ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jul 08, 2012 12:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การถือศีลอดหลังนิสฟุชะอฺบาน

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : ( إِذَا انْتَصَفَ شَعْبَانُ فَلا تَصُومُوا ) . صححه الألباني في صحيح الترمذي

รายงานจากอบีฮรัยเราะฮ (ร.ฎ) แท้จริงรวูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า “เมื่อถึงครึ่งหนึ่งของเดือนชะอฺบาน(นิสฟุชะอฺบาน) พวกท่านจงอย่าถือศีลอด – อัลบานีย์ได้ระบุว่ามันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ ในเศาะเฮียะอัตติรมิซีย์ (1)
..... روى أبو داود (3237) والترمذي (738) وابن ماجه (1651)
.........
แต่ถ้าเป็นการถือศีลอดต่อเนื่องมาก่อนหน้านั้นแล้ว ถือว่าอนุญาต ดังหะดิษ

عن عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا قالت : ( كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصُومُ شَعْبَانَ كُلَّهُ ، يَصُومُ شَعْبَانَ إِلا قَلِيلا

รายงานจากท่านหญิงอาอีฉะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า “ปรากฏว่ารซูลุลลฮ ศอ็ลฯ ได้ถือศีลอดในเดือนชะบานทั้งเดือน ปรากฏว่าท่านถือศีลอดในเดือนชะบานเพียงเล็กน้อย-(2)
وروى البخاري (1970) مسلم (1156)(2)

...............อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า

باب النهي عن تقدم رمضان بصومٍ بعد نصف شعبان إلا لمن وصله بما قبله أو وافق عادة له بأن كان عادته صوم الاثنين والخميس

บทว่าด้วยการห้ามไม่ให้ถือศีลอดก่อนเดือนเราะมะฏอน หลังจากเดือนชะบานผ่านไปครึ่งหนึ่ง(นิสฟุชะอบาน) ยกเว้น ผู้ที่ผู้ที่เขาถือศีลอดต่อเนื่องมาก่อนหน้านั้น หรือ ตรงกับธรรมเนียมปกติของเขา เนื่องจากปกติของเขา เขาเคยถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัส – ริญาฮุศอลิฮีน หน้า 412

..........

และข้างต้นชี้ให้เห็นว่า การมาจำกัดเฉพาะถือศีลอดนิสฟุชะอฺบาน เป็นสิ่งที่ขัดกับสุนนะฮอีกด้วย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 17, 2012 10:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องการกล่าวคำเนี่ยต

ท่านเช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

التلفظ بالنية بدعة ، والجهر بذلك أشد في الإثم ، وإنما السنَّة النيَّة بالقلب ؛ لأن الله سبحانه وتعالى يعلم السرَّ وأخفى ، وهو القائل عز وجل : { قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ } الحجرات / 16
ولم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم ولا عن أحدٍ من أصحابه ولا عن الأئمة المتبوعين التلفظ بالنية ، فعلم بذلك أنه غير مشروع بل من البدع المحدَثة ، والله ولي التوفيق

การกล่าวคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ และการกล่าวคำดังกล่าวนั้นด้วยเสียงดัง ยิ่งมีความผิดมากขึ้น และความจริง ตามสุนนะฮ นั้น คือ การเนียตด้วยใจ เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงรู้ยิ่ง สิ่งที่ปิดบังและซ่อนเร้น โดยที่พระองค์ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง กล่าวว่า

قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَاللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

[49.16] จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า พวกท่านจะบอกอัลลอฮ์เกี่ยวกับศาสนาของพวกท่านกระนั้นหรือ? อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

และไม่ปรากฏรายงานที่ได้รับการรับรอง จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ,ไม่มีจากคนใดคนหนึ่งจากเหล่าเศาะฮาบะฮ ของท่านและไม่มีจากบรรดาอิหม่ามที่ได้รับการปฏิบัติตาม ว่า มีการกล่าวคำเนียต ด้วยเหตุนั้น จึงทราบได้ว่า มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ แต่ทว่า (มัน)เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ ที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ วัลลอฮุวะลียุตเตาฟิก - ฟะตะวาอิสลามียะฮ 2/315
http://www.s-oman.net/avb/archive/index.php/t-364921.html

ท่านอิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า

كان صلى الله عليه وسلم إذا قام إلى الصلاة قال : الله أكبر ، ولم يقل شيئاً قبلها ، ولا تلفظ بالنية البتة ، ولا قال : أصلي لله كذا ، مستقبل القبلة ، أربع ركعات ، إمـاماً ، أو مأموماً ، ولا قال : أداءً ، ولا قضاءً ، ولا فرض الوقت ، وهذه عشرُ بدعٍ لم يَنْقُلْ عنه أحدٌ قط بإسنادٍ صحيحٍ ولا ضعيفٍ ولا مُسْنَدٍ ولا مُرْسَلٍ لفظةً واحدةً منها البتة ، بل ولا عن أحد من أصحابِه، ولا استحسنه أحدٌ من التابعين ، ولا الأئمةُ الأربعة اهـ

ปรากฏว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านจะละหมาด ท่านกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร" โดยไม่ได้กล่าวสิ่งใดก่อนหน้านั้น และไม่ได้กล่าวคำเนียตแต่อย่างใด ไม่ได้กล่าวคำว่า"อุศอ็ลลีลิลละอ อย่างนั้น อย่างนี้ มุสตักบิลัลกิบลัต อัรบะอะเราะกะอาต อิมามัน หรือ มะมูมัน และท่านไม่ได้กล่าวคำว่า "อะดาอัน" ไม่ได้กล่าวคำว่า"เกาะฏออ" และไม่ได้กล่าวคำว่า"ฟัรดุลวักติ" และนี้คือ บิดอะฮสิบประการ ที่ไม่มีคนใดรายงานจากท่านบี เลย จะด้วยสายสืบที่เศาะเฮียะก็ไม่มี หะดิษเฏาะอีฟก็ไม่มี หะดิษมุสนัดก็ไม่มี หะดิษมุรสัลก็ไม่มี แม้สักประโยคเดียวก็ไม่มี ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีรายงานจากคนหนึ่งคนใดจากเหล่าเศาะหาบะฮ ไม่คนใดจากบรรดาตาบิอีน เห็นดีและ ไม่มีอิหม่ามคนใดจากอิหม่ามทั้งสี่ (เห็นว่าดี) - ซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 201
...........
ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่า ตะอัศศุบกับอิบนุกอ็ยยิม แต่ ..เมื่อไม่มีบัญญัติไว้ มันจะไม่เป็นสุนัต

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 17, 2012 10:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม


มีผู้อ้างหะดิษข้างล่างว่าเป็นหลักฐานกล่าวคำเนียต

1) الصوم : حدثنا سريج بن يونس حدثنا أبو معاوية عن طلحة بن يحيى عن عائشة بنت طلحة عن عائشة أم المؤمنين قالت ربما دخل علينا رسول الله e فقال لنا هل عندكم من شيء فنقول لا فيقول إني إذا صائم قالت ودخل علينا مرة فقلنا له أهدي لنا حيس فخبأنا لك منه فقال هلموه فإني قد كنت صائما قالت فأكل

………………………………….

