ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบร่วม เรื่องที่เป็นบิดอะห์ในอิสลาม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบร่วม เรื่องที่เป็นบิดอะห์ในอิสลาม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Thu Jan 27, 2011 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

48. และจงกลัวเกรงวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีชีวิตใดจะตอบแทนสิ่งใดแทนอีกชีวิตได้(*1*) และการขอให้มีความช่วยเหลือใด ๆก็จะไม่ถูกรับจากชีวิตนั้น(*2*) และค่าไถ่ถอนใด ๆ ก็จะไม่ถูกรับเอาจากชีวิตนั้น(*3*) ด้วย และทั้งพวกเขาก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ

(1) ไม่มีคนใดที่จะช่วยแบกภาระแทนกันได้ แม้แต่จะเป็นพ่อแม่ พี่น้อง และลูกเมียก็ตาม
(2) การขอให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือให้ตนได้รับความกรุณาจากอัลลอฮฺ นั้น ก็จะไม่ได้รับอนุมัติจากพระองค์
(3) ถ้าชีวิตนั้นจะนำค่าไถ่ถอนตัวเองให้พ้นจากการลงโทษ อัลลอฮฺก็จะไม่ทรงรับ ดังกล่าวนี้เพียงเปรียบเทียบให้ทราบว่าไม่มีทางใดที่เขาจะหลีกเลี่ยงให้พ้นการลงโทษไปได้เท่านั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Fri Jan 28, 2011 3:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตรงประเด็นหน่อยครับทั้งบังอะสันและdabdullah ทัศนะที่ผมนำเสนอมาตรงไหนผิดพลาดหรือครับ โปรดชี้แจง Rolling Eyes
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Fri Jan 28, 2011 3:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การละหมาดอัตตัสบีห์

ฮะดิษที่กล่าวถึงการละหมาดตัสบีห์นั้น ผู้ที่ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็คือท่านอิบนุอับบาส , ท่านอัลฟัฏล์ บิน อัลอับบาส , ท่านอับบาส บิน อับดุลมุฏฏอลิบ , ท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ , ท่านญะฟัร บิน อะบีฏอลิบ , ท่านอัลอับบาส บิน ญะฟัร , ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ , ชาวอัลอันซอรีย์คนหนึ่ง ขออัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยต่อพวกเขาด้วยเถิด . และได้รายงานฮะดิษแบบมัรซัล โดยท่านมุฮัมมัด บิน กะอับอัลกุรซีย์ , อะบูเญาซาอฺ , มุญาฮิด , อิสมาอีล บิน ร่อฟิอฺ , อุรวะฮ์ บิน รุวัยม์ และที่ดีที่สุดจากบรรดาสายรายงานเหล่านี้ คือฮะดิษที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา

และให้กับฮะดิษของท่านอิบนุอับบาสนั้น มีบรรดาสายรายงานมากมาย ซึ่งสายรายงานที่ดีที่สุดก็คือ ฮะดิษที่รายงานโดยท่านอะบูดาวูด (สุนันอะบูดาวูด : 2/40) , ท่านอิบนุมาญะฮ์ (สุนันอิบนุมาญะฮ์ : 1/443) , ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ (ซอฮิห์อิบนุคุซัยมะฮ์ : 2/223) , ท่านอัลฮากิม (อัลมุสตัดร็อก : 1/318) , ท่านอัลบัยฮะกีย์ (อัสสุนันอัลกุบรอ : 3/51) , และผู้อื่นจากพวกเขา ได้รายงานตัวบทฮะดิษความว่า :

