ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ)
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Thu Apr 05, 2012 10:38 pm    ชื่อกระทู้: อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

الفرائض

تأليف
صابر بن عبدالقادر الجالوي

بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على أشرف الأنبياء والمرسلين ، نبينا محمد الأمين وعلى آله وصحبه أجمعين ، أمابعد :

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ ซุบฮานาฮูวาตาอาลา เอกสารประกอบการเรียนการสอนเล่มนี้ เขียนขึ้นมาเป็นบทสรุปแบบง่าย ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทำความเข้าใจ และนำไปต่อยอดศึกษาเพิ่มเติม จึงอาจไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ

เนื้อหาทั้งหมดจะกล่าวถึงความรู้พื้นฐานของวิชาฟารออิฎ แบ่งมรดกอิสลาม และสูตรการจำแบบง่ายให้เราเข้าใจและจดจำได้ง่ายขึ้น อินชาอัลลอฮ

ผู้เขียน ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ และขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อผู้เป็นทั้งเพื่อนและครูที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในวิชานี้ อ.อิลยาส วารีย์ ขออัลลอฮทรงตอบแทนความดีทุกคน


ซอบิร บิน อับดุลกอเดร์ อูมา
ผู้เขียน
16 รอบีอุลเอาวัล 1433 / 8 ก.พ.2012


สารบัญ หน้า
บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับวิชามรดกอิสลาม 3
บทที่ 2 ประเภทของเครือญาติ 7
บทที่ 3 ฟัรฎู 10
บทที่ 4 อาซอบะห์ 14
บทที่ 5 การกันสิทธิ์ 16
บทที่ 6 การคำนวนทั้ง 4 17
บทที่ 7 การตัซฮีฮทั้ง 4 19
บทที่ 8 รูปแบบปัญหามรดกอิสลาม 20
บทที่ 9 วิธีการแบ่งมรดกอิสลาม 25
บทที่ 10 ปัญหามูชัรรอกะห์ 27
อ้างอิง 29



*******************
บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับวิชามรดกอิสลาม
ความหมายของวิชามรดกอิสลาม ( تعريف علم الفرائض ) วิชามรดกอิสลาม คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิในมรดกว่ามีใครบ้าง และสัดส่วนเท่าไรที่เขาจะได้รับ . ( [1] )

หลักฐานการแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลาม 1. อัลกุรอ่าน
) يوصيكم الله في أولادكم …ومن يعص الله ورسوله ويتعد حدوده يدخله نارا خالدا فيها وله عذاب مهين ( ([2])
) يستفتونك قل الله يفتيكم في الكلاله …والله بكل شيء عليم ( ([3])
2. อัลฮาดีษ ( [4] ) ((الحقوا الفرائض بأهلها فما بقي فأولى رجل ذكر ))
3. อัลอิจมาอฺ อุลามาอฺได้เห็นพ้องต้องกันในการรับมรดกของย่าด้วยอิจติฮาดของท่านอุมัร . ( [5] )

องค์ประกอบของการแบ่งมรดก ( أركان الإرث )
1. เจ้ามรดก
2. ผู้มีสิทธิรับมรดก
3. มรดก


เงื่อนไขของการรับมรดก ( شروط الإرث )
1. มั่นใจว่าเจ้ามรดกได้เสียชีวิต
2. มั่นใจว่าทายาทมีชีวิตหลังจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
3. มีความรู้เรื่องการแบ่งมรดก

สาเหตุที่ทำให้มีสิทธิในการสืบมรดก ( أسباب الإرث )
1. การสมรส หมายถึง การสมรสที่ถูกต้องตามนิติบัญญัติอิสลาม มิใช่ การสมรสตามกฎหมาย
2. สายเลือด หมายถึง ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกในอิสลาม
3. นายทาส หมายถึง ผู้ที่มีทาสอยู่ในครอบครองแล้วได้ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ เมื่อทาสที่เขาปล่อยไปถึงแก่ความตายและไม่มีผู้ใดรับมรดก ผู้ที่ปลดปล่อยเขาก็จะได้มีสิทธิ์รับมรดกของเขาได้

สาเหตุที่ถูกตัดสิทธิจากกองมรดก ( موانع الإرث )
1. การฆ่าเจ้ามรดก ( ليس للقاتل شيء )
4563 รายงานโดย....อาบูดาวูด เชคอัลบานีย์กล่าวว่า ฮาซัน
2. การนับถือศาสนาต่างกัน ( لا يرث المسلم الكافر ولا الكافر المسلم )
2908 รายงานโดย....อาบูดาวูด เชคอัลบานีย์กล่าวว่า ซอฮีฮ
3. การเป็นทาส เพราะทาสไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของ


สิทธิที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก ( الحقوق المتعلقة بالتركة )
1. ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพของผู้ตาย
2. ใช้หนี้สินของผู้ตาย
3. ปฏิบัติตามพินัยกรรม ( الوصية ) ที่ผู้ตายสั่งไว้
4. เอาทรัพย์สินที่เหลือมาแบ่งตามสัดส่วนที่ผู้มีสิทธิได้รับ.

ตัวอย่าง
ผู้ตายมีมรดกทั้งหมดเป็นเงิน 100,000 บาท
-จ่ายค่าจัดการศพ 10,000 บาท เหลือ 90,000 บาท
-ใช้หนี้ให้ผู้ตาย 10,000 บาท เหลือ 80,000 บาท
-ให้ตามวาซียัต ไม่เกิน 1/3 ของที่เหลือจากสองลำดับข้างต้น
เช่น 10,000 บาท เหลือ 70,000 บาท

-เงินที่เหลืออีก 70,000 บาทนี้ จะต้องแบ่งตามวิชามรดกอิสลามต่อไป.......


**************************

บทที่ 2
ประเภทของเครือญาติ
เครือญาติทั้งหมด เราอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ :
1 ) มีสิทธิรับมรดก
2 ) ไม่มีสิทธิรับมรดก ( [6] )
ดังรูป ผู้ชาย 15 คน
มีสิทธิรับมรดก
ผู้หญิง 10 คน
เครือญาติ
ไม่มีสิทธิรับมรดก เราเรียกว่า ซาวิลอัรฮาม ( ذوي الأرحام )

- ผู้ชายที่มีสิทธิรับมรดกมีทั้งหมด 15 คน ดังนี้ :
ปู่
บิดา - อาหรือลุง - อาหรือลุงร่วมบิดา
ลูกชาย ลูกชาย
สามี - นายทาส ผู้ตาย - พี่น้องชาย - พี่น้องชายร่วมบิดา - พี่น้องชายร่วมมารดา

ลูกชาย ลูกชาย ลูกชาย
หลานชาย ( ลูกชายจากลูกชาย )

- ผู้หญิงที่มีสิทธิรับมรดกมีทั้งหมด 10 คน ดังนี้ :
ย่า ยาย
มารดา

ภรรยา - นายทาส ผู้ตาย พี่น้องหญิง - พี่น้องหญิงร่วมบิดา - พี่น้องหญิงร่วมมารดา

ลูกสาว
หลานสาว ( ลูกสาวจากลูกชาย )


ศัพท์สำคัญ 3 คำ
1. อัลฟัรอฺ ( الفرع ) คือ ทายาทผู้ตาย เช่น ลูก หลาน เหลน
2. อัลอัซลฺ ( الأصل ) คือ บรรพบุรุษผู้ตาย เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ทวด
3. อัลฮาวาชีย์ ( الحواشي ) คือ ทุกคนที่ไม่ใช่ อัลฟัรอฺ และ อัลอัซลฺ

กฎสำคัญ 2 ข้อ
1.อัลฟัรอฺและอัลอัซลฺที่เป็นชาย ( ลูกชาย หลานชาย พ่อ ปู่ ) จะกันสิทธิอัลหะวาชีย์ทั้งหมด ยกเว้นสามีภรรยา.
2.อัลฟัรอฺที่เป็นหญิง( ลูกสาว หลานสาว) จะกันสิทธิพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาเท่านั้น.
ตัวอย่าง
1. หากผู้ตายทิ้งบิดา และพี่ชาย พี่ชายจะไม่ได้มรดกเลย เพราะบิดากันไว้
หากผู้ตายทิ้งลูกชาย และน้องสาว น้องสาวจะไม่ได้มรดกเลย เพราะลูกชายกันไว้

2. หากผู้ตายทิ้งลูกสาว และน้องชายร่วมมารดา น้องสาวร่วมมารดาจะไม่ได้มรดกเลย เพราะมีลูกสาวกันไว้.

