ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 04, 2012 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บุรดะฮของอัลบูศิรีย์


ในบุรดะฮของอัลบูศิรีย์ มีบทกลอนประโยคหนึ่งกล่าวว่า

يَا أكْرَمَ الْخَلق مَالِي مَنْ ألوْذ بِهِ * سِوَاكَ عِنْدَ حُلوْل الْحَادِثِ الْعَمَمِ

โอ้มัคลูคผู้ทรงเกียรติ (หมายถึงนบีมุหัมหมัด) ไม่มีผู้ใดที่ข้าจะเอาเป็นที่พึง * นอกจากท่านเมื่อยามภัยพิบัตอันยิ่งใหญ่มาถึง
.................
ข้างต้นเป็นการสรรเสริญนบี ศอ็ลฯ จนเลยเถิด

เพราะผู้เป็นที่พึ่งของมนุย์ในยามภัยพิบัตินั้น คืออัลลอฮ ดังปรากฏในซูเราะฮอัลอิคลาศ

الله الصمد

อัลลอฮทรงเป็นที่พึ่ง
อีกประโยคหนึ่งในบุรดะฮของอัลบูศิรีย์ กล่าวว่า

يَا رَبِّ، بِالْمُصْطَفَى، بَلِّغْ مَقَاصِدَنَا، وَاغْفِرْ لَنَا مَا مَضَى، يَا وَاسِعَ الْكَرَمِ

โอ้พระเจ้าของข้า ด้วยผู้ที่ได้รับเลือก(หมายถึงนบีมุหัมหมัด) จงบันดาลให้เราสมปรารถนา และจงอภัยโทษแก่เราในสิ่งที่ผ่านมา โอ้..ผู้ทรงกรุณาอันไพศาล..
..............
ประโยคข้างต้นแสดงถึงการวิงวอนขอต่อพระเจ้า โดยใช้นบีมุหัมหมัดเป็นสื่อกลาง แบบนี้เป็นชิริก


قصيدة البردة تشتمل على أمور مناقضة للتوحيد

ลำนำบทโคลงอัลบุรดะฮ ประกอบไปด้วย บรรดาสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักเตาฮีด

الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه أما بعد:

فهذه القصيدة المسماة بالبردة في مدح النبي صلى الله عليه وسلم وقع صاحبها في الغلو المذموم، والإطراء الذي نهى عنه نبينا صلى الله عليه وسلم في قوله: "لا تطروني كما أطرت النصارى ابن مريم فإنما أنا عبد فقولوا: عبد الله ورسوله" رواه البخاري.
ومن ذلك قوله:
يا أكرم الخلق مالي من ألوذ به

http://www.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&lang&Option=FatwaId&Id=5211

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และขอให้พรและความสันติสุข จงประสบแด่รซูลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาวงศ์วานและเหล่าเศาะหาบะฮของท่าน
อนึง ลำนำบทโคลง ที่ชื่อว่า อัลบุรดะฮนี้ ในการสรรเสริญนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เจ้าของลำนำบทโคลง อยู่ในการคลั่งใคล้ที่ได้รับการตำหนิและ การยกย่องเลยเถิด ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามไว้ ในคำพูดของท่านที่ว่า
“พวกท่านอย่าได้ยกย่องฉัน เหมือนกับ พวกนะศอรอ ที่ยกย่องบุตรของมัรยัม เพราะแท้จริง ฉันคือ บ่าวของอัลลอฮ คนหนึ่ง พวกท่านจงกล่าวว่า “คือ บ่าวของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ – รายงานโดยบุคอรี

และจากการยกย่องที่เลยเถิด ดังกล่าว คือ คำพูดของเขา (ของอัลบูศิรีย์) ที่ว่า

يَا أكْرَمَ الْخَلق مَالِي مَنْ ألوْذ بِهِ * سِوَاكَ عِنْدَ حُلوْل الْحَادِثِ الْعَمَمِ

โอ้มัคลูคผู้ทรงเกียรติ (หมายถึงนบีมุหัมหมัด) ไม่มีผู้ใดที่ข้าจะเอาเป็นที่พึง * นอกจากท่านเมื่อยามภัยพิบัตอันยิ่งใหญ่มาถึง”......................................................
......................
เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวไม่แนะนำให้อ่านตำราบทลำนำโคลงเล่มนี้ แต่ ขอแนะนำหนังสือประวัตินบี ฉบับแปลภาษาไทยดีกว่า เพราะอ่านแล้วรู้เรื่อง รู้ความหมาย และไม่เข้าข่ายส่งส่งเสริมตำราที่ขัดแย้งต่ออะกีดะฮอีกด้วย
...

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Aug 05, 2012 10:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมานฉันท์ ในอิสลาม

อิสลามส่งศาสดามาเพื่อเรียกร้องสู่การศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียวก็จริงอยู่ แต่อิสลามไม่ได้บังคับจิตใจคนให้จำใจนับถือศาสนาอิสลาม และอิสลามยังให้เสรีภาพผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมดำเนินกิจกรรมศาสนาของเขา ไม่ไปด่าทอหรือบริภาษในสิ่งที่ชนต่างศาสนานับถือ
ل...اَ إِكْرَاهَ فِي الدِّينِ
ความว่า “ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา” ( อัลบะเกาะเราะฮฺ / 256 )
ولا تسبوا الذين يدعون من دون الله فيسبوا الله عدوا بغير علم
และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด(*2*) โดยปราศจากความรู้ – อันอันอาม/108
لَّا يَنْهَاكُمُ اللَّـهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ ۚ إِنَّ اللَّـهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ
อัลลอฮ์มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม
อิสลามสอนให้เราสร้างความสมานฉันท์ กับคนต่างศาสนิกที่ไม่เป็นภัยต่ออิสลาม ในลักษณะต่อไปนี้
1. สมานฉันท์ ในการปฏิบัติดีต่อกัน (البر )
2. สมานฉันท์ด้วยการให้ความเป็นธรรม ไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน (القسط )
การสมานฉันท์ที่อิสลามห้ามคือ สมานฉันท์ในลักษณะ การเป็นมิตรสนิท ที่มีลักษณะพิเศษของ ความรัก ความเคารพ และการสวามิภักดิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือที่เรียกภาษาอาหรับว่า “อัลวะลาฮ (الولاء )
เพราะฉะนั้น มันไม่จำเป็นที่เราจะต้องลาออกจากสถานที่ทำงานของกาเฟรที่เราทำงานอยู่ เมื่อสถานที่นั้นมีรูปปั้น เพราะมันเป็นสิทธิของเขา ที่สำคัญ เราอย่าไปทำสิ่งที่เป็นพิธีกรรมในศาสนาเขา ด้วยเหตุผลเพื่อสมานฉันท์
ในทำนองเดียวกันพี่น้องมุสลิมหลายญะมาอะฮ หลายมัซฮับ เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ภายใต้หลักของความเป็นพีน้องในอิสลาม แต่ ไม่ได้หมายถึง เรางดเว้นจากการใช้ให้ทำความดี และห้ามสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องต้อง โดยอ้างเหตุผลเพื่อสมานฉันท์ดูเพิ่มเติม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Aug 08, 2012 8:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักศึกษาวิชาศาสนารับซะกาตได้ไหม?

