ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - อัลกุรอาน ขัดกับฮะดีษ เรื่องพ่อแม่นบี จะยึดไหนดีครับ?
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
อัลกุรอาน ขัดกับฮะดีษ เรื่องพ่อแม่นบี จะยึดไหนดีครับ?
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Fri Oct 02, 2009 11:29 am    ชื่อกระทู้: อัลกุรอาน ขัดกับฮะดีษ เรื่องพ่อแม่นบี จะยึดไหนดีครับ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความเข้าใจที่สับสนของผม

๑ เชื่อมาก่อนโดยไม่คิดอะไรว่า พ่อแม่นบี ตกนรก อะบูฮุร็อยเราะฮ์ และอนัสรายงาน อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้ท่านนบีขออภัยโทษให้ (ความเชื่อเดิม และที่มีอยู่)
๒ อัลกุรอานไม่ได้บอกว่าพ่อแม่นบีเป็นมุชริก(ความเข้าใจใหม่) และอัลกุรอาน สั่งนบีให้ขอความเมตตาให้บิดามารดาของท่าน

ถามว่า ฮะดีษเล่าจากศอฮาบะฮ์ว่า อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้นบีขอพรให้พ่อแม่
อัลกุรอาน ๑๗/๒๔ อัลลอฮ์สั่งท่านนบีให้ขอพรให้พ่อแม่

มันอย่างไงกันครับ อธิบายด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:04 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ลองอ่านนี่ดูครับ

บทความของอ.ปราโมทย์


วิเคราะห์ปัญหา
บิดา-มารดาท่านนบีย์เป็นชาวนรกหรือ ?
โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
.

หะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีดังนี้ ...
(1). มีรายงาน จากท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์, จากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ว่า ...
أَنَّ رَجُلاَ قَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَيْنَ أَبِىْ ؟ .. قَالَ : فِى النَّارِ، فَلَمَّا قَفَّى دَعَاهُ فَقَالَ : إِنَّ أَبِىْ وَأَبَاكَ فِى النَّارِ ...
“ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า .. โอ้ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ บิดาของฉันอยู่ที่ไหน?, ท่านนบีย์ตอบว่า .. อยู่ในนรก, แล้วเมื่อเขาผินหลังให้ท่านนบีย์ก็เรียกเขา แล้วกล่าวว่า .. แท้จริง ทั้งบิดาของฉันและบิดาของท่านอยู่ในนรก” ...
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 347/203, ท่านอบูอะวานะฮ์ เล่มที่ 1 หน้า 99, ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4718, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 268, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 7 หน้า 190, ท่านอัล-ญูซะกอนีย์ในหนังสือ “อัล-อะบาฏิล วัลมะนากีรฺ” เล่มที่ 1 หน้า 233 และท่านอบูยะอฺลา 6/229/3516) ...


(2). มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ว่า ...
زَارَالنَّبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَبْرَأُمِّهِ فَبَكَى، وَأَبْكَى مَنْ حَوْلَهُ، فَقَالَ : إِسْتَأْذَنْتُ رَبِّىْ فِىْ أَنْ أَسْتَغْفِرَلَهَا فَلَمْ يُؤْذَنْ لِىْ، وَاسْتَأْذَنْتُهُ فِىْ أَنْ أَزُوْرَقَبْرَهَا فَأَذِنَ لِىْ، فَزُوْرُواالْقُبُوْرَ! فَإِنَّهَا تُذَكِّرُالْمَوْتَ ..
“ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้ไปเยี่ยมกุบูรฺมารดาของท่าน แล้วท่านก็ร้องไห้ ทำให้คนที่อยู่รอบตัวท่านร้องไห้ด้วย แล้วท่านจึงกล่าวว่า .. “ฉันขออนุญาตต่อพระผู้อภิบาลของฉันในการขออภัยโทษให้ท่าน(คุณแม่) แต่ฉันไม่ได้รับอนุญาต, ฉันจึงขออนุญาตต่อพระองค์ในการไปเยี่ยมกุบูรฺของท่าน พระองค์ก็อนุญาตแก่ฉัน ดังนั้นพวกท่านจงซิยาเราะฮ์กุบูรเถิด เพราะมันจะช่วยเตือนรำลึกพวกท่านเรื่องความตาย” ...