หากผู้ตายทิ้งมารดา และพี่ชาย พี่ชายยังได้มรดก เพราะมารดากันพี่ชายไม่ได้ .
หากผู้ตายทิ้งลูกสาว และน้องชายร่วมบิดา น้องชายร่วมบิดายังได้มรดก เพราะลูกสาวกันไม่ได้
สังเกต
เครือญาติทั้งหมดกลับไปหาผู้ตาย เช่น บิดา หมายถึง บิดาผู้ตาย , มารดา หมายถึง มารดาผู้ตาย .

เราอาจแบ่งเครือญาติตามสิทธิในการกัน ได้ดังนี้
1. กันคนอื่นได้ แต่คนอื่นกันเขาไม่ได้ ( แข็งแรง ) คือ บิดา มารดา ลูกชาย ลูกสาว
2. กันคนอื่นไม่ได้แต่คนอื่นกันเขาได้ ( อ่อนแอ ) คือ พี่น้องร่วมมารดา
3. กันคนอื่นไม่ได้ และคนอื่นกันเขาไม่ได้ ( ปานกลาง ) คือ สามี ภรรยา
4. กันคนอื่นได้ และคนอื่นกันเขาได้ ( ทั่วไป ) คือ ทุกคนที่เหลือ ( [7] )
นั่นก็หมายความว่า บิดา มารดา ลูกชาย ลูกสาว สามี และภรรยา จะต้องได้รับมรดกทุกครั้ง .
************************
บทที่ 3
ฟัรฎู
เราอาจแบ่งเครือญาติได้อีกรูปแบบ ดังนี้
1. ชาวฟัรฎู ส่วนมากเป็นผู้หญิง ยกเว้นนายทาสหญิงที่รับอาซอบะห์ 9+2=11
2. ชาวอาซอบะห์ ส่วนมากเป็นผู้ชาย ยกเว้นสามีและพี่น้องชายร่วมมารดาที่รับฟัรฎู
13+1=14
3. ซาวิลอัรฮาม ผู้หญิงและผู้ชาย

1. ชาวฟัรฎู หมายถึง บุคคลที่ได้รับสิทธิฟัรฎู ที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน นั่นคือ 1/2 1/4 1/8 2/3 1/3 และ 1/6 . ( [8] )



สถานะทั้ง 40
3322 / 3642 / 573 = 40

กลุ่มที่ 1 3322
บุคคลสิทธิ์ที่ได้รับเงื่อนไขบิดาعไม่มีลูกหลาน عدم الفرع 1/6มีลูกชาย1/6 + عมีลูกสาว มารดา1/3ไม่มีลูกหลานและไม่มีพี่น้อง 2 คนขึ้นไป1/6มีลูกหลานหรือพี่น้อง 2 คนขึ้นไป1/3 بเฉพาะปัญหาที่มี พ่อ แม่ สามี หรือ พ่อ แม่ ภรรยาเท่านั้น สามี1/2ไม่มีลูกหลาน1/4มีลูกหลาน ภรรยา1/4ไม่มีลูกหลาน1/8มีลูกหลาน

กลุ่มที่ 2 3642

บุคคลสิทธิ์ที่ได้รับเงื่อนไขลูกสาว1/2คนเดียว2/32 คนขึ้นไปعอยู่ร่วมกับมูฮัซซิบ คือ ลูกชาย หลานสาว1-3เหมือนลูกสาว1/6มีลูกสาว 1 คน-มีลูกสาว 2 คนขึ้นไป-มีลูกชาย ปู่1-3เหมือนพ่อ-มีพ่อ ย่า,ยาย1/6ทุกกรณี -มีแม่ แม่กันย่าและยาย พ่อกันย่าเท่านั้น


กลุ่มที่ 3 573
บุคคลสิทธิ์ที่ได้รับเงื่อนไขพี่น้องสาว1/2มีคนเดียว2/3มีหลายคนعมีมูอัซซิบ คือ พี่น้องชายعมีมูอัซซิบ คือ ลูกสาว หรือ หลานสาว-มีฟัรอฺหรืออัซลฺชาย ( ลูกชาย หลานชาย พ่อ ปู่ )พี่น้องสาวร่วมบิดา1-5เหมือนพี่น้องสาว1/6เมื่อมีพี่น้องสาว 1 คน-เมื่อมีพี่น้องสาว 2 คนขึ้นไป หรือเมื่อมีพี่น้องชายพี่น้องชายหญิงร่วมมารดา1/3มี 2 คนขึ้นไป 1/6มีคนเดียว -เมื่อมีฟัรอูหรืออัซลูชาย ( ลูกชาย หลานชาย พ่อ ปู่ )
หรือฟัรอูหญิง ( ลูกสาว หลานสาว ) หมายเหตุ :
1/ ع , ب หมายถึง ได้รับอาซอบะห์ ( ส่วนที่เหลือจากชาวฟัรฎู )
2/ - หมายถึง ไม่ได้รับมรดกเลย .
3/ หากเราสังเกต เราจะทราบว่า สถานะทั้ง 40 นั้น รวบรวมบทฟัรฎู อาซอบะห์ และฮาญับ ( การกันสิทธิ์ ) ไว้ในเรื่องเดียวกัน ดังนั้น หากใครจำ และเข้าใจสถานะทั้ง 40 นี้อย่างครบถ้วน เขาก็จะเข้าใจพื้นฐานวิชามรดกอิสลาม ได้เกือบทั้งหมดทีเดียว.
3+3+2+2+ 3+6+4+2 5+7+3 = 40
***********************

บทที่ 4
อาซอบะห์
2. ชาวอาซอบะห์ หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกทั้งหมดหากเหลือตัวคนเดียว และเป็นบุคคลที่จะได้รับส่วนที่เหลือจากชาวฟัรฎูหากเขาอยู่ร่วมกับชาวฟัรฎู . ( [9] )

ประเภทของอาซอบะห์
1. บินนัฟซ ( โดยตนเอง ) คือ ผู้ชายทุกคน ยกเว้นสามีและพี่น้องชายร่วมมารดา ะผู้หญิงคือ นายทาสหญิง รวมทั้งสิ้น 14 คน
2. บิลฆอยร ( โดยผู้อื่น ) คือ ลูกสาว หลานสาว พี่น้องสาว และพี่น้องสาวร่วมบิดา เมื่อเมื่ออยู่ร่วมกับผู้ชายระดับเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 4 คน
3. มาอัลฆอยร ( ร่วมกับผู้อื่น)คือ พี่น้องสาว และพี่น้องสาวร่วมบิดา เมื่ออยู่ร่วมกับลูกสาวหรือหลานสาว. รวมทั้งสิ้น 2 คน

หมายเหตุ : อาซอบะห์นั้น สำหรับผู้ที่ใกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเท่านั้น فما بقي فأولى رجل ذكر
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครใกล้ชิดผู้ตายมากที่สุด ?





กฎ 2 ข้อเรื่องอาซอบะห์
1/ สายสัมพันธ์ความใกล้ชิด
ลูก พ่อ พี่น้องชาย อาน้าชาย นายทาส
ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกชาย และอา : มรดกทั้งหมดได้กับลูกชาย เพราะลูกใกล้กว่าอา
ผู้ตายทิ้งพี่ชาย และอา : มรดกทั้งหมดได้กับพี่ชาย เพราะพี่ชายใกล้กว่าอา
ผู้ตายทิ้งอา และนายทาส : มรดกทั้งหมดได้กับอา เพราะอาใกล้กว่านายทาส
แล้วถ้าหากผู้ตายทิ้งลูกของพี่ชาย และน้องชายร่วมบิดา ใครได้รับอาซอบะห์ ?

