ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 14, 2013 2:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัล-อิสลามมียะห์ สุนนะฮ แล้วในกรณีที่ร่างกาย หรือเสื้อผ้าของเราเปลื้อนนายิส โดยทีเวลาละหมาดก้อเข้ามาแล้ว ไม่มีเสื้อผ้าเปลี่ยนเลยหรือมีหาดัสใหญ่ ไม่มีน้ำอาบยกหาดัสเลย เราจะละหมาดไปในสภาพนั้น เซาะหรือป่าว ครับ ?? หรือต้องกอฎอใหม่?


ตอบ

เมื่อป่วยและอยู่ในสภาพที่ชุดผู้ป่วยเปื้อนนะญิส หรืออยู่ในชุดทำงานที่เปือนนะญิส ไม่สามารถที่จะนำเสื้อผ้ามาเปลี่ยนได้ ก็ให้ละหมาดตามสภาพที่เป็นอยู่
พระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติของแต่ละคนว่า

لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ

“อัลลอฮฺจะไม่บังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถที่มีอยู่ของชีวิตนั้นเท่านั้น เขาจะไดรับการตอบแทนที่ดีในสิ่งที่(ดีที่)เขาได้ขวนขวายไว้ และจะได้รับการตอบแทนที่ไม่ดี(การลงโทษ)ในสิ่งที่(ไม่ดีที่)เขาได้ขวนขวายไว้”- สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายัต 286

อัลลอฮฺทรงบัญชาและห้ามบ่าวของพระองค์ และพระองค์ไม่เคยบังคับเขานอกจากเท่าที่เขามีความสามารถ ดังคำตรัสของพระองค์ที่ว่า

فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ

“ดังนั้นพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถ - สูเราะฮฺ อัตตะฆอบุน อายัต 16

ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
" إذا أمرتكم بأمر فأتوا منه ماستطعتم
" ความว่า "เมื่อฉันกำชับใช้ (ให้) พวกท่าน (กระทำ) ด้วยกิจการหนึ่ง ดังนั้นพวกท่านจงยึด (ถือปฏิบัติ) กิจการนั้นตราบเท่าที่พวกท่านมีความสามารถ" (บันทึกโดยมุสลิม)
………………………………….
การละหมาดนั้น ไม่มีข้อผ่อนผันให้ละทิ้ง ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่และ ยังมีสติสัมปชัญญะอยู่


อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

وَلَوْ أَصَابَتْ ثَوْبَهُ نَجَاسَةٌ ، وَلَمْ يَجِدْ مَاءً لِغُسْلِهِ صَلَّى عُرْيَانًا وَلَا يُعِيدُ ، وَلَمْ يَكُنْ لَهُ أَنْ يُصَلِّيَ فِي ثَوْبٍ نَجِسٍ بِحَالٍ ا.

ถ้าเสื้อผ้าของเขา ถูกนะยิส และไม่มีน้ำที่จะล้าง ก็ให้เขาละหมาดในสภาพที่เปลือย และไม่ต้องละหมาดใหม่ และไม่อนุญาตให้เขาละหมาดในเสื้อผ้าที่มีนะยิส ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม – ดู อัลอุม เล่ม 1 หน้า 74

อัลกะสานีย์ (ปราชญ์มัซฮับหะนะฟี)กล่าวว่า

فَإِنْ كَانَ رُبْعُهُ طَاهِرًا لَمْ يُجْزِهِ أَنْ يُصَلِّيَ عُرْيَانًا ، بَلْ يَجِبُ عَلَيْهِ أَنْ يُصَلِّيَ فِي ذَلِكَ الثَّوْبِ ; لِأَنَّ الرُّبْعَ فَمَا فَوْقَهُ فِي حُكْمِ الْكَمَالِ

และหากหนึ่งในสี่ของเสื้อผ้าของเขา สะอาด ก็ไม่อนุญาตให้เขาละหมาดในสภาพเปลือย แต่ทว่า จำเป็นแก่เขาจะต้องละหมาดในเสื่อผ้านั้น เพราะ หนึ่งในสี่ และมากกว่านั้น อยู่ในหุกุมที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสมบูรณ์- ดู บะดาอิอุศเศาะนาเอียะ เล่ม 1 หน้า 478

และอัลกะสานีย์ กล่าวต่อไปว่า
وَإِنْ كَانَ كُلُّهُ نَجِسًا أَوْ الطَّاهِرُ مِنْهُ أَقَلَّ مِنْ الرُّبْعِ - فَهُوَ بِالْخِيَارِ فِي قَوْلِ أَبِي حَنِيفَةَ وَأَبِي يُوسُفَ ، إنْ شَاءَ صَلَّى عُرْيَانًا ، وَإِنْ شَاءَ مَعَ الثَّوْبِ ، لَكِنَّ الصَّلَاةَ فِي الثَّوْبِ أَفْضَلُ وَقَالَ مُحَمَّدٌ : لَا تُجْزِئُهُ إلَّا مَعَ الثَّوْبِ

และถ้าหาก เสื้อผ้าทั้งหมดเปื้อนนะญิส หรือส่วนหนึ่งจากมันสะอาด น้อยกว่าหนึ่งส่วนสี่ ก็ให้อยู่ในการตัดสินใจ ในทัศนะของอบูหะนีฟะฮ และอบูยูซูบ ว่า หากเขาประสงค์ก็ให้เขาละหมาดในสภาพเปลือย และหากเขาประสงค์ ก็ให้เขาละหมาดพร้อมกับเสื้อผ้านั้น แต่ การละหมาดในเสื้อผ้าผืนนั้น ประเสริฐกว่า และมุหัมหมัด (บิน หะซัน ศิษย์อบูหะนีฟะฮ)ได้กล่าวว่า ไม่อนุญาตแก่เขา นอกจาก ต้องละหมาดพร้อมกับกับเสื้อผ้านั้น(เสื้อผ้าที่เปื้อนนะยิส) - ดู บะดาอิอุศเศาะนาเอียะ เล่ม 1 หน้า 478

อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า

فِي مَذَاهِبِ الْعُلَمَاءِ فِيمَنْ لَمْ يَجِدْ إلَّا ثَوْبًا نَجِسًا . قَدْ ذَكَرْنَا أَنَّ الصَّحِيحَ فِي مَذْهَبِنَا أَنَّهُ يُصَلِّي عَارِيًّا وَلَا إعَادَةَ عَلَيْهِ ، وَبِهِ قَالَ أَبُو ثَوْرٍ وَقَالَ مَالِكٌ وَالْمُزَنِيُّ : يُصَلِّي وَلَا يُعِيدُ ، وَقَالَ أَحْمَدُ يُصَلِّي فِيهِ وَيُعِيدُ ، وَقَالَ أَبُو حَنِيفَةَ إنْ شَاءَ صَلَّى فِيهِ وَإِنْ شَاءَ عُرْيَانًا وَلَا إعَادَةَ فِي الْحَالَيْنِ

ในบรรดามัซฮับอุลามาอฺ ในกรณี ผู้ที่ไม่มีผ้าอื่น นอกจากผ้าที่เปื้อนนะญิส แท้จริงเราได้ กล่าวไปแล้วว่า
ที่ถูกต้องในมัซฮับของเรา คือ ให้เขาละหมาดในสภาพเปลือย และไม่ต้องละหมาดใหม่บนเขา และ อบูษูร ได้กล่าวด้วยทัศนะนี้ และ มาลิกและอัลมัซนีย์ กล่าวว่า ให้เขาละหมาด และไม่ต้องละหมาดใหม่ และ อะหมัด กล่าวว่า “ ให้เขาละหมาดในมัน(ในผ้าเปื้อนนะยิส) และไม่ต้องละหมาดใหม่ และ อบูหะนีฟะฮ กล่าวว่า “ หากเขาประสงค์ ก็ให้เขาละหมาดในผ้านั้น และหากเขาประสงค์ ให้เขาละหมาดในสภาพเปลือย และไม่ต้องละหมาดใหม่ในทั้งสองกรณี (หมายถึง กรณีละหมาดในผ้าที่เปื้อนนะญิสและละหมาดในสภาพเปลือย) – ดู อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 142
..........
ในทัศนะส่วนตัว ไม่ต้องละหมาดใหม่ เพราะเป็นการละหมาดในภาวะคับขันไม่สามารถหาผ้าสะอาดได้
ไม่ใช่เป็นการฝ่าฝืน
โดยอาศัยหลักฐานที่ว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
" إذا أمرتكم بأمر فأتوا منه ماستطعتم
" ความว่า "เมื่อฉันกำชับใช้ (ให้) พวกท่าน (กระทำ) ด้วยกิจการหนึ่ง ดังนั้นพวกท่านจงยึด (ถือปฏิบัติ) กิจการนั้นตราบเท่าที่พวกท่านมีความสามารถ" (บันทึกโดยมุสลิม

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 14, 2013 9:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม

Faosun Mbm
การละหมาดบนผืนดินที่โกงเขามาการละหมาดของคนนั้นใช้ได้หรือไม่ครับ(หมายถึงคนโกงหน่ะครับ)

ตอบ

เช็คอิบนุอุษัยมีน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

والقول الثاني في المسألة: أنها تصح في المكان المغصوب مع الإثم(2) لأن الصلاة لم ينه عنها في المكان المغصوب، بل نهي عن الغصب، والغصب أمر خارج، فأنت إذا صليت فقد صليت كما أمرت، وإقامتك في المغصوب هي المحرمة.
وأما قوله صلى الله عليه وسلم:;من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد، فلا دليل فيه على عدم صحة الصلاة في المكان المغصوب إلا لو قال: لا تصلوا في الأرض المغصوبة، فلو قال ذلك لقلنا: إن صليت في مكان مغصوب، فصلاتك باطلة، لكنه قال في النهي عن الغصب: ) لا تأكلوا أموالكم بينكم بالباطل إلا أن تكون تجارة عن تراض منكم)(النساء: من الآية29)، وهذا يدل على تحريم الغصب لا على بطلان الصلاة في المغصوب. والقول الثاني في هذه المسألة هو الراجح

และทัศนะที่สองในประเด็นนี้ ว่าแท้จริง มัน(ละหมาด)ในสถานที่ที่ถูกปล้น(ถูกฉกชิงมาโดยอธรรม) นั้นใช้ได้(เศาะห) พร้อมกับเป็นบาป เพราะว่า การปฏิบัติละหมาดนั้นเขาไม่ได้ถูกห้ามจากมัน ในสถานที่ที่ถูกฉกชิงมา แต่ทว่า เขาถูกห้ามจากการฉกชิง(หมายถึง การเอาของผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นธรรม) และการฉกชิง/การเอาของผู้อื่นโดยอธรรมนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะท่านนั้น เมื่อท่านได้ละหมาด แน่นอนท่านก็ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติแล้ว และการดำรงละหมาดของท่านในสิ่งที่ถูกฉกชิงมานั้น มันคือสิ่งต้องห้าม และสำหรับ คำพูดของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า(ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการศาสนาของเราอยู่บนมันนั้น มันถูกตีกลับ(ถูกปฏิเสธ) ในหะดิษไม่ใช่หลักฐานแสดงบอกว่า ละหมาดในสถานที่ที่ถูกฉกชิงมานั้น ใช้ไม่ได้(ไม่เศาะห) เว้นแต่ หากสมมุติว่าท่านนบีกล่าวว่า “พวกท่านจงอย่าละหมาดในแผ่นดิน ที่ถูกฉกชิงมา เพราะถ้าสมมุตินบีพูดดังกล่าวนั้น เราก็จะพูดว่า “หากท่านละหมาดในสถานที่ที่ถูกฉกชิง/ถูกปล้น มานั้น การละหมาดของท่านเป็นโมฆะ แต่ว่า พระองค์ได้ตรัสในเรื่องการห้ามการแย่งชิง /การเอาของผู้อื่นโดยอธรรม ว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ; (النساء : 29 )