س384: ما حكم إعطاء الزكاة لطالب العلم؟
الجواب: طالب العلم المتفرغ لطلب العلم الشرعي وإن كان قادراً على التكسب يجوز أن يعطى من الزكاة، لأن طالب العلم الشرعي نوع من الجهاد في سبيل الله، والله تبارك وتعالى جعل الجهاد في سبيل الله جهة استحقاق في الزكاة فقال: (إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاءِ وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضَةً مِنَ اللَّهِ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ) .
أما إذا كان الطالب متفرغاً لطلب علم دنيوي فإنه لا يعطى من الزكاة، ونقول له : أنت الآن تعمل للدنيا، ويمكنك أن تكتسب من الدنيا بالوظيفة فلا نعطيك من الزكاة

คำถามที่ 384 : การมอบซะกาตให้แก่นักศึกษา มีหุกุมว่าอย่างไร
ตอบ : นักศึกษาที่อุทิศตนเพื่อศึกษาวิชาศาสนา และแม้เขาจะมีความสามารถที่จะประกอบอาชีพ ก็อนุญาตให้เขาได้รับมอบซะกาตได้ เพราะนักศึกษาวิชาศาสนานั้น เป็นประเภทหนึ่งจากการเสียสละในวิถีทางของอัลลอฮ และอัลลอฮ ผู้ทรงบริสุทธิ์ และทรงสูงส่ง ได้กำหนดให้การเสียสละในวิถีทางของอัลลอฮ เป็นประเภทหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ในซะกาต โดยพระองค์ตรัสว่า(อันที่จริงทานทั้งหลายย่อมเป็นสิทธิของบรรดาผู้อนาถา บรรดาผู้ยากไร้ บรรดาเจ้าหน้าที่ผู้จัดการทานนั้น และบรรดาผู้ซึ่งต้องประสานหัวใจไว้และใน ( การไถ่ตัว ) ทาส ( ให้เป็นอิสระ ) ในบรรดาผู้เป็นหนี้และใน ( ผู้ที่เสียสละชีวิตไป ) ในแนวทางของอัลลอฮและคนเดินทาง เป็นข้อบัญญัติจากอัลลอฮและอัลลอฮทรงรอบรู้อีกทั้งทรงปรีชาญาณยิ่ง ”) สำหรับ นักศึกษาทีอุทิศตนศึกษาวิชาทางโลกนั้น แท้จริง เขาจะไม่ถูกมอบซะกาตให้ และเราจะกล่าวแก่เขาว่า “ขณะนี้ท่านประกอบการงานทางโลก ท่านสามารถที่จะแสวงหาปัจจัยทางโลกด้วยการทำงาน ดังนั้น เราจะไม่มอบซะกาตให้แก่ท่าน – ดูฟัตวาเช็คอิบนุอุษัยมีน
http://ar.islamway.com/fatwa/16244


اتَّفَقَ الْفُقَهَاءُ عَلَى جَوَازِ إعْطَاءِ الزَّكَاةِ لِطَالِبِ الْعِلْمِ , وَقَدْ صَرَّحَ بِذَلِكَ الْحَنَفِيَّةُ وَالشَّافِعِيَّةُ , وَالْحَنَابِلَةُ , وَهُوَ مَا يُفْهَمُ مِنْ مَذْهَبِ الْمَالِكِيَّةِ ... , وَذَهَبَ بَعْضُ الْحَنَفِيَّةِ إلَى جَوَازِ أَخْذِ طَالِبِ الْعِلْمِ الزَّكَاةَ وَلَوْ كَانَ غَنِيًّا إذَا فَرَّغَ نَفْسَهُ لإِفَادَةِ الْعِلْمِ وَاسْتِفَادَتِهِ , لِعَجْزِهِ عَنْ الْكَسْبِ

บรรดานักกฎหมายอิสลาม(ฟุเกาะฮาอ) เห็นฟ้องกัน ว่าอนุญาตให้มอบซะกาตให้แก่นักศึกษาได้ และ นักวิชาการมัซอับหะนะฟียะฮ,ชาฟิอียะฮและหะนาบะละฮ ได้ชี้แจงดังกล่าวไว้ โดยที่มันคือสิ่งที่ได้ถุกเข้าใจมาจากมัซอับมาลิกียะอ ....และบางส่วนของนักวิชาการมัซอับหะนะฟียะอ มีทัศนะว่า อนุญาตให้นักศึกษา เอาซะกาตได้ แม้ว่าเขาจะร่ำรวยก็ตาม เมื่อเขาอุทิศตนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และนำมันมาใช้ประโยชน์ เพราะเขาไม่สามารถที่จะประกอบอาชีพได้ – อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะอ เล่ม ๒๘หน้า ๓๓๗

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 11, 2012 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาบน้ำในตอนกลางวัน เดือนเราะมะฎอนได้ไหม


ويجوز لك الانغماس والاغتسال في الماء نهار رمضان، مع التحرّز من دخول الماء إلى الجوف، لما ثبت عن بعض أصحاب النبيّ صلى الله عليه وسلّم قال: ;رأيت رسول الله صلّى الله عليه وسلّم بالعَرْج يصب على رأسه الماء وهو صائم من العطش أو من الحرّ