2/ สายสัมพันธ์ความใกล้ชิด ระดับ ความเข้ม
ตัวอย่าง หากสายสัมพันธ์ต่างกัน สังเกตสายสัมพันธ์ใกล้กว่า
เช่น บิดา หลานชาย , มรดกที่เหลือได้กับหลานชาย
หากสายสัมพันธ์เท่ากัน สังเกตระดับ
เช่น ลูกของพี่ชาย น้องชายร่วมบิดา , มรดกทั้งหมดได้กับน้องชายร่วมบิดา
หากสายสัมพันธ์และระดับเท่ากัน สังเกตความเข้ม
เช่น น้องชาย พี่ชายร่วมบิดา , มรดกทั้งหมดได้กับน้องชาย.


***********************
บทที่ 5
การกันสิทธิ์ ( الحجب )
การกันสิทธิ์ หมายถึง การกันสิทธิ์บุคคลหนึ่งจากกองมรดก ไม่ว่าจะเป็นการกันทั้งหมด หรือเป็นการกันเพียงบางส่วน สาเหตุเพราะมีคนหนึ่งกันไว้ หากกันทั้งหมด เรียกว่า ฮาญับฮิรมาน หากกันเพียงบางส่วน เรียกว่า ฮาญับนุกซอน . ( [10] )

ประเภทของการกันสิทธิ์
1/ ฮาญับเอาซอฟ ( ถูกกันเพราะลักษณะ ) คือ ฆ่าเจ้ามรดก ,เป็นทาส,และศาสนาต่างกัน
2/ ฮาญับอัชคอซ ( ถูกกันเพราะบุคคล ) คือ
2.1 นุกซอน ( บางส่วน )
2.2 ฮิรมาน ( ทั้งหมด )

ความแตกต่างระหว่างฮาญับเอาซอฟและฮาญับอัชคอซ
ฮาญับเอาซอฟ เช่น ผู้ตายทิ้งลูกที่ตกศาสนา และมารดา , มารดาจะได้ 1/3
ฮาญับอัชคอซ เช่น ผู้ตายทิ้งลูกชาย และมารดา , มารดาจะได้ 1/6

ตัวอย่างฮาญับนุกซอน และฮาญับฮิรมาน
ฮาญับนุกซอน เช่น มารดาได้รับ 1/3 แต่หากมีลูกชาย มารดาได้ 1/6 เท่านั้น คือได้น้อยลง
ฮาญับฮิรมาน เช่น ลูกชายสามารถกันหลานสาวได้ หลานสาวจะไม่ได้อะไรเลย.
***********************

บทที่ 6
การคำนวณทั้ง 4

1/ ส่วนที่เหมือนกัน ( تماثل )
ตัวอย่าง
21/2 สามี11/2 พี่น้องสาว1 1/2 , 1/2 เหมือนกัน เอา 2 มาวางได้เลย.

2/ ส่วนร่วมกัน ( تداخل )
ตัวอย่าง
61/3 มารดา21/6 พี่สาวร่วมมารดา1 عน้าชาย3 1/3 , 1/6 เลข3 เข้าในเลข 6 นำ 6 มาวางได้เลย.


3/ ส่วนควบกัน ( توافق )
ตัวอย่าง
121/4 ภรรยา31/6 พี่ชายร่วมมารดา2عอาชาย7 1/4 ,1/6 หาครน.ได้ 12 นำ 12 มาวางไว้.

4/ ส่วนต่างกัน ( تباين )
ตัวอย่าง
121/3 มารดา41/4 ภรรยา3عอาชาย5 1/3,1/4 หาครน.ได้ 12 นำ 12 มาวางไว้.



***********************
บทที่ 7
การตัซฮีฮ หมายถึง การหาค่าลงตัวที่น้อยที่สุดให้ผู้มีสิทธิ์แต่ละคน โดยไม่ต้องหาร. ( [11] )
1/ ส่วนที่เหมือนกัน (تماثل )
3/392/3 ลูกสาว 3 คน26 عพี่ชาย 3 คน13
2/ ส่วนร่วมกัน( تداخل )
3/9272/3 ลูกสาว 9 คน218 عพี่ชาย 3 คน19
3/ ส่วนควบกัน(توافق )
3/12362/3 ลูกสาว 8 คน224 عพี่ชาย 6 คน112
4/ ส่วนต่างกัน (تباين )
3/12362/3 ลูกสาว 8 คน224 عพี่ชาย 3 คน112
บทที่ 8
รูปแบบปัญหามรดกอิสลาม

ปัญหามรดกอิสลาม แบ่งเป็น 3 รูปแบบ :
1 ) ปัญหาอาดิละห์
41/4 สามี1 ع ลูกชาย32 ) ปัญหาซาอิดะห์ ( อัลอาวล์ )
3 ) ปัญหานากิเซาะห์ ( อัรร็อด )


การเพิ่มส่วน อัลอาวล์ ( العول )
อัลอาวล์ คือ การเพิ่มส่วนแบ่งของกองมรดก และลดส่วนแบ่งของทายาททุกคน. ( [12] )
ตัวอย่าง
671/2 สามี331/2 พี่สาวร่วมบิดามารดา331/6 ยาย11
ส่วนเหลือ อัรร็อด ( الرد )
อัรร็อด คือ การลดส่วนแบ่งของกองมรดก และเพิ่มส่วนแบ่งของทายาทให้มากขึ้น.( [13] ) ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องมีส่วนเหลือจากฟัรฎู
2. ไม่มีผู้รับอาซอบะห์
3. สามี ภรรยาจะไม่ได้มากกว่าสิทธิของพวกเขา


หลักฐาน
อัลลอฮทรงตรัสว่า ( وأولوالأرحام بعضكم أولى ببعض في كتاب الله ) الأنفال : 75
ความว่า " และญาติทางสายโลหิตบางคนมีสิทธิมากกว่าอีกบางคนในคัมภีร์ของอัลลอฮ ."








อัรร็อด
1/ ไม่มีสามีหรือภรรยา

ทายาทคนเดียว
1ลูกสาว1

ทายาทหลายคนและชนิดเดียวกัน
3ลูกสาว 3 คน3

ทายาทหลายคนแต่ต่างชนิดกัน
65/315 1/6 ยาย 3 คน113 2/3 ลูกสาว 3 คน4412


2/ มีสามีหรือภรรยา
ทายาทคนเดียว
4 1/4 ภรรยา1 มารดา3
ทายาทหลายคนและชนิดเดียวกัน
4 1/4 สามี1 ลูกสาว 3 คน3


ทายาทหลายคนแต่ต่างชนิดกัน
24191/8 ภรรยา331/2 ลูกสาว12121/6 หลานสาว44***ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะ ภรรยาได้มากกว่า 1/8 กล่าวคือ 1/8 ของ19 ต้องน้อยกว่า 3 ไม่ใช่ 3


ต้องใช้วิธีที่ สอง
8x464x7321/8 ภรรยา1 4 7 1/2 ลูกสาว3321 1/6 หลานสาว117
จะสังเกตเห็นว่า ภรรยาจะได้ 1/8 ของ 32 พอดี นั่นคือ 4 .


*****************

บทที่ 9
วิธีแบ่งมรดก

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งมารดา ลูกสาว และน้าชาย
61/6 มารดา11/2 ลูกสาว3ع น้าชาย2
- หากมีมรดกอยู่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด 6 แสนบาท มารดาจะได้ 1 แสนบาท ลูกสาวจะได้ 3 แสนบาท และน้าชายจะได้ 2 แสนบาท

-แต่หากมรดกมีอยู่ 2 ล้าน 4 แสนบาทล่ะ จะทำอย่างไร ?
วิธีทำ เอาส่วนที่ได้คูณกับมรดก แล้วหารกับจำนวนทั้งหมด
มารดา 1/6 x 24 = 4 แสนบาท
ลูกสาว 3/6 x 24 = 12 แสนบาท
น้าชาย 2/6 x 24 = 8 แสนบาท




หรืออีกวิธี คือ เอาส่วนทั้งหมดหารมรดก แล้วค่อยเอาผลที่ได้มาคูณกับส่วนที่ได้ของ แต่ละคน
วิธีทำ
24 ÷ 6 = 4

มารดา 4x1 = 4 แสนบาท
ลูกสาว 3x4 = 12 แสนบาท
น้าชาย 2x4 = 8 แสนบาท

หมายเหตุ วิธีแรกจะดีกว่าวิธีที่สอง เพราะวิธีที่สองอาจเอาส่วนทั้งหมดมาหารมรดกไม่ลงตัว จะทำให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนได้ .