มาดูข้อเท็จจริงหะดิษข้างต้นที่ถูกนำมาอ้างว่านบี ศอ็ลฯกล่าวคำเนียตในการถือศีลอด
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของศรัทธาชน ได้เล่าว่า:

دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ Solallah ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ هَلْ : عِنْدَكُمْ شَيْءٌ؟، فَقُلْنَا : لَا، قَالَ : فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ;، ثُمَّ أَتَانَا يَوْمًا آخَرَ، فَقُلْنَا : يَا رَسُولَ اللهِ أُهْدِيَ لَنَا حَيْسٌ، فَقَالَ : أَرِينِيهِ فَلَقَدْ أَصْبَحْتُ صَائِمًا فَأَكَلَ.

ความว่า: ในวันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามาหาฉัน แล้วกล่าวว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?”
พวกเราตอบว่า ไม่มี แล้วท่านก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
หลังจากนั้นท่านก็ได้มาหาพวกเราอีกวันหนึ่ง พวกเราก็กล่าวแก่ท่านว่า โอ้เราะสูลุลลอฮฺ มีคนมอบอิทผาลัมกวนให้แก่พวกเรา ท่านกล่าวว่า “ไหนให้ฉันดูหน่อยซิ แท้จริง เช้านี้ฉันถือศีลอด” แล้วท่านก็กิน. (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 1154)
………….

คำว่า “فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”

เป็นประโยคสนทนาระหว่างท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กับท่านหญิงอาอีฉะฮ หลงจากท่านนบี ถามว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?” ท่านหญิงอาอีฉะฮตอบว่า “ไม่มี” เลยท่านนบี ศอ็ล บอกกับท่านหญิงอาอีฉะฮว่า

“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”

ข้อความข้างต้น ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต ไม่มีเศาะหาบะฮ หรืออิหม่ามมุจญตะฮิดคนใด เอาคำว่า

“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ

มาเป็นหลักฐานว่า มีสุนัตให้กล่าวคำเนียตเวลาจะถือศีลอด การนำหะดิษนี้มาอ้าง เป็นการใช้หะดิษผิดที่ ส่อไปในทางบิดเบือนข้อเท็จจริงของหะดิษ
หะดิษบทนี้ ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้จัดอยู่ในหัวเรื่องที่ว่า

بَاب جَوَازِ صَوْمِ النَّافِلَةِ بِنِيَّةٍ مِنَ النَّهَارِ

บทว่าด้วยเรื่อง การอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัต ด้วยการเนียตในตอนกลางวัน –
..............
การกิยาส คือ
การนำประเด็นที่ไม่มีหลักฐาน ไปเทียบกับประเด็นที่มีหักฐาน เมื่อหะดิษข้างต้นไม่ใช่หลักฐานการกล่าวคำเนียตถือศีลอด แล้ว จะใช้หลักการกิสยาสได้อย่างไร

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 17, 2012 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ท่านอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นการกล่าวคำเนียตว่า

لا يستحب التلفظ بها لأن ذلك بدعة لم تنقل عن رسول الله ولا عن اصحابه ولا أمر النبى أحدا من أمته أن يتلفظ بالنية ولا عَلّم ذلك أحدا من المسلمين ولو كان هذا مشهورا مشروعا لم يهمله النبى وأصحابه مع أن الأمة مبتلاة به كل يوم وليلة بل التلفظ بالنية نقص فى العقل والدين

ไม่ชอบให้กล่าวคำเนียต ด้วยมัน เพราะว่า ดังกล่าวนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่มีรายงานจากท่านรซูลุ้ลลอฮ และไม่มีรายงานจากเหล่าสาวกของท่าน และไม่มีคำสั่งของท่านนบี แก่คนหนึ่งคนใดจากอุมมะฮของท่าน ให้กล่าวคำเนียต และท่านนบีไม่ได้สอนสิ่งนั้นแก่คนหนึ่งคนใดจากบรรดามุสลิม และถ้าหากปรากฏว่า สิ่งนี้(การกล่วคำเนียต) เป็นสิ่งที่แพร่หลาย มีบัญญัติให้กระทำ แน่นอน ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านย่อมไม่เพิกเฉย ทั้งๆที่แท้จริงบรรดาอุมมะฮ เป็นผู้ที่เฝ้าระวังมันอยู่ทุกวัน ทุกคืน (ว่ามีสิ่งใดบ้างบัญญัติแก่พวกเขา) แต่ทว่า การกล่าวคำเนียต คือ ความบกพร่อง ในด้านสติปัญญาและศาสนา - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 22/231
คำว่า “บกพร่องในด้านศาสนา เพราะมันเป็นบิดอะฮ และคำว่า “บกพร่องในด้านสติปัญญา เพราะ เขาอยู่ในฐานะเดียวกับผู้ที่ เมื่อ เขาต้องการทานอาหารแล้วเขากล่าวคำเนียตว่า “ข้าพเจ้าจะเอามือไปตักอาหาร..... - ดู ฟะตาวากุบรอ 2/218 - พฤติกรรมแบบนี้เขาเรียกว่าคนเสียสติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 17, 2012 10:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีผู้อ้างว่าหะดิษข้างล่างเป็นหลักฐานกล่าวคำเนียต

2) حدثنا أبو زرعة عبد الرحمن بن عمرو وعبد الله بن الحسين المصيصي قالا ثنا محمد بن بكار الدمشقي ثنا سعيد بن بشير عن قتادة عن أنس عن أبي طلحة قال سمعت النبي صلى الله عليه وسلم يقول في تلبيته لبيك بحجة وعمرة معا

...............มาดูข้อเท็จจริงจากหะดิษที่ถูกอ้างข้างต้นว่าเป็นหลักฐานการกล่าวคำเนียตจริงหรือไม่