‏حَدَّثَنَا ‏ ‏عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ بِشْرِ بْنِ الْحَكَمِ النَّيْسَابُورِيُّ ‏ ‏حَدَّثَنَا ‏ ‏مُوسَى بْنُ عَبْدِ الْعَزِيزِ ‏ ‏حَدَّثَنَا ‏ ‏الْحَكَمُ بْنُ أَبَانَ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏عِكْرِمَةَ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏ابْنِ عَبَّاس ٍ‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏لِلْعَبَّاسِ بْنِ عَبْدِ الْمُطَّلِبِ ‏ ‏يَا ‏ ‏عَبَّاسُ ‏ ‏يَا عَمَّاهُ أَلَا أُعْطِيكَ أَلَا أَمْنَحُكَ أَلَا ‏ ‏أَحْبُوكَ ‏ ‏أَلَا أَفْعَلُ بِكَ عَشْرَ خِصَالٍ إِذَا أَنْتَ فَعَلْتَ ذَلِكَ غَفَرَ اللَّهُ لَكَ ذَنْبَكَ أَوَّلَهُ وَآخِرَهُ قَدِيمَهُ وَحَدِيثَهُ خَطَأَهُ وَعَمْدَهُ صَغِيرَهُ وَكَبِيرَهُ سِرَّهُ وَعَلَانِيَتَهُ عَشْرَ خِصَالٍ أَنْ ‏ ‏تُصَلِّيَ أَرْبَعَ رَكَعَاتٍ تَقْرَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ ‏ ‏فَاتِحَةَ الْكِتَابِ ‏ ‏وَسُورَةً فَإِذَا فَرَغْتَ مِنْ الْقِرَاءَةِ فِي أَوَّلِ رَكْعَةٍ وَأَنْتَ قَائِمٌ قُلْتَ سُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاللَّهُ أَكْبَرُ خَمْسَ عَشْرَةَ مَرَّةً ثُمَّ تَرْكَعُ فَتَقُولُهَا وَأَنْتَ رَاكِعٌ عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ مِنْ الرُّكُوعِ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَهْوِي سَاجِدًا فَتَقُولُهَا وَأَنْتَ سَاجِدٌ عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ مِنْ السُّجُودِ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَسْجُدُ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ فَتَقُولُهَا عَشْرًا فَذَلِكَ خَمْسٌ وَسَبْعُونَ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ تَفْعَلُ ذَلِكَ فِي أَرْبَعِ رَكَعَاتٍ إِنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تُصَلِّيَهَا فِي كُلِّ يَوْمٍ مَرَّةً فَافْعَلْ فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ جُمُعَةٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ شَهْرٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ سَنَةٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي عُمُرِكَ مَرَّةً

"ได้เล่าให้เราทราบโดย อับดุรเราะห์มาน บิน บิชร์ บิน อัลฮะกัม อันนัยซาบูรีย์ ได้เล่าให้ทราบโดย มูซา บิน อับดุลอะซีซ ได้เล่าให้ทราบโดย อัลฮะกัม บิน อะบาน จาก อิกริมะฮ์ จากท่านอิบนุอับบาส ว่า “แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านอัลอับบาส บิน อับดิลมุฏฏอลิบ ว่า โอ้ ท่านอับบาส โอ้ น้าชายของฉัน จะให้ฉันมอบให้กับท่านหรือไม่? จะให้ฉันทำให้กับท่านหรือไม่? กับ 10 ประการ เมื่อท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าว อัลเลาะฮ์ก็จะอภัยโทษแก่ท่านซึ่ง(1)บาปในช่วงแรกและ(2)ช่วงสุดท้าย (3)บาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและ(4)บาปที่เพิ่งเกิดขึ้น (5)บาปที่ผิดพลาดและ(6)บาปที่เจตนา (7)เป็นบาปเล็กและ(8.)บาปใหญ่ (9)เป็นบาปซ่อนเร้นและ(10)บาปที่เปิดเผย คือให้ท่านทำการละหมาดสี่ร่อกะอัต ซึ่งในร่อกะอัตแรกให้ท่านอ่านอัลฟาติฮะฮ์และหนึ่งซูเราะฮ์ เมื่อเสร็จจากการอ่านในร่อกะอัตแรกในสภาพที่ท่านยืนอยู่นั้น ก็ให้ท่านกล่าว ซุบฮานัลลอฮ์วัลฮัมดุลิลลาฮ์วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์วัลลอฮุอักบัร ให้กล่าวมัน 15 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่านทำการร่อกั๊วะแล้วทำการกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากร่อกั๊วะ ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านก้มสุยูด ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากสุยูด ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่านทำการสุยูดแล้วกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากสุยูด ก็ให้กล่าวมัน 10 ครั้ง ดังกล่าวก็เป็น 75 ครั้งในทุก ๆ ร่อกะอัต โดยให้ท่านกระทำสิ่งดังกล่าวใน 4 ร่อกะอัต ดังนั้นหากท่านมีความสามารถที่จะละหมาดมันทุกวัน ก็จงกระทำเถิด และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้ท่านกระทำในทุก ๆ วันศุกร์สักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้กระทำทุก ๆ หนึ่งเดือนสักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้กระทำทุก ๆ หนึ่งปีสักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่มีความสามารถ ก็ให้กระทำสักครั้งหนึ่งในชีวิตของท่าน”