(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 108/976, ท่านอัน-นะซาอีย์ หะดีษที่ 2033, ท่านอิบนุมาญะฮ์ หะดีษที่ 1572, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 76, และท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 441) ...

ถามว่า ได้อ่านหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้นแล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง ? ...
แน่นอน .. คำตอบก็คือ มุสลิมที่มีอีหม่านทุกคนย่อม “ทำใจรับ” ลำบากต่อเหตุการณ์ข้างต้นหากเป็นความจริง ...
อย่าว่าให้ทำใจรับเลย แค่ “คิด” ก็ยังไม่อยากจะคิดเสียด้วยซ้ำ ...
กรณีนี้จึงไม่แตกต่างอันใดกับสาวกของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งมีความศรัทธาอย่างสุดจิตสุดใจในตัวท่าน จนทำใจรับไม่ได้กับข้อกล่าวหาของสังคมว่า ท่านมีพฤติการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่น ...

ขนาดศาลสถิตยุติธรรมตัดสินแล้วว่า ท่านทุจริตคอร์รัปชั่นจริง ก็ยังยอมรับไม่ได้ แถมกลับกล่าวว่า ท่านถูกกลั่นแกล้งหรือศาลตัดสินลำเอียงไปโน่น ...
สรุปแล้วก็คือ หัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ไม่เชื่อว่าท่านทุจริตคอร์รัปชั่นจริง .. ดังการตัดสินของศาล ...
นี่คือเรื่องของความศรัทธา ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ใครจะไปคัดค้านหรือลบล้างได้ ...

ผมเอง ยอมรับว่าเป็นอีกผู้หนึ่งที่ “ทำใจรับไม่ได้” เช่นเดียวกันกับคำกล่าวที่ว่า บิดามารดาของท่านนบีย์ ต้องเข้านรก ...
แต่, .. ผมก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่า .. “สมมุติ” ถ้าพิสูจน์ได้ว่าหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้นเป็นหะดีษที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ) .. และไม่ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่านล่ะ? เราจะว่ายังไง ?
จะเอา “ความรู้สึก” ส่วนตัวมาตัดสิน เพื่อจะเอาชนะคะคานหรือบิดเบือน “หลักฐานที่ถูกต้อง” ของหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์อย่างนั้นหรือ ??? ...

ถ้ายังยืนกรานปฏิเสธไม่ยอมรับหลักฐานที่ถูกต้อง .. มันก็ไม่แตกต่างอันใดกับสาวกของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านนั้นที่ไม่ยอมรับการตัดสินของศาลสถิตยุติธรรม .. เพราะยึดถือเอา “ความรู้สึกส่วนตัว” มาเป็นเครื่องการันตีว่า ผู้ที่ตนศรัทธานั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม และปราศจากความด่างพร้อยใดๆทั้งสิ้น ...

ถ้าเราไม่ปฏิเสธข้อเปรียบเทียบข้างต้น และยังยืนหยัดที่จะใช้อารมณ์มาหักล้างหลักฐานที่ถูกต้องของศาสนา ก็เท่ากับเรากำลังนำตัวเองเข้าสู่หุบเหวแห่งการ “ตะอัศศุบ” ที่ท่านนบีย์ทรงกล่าวตำหนิและประณามไว้อย่างรุนแรง ...
ดังข้อความในหะดีษของท่านอบูดาวูด (หะดีษที่ 5121) ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
لَيْسَ مِنَّا مَنْ مَاتَ عَلَى الْعَصَبِيَّةِ
“มิใช่อยู่บนแนวทางของเรา (หรือมิใช่เป็นประชาชาติของเราหรอก) สำหรับผู้ซึ่งตายในสภาพตะอัศศุบ (ถือพรรคถือพวกหรือคลั่งไคล้สิ่งใดจนเกินขอบเขต)” ...