“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้าในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าที่เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย...” -อัล-นิสาอ์ 4: 29
، وهذا يدل على تحريم الغصب لا على بطلان الصلاة في المغصوب. والقول الثاني في هذه المسألة هو الراجح
ดังนั้นอายะฮนี้เป็นหลักฐานแสดงบอกว่า ห้ามฉกชิงของผู้อื่นโดยอธรรม ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าละหมาดในสิ่งที่ถูกฉกชิงมาเป็นโมฆะ และทัศนะที่สองในประเด็นนี้ คือ ทัศนะที่มีน้ำหนัก – ดูชัรหุมุมตะอฺ เล่ม 2 หน้า 207
@@@@@@
สรุปคือ การละหมาดในสถานที่ที่ถูกโกงมานั้น การละหมาดนั้นใช้ได้ แต่ผู้กระทำนั้นมีความผิด
.....................
(2) انظر: "مجموع الفتاوى" (19/302)، (21/89، 90)، "الإنصاف" (3/302)

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Dec 14, 2013 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การกล่าว "สัยยิดินา"ในละหมาด


ถาม

อัล-อิสลามมียะห์ สุนนะฮ
อัสลามมูอาลัยกุม อยากเรียนถามอาจาร เกี่ยวกับ คำกล่าว"ซัยยิดีนา" ในละหมาดหน่อยน่ะครับ ว่าเปนคำกล่าวที่ให้เกียรติท่านนบี จริง หรือครับ

ตอบ

ก่อนอื่นมาดูเศาะลาวาตนบี ที่เจ้าของตำหรับ คือ นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯที่ได้สอนอุมมะฮของท่าน สำนวนที่หนึ่ง คือ

«اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ، اللَّهُـمَّ بَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ

คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีมะ วะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดุมมะญีด, อัลลอฮุมมะบาริกอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาบาร็อกตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่อิบรอฮีมและครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่อิบรอฮีมและครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 3370 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่ : 406)

สำนวนที่สอง คือ

«اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ»


คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลา อัซวาญิฮี วะ ซุรริยะติฮฺ, กะมาศ็อลลัยตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, วะบาริก อะลา มุหัมมัด วะอะลา อัซวาญิฮี วะ ซุรริยะติฮฺ, กะมาบาร็อกตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัด บรรดาภริยาและลูกหลานของท่าน เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม และขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัด บรรดาภรรยาและลูกหลานของท่าน เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 6360 และมุสลิม เลขที่ : 407สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

อิหม่ามนะวาวีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีเองก็กล่าวว่า

وأكمل الصلاة على النبي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: " اللهم! صلِّ على محمد

และ การกล่าวเศาะละวาตนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่สมบูรณ์ คือ
อัลลอฮุมมะ ศอ็ลลิอะลามุหัมหมัด....จนจบ -ดู อัรเราเฎาะฮ เล่ม 1 หน้า 265


อิบนุหัซมิน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ชัดเจนมากคือ

إن حقاً على كل نبي أن يدل أمته على أحسن ما يعلمه لهم ".
فإذا كان الأمر كذلك؛ فعدم أمره صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لنا بتسويده في الصلاة يدل على أنه لا يجوزالتقرب إلى الله تعالى بذلك،

แท้จริง หน้าที่แหนือทุกๆนบีนั้น เขาจะต้องแนะนำ อุมมะฮของเขา ต่อสิ่งที่ดีกว่า ที่เขารู้มันให้แพวกเขา (ให้แก่อุมมะฮ) ดังนั้น เมือเรื่องมันเป็นเช่นดังกล่าวนั้น แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ไม่ได้สั่งพวกเราให้กล่าวสัยยิดินา ในละหมาด แสดงว่า ไม่อนุญาตให้แสดงความใกล้ชิด(อิบาดะฮ)ต่ออัลลอฮ ด้วยดังกล่าว - ดู อัลเอียะกอม ฟี อุศูลิลอะหกาม เล่ม 1 หน้า 90

ไม่มีการเติมคำว่า “สัยยิดินา” แม้แต่หะดิษเดียว
ดังมีบันทึกจากท่านอิมามมุสลิมในหนังสือ “เศาะฮีหฺมุสลิม” ของท่าน จากการรายงานของท่านอบีมัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

أَتَانَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ فِي مَجْلِسِ سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ، فَقَالَ لَهُ بَشِيرُ بْنُ سَعْدٍ: أَمَرَنَا اللهُ تَعَالَى أَنْ نُصَلِّيَ عَلَيْكَ يَا رَسُولَ اللهِ، فَكَيْفَ نُصَلِّي عَلَيْكَ؟ قَالَ: فَسَكَتَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، حَتَّى تَمَنَّيْنَا أَنَّهُ لَمْ يَسْأَلْهُ ثُمَّ قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: ;قُولُوا اللهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إِبْرَاهِيمَ فِي الْعَالَمِينَ، إِنَّكَ حَمِيدٌ مَجِيدٌ، وَالسَّلَامُ كَمَا قَدْ عَلِمْتُمْ

ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้มาหาเราซึ่งในขณะนั้นเรานั่งอยู่ในวงสนทนาของท่านสะอฺดฺ บินอุบาดะฮฺ และแล้วท่านบะชีร บินสะอฺดฺ ก็ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้สั่งใช้ให้เราเศาะละวาตต่อท่านโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ดังนั้นพวกเราจะเศาะละวาตให้แก่ท่านอย่างไร ? ท่านอบีมัสอูด ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้นิ่งเงียบ จนกระทั่งพวกเราได้ทำให้ท่านบะชีรหยุดถามท่านอีก หลังจากนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวว่า พวกท่านจงกล่าวว่า
อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, วะบาริกอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาบาร็อกตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม ฟิลอาละมีน อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด
“โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม และขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม ในสากลโลกนี้แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” ส่วนการให้สลามนั้นก็เป็นไปตามที่พวกท่านได้รู้มา
...............ไม่มีคำว่า"สัยยิดินา"แม้แต่ประโยคเดียว

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Dec 16, 2013 10:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Adul Aziz
เวลาสูยูดหน้าผากไม่ถูกพื้นโดยตรง ละหมาดใช้ได้ มั้ยครับ

ตอบ

การสุญูดโดยหน้าผากไม่ชิดกับพื้นนั้นใช้ไม่ได้

وَعَنْ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : { أُمِرَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ يَسْجُدَ عَلَى سَبْعَةِ أَعْضَاءٍ وَلَا يَكُفَّ شَعْرًا وَلَا ثَوْبًا : الْجَبْهَةِ وَالْيَدَيْنِ وَالرُّكْبَتَيْنِ وَالرِّجْلَيْنِ

รายงานจากอิบนุอับบาสว่า นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งให้สุญูดบน 7 อวัยวะ และ(สั่ง)ไม่ให้รวบผมและเสื้อผ้า คือ หน้าผาก , มือทั้งสอง ,หัวเข่าทั้งสอง และเท้าทั้งสอง - รายงานโดยบุคอรี

อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وَلَوْ سَجَدَ عَلَى رَأْسِهِ وَلَمْ يُمِسَّ شَيْئًا مِنْ جَبْهَتِهِ الْأَرْضَ لَمْ يَجْزِهِ السُّجُودُ وَإِنْ سَجَدَ عَلَى رَأْسِهِ فَمَاسَّ شَيْئًا مِنْ جَبْهَتِهِ الْأَرْضَ أَجْزَأَهُ السُّجُودُ إنْ شَاءَ اللَّهُ تَعَالَى

และถ้าเขาสุญูดบนศีรษะ โดยที่ส่วนใดๆจากหน้าผากของเขาไม่ได้สัมผัสกับพื้น การสุญูดนั้นใช้ไม่ได้ และถ้าเขาสุญูดบนศีรษะ แล้วส่วนใดจากหน้าผากของเขาสัมผัสกับพื้น การสุญูดนั้นใช้ได้ อินชาอัลลอฮตะอาลา – ดู อัลอุม เล่ม 1 หน้า 114

อิบนุอับดิลบัร กล่าวว่า

في المرأة: كلها عورة إلا الوجه والكفين. على هذا أكثر أهل العلم. وقد أجمعوا على أن المرأة تكشف وجهها في الصلاة والإحرام.

ในสตรีนั้น เรื่อนร่างของนางทั้งหมดเป็นเอาเราะฮ ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง ตามทัศนะนักวิชาการส่วนมาก และ พวกเขามีมติร่วมกันว่า ผู้หญิง นางถูกให้เปิดหน้าในละหมาดและการครองเอียะรอม- ดูอัตตัมฮีด เล่ม 6 หน้า 364

อิบนุอับดิลบัร กล่าวอีกว่า

وقال مالك وأبو حنيفة والشافعي وأصحابهم –وهو قول الأوزاعي وأبي ثور–: "على المرأة أن تغطي منها ما سوى وجهها وكفيها

และ มาลิก ,อบูหะนีฟะฮ ,ชาฟิอีและบรรดาสหายของพวกเขา ได้กล่าวไว้ และมันคือ ทัศนะของอัลเอาซาอีย์และอบีษูร ว่า บนผู้หญิงนั้น ถูกให้ปกปิดจากนาง อื่นจากใบหน้าและสองฝ่ามือของนาง - ดูอัตตัมฮีด เล่ม 6 หน้า 364


อิบนุกุดามะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وَقَالَ مَالِكٌ ، وَالْأَوْزَاعِيُّ ، وَالشَّافِعِيُّ : جَمِيعُ الْمَرْأَةِ عَوْرَةٌ إلَّا وَجْهَهَا وَكَفَّيْهَا ، وَمَا سِوَى ذَلِكَ يَجِبُ سَتْرُهُ فِي الصَّلَاةِ ; لِأَنَّ ابْنَ عَبَّاسٍ قَالَ فِي قَوْله تَعَالَى : { وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إلَّا مَا ظَهَرَ مِنْهَا } قَالَ : الْوَجْهَ وَالْكَفَّيْنِ . وَلِأَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { نَهَى الْمُحْرِمَةَ عَنْ لُبْسِ الْقُفَّازَيْنِ وَالنِّقَابِ . } وَلَوْ كَانَ الْوَجْهُ وَالْكَفَّانِ عَوْرَةً لَمَا حَرُمَ سَتْرُهُمَا ، وَلِأَنَّ الْحَاجَةَ تَدْعُو إلَى كَشْفِ الْوَجْهِ لِلْبَيْعِ وَالشِّرَاءِ ، وَالْكَفَّيْنِ لِلْأَخْذِ وَالْإِعْطَاءِ

มาลิก ,อัลเอาซาอีย์ และอัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า “ เรือนร่างทั้งหมดของผู้หญิง คือ เอาเราะฮ ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง และสิ่งที่นอกเหนือดังกล่าวนั้น การปกปิดมัน เป็นสิ่งจำเป็นในละหมาด เพราะว่าแท้จริง อิบนุอับบาสกล่าว(อธิบาย)ในคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า

وَلَا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إلَّا مَا ظَهَرَ مِنْهَا

และพวกนางอย่าได้เปิดเผยเครืองประดับของพวกนาง นอกจากสิ่งที่เปิดเผยจากมันได้
เขา(อิบนุอับบาส)กล่าวว่า “หมายถึง ใบหน้าและสองฝ่ามือ
และเพราะว่านบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ห้ามไม่ให้ผู้หญิงที่ครองเอียะรอม สวมใส่ถุงมือทั้งสองและห้ามสวมใส่นิกอบ(ผ้าคลุม) - และถ้า ใบหน้าและสองฝ่ามือ เป็นเอาเราะฮ แน่นอน การปกปิดมันทั้งสองจะไม่ถูกห้าม และเพราะว่า แท้จริง การเปิดใบหน้า มีความจำเป็นสำหรับการซื้อและการขายและสองฝ่ามือ มีความจำเป็นสำหรับการรับและการให้
- ดูอัลมุฆนีย อิบนุกุดามะฮ เล่ม 1 หน้า 834


อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า

أَنَّ الْعُلَمَاءَ مُجْمِعُونَ عَلَى أَنَّ الْمُخْتَارَ مُبَاشَرَةُ الْجَبْهَةِ لِلْأَرْضِ

แท้จริงบรรดาอุลามาอฺ พวกเขามีมติว่า แท้จริงทัศนะทที่ถูกเลือกคือ หน้าผากสัมผัสกับพื้น- ดูอัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 397

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Dec 18, 2013 12:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นบีอิดริส อะลัยฮิสสลาม ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่


ตอบ

เกี่ยวกับ นบีอิดริส อะลัยฮิสสลาม นั้น อัลกุรอ่านได้ระบุว่า

وَاذْكُرْ فِي الْكِتَابِ إِدْرِيسَ ۚ إِنَّهُ كَانَ صِدِّيقًا نَّبِيًّا
และจงกล่าวถึงเรื่องของอิดรีสที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์ เป็นนะบี

وَرَفَعْنَاهُ مَكَانًا عَلِيًّا

และเราได้เทิดเกียรติเขาซึ่งตำแหน่งอันสูงส่ง –มัรยัม /56- 57

ในอายะฮที่ว่า
وَرَفَعْنَاهُ مَكَانًا عَلِيًّا

นักวิชาการได้เห็นต่างกัน
บ้างก็ว่านบีอิดริสถูกยกขึ้นฟากฟ้า
บ้างก็ว่า นบีอิดริสถูกยกฐานะสู่งส่ง
عَنْ مُجَاهِدٍ فِي قَوْلِهِ : ( وَرَفَعْنَاهُ مَكَانًا عَلِيًّا ) قَالَ : إِدْرِيسُ رُفِعَ وَلَمْ يَمُتْ ، كَمَا رُفِعَ عِيسَى
จากมุญาฮิด ในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า (และเราได้ยกเขา ณ สถานที่ที่สูง) เขากล่าวว่า อิดริสถูกยกขึ้นไปและเขายังไม่ตาย ดังที่อีซาถูกยกขึ้นไป
عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : ( وَرَفَعْنَاهُ مَكَانًا عَلِيًّا ) قَالَ : رُفِعَ إِلَى السَّمَاءِ السَّادِسَةِ فَمَاتَ بِهَا . وَهَكَذَا قَالَ الضَّحَّاكُ بْنُ مُزَاحِمٍ
รายงานจากอิบนุอับบาส (และเราได้ยกเขา ณ สถานที่ที่สูง) เขากล่าวว่า “เขา(อิดริส)ถูกยกไปยังฟากฟ้าชั้นที่หก แล้วได้เสียชีวิต ณ ที่นั้น ...
ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร และตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายอายะฮข้างต้น

อัลมุบาเราะกะฟูรีย กล่าวว่า

قَالَ الْحَافِظُ : وَكَوْنُ إِدْرِيسَ رُفِعَ وَهُوَ حَيٌّ لَمْ يَثْبُتْ مِنْ طَرِيقٍ مَرْفُوعَةٍ قَوِيَّةٍ

อัลหาฟีซอิบนุหะญัร กล่าวว่า การที่อิดริสถูกยกขึ้นไป โดยที่เขามีชีวิตนั้น ไม่ปรากฏรายงานที่แน่นอนจากสายรายงานที่มัรฟัวะ(ที่สืบไปถึงนบี) ที่แข็งแรง (หมายถึงที่มีน้ำหนัก) – ดูตุหฟะตุลอะหวะซีย หะดิษ 3157 อธิบายซูเราะฮมัรยัม อายะฮที่ 56 และ ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 6 หน้า 267

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Dec 18, 2013 1:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

أَمَّا رُؤْيَا مُوسَى عَلَيْهِ السَّلَامُ فِي الطَّوَافِ فَهَذَا كَانَ رُؤْيَا مَنَامٍ لَمْ يَكُنْ لَيْلَةَ الْمِعْرَاجِ كَذَلِكَ جَاءَ مُفَسَّرًا كَمَا رَأَى الْمَسِيحَ أَيْضًا وَرَأَى الدَّجَّالَ . وَأَمَّا رُؤْيَتُهُ وَرُؤْيَةُ غَيْرِهِ مِنْ الْأَنْبِيَاءِ لَيْلَةَ الْمِعْرَاجِ فِي السَّمَاءِ لَمَّا رَأَى آدَمَ فِي السَّمَاءِ الدُّنْيَا وَرَأَى يَحْيَى وَعِيسَى فِي السَّمَاءِ الثَّانِيَةِ وَيُوسُفَ فِي الثَّالِثَةِ وَإِدْرِيسَ فِي الرَّابِعَةِ وَهَارُونَ فِي الْخَامِسَةِ وَمُوسَى فِي السَّادِسَةِ وَإِبْرَاهِيمَ فِي السَّابِعَةِ أَوْ بِالْعَكْسِ فَهَذَا رَأَى أَرْوَاحَهُمْ مُصَوَّرَةً فِي صُوَرِ أَبْدَانِهِمْ . وَقَدْ قَالَ بَعْضُ النَّاسِ
لَعَلَّهُ رَأَى نَفْسَ الْأَجْسَادِ الْمَدْفُونَةِ فِي الْقُبُورِ ؛ وَهَذَا لَيْسَ بِشَيْء

สำหรับ การเห็น(ของนบี ศอ็ลฯ)ว่า มูซา อะลัยฮิสสลาม กำลังอยู่ในการเฏาะวาฟ นั้น กรณีนี้ เป็นการฝัน เห็น ไม่ใช่ในคืนเมียะรอจญ์ ดังกล่าวนั้น มันได้ปรากฏ(คำอธิบาย)ชัดแจ้ง ดัง ที่ท่านนบีได้เห็น อัลมะเซียะหฺ และ เห็นดัจญาล อีกเช่นกัน และสำหรับ การเห็นนบีมูซา และบรรดานบีอื่นจากเขา ในฟากฟ้าคืน เมียะรอจญฺนั้น (เช่น) เมื่อท่านได้เห็น อาดัมในฟากฟ้าดุนยา ,เห็นยะหยาและอีซาในฟากฟ้าชั้นที่สอง ,เห็นยูซูฟในฟากฟ้าชั้นที่สาม และเห็นอิดริสในฟากฟ้าชั้นที่สี่ ,เห็นฮารูน ในฟากฟ้าชั้นที่ห้า ,เห็นมูซาในฟากฟ้าชั้นที่หก และเห็นอิบรอฮีมในฟากฟ้าชั้นที่เจ็ด หรือในทางกลับกัน ดังนั้นกรณีนี้ คือการเห็นดวงวิญญาณของพวกเขาที่ถูกแปลงรูปให้เป็นรูปร่างของพวกเขา และแท้จริง บรรดาผู้คน(อุลามาอฺ)บางส่วน กล่าวว่า บางที่ท่านนบีอาจจะเห็นบรรดาร่างกายที่ถูกฝังในกุบูรก็ได้ และนี้คือ ทัศนะที่ไม่ถูกต้อง – ดู มัจญมัวะฟะตาวา อิบนุตัยมียะฮ เล่ม 4 หน้า 328 ภาค อะกีดะฮ
.................
ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า การที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นนบี มูซา อะลัยฮิสสลาม กำลังฏอวาฟนั้น เป็นการฝันเห็น ไม่ใช่เห็นในคืนเมียะรอจญ์ ส่วนการเห็นนบีมูซาและนบีอื่นๆ ในคืนเมียะรอจญนั้น เป็นการเห็นดวงวิญญาณที่ถูก บันดาลให้เป็นรูปร่างของพวกเขา เท่านั้น ส่วนที่มีนักวิชาการบางส่วนอ้างว่า อาจจะเป็นร่างกายจริงๆที่ถูกฝังในกุบูรนั้น เป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Dec 20, 2013 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้ำที่สิ่งสกปรกตกลงไป นักวิชาการเขาว่าอย่างไร

ก่อนอื่น ขอชี้แจงก่อนว่า คณะพีน้องที่เรียกกลุ่มว่า คณะตูวานั้น เข้าใจว่า เมื่อน้ำ มีประมาณ 2 กุลละฮ หรือประมาณ 216 ลิตรนั้น คือ น้ำจำนวนมากตามเกณฑ์ที่มัซฮับชาฟิอีอีย์ กำหนดไว้ และถือว่า สามารถจุ่มมือลงไปได้ ไม่ถื่อว่าน้ำนั้นเป็นนะยิส ตราบใดที่มันไม่เปลี่ยน สี รสชาด เป็นต้น

ทั้งนี้ โดยอ้างหะดิษข้างล่าง

وَعَنِ ابْنِ عُمَرَ -رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا- أَنَّ رَسُولَ اللهِ -صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ- قَالَ: إِذَا كَانَ الْمَاءُ قُلَّتَيْنِ؛ لَمْ يَحْمِلِ الْخَبَثَ رَوَاهُ الْخَمْسَةُ

รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อน้ำมีถึง 2 กุลละฮฺ มันจะไม่ทำให้น้ำนั้นสกปรก" (บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ หะดิาเลขที่ 62 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ


ทัศนะเกียวกับปริมาณน้ำสะอาดที่นะยิสตกลงไปนั้น มี 2 ทัศนะคือ
หนึ่ง – เมื่อนะยิส(สิ่งสกปรก )ตกลงไป ในน้ำ และน้ำนั้นมีปริมาณ 2 กุลละฮ(ประมาณ 216 ลิตร) ถือว่าน้ำนั้นยังคงสะอาดอยู่ ยกเว้น เมื่อมันทำให้เกิดเปลี่ยนแปลง รส กลิ่น สี เป็นต้น
นี้คือคือทัศนะมัซฮับ อบูหะนีฟะฮ และชาฟิอี โดยอาศัยหะดิษที่ว่า
«إِذَا كَانَ الْمَاءُ قُلَّتَيْنِ؛ لَمْ يَحْمِلِ الْخَبَثَ
เมื่อน้ำมีถึง 2 กุลละฮฺ มันจะไม่ทำให้น้ำนั้นสกปรก" (บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ หะดิาเลขที่ 62 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ (1)

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า

وَقَالَ ابْنُ عَبْدِ الْبَرِّ فِي التَّمْهِيدِ : مَا ذَهَبَ إلَيْهِ الشَّافِعِيُّ مِنْ حَدِيثِ الْقُلَّتَيْنِ ، مَذْهَبٌ ضَعِيفٌ مِنْ جِهَةِ النَّظَرِ ، غَيْرُ ثَابِتٍ مِنْ جِهَةِ الْأَثَرِ ، لِأَنَّهُ حَدِيثٌ تَكَلَّمَ فِيهِ جَمَاعَةٌ مِنْ أَهْلِ الْعِلْمِ

อิบนุอับดิลบีร กล่าวไว้ในอัตตัมฮีดว่า “ หะดิษสองกอ็ลละฮ ที่ชาฟีอีมีทัศนะถือตามมันนั้น เป็นทัศนะที่อ่อนหลักฐาน ในแง่ของการพิจารณา และในแง่หะดิษที่ไม่มั่นคง เพราะว่า มันคือหะดิษที่นักวิชาการคณะหนึ่ง ได้วิภาควิจารณ์ ในมัน –ดู อัตตัลคีศุลหะบัยรฺ เล่ม 1 หน้า 20

สอง – เมื่อนะญิสตกลงไปในน้ำ ไม่ว่าน้ำจะมีปริมาณน้อย หรือมาก น้ำนั้นก็ยังสะอาดอยู่ ตราบใดที่มันไม่เปลี่ยนแปลง ทัศนะนี้ อาศัยหะดิษที่ว่า

إنَّ الْمَاءَ طَهُورٌ لَا يُنَجِّسُهُ شَيْءٌ

แท้จริงน้ำนั้นสะอาด ไม่มีสิ่งใดทำให้มันสกปรก(2) – รายงานโดย อยูดาวูด อัตติรมิซีย์ และท่านอื่นๆ