วิเคราะห์สายรายงานฮะดิษ

1. ท่านอิกริมะฮ์ : เขานั้น “เชื่อถือได้” และ “เป็นที่รู้จักกันดี” ซึ่งกลุ่มหนึ่งของปราชญ์ฮะดิษได้นำเขามาเป็นหลักฐานอ้างอิง ส่วนที่ผู้ที่ทำการวิจารณ์เขานั้นเป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น

2. ท่านอัลฮะกัม บิน อะบาน : เขาเป็นผู้ที่ “เชื่อถือได้” ตามทัศนะของท่านอิบนุมะอีน , ท่านอิบนุอัลมะดีนีย์ , ท่านอะห์มัด บิน ฮัมบัล , อันนะซาอีย์ , ท่านอัลอิจญ์ลีย์ , ท่านอิบนุ นุมัยร์ , และท่านอิบนุฮิบบานได้กล่าวเขาไว้ในหนังสืออัษษิก็อตของท่าน , และท่านอบูอัซซุรอะฮ์กล่าวว่า เขานั้นฮะดิษดี , ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า : ฉันได้ไปที่เมืองอัดน์ ซึ่งฉันไม่เคยพบผู้ใดเลยที่จะเหมือนกับอัลฮะกัม บิน อะบาน

ทั้งที่นักปราชญ์ฮะดิษส่วนมากได้มีความเห็นพร้องถึงการให้ความเชื่อถือต่ออัลฮะกัม บิน อะบาน และเขาถูกให้อยู่ในแนวหน้าเหนือชาวอัดน์ ท่านอิบนุลมุบาร็อกได้กล่าวว่า : อัลฮะกัม บิน อะบาน , ฮิชาม บิน มัศก์ , และอัยยูบ บิน สุวัยด์นั้น ท่านจงอย่าสนใจพวกเขา และท่านอิบนุคุซัยมะฮ์กล่าวว่า : นักฮะดิษได้ทำการวิจารณ์เกี่ยวการนำฮะดิษของเขามาเป็นหลักฐาน (ดู หนังสือ อัษษะก็อต : 6/175 , หนังสืออัตตะฮ์ซีบ : 2/423 , หนังสือมีซานุลเอี๊ยะติดาล : 1/569)

สำหรับคำกล่าวของท่านอิบนุลมุบาร็อก ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ นั้น บางครั้งเขาไม่รู้จักสถานะภาพของอัลฮะกัม บิน อะบาน และคิดว่าเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งจากนักรายงานที่ไม่ถูกรู้จัก(มัจญฺฮูล) หรือท่านอิบนุลมุบาร็อกมีความคลุมเครือสับสนต่อสถานะภาพของเขา ท่านจึงได้กล่าวถ้อยคำนี้ออกมา ส่วนคำกล่าวของท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ นั้น เราไม่รู้ว่าผู้ใดกันคือนักฮะดิษที่ทำการวิจารณ์เกี่ยวกับการนำฮะดิษของอัลฮะกัม บิน อะบาน มาเป็นหลักฐานหลังจากที่เราได้ถ่ายทอดการรับรองความเชื่อถือ (ษิเกาะฮ์) ให้กับเขาจากบรรดานักปราชญ์ฮะดิษที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

อย่างไรก็ตาม ท่านอิบนุลมุบาร็อกและท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ก็มิได้ทำการอธิบายถึงสาเหตุการตำหนิอัลฮะกัม บิน อะบาน ดังนั้นการตำหนินักรายงานของทั้งสองจึงมิได้ถูชี้แจงอธิบาย ดังนั้นการวิจารณ์ตำหนินักรายงานของท่านทั้งสองจึงถูกปฏิเสธต่อเบื้องหน้าการให้ความชมเชยของบรรดานักปราชญ์ฮะดิษข้างต้น และการให้ความชมเชยย่อมอยู่ก่อนการตำหนิที่ไม่ถูกชี้แจงอธิบายด้วยมติของนักปราชญ์ฮะดิษ

3. ท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ : ท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า : ฉันเห็นว่าเขานั้นไม่เป็นไร(หมายถึงเขานั้นเชื่อถือได้) , ท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า : เขานั้นไม่เป็นไร , ท่านอิบนุอัลมะดีนีย์กล่าวว่า : เขานั้นฎออีฟ , ท่านอบุลฟัฎล์ อัสสุไลมานีย์กล่าวว่า : เขานั้นมุงกัรฮะดิษ , ท่านอิบนุชาฮีนได้นำเขากล่าวไว้ในหนังสืออัษษิก็อต(บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้) , และท่านอิบนุฮิบบานก็นำเขากล่าวไว้ในหนังสืออัษษิก็อตเช่นเดียวกัน แต่ท่านอิบนุฮิบบานกล่าวว่า : บางทีเขาผิดพลาด (ดู หนังสืออัลญัรห์ วัตตะดีล : ภาค 4 ยุซที่ 1 หน้า 151 , หนังสืออัตตะฮ์ซีบ : 10/356 , หนังสืออัตตักรีบ : 2/286 , หนังสือมีซานุลเอี๊ยะติดาล : 4/212)