عن قتادة عن أنس عن أبي طلحة قال سمعت النبي صلى الله عليه وسلم يقول في تلبيته لبيك بحجة وعمرة معا

รายงานจากกอตาดะฮ จากอะนัส จากอบีฎอ็ลหะฮ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวในการกล่าวตัลบียะฮของท่านว่า “ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ พร้อมกัน “
.........
ข้างต้น ได้บอกถึงสำนวนในการกล่าวตัลบียะฮของท่านนบีว่า ท่านกล่าวว่า “

لبيك بحجة وعمرة معا

ข้าพเข้าได้สนองคำเรียกร้องต่อพระองค์ด้วยด้วยการทำอุมเราะฮ์และฮัจญฺ พร้อมกัน
ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต แต่อย่างใด มาดูฟัตวาของอิบนุอุษัยมีนในเรื่องนี้

الحمد لله
"إذا قال في النسك : لبيك حجاً ، لبيك عمرة ، ليس هذا من باب ابتداء النية ، لأنه قد نوى من قبل ، ولهذا لا يشرع أن نقول : اللهم إني أريد العمرة ، اللهم إني أريد الحج ، بل انو بقلبك ولب بلسانك ، وأما التكلم بالنية في غير الحج والعمرة فهذا أمر معلوم أنه ليس بمشروع ، فلا يسن للإنسان إذا أراد أن يتوضأ أن يقول : اللهم إني أريد أن أتوضأ ، اللهم إني نويت أن أتوضأ أو بالصلاة : اللهم إني أريد أن أصلى ، اللهم إني نويت أن أصلى . كل هذا غير مشروع ، وخير الهدي هدي محمد صلى الله عليه وسلم" انتهى .

อัลหัมดุลิลละฮ

เมื่อเขากล่าว ในการประกอบพิธีหัจญ์ว่า “ลับบัยกะหัจญัน,ลับบัยกะอุมเราะตัน” กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องการเริ่มต้นการเนียต เพราะเขาได้เนียตมาก่อนแล้ว และเพราะเหตุนี้ ไม่มีบัญญัติให้เรากล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำหัจญ์,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำอุมเราะฮ แต่ทว่า จงเนียตด้วยใจของท่าน และจงกล่าวตัลบียะฮด้วยวาจาของท่าน และสำหรับการกล่าวคำเนียต ในอื่นจากหัจญและอุมเราะฮนั้น นี้เป็นสิ่งที่รู้กันว่าไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ ดังนั้นจึงไม่สุนัตให้ผู้คน กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะเอาเอาน้ำละหมาด, โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะเอาน้ำละหมาด เมื่อเขาต้องการอาบน้ำละหมาด หรือ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะละหมาด ,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะละหมาด ทั้งหมดนี้ ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ และ ทางนำที่ดีนั้น คือ ทางนำของมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –มัจญมัวะฟะตาวาอิบนุอุษัยมีน เล่ม 22 หน้า 20

.................

เพราะฉะนั้น ต้องดูเป็นเรื่องว่าในเรื่องนั้นท่านบีสอนไว้อย่างไรแค่ใหน ไม่ใช่โมเมกิยาสมั่วไปหมดเพื่อจะหาความชอบธรรมแก่ทัศนะของตน โดยไม่สนใจว่า ท่านนบี ศอ็ลฯ และเหล่าเศาะหาบะฮได้ปฏิบัติไว้หรือไม่ น้องชารีฟเอาเรื่องเก่าๆ ที่ผมได้สนทนากับอารีฟีน ซึ่งตอนนั้น คงมีรายละเอียดไม่มากนัก แต่ ก็สรุปได้ว่า การกล่าวคำเนียต มาจากข้ออ้าง ไม่ได้มาจากหลักฐานจริงๆที่เป็นสุนนะฮนบี

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 21, 2012 12:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้สอนให้กล่าวคำเนียต


มีนักวิชาการคนหนึ่งอ้างว่า อิหม่ามชาฟิอีกล่าวคำเนียต
อิหม่ามอัลมาวัรดีย์กล่าวว่า

قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ الزُّبَيْرِيُّ - مِنْ أَصْحَابِنَا - : لَا يُجْزِئُهُ حَتَّى يَتَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ تَعَلُّقًا بِأَنَّ الشَّافِعِيَّ قَالَ فِي كِتَابِ " الْمَنَاسِكِ " : وَلَا يَلْزَمُهُ إِذَا أَحْرَمَ بِقَلْبِهِ أَنْ يَذْكُرَهُ بِلِسَانِهِ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ الَّتِي لَا تَصِحُّ إِلَّا بِالنُّطْقِ فَتَأَوَّلَ ذَلِكَ عَلَى وُجُوبِ النُّطْقِ فِي النِّيَّةِ

อบูอับดุลลอฮ อัซซุบัยรีย์ จากสะหายของเรา กล่าวว่า “ มัน(การเนียต)จะใช้ไม่ได้ จนกว่า เขาจะกล่าวด้วยวาจาของเขา โดยอ้างว่า ชาฟิอีกล่าวในหนังสือ อัลมะนาสิกว่า “และเมื่อเขาเจตนาเอียะรอม ด้วยใจของเขาแล้ว ก็ไม่จำเป็นแก่เขาว่าจะต้องกล่าวมันด้วยวาจาของเขา โดยที่ไม่เหมือนกับละหมาด ซึ่ง มันจะใช้ไม่ได้ นอกจากต้องด้วยการกล่าวเป็นคำพูด ดังนั้น ดังกล่าวนั้น หมายถึงจำเป็นจะต้องกล่าวด้วยวาจาในการเนียต – ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204
แล้วอิหม่ามอัลมาวัรดี ก็กล่าวแย้ง ข้ออ้างของอัซซุบัยดีย์ว่า

وَهَذَا فَاسِدٌ ، وَإِنَّمَا أَرَادَ وُجُوبَ النُّطْقِ بِالتَّكْبِيرِ

และนี้คือ เป็นคำพูดเท็จ ความจริง เขา(อิหม่ามชาฟิอี) หมายถึง การกล่าวตักบีร ด้วยวาจา -ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204
……………
จะเห็นได้ว่าการกล่าวว่าอิหม่ามชาฟิอี สอนกล่าวคำเนียต เป็นการอ้างเท็จแก่ท่าน