อนุญาตให้ท่าน ดำลงไปในน้ำและอาบน้ำ พร้อมกับระวังไม่ให้ น้ำเข้าไปในปาก เพราะมีรายงานจากบางส่วนของเศาะหาบะฮนบี สอ็ล ฯ กล่าวว่า “ฉันเห็นรซูลลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินเทน้ำรดศีรษะในสภาพที่ท่านรสูลถือศีลอดอันเนื่องจากความกระหาย หรือเนื่องจากความร้อน" (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยมาลิก และอบูดาวูด).
http://islamselect.net/mat/627

มุหัมหมัด ฃัมซุนหัก อัลอะซีม อะบะดีย์กล่าวว่า

فِيهِ دَلِيلٌ عَلَى أَنَّهُ يَجُوزُ لِلصَّائِمِ أَنْ يَكْسِرَ الْحَرَّ بِصَبِّ الْمَاءِ عَلَى بَعْضِ بَدَنِهِ أَوْ كُلِّهِ ، وَقَدْ ذَهَبَ إِلَى ذَلِكَ الْجُمْهُورُ وَلَمْ يُفَرِّقُوا بَيْنَ الِاغْتِسَالِ الْوَاجِبَةِ وَالْمَسْنُونَةِ وَالْمُبَاحَةِ . وَقَالَتِ الْحَنَفِيَّةُ إِنَّهُ يُكْرَهُ الِاغْتِسَالُ لِلصَّائِمِ ، وَاسْتَدَلُّوا بِمَا أَخْرَجَهُ عَبْدُ الرَّزَّاقِ عَنْ عَلِيٍّ مِنَ النَّهْيِ عَنْ دُخُولِ الصَّائِمِ الْحَمَّامَ وَهُوَ مَعَ كَوْنِهِ أَخَصَّ مِنْ مَحَلِّ النِّزَاعِ فِي إِسْنَادِهِ ضَعْفٌ كَمَا قَالَ الْحَافِظُ

ในมัน(ในหะดิษอบีดาวูด) แสดงบอกว่า อนุญาตให้ผู้ถือศีลอด บรรเทาความร้อนด้วยการรดน้ำบนบางส่วนของร่างกาย หรือทั้งหมดของมัน และแท้จริง บรรดานักวิชาการส่วนมาก(ญุมฮูร) ได้มีทัศนะไปยังดังกล่าวนั้น และพวกเขาไม่ได้แบ่งแยก ระหว่าง การอาบน้ำวาญิบ,อาบน้ำสุนัต และอาบน้ำทั้วไปที่อนุญาต (ในกรณีดังกล่าวที่ระบุว่าอนุญาต) และนักวิชาการมัซฮับหะนะฟียะฮ กล่าวว่า “มักรูฮ” อาบน้ำสำหรับคนที่ถือศีลอด และพวกเขาอ้างหลักฐาน ด้วยหะดิษที่อับดุรรอรซาก ได้บันทึกมันจาก อะลีว่า มีการห้ามไม่ให้คนถือศีลอดเข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏว่า มันมีการขัดแย้งกันในสายรายงานของมัน ว่า เฎาะอีฟ ดังที่อัลหาฟิซ(อิบนุหะญัร) ได้กล่าวเอาไว้ – ดูเอานุลมะอฺบูด หะดิษหมายเลข 2365 กิตาบุศศิยาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 11, 2012 12:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดุอาเป็นภาษาอื่นในละหมาด


يجوز للشخص أن يدعو الله جل وعلا باللغة التي يعرفها من لغة عربية أو إنجليزية أو أوردية أو غيرها من اللغات؛ لقوله تعالى: { لاَ يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلاَّ وُسْعَهَا}[البقرة:286] وقوله سبحانه: {فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ}[التغابن:16]. وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم

อนุญาตให้บุคคลดุอาต่ออัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ด้วยภาษาที่เขารู้มัน จากภาษาอาหรับ หรือ ภาษาอังกฤษ หรือ อุรดู และอื่นจากนั้นจากภาษาต่าง ๆ เพราะอัลลอฮตะอาลลาตรัสว่า (อัลลอฮจะไม่บังคับชีวิตหนึ่ง นอกเหนือจากความสามารถของมัน”) อัลบะเกาะเราะ/286 และอัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า (พวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮ ตามที่พวกท่านมีความสามารถ) อัตตะฆอบุน/16 -ฟัตวาลุจญะนะฮ

อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

المنصوص المشهور عن الإمام أحمد، أنه لا يدعو في الصلاة إلا بالأدعية المشروعة المأثورة، كما قال الأثرم: قلت لأحمد: بماذا أدعو بعد التشهد؟ قال: بما جاء في الخبر. قلت له: أو ليس قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: (ثم ليتخير من الدعاء ما شاء)؟ قال: يتخير مما جاء في الخبر. فعاودته، فقال: ما في الخبر
สิ่งที่ถูกระบุที่เป็นที่แพร่หลายจากอิหม่าม อะหมัด ว่า แท้จริงเขาจะไม่ดุอา ในละหมาด นอกจากด้วยบรรดาดุอาที่ถูกบัญญัติไว้ ที่ถูกสืบร่องรอย (หมายถึงที่นบีสอนไว้) ดังที่ อัลอัษรอม กล่าวว่า “ข้าพเจ้า กล่าวแก่อะหมัดว่า “ ท่านดุอาหลังอ่านตะชะฮฮุดด้วยอะไร? เขา(อะหมัด)กล่าวตอบว่า “ ด้วยสิ่งที่มีมาในหะดิษ ,ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ ไม่ใช่รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวหรอกหรือว่า “หลังจากนั้น เขาจงเลือกดุอาที่เขาต้องการ ? เขา (อิหม่ามอะหมัด)กล่าวตอบว่า “ให้เขาเลือก จากสิ่งที่มีมาในหะดิษ แล้วท่านอิหม่ามทวนคำพูดซ้ำว่า “สิง(ดุอา)ที่มีมาในหะดิษ , อัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 474
......................
ท่านอิหม่ามอะหมัด ท่านน้นเรื่องดุอาที่นบีสอน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 16, 2012 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องละหมาดตะรอเวียะ