************************


บทที่ 10
ปัญหามูชัรรอกะห์

ปัญหามูชัรรอกะห์ หมายถึง ปัญหาที่ชาวอาซอบะห์ไม่ได้รับมรดก เพราะชาวฟัรฎูรับ ไปหมดแล้ว . ( [14] )

ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้
1. สามี
2. ย่า ยาย หรือ มารดาที่ได้รับ 1/6
3. พี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา
4. พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป

รูปแบบปัญหา
ทรรศนะฮานาฟียะห์ และ ฮานาบีละห์
61/2 สามี31/6 มารดา11/3 พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป2عพี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา-

ทรรศนะของมาลีกียะห์ และ ชาฟีอียะห์
6/3181/2 สามี391/6 มารดา131/3 พี่น้องชายหญิงร่วมมารดา 2 คนขึ้นไป
ร่วมกับพี่น้องชายร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดา242
หมายเหตุ ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะ พี่น้องชาย ( ร่วมบิดามารดา )ไม่ได้สิ่งใดเลยจากกองมรดก ( เขาเป็นชาวอาซอบะห์) เพราะไม่มีส่วนเหลือ ทั้ง ๆ ที่เขามีความใกล้ชิดกับผู้ตายมากกว่าพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาเสียอีก แต่พี่น้องชายหญิงร่วมมารดากลับได้มรดก , ท่านคอลีฟะห์อุมัร บุตรคอตตอบ จึงวินิจฉัยแบ่งให้ والله أعلم بالصواب

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات ،
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين ،
والحمد لله رب العالمين .



*******************

อ้างอิง

( [1] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 13
( [2] ) ซูเราะห์ อันนิซาอฺ 11-14
( [3] ) ซูเราะห์ อันนิซาอฺ 176
( [4] ) ซอฮีฮ อัลบุคอรี 6/2476
( [5] ) ฮาชียะห์ อิบนุ อาบีดีน 6/758
( [6] ) ในทรรศนะของมาลีกียะห์ และชาฟีอียะห์
( [7] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฏียะห์ หน้า 130
( [8] ) อัลมูฮัซซับโดยอัชชีรอซี 2/25
( [9] ) อัลวาซีต โดยฆอซาลี 4/346
( [10] ) อัตตะรีฟาต โดย อัลญัรญานีย์ หน้า 111
( [11] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฏียะห์ หน้า 162
( [12] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 165
( [13] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 250
( [14] ) อัตตะห์กีกอต อัลมัรฎียะห์ หน้า 131

*******************
แบบฝึกหัด วิชา อัลฟารออิฎ แบ่งมรดกอิสลามแบบง่ายๆ
Part I จงตอบว่าแต่ละคนมีสิทธิ์ได้เท่าไร เช่น แม่ได้ 1/3 พ่อได้ อาซอบะห์
คำถาม.......มีคนหนึ่งตาย และได้ทิ้ง...
1. พ่อ แม่ สามี ลูกชาย ?
‎2. พ่อ แม่ ภรรยา ลูกชาย ?
3. พ่อ แม่ ปู่ พี่น้องชายร่วมบิดามารดา ?
‎4. สามี ลูกสาว ลูกชาย ?
‎5. ภรรยา ปู่ แม่ หลานสาวสองคน ?
‎6. สามี ลูกสาวสามคน พี่ชายร่วมบิดามารดา แม่ ?
7. พ่อ แม่ ปู่ ย่า ยาย ลูกสาว ลูกชาย สามี ?
‎8. ภรรยา ปู่ ลูกสาว หลานสาว หลานชาย น้องชายร่วมบิดามารดา?
‎9. ภรรยาสองคน ปู่ ยาย หลานสาวสามคน?
‎10. พ่อ แม่ พี่ชายร่วมบิดามารดา น้องชายร่วมบิดามารดา สามี ลูกชาย ลูกสาว ลุง ป้า น้า อา ย่า ยาย หลานสาว ?
‎11. สามี ภรรยา ลูกชาย ลูกสาว ?
‎12. สามี ลูกสาวสามคน หลานสาวสองคน แม่ ปู่ ?
13. ภรรยา แม่ หลานสาวสองคน น้องชายร่วมบิดามารดา ปู่ ย่า?
14. ลูกชาย หลานสาวสามคน ยาย ปู่ ภรรยา?
15. พี่น้องชายร่วมมารดา ลูกสาว หลานสาว สามี แม่ ?
‎16. พี่น้องชายร่วมบิดา หลานสาว ภรรยา ยาย ?
17. แม่ สามี ลูกสามี ลูกสาว ลุง ยาย?
‎18. หลานสาว ยาย ภรรยา พี่น้องร่วมมารดา พี่น้องชายร่วมบิดา ?
19. พ่อ ลูกชาย ปู่ แม่ ภรรยา ลูกสาว หลานสาวสองคน?
‎20. สามี นายทาส แม่ หลานสาวสามคน ยาย?
21. สามี ปู่ แม่ ลูกสาว?
‎22. ลูกสาว หลานสาว ยาย ?
‎23. พ่อ แม่ ปู่ ลูกชาย?
‎24. พ่อ แม่ ตา ยาย ภรรยา ลูกชาย?
‎25. สามี น้องชายร่วมบิดา ย่า ?

Part II
26. ภรรยาสองคน พี่สาวร่วมมารดา หลานสาว?
‎27. ภรรยา ลูกสาวสามคน หลานสาว แม่ ?
‎28. พ่อ ปู่ แม่ ยาย ภรรยา ลูกสาวสองคน?
‎29. พ่อ แม่ ภรรยา ?
30. พ่อ แม่ สามี ?
31. สามี ลูกสาว หลานสาวสามคน ปู่ ยาย?
‎32. ภรรยา ลูกสาว หลานสาวสองคน พ่อ ย่า?
‎33. ลูกชาย พ่อ แม่ ภรรยา ปู่ หลานสาว?
‎34. ลูกสาวสี่คน หลานสาว สามี พ่อ แม่?
‎35. แม่ พี่ชายร่วมมารดา ลูกสาว หลานสาว หลานชาย?
‎36. ยาย พ่อ แม่ พี่ชายสี่คน ?
‎37. ลูกสาว หลานสาว ภรรยา ลูกชาย?
38. ปู่ น้องชายร่วมบิดาสองคน ลุกสาว แม่ ?
‎39. น้องชายสองคน ลูกสาว หลานสาว แม่ ภรรยา?
40. ลูกสามี ลูกสาว หลานสาว พ่อ แม่ ยาย ย่า ?
41. ภรรยา ลูกสาว หลานสาว 2 คน ปู่ ย่า ?
‎42. พ่อ ลูกสาว ลูกชาย สามี พี่ชาย ?
‎43. สามี แม่ ลูกสาวสองคน หลานสาวสองคน พี่สาว?
44. ภรรยา ยาย ลูกสาวสามคน ลูกชาย พี่สาวร่วมมารดา?
45. ภรรยา น้องสาว พี่สาวร่วมบิดาสองคน พี่ชายร่วมมารดาสองคน?
‎46. สามี แม่ หลานสาว พี่ชายร่วมมารดา?
‎47. ภรรยา พี่สาว น้องชายสองคน แม่ ย่า ยาย?
‎48. สามี ลูกชาย พี่สาวร่วมบิดา พี่สาวร่วมมารดา ยาย?
‎49. ภรรยา แม่ พี่ชาย พี่สาวร่วมบิดา ย่า?
50. ภรรยา ลูกสาว พี่ชาย น้องชายร่วมมารดาสองคน ย่า ?