สำหรับคำกล่าวของท่านอิบนุมะอีนที่ว่า “เขานั้นไม่เป็นไร” หมายถึง “เขานั้นเชื่อถือได้” ท่านอิบนุอะบีค็อยษะมะฮ์กล่าวว่า : ฉันได้กล่าวกับท่านยะห์ยา บิน มะอีน ว่า : ท่านได้กล่าวว่าคนนั้นคนนี้ไม่เป็นไร คือชายคนนั้นฎออีฟกระนั้นหรือ? ท่านอิบนุมะอีนกล่าวว่า : เมื่อฉันกล่าวว่า เขานั้นไม่เป็นไร หมายถึงว่าเขานั้น เชื่อถือได้ (ดู หนังสือมุก็อดดิมะฮ์อิบนุศศ่อลาห์ หน้า 158)

ส่วนคำกล่าวของท่านอิบนุอัลมะดีนีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ที่ว่า มูซา บิน อับดุลอะซีซ ฎออีฟนั้น เป็นการกล่าวตัดสินโดยมิได้อธิบายถึงสาเหตุการฎออีฟ ซึ่งถือว่าเป็นการตำหนิวิจารณ์ที่ยังคลุมเครือและถูกปฏิเสธในขณะที่มีการชมเชยมารับรองอยู่ และหลักการนี้ก็เหมือนกับคำกล่าวของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ในการกล่าวประวัติของมุฮัมมัด บิน บัชชาร ว่า : ท่านอัมร์ บิน อะลี อัลฟัลลาสได้กล่าวว่า มุฮัมมัด บิน บัชชาร นั้นฎออีฟโดยที่ไม่กล่าวถึงสาเหตุการฎออีฟเลย ดังนั้นนักปราชญ์ฮะดิษจึงไม่ให้ความสนใจการตำหนิวิจารณ์ของเขา (ดู หนั้งสือฮัดยุซซารีย์ หน้า 437)

สำหรับคำกล่าวของท่านอะบีลฟัฎล์ อัสสุไลมานีย์ที่ว่า “เขานั้นมุงกัรฮะดิษ” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่สามารถนำมาสนับสนุนในการตัดสินฎออีฟต่อท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ ได้เลย ทั้งที่มีการรับรองความเชื่อถือจากท่านอิบนุมะอีนและการชมเชยของท่านอันนะซาอีย์ , ท่านอิบนุฮิบบาน , และท่านอิบนุชาฮีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวของท่านอิบนุมะอีนและท่านอันนะซาอีย์นั้นเป็นที่ทราบดีกว่าท่านทั้งสองมีความเข้มงวดในการวิจารณ์นักรายงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ จึงอยู่ในกลุ่มที่พูดจริง(ไม่ถูกกล่าวหาว่าโกหก)และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม(อะดาละฮ์)

ดังนั้นเมื่อท่านได้รู้สถานะของท่านอัลฮะกัม บิน อะบาน และท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซแล้ว คำกล่าวของท่านอัซซะฮะบีย์ในหนังสือมีซานุลเอี๊ยะติดาล (4/213) ที่ว่า “ฮะดิษของเขา (คือของมูซา บิน อับดุลอะซีซ) นั้นส่วนหนึ่งมาจากบรรดาฮะดิษมุงกัร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัลฮะกัม บิน อะบาน ไม่ใช่เป็นผู้ที่มั่นคงแน่นแฟ้นเช่นกัน” นั้นเป็นคำวิจารณ์ที่ต้องการไปยังการชี้แจงอธิบาย(แต่ไม่มี)

ฉะนั้นอะไรคือเป้าหมายของคำว่า “บรรดาฮะดิษมุงกัร” ? เป้าหมายของมันคือการรายงานเพียงลำพังคนเดียว หรือว่าเป้าหมายคือผู้ที่ฎออีฟได้ทำการรายงานขัดแย้งกับผู้ที่เชื่อถือได้?