คุณ Arsan Hatyai บอกว่า
(แล้วท่านคือใคร ที่ไปฮุกมว่าละหมาดต้ารอเวี๊ยะทำ 8 ร่อกาอัตก็ได้)
...................
คุณอาร์ซัน ได้ศึกษาละเอียดหรือยังละครับ ก่อนที่จะพูดข้อความข้างต้น นั้นลองมาพิจารณา ข้างล่างนี้ครับ
อัลมุบาเราะกาฟูรีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

القول الراجح المختار الأقوى من حيث الدليل هو هذا القول الأخير الذي اختاره مالك لنفسه , أعني : إحدى عشرة ركعة , وهو الثابت عن رسول الله - صلى الله عليه وسلم - بالسند الصحيح بها أمر عمر بن الخطاب -رضي الله تعالى عنه - , وأما الأقوال الباقية فلم يثبت واحد منها عن رسول الله - صلى الله عليه وسلم - بسند صحيح

“ทัศนะที่มีน้ำหนักที่ได้รับการคัดเลือกที่แข็งแรงที่สุด จากบรรดาหลักฐาน คือ ทัศนะสุดท้ายที่มาลิกได้เลือกมันให้แก่ตัวเขาเอง ข้าพเจ้าหมายถึง สิบเอ็ด รอกาอัต และมันเป็นที่แน่นอนจากรซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง ซึ่ง อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ได้ใช้ให้กระทำ ด้วยมัน และสำหรับบรรดาทัศนะที่เหลือ นั้น ไม่มีอันหนึ่งอันใดที่แน่นอนจากรซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ - ดู ตุคฟะตุลอะฮวะซีย์ ชัรหุอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้า 440
และหะดิษอะอีชะ (ร.ฎ) ได้ระบุยืนยันว่า ท่านนบี ได้ละหมาด 8 เราะกะอัตแล้วทำละหมาดวิตอีก 3 เราะกะอัต

ما كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يزيد في رمضان ولا غيره على إحدى عشرة ركعة يصلي أربعا فلا تسأل عن حسنهن وطولهن ثم يصلي أربعا فلا تسأل عن حسنهن وطولهن ثم يصلي ثلاثا
ท่านรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ...."(หะดีษนี้ศอเฮียฮ์... บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ อัตติรมิซีย์ อบูดาวูด อันนะซาอีย์ อิมามมาลิก...)

คุณ Arsan Hatyai ครับ หะดิษอาอีฉะฮ อิหม่ามบุคอรี ใส่ไว้ในหัวข้อ เรื่อง ละหมาดตะรอเวียะ ด้วยไม่ใช่หรือครับ
คุณลองไปดูเศาะเฮียะบุคอรีย์ กิตาบุเศาะลาตุตตะรอเวียะ เรื่อง คุณค่ากิยามุเราะมะฏอน หะดิษหมายเลข 1909
คุณจะพบหะดิษที่ว่า

عَنْ أَبِي سَلَمَةَ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ أَنَّهُ سَأَلَ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا كَيْفَ كَانَتْ صَلَاةُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي رَمَضَانَ فَقَالَتْ مَا كَانَ يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلَا فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلَا تَسَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلَا تَسَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي ثَلَاثًا فَقُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَتَنَامُ قَبْلَ أَنْ تُوتِرَ قَالَ يَا عَائِشَةُ إِنَّ عَيْنَيَّ تَنَامَانِ وَلَا يَنَامُ قَلْبِي

จากอบีสะละมะฮ บิน อับดุรเราะหมาน ว่า เขาได้ถาม ท่านหญิงอาอีฉะฮ (ร.ฏ)เกี่ยวกับการละหมาดของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเดือนเราะมะฏอน แล้วนางกล่าวว่า ท่านรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 แล้วท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ร่อซูลุลเลาะฮ์ ท่านจะนอนก่อนละหมาดวิติรกระนั้นหรือ? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสองดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ" รายงานโดยบุคอรีย์
..........
คุณอาร์ซัน หาดใหญ่คงไปกอ็บจากข้อเขียนของ อารีฟีนมา แล้วมาฟันธง ว่าละหมาดตะรอเวียะ 8 เราะกัตไม่มี มาชาอัลลอฮ

แล้วถ้าหะดิษข้างต้นไม่ใช่ละหมาดตะรอเวียะตกลงท่านนบีละหมาดตะรอเวียะ รวมทั้ง วิตร ด้วยรวมทั้งคืน กี่เราะกะอัตครับ ขอหลักฐาน

..............

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 16, 2012 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Al Fatoni Darrussalam งั้นขอก็อปจาก อ.อารีฟีน แสงวิมาน มานำเสนออีกรอบละกันนะครับ

วิเคราะห์สายรายงานละหมาด 8 ร็อกอะฮ์
สายรายงานของท่านญาบิร: ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า
عَنْ عِيْسَى بْنِ جَارِيَةَ عَنْ جَابِرٍ بْنِ عَبْدِ اللهِ قَالَ : صَلَّى بِنَا رَسُوْلُ اللهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ فِيْ رَمَضَانَ ثَمَانَ رَكَعاَتٍ وَالْوِتْرَ
“จากท่านอีซา บิน ญาริยะฮ์ จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดกับพวกเราในเดือนร่อมะฎอน 8 ร็อกอะฮ์และทำวิติร”
หะดีษนี้ฎ่ออีฟ เพราะมีนักรายงานชื่อ อีซา บิน ญาริยะฮ์ ซึ่งบรรดาปราชญ์หะดีษหลายท่านกล่าวว่าเขานั้นฎ่ออีฟ ท่านอะบูดาวูด และท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า อีซา บิน ญาริยะฮ์นั้น “หะดีษเขาถูกทิ้ง” (مَتْرُوْكُ الْحَدِيْثِ) ท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า “บรรดาหะดีษทั้งหมดของ อีซา บิน ญารียะฮ์นั้น ไม่ถูกรักษาไว้ (คือมีหะดีษที่รายงานขัดกับผู้ที่เชื่อถือได้มากกว่า)” ท่านอิบนุมะอีน กล่าวว่า “ณ ที่ อีซา บิน ญาริยะฮ์ มีหะดีษมุงกัรมาก (คือที่รายงานเพียงลำพังคนเดียวหรือมีหะดีษที่รายงานขัดแย้งกับผู้อื่น)”
.........................