แม้ “สายรายงาน” ของหะดีษบทนี้จะเฎาะอีฟ แต่ “ความหมาย” ของมันถือว่าถูกต้องเพราะได้รับการสนับสนุนจากหะดีษของท่านอบูฮุร็ฮยเราะฮ์ ร.ฎ. จากการบันทึกของท่านมุสลิม หะดีษที่ 53/1848 ...
เพราะฉะนั้น ผมจึงอยากเตือนสติทุกท่านว่า จง “เชื่อ” เถิดถ้าท่านอยากจะเชื่อ แต่อย่าเชื่อให้เกินเลยถึงขั้น “ตะอัศศุบ” จนกลายเป็นคนขาดเหตุผลก็แล้วกัน ...
หรืออีกนัยหนึ่ง เรื่องความขัดแย้งในสถานภาพของบิดา-มารดาท่านนบีย์ในวันอาคิเราะฮ์ เป็นความขัดแย้งด้านมุมมองของนักวิชาการที่ยากต่อการตัดสินชี้ขาด จึงไม่บังควรอย่างยิ่งที่ระดับชาวบ้านธรรมดาอย่างเราจะมา “ยึดติด” ทัศนะใดทัศนะหนึ่งจนเลยเถิด ถึงขั้นประณามผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกับตนเอง .. ดังที่มีปรากฏในเว็บไซด์ขณะนี้ ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อ..

สำหรับผมเองขอเรียนว่า ก่อนที่ผมจะได้รับทราบข้อมูลจากทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ เจ้าของหนังสือตัฟซีรฺ “أَضْوَاءُ الْبَيَانِ” จากเว็บไซด์เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมเคยได้รับแผ่นซีดีการโต้แย้ง

ปัญหานี้ระหว่าง อ.ฟาริด เฟ็นดี้ กับ อ.กอเซ็ม มุหัมมัดอะลีย์มานานร่วม 5 เดือนแล้ว แต่ผมก็วางเฉยไม่อยากวิเคราะห์ เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อันใดในด้านอะกีดะฮ์ของตัวเองแล้ว ก็อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้น .. นั่นคือ แม้แต่คิดก็ยังไม่อยากคิดถึงเรื่องการลงนรกของบิดามารดาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมด้วยซ้ำไป ...

ดังนั้น การที่ผมตัดสินใจออกมาวิเคราะห์ปัญหานี้ (ตามการขอร้องของหลายท่าน) จึงมิใช่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะชี้นำผู้ใดให้คล้อยตามการวิเคราะห์ของผม แต่เพราะหวังว่า บางทีมันอาจจะช่วยเหนี่ยวรั้งและเตือนสติผู้ที่มีทัศนะขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ให้ “เปิดใจกว้าง” พอที่จะรับฟังทัศนะที่ขัดแย้งกับความเชื่อของตนเองได้บ้าง ...

และเท่าที่ได้รับฟังจากแผ่นซีดีการโต้แย้ง (หรือจะพูดให้มันฟังดูไพเราะว่า การอภิปราย ก็ได้) .. รวมทั้งการได้พูดคุยและสอบถาม อ.ฟาริดด้วยตนเอง ผมจึงเชื่อว่า อ.ฟาริด เฟ็นดี้คงไม่มีจุดประสงค์ที่จะเปิดประเด็นพูดเรื่องบิดามารดาท่านนบีย์ต้องลงนรกหรือไม่? ขึ้นมาหรอก .. และเชื่อว่าท่านเองคงไม่สบายใจเหมือนกันที่ต้องพูดเรื่องนี้ ...

แต่เมื่อมีผู้ถามท่านในการบรรยายครั้งหนึ่งถึงเรื่องการขออภัยโทษ (إِسْتِغْفَارٌ)ให้คนมุชริกต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ว่า เป็นที่อนุญาตตามหลักการศาสนาหรือไม่ ? ท่านจึงได้อ้างหลักฐานหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้นจากการบันทึกของท่านมุสลิม – ซึ่งถือว่า เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ในทัศนะของท่าน – มาเป็นหลักฐานในการตอบ .. จนนำไปสู่การโต้แย้งกับ อ.กอเซ็ม ในที่สุด ...