لِأَنَّ الشَّافِعِيَّ - رَحِمَهُ اللَّهُ - قَالَ فِي الْحَجِّ : إذَا نَوَى حَجًّا أَوْ عُمْرَةً أَجْزَأَهُ ، وَإِنْ لَمْ يَتَلَفَّظْ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ لَا تَصِحُّ إلَّا بِالنُّطْقِ . قَالَ أَصْحَابُنَا : غَلِطَ هَذَا الْقَائِلُ ، وَلَيْسَ مُرَادُ الشَّافِعِيِّ بِالنُّطْقِ فِي الصَّلَاةِ هَذَا ، بَلْ مُرَادُهُ التَّكْبِيرُ وَلَوْ تَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ وَلَمْ يَنْوِ بِقَلْبِهِ لَمْ تَنْعَقِدْ صَلَاتُهُ بِالْإِجْمَاعِ فِيهِ

เพราะอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวในเรื่อง หัจญ์ว่า “เมื่อเขาเนียตหัจญ์หรือ อุมเราะฮ ก็ใช้ได้แล้ว แม้เขาจะไม่กล่าวคำเนียต และไม่เหมือนกับละหมาด มันจะใช้ไม่ได้นอกจาก ต้องกล่าวเป็นคำพูด) บรรดาสหายของเรากล่าวว่า ผู้พูดคนนี้(คนที่อ้างคำพูดชาฟิอี)นั้นผิดพลาด ความต้องการของอิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้หมายถึงกล่าว(คำเนียต)เป็นคำพูดในละหมาด ในกรณีนี้ แต่ทว่า เขา(อิหม่ามชาฟิอี)หมายถึงการกล่าวตักบีร และหากแม้กล่าวคำเนียตด้วยวาจา ของเขา และไม่ได้เนียตด้วยใจของเขา การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ ด้วยมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ในมัน – อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 241

อิหม่ามตะกียุดดีน กล่าวไว้ในหนังสือ กิฟายะตุลอัคยาร ฟิกฮมัซฮับชาฟิอีย์ เล่ม 2 หน้า 102 ว่า

واعلم أن النية في جميع العبادات معتبرة بالقلب فلا يكفي نطق للسان
และพึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริงการเนียตในบรรดาอิบาดาตนั้น ถูกพิจารณา (การเนียต)ด้วยใจดังนั้น การกล่าวคำเนียตด้วยวาจานั้น ไม่พอเพียง
..............................
เพราะฉะนั้น ไร้สาระที่จะมาพูดเรื่อง การกล่าวคำเนียต เพราะการกล่าวคำเนียตไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 23, 2012 11:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การตักเตือนหรืออบรม ในระหว่าง 4 เราะกะอัต ในละหมาดตะรอเวียะ

มีบางมัสยิด ที่เรียกกลุ่มตนเองว่า เป็นชาวสุนนะฮ แต่ก็ทำบิดอะฮเช่นกันคือ จะมีการจัดนะศีหัต หรือมีการอบรมศาสนาระหว่าง สี่เราะกะอัตละหมาดตะรอเวียะ ซึ่งไม่ปรากฏว่าชาวสะลัฟเขาทำกัน
เช็ค อัลบานีย์ได้กล่าวว่า

قيام رمضان شُرع فقط لزيادة التقرب إلى الله عز وجل بصلاة القيام , ولذلك فلا نرى نحن أن نجعل صلاة التراويح يخالطها شيء من العلم والتعليم ونحو ذلك , وإنما ينبغي أن تكون صلاة القيام محض العبادة

กิยามเราะมะฏอน ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อเพิ่มความใกล้ชิด ต่ออัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง และทรงเลิศยิ่ง ด้วยการละหมาดกิยามเราะมะฎอนเท่านั้น และเพราะเหตุดังกล่าวนั้น เรา เราเองไม่เห็นด้วยที่เราจะนำสิ่งใดๆจากวิชาความรู้ ,การสอนและในทำนองนั้น มาปะปนกับละหมาดตะรอเวียะ และความจริง ควรจะให้การละหมาดกิยามเราะมะฏอนนั้น เป็นอิบาดะฮเพียวๆ(ไม่ปะปนกับสิ่งอื่น) – ดู สิลสิละฮอัลฮุดา วัลนูร หน้า 693

มีคนถามเช็คอุษัยมีน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า
ما حكم الموعظة بين صلاة التراويح أو في وسطها ويكون هذا دائماً؟
การอบรม ระหว่างละหมาดตะรอเวียะ หรือ ในช่วงกลางของมัน และ มีอย่างนี้ เป็นประจำ มีหุกุมว่าอย่างรไร?

ท่านอิบนุอุษัยมีนตอบว่า

أما الموعظة فلا، لأن هذا ليس من هدي السلف , لكن يعظهم إذا دعت الحاجة أو شاء بعد التراويح، وإذا قصد بهذا التعبد فهو بدعة, وعلامة قصد التعبد أن يداوم عليها كل ليلة

สำหรับการอบรม นั้น ไม่ได้ เพราะนี้ ไม่ได้มาจากทางนำของชาวสะลัฟ แต่ให้อบรมพวกเขา เมื่อมีความจำเป็นหรือมีความประสงค์ หลังจากที่ละหมาดตะรอเวียะเสร็จแล้ว และเมื่อ เจตนา ให้เป็นอิบาดะฮ ด้วยการกระทำนี้ มันคือ บิดอะฮ และเครื่องหมายที่แสดงว่า เจตนา ให้เป็นอิบาดะฮ คือ การทำเป็นประจำทุกคืน –ลิกออุลบาบอัลมัฟตัวะห์ หน้า 118

..ระวังว่าแต่เขา แต่อิเหนาเป็นเอง.......

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 25, 2012 6:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Lo-ol Chomthong
การที่อีหม่ามถือมุสฮัฟขึ้นอ่านนำละหมาด มีฮูก่มว่ายังไงคับ แล้วมะมูมถือด้วยได้มั้ย


ตอบ

إذا كان إمساك المصحف مِن أجل القراءة ، فهو جائز ، فقد كان لعائشة رضي الله عنها غلام يؤمّها في الصلاة ويقرأ من المصحف وهي تُصلي خلفه . رواه البخاري تعليقا ، ووصله عبد الرزاق وابن أبي شيبة

เมื่อถือมุศหับ(เล่มกุรอ่าน) เนื่อจากการอ่าน มันเป็นที่อนุญาต แท้จริงปรากฏว่า ท่านหญิงอาอีฉะฮ (ร.ฎ) มีทาสชายคนหนึ่ง ได้นำละหมาดนาง และเขาอ่านจากมุสหับ โดยที่นางละหมาดตามหลังเขา- รายงานโดยบุคอรี เป็นหะดิษมุอัลลักและอับดุรรอซซากและอิบนุอบีชัยบะฮ ได้ระบุว่าเป็นหะดิษมุตตะศิล(คือโดยที่เขาได้ระบุผู้รายงานที่ตกหล่นไป)
............
หมายเหตุ