สัยยิดสาบิก กล่าวว่า

وإلى هذا ذهب ابن عباس وأبو هريرة والحسن البصري وابن المسيب وعكرمة وابن أبي ليلى والثوري وداود الظاهري والنخعي ومالك وغيرهم، وقال الغزالي: وددت لو أن مذهب الشافعي في المياه، كان كمذهب مالك

และ อิบนุอับบาส , อบูฮุรัยเราะฮ ,อัลหะซัน อัลบัศรี ,อิบนุมุสัยยิบ ,อิกริมะฮ อิบนุอบี ลัยลา
, อัษเษารีย์ , ดาวูด อัซซอฮิรีย์ ,อัลนะเคาะอีย์ ,มาลิก และอื่นจากพวกเขา ได้ถือตามทัศนะนี้แหละ,และ อัลเฆาะซาลี กล่าวว่า “ฉันอยากให้มัซฮับชาฟิอี ในเรื่องน้ำ เหมือนกับมัซฮับมาลิกจังเลย – ดูฟิฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 เรื่องน้ำและประเภทของน้ำ
....................................
(1) أبو داود (1 / 17)، والنسائي (1 / 46)، والترمذي (67)، وأحمد (1 / 314)، والدارقطني (1/ 187)، والحاكم، في لالمستدرك"، (1 / 133)، وصححه العلامة الألباني، في: إرواء الغليل (1 / 60)، وصحيح الجامع (758).
(2) الترمذي: أبواب الطهارة، باب ما جاء أن الماء لا ينجسه شيء (1 / 96)، الحديث رقم (66)، وقال الترمذي: حديث حسن. وأبو داود: كتاب الطهارة، باب ما جاء فى بئر بضاعة (1 / 54)، الحديث (66)، ومسند أحمد (3 / 31، 86)، والسنن الكبرى للبيهقي (1 / 4) كتاب الطهارة، باب التطهر بماء البئر (1 / 257) والدارقطنى (1 / 30) كتاب الطهارة، باب الماء المتغير الحديث رقم (11) والنسائى: كتاب المياه- باب ذكر بئر بضاعة (1 / 175)، الحديث (326)، وتلخيص الحبير (1 / 13)، وقال: حديث حسن. وقد جود إسناده أبو أسامة، وصححه أحمد بن حنبل، ويحيى بن معين، وأبو محمد بن حزم. وصححه العلامة الألباني، في: صحيح النسائي (1 /70)، وصحيح الترمذي (66)، ومشكاة المصابيح (288)، وصحيح الجامع (1925، 6640)، وإرواء الغليل (14).

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Dec 20, 2013 3:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม

Adul Aziz
อัสลามมุอาลัยกุม วาเราะวาตุลลอฮ. อยากทราบว่าเราจะอาบน้ำละหมาดในขันได้ มั้ยครับ โดยการจุ่มมือลงไปในขัน

ตอบ

อัลหัมดุลิลละฮ

ได้ครับแต่ต้องล้างมือให้สะอาดเสียก่อน ก่อนอาบน้ำละหมาด
ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
عَنْ أَبِي الزِّنَادِ ، عَنِ الْأَعْرَجِ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ؛ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - قَالَ : " إِذَا اسْتَيْقَظَ أَحَدُكُمْ مِنْ نَوْمِهِ فَلْيَغْسِلْ يَدَهُ قَبْلَ أَنْ يُدْخِلَهَا فِي وُضُوئِهِ ، فَإِنَّ أَحَدَكُمْ لَا يَدْرِي أَيْنَ بَاتَتْ يَدَهُ

รายงานจากอบี อัซซะนาด จาก อัลอะรอจญฺ จากอบีฮุรัยเราะฮว่า แท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮ อะลัยฮิวะสัลลัมว่า เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน ตื่นนอน ก็จงล้างมือของเขา ก่อนที่จะนำมันลงใน น้ำละหมาดของเขา เพราะแท้จริง คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่าน ไม่รู้ว่า มือของเขา ค้างคืนที่ไหน

Jika seorang dari kalian bangun dari tidurnya maka hendaklah ia mencuci tangannya sebelum mencelupkannya ke dalam air wudhu-nya, karena sesungguhnya seorang dari kalian tidak tahu di mana tangannya bermalam". [Sahih Bukhari dan Muslim]
– รายงานบุคอรีและมุสลิม

มาดูหะดิษที่นบี ศอ็ล เอามือกอบน้ำจากภาชนะ เวลาอาบน้ำละหมาด เพื่อที่จะบอกพี่น้องทั้งหลายว่า การเอามือวักน้ำหรือกอบน้ำ เพื่อจะบ้วนปาก หรือล้างส่วนอื่นๆเมื่อเอาน้ำละหมาดนั้น ไม่ใช่หุกุมพวกวาฮาบี แต่มันคือ สุนนะฮนบี

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ زَيْدِ بْنِ عَاصِمٍ الأَنْصَارِيِّ، - وَكَانَتْ لَهُ صُحْبَةٌ - قَالَ قِيلَ لَهُ تَوَضَّأْ لَنَا وُضُوءَ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم . فَدَعَا بِإِنَاءٍ فَأَكْفَأَ مِنْهَا عَلَى يَدَيْهِ فَغَسَلَهُمَا ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَمَضْمَضَ وَاسْتَنْشَقَ مِنْ كَفٍّ وَاحِدَةٍ فَفَعَلَ ذَلِكَ ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَغَسَلَ وَجْهَهُ ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَغَسَلَ يَدَيْهِ إِلَى الْمِرْفَقَيْنِ مَرَّتَيْنِ مَرَّتَيْنِ ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَمَسَحَ بِرَأْسِهِ فَأَقْبَلَ بِيَدَيْهِ وَأَدْبَرَ ثُمَّ غَسَلَ رِجْلَيْهِ إِلَى الْكَعْبَيْنِ ثُمَّ قَالَ هَكَذَا كَانَ وُضُوءُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم

อับดุลลอฮ์ บินเซด บินอาศิม อัลอันศอรีย์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รายงานลักษณะการอาบน้ำละหมาดของท่านนบี เขากล่าวว่า เคยมีผู้กล่าวกับเขาว่า โปรดอาบน้ำละหมาดอย่างท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ให้พวกเราดูหน่อย ดังนั้นเขาจึงใช้ให้เอาภาชนะใส่น้ำมาให้ หลังจากนั้นราดน้ำจากภาชนะนั้นลงบนมือของเขาแล้วล้างมันทั้งสองสามครั้ง ต่อมาเขาเอามือของเขากอบน้ำจากภาชนะมาบ้วนปากสูดน้ำเข้าโพรงจมูกแล้วสั่งออกจากน้ำกอบมือเดียว เขาทำเช่นนี้สามครั้ง เสร็จแล้วเขาเอามือกอบน้ำจากภาชนะนำมาล้างหน้าสามของเขาสามครั้ง และกอบน้ำจากภาชนะมาล้างมือถึงข้อศอกข้างละสองครั้ง จากนั้นก็เอามือกอบน้ำจากภาชนะมาเช็ดศีรษะของเขา โดยเสยจากด้านหน้าไปด้านหลังแล้วย้อนกลับมาที่เดิม ต่อจากนั้นก็ล้างเท้าทั้งสองของเขาจนถึงตาตุ่ม เสร็จแล้วก็กล่าวว่า อย่างนี้แหละคือการอาบน้ำละหมาดของท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม -รายงานโดยมุสลิม

มีบางกลุ่มอ้างว่าถ้าจุ่มมือลงไปในภาชนะในเวลาอาบน้ำละหมาด น้ำนั้นจะกลายเป้นน้ำมุสตะอฺมัล(นำใช้แล้ว)เ อามาอาบน้ำละหมาดไม่ได้
มาดูคำตอบของอิบนุกุดามะฮ

وَكُلُّ مَنْ حَكَى وُضُوءَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَحْكِ أَنَّهُ تَحَرَّزَ مِنْ اغْتِرَافِ الْمَاءِ بِيَدِهِ فِي مَوْضِعِ غَسْلِهَا ، وَلَوْ كَانَ هَذَا يُفْسِدُ الْمَاءَ كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَحَقَّ بِمَعْرِفَتِهِ ، وَلَوَجَبَ عَلَيْهِ بَيَانُهُ لِمَسِيسِ الْحَاجَةِ إلَيْهِ

และทุกคนที่รายงานการอาบน้ำละหมาดของนบี เขาไม่ได้รายงานว่า ท่านนบีให้ระวังจากการวักน้ำด้วยมือของเขา ในที่ล้างของมัน และถ้า ปรากฏว่ากรณีนี้ ทำให้น้ำเสีย แน่นอนท่านนบี ศอ็ลฯ ย่อมรู้จักมันดี และจำเป็นแก่ท่านนบี จะต้องอธิบายมัน เพราะเป็นความจำเป็นต่อมัน - ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม ๑ หน้า ๑๖๕
ท่านอิบนุกุดามะฮ ชี้แจงว่า ถ้าเอามือจุ่มในภาชนะ ทำให้น้ำเสีย แน่นอน ท่านนบีจะต้องอธิบายแล้ว เพราะเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านจะต้องอธิบาย และท่านได้ยกหะดิษที่ผมนำเสนอแล้วตอบโต้ทัศนะที่บอกว่าทำไม่ได

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Dec 25, 2013 2:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การรวบรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยเศาะหาบะฮเป็นบิดอะฮจริงหรือ

ในปัจจุบัน มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยหลักฐานการรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยอบูบักรและท่านอุษมาน มาอ้างเป็นหลักฐานว่า การกระทำดังกล่าวเป็นบิดอะฮ เพราะนบี ศอ็ลฯไม่ได้ทำ แต่เป็นบิดอะฮที่ดี(บิดอะฮหะสะนะฮ) ที่สามารถเอามาเป็นหลักฐานในการทำบิดอะฮที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีได้
สาเหตุการรวบรวม อัลกุรอาน ในสมัยท่านอุษมาน

สาเหตุการรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านอบูบักร เพราะเกรงว่า อัลกุรอาน จะสูญสลายไปพร้อมกับการชะฮีดผู้ท่องจำ อัลกุรอานในสงคราม ท่านอบูบักร ก็ได้ปรึกษากับท่านอุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ เมื่อตกลงกันแล้วก็ได้มอบหมาย ท่าน เซด บิน ษาบิต ให้ทำหน้าที่รวบรวมอัลกุรอ่าน โดยท่านอบูบักรฺอัศเศาะดีก กล่าว กับท่าน เซด บิน ษาบิตว่า

إِنَّكَ رَجُلٌ شَابٌّ عَاقِلٌ ، وَلا نَتَّهِمُكَ ، قَدْ كُنْتَ تَكْتُبُ الْوَحْيَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَتَتَبَّعِ الْقُرْآنَ فَاجْمَعْهُ

แท้จริงท่าน (เซด บิน ษาบิต) เป็นชายหนุ่มผู้มีสติปํญญาอันหลักแหลม, และเราจะไม่มีความสงสัยใดๆในตัวท่าน, ท่านเคยบันทึกวะฮีย์ (โองการแห่งอัลลอฮ์) ให้กับท่านรอซูล, และท่านเคยติดตาม อัลกุรอาน ดังนั้นท่านจงรวบรวมอัลกุรอานเถิด – ดูเศาะเฮียะบุคอรี เรื่องการรวบรวมอัลกุรอ่าน เล่ม 4 หะดิษหมายเลข 4402
ข้างต้น มันเป็นภาวะที่จำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งคำสอนของศาสนา ไม่ให้สูญหาย จะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร และ การกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน คือ สุนนะฮ ไม่ใช่บิดอะฮหะสะนะฮ ที่จะนำมาอ้างเพื่ออุตริบิดอะฮใหม่ขึ้นมาโดยให้เหตุผลว่าดี