Part III
51. สามี พ่อ ปู่ ลูกสาวสองคน พี่สาวร่วมมารดาสองคน?
‎52. พ่อ แม่ สามี ลูกสาว หลานสาว ปู่ ยาย พี่สาว พี่สาวร่วมบิดา พี่สาวร่วมมารดา?
‎‎53. แม่ ลูกสาวสามคน พี่ชาย?
‎54. สามี ลูกชาย ลูกสาวสองคน ?
‎55. สามี แม่ ยาย พี่สาวสองคน อา?
‎56. ภรรยา ลูกชาย ลูกสาว หลานสาว ยาย?
‎57. สามี พ่อ ปู่ แม่ ลูกสาวสามคน?
58. สามี พ่อ แม่ ลูกสาวสองคน?
59. ภรรยา แม่ ลูกสาวสองคน หลานสาว พี่สาว?
‎60. แม่ ลูกสาว หลานสาวสามคน พี่สาว ?
‎61. พ่อ ลูกชาย ลูกสาว ยาย?
‎62. ลูกสาวสี่คน ลูกชายหนึ่ง แม่?
63. หลานสาวสามคน พี่ชาย?
‎64. หลานสาวสี่คน พี่ชาย อา นายทาส?
‎65. ลูกของพี่ชาย อา พี่ชายร่วมบิดา ย่า?
‎66. พ่อ แม่ สามี ลูกชาย?
‎67. แม่ ลูกสาว น้องสาว ?
‎68. แม่ สามี ลูกสาว หลานสาว?
69. แม่ ภรรยา หลานสาว พี่ชายร่วมบิดา?
70. แม่ พี่ชายร่วมมารดา พี่สาวร่วมมารดา พี่ชาย ?

Part IV จงตอบว่าแต่ละคนมีสิทธิ์เท่าไร และได้มรดกเท่าไร??
เช่น พ่อ 1/6 ได้หนึ่งล้านบาท ลูกชาย อาซอบะห์ ได้ห้าล้านบาท
‎71. ลูกสาว ลูกชาย???? มรดกสามล้านบาท?
72. ลูกสาว ???? มรดกสองล้านบาท????
73. ลูกสาว แม่ สามี??? มรดกสามล้านบาท????
‎74. แม่ ลูกสาว หลานสาวสองคน???? มรดกสี่ล้านบาท???
75. ภรรยา แม่ ลูกสาว พี่ชาย???? มรดกสิบล้านบาท????
‎76. ภรรยาสองคน แม่ ลูกสาวสามคน ??????มรดกสิบล้านบาท???
‎77. สามี แม่ หลานสาว พี่ชาย????? มรดกสวนยางหนึ่งร้อยไร่????
78. ภรรยา พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาวสองคน???? มรดกสวนยางห้าสิบไร่????
79. ภรรยา ลูกสาวเจ็ดคน???? มรดกหนึ่งล้านหกแสนบาท?????
80. สามี แม่????? มรดกสี่ล้านบาท???
81. ภรรยา แม่ ลูกสาวสองคน อา ????? มรดกห้าแสนบาท????
82. สามี ลูกสาว หลานสาว???? มรดกสามล้านบาท????
83. พ่อ ลูกสาว ลูกชาย สามี ???? มรดกแปดแสนบาท??
84. ลูกสาว หลานสาว พี่สาว น้องสาวร่วมบิดา?? มรดกสองแสนบาท??
85. ลูกสาว หลานสาว แม่ พี่ชาย น้องชาย????มรดกสี่แสนบาท??
‎86. ผู้ตาย ทิ้ง ... แม่ สามี หลานสาว พี่สาวร่วมบิดามารดา 3 คน ..(มรดก 9 ล้านบาท) ??
‎87. ผู้ตายทิ้ง ... ปู่ ภรรยา ลูกสาว พี่น้องชายร่วมบิดามารดา 3 คน ... (มรดก 1 ล้าน 2 แสนบาท) ??
88. ผู้ตาย มีทรัพย์สิน (หลังจากจัดการศพ) 140,000 บาท ... ทิ้ง ลูกชาย 1 คน ลูกสาว 2 คน ปู่ และ หนี้สิน 20,000 บาท ..
‎‎89. ผู้ตาย มีทรัพย์สิน (หลังจากจัดการศพ) 3 แสนบาท .. ทิ้ง พ่อ แม่ ปู่ น้องสาว น้องชาย ลูกของน้องสาว ... และผู้ตายได้ วะซิยะฮฺ ไว้ ให้กับ น้องชาย และ ลูกจากน้องสาว คนละ 70,000 บาท
90. ผู้ตาย มีทรัพย์สิน(หลังจากจัดการศพ) 2 ล้านบาท ...ทิ้ง แม่ ตา น้องสาว ลูกของน้องสาว 2 คน น้องชาย และผู้ตายได้ วะซิยะฮฺไว้ ให้กับน้องชาย 1 แสนบาท และ หลานชาย สองคน คนละ 5 หมื่นบาท.
‎91. นายสุพจน์ ทับท้อม โดนคนร้าย(ปล้นบ้าน) ยิงเสียชีวิต โดยทิ้งผู้ตายทิ้ง
แม่ ภรรยา ลูกสาว พ่อ หลานสาว2คน พี่ชาย น้องชายร่วมมารดา
มรดก 200 ล้านบาท
92. นายทักษิณ เสียชีวิต มรดก121 ล้านบาท โดยผู้ตายทิ้ง
ภรรยา ลูกสาว2คน ลูกชาย น้องสาว วาซียัตไห้ เพื่อนเลิฟ ฮุนเซ็น1 ล้านบาท
‎93. ปู ยิ่งและ เสียชีวิต มรดก 12.5 ล้านบาท(12ล้าน 5 แสน) โดยทิ้งผู้ตาย
ปู่ สามี ลูกชาย พี่สาว พี่สาวต่างมารดา วาซียัตไห้พี่ชาย(ทักษิณ) 5แสนบาท
‎94. ปู่ ย่า ยาย แม่ สามี ลูกสาว2 ลูกชาย1 หลานสาว1 เหลนสาว1
มรดก ไร่องุ่น 4,800 ไร่
95. ภรรยา ลูกชาย2 ลูกสาว4 หลานสาว4 พี่ชาย พี่สาว มรดกสวนยางห้าสิบไร่
‎96. ภรรยา 2 คน แม่ ลูกสาว 2 คน
มรดก สิบสองล้านบาท?
97.สามี แม่ พ่อ มรดก 590,736
มรดก 32 ล้านบาท และ ไร่สตอเบอร์รี่ 160ไร่
‎98.พ่อ ลูกสาว 2คน ลูกชาย 3คน มรดก 4,731,072 ยูโร
‎99. ภรรยา 3คน ตา แม่ ยาย ย่า ลูกสาว 5คน หลานสาว 6คน มรดก 308,400 จ๊าด
100. ลูกสาว 3คน ภรรยา 2คน ลุงมรดก 2,194,052,544 กีบ

*************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Thu Apr 05, 2012 11:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอกสารอัลฟารออิฎ....บน Word


.zip
 คำจำกัดความ:
เอกสารอัลฟารออิฎ....บน Word

ดาวน์โหลด
 ชื่อไฟล์:  .zip
 ขนาดไฟล์:  65.2 กิโลไบต์
 ดาวน์โหลด:  1234 ครั้ง

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Thu Apr 05, 2012 11:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองโหลดไปฟังครับ.....ประกอบการอ่านจากเอกสารครับ....จะได้เ้ข้าใจมากขึ้นครับ อินชาอัลลอฮ ( สอนทาง Skype ครั้งแรกอาจตะกุกตะกักไปบ้างครับ......ขอมาอัฟมา ณ ที่นี่ครับ Very Happy

2. ไฟล์เสียงคาบแรก ( บทนำเกี่ยวกับวิชามรดกอิสลาม ประเภทของเครือญาติ ) http://www.sendspace.com/file/q7iz1h

3. ไฟล์เสียงคาบสอง ( กฎสำคัญ ฟัรฎู 3322 ) http://www.sendspace.com/file/u8ef55

4. ไฟล์เสียงคาบสาม ( 3642 )http://www.sendspace.com/file/q9rcqn

5. ไฟล์เสียงคาบสี่ ( 573 ) http://www.sendspace.com/file/n3xhl1

6. ไฟล์เสียงคาบห้า ( อาซอบะห์ การกันสิทธิ์ การคำนวณ และการตัซฮีฮ )http://www.sendspace.com/file/qh7r0x