1. นิยามฮะดีษมุอัลลัก คือฮะดีษที่ผู้รายงานหนึ่งคน หรือมากกว่าหนึ่งคนหลุดร่วงไปจากต้นของสายรายงานเป็นการหลุดร่วงไปอย่างชัดเจน ไม่มีอะไรซ่อนเร้น แม้การหลุดร่วงจะติดต่อกันจนถึงปลายของสายรายงาน จนถึงคำพูดของผู้เรียบเรียงยุคหลังที่กล่าวว่า :ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้กล่าวว่าก็ตาม

2. หะดิษมุตตะศิลคือ คือ หะดิษที่สายรายงานของมัน ต่อเนื่องไปจนถึงสุดท้ายของสายรายงาน ไม่ว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงนบี หรือ ไปถึงบุคคลอื่นจากนบีก็ตาม -
http://www.almeshkat.net/vb/showthread.php?t=79587

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 25, 2012 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาจารย์ครับผมอยากทราบว่า ขณะเวลาเอามัยยิตหรือมัยยีตะห์ลงหลุมอ่ะครับ มีการให้กล่าวดุอาอะไรมั้ยครับในตอนนั้่นหรือว่ายืนเฉยๆ ขอเหตุผลและหลักฐานด้วยครับอาจารย์

ตอบ

อิหม่ามนะวาวีย์ ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า

" يستحب أن يقول الذي يدخله القبر عند إدخاله القبر بسم الله وعلي ملة رسول الله أو علي سنة رسول الله صلى الله عليه وسلم "

ชอบให้ผู้ที่นำมัยยิตลงใน
ในหลุมศพ ให้เขากล่าวขณะนำเขา(มัยยิต)ลงในหลุมศพว่า “บิสมิลละฮ วะอะลามิลละติ เราะซูลิลละฮ หรือ อะลาสุนนะติเราะซูลิลละฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – ดูชัรหุอัลมุหัซซับ เล่ม 5 หน้า 257

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jul 25, 2012 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ละหมาดของมุนาฟิกฮ


إِنَّ الْمُنَافِقِينَ يُخَادِعُونَ اللَّهَ وَهُوَ خَادِعُهُمْ وَإِذَا قَامُوا إِلَى الصَّلَاةِ قَامُوا كُسَالَى يُرَاءُونَ النَّاسَ وَلَا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا قَلِيلًا

ความว่า "แท้จริงบรรดามุนาฟิกูน(ชนผู้สับปลับ)นั้น พวกเขาได้หลอกลวงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงลวงพวกเขา และเมื่อพวกเขาลุกขึ้นละหมาดก็จะลุกยืนอย่างผู้เกียจคร้านโดยปฏิบัติไปเพื่อแสร้งให้คนดู และพวกเขาจะไม่รำลึกถึงอัลลอฮฺเว้นแต่นิดเดียวเท่านั้น" (อัน-นิสาอ์ : 142)

คำว่า وَلَا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا قَلِيلًا
หมายถึง การคุชัวะ ในละหมาด ดังที่อิบนุกะษีรอธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( وَلَا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا قَلِيلًا ) أَيْ : فِي صَلَاتِهِمْ لَا يَخْشَعُونَ [ فِيهَا
และคำตรัสอัลลอฮที่ว่า (และพวกเขาจะไม่รำลึกถึงอัลลอฮฺเว้นแต่นิดเดียวเท่านั้น") หมายถึง ในละหมาดของพวกเขา พวกเขาไม่คุชัวะ(ในมัน)
แล้วท่านอิบนุกะษีร อ้างหะดิษข้างล่าง
านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ تِلْكَ صَلَاةُ الْمُنَافِقِ يَجْلِسُ يَرْقُبُ الشَّمْسَ حَتَّى إِذَا كَانَتْ بَيْنَ قَرْنَيْ الشَّيْطَانِ قَامَ فَنَقَرَهَا أَرْبَعًا لَا يَذْكُرُ اللَّهَ فِيهَا إِلَّا قَلِيلًا

“ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า นั่นคือละหมาดของคนมุนาฟิก เขานั่งรอจนกระทั่งดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า แล้วเขายืนขึ้นทำละหมาด เขาทำละหมาดเหมือนไก่จิก 4 ร็อกอะฮ์ โดยที่เขาไม่ได้รำลึกอัลเลาะฮ์ในละหมาดเลยนอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” รายงานโดยมุสลิม ฮะดีษลำดับที่ 622.-ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 140

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 28, 2012 10:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การลูบศีรษะในการอาบน้ำละหมาด


1.ในกรณีไม่โพกสะระบัน

จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุเซด ว่า

. ثُمَّ مَسَحَ رَأْسَهُ بِيَدَيْهِ فَأَقْبَلَ بِهِمَاوَأَدْبَرَ ، بَدَأَ بِمُقَدَّمِ رَأْسِهِ حَتَّى ذَهَبَ بِهِمَا إِلَى قَفَاهُ ، ثُمَّ رَدَّهُمَا إِلَى الْمَكَانِ الَّذِي بَدَأَ مِنْهُ

......... หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลฯ ได้เช็ดศีรษะของท่านด้วยมือทั้งสองโดยลูบไปมา ท่านเริ่มด้านหน้าศีรษะแล้วไปยังท้ายทอยและท่านก็ลูบย้อนกลับมา ที่เดิม ซึ่งท่านได้เริ่มต้นจากมัน –รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม

2.ข้างล่างในกรณีโพกสะระบัน

(أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَوَضَّأَ ، فَمَسَحَ بِنَاصِيَتِهِ ، وَعَلَى الْعِمَامَةِ ، وَعَلَى الْخُفَّيْنِ) . رواه البخاري (182) ومسلم (274

แท้จริงท่านนบี ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้อาบน้ำละหมาด
และได้เช็ดผมด้านหน้า และเช็ดบนสะระบั่น และเช็ดบนคุฟทั้งสอง
รายงานโดยบุคคอรี และมุสลิม

อัลมิกดาม อิบนุ มะฮดี ยักริบ ว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَسَحَ فِي وُضُوئِهِ رَأْسَهُ وَأُذُنَيْهِ ظَاهِرَهُمَا وَبَاطِنَهُمَا وَأَدْخَلَ أُصْبُعَيْهِ فِي صِمَاخَيْ أُذُنَيْهِ } قَالَ الْحَافِظُ : وَإِسْنَادُهُ حَسَنٌ