ส่วนการรวบรวม อัลกุรอานในสมัยท่านอุษมาน เพราะเกรงว่าจะมีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับการอ่านของผู้ที่อาศัยอยู่ในแคว้นต่างๆ ขณะที่ทุกๆแคว้นมีการอ่านที่แตกต่างกันไปจากแคว้นอื่นๆ และต่างก็ยึดถือว่าแนวการอ่านของตนถูกต้องและดีที่สุด จึงต้องการให้อ่านอัลกุรอ่านในแนวเดียวกัน

وعن زيد بن ثابت أنَّ حُذَيْفَةَ بْنَ الْيَمَانِ قَدِمَ مِنْ غَزْوَةٍ غَزَاهَا، فَلَمْ يَدْخُلْ بَيْتَهُ حَتَّى أَتَى عُثْمَانَ، فَقَالَ: يَا أَمِيرَ الْمُؤْمِنِينَ، أَدْرِكْ النَّاسَ! فَقَالَ عُثْمَانُ: وَمَا ذَاكَ؟ قَالَ : غَزَوْت فَرْجَ أَرْمِينِيَةَ، فَحَضَرَهَا أَهْلُ الْعِرَاقِ وَأَهْلُ الشَّامِ، فَإِذَا أَهْلُ الشَّامِ يقرؤون بِقِرَاءةِ أُبَيٍّ، فَيَأْتُونَ بِمَا لَمْ يَسْمَعْ أَهْلُ الْعِرَاقِ، فَيُكَفِّرُهُمْ أَهْلُ الْعِرَاقِ، وَإِذَا أَهْلُ الْعِرَاقِ يقرؤون بِقِرَاءةِ ابْنِ مَسْعُودٍ، فَيَأْتُونَ بِمَا لَمْ يَسْمَعْ أَهْلُ الشَّامِ، فَيُكَفِّرُهُمْ أَهْلُ الشَّامِ. قَالَ زَيْدٌ: فَأَمَرَنِي عُثْمَانُ أَنْ أَكْتُبَ لَهُ مُصْحَفًا
รายงานจาก เซด บิน ษาบิต ว่า แท้จริง หะซัยฟะฮ บิน อัลยะมาน ได้กลับจากการทำสงคราม แล้วเขายังไม่ทันเข้าไปในบ้าน จนกระทั่ง ท่านอุษมานได้มา เขาจึงกล่าวว่า “โอ้ ผู้นำแห่งบรรดาศรัทธาชน ,ข้าพเจ้าได้เห็นบรรดาประชาชน .. แล้วท่านอุษมาน กล่าวว่า “อะไรเกิดขึ้นหรือ ?เขา (หุซัยฟะฮ) กล่าวว่า เข้าพเจ้าได้ไปทำสงคราม ที่อามานิสถาน แล้ว ชาวอิรัก และชาวชาม ได้มาอยู่ที่นั้น แล้วปรากฏว่า ชาวชาม พวกเขาอ่านอัลกุรอ่าน ตามแบบการอ่านของอุบัย (บิน กะอับ) แล้วพวกเขาปฏิบัติ(หมายถึงอ่านอัลกุรอ่าน ด้วยสิ่ง(สำเนียง)ที่ชาวอิรักไม่เคยได้ยิน แล้วชาวอิรักก็กล่าวหาพวกเขา(ชาวชาม)ว่าเป็นกุฟุร และเมื่อชาวอิรัก อ่านอัลกุรอ่าน พวกเขาอ่านตามแบบการอ่าน ของอิบนุมัสอูด แล้วพวกเขาปฏิบัติ(หมายถึงอ่านอัลกุรอ่าน) ด้วยสิ่งที่ชาวชามไม่เคยได้ยิน แล้วชาวชามก็กล่าวหาพวกเขา(ชาวอิรัก)ว่าเป็นกุฟุร เลย เซด (บิน ษาบีต) กล่าวว่า “ท่านอุษมานจึงสั่งให้บันทึก อัลกุรอ่านเป็นมุศหับ(เป็นเล่ม)ให้แก่เขา – (1)
ข้างต้น คือสาเหตุที่ท่านอุษมานจำเป็นต้องสั่งให้มีการรวบรวบอัลกุรอ่านเป็นเล่ม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะถ้าไม่อย่างนั้น บรรดามุสลิมก็จะขัดแย้งกัน และกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าอ่านผิด จนถึงมีการตักฟีร (หุกุมว่าเป็นกาเฟร) ใส่กัน การกระทำเช่นนี้ เป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่บิดอะฮ และนี้คือ แบบอย่างของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน จะอ้างว่าเป็นบิดอะฮได้อย่างไร
..............................
(1) رواه الطحاوي في تأويل مشكل الآثار، باب بَيَانُ مُشْكِلِ مَا رُوِيَ عَنْ رَسُولِ اللهِ ? مِنْ قَوْلِهِ: أُنْزِلَ الْقُرْآنُ عَلَى سَبْعَةِ أَحْرُفٍ. (4/193). وذكره الحافظ في الفتح (8/633).

อิหม่ามสะยูฏีย์ กล่าวว่า
وكان غرضهم أن لا يكتب إلا من عين ما كتب بين يدي النبي(ص)لا من مجرد الحفظ .

และจุดมุ่งหมายของพวกเขา คือ จะไม่บันทึก นอกจาก ต้นฉบับของสิ่งที่ถูกบันทึก ต่อหน้าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น ไม่ใช่จากสิ่งที่ได้จำมาอย่างเดียว – ดู อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 60
เพราะฉะนั้น ไม่ควรจะนำกรณีข้างต้น มาเป็นหลักฐานทำบิดอะฮ และแอบอ้างว่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีนทำบิดอะฮ วัลอิยาซุบิลละฮ
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Dec 30, 2013 9:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอ่านฟาติหะฮของมะมูมในกรณีอิหม่ามอ่านดัง


คำถาม


Adul Aziz ส่วนประเด็นที่อิม่ามอ่านเสียงดัง แล้วมะมูมต้องอ่านฟาตีหะ อีกมั้ยครับ

ตอบ

อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า

وَالْمَأْمُومُ إذَا سَمِعَ قِرَاءَةَ الْإِمَامِ فَلَا يَقْرَأُ بِالْحَمْدِ ، وَلَا بِغَيْرِهَا ، لِقَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى : { وَإِذَا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَأَنْصِتُوا لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ } . وَلِمَا رَوَى أَبُو هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ { أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَا لِي أُنَازَعُ الْقُرْآنَ ؟ ، قَالَ : فَانْتَهَى النَّاسُ أَنْ يَقْرَءُوا فِيمَا جَهَرَ فِيهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ } وَجُمْلَةُ ذَلِكَ أَنَّ الْمَأْمُومَ إذَا كَانَ يَسْمَعُ قِرَاءَةَ الْإِمَامِ ، لَمْ تَجِبْ عَلَيْهِ الْقِرَاءَةُ ، وَلَا تُسْتَحَبُّ عِنْدَ إمَامِنَا ، وَالزُّهْرِيِّ ، وَالثَّوْرِيِّ ، وَمَالِكٍ ، وَابْنِ عُيَيْنَةَ ، وَابْنِ الْمُبَارَكِ ، وَإِسْحَاقَ ، وَأَصْحَابِ الرَّأْيِ .
وَهَذَا أَحَدُ قَوْلَيْ الشَّافِعِيِّ ، وَنَحْوُهُ عَنْ سَعِيدِ بْنِ الْمُسَيِّبِ ، وَعُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ ، وَأَبِي سَلَمَةَ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ ، وَسَعِيدِ بْنِ جُبَيْرٍ ، وَجَمَاعَةٍ مِنْ السَّلَفِ .
และมะอฺมูม เมื่อเขาได้ยิน การอ่านของอิหม่าม เขาก็ไม่ต้องอ่านอัลหัมดฺ และอื่นจากมัน เพราะอัลลอฮตะอาลาตรัสว่า
وَإِذَا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَأَنْصِتُوا لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ
{เมื่ออัลกุรอานถูกอ่าน พวกเธอจงสดับตรับฟัง และจงนิ่งเงียบ เพื่อพวกเธอจะได้รับความเมตตา} (อัลอะอ์รอฟ:204)
และ เพราะมีสิ่งที่ อบูฮูรัยเราะฮ (รฎ) ได้รายงาน ว่า แท้จริง นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ จะให้การอ่านของฉันแข่งกับอัลกุรอ่านอย่างนั้นหรือ? เขา(อบูฮุรัยเราะฮ) กล่าวว่า แล้วบรรดาผู้คน ก็ได้หยุด อ่านในสิ่งที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านดัง และสรุป ดังกลาวว่า “ เมื่อปรากฏว่าเขาได้ยินการอ่านของอิหม่าม การอ่านก็ไม่จำเป็นแก่เขา(มะอฺมูม) และในทัศนะอิหม่ามของเรา(หมายถึงอิหม่ามอะหมัด) ,อัซซุฮรีย์ ,อัษเษารีย์ ,มาลิก ,อิบนุอุยัยนะฮ ,อิบนุอัลมุบารอ็ก ,อิสหาก และ อัศหาบุรเราะยี (หมายถึงอบูหะนีฟะฮ) ไม่ส่งเสริมให้อ่าน
และนี่คือ ทัศนะหนึ่งจากสองทัศนะของอิหม่ามชาฟิอี และในทำนองเดียวกับมัน จาก สะอีด บิน มุสัยยิบ ,อุรวะฮบิน ซุบัยร ,อบีสะละมะฮ บิน อับดุรเราะฮมาน ,สะอีด บิน ญุบัยรฺ และคณะหนึ่งจากชาวสะลัฟ – อัลมุฆนีย์ เล่ม 1 หน้า 330


وَالْقَوْلُ الْآخَرُ لِلشَّافِعِيِّ قَالَ : يَقْرَأُ فِيمَا جَهَرَ فِيهِ الْإِمَامُ . وَنَحْوُهُ عَنْ اللَّيْثِ ، وَالْأَوْزَاعِيِّ ، وَابْنِ عَوْنٍ وَمَكْحُولٍ ، وَأَبِي ثَوْرٍ ، لِعُمُومِ قَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : { لَا صَلَاةَ لِمَنْ لَمْ يَقْرَأْ بِفَاتِحَةِ الْكِتَابِ } . مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ

และอีกทัศนะหนึ่งของชาฟิอี เขากล่าวว่า “ ให้เขา(มะอมูม)อ่าน ในสิ่งที่อิหม่ามอ่านเสียงดัง และ ในทำนองเดียวกับทัศนะของเขา เช่น อัลลัยษ , อัลเอาซาอีย์ ,อิบนุเอานฺ ,มะหกูล, อบีษูร เพราะถือตามความหมายกว้างๆ ของคำพูดนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า (ไม่มีการละหมาด แก่ผู้ที่ไม่อ่านฟาติหะตุลกิตาบ – มุตตะฟักอะลัยฮิ
- อัลมุฆนีย์ เล่ม 1 หน้า 330

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 31, 2013 11:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดนตรี ในทัศนะของข้าพเจ้า

ถ้าคำว่าดนตรี มนุษย์ฟังไม่ได้เลย โดยไม่มีเงือนไข ผมว่า มันไม่สอดคล้องกับคำว่า อิสลามคือวิถีชีวิต เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรดิ์ ชอบสิ่งที่ไพเราะ มีความสุขเมื่อได้ยิน ถ้าดนตรีห้ามโดยไม่มีเงื่อนไข ทีวีทุกช่องห้ามดูหมดเพราะแม้แต่สารคดี หรือแม้แต่ภาพยนตรประวัติศาสตร์อิสลามก็มีดนตรี