สำหรับประการแรกนั้น ฮะดิษของท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ ที่เกี่ยวกับเรื่องละหมาดตัสบีห์นั้น มีนักรายงานกลุ่มหนึ่งได้ทำการรายงานฮะดิษนี้ไว้ ไม่ใช่ท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ เป็นผู้รายงานเพียงลำพังคนเดียวเลยแม้แต่น้อย

ส่วนประการที่สองนั้น ไม่ได้มีรายงานมาเลยว่าเขาได้รายงานฮะดิษมุงกัรที่ไปขัดกับผู้ที่เชื่อถือได้ เพราะท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ ไม่ใช่เป็นผู้ที่ฎออีฟดังที่เราได้นำเสนอผ่านมาแล้ว และตัวท่านอัซซะฮะบีย์เองก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฮัซซับ ฟี อิคติซ็อร อัซซุนัน อัลกุบรอ (3/23) ว่า เขานั้นไม่ฎออีฟ

และฮะดิษของท่านมูซา บิน อับดุลอะซีซ นั้น ไม่ได้รายงานขัดกับนักฮะดิษคนใดเลย ยิ่งกว่านั้น กลับรายงานสอดคล้องกับกลุ่มหนึ่งจากนักรายงานฮะดิษ

สำหรับคำกล่าวของท่านอัซซะฮะบีย์ที่ว่า อัลฮะกัม บิน อะบาน ไม่มั่นคงแน่นแฟ้นนั้น แต่ทว่าการที่นักปราชญ์ฮะดิษกลุ่มหนึ่งได้รับรองความเชื่อถือ (ษิเกาะฮ์) ต่อท่านอัลฮะกัม บิน อะบาน ถือว่าเขามีความมั่นคงแน่นแฟ้นตามทัศนะของพวกเขา ดังนั้นผู้ที่มีทัศนะเหมือนกับท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์นั้น ก็จะกล่าวถึง อัลฮะกัม บิน อะบาน ว่า : “ฉันได้ไปที่เมืองอัดน์ ดังนั้นฉันไม่เคยเห็นผู้ใดที่จะเหมือนกับอัลฮะกัม บิน อะบานเลย” เพราะฉะนั้นคำกล่าวของท่านอัซซะฮะบีย์ – ผู้อยู่ในศตวรรษที่ 8 – ที่ว่าเขานั้นไม่มั่นคงย่อมไม่มีผลกระทบกับท่านอัลฮะกัม บิน อะบานแต่อย่างใด วัลลอฮุตะอาลาอะลัม

4. ท่านอับดุรเราะห์มาน บิน บิชร์ บิน อัลฮะกัม : เขาเป็นผู้เชื่อถือได้ ท่านบุคอรีย์และมุสลิมได้นำฮะดิษของเขามาเป็นหลักฐาน

หลังจากที่เราได้ทราบสถานะภาพของนักรายงานฮะดิษแล้ว ก็สามารถกล่าวได้ว่า ฮะดิษละหมาดตัสบีห์นี้ อยู่ในเงื่อนไขของฮะดิษฮะซันเหมือนที่ท่านอัลฮาฟิซฺอิบนุญัรและผู้อื่นจากท่านได้กล่าวเอาไว้ ยิ่งกว่านั้นท่านอะบีดาวูดได้กล่าวว่าสายรายงานของฮะดิษนี้ซอฮิห์ และท่านอัลบุคอรีย์ได้นำเสนอสายงานของฮะดิษนี้อย่างสมบูรณ์ไว้ในหนังสือ อัลอะดับอัลมุฟรัด บทที่ว่าด้วยเรื่อง การได้ยินเสียงฟ้าผ่า , และความประเสริฐของ อัลลอฮุศศ่อมัด (ซูเราะฮ์กุลฮุวัลลอฮ์) (ดู 2/184)

และยังมีบรรดาสายรายงานที่มาสนับสนุนสายรายงานของมูซา บิน อับดุลอะซีซ ซึ่งสายรายงานที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ :

1. ฮะดิษที่รายงานโดย มุสลิม บิน อิบรอฮีม จาก อัลมุสตะมิร บิน อัรร็อยยาน จาก อะบีอัลเญาซาอฺ จาก อับดุลลอฮ์ บิน อัมร์...ซึ่งเป็นสายรายงานที่ท่านอิมามอะห์มัดประทับใจ คือไม่น้อยไปจากระดับฮะดิษฮะซัน ท่านอะบูบักร อัลค็อลลาล ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอิลัล ว่า “อะลี บิน สะอีด ได้กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอะห์มัด บิน ฮัมบัล จากเรื่องละหมาดอัตตัสบีห์ ท่านตอบว่า “ไม่มีสิ่งใด ณ ที่ฉันซอฮิห์เกี่ยวกับมันเลย” ฉันกล่าวว่า “มันเป็นฮะดิษของอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์” ท่านอะห์มัดกล่าวว่า “ทุกคนที่รายงานฮะดิษของอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ จาก อัมร์ บิน มาลิก นั้นได้มีคำกล่าววิจารณ์” ดังนั้นฉันจึงกล่าวว่า “ได้รายงานฮะดิษของอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ โดยอัลมุสตะมิร บิน อัรร็อยยาน จาก อะบี อัลเญาซาอฺ” ท่านอะห์มัดจึงกล่าวถามว่า “ผู้ใดที่บอกเล่าให้แก่ท่าน?” ฉันตอบว่า “มุสลิม บิน อิบรอฮีม” ท่านอะห์มัดจึงกล่าวว่า “อัลมุสตะมิรเป็นอาจารย์ที่เชื่อถือได้” ประหนึ่งว่าท่านอะห์มัดมีความประทับใจกับฮะดิษที่รายงานโดยอัลมุสตะมิร” (ดู หนังสืออัจญ์วิบะฮ์ อัลฮาฟิซฺ อะลัลอะฮาดีษ อัลมุนตะเกาะดะฮ์ อะลัลมิชกาฮ์ : 3/179)

2. ฮะดิษที่รายงานโดยอะบูดาวูด (สุนันอะบีดาวูด 2/41) ว่า ได้เล่าให้เราทราบกับเราโดย อะบูเตาบะฮ์ อัรร่อบีอฺ บิน นาฟิอฺ เขากล่าวว่าได้เล่าให้เราทราบโดย มุฮัมมัด บิน มุฮาญิร จาก อุรวะฮ์ บิน รุวัยม์ เขากล่าวว่าได้บอกเล่ากับฉันโดย ชาวอันซอรีย์คนหนึ่งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวให้กับท่านญะอฺฟัรว่า (อะลา อะห์บูก้า...) จนจบฮะดิษ

อะบูเตาบะฮ์ อัรร่อบีอฺ : เขาคือนักจำฮะดิษ ผู้เชื่อถือได้

มุฮัมมัด บิน มุฮาญิร : เขาเชื่อถือได้

อุรวะฮ์ บิน รุวัยม์ : เขาเชื่อถือได้ หรือ เขาศ่อดูก(ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าโกหก)

สำหรับ ชาวอัลอันซอรีย์นั้น เขาคือซอฮาบะฮ์ที่ถูกขัดแย้งกันในเรื่องการเจาะจงตัวตนว่าเป็นใคร ดังนั้นท่านอัลฮาฟิซฺ อัลมิซฺซีย์ได้กล่าวว่า “เขาคือญาบิร” (ดู หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลอัชร็อฟ : 2/219) ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร กล่าวไว้ในหนังสืออัลอะมาลีย์ความว่า “เขาคืออบูกับชะฮ์ อัลอันมารีย์” (ดู ชัรห์อัลอัซการ : 4/310)
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การไม่รู้ว่าเป็นซอฮาบะฮ์ท่านใดนั้น ถือว่าไม่มีผลกระทบแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้ ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวในหนังสืออัลอะมาลีย์ของท่านว่า “หากเราได้ดำเนินตามสองสมมุติฐานนี้ สายรายงานของฮะดิษก็ไม่ต่ำจากระดับฮะดิษฮะซัน”

ดังนั้น เหล่านี้ก็คือสามสายรายงานที่มีน้ำหนักและสะอาด เมื่อสายรายงานเหล่านี้ได้นำมาร่วมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก็จะถูกตัดสินว่าฮะดิษละหมาดตัสบีฮฺนี้ เป็นฮะดิษซอฮิห์ ตามนัยยะของหลักพิจารณาอัลฮะดิษ วัลลอฮุซุบฮานะฮูวะตะอาลาอะลัม
_________________
go die to no grass

ตรงไหนที่มีข้อผิดพลาด โปรดชี้แจงด้วยครับ

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jan 28, 2011 2:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

f1 บันทึก:


“หากเราได้ดำเนินตามสองสมมุติฐานนี้ สายรายงานของฮะดิษก็ไม่ต่ำจากระดับฮะดิษฮะซัน”


_________________
go die to no grass




หมายความว่า อย่างไรครับ คำว่า "สมมุติฐาน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4
หน้า 4 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.18 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