17.ไฟล์เสียงคาบหก http://www.sendspace.com/file/vtkevt
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Thu Apr 05, 2012 11:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

และนี่....ติดต่อกันทาง Facebook ครับ.....อัลฟารออิฎ...วิชาแบ่งมรดกอิสลาม (แบบง่ายๆ)

https://www.facebook.com/groups/242689695799917/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Mon Apr 23, 2012 2:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="sobir"]เอกสารอัลฟารออิฎ....บน Word[/quote


เอกสารประกอบการเรียน http://www.sendspace.com/file/2wb1b4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับวิชามรดกอิสลาม
ความหมายของวิชามรดกอิสลาม ( تعريف علم الفرائض )

วิชามรดกอิสลาม คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิในมรดกว่ามีใครบ้าง และสัดส่วนเท่าไรที่เขาจะได้รับ . ( [1] )

หลักฐานการแบ่งมรดกตามกฎหมายอิสลาม
1. อัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อันนิสาอ ( กล่าวถึงสิทธิ์ของลูกชายและลูกสาว พ่อและแม่ )
يُوصِيكُمُ اللَّهُ فِي أَوْلَادِكُمْ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنثَيَيْنِ فَإِن كُنَّ نِسَاءً فَوْقَ اثْنَتَيْنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَ وَإِن كَانَتْ وَاحِدَةً فَلَهَا النِّصْفُ وَلِأَبَوَيْهِ لِكُلِّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا السُّدُسُ مِمَّا تَرَكَ إِن كَانَ لَهُ وَلَدٌ فَإِن لَّمْ يَكُن لَّهُ وَلَدٌ وَوَرِثَهُ أَبَوَاهُ فَلِأُمِّهِ الثُّلُثُ فَإِن كَانَ لَهُ إِخْوَةٌ فَلِأُمِّهِ السُّدُسُ مِن بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصِي بِهَا أَوْ دَيْنٍ آبَاؤُكُمْ وَأَبْنَاؤُكُمْ لَا تَدْرُونَ أَيُّهُمْ أَقْرَبُ لَكُمْ نَفْعًا فَرِيضَةً مِّنَ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمًا ( 11 )
อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูก ๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับ เท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน แต่ถ้าลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขา ได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง และสำหรับบิดาและมารดาของเขานั้น แต่ละคนในทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขา ได้ทิ้งไว้หากเขามีบุตร แต่ถ้าเขาไม่มีบุตรและมีบิดามารดาของเขาเท่านั้นที่รับมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในสาม ถ้าเขามีพี่น้องหลายคน มารดาของเขาก็ได้รับหนึ่งในหกทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียมันไว้หรือหลังจากหนี้สิน บรรดาบิดาของพวกเจ้าและลูก ๆ ของพวกเจ้านั้น พวกเจ้าไม่รู้ดอกว่าฝ่ายไหนในพวกเขานั้นเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์แก่พวกเจ้าใกล้กว่ากัน ทั้งนี้เป็นบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ

(กล่าวถึงสามีและภรรยา และพี่น้องชายหญิงร่วมมารดา)
وَلَكُمْ نِصْفُ مَا تَرَكَ أَزْوَاجُكُمْ إِن لَّمْ يَكُن لَّهُنَّ وَلَدٌ فَإِن كَانَ لَهُنَّ وَلَدٌ فَلَكُمُ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْنَ مِن بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصِينَ بِهَا أَوْ دَيْنٍ وَلَهُنَّ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْتُمْ إِن لَّمْ يَكُن لَّكُمْ وَلَدٌ فَإِن كَانَ لَكُمْ وَلَدٌ فَلَهُنَّ الثُّمُنُ مِمَّا تَرَكْتُم مِّن بَعْدِ وَصِيَّةٍ تُوصُونَ بِهَا أَوْ دَيْنٍ وَإِن كَانَ رَجُلٌ يُورَثُ كَلَالَةً أَوِ امْرَأَةٌ وَلَهُ أَخٌ أَوْ أُخْتٌ فَلِكُلِّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا السُّدُسُ فَإِن كَانُوا أَكْثَرَ مِن ذَٰلِكَ فَهُمْ شُرَكَاءُ فِي الثُّلُثِ مِن بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصَىٰ بِهَا أَوْ دَيْنٍ غَيْرَ مُضَارٍّ وَصِيَّةً مِّنَ اللَّهِ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَلِيمٌ ( 12 )
และสำหรับพวกเจ้านั้นจะได้รับครึ่งหนึ่งของสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิได้ปรากฏว่าพวกนางมีบุตร แต้ถ้าพวกนางมีบุตรพวกเจ้าก็จะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางได้สั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน และสำหรับพวกนางนั้นจะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร พวกนางก็จะได้รับหนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกเจ้าสั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน และถ้ามีชายคนหนึ่งหรือหญิงคนหนึ่งถูกรับมรดก ในฐานะเป็นผู้ที่ไม่มีบิดาและบุตร แต่เขามีพี่ชายหรือน้องชายคนหนึ่ง หรือมีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้ว แต่ละคนจากสองคนนั้น จะได้รับหนึ่งในหก แต่ถ้าพี่น้องของเขามีมากกว่านั้น พวกเขาก็เป็นผู้รับร่วมกันในหนึ่งในสาม ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายใด ๆ เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงหนักแน่น

(กล่าวถึงผลตอบแทนของผู้ที่เชื่อฟังและฝ่าฝืน)
تِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ وَمَن يُطِعِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ يُدْخِلْهُ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا وَذَٰلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ ( 13 )
เหล่านั้นแหละคือขอบเขต ของอัลลอฮฺ และผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์แล้ว พระองค์ก็จะทรงให้เขาเข้าบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของมัน โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาลและนั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่
وَمَن يَعْصِ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَيَتَعَدَّ حُدُودَهُ يُدْخِلْهُ نَارًا خَالِدًا فِيهَا وَلَهُ عَذَابٌ مُّهِينٌ ( 14 )
และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์แล้วไซร้ พระองค์ก็จะทรงให้เขาเข้านรก โดยที่เขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล และเขาจะได้รับการลงโทษที่ยังความอัปยศให้(แก่เขา)

(กล่าวถึงพี่น้องชายหญิงร่วมพ่อแม่ และร่วมพ่อ)
يَسْتَفْتُونَكَ قُلِ اللَّهُ يُفْتِيكُمْ فِي الْكَلَالَةِ إِنِ امْرُؤٌ هَلَكَ لَيْسَ لَهُ وَلَدٌ وَلَهُ أُخْتٌ فَلَهَا نِصْفُ مَا تَرَكَ وَهُوَ يَرِثُهَا إِن لَّمْ يَكُن لَّهَا وَلَدٌ فَإِن كَانَتَا اثْنَتَيْنِ فَلَهُمَا الثُّلُثَانِ مِمَّا تَرَكَ وَإِن كَانُوا إِخْوَةً رِّجَالًا وَنِسَاءً فَلِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنثَيَيْنِ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ أَن تَضِلُّوا وَاللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ ( 176
เขาเหล่านั้นจะขอให้เจ้าชี้ขาดปัญหา จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺ จะทรงชี้ขาดให้แก่พวกเจ้าในเรื่องของผู้เสียชีวิตที่มีมีบิดาและบุตร คือถ้าชายคนหนึ่งตาย โดยที่เขาไม่มีบุตรแต่มีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้ว นางจะได้รับครึ่งหนึ่งของมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ และขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับมรดาของนาง หากนางไม่มีบุตร แต่ถ้าปรากฏว่าพี่สาวหรือน้องสาวของเขามีด้วยกันสองคน ทั้งสองนั้นจะได้รับสองในสามจากมรดกที่เขาได้ทั้งไว้ แต่ถ้าพวกเขาเป็นพี่น้องหลายคนทั้งชายและหญิง สำหรับชายจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของหญิงสองคน ที่อัลลอฮฺทรงแจกแจงแก่พวกเจ้านั้น เนื่องจากการที่พวกเจ้าหลงฟิด และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง

2. อัลฮาดีษ ( [4] ) ((الحقوا الفرائض بأهلها فما بقي فأولى رجل ذكر ))

3. อัลอิจมาอฺ อุลามาอฺได้เห็นพ้องต้องกันในการรับมรดกของย่าด้วยอิจติฮาดของท่านอุมัร . ( [5] )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

องค์ประกอบของการแบ่งมรดก ( أركان الإرث )
1. เจ้ามรดก
2. ผู้มีสิทธิรับมรดก
3. มรดก

สังเกตุ.........ต้องมีทั้งสามองค์ประกอบถึงจะมีการแบ่งมรดก
หากมีแต่ผู้มีสิทธิ์รับมรดกและมรดก แต่ไม่มีเจ้ามรดก(ผู้ตาย) ก็ไม่ต้องแบ่งมรดก เพราะไม่มีใครตาย
หากมีแต่เจ้ามรดกและมรดก แต่ไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดก ก็ไม่ต้องแบ่ง มรดกไปสู่บัยตุลมาล(คลังอิสลาม)
หากมีแต่เจ้ามรดกและผู้มีสิทธิ์รับมรดก แ่ต่ไม่มีมรดก......ก็ไม่รู้จะแบ่งอะไร ^^

เงื่อนไขของการรับมรดก ( شروط الإرث )
1. มั่นใจว่าเจ้ามรดกได้เสียชีวิต
2. มั่นใจว่าทายาทมีชีวิตหลังจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
3. มีความรู้เรื่องการแบ่งมรดก

สาเหตุที่ทำให้มีสิทธิในการสืบมรดก ( أسباب الإرث )
1. การสมรส หมายถึง การสมรสที่ถูกต้องตามนิติบัญญัติอิสลาม มิใช่ การสมรสตามกฎหมาย
2. สายเลือด หมายถึง ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกในอิสลาม
3. นายทาส หมายถึง ผู้ที่มีทาสอยู่ในครอบครองแล้วได้ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ เมื่อทาสที่เขาปล่อยไปถึงแก่ความตายและไม่มีผู้ใดรับมรดก ผู้ที่ปลดปล่อยเขาก็จะได้มีสิทธิ์รับมรดกของเขาได้

สาเหตุที่ถูกตัดสิทธิจากกองมรดก ( موانع الإرث )
1. การฆ่าเจ้ามรดก ( ليس للقاتل شيء ) หมายความว่า ไม่ได้สำหรับผู้ฆ่า แ้ม้แต่สิ่งเดียว
4563 รายงานโดย....อาบูดาวูด เชคอัลบานีย์กล่าวว่า ฮาซัน
2. การนับถือศาสนาต่างกัน ( لا يرث المسلم الكافر ولا الكافر المسلم ) หมายความว่า มุสลิมจะไม่ได้รับมรดกจากกาฟิร และกาฟิรจะไม่ได้รับมรดกจากมุสลิม
2908 รายงานโดย....อาบูดาวูด เชคอัลบานีย์กล่าวว่า ซอฮีฮ
3. การเป็นทาส เพราะทาสไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของ


สิทธิที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก ( الحقوق المتعلقة بالتركة )
1. ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพของผู้ตาย
2. ใช้หนี้สินของผู้ตาย
3. ปฏิบัติตามพินัยกรรม ( الوصية ) ที่ผู้ตายสั่งไว้
4. เอาทรัพย์สินที่เหลือมาแบ่งตามสัดส่วนที่ผู้มีสิทธิได้รับ.

ตัวอย่าง
ผู้ตายมีมรดกทั้งหมดเป็นเงิน 100,000 บาท
-จ่ายค่าจัดการศพ 10,000 บาท เหลือ 90,000 บาท
-ใช้หนี้ให้ผู้ตาย 10,000 บาท เหลือ 80,000 บาท
-ให้ตามวาซียัต ไม่เกิน 1/3 ของที่เหลือจากสองลำดับข้างต้น
เช่น 10,000 บาท เหลือ 70,000 บาท

-เงินที่เหลืออีก 70,000 บาทนี้ จะต้องแบ่งตามวิชามรดกอิสลามต่อไป.......


**************************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 3:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สำหรับตัวอย่างของการตัดสิทธิ์ในมรดก เช่น
ลูกชาย จริงๆแล้วมีสิทธิ์รับมรดกจากพ่อแม่ เพราะอยู่ในสาเหตุการรับมรดก แต่หากเขาฆ่าพ่อแม่ของเขาเพื่อต้องการมรดก เขาก็จะถูกตัดสิทธิ์จากกองมรดกครับ

กรณีสามีหรือภรรยาก็เช่นเดียวกันครับ والله أعلم
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 4:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทที่ 2
ประเภทของเครือญาติ

เครือญาติทั้งหมด เราอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ :
1 ) มีสิทธิรับมรดก
2 ) ไม่มีสิทธิรับมรดก ( [6] )

เครือญาติ แบ่งเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรก มีสิทธิรับมรดก คือ ผู้ชาย 15 คน และผู้หญิง 10 คน
กลุ่มสอง ไม่ีสิทธิ์รับมรดก คือ ซาวิลอัรฮาม ( ذوي الأرحام ) หรือถ้ามีสิทธิ์รับ ก็รับเป็นคนท้ายๆ ซึ่งส่วนมากมักไม่ค่อยเหลือ ^^

ดังนั้น วิชาอัลฟารออิฎทั้งหมดนี้.......เราจะพูดถึง 25 คนนี้เท่านั้นครับ คนอื่นๆเราไม่พูดถึง เพราะถึงพูดไปเขาก็ไม่ได้รับมรดกอยู่ดี

วิชานี้ถึงง่าย..........แค่ให้เรารู้จัก 25 คน(ประเภท)นี้เท่านั้นครับ......ให้รู้จักจริงๆ ว่าพวกเขาคือใคร ^^

ลองนึกภาพดูนะครับ.........เรามีญาติทั้งหมดกี่คน?????????? โยงกันไป โยงกันมามากกว่าหนึ่งร้อยคนแน่นอนครับ
.........แต่มีแค่ 25 คนนี้เท่านั้นนะครับ......ที่จะได้รับมรดกจากเรา หากเราเสียชีวิต ^^
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 4:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

- ผู้ชายที่มีสิทธิรับมรดกมีทั้งหมด 15 คน ดังนี้ ( เรียงตามนี้เลยนะครับ ) ทั้งหมดกลับไปหาผู้ตาย เช่น ลูกชาย คือลูกชายผู้ตาย

อัลฟัรอู(ทายาท)
1. ลูกชาย
2. หลานชาย ( ลูกชายของลูกชาย ) และลูกชายของลูกชายของลูกชาย และ ฯลฯ

อัลอัซลู(บรรพชน)
3. พ่อ
4. ปู่ (พ่อของพ่อ) และ พ่อของพ่อของพ่อ และ ฯลฯ

อัลฮาวาชีย์(รอบข้าง)
5.พี่้น้องชายร่วมบิดามารดา
6.พี่น้องชายร่วมบิดา
7.พี่น้องชายร่วมมารดา
8.ลูกชายของพี่น้องชายร่วมบิดามารดา และลูกชายของลูกชายของพี่น้องชายรร่วมบิดามารด และฯลฯ
9.ลูกชายของพี่น้องชายร่วมบิดา และลูกชายของลูกชายของพี่น้องชายร่วมบิดา และฯลฯ

10.น้าชาย(พี่น้องชายของพ่อ)ร่วมบิดามารดา
11.น้าชายร่วมบิดา
12.ลูกชายของน้าชายร่วมบิดามารดา และลูกชายของลูกชายของน้าชายร่วมบิดามารดา และฯลฯ
13.ลูกชายของน้าชายร่วมบิดา และลูกชายของลูกชายของน้าชายร่วมบิดา และฯลฯ