จากจุดนี้ผมถือว่า หากจะมองกันด้วยสายตานักวิชาการที่มีใจเป็นธรรมแล้ว อ.ฟาริดไม่มีความผิดในกรณีนี้ .. จนถึงกับต้องมาประณามท่าน ...
เพราะการที่ อ.ฟาริดเข้าใจและอธิบายหะดีษทั้ง 2 บทนั้นในลักษณะนี้ ก็ใช่ว่าท่านเป็นคนแรกที่เข้าใจอย่างนี้ และอธิบายอย่างนี้ ...
อย่างน้อยที่สุด นักวิชาการหะดีษระดับแนวหน้าของโลกอิสลามจำนวนมาก -- ทั้งในอดีตและปัจจุบัน -- ก็มีความเข้าใจ .. เหมือนที่ อ.ฟาริดเข้าใจมาก่อนแล้ว ...
อย่างเช่น .. ท่านมุสลิม, ท่านอิหม่ามนะวะวีย์, ท่านอัล-บัยฮะกีย์, ท่านอัล-ญูซะกอนีย์, ท่านอัลลามะฮ์ อิบรอฮีม อัล-หะละบีย์, ท่านอัลลามะฮ์อะลีย์ อัล-กอรีย์ เป็นต้น .. โดยเฉพาะ 2 ท่านหลังถึงกับได้เขียนหนังสือขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อชี้แจงหลักฐานและข้อมูลที่สนับสนุนความเข้าใจที่ว่า บิดามารดาท่านนบีย์ เป็นชาวนรก ...
ส่วนท่านอัล-ญูซะกอนีย์ ได้รวบรวมหะดีษไว้หลายบทเพื่อยืนยันเรื่องนี้ในหนังสือ “อัล-อะบาฏิล วัล-มะนากีรฺ” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 229-235 ...
ท่านอบูอัฏ-ฏ็อยยิบ อัล-อาบาดีย์ผู้เขียนหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” อันเป็นหนังสืออธิบายหะดีษอบูดาวูด ก็มีความเชื่ออย่างนี้เช่นเดียวกัน ...
(ดูหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 12 หน้า 494-495) ...
และ .. ท่านมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ก็ได้เขียนวิเคราะห์ไว้อย่างเดียวกันนี้ในหนังสือ “อัศ-เศาะหี้หะฮ์” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 25 หรือหะดีษที่ 18, และเล่มที่ 6 หน้า 177-182 หรือหะดีษที่ 2592 ...

แต่ในอีกด้านหนึ่ง นักวิชาการในอดีตบางท่าน .. อาทิเช่นท่านอิหม่ามอัส-สะยูฏีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 911) ก็ได้เขียนหนังสือชื่อ “مَسَالِكُ الْحُنَفَا فِىْ وَالِدَىِ الْمُصْطَفَى” ซึ่งรวมเล่มอยู่ในหนังสือชุด “اَلْحَاوِىْ لِلْفَتَاوِىْ” ของท่าน เล่มที่ 2 หน้า 353-396 .. โดยท่านได้โต้แย้งผู้ที่มีทัศนะว่าบิดามารดาของท่านนบีย์เป็นชาวนรก ด้วยการอ้างข้อมูลหลักฐานต่างๆมายืนยันว่า ทั้งบิดามารดาของท่านนบีย์ จะไม่ถูกลงโทษในนรกแต่ประการใด ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:09 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อครับ..

สรุปข้อมูลของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่นำมาใช้โต้แย้งทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่ดังที่ระบุในหนังสือดังกล่าว มีอยู่ 4 แนวทางหลักๆด้วยกันคือ ...

1. ข้อความในหะดีษของท่านมุสลิมที่ว่า “บิดาของฉันอยู่ในนรก” มิใช่เป็นคำพูดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แต่อาจเป็นข้อความซึ่งผู้รายงานบางท่านได้ใช้คำพูดของตนเองที่เข้าใจหะดีษอีกบทหนึ่งอย่างนี้ .. มาอธิบายหะดีษนี้ ...