ผู้อ้างไปอ้างจากตำราเล่มใดมาไม่ระบุ ที่นี้มาดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหะดิษข้างต้น
อัลมุบาเราะกะฟูรีย์กล่าวว่า

قَالَ الْحَافِظُ الذَّهَبِيُّ فِي "مِيزَانِ الِاعْتِدَالِ" بَعْدَ ذِكْرِ هَذَا الْحَدِيثِ: إِسْنَادُهُ وَسَطٌ اِنْتَهَى.
وَهَذَا الْحَدِيثُ صَحِيحٌ عِنْدَ اِبْنِ خُزَيْمَةَ وَابْنِ حِبَّانَ، وَلِذَا أَخْرَجَاهُمَا فِي صَحِيحِهِمَا. وَقَدْ ذَكَرَ الْحَافِظُ اِبْنُ حَجَرٍ هَذَا الْحَدِيثِ فِي فَتْحِ الْبَارِي لِبَيَانِ عَدَدِ الرَّكَعَاتِ الَّتِي صَلَّاهَا النَّبِيُّ -صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ- بِالنَّاسِ فِي شَهْرِ رَمَضَانَ، فَهُوَ صَحِيحٌ عِنْدَهُ أَوْ حَسَنٌ،

อัลหาฟิซอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ มีซาลเอียะติดาล หลังจากที่กล่าวถึงหะดิษนี้ว่า สายรายงานของมันอยู่ในระดับปานกลาง (หมายถึงอยู่นะดับที่ดี)

และหะดิษนี้เศาะเฮียะในทัศนะของอิบนุคุซัยมะอ และอิบนุหิบบาน เพราะเหตุนี้เขาทั้งสองได้บันทึกไว้ในเศาะเฮียะของเขาทั้งสอง และอัลหาฟิซอิบนุหะญัร ได้ระบุหะดิษนี้ไว้ในฟัตหุลบารีย์ เพื่ออิบายถึง จำนวนเราะกะอาตที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละหมาดนำประชาชน ในเดือนเราะมะฎอน ดังนั้น มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือไม่ก็หะซัน ในทัศนะของเขา


อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ได้กล่าวต่อไปว่า

فَلَمَّا حَكَمَ الذَّهَبِيُّ بِأَنَّ إِسْنَادَهُ وَسَطٌ بَعْدَ ذِكْرِ الْجَرْحِ وَالتَّعْدِيلِ فِي عِيسَى بْنِ جَارِيَةَ وَهُوَ مِنْ أَهْلِ الِاسْتِقْرَاءِ التَّامِّ فِي نَقْدِ الرِّجَالِ، فَحُكْمُهُ بِأَنَّ إِسْنَادَهُ وَسَطٌ هُوَ الصَّوَابُ وَيُؤَيِّدُهُ إِخْرَاجُ اِبْنِ خُزَيْمَةَ وَابْنِ حِبَّانَ هَذَا الْحَدِيثَ فِي صَحِيحَيْهِمَا؛ وَلَا يُلْتَفَتُ إِلَى مَا قَالَ النَّيْمَوِيُّ، وَيَشْهَدُ لِحَدِيثِ جَابِرٍ هَذَا حَدِيثُ عَائِشَةَ الْمَذْكُورُ: مَا كَانَ يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلَا فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً
เมื่ออัซซะฮะบีย์ ได้ชี้ขาดว่าสายรายงานของมัน วัสฏุ(อยู่ในระดับที่ดี) หลังจากที่ได้ระบุจุดด้อยและจุดเด่นในตัวของ(ผู้รายงานคนหนึ่งที่ชื่อ)อีซา บิน ญารียะอ โดยที่เขา(อิหม่ามอัซซะฮะบีย์))ก็เป็นส่วนหนึ่งจากนักสืบค้นที่สมบูรณ์ในการพิจารณาข้อบกพร่องของบรรดาผู้รายงานหะดิษ แล้วเขาได้ชี้ขาดว่า “สายรายงานของมัน วัสฏุ (อยู่ระดับปานกลาง) มันคือ ถูกต้อง และ การบันทึกของอิบนุคุซัยมะฮ และอิบนุหิบบาน ต่อหะดิษนี้ในเศาะเฮียะของเขาทั้งสอง ยังได้สนับสนุน มัน(หมายถึงสนับสนุนทัศนะของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์) และอย่าไปสนใจสิ่งที่อัลนัยมะวีย์กล่าวไว้(คือ เขากล่าวว่าเป็นหะดาเฎาะอีฟ) และที่มายืนยันสนับสนุน หะดิษญาบีรนี้ คือ หะดิษอาอิฉะฮที่ถูกกล่าวมาแล้ว ว่า “ท่านรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์” – ดู ตุหฟะตุลอะวะซีย์ เรื่อง باب ما جاء في قيام شهر رمضان อธิบายหะดิษหมายเลข ๘๐๖
............................
ยังมีหลักฐานอีกมากมายที่มาสนับสนุนหะดิษนี้ เพียงแต่ ผู้อ้างแกล้งมองไม่เห็นหรืออ่านไม่เจอเทำนั้นเอง
ซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะไม่มีใครรู้ไปเสียทุกอย่าง แต่ที่น่าตำหนิคือ หุกุมว่า “ละหมาดตะรอเวียะ แปดเราะกะอัตไม่มี ไม่รู้นั่งเทียนพูดหรือเปล่า

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 16, 2012 12:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขากล่าวว่า
สายรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา: ผู้ที่กล่าวว่าละหมาดตะรอวีหฺมี 8 ร็อกอะฮ์นั้น เพราะอ้างหลักฐานจากหะดิษท่านหญิงอาอิชะฮ์ที่ว่า

مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلاَ فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً : يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي ثَلاَثًا، قَالَتْ عَائِشَةُ رضى الله عنها فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ أَتَنَامُ قَبْلَ أَنْ تُوتِرَ قَالَ : يَا عَائِشَةُ إِنَّ عَيْنَىَّ تَنَامَانِ وَلاَ يَنَامُ قَلْبِي

“จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอนหรืออื่นจากเดือนร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร็อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 และท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า ฉันได้กล่าวถามว่า โอ้ร่อซูลุลลอฮฺ ท่านจะนอนก่อนละหมาดวิติรหรือไม่? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสองดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ”

ท่านชัยค์ อับดุลฆ่อฟูร อัลมะลีบารีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้ที่นำหะดีษบทนี้ไปอ้างเป็นหลักฐานว่าละหมาดตะรอวีหฺมี 8 หรือ 11 ร็อกอะฮ์นั้น เป็นการอ้างหลักฐานที่ใช้ไม่ได้ เพราะเป้าหมายของหะดีษนี้มิใช่ละหมาดตะรอวีหฺ ดังที่ถ้อยคำของหะดีษระบุว่า (فِي رَمَضَانَ وَلاَ فِي غَيْرِهِ) “ไม่เคยละหมาดในร่อมะฎอนหรืออื่นจากร่อมะฎอน...” เพราะละหมาดตะรอวีหฺเป็นละหมาดที่ทำเฉพาะในเดือนร่อมะฎอน ส่วนละหมาดที่ทำทั้งในเดือนร่อมะฎอนและอื่นจากเดือนร่อมะฎอนนั้น มิใช่ละหมาดตะรอวีหฺอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากหะดีษนี้กล่าวถึงละหมาดตะรอวีหฺ ก็สามารถทำละหมาดตะรอวีหฺได้ในเดือนอื่นจากร่อมะฎอนเช่นกัน แต่ไม่มีมุสลิมคนใดเคยกระทำมันเลยจวบจนถึงปัจจุบันนี้
...................
ข้างต้น ผู้อ้างจากเว็บสะติวเด้น คิดเอง เออเอง สรุปเอง เพราะการละหมาดตะรอเวียะ ก็คือ ละหมาดกิยามุลลัย นั้นเอง เมื่อทำในเดือนเราะมะฏอน ก็เรียกว่า “กิยามุเราะมะฏอน” ส่วนคำว่า “ละหมาดตะรอเวียะถูกตั้งชื่อในสมัยหลัง
และหะดิษอะอีฉะฮ บทข้างต้น ท่านอิหม่ามบุคอรีก็ได้บรรจุอยู่ในหัวข้อ กิตาบุเศาะลาตุตตะรอเวียะ เรื่อง คุณค่ากิยามุเราะมะฏอน หะดิษหมายเลข 1909
ولا تختلف صلاة التراويح عن قيام الليل من حيث المعنى لأن كل نافلة تصلى بعد العشاء إلى طلوع الفجر تسمى قيام الليل، إلا أن العرف جرى أن قيام الليل بعد العشاء في رمضان يسمى التراويح وتشرع فيها الجماعة في المسجد
และละหมาดตะรอเวียะ ไม่ได้แตกต่างจากละหมาด กิยามุลลัยลฺ ในด้านความหมาย เพราะทุกๆละหมาดสุนัต ที่ถูกละหมาดหลังจากละหมาดอีชา จนกระทั้ง รุ่งอรุณขึ้น จะถูกเรียกว่า “กิยามุลลัยลฺ” นอกจากว่า ตามธรรมเนียม ได้ ปรากฏออกมาว่า การละหมาดกิยามุลลัยล์ หลังจากละหมาดอีชา ในเดือนเราะมะฏอนนั้น จะถูกเรียกว่า “ละหมาดตะรอเวียะ และในมันมีบัญญัติให้ทำในรูปญะมาอะฮในมัสญิด
http://www.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=68668
.....................
ความจริงเรื่องละหมาดตะรอเวียะ พร้อมกับ ละหมาดวิตรฺ รวม ๑๑ เราะกะอัต ได้มีแพร่หลายแล้ว ที่ทำกันในมัสยิด บ้านเราปัจจุบัน และพี่น้องบางส่วนก็ทำ ๒๓ เราะกะอัต ซึ่งไม่มีใครตำหนิ แต่ปรากฏมีฟัตวาแปลกประหลาดออกมาว่า “ละหมาดตะรอเวียะ ๘ เราะกะอัต ไม่มี ... ไม่มีอะไรจะทำหรือไง จึงคิดอะไรแปลกๆ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Aug 28, 2012 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การก่อสร้างและโปกปูนบนหลุมศพ

อิหม่ามมาลิก กล่าวว่า
كل أحد يؤخذ من قوله ويرد إلا صاحب هذا القبر

ทุกคน คำพูดของเขาจะถูกเอามาปฏิบัติและถูกตีกลับ ยกเว้น เจ้าของหลุมศพนี้ (หมายถึงรซูลุลลอฮ) – ดู มะกอศิดุลหะสะนะฮ ของอัสสะคอวีย์ หะดิษหมายเลข 815

عن جابر قال: ;نَهَى النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ أَنْ يُجَصَّصَ الْقَبْرُ وَأَنْ يُقْعَدَ عَلَيْهِ، وَأَنْ يُبْنَى عَلَيْهِ رواه أحمد ومسلم والنسائي

จากญาบีร กล่าวว่า นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการโปกปูนหลุมศพ,การนั่งบนมัน และก่อสร้างบนมัน- รายงานโดยอะหมัด,มุสลิม และอันนะสาอีย์

อิหม่ามอัชเชากานีย์กล่าวว่า

قوله: ;وَأَنْ يُبْنَى عَلَيْهِ فيه دليل على تحريم البناء على القبر، وفصل الشافعي وأصحابه فقالوا: إن كان البناء في ملك الباني فمكروه، وإن كان في مقبرة مسبلة فحرام، ولا دليل على هذا التفصيل، وقد قال الشافعي: رأيت الأئمة بمكة يأمرون بهدم ما يبنى،

