพศชายหรือเพศหญิง ถ้าใกล้ทางเพศชายให้แบ่งปันแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นชาย ถ้าใกล้ทางเพศหญิง หรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นเพศใด ให้แบ่งปันมรดกแก่ทายาทในฐานะกะเทยนั้นเป็นหญิง

กะเทยมีสองลักษณะ
1. ผู้มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง
2. ผู้ไม่มีความหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด

สัญลักษณ์ในการทราบเพศกะเทย
1. การปัสสาวะ หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศชาย เขาคือชาย หากปัสสาวะจากอวัยวะเพศหญิง เขาคือหญิง
หากปัสสาวะจากทั้งสองเพศ ให้สังเกตมาจากอวัยวะเพศไหนก่อน
หากมาพร้อมกัน ให้สังเกตปริมาณที่มากกว่า
หากมาพร้อมกันและปริมาณเท่ากัน ให้รอจนกระทั่งบรรลุศาสนภาวะ

สัญลักษณ์เพศเมื่อบรรลุศาสนภาวะ
สัญลักษณ์เพศชาย คือ เครา หลั่งน้ำอสุจิจากอวัยวะเพศชาย
สัญลักษณ์เพศหญิง คือ เลือดประจำเดือน เต้านมเต่งตึง

ลักษณะการแบ่งมรดกของกะเทย
1. หากเป็นกะเทยที่มีหวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริงในอนาคต แต่ญาติๆต้องการให้แบ่ง เช่น ผู้ตายมีลูกชาย ลูกสาว และลูกกะเทย

.....................5/4........................4/5..................20
.............หากเป็นชาย..........หากเป็นหญิง..............................หากเป็นชาย.........หากเป็นหญิง
ลูกชาย ........2 ............................2....................8..........................-.........................+2
ลูกสาว..........1.............................1....................4..........................-.........................+1
ลูกกะเทย......2............................1.....................5........................+3.........................-
....................................................................เก็บไว้ 3

คำอธิบาย เราจะสมมุติว่าลูกกะเทยนั้นเป็นชายหรือหญิง และให้ส่วนที่น้อยที่สุดให้เขาก่อน รอจนกระทั่งทราบแน่ชัดว่าเขาเป็นชายหรือหญิง จึงให้ส่วนที่เหลือกับเขา ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น
ให้ลูกชายจริง 8 ส่วน ( 4x2 หรือ 5x2 แต่ที่น้อยที่สุดคือ 4x2 = 8 )
ให้ลูกสาวจริง 4 ส่วน ( 4x1 หรือ 5x1 แต่ที่น้อยที่สุดคือ 4x1 = 4 )
ให้ลูกกะเทย 5 ส่วน ( 4x2 หรือ 5x1 แต่ที่น้อยทีสุดคือ 5x1= 5 )
และรอจนทราบแน่ชัด หากลูกกะเทยเป็นชาย ก็ให้อีก 3 ส่วนที่เก็บไว้ให้เขา หรือหากเป็นหญิง ก็ต้องให้ส่วนที่เก็บไว้แก่ลูกชายจริง 2 ส่วน และลูกหญิงจริง 1 ส่วน





2. หากเป็นกะเทยที่ไม่หวังว่าจะทราบเพศที่แท้จริง เช่น ตายขณะยังเล็ก หรือบรรลุศาสนภาวะแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏเด่นชัด
.....................2/6..................3/4.................12
...............หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
ลูกชาย..........1.....................2.....................7
ลูกกะเทย......1.....................1.....................5

คำอธิบาย เราจะให้มรดกแก่ลูกกะเทยนี้ด้วยการให้จำนวนกลางของการสมมุติว่าเป็นชายและหญิง โดยเอาฐานของปัญหาไปคูณด้วยสอง ดังเช่นตัวอย่าง คือ ฐานปัญหาคือ 6 x 2 = 12
ลูกชายจริงได้ 6 ส่วน และ 8 ส่วน เราจึงให้ลูกชายจริง 7 ส่วน
ลูกกะเทยได้ 6 ส่วน และ 4 ส่วน เราจึงให้ลูกกะเทย 5 ส่วน จากทั้งหมด 12 ส่วน


ตัวอย่างมรดกกะเทยชายเท่านั้น เช่น ลูกสาวสองคน ลูกกะเทยของพี่น้องชาย และลูกของอา
.......................................3/2.......3/2..................6
........................หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
.......ลูกสาว...........1.....................1.....................2
2/3 ลูกสาว...........1.....................1.....................2
ลูกกะเทยของพี่น้องชาย.1............-....................1
ลูกชายของอา.......-.....................1.....................1

คำอธิบาย ในกรณีนี้ มรดกจะได้แก่กะเทยชายเท่านั้น เพราะหากเป็นหญิงก็จะไม่มีสิทธิ์รับมรดก เพราะลูกสาวของพี่น้องชายเป็นซาวิลอัรฮาม



ตัวอย่างมรดกกะเทยหญิงเท่านั้น เช่น สามี พี่น้องสาว และลูกกะเทยร่วมบิดา

................................2/14...............7/4........................28
............................หากเป็นชาย หากเป็นหญิง
1/2............สามี...........1...................3..........................13
..............พี่น้องสาว.......1...................3..........................13
ลูกกะเทยของบิดา........-...................1............................2