ผมเห็นด้วยกับหลักการนี้

قرر علماء الإسلام أن الأصل في الأشياء الإباحة لقوله تعالي: (هو الذي خلق لكم ما في الأرض جميعًا) (البقرة: 29)، ولا تحريم إلا بنص صحيح صريح من كتاب الله تعالي، أو سنة رسوله –صلي الله عليه وسلم- أو إجماع ثابت متيقن، فإذا لم يرد نص ولا إجماع. أو ورد نص صريح غير صحيح، أو صحيح غير صريح، بتحريم شيء من الأشياء، لم يؤثر ذلك في حله، وبقي في دائرة العفو الواسعة، قال تعالي: (وقد فصل لكم ما حرم عليكم إلا ما اضطررتم إليه). (الأنعام: 119

บรรดานักวิชาการอิสลาม ได้ยอมรับว่า รากฐานของบรรดาสิ่งต่างๆนั้น อนุญาต เพราะอัลลอฮตะอาลาตรัสว่า “ พระองค์คือผู้ที่สร้างสรรพสิ่งในพื้นแผ่นดินทั้งหมดให้แก่พวกเจ้า –อัลบะเกาะเราะ/29 และ จะไม่มีการหุกุมว่าหะรอม นอกจากต้องมีตัวบท ที่ถูกต้อง ชัดเจน จากคัมภีร์ของอัลลอฮตะอาลา หรือ สุนนะฮ รอซูลของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือ อิจญมาอฺ(มติเอกฉันท์)ที่แน่นอนที่มั่นใจ ดังนั้น เมื่อไม่มีตัวบท (หลักฐานที่เป็นตัวบท) และไม่มีการอิจญมาอฺ หรือ มีตัวบทชัดเจน แต่ไม่เศาะเฮียะ หรือ มีตัวบทเศาะเฮียะ แต่ไม่ชัดเจน ด้วยการห้ามสิ่งใดๆ จากบรรดาสิ่งต่างๆ ก็จะไม่มีผลดังกล่าวในการหะลาลของมัน และมันยังคงอยู่ในวงจรของ การอนุโลมที่เปิดกว้าง ,อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า

وَقَدْ فَصَّلَ لَكُم مَّا حَرَّمَ عَلَيْكُمْ إِلاَّ مَا اضْطُرِرْتُمْ إِلَيْهِ[2]

“ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า นอกจากสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความคับขันให้ต้องการ” – อันอันอาม/119
http://www.muharat.com/dr/modules/news/article.php...
ข้างต้น มีมีเหตุมีผล ที่ผมยอมรับ สำหรับ เรื่องศาสนาที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางดุนยา ผมไม่สนใจว่า ท่านเช็คกอร์เฎาะวีย์ จะเป็นอุลามาอฺอิกวาน หรือ อะชาอิเราะ หรือวะฮบีย์ ผมดูที่สาระ ไม่ได้ดูชื่อที่ถูกสมมุติขึ้น

นี่คือ หลักฐานหนึ่ง ที่ถูกนำมาเป็นหลักฐานว่าห้ามเรื่องดนตรีโดยไม่มีข้อยกเว้น โดยเอามาจากความหมายที่ว่า "ละฮวัลหะดีษ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْتَرِي لَهْوَ الْحَدِيثِ لِيُضِلَّ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ بِغَيْرِ عِلْمٍ

“และจากมวลมนุษย์มีผู้ที่ซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อเขาจักได้หลงไปจากทางของอัลลอฮฺโดยปราศจากความรู้”

(ลุกมาน/6)


“
لَهْوَ الْحَدِيثِ
แปลว่า คำพูดที่ไร้สาระ
นี่คือตัวอย่าง คำว่า ถูกต้อง(เศาะเฮียะ) แต่ไม่ชัดเจน(เศาะเรียะ) เพราะ คำพูดที่ไร้สาระ ถูกมองกันหลายแง่หลายมุม เนื่องจาก ไม่มีคำตรงๆ ในอาอายะฮว่า “การร้องเพลงและดนตรี บอกเจาะจงไว้
ในคขณะที่นักวิชาการบางคนบอกว่าหมายถึง การร้องเพลง แต่ก็มีคนที่ให้ความหมายอย่างอื่น เช่น
وَقَالَ الضَّحَّاكُ فِي قَوْلِهِ تَعَالَى : ( وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْتَرِي لَهْوَ الْحَدِيثِ ) يَعْنِي : الشِّرْكُ . وَبِهِ قَالَ عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ زَيْدِ بْنِ أَسْلَمَ ; وَاخْتَارَ ابْنُ جَرِيرٍ أَنَّهُ كُلُّ كَلَامٍ يَصُدُّ عَنْ آيَاتِ اللَّهِ وَاتِّبَاعِ سَبِيلِهِ
อัฎเฎาะหาก กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮตาอาลาที่ว่า “(“และจากมวลมนุษย์มีผู้ที่ซื้อคำพูดที่ไร้สาระ) เขาหมายถึง การทำชิริก(การตั้งภาคี) และ อับดุรเราะหมาน บิน เซด บิน อัสลัม ก็ได้กล่าวด้วยทัศนะนี้ และอิบนุญะรีร ก็ได้เลือก (โดยกล่าวว่า) แต้จริง ทุกคำพูดที่ปิดกั้นจาก บรรดาโองการและการปฏิบัติตามหนทางของพระองค์องค์ – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 331
…………….
เรื่อง แบบนี้ ถ้าไม่ชัดเจน ผมไม่บังอาจฟันธงว่า การร้องเพลงและดนตรี หะรอม ทั้งสิ้นโดยไม่มีข้อแม้


อิบนุญะรีร กล่าวว่า
وَالصَّوَابُ مِنَ الْقَوْلِ فِي ذَلِكَ أَنْ يُقَالَ : عَنَى بِهِ كُلَّ مَا كَانَ مِنَ الْحَدِيثِ مُلْهِيًا عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ مِمَّا نَهَى اللَّهُ عَنِ اسْتِمَاعِهِ أَوْ رَسُولُهُ ؛ لِأَنَّ اللَّهَ تَعَالَى عَمَّ بِقَوْلِهِ : ( لَهْوَ الْحَدِيثِ ) وَلَمْ يُخَصِّصْ بَعْضًا دُونَ بَعْضٍ ، فَذَلِكَ عَلَى عُمُومِهِ حَتَّى يَأْتِيَ مَا يَدُلُّ عَلَى خُصُوصِهِ ، وَالْغِنَاءُ وَالشِّرْكُ مِنْ ذَلِكَ
และ ที่ถูกต้อง จากคำพูด(ทัศนะ)ในเรื่องดังกล่าวนั้น คือที่ถูกกล่าวว่า หมายถึงทุกสิ่ง จากคำพูด ที่ทำให้ละเลย เพิกเฉยจากหนทางของอัลลอฮ จากสิ่งที่ อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ ห้ามฟังมัน เพราะอัลลอฮ ตะอาลา ได้กล่าวไว้กว้างๆ(ไม่เจาะจง) ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (คำพูดที่ไร้สาระ) โดยไม่เจาะจงส่วนหนึ่ง และไม่เจาะจงอีกส่วน และการร้องเพลง และการชิริก ก็เป็นส่วนหนึ่งจากดังกล่าว – ดูตัฟสีร อัฏฏอ็บรี เล่ม 20 หน้า 130
...........
บางคนบอกว่า ร้องเพลงได้ แต่อย่าใส่ดนตรี ล้วนแล้วเป็นการแสดงทัศนะทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ในทัศนะของผมถือว่า สิ่งที่เกี่ยวกับปัจจัยทางโลก ที่ว่าหะรอม ต้องดูการนำไปใช้และปัจจัยประกอบด้วย


อิบนุญะรีร กล่าวว่า

حَدَّثَنِي عَبَّاسُ بْنُ مُحَمَّدٍ قَالَ : ثَنَا حَجَّاجٌ الْأَعْوَرُ ، عَنِ ابْنِ جُرَيْجٍ ، عَنْ مُجَاهِدٍ قَالَ : اللَّهْوُ : الطَّبْلُ .

وَقَالَ آخَرُونَ : عَنَى بِلَهْوِ الْحَدِيثِ : الشِّرْكَ

อับบาส บิน มุหัมหมัด ได้เล่าข้าพเจ้า โดยเขากล่าวว่า “ หัจญาร อัลอะวาร ได้เล่าเรา ว่ารายงานจาก อิบนุญุรัยญ์ จากมุญาฮิด กล่าวว่า “คำว่า อัลละฮวุ” หมายถึง กลอง และ บรรดาคนอื่นๆกล่าวว่า คำว่า “ละฮวัลหะดิษ” หมายถึง ชิริก – ดู ตัฟสีร อัฏฏอ็บรี เล่ม 20 หน้า 129
..........
เมื่อเป็นความเห็น ผมจึง เลือกในสิ่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากที่สุด และสิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อบุคคลและสังคมโดยรวม และไม่ทำให้ละเลยต่อภาระหน้าที่ต่อศาสนาและไม่ผิดศีลธรรมอันดีงาม


เพิ่มเติม

عَنْ جَابِرٍ , عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا : أَنَّهَا أَنْكَحَتْ ذَاتَ قَرَابَتِهَا مِنَ الأَنْصَارِ فَجَاءَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ . فَقَالَ : أَهْدَيْتُمُ الْفَتَاةَ ؟ فَقَالَتْ نَعَمْ . قَالَ : فَأَرْسَلْتِ مَنْ يُغَنِّي ؟ قَالَتْ : لا . فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِنَّ الأَنْصَارَ فِيهِمْ غَزَلٌ فَلَوْ أَرْسَلْتُمْ مَنْ يَقُولُ : أَتَيْنَاكُمْ أَتَيْنَاكُمْ فَحَيُّونَا وَحَيَّاكُمْ

รายงานจากท่านญาบีร จากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฎ) ว่า นางได้จัดการแต่งงานญาตผู้หญิงของนางจากชาวอัศศอรฺ แล้ว ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า พวกท่านได้ให้อะไรเป็นของขวัญแก่เจ้าสาวหรือเปล่า ?’ นางตอบว่า ‘ ให้ค่ะ’ ท่านจึงได้กล่าวถามว่า ‘ท่านได้ส่งนักร้องไปพร้อมกับเธอหรือเปล่า ?’ นางอาอิชะฮ์ตอบว่า ‘ เปล่าค่ะ’ ท่านนบี จึงได้กล่าวว่า ‘ ชาวอันซอรเป็นคนที่รักบทกวี พวกท่านน่าจะส่งใครบางคนที่ร้องเพลง เรามาแล้ว เรามาหาท่าน จงทักทายเราเหมือนดังที่เราทักทายพวกท่าน’”
รายงานโดย อิบนุมาญะฮ

عَنْ عَائِشَةَ أَنَّهَا زَفَّتْ امْرَأَةً إِلَى رَجُلٍ مِنْ الْأَنْصَارِ فَقَالَ نَبِيُّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَا عَائِشَةُ مَا كَانَ مَعَكُمْ لَهْوٌ فَإِنَّ الْأَنْصَارَ يُعْجِبُهُمْ اللَّهْوُ

รายงานจากท่านหญิงอาอีฉะฮ ว่า ผู้หญิงคนหนึ่ง ได้แต่งงานกับชายคนหนึ่ง จากชาวอันศอรฺ แล้วนบี
ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า โอ้อาอิฉะฮ มีการรื่นเริงอะไรบ้าง พร้อมกับพวกท่าน ? เพราะชาวอันศอร นั้น ชอบการรื่นเริง – รายงานโดย บุคอรี

...............ธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมมีการรื่นเริงเพื่อพักผ่อน เพียงแต่ต้องอยู่ในขอบเขต แต่ถ้าบอกว่า มนุษย์ฟังเพลงไม่ได้โดยเด็ดขาด โดยไม่มีข้อแม้ มันส่วนทางกับธรรมชาติที่มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมา

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 05, 2014 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ล้างเท้า หรือ ลูบเท้ากันแน่