คำพูดของท่านนบีที่ว่า (และการก่อสร้างบนมัน) ในหะดิษ แสดงบอกว่า ห้ามก่อสร้างบนหลุมศพ และชาฟือีและบรรดาสหายของเขา ได้ให้ความชัดเจน(หรือได้วิเคราะห์) โดยพวกเขากล่าวว่า “ ถ้าหากปรากฏว่าการก่อสร้างนั้น ในที่ที่เป็นการครอบครองของผู้ก่อสร้าง ถือเป็นมักรูฮ และถ้าปรากฏว่ามันอยู่ในสุสานของสวนรวม ถือเป็นหะรอม (อัชเชากานีย์กล่าวว่า) และไม่มีหลักฐานใดๆ บนการให้รายละเอียดนี้ และแท้จริงชาฟิอีกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นบรรดาอิหม่ามที่นครมักกะ สั่งให้ทำลายสิ่งที่ถูกก่อสร้าง – ดูนัยลุลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 132


อิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวว่า

وَأُحِبُّ أَنْ لَا يُبْنَى ، وَلَا يُجَصَّصَ فَإِنَّ ذَلِكَ يُشْبِهُ الزِّينَةَ وَالْخُيَلَاءَ ، وَلَيْسَ الْمَوْتُ مَوْضِعَ وَاحِدٍ مِنْهُمَا ، وَلَمْ أَرَ قُبُورَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ مُجَصَّصَةً

และข้าพเจ้า ชอบที่จะไม่ให้มันมีการก่อสร้าง และถูกโปกปูน เพราะแท้จริง ดังกล่าวนั้น คล้ายคลึงกับการประดับประดาและการแสดงความเย่อยิ่งและคนตายนั้น ไม่ใช่สถานสำหรับคนหนึ่งคนใดเกี่ยวกับทั้งสองนั้น และ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นบรรดาหลุมศพของชาวมุฮาญิรีนและอันศอรฺ ถูกโปกปูนเลย – ดู อันอุม ของอิหม่ามชาฟิอี เล่ม 1 หน้า 316

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Aug 28, 2012 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวว่า

وَقَدْ رَأَيْت مِنْ الْوُلَاةِ مَنْ يَهْدِمَ بِمَكَّةَ مَا يُبْنَى فِيهَا فَلَمْ أَرَ الْفُقَهَاءَ يَعِيبُونَ ذَلِكَ فَإِنْ كَانَتْ الْقُبُورُ فِي الْأَرْضِ يَمْلِكُهَا الْمَوْتَى فِي حَيَاتِهِمْ أَوْ وَرَثَتُهُمْ بَعْدَهُمْ لَمْ يُهْدَمْ شَيْءٌ أَنْ يُبْنَى مِنْهَا وَإِنَّمَا يُهْدَمُ إنْ هُدِمَ مَا لَا يَمْلِكُهُ أَحَدٌ فَهَدْمُهُ لِئَلَّا يُحْجَرَ عَلَى النَّاسِ مَوْضِعُ الْقَبْرِ فَلَا يُدْفَنُ فِيهِ أَحَدٌ فَيَضِيقُ ذَلِكَ بِالنَّاسِ

และแท้จริง ข้าพเจ้าได้เห็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ปกครอง ที่ นครมักกะ ผู้ซึ่งได้ทำลายสิ่งที่ถูกก่อสร้าง(บนกุบูร)ในที่นั้น แล้วข้าพเจ้าไม่เห็นบรรดาฟุเกาะฮาอฺ(นักกฎหมายอิสลาม) ตำหนิการกระทำดังกล่าวนั้น ดังนั้นถ้าปรากฏว่าบรรดากุบูร อยู่ในแผ่นดินที่ผู้ตายครอบครอง ในตอนที่พวกเขามีชีวิตอยู่ หรือ คนรุ่นหลังจากพวกเขารับมรดกจากพวกเขา สิ่งใดก็ตามที่ถูกก่อสร้างจากมันจะไม่ถูกทำลาย ความจริงสิ่งที่ถูกทำลายคือ สิ่งที่ไม่มีคนใดครอบครองมัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้สถานที่กุบูรนั้นเป็นอุปสรรคแก่บรรดาผู้คน ที่จะฝังมัยยิต เพราะดังกล่าวนั้นทำให้คับแคบแก่ผู้คน – ดู อัลอุม เล่ม 1 หน้า 316
........
สำหรับสถานกุบูรส่วนบุคคลนั้น ถึงแม้ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์บอกว่า สิ่งก่อสร้างบนกุบูร แต่ไม่ได้หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับการก่อสร้างบนกุบูร เพราะท่านอิหม่ามบอกแต่ต้นแล้วว่า ถ้าของส่วนบุคคลมักรูฮ และถ้ากุบูรสาธรณะ เป็นสิ่งหะรอม ดังที่ระบุใน นัยลุลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 132 ....

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Aug 28, 2012 10:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุหะญัรอัลหัยตะมีย์ กล่าวว่า

القول المعتمد كما جزم به النووي في شرح المهذب حرمة البناء على المقبرة المسبلة فإن بني فيها هدم ولا فرق في ذلك بين قبور الصالحين والعلماء وغيرهم

และคำพูดทีได้รับการยึดถือ ดังที่อิหม่ามนะวาวีย์ ได้ยืนยันหนักแน่นในชัรหุมุหัซซับ ว่า การก่อสร้างบนสุสานที่เป็นสารธาณะนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะถ้ามัน(สิ่งกอสร้าง)ถูกก่อสร้างในนั้น ก็ถูกทำลาย และดังกล่าวนั้นไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกุบูรคนศอลิห์(บรรดาผู้ทรงคุณธรรม),บรรดาอุลามาอฺและอื่นจากพวกเขา- อัลฟะตาวาอัลกุบรอ ของอิบนุหะญัร เล่ม 2 หน้า 17
.....................
ปัจจุบัน มีไม่น้อย จะพบว่า กุบูรโต๊ะครู หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านศาสนา ถูกก่อสร้าง ตบแต่ง บางแห่งทำหลังคา และกางมุ้งให้ด้วย
ทั้งหมดนี้ อย่ากจะถาม ผู้เห็นด้วยทั้งหลายว่า “ เอาหุกุมของใครมาอ้าง”

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 30, 2012 5:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุกุดามะฮกล่าวว่า

ولا بأس بتعليم القبر بحجر أو خشبة ، قال أحمد : لا بأس أن يعلِّم الرجل القبرَ علامةً يعرفه بها ، وقد علَّم النبي صلى الله عليه وسلم قبرَ عثمان بن مظعون .

การทำเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าหลุมศพ ด้วยก้อนหิน หรือไม้ นั้นไม่เป็นไร ,อะหมัดกล่าวว่า “การที่คนหนึ่งจะทำเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าหลุมศพด้วยมันนั้นไม่เป็นไร และแท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำเครื่องหมายหลุมศพของอุษมาน บิน มัศอูน – ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม 2 หน้า 191

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 30, 2012 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หญิงที่ถูกบ่มขืน ถูกลงโทษไหม

อัลหาฟิซอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย ได้กำหนดหัวเรื่องใน ฟัตหุลบารีย์ ในกิตาบุลอิกรอฮ อธิบายหะดิษหมายเลข 6550 ว่า

بَاب إِذَا اسْتُكْرِهَتْ الْمَرْأَةُ عَلَى الزِّنَا فَلَا حَدَّ عَلَيْهَا فِي قَوْلِهِ تَعَالَى وَمَنْ يُكْرِهْهُنَّ فَإِنَّ اللَّهَ مِنْ بَعْدِ إِكْرَاهِهِنَّ غَفُورٌ رَحِيمٌ

เรื่อง เมื่อผู้หญิงถูกบังคับให้ซีนา ก็ไม่มีการลงโทษแก่นาง ในคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า “และผู้ใดบังคับพวกนางเช่นนั้น ดังนั้นหลังจากการบังคับพวกนาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Sep 09, 2012 1:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การซิกรุลอฮ หรืออ่านเสียงดังในมัสยิด


وَعَنْ أَبِيْ سَعِيدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : { اِعْتَكَفَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فِي الْمَسْجِدِ , فَسَمِعَهُمْ يَجْهَرُونَ بِالْقِرَاءَةِ , فَكَشَفَ السِّتْرَ , وَقَالَ : أَلاَ إنَّ كُلَّكُمْ مُنَاجٍ رَبَّهُ , فَلاَ يُؤْذِيَنَّ بَعْضُكُمْ بَعْضًا , وَلاَ يَرْفَعْ بَعْضُكُمْ عَلَى بَعْضٍ فِي الْقِرَاءَةِ أَوْ قَالَ : فِي الصَّلاَةِ } . رَوَاهُ أَبُو دَاوُد بِاِسْنَادٍ صَحِيْحٍ

รายงานจากอบีสะอีด (ร.ฎ) กล่าวว่า “ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กำลังเอียะติกาฟในมัสยิด พวกเขา(เศาะหาบะฮ) อ่านเสียงดัง ท่านจึงเปิดม่านดู และกล่าวว่า “ พึงทราบเถิดว่า พวกท่านแต่ละคน เป็นผู้วิงวอนต่อพระเจ้าของเขา ดังนั้น อย่าได้ให้ส่วนหนึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่อีกส่วนหนึ่ง และอย่าทำเสียงดังในการอ่าน เดือนร้อนแก่อีกส่วนหนึ่ง หรือ ท่านนบีกล่าวว่า “ในการละหมาด ...รายงานโดย อบูดาวูด ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ – ดู อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 391
.........
จากหลักฐานข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ห้ามไม่ให้ซิกริลละฮเสียงดังในมัสยิด


อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า

وأختار للإمام والمأموم أن يذكرا الله بعد الإنصراف من الصلاة ويخفيان الذكر إلا أن يكون إماما يجب أن يتعلم منه فيجهر حتى يرى أنه قد تعلم منه ثم يسر

และ ข้าพเจ้าได้ให้ทางเลือกแก่ผู้เป็นอิหม่ามและมะอฺมูม ว่า ให้ทั้งสองซิกริลละฮ หลังจากเสร็จสิ้นจากการละหมาด และให้ทั้งสองซิกริลละฮเบ่าๆ นอกจากว่าอิหม่าม ที่จำเป็นต้องสอนมัน ก็ให้เขาซิกริลละฮดังๆ เมื่อเห็นว่า ได้มีการเรียนรู้จากมันแล้ว ก็ให้เขากล่าวเบ่าๆ – ดู อัลอุม เล่ม 2 หน้า 288

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Sep 11, 2012 11:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถามกุรบาน1ส่วนของ1คนที่ทำแจกเฉพาะญาติพี่น้องได้ไหม ไม่จน

ตอบ

ตามสุนนะอ ให้แบ่งเป็นสามส่วนคือ
หนึง : แจกคนยากจน
สอง : แจกญาต หรือคนใกล้ชิด
สาม : เอาไว้รับประท่านเอง

อิบนุกุดามะฮกล่าวว่า

وَالِاسْتِحْبَابُ أَنْ يَأْكُلَ ثُلُثَ أُضْحِيَّتِهِ ، وَيُهْدِيَ ثُلُثَهَا ، وَيَتَصَدَّقَ بِثُلُثِهَا ، وَلَوْ أَكَلَ أَكْثَرَ جَازَ قَالَ أَحْمَدُ : نَحْنُ نَذْهَبُ إلَى حَدِيثِ عَبْدِ اللَّهِ : يَأْكُلُ هُوَ الثُّلُثَ ، وَيُطْعِمُ مَنْ أَرَادَ الثُّلُثَ ، وَيَتَصَدَّقُ عَلَى الْمَسَاكِينِ بِالثُّلُثِ

และชอบ(หมายถึงสุนัต)ให้รัประทาน หนึ่งส่วนสามของเนื้ออุฎฮียะฮ ,และมอบเป็นเป็นสิ่งกำนัล หนึ่งส่วนสามและบริจาค หนึ่งส่วนสาม และ ถ้ารับประทานมากกว่า ก็อนุญาต , และอะหมัด ได้กล่าวว่า “ เรามีทัศนะ ตามหะดิษอับดุลลอฮ (บิน อับบาส) ร.ฎ) ที่ว่า ให้เขารับประทาน คือ หนึ่งส่วนสาม ,ให้เป็นอาหารแก่ผู้ที่เขาต้องการ หนึ่งส่วนสาม และบริจาคแก่คนขัดสน หนึ่งส่วนสาม – อัลมุฆนีย เล่ม ๗ หน้า ๓๕๕

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