แท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลูบศีรษะของท่านและใบหูของท่านในการอาบน้ำละหมาดของท่าน โดย ทั้งภายนอกและภายในและเอาเอานิ้วมือของท่านสอดเข้าในรูหูของท่านทั้งสอง – อัลหาฟิซกล่าวว่า “สายรายงานของมันอยู่ในระดับหะซัน(ดี) – ดู อัลมุวัฏเฏาะอฺ เล่ม 1 หะดิษหมายเลข 194 เรืองการลูบภายนอกและภายในของหู

เวลาลูบหรือเช็ดใบหูนั้น ท่านนบี ศอ็ลฯทำแบบอย่างไว้ดังนี้

مَسَحَ بِرَأْسِهِ وَأُذُنَيْهِ بَاطِنَهُمَا بِالْمُسْبَحَتَيْنِ وَظَاهِرَهُمَا بِإِبْهَامَيْهِ

ท่านนบีลูบศีรษะและหูทั้งสองของท่าน ภายในมันทั้งสองด้วยนิ้วชี้ทั้งสอง และภายนอกของมันทั้งสองด้วยหัวแม่มือของท่าน ทั้งสอง – ดูจากหนังสือที่อ้างแล้ว

และท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ลูบศีรษะเพียงครั้งเดียวเท่านนั้นดังหะดิษ

وَعَنْ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ { أَنَّهُ رَأَى رَسُولَ اللَّه صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَوَضَّأُ فَذَكَر الْحَدِيثَ كُلَّهُ ثَلَاثًا ثَلَاثًا وَمَسَحَ بِرَأْسِهِ وَأُذُنَيْهِ مَسْحَةً وَاحِدَةً . } رَوَاهُ أَحْمَدُ وَأَبُو دَاوُد
รายงานจากอิบนุอับบาส (ร.ฎ)ว่า เขาเห็นรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อาบน้ำละหมาด แล้วเขาได้ระบุหะดิษ ว่า ทั้งหมด ทำสามครั้ง สามครั้ง และท่านได้ลูบศีรษะ และใบหูทั้งสองของท่าน เพียงครั้งเดียว- รายงานโดย อะหมัดและอบูดาวูด - นัยลุลเอาฏอร เล่ม 1 หน้า 201
.........
.
สรุปวิธีอาบนี้ละหมาดของท่านนบี ศอ็ล ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจคำว่า “

وَامْسَحُواْ بِرُؤُوسِكُمْ

และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า
คือ
1. ตั้งเจตนาหรือเนียตในใจ โดยไม่ต้องกล่าวออกมาเป็นถ้อยคำเพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยเปล่งเป็นคำพูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเจตนาเพื่ออาบน้ำละหมาด เพื่อละหมาด และอิบาดะฮฺอื่นๆ และเพราะว่าอัลลอฮฺทรงทราบสิ่งที่อยู่ในใจของแต่ละคน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวเป็นคำพูดถึงสิ่งที่ได้ตั้งเจตนาไว้ในใจ

2. กล่าวเริ่มต้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า “บิสมิลลาฮฺ”

3. ล้างมือทั้งสองข้าง 3 ครั้ง

4. เอาน้ำบ้วนปาก พร้อมๆ กับสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออก 3 ครั้ง

5. ล้างใบหน้าให้ทั่ว 3 ครั้ง โดยด้านขวางเริ่มจากหูข้างหนึ่งไปสุดที่หูอีกข้างหนึ่ง ส่วนด้านยาวเริ่มจากโคนผมตรงหน้าผากไปจรดที่ใต้คาง

6. ล้างแขนทั้งสองข้าง เริ่มจากปลายนิ้วมือจนถึงข้อศอก 3 ครั้งโดยเริ่มล้างจากข้างขวาก่อนแล้วต่อด้วยข้างซ้าย

7. ใช้น้ำลูบศีรษะด้วยมือทั้งสองเพียงครั้งเดียว โดยเริ่มลูบจากด้านหน้าผากไปยังท้ายทอยแล้ววกกลับมาที่เดิมอีกทีหนึ่ง

8. ลูบใบหูทั้งสองข้างหนึ่งครั้ง โดยนำนิ้วชี้ทั้งสองข้างชอยเข้าไปเช็ดใบหูส่วนใน และใช้หัวแม่มือลูบเช็ดใบหูด้านนอก

9. ล้างเท้าทั้งสองข้าง เริ่มจากปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อเท้าหรือตาตุ่ม 3 ครั้ง โดยเริ่มล้างจากข้างขวาก่อนแล้วต่อด้วยข้างซ้ายอย่างเป็นลำดับ
...............
ดังนั้น ใครบอกว่า สุนนะฮนบี ตามก็ได้ ไม่ตามก็ได้เป็นสุนัต ก็ตามแต่จะคิดครับ ไม่มีใครบังคับได้ แต่ผมถือว่า สุนนะฮนบีต้องมาก่อนมัซฮับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Sat Jul 28, 2012 10:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การละหมาดเป็นเสาหลัก ไฉนจึงมีมุสลิมจำนวนไม่น้อยไม่ศึกษาเรื่องการละหมาดอย่างละเอียด เพื่อพัฒนาตัวละหมาดของเขาให้ดียิ่งขึ้น หลายคนไม่รู้ความหมายของสิ่งที่ถูกกล่าวในละหมาดแม้แต่อัลฟาติหะฮ์ ทั้งที่ละหมาดมามากกว่าห้าสิบปีแล้ว ผมรู้สึกเป็นห่วงและเสียดายแทน ขอให้ทุกคนศึกษาเรื่องการละหมาดในทุกแง่มุม เพื่ออิบาดะฮ์นี้ของเราจะครบถ้วนและสมบูรณ์ อินชาอัลลอฮ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 28, 2012 11:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

وَامْسَحُواْ بِرُؤُوسِكُمْ
และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า

มีคนบอกว่า อักษร “บา” ในข้อความข้างต้น คือ บาอฺลิตตับอีฎ ซึ่งหมายถึง ลูบหรือเช็ดบางส่วนก็ได้ ที่นี้มาดูความชัดเจนในเรื่องนี้
ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวอธิบายว่า