ประเด็น เกี่ยวกับอายะฮข้างล่าง

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นเพื่อทำการละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า ล้างมือของพวกเจ้าจนถึงข้อศอก และลูบศีรษะของพวกเจ้า ตลอดจน (ล้าง)เท้า ของพวกเจ้าจนถึงตาตุ่มทั้งสอง”
ที่ถามว่า
คือ ในอายะนี้ ทำไมหลาย คนถึงเเปลว่า ล้างเท้า ครับ ในเมื่อ ศัพท์ คำนั้นเเปลว่า เช็ด
หลายคนเวลาเอาน้ำละหมาด คงล้างเท้า รวมทั้งผม ด้วย
ขอบตอบว่า
คำว่า
وَأَرْجُلَكُمْ
เป็นคำ ที่ต่อเนื่องจากคำว่า

الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ

จงล้างหน้าของพวกเจ้า ล้างมือของพวกเจ้าจนถึงข้อศอก
โดยมีคำสันธาน “วาว” ที่แปลว่า “และ” เป็นคำเชื่อม
อิบนุกะษีร อธิบายว่า

وَقَوْلُهُ : ( وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ ) قُرِئَ : ( وَأَرْجُلَكُمْ ) بِالنَّصْبِ عَطْفًا عَلَى ( فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ )

และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (และเท้า ของพวกเจ้าจนถึงตาตุ่มทั้งสอง) ถูกอ่านว่า (วะอัรญุละกุม) ด้วยการอ่านนะศับ โดยการเชื่อมคำ(ด้วยคำสันธาน)บนคำว่า (จงล้างหน้าของพวกเจ้า ล้างมือของพวกเจ้าจนถึงข้อศอก

เพิ่มเติม
وَقَالَ ابْنُ أَبِي حَاتِمٍ : حَدَّثَنَا أَبُو زُرْعَةَ ، حَدَّثَنَا أَبُو سَلَمَةَ ، حَدَّثَنَا وُهَيْبٌ عَنْ خَالِدٍ عَنْ عِكْرِمَةَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ ; أَنَّهُ قَرَأَهَا : ( وَأَرْجُلَكُمْ ) يَقُولُ : رَجَعَتْ إِلَى الْغَسْلِ
และอิบนุอบีหาติม ได้กล่าวว่า “ อบูซะรออะฮ ได้เล่าเราว่า อบูสะละมะฮ ได้เล่าเราว่า วุฮัยบฺ ได้เล่าเราว่า รายงานจาก คอลิด จาก อิกริมะฮ จากอิบนิอับบาส ว่า เขาได้อ่านมันว่า (วะอัรญุละกุม) เขากล่าวว่า มันกลับไปสู่คำว่า “การล้าง” – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 51
และสิ่งที่จะมายืนยันข้างต้นดีที่สุดคือการกระทำของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ زَيْدِ بْنِ عَاصِمٍ الأَنْصَارِيِّ، - وَكَانَتْ لَهُ صُحْبَةٌ - قَالَ قِيلَ لَهُ تَوَضَّأْ لَنَا وُضُوءَ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم . فَدَعَا بِإِنَاءٍ فَأَكْفَأَ مِنْهَا عَلَى يَدَيْهِ فَغَسَلَهُمَا ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَمَضْمَضَ وَاسْتَنْشَقَ مِنْ كَفٍّ وَاحِدَةٍ فَفَعَلَ ذَلِكَ ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَغَسَلَ وَجْهَهُ ثَلاَثًا ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَغَسَلَ يَدَيْهِ إِلَى الْمِرْفَقَيْنِ مَرَّتَيْنِ مَرَّتَيْنِ ثُمَّ أَدْخَلَ يَدَهُ فَاسْتَخْرَجَهَا فَمَسَحَ بِرَأْسِهِ فَأَقْبَلَ بِيَدَيْهِ وَأَدْبَرَ ثُمَّ غَسَلَ رِجْلَيْهِ إِلَى الْكَعْبَيْنِ ثُمَّ قَالَ هَكَذَا كَانَ وُضُوءُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم

อับดุลลอฮ์ บินเซด บินอาศิม อัลอันศอรีย์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รายงานลักษณะการอาบน้ำละหมาดของท่านนบี เขากล่าวว่า เคยมีผู้กล่าวกับเขาว่า โปรดอาบน้ำละหมาดอย่างท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ให้พวกเราดูหน่อย ดังนั้นเขาจึงใช้ให้เอาภาชนะใส่น้ำมาให้ หลังจากนั้นราดน้ำจากภาชนะนั้นลงบนมือของเขาแล้วล้างมันทั้งสองสามครั้ง ต่อมาเขาเอามือของเขากอบน้ำจากภาชนะมาบ้วนปากสูดน้ำเข้าโพรงจมูกแล้วสั่งออกจากน้ำกอบมือเดียว เขาทำเช่นนี้สามครั้ง เสร็จแล้วเขาเอามือกอบน้ำจากภาชนะนำมาล้างหน้าสามของเขาสามครั้ง และกอบน้ำจากภาชนะมาล้างมือถึงข้อศอกข้างละสองครั้ง จากนั้นก็เอามือกอบน้ำจากภาชนะมาเช็ดศีรษะของเขา โดยเสยจากด้านหน้าไปด้านหลังแล้วย้อนกลับมาที่เดิม ต่อจากนั้นก็ล้างเท้าทั้งสองของเขาจนถึงตาตุ่ม เสร็จแล้วก็กล่าวว่า อย่างนี้แหละคือการอาบน้ำละหมาดของท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม - มุสลิม/หมวดที่2/บทที่7/ฮะดีษเลขที่ 0453
……….
ในหะดิษข้างต้น ระบุว่านบี ศอ็ลฯล้างเท้าในการอาบน้ำละหมาด

อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร กล่าวว่า

" وَقَدْ تَوَاتَرَتْ الأَخْبَار عَنْ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي صِفَة وُضُوئِهِ أَنَّهُ غَسَلَ رِجْلَيْهِ وَهُوَ الْمُبَيِّن لأَمْرِ اللَّه , وَلَمْ يَثْبُت عَنْ أَحَد مِنْ الصَّحَابَة خِلَاف ذَلِكَ إِلا عَنْ عَلِيّ وَابْن عَبَّاس وَأَنَس , وَقَدْ ثَبَتَ عَنْهُمْ الرُّجُوع عَنْ ذَلِكَ , قَالَ عَبْد الرَّحْمَن بْن أَبِي لَيْلَى : أَجْمَعَ أَصْحَاب رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى غَسْل الْقَدَمَيْنِ , رَوَاهُ سَعِيد بْن مَنْصُور " انتهى .
แต้จริง บรรดาหะดิษจากนบี ศอ็ลฯ ได้รายงานหลายกระแส ใน ลักษณะการอาบน้ำละหมาดของท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านได้ล้างเท้าทั้งสองของท่าน โดยที่ท่านนบีคือ ผู้อธิบายคำสั่งของอัลลอฮ และไม่มีรายงานยืนยันจากคนหนึ่งคนใด
จากเหล่าเศาะหาบะฮว่า มีการเห็นขัดแย้งดังกล่าวนั้น ยกเว้น รายงานจากอาลี ,อิบนุอับบาส และอะนาส และแท้จริง ได้มีรายงานยืนยัน การกลับคำจากดังกล่าวจากพวกเขาแล้ว ,อับดุรเราะหฺมาน บิน อบีลัยลา ว่า มติเอกฉันท์ ของเหล่าสาวกของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บนการล้างสองเท้า –รายงานโดย สะอีด บิน มันศูร - ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 320
...........
สรุปว่า มติของเหล่าเศาะหาบะฮ ให้ล้างเท้า ไม่ใช่เช็ดเท้า ส่วนที่มีรายงานว่า อะลี ,อิบนุอับบาสและอะนัส ได้มีการเห็นขัดแย้งนั้น ได้มีรายงานว่า พวกเขาได้กลับคำ หรือเปลี่ยนทัศนะแล้ว

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 25, 2014 11:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การนำประเด็นขัดแย้งกับไปสู่อัลลอฮและรอซูล

อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

وَقَوْلُهُ : ( فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ ) قَالَ مُجَاهِدٌ وَغَيْرُ وَاحِدٍ مِنَ السَّلَفِ : أَيْ : إِلَى كِتَابِ اللَّهِ وَسَنَةِ رَسُولِهِ .

และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (หากพวกท่านขัดแย้งกันในเรื่องใด ๆ พวกท่านจงนำมันกลับไปยังอัลลอฮ์และรอซูล) มุญาฮิดและ อุลามาอฺชาวสะลัฟหลายคน กล่าวว่า “ หมายถึงกลับไปยัง คัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮของรอซูลของพระองค์
…..
ข้างต้นเป็นคำอธิบายของปราชญ์ยุคสะลัฟ นะครับว่าให้ นำประเด็นการขัดแย้ง ไปสู่กิตาบุลลอฮ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ

และท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวต่อไปว่า

وَهَذَا أَمْرٌ مِنَ اللَّهِ ، عَزَّ وَجَلَّ ، بِأَنَّ كُلَّ شَيْءٍ تَنَازَعَ النَّاسُ فِيهِ مِنْ أُصُولِ الدِّينِ وَفُرُوعِهِ أَنْ يَرُدَّ التَّنَازُعَ فِي ذَلِكَ إِلَى الْكِتَابِ وَالسُّنَّةِ ، كَمَا قَالَ تَعَالَى : ( وَمَا اخْتَلَفْتُمْ فِيهِ مِنْ شَيْءٍ فَحُكْمُهُ إِلَى اللَّهِ ) [ الشُّورَى : 10 ] فَمَا حَكَمَ بِهِ كِتَابُ اللَّهِ وَسُنَّةُ رَسُولِهِ وَشَهِدَا لَهُ بِالصِّحَّةِ فَهُوَ الْحَقُّ ، وَمَاذَا بَعْدَ الْحَقِّ إِلَّا الضَّلَالُ ،

นี่คือ คำสั่งจากอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ส่งเลิศยิ่ง ว่า ทุกสิ่งที่มนุษย์ขัดแย้งกัน ในมัน เกี่ยวกับอุศูลุดดีน (อกีดะฮ)และบรรดาสาขาของมัน(หลักปฏิบัติ) ก็ให้นำประเด็นขัดแย้งในดังกล่าว กลับไปยังอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ดังที่อัลลอฮตรัสว่า (และสิ่งใดที่พวกเข้าขัดแย้งในมัน ก็จงนำการตัดสินของมัน ไปยังอัลลอฮ- อัชชูรอ/10) ดังนั้น สิ่งใดที่ คัมภีร์ของอัลลอฮและสุนนะฮของรซูลของพระองค์ตัดสิน ด้วยมัน และยืนยันความจริงแก่มัน มันก็คือ ความถูกต้อง/ความจริง และ หลังจากความจริงแล้วจะมีอะไรอีกเล่า นอกจากความหลงผิดเท่านั้น- ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 346


อิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏอ็บรีย์ ปราชญ์ตัฟสีรยุคสลัฟ กล่าวว่า
عَنْ قَتَادَةَ قَوْلَهُ : فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ ، يَقُولُ : رُدُّوهُ إِلَى كِتَابِ اللَّهِ وَسُنَّةِ رَسُولِهِ

รายงานจากเกาะตาดะฮ เกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า(หากพวกท่านขัดแย้งกันในเรื่องใด ๆ พวกท่านจงนำมันกลับไปยังอัลลอฮ์และรอซูล) เขากล่าวว่า หมายถึง กลับไปสู่คัมภีร์ของอัลลอฮและสุนนะฮรอซูลของพระองค์ – ดู ตัฟสีรอัฏฏอ็บรย์ เล่ม 8 หน้า 505
.............
จากหลักฐานข้างต้น เป็นการยืนยันว่า เมื่อมีประเด็นขัดแย้งในเรื่องศาสนา ต้องนำไปให้อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เป็นตัวตัดสิน ไม่ใช่ การกิยาส


