ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - บริจาคกัน!หรือยัง ?
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
บริจาคกัน!หรือยัง ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
shabab
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008
ตอบ: 303


ตอบตอบ: Wed Aug 18, 2010 9:04 am    ชื่อกระทู้: บริจาคกัน!หรือยัง ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บริจาคกัน!หรือยัง ?


โดย อบูนะบีล
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
الســـــــــــــــــلام عليكم ورحمـــــــــــــــــــــة الله وبركاته‏ ผู้ศรัทธาเอ๋ย

การบริจาคนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา วันนี้พี่น้องบริจาคบ้างหรือยัง? การบริจาคของเรานั้นจะส่งผลดีต่อเราทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นหนึ่งเสบียงแห่งการกลับไปสู่โลกหน้าและเป็นสิ่งที่ทำกันด้วยความง่ายดาย การบริจาคทรัพย์สินเงินทองหรือแม้แต่สิ่งของที่ดีๆให้กับผู้อื่นนั้นจะช่วยลดความตระหนี่ถี่เหนียว ของตัวเราได้

พี่น้องเอ๋ย เคยไหมเมื่อการบริจาคมายังท่าน เมื่อการใช้จ่ายในเรื่องของศาสนามายังท่าน ท่านละเลย ท่านเฉยเมย ท่านดูแคลน แต่เมื่อเป็นเรื่องความเพลิดเพลินในดุนยา หรือแม้กระทั่งเรื่องปากเรื่องท้องที่ต้องการ ท่านมักจะจ่ายมัน ท่านมักจะใช้มัน อย่างไม่คิด อย่างไม่พิจารณาว่าจะเหลือสักกี่บาท จะจ่ายมันสักกีตังค์ถึงจะพอกิน

รู้ไหม?? ทรัพย์สินที่เราถืออยู่นั้นไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของอัลลอฮฺซุบฮานาฮุวาตะอะลาต่างหากหล่ะ นั่นเป็นริซกีที่อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอะลาให้แก่เรามาเพื่อมาเป็นบททดสอบว่าเราจะลืมหรือรำลึกถึงอัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอะลา

ฉะนั้นแล้ว เราคงไม่ดูถูก เราคงไม่เฉยเมย เราคงไม่มองข้ามการบริจาคเพียงน้อยนิด แม้มันจะเป็นแค่บาท สองบาท แต่หากมันเต็มไปด้วยความอิคลาสใจเพื่ออัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอะลาจริงๆ มิใช่ทำเพื่อให้เขามอง มิใช่ทำเพื่อให้เขารู้ว่าเราเป็นผู้ใจบุญ นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พระองค์อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอะลาทรงพอพระทัยแล้วนำมาซึ่งการประทานซึ่งความดีและริซกีต่างๆให้แก่เรา สิ่งสำคัญ ความพอพระทัยของพระองค์คือน้ำหนักบนตราชั่งของความดี และได้รับบัญชีข้างขวานั่นเอง

ผู้ศรัทธาครับ เราลองมามาอ่านและทบทวนหะดิษนี้เถิดครับ
รายงานจากท่านอาบู อับดุลเราะห์มาน อิบนูอาซัม ว่า ท่านรอซูลศอลลัลลอฮฮุอาลัยฮีวาซัลลัม กล่าวไว้ซึ่งมีใจความว่า “3 ประการข้าพเจ้าขอสาบาน ว่าเป็นเรื่องจริง”

ประการแรก ไม่มีจำนวนเงิน จำนวนหนึ่ง จำนวนใด ซึ่งได้ถูกนำซึ่งศอดาเกาะฮออกจากจำนวนนั้นและจำนวนนั้นจะลดลงไป
ประการที่สอง ไม่มีคนหนึ่งคนใดที่ให้อภัย ต่อคดี คดีหนึ่ง ที่เขาถูกอธรรมจากผู้อื่น เว้นแต่ อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลาจะให้แก่ผู้ที่ให้อภัยได้รับความสูงส่ง ได้รับเกียรติ ดังนั้น โอ้บ่าวของอัลลอฮทั้งหลายจงให้อภัยกันเถิด แล้วพวกเจ้าจะได้รับเกียรติและความสูงส่งจากอัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลา
ประการที่สาม ไม่มีคนหนึ่งคนใด ที่เปิดประตูแห่งการขอทาน (ริเริ่มหรือสนับสนุนให้ชีวิตของคนๆหนึ่งเริ่มมีแหล่งรายได้จากการขอทาน) เว้นแต่ อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลา จะเปิดประตูแห่งความยากจนแก่เขา”(บันทึกโดยท่านอิหม่ามอะหมัด ท่านอิหม่ามบัรซัร ท่านอิบนูอาบิบดุนยา เชคอัลบานีย์ว่าศอเหี่ยะย์)
ท่านรอซูลได้สาบานว่า ใครบริจาคเขาจะไม่ลดจะไม่ขาดของการบริจาค นั่นหมายถึงความจำเริญที่อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลาจะมอบแก่ผู้ที่บริจาคใช่ไหม นั่นคือผลตอบแทนของผู้เห็นคุณค่าของการบริจาคนั้นหรอกไหม แล้ววันนี้!คำสาบานของท่านรอซูลศอลลัลลอฮฮุอาลัยฮีวาซัลลัม มิได้ทำให้ท่านเชื่อในบารอกัตของการบริจาคทานดอกหรือ?

ลองคิดและทบทวนดูนะครับ มีมนุษย์สักคนไหมในโลกดุนยานี้ที่เขายอมลงทุนเงินตัวเองเพื่อให้คนอื่นแสวงหากำไรเข้าหาคนๆนั้นแล้วผู้ให้ไม่รับหรือเรียกสักบาทเดียวกลับมา แต่อัลลอฮซุบฮานาฮุวาตะอาลาเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงให้เราเพื่อลงทุนการประกอบความดี โดยไม่คิดกำไรและค่าตอบแทนสักบาทเดียว เลย………ALLAH AKBUR

ยิ่งเป็นเดือนอันประเสริฐนี้แล้วล่ะก็ อย่างน้อย การบริจาคหรือการเลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ถือศีลอดนั้น จะได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ที่ถือศีลอดนั้นเลย

ซัยดฺ บิน คอลิด อัล-ญุฮะนีย์ เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا»
“ผู้ใดเลี้ยงอาหารละศิยามแก่ผู้ถือศิยาม เขาจะได้ผลบุญ (จากการเลี้ยงอาหารดังกล่าว) เท่ากับผลบุญของผู้ถือศิยาม โดยที่ผลบุญ (จากการถือศิยาม) ของผู้ถือศิยามจะไม่ลดน้อยลงแต่อย่างใด” (มุสนัดอะหมัด, เล่ม 4 หน้า 114, สุนันอัตติรมิซีย์, เลขที่ 807, สุนันอิบนุมาญะฮฺ, เลขที่ 1746, เศาะหีหฺอิบนุหิบบาน, เลขที่ 3429)
والسلام عليكم ورحمة الله
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.07 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