وَقَوْلُهُ : ( وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ ) اخْتَلَفُوا فِي هَذِهِ " الْبَاءِ " هَلْ هِيَ لِلْإِلْصَاقِ ، وَهُوَ الْأَظْهَرُ أَوْ لِلتَّبْعِيضِ؟ وَفِيهِ نَظَرٌ عَلَى قَوْلَيْنِ . وَمِنَ الْأُصُولِيِّينَ مَنْ قَالَ : هَذَا مُجْمَلٌ فَلْيُرْجَعْ فِي بَيَانِهِ إِلَى السُّنَّةِ ،

และคำตรัสของพระองค์ (และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า) พวกเขามีความเห็นขัดแย้งกันใน กรณีนี้ คือ “อักษรบาอฺ” ว่า มันเป็นบาอฺลิลอิลศอก และมันคือความชัดเจนที่สุด หรือ บาอฺลิตตับอีฎ ?
และในมัน(ในประเด็นอักษรบาอฺ) พิจารณา บนสองทัศนะ และ ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการด้านหลักนิติศาสตร์อิสลาม คือผู้ที่กล่าวว่า “กรณีนี้เป็น มุจญมัล (เป็นความหมายโดยรวม) ดังนั้น จงกลับไปดูคำอธิบายมันในอัสสุนนะฮ.......
แล้วท่านอิบนุกะษีรได้นำตัวอย่างหะดิษเกี่ยวการลูบศีรษะ เช่น

หะดิษอับดุลลอฮฺ อิบนุเซด ว่า

. ثُمَّ مَسَحَ رَأْسَهُ بِيَدَيْهِ فَأَقْبَلَ بِهِمَاوَأَدْبَرَ ، بَدَأَ بِمُقَدَّمِ رَأْسِهِ حَتَّى ذَهَبَ بِهِمَا إِلَى قَفَاهُ ، ثُمَّ رَدَّهُمَا إِلَى الْمَكَانِ الَّذِي بَدَأَ مِنْهُ

......... หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลฯ ได้เช็ดศีรษะของท่านด้วยมือทั้งสองโดยลูบไปมา ท่านเริ่มด้านหน้าศีรษะแล้วไปยังท้ายทอยและท่านก็ลูบย้อนกลับมา ที่เดิม ซึ่งท่านได้เริ่มต้นจากมัน

และอิบนุกะษีร ได้กล่าวถึง อัลมิกดาม อิบนุ มะฮดี ยักริบ - ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 43 อธิบาย ซูเราะฮอัลมาอิดะฮอายะฮที่ 6

หะดิษอัลมิกดาม มะฮดิยักรอบดังกล่าวคือ คือ

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَسَحَ فِي وُضُوئِهِ رَأْسَهُ وَأُذُنَيْهِ ظَاهِرَهُمَا وَبَاطِنَهُمَا وَأَدْخَلَ أُصْبُعَيْهِ فِي صِمَاخَيْ أُذُنَيْهِ

แท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลูบศีรษะของท่านและใบหูของท่านในการอาบน้ำละหมาดของท่าน โดย ทั้งภายนอกและภายในและเอาเอานิ้วมือของท่านสอดเข้าในรูหูของท่านทั้งสอง...
...........

ท่านอิบนุกะษีรยืนยันว่า อักษรบฺ ในคำว่า “بِرُءُوسِكُمْ ที่ชัดเจนที่สุดคือ บาอฺ อิลอัลศอก ซึ่งหมายถึงลูบทั้งหมด ไม่ใช่บางส่วน นี้ คือ ความชัดเจน ที่ผู้ต้องการเอารซูลุลลอฮ ศอ็ลฯเป็นแบบอย่างควรจะนำมาปฏิบัติ

หมายเหตุ
1.บาอฺลิลอิลศอก คือ อักษรบาอฺที่เป็นคำบุพบทที่แสดงบอกว่ารวมกันหรือครอบคลุมทั้งหมด 2. บาอฺลิตตับอีฎ หมายถึง อักษรบาที่เป็นคำบุพบทที่แสดงบอกว่า เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด


_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jul 29, 2012 2:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะหมัดรอซีดี บินอุษมาน อิสมัญ อ. อาสัน สบายดีน่ะครับ .... จริงอยู่ที่ท่านหยิบยก หลักฐานของอิบนิตัยมียะ ในเรื่อง ที่อัลลอนั้น ไม่เหมือนกับมัคโลค แต่ท่านลองกล่าวมาสิครับ ว่า กลุ่มวะฮฺบี ที่บอกว่า อัลลอฮอยู่บนอะรัชอะ เหนืออย่างไรที่ไม่เหมือนกับมัคโลค ผมงงมากครับ.... หรือถ้าท่านอ. ไม่มีอะกีดะืแบบนี้ ก็อัลฮำดุลิ้ลลา ครับ

..................

ตอบ

1. เมื่ออัลลอฮไม่เหมือนมัคลูค มันก็จบ บรรดาเศาะหาบะฮ จึงไม่ถามท่านนบี ว่า แล้วไม่เหมือนอย่างไร เมื่อได้ยินอายะฮต่อไปนี้ เพราะถ้าพวกเขาถามก็ต้องมีรายงานว่าท่านนบี ศอ็ล อธิบายไว้

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ

ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น – อัชชูรอ/11
เพราะฉะนั้น คนที่เขาเข้าใจอายะฮข้างต้น เขาจะจบอยู่แค่นี้ เพราะ อัลลอฮทรงอยู่นอกเหนือจินตนาการ และคนเข่าใจเขาจะไม่ใช้คำถามว่า “ไม่เหมือนอย่างไร”


2. อัลลอฮ อยู่เหนืออะรัช ประโยคนี้ ไม่ใช่เป็นคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ หรือของผู้ใด แต่เป็นคำตรัสของอัลลอฮ ที่เป็นพระเจ้าของ ของมนุษย์ทุกคนรวมถึง อะหมัดรอซีดี บินอุษมาน อิสมัญ ด้วย

الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى

ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
(สูเราะฮฺฏอฮา 20 : 5)

ส่วนทรงสถิตอย่างไร แบบใหน นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความรู้ของเรา ด้วยเหตุผลกล่าวมาแล้วในข้อที่ 1 และท่านอิบนุตัยมียะฮก็ได้อธิบายไว้ชัดเจนคือ

فنؤمن بأن الله تعالى قد استوى على العرش ، استواء حقيقيا يليق بجلاله سبحانه ، ليس كاستواء البشر ، ولكن كيفية الاستواء مجهولة بالنسبة لنا ؛ ولذا ، فإننا نفوض كيفيته إلى الله ، كما قال الإمام مالك وغيره لما سئل عن الاستواء : "الاستواء معلوم ، والكيف مجهول" .