คำอธิบาย ลูกกะเทยร่วมบิดา หากเป็นชายเขาก็คือ พี่น้องชายร่วมบิดา หากเป็นหญิง เธอก็คือ พี่น้องหญิงร่วมบิดา
โดยภาษาอาหรับจะใช้คำว่า أولاد الأم สำหรับพี่น้องชายหญิงร่วมมารดา และ أولاد الأب สำหรับพี่น้องชายหญิงร่วมบิดา

ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ฐานปัญหาคือ 14 x 2 = 28
มรดกจะได้เฉพาะกะเทยที่เป็นหญิง เพราะหากเป็นชาย เขาก็จะไม่ได้รับมรดกเพราะเขาคือพี่น้องชายร่วมบิดาของผู้ตาย และมีสิทธิ์รับอาซอบะห์ ซึ่งมรดกได้หมดไปแล้ว จากการที่สามีได้หนึ่งส่วนสอง และพี่น้องสาวได้หนึ่งส่วนสอง والله أعلم










*****************************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon Jun 04, 2012 3:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 2
มรดกทารกในครรภ์

ทารกในครรภ์ หมายถึง ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมนุษย์ผู้ซึ่งสามีของนางได้ตายในขณะที่นางตั้งครรภ์ลูกของเขา ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีสิทธิรับมรดก หรือกันผู้อื่นทุกกรณี หรือมีสิทธิรับมรดกหรือกันผู้อื่นในบางกรณีหากทารกคลอดออกมามีชีวิต

ทารกในครรภ์ที่มีสิทธิรับมรดกอย่างแน่นอนโดยมติเอกฉันท์ (อิจมาอ) ต้องมี 2 เงื่อนไขดังนี้
1. ต้องอยู่ในมดลูกมารดาตอนที่เจ้ามรดกเสียชีวิต แม้เป็นเพียงน้ำอสุจิ
2. ต้องคลอดออกมามีชีวิต
ท่านรอซูลอัลลอฮ ได้กล่าว่า لَا يَرِثُ الصَّبِيُّ حَتَّى يَسْتَهِلَّ صَارِخًا
ความว่า ทารกจะไม่ได้รับมรดก จนกระทั่งเขาร้องส่งเสียง

- อายุครรภ์ที่น้อยที่สุดคือ 6 เดือนโดยมติเอกฉันท์ ( อิจมาอ )
- อายุครรภ์ที่มากที่สุดคือ 4 ปี

การคลอดของทารกมี 3 ลักษณะ
1. ทารกคลอดออกมาเสียชีวิต ไม่มีสิทธิรับมรดก
2. อวัยวะบางส่วนออกมายังมีชีวิต แต่ก็ตายเมื่ออวัยวะอื่นออกมา ไม่มีสิทธิรับมรดก
3. ทารกคลอดออกมามีชีวิต หากคลอดออกมาแล้วร้อง มีสิทธิรับมรดกโดยเอกฉันท์

วิธีที่ดีที่สุดในการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
หากผู้มีสิทธิรับมรดกพอใจที่จะประวิงเวลารอจนทารกคลอดเพื่อที่จะได้ทราบจริงๆว่าทารกคลอดออกมาเป็นเพศชายหรือหญิง และมีจำนวนกี่คน ก็จะเป็นการดีที่สุด เพื่อให้พ้นจากคิลาฟ ( ความเห็นที่แตกต่างของนักวิชาการ ) และจะเป็นการแบ่งเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าหากพวกเขาไม่พอใจและขอให้มีการแบ่งมรดกเราต้องจัดการแบ่งมรดกให้พวกเขา

หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
มาตรา 198 ทารกในครรภ์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกตามส่วน เมื่อภายหลังเกิดมารอดอยู่
ในการแบ่งปันมรดก ให้กันส่วนของทารกในครรภ์ไว้ตามส่วนที่เป็นคุณที่สุดแก่ทารกนั้น แต่เมื่อเกิดมาแล้วทารกมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือหรือในกรณีที่ทารกนั้นมิได้เกิดมารอดอยู่ให้แบ่งปันส่วนมรดกนั้นๆ แก่ทายาทของเจ้ามรดก

วิธีการแบ่งมรดกทารกในครรภ์
................................3/28.......6/14.........6/14.......12/7..........7/12...........6/14........84
1/6 แม่....................1..............1..............1...............2...............1.................1.............12..........+2
ทารกของพ่อ............-...............3..............3...............6...............4.................3.............-.............+42
1/3 พี่ชายร่วมแม่....1...............1..............1...............2..............1..................1............12...........+2
พี่ชายร่วมแม่...........1...............1..............1...............2...............1.................1.............12..........+2
..............................ตาย..........ชาย..........หญิง.......ชายสอง....หญิงสอง.....ชายหญิง.....เก็บไว้
......................................................................................................................................48

อธิบาย ทารก(ลูก)ของพ่อผู้ตาย ก็จะเป็น พี่น้องของผู้ตายนั่นเอง และแม่ของทารกก็คือ แม่ของผู้ตายนั่นเอง
และเลขเต็ม 3 6 12 7 6 สามเข้าไปในหก( ตาดาคุล ) หกเข้าไปในสิบสอง แต่สิบสองคูณด้วยเจ็ด( ตาบายุน ) จะได้ 84 ส่วนของแม่มี 28 14 14 14 12 14 ดังนั้นแม่จะได้ส่วนที่น้อยที่สุดก่อนก็คือ 12 ( ส่วนของทารกเป็นหญิงสองคน )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