อิหม่ามอิบนุกะษีรกล่าวว่า
باب القربات يقتصر فيه على النصوص ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والأراء

และเรื่อง กุเราะบาตร(อิบาดะฮ) ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน จะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ - ตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 4 หน้า 258
............เพราะฉะนั้นเรื่องอิบาดะฮเมื่อไม่มีคำสั่งหรือบทบัญญัติ ระบุไว้ในอัลกุรอ่านและหะดิษ ก็สรุปว่า ไม่มีบทบัญญัติให้ทำ เพราะฉะนั้นไม่ควรไปใช้ความเห็นอุตริบิดอะฮขึ้นมาปฏิบัติ

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

باب العبادات والديانات والتقربات متلقاة عن الله ورسوله، فليس لأحد أن يجعل شيئاً عبادة أو قربة؛ إلا بدليل شرعي

เรื่องของอิบาดะฮ, การศรัทธา และการแสดงตนให้ใกล้ชิด(ต่ออัลลอฮ)นั้น ต้องถูกเรียนรู้มาจากอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ เพราะไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด กำหนดสิ่งใดให้เป็นอิบาดะฮ หรือ การกุรบะฮ(การแสดงตนเพื่อให้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ) นอกจาก ด้วยหลักฐานทางศาสนบัญญัติเท่านั้น – มัจญมัวฟะตาว่า เล่ม 31 หน้า 35
..........
คือ เราจะไปคิดวิธีอิบาดะฮหรือรูปแบบอิบาดะฮขึ้นเองไม่ได้ เพราะไม่ใช่หน้าที่มนุษย์

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 30, 2014 1:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จอมฟิตนะฮตลอดกาล

เท่าที่ติดตามอาชาอิเราะฮคนหนึ่งขอสงวนนาม
ส่วนใหญ่งานของเขาคือ ฟิตนะฮใส่บรรดาอุลามาอฺ ที่เห็นต่างกับตน ไม่ว่าจะเป็นอุลามาอฺยุคอดีตหรือปัจจุบัน และภาพข้างล่าง
นี้ได้ยกข้อความในตำราอิบนุตัยมียะฮ แล้วกล่าวหาว่าท่านอิบนุตัยมียะฮหลุ่มหลง เนื่องจากท่านได้อธิบายหะดิษที่ว่า

عن أبي هريرة رضي الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : ( خلق الله عز وجل آدم على صورته طوله ستون ذراعا ... فكل من يدخل الجنة على صورة آدم وطوله ستون ذراعا...) رواه البخاري (5873) ومسلم (7092

รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะห์กล่าวว่าท่านรอซู้ล กล่าวว่า" อัลลอฮได้สร้างอาดัมมาตามรูปร่างของพระองค์นั้นสูง 60 ศอก ..ดังนั้นทุกๆคนที่เข้าสวรรค์ จะเข้าในรูปร่างของอาดัมและมีความสูง 60 ศอก"-(บุคอรี 5873 มุสลิม 7092)
ในข้อความหะดิษที่ว่า

خَلَقَ اللَّهُ آدَمَ عَلَى صُورَتِهِ

Maksudnya: “ALLAH mencipta Adam menurut rupa-Nya” [HR al-Bukhari].

อัลลอฮทรงสร้างอาดัมตามรูปของพระองค์ – รายงานโดยบุคอรี

อิบนุตัยมียะฮได้อธิบายว่า

هذا الحديث لم يكن بين السلف من القرون الثلاثة نزاع في أن الضمير عائد إلى الله فإنه مستفيض من طرق متعددة عن عدد من الصحابة وسياق الأحاديث كلها يدل على ذلك

และหะดิษบทนี้ ไม่ปรากฏการขัดแย้งระหว่างชาวสะลัฟยุคศตวรรษที่สาม ว่าแท้จริง คำสรรพนาม นั้น(สรรพนามในคำว่า “ศูเราะติฮี) กลับไปยังอัลลอฮ เพราะแท้จริง มันถูกนำมาจากหลายสายรายงานจำนวนมาก จากจำนวนหนึ่งของเหล่าเศาะหาบะฮ และ ความหมายของบรรดาหะดิษทั้งหมดของมัน แสดงบอกบนความหมายดังกล่าวนั้น – ดู บะบานตัลบิส อัลญะมียะฮ เล่ม ๖ หน้า ๓๗๓
ความจริงมีหะดิษอื่นๆที่สนับสนุนทัศนะที่ว่า “คำสรรพนามในคำว่า

على صُورَتِهِ
ตามรูปของพระองค์

ไม่มีข้อความใดๆในตำราเล่มนั้นว่า อิบนุตัยมียะฮ บอกว่า รูปดังกล่าวนั้น คือรูปร่างที่เหมือนมัคลูค และคำว่า"รูป"นั้นจะเป็นอย่างไรเราไม่สามารถรู้ได้ เพราะทรงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนและอิบนุตัยมียะฮเองก็ไม่ได้บอกว่ารูปร่างเหมือนมัคลูคแต่อย่างใด
ท่านอบูบักร อัลอาญะรีย์ได้กำหนดหัวข้อเรื่องในตำราของท่านโดยกล่าวว่า

الإيمان بأن الله عزوجل خلق آدم على صورته بلا كيف

การศรัทธาว่า อัลลอฮผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงสร้างอาดัมตามรูปของพระองค์ โดยไม่ถามถึงรูปแบบวิธีการ – ดู อัชชะรีอะฮ ของอบูบักรอัลอาญะรีย์ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๖

คำว่า
بلا كيف

หมายถึง ไม่ถามว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไรและมอบหมายความรู้เกียวกับรูปแบบนั้นแก่อัลลอฮ เพราะเราไม่สามารถที่จะยั่งรู้ได้เนื่องจากทรงไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน

وقال الطبراني في كتاب السنة : حدثنا عبدالله بن أحمد بن حنبل قال: قال رجل لأبي : إن رجلاً قال : خلق الله آدم على صورته , أي صورة الرجل , فقال : كذب , هذا قول الجهمية، وأي فائدة في هذا

อิหม่ามอัฏฏอบรอนีย์ กล่าวไว้ใน กิตาบอัสสุนนะฮว่า อับดุลลอฮ บิน อะหมัด บิน หัมบัล ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า “ชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่บิดาของข้าพเจ้าว่า “อัลลอฮได้สร้างอาดัมมาซึ่งรูปร่างของพระองค์ หมายถึง รูปร่างของผู้ชาย แล้วเขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวว่า “โกหก” นี้คือ คำพูดของพวกญะฮมียะฮ” ใหนละ การอธิบายความหมายในที่นี้ - ดู
ميزان الاعتدال في نقد الرجال، شمس الدين الذهبي، تحقيق علي محمد البجاوي، دار المعرفة – بيروت، ( 1/603 )
…………………………………………..

ความจริงผมไม่อยากจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับครูสอนฟัรดูอีนคนนี้หากนายคนนี้ไม่บิดเบือนและใส่ร้าย
อิบนุตัยมียะฮ ว่าเลว เพราะกล่าวว่าทัศนะที่มีน้ำหนักคือ อัลลอฮมีรูปร่าง นี่คือ การบิดเบือน
เพราะความจริง อิบนุตัยมียะฮกล่าวในตำราที่นายอะชาอิเราะฮคนนี้อ้างคือ

والرأي الراجح -والله أعلم -أن الضمير عائد إلى الله ،وهو ما ذهب إليه الأئمة والعلماء قديماً وحديثاً.وإثبات الصورة لله كإثبات سائر الصفات ،فنثبت لله كما ثبت السمع والبصر والوجه والقدم

และทัศนะที่มีน้ำหนัก (อัลลอฮเท่านั้นทรงรู้ยิ่ง) แท้จริง สรรพนามนั้น กลับไปยังอัลลอฮ และ มันคือสิ่งที่บรรดา อิหม่ามและอุลามาอฺยุคเก่าและยุคใหม่ ได้มีทัศนะไปยังมัน และการรับรองคำว่ารูปแก่อัลลอฮนั้น ก็เหมือนกับการรับรอง บรรดาสิฟาตอื่นๆ ที่เรารับรองให้แก่อัลลอฮ เช่น การได้ยิน ,การเห็น ,พระพักต์ และเท้า
แล้วอิบนุตัยมียะฮสรุปว่า

،بلا تكييف لذلك ،وينزه الله عن التشبيه والتمثيل

โดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ สำหรับดังกล่าวนั้น และอัลลอฮทรงบริสุทธิ์ จากการคล้ายคลึงและการเปรียบเที่ยบกับมัคลูค
........................

ใหนหรือที่อิบนุตัยมียะฮว่าอัลลอฮมีรูปร่างเหมือนมัคลูค ไม่มีเลย เพราะอคติ จึงใช้ความเลวที่อยู่ในจิตใจทำลายอุลามาอฺที่เห็นต่างกับตน -วัลอิยาซูบิลละฮ
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Apr 27, 2016 7:44 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 30, 2014 1:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

فعن إسحاق بن منصور الكوسج قال: قلت لأحمد: " لا تقبحوا الوجوه فإن الله خلق آدم على صورته" أليس تقول بهذه الأحاديث؟ قال أحمد: صحيح .
وقال ابن راهويه: "صحيح، ولا يدعه إلا مبتدع، أو ضعيف الرأي

รายงานจากอิสหาก บิน มันศูร อัลเกาสะญุ กล่าวว่า “ ข้าพเจ้ากล่าวแก่ อะหมัด ว่า “พวกท่านอย่าดูถูกบรรดาใบหน้า เพราะแท้จริง อัลลอฮ สร้างอาดัม ตามรูปของพระองค์ ,ท่านจะไม่กล่าวเกี่ยวกับบรรดาหะดิษเหล่านี้หรอกหรือ ? อะหมัด กล่าวว่า “ เศาะเฮียะ
อิบนุรอฮะวียะฮ กล่าวว่า “ เศาะเฮียะ และจะไม่มีใครละทิ้งมัน นอกจากผู้ทำบิดอะฮ หรือ มีความอ่อนแอทางความคิดเห็น –
الإبانة عن شريعة الفرقة الناجية ومجانبة الفرق المذمومة، أبو عبدالله ابن بطة، مرجع سابق، (3/ 266)

อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

لفظ الصورة في الحديث كسائر ما ورد من الأسماء والصفات ، التي قد يسمى المخلوق بها ، على وجه التقييد ، وإذا أطلقت على الله اختصت به ، مثل العليم والقدير والرحيم والسميع والبصير ، ومثل خلقه بيديه ، واستواءه على العرش ، ونحو ذلك

คำว่า “ศูเราะฮ (รูปร่าง)ในหะดิษ เหมือนกับสิ่งที่ปรากฏจากบรรดาพระนามและคุณลักษณะ ที่มัคลูค ถูกเรียกชื่อด้วยมัน บนวิธีที่จำกัด และเมื่อมันถูกใช้ กับอัลลอฮ มันก็ถูกจำกัดเฉพาะด้วยพระองค์ เช่น อัลอะลีม ,อัลเกาะดีร ,อัรเราะฮีม ,อัสสะเมียะ และ อัลบะศอร และเหมือนกับคำว่า “การสร้างของพระองค์ด้วยสองมือของพระองค์ ,การประทับของพระองค์ บน อะรัช เป็นต้น – ดู นักฎุสตะสีส เล่ม 3 หน้า 396
..............
หมายคำว่า “คำว่า “ศูเราะฮ” รูปร่าง ถ้าใช้กับมัคลูค ก็คือรูปร่างที่เจาะจง กับมัคลูค แต่เมื่อถูกนำมาใช้กับอัลลอฮ มันก็เฉพาะพิเศษสำหรับอัลลอฮ ก็เหมือนบรรดาพระนามและสิฟัตต่างๆ ซึ่ง ไม่เหมือนกับมัคลูค
ไม่มีใครรู้รูปแบบว่าเป็นอย่างไรนอกจากอัลลอฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 14 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.27 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