แล้วเราศรัทธา ว่าอัลลอฮตะอาลา ทรงประทับเหนือบัลลังค์(อะรัช) เป็นการประทับจริง ที่เหมาะสมกับความยื่งใหญ่และความบริสุทธ์ของพระองค์ ไม่เหมือนกับการประทับของมนุษย์ แต่ว่า รูปแบบวิธีการประทับเป็นอย่างไรนั้น สำหรับเรา ไม่เป็นที่รู้กัน และเพราะเหตุนี้ เราจึงมอบหมาย(ความรู้เกี่ยวกับ)รูปแบบวิธีการของมัน ไปยังอัลลอฮ ดังที่อิหม่ามมาลิก และคนอื่นจากเขากล่าวต่อสิ่งที่ถูกถามเกี่ยวกับอัลอิสติวาอฺว่า “การประทับนั้น เป็นที่รู้กัน และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน
ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา ของชัยคุลอิสลาม เล่ม 3 หน้า 23
ทุกอย่างมันมีข้อสรุปอยู่ในอยู่ในคำว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ

ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น – อัชชูรอ/11

และอัลลอฮ อยู่เบื้องสูง เราเชื่อแบบนี้ เพราะทรงบอกไว้ เท่าที่ดู ผู้ที่ปฏิเสธเรื่องนี้ในอดีตคือ ฟีรเอาน์ ดังอายะฮที่ว่า

وَ قالَ فِرْعَوْنُ يا هامانُ ابْنِ لي صَرْحاً لَعَلِّي أَبْلُغُ الْأَسْبابَ * أَسْبابَ السَّماواتِ فَأَطَّلِعَ إِلى إِلهِ مُوسى وَ إِنِّي لَأَظُنُّهُ كاذِباً

และฟิรเอานฺกล่าวว่า โอ้ฮามานเอ๋ย! จงสร้างหอสูงให้ฉันเพื่อฉันจะได้บรรลุถึงทางที่จะขึ้นไป ทางที่จะขึ้นไปสู่ชั้นฟ้าทั้งหลาย เพื่อฉันจะได้เห็นพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันคิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขาเป็นคนโกหก (สูเราะฮฺฆอฟิร 40 : 36-37)”
ท่านอะหฺมัด บิน อับดุลหะลีม อัล-หะรอนีย์ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า

كَذَّبَ مُوسَى فِي قَوْلِهِ إنَّ اللَّهَ فَوْقَ السَّمَوَاتِ
“ฟิรเอานฺปฏิเสธมูซา ที่กล่าวว่า แท้จริง อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า”- มัจญ์มูอฺ อัล-ฟะตาวา 3/225

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Aug 01, 2012 5:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอียะติกาฟเฉพาะตอนกลางคืนเนื่องจากต้องทำงานในตอนกลางวันได้ไหม


الفتوى رقم ( 18979 )ฟัตวา หมายเลข 18973

س: إننا نعمل في محل بيع ملابس وفي شهر رمضان في العشر الأواخر لا نستطيع الاعتكاف في النهار حسب ظروف العمل، هل يصح أن نعتكف في الليل فقط وفي النهار نعمل في المحل؟

ถาม แท้จริงเราทำงานในสถานที่ขายเสื้อผ้า โดยที่ ในเดือนเราะมะฎอน ในสิบคืนสุดท้าย เราไม่สามารถที่จะเอียะติกาฟในตอนกลางวันได้ เนื่องจากเวลาทำงาน การที่เราเอียะติกาฟ ในกลางคืนเท่านั้น ใช้ได้หรือไม่ โดยที่กลางวันเราทำงานในสถานที่ทำงาน?

ج: يجوز الاعتكاف ولو ساعة من الزمن بمسجد تقام فيه صلاة الجماعة، ويصح الاعتكاف بلا صوم على الصحيح من أقوال العلماء؛ لما رواه عبد الله بن عمر عن عمر بن الخطاب رضي الله عنهما أنه قال: يا رسول الله إني نذرت في الجاهلية أن أعتكف ليلة في المسجد الحرام، فقال له النبي صلى الله عليه وسلم: " أوفِ بنذرك فاعتكف ليلة " أخرجه البخاري ومسلم في (صحيحيهما) وهذا لفظ البخاري (ج2 ص260) ولو كان الصوم شرطًا لصحة الاعتكاف لما أقره النبي صلى الله عليه وسلم على اعتكاف الليل فقط، وعلى ذلك يجوز لكم تحديد نية الاعتكاف في الليل فقط دون النهار لما ذكرتم ولكم أجر بقدر ذلك إن شاء الله.

ตอบ

อนุญาตให้เอียตกาฟ แม้สักหนึ่งชัวโมง จากมัสยิดที่มีการละหมาดญะมาอะฮ และ การเอียะติกาฟโดยไม่ได้ถือศีลอด ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอฺที่เศาะเฮียะ นั้นใช้ได้ (1) เพราะมีหะดิษรายงานโดยอับดุลลอฮอิบนุอุมัร จากอุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ (ร.ฎ) ว่าเขากล่าวว่า”โอ้รซูลุลลอฮ แท้จริงข้าพเจ้าเคยบนบานในสมัยญาฮิลียะฮว่า จะเอียะติกาฟตอนกลางคืน ในมัสยิดอัลหะรอม จะได้ไหม? รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ท่านจงปฏิบัติตามที่ท่านได้บนบานไว้เถิด แล้วเขาก็ได้เอียะติกาฟในตอนกลางคืน” - บันทึกโดย บุคอรีและมุสลิม (ในเศาะเฮียะของเขาทั้งสอง) และสำนวนนี้ รายงานโดยบุคอรี (2/260) และถ้าการถือศีลอด เป็นเงื่อนไข ที่ทำให้การถือศีลอดใช้ได้ แน่นอน ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็จะไม่รับรองการถือศีลอดเฉพาะในตอนกลางคืน
บนเหตุผลดังกล่าว จึงอนุญาต ให้เนียตเอียะติกาฟเฉพาะตอนกลางคืน โดยไม่เอียะติกาฟในตอนกลางวันได้ ดังสิ่งที่พวกท่านระบุไว้ และพวกท่านจะได้รับผลตอบแทนตามปริมาณนั้น อินชาอัลลอฮ
وبالله التوفيق، وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم. اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء الرئيس : عبد العزيز بن عبد الله بن باز
……………………………………………..
(1) หมายถึงนอกเดือนเราะมะฏอน หากในเดือนเราะมะฏอน การเอียะติกาฟจะต้องควบคู่กับการถือศีลอด)
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