14.นายทาส
15.สามี

ทั้งหมดนี้........เรียงตามลำดับก่อนหลังในสิทธิ์อาซอบะห์บินนัฟซีเลยครับ (อยู่ในบทถัดๆไป)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 4:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากเนื้่อหาที่แล้ว.....จะทำให้เรารู้จักซาวิลอัรฮามโดยทันทีที่เป็นผู้ชาย
กล่าวคือ ผู้ชายที่มีสิทธิ์รับมรดกมีเพียง 15 คนนี้เท่านั้น(15 ประเภท เพราะลูกชายหากมีหลายคน ก็ยังอยู่ในประเภทลูกชาย ไม่ใช่ว่าลูกชายได้รับเพียงคนเดียว แต่แท้จริงแล้วได้รับทุกคน )

อีกครั้ง ผู้ชายที่มีสิทธิ์รับมรดกมีเพียง 15 ประเภทนี้เท่านี้น......ผู้ชายนอกจากนี้...เป็นซาวิลอัรอาม คือ เป็นญาติแต่ไม่มีสิทธิ์รับมรดกจากเรา หากเราตาย ( หรือถ้ารับได้ ก็รับเป็นคนท้ายๆ)

อัลฟัรอู
1. ลูกชายจากลูกสาว และลูกชายที่มาจากทางผู้หญิง เป็นซาวิลอัรฮาม

อัลอัซลู
1. คุณตา(พ่อของแม่) และพ่อที่มาจากทางผู้หญิง

อัลฮาวาชีย์
1. ลูกชายของพี่น้องชายร่วมมารดา
2. ลูกชายของลูกสาวของพี่น้องชายร่วมบิดามารดา
3. ลูกชายของลูกสาวของพี่น้องชายร่วมบิดา
4. ลูกชายของลูกชายของพี่น้องร่วมมารดา
5. ลูกชายของลูกสาวของพี่น้องร่วมมารดา

1. ลุง(พี่น้องชายของแม่)ร่วมบิดามารดา และลูกชายของเขา และลูกชายของลูกชายของเขา และฯลฯ
2. ลุงร่วมบิดา และลูกชายของเขา และลูกชายของลูกชายของเขา และฯลฯ
3. ลูงร่วมมารดา และลูกชายของเขา และลูกชายของลูกชายของเขา และฯลฯ

และอีกหลายๆคนที่เป็นญาติกับเรา..............แต่ไม่มีสิทธิ์รับมรดกจากเราหากเราตาย (บทซาวิลอัรฮามจะกล่าวถึงในอัลฟารออิฎภาคสองครับ )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลายคนอาจจะสงสัย..............ทำไมคุณตา คุณลุง และญาิติอีกหลายคนถึงไม่มีสิทธิ์รับมรดก

ตอบ.......มรดกมีจำกัดครับ จะได้สำหรับผู้ที่เหมาะสมที่สุดครับตามที่อัลลอฮได้ทรงบอกครับ ^^

และผมขอบอกอย่างนี้นะครับ........
คนหนึ่งคนมีหลายสถานะครับ.............เขาอาจไม่ได้รับมรดกในสถานะคุณตา หรือคุณลุง แต่เขาก็จะได้รับมรดกในสถานะอื่นๆครับ เ่ช่น เขาเป็นทั้งลูกชาย พ่อ พี่ชายน้องชาย น้า สามี หรือนายทาสก็ได้ครับ

ดังนั้น.....ทุกๆคนก็จะได้รับมรดกครับ แล้วแต่ว่าจะได้รับในสถานะใดก่อนครับ والله أعلم
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 5:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

- ผู้หญิงที่มีสิทธิรับมรดกมีทั้งหมด 10 คน ดังนี้ :
อัลฟัรอู
1. ลูกสาว
2. หลานสาว(ลูกสาวของลูกชาย)และลูกสาวของลูกชายของลูกชาย และฯลฯ

อัลอัซลู
3. แม่
4. ยาย (แม่ของแม่)และแม่ของแม่ของแม่ และฯลฯ
5. ย่า ( แม่ของพ่อ) และแม่ของพ่อของพ่อ และแม่ของแม่ของพ่อ และฯลฯ

อัลฮาวาชีย์
6. พี่น้องหญิงร่วมบิดามารดา
7. พี่น้องหญิงร่วมบิดา
8. พี่น้องหญิงร่วมมารดา

9. ภรรยา
10.นายทาสหญิง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หากเราสังเกตุ.....ก็จะเห็นว่ามีญาติผู้หญิงหลายคนที่ไม่ถูกกล่าวถึง พวกนางเหล่านั้นคือ ซาวิลอัรฮาม

อัลฟัรอู
1. หลานสาว(ลูกสาวของลูกสาว)และลูกสาวของลูกสาวของลูกชาย และฯลฯ

อัลอัซลู
2.แม่ของพ่อของแม่

อัลฮาวาชีย์
3.ลูกสาวของพี่น้องหญิงร่วมบิดามารดา
4.ลูกสาวของพี่น้องหญิงร่วมบิดา
5.ลูกสาวของพี่น้องหญิงร่วมมารดา

6.ป้าอา(พี่น้องหญิงของแม่)ร่วมบิดามารดา และลูกสาวของนาง
7.ป้าอาร่วมบิดา และลูกสาวของนาง
8.ป้าอาร่วมมารดา และลูกสาวของนาง

และอีกหลายๆคน ^^

เป็นญาติ.......แต่เป็น........ซาวิลอัรฮาม ให้ทำดีด้วย แต่ไม่ใช่ญาติที่มีสิทธิ์รับมรดกจากผู้ตาย

ดูแล้วจะเยอะ วิธีจำง่ายๆ คือ...................จำเฉพาะ 25 คนที่มีสิทธิ์รับมรดกเท่านั้น........................^^
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sobir
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/04/2012
ตอบ: 56


ตอบตอบ: Wed May 02, 2012 11:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กฎสำคัญ 2 ข้อ
1.อัลฟัรอฺและอัลอัซลฺที่เป็นชาย ( ลูกชาย หลานชาย พ่อ ปู่ ) จะกันสิทธิอัลหะวาชีย์ทั้งหมด ยกเว้นสามีภรรยา.
2.อัลฟัรอฺที่เป็นหญิง( ลูกสาว หลานสาว) จะกันสิทธิพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาเท่านั้น.

ตัวอย่าง
1. หากผู้ตายทิ้งบิดา และพี่ชาย พี่ชายจะไม่ได้มรดกเลย เพราะบิดากันไว้
หากผู้ตายทิ้งลูกชาย และน้องสาว น้องสาวจะไม่ได้มรดกเลย เพราะลูกชายกันไว้

2. หากผู้ตายทิ้งลูกสาว และน้องชายร่วมมารดา น้องสาวร่วมมารดาจะไม่ได้มรดกเลย เพราะมีลูกสาวกันไว้.


หากผู้ตายทิ้งมารดา และพี่ชาย พี่ชายยังได้มรดก เพราะมารดากันพี่ชายไม่ได้ คนที่กันได้คือลูกชาย หลานชาย พ่อ และปู่เท่านั้น

หากผู้ตายทิ้งลูกสาว และน้องชายร่วมบิดา น้องชายร่วมบิดายังได้มรดก เพราะลูกสาวกันไม่ได้ ลูกสาวกันได้เฉพาะพี่น้องชายร่วมมารดาเท่านั้น


สังเกตุ
เครือญาติทั้งหมดกลับไปหาผู้ตาย เช่น บิดา หมายถึง บิดาผู้ตาย , มารดา หมายถึง มารดาผู้ตาย .


เราอาจแบ่งเครือญาติตามสิทธิในการกัน ได้ดังนี้
1. กันคนอื่นได้ แต่คนอื่นกันเขาไม่ได้ ( แข็งแรง ) คือ บิดา มารดา ลูกชาย ลูกสาว
2. กันคนอื่นไม่ได้แต่คนอื่นกันเขาได้ ( อ่อนแอ ) คือ พี่น้องร่วมมารดา
3. กันคนอื่นไม่ได้ และคนอื่นกันเขาไม่ได้ ( ปานกลาง ) คือ สามี ภรรยา
4. กันคนอื่นได้ และคนอื่นกันเขาได้ ( ทั่วไป ) คือ ทุกคนที่เหลือ ( [7] )

นั่นก็หมายความว่า บิดา มารดา ลูกชาย ลูกสาว สามี และภรรยา จะต้องได้รับมรดกทุกครั้ง .

************************
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.14 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