2. ข้อความข้างต้นเป็นข้อความเพิ่มเติมที่ผิดเพี้ยน(زِيَادَةٌ شَاذَّةٌ) เพราะท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ ผู้รายงานหะดีษข้างต้นได้รายงานข้อความนี้ให้เกินเลยจากท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด ซึ่งได้รายงานหะดีษนี้มาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ เช่นเดียวกัน .. แต่ในรายงานของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด ไม่มีข้อความว่า “บิดาของฉันอยู่ในนรก” เหมือนในรายงานงานของท่านหัมมาดบินสะละมะฮ์ ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์ (รวมทั้ง อ.กอเซ็มด้วย) กล่าวว่า ท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด มีความน่าเชื่อถือมากกว่าท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ เพราะท่านหัมมาดถูกวิจารณ์ในด้านความทรงจำ และในหะดีษหลายบทที่ท่านรายงาน ก็มีข้อความที่มุงกัรฺ .. คือขัดแย้งกับการรายงานของผู้ที่น่าเชื่อถือท่านอื่นๆ ...

3. สมมุติถ้าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นคำพูดของท่านนบีย์จริง แต่ความหมายของคำว่า “บิดาของฉัน” .. หมายถึง “ท่านอบูฏอลิบ” ผู้เป็นลุง .. มิใช่หมายถึงท่านอับดุลลอฮ์ผู้เป็นบิดาของท่านนบีย์จริงๆ ...
ส่วน อ.กอเซ็มมีความเห็นเพิ่มเติมมาอีกประเด็นหนึ่งในหะดีษเรื่องมารดาของท่านนบีย์ก็คือ ...
การที่ท่านนบีย์ร้องไห้ .. ดังข้อความที่ปรากฏในหะดีษบทที่ 2 มิใช่เพราะท่านสงสารที่มารดาของท่านต้องอยู่ในนรก แต่เป็นเพราะท่านเสียใจที่มารดาของท่านไม่มีโอกาสได้รับอิสลามจากท่าน ...
นี่คือ ทัศนะส่วนตัวของ อ.กอเซ็มที่มิได้ชี้แจงหลักฐานอ้างอิงใดๆ ...

4. บิดามารดาท่านนบีย์ เป็นอะฮ์ลุ้ลฟัตเราะฮ์ (ผู้อยู่ในช่วงว่างเว้นนบีย์) จึงไม่ต้องถูกลงโทษ .. ดังโองการที่ 15 จากซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ที่ว่า ...
وَمَا كُنَّا مُعَذِّبِيْنَ حَتىَّ نَبْعَثَ رَسُوْلاً
“และเรามิได้ลงโทษ (ผู้ใด) จนกว่าเราจะแต่งตั้งรอซู้ลมา” ...
ถ้าจะพูดกันตรงๆและไม่อ้อมค้อมแล้ว .. เท่าที่ได้รับฟังการอภิปรายระหว่าง อ.กอเซ็มและ อ.ฟาริดในวันนั้น ผมมั่นใจว่า “ข้อมูล” จากหนังสือที่ อ.กอเซ็มนำมาใช้โต้แย้งกับ อ.ฟาริด เป็นข้อมูลที่เจ้าของหนังสือเล่มนั้นได้ “คัดลอก” มาจากหนังสือของท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้นแทบทั้งดุ้น

ส่วนแนวทางของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ เจ้าของตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” ดังปรากฏในเว็บไซด์ นอกจากจะสอดคล้องกับแนวทางของท่านอัส-สะยูฏีย์ในประเด็นที่ 3 และประเด็นที่ 4 แล้ว ท่านยังมีเพิ่มมาอีกประเด็นหนึ่งนั่นคือ ...
5. แม้หะดีษที่กล่าวว่า บิดามารดาของท่านนบีย์เป็นชาวนรก .. จะเป็นหะดีษที่ถูกต้อง แต่หะดีษดังกล่าวก็เป็นเพียง “หะดีษอาหาด” ซึ่งเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ (คาดคะเน) จึงไม่สามารถไปหักล้างข้อความของอัล-กุรฺอ่านจากซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ อายะฮ์ที่ 15 ซึ่งเป็นหลักฐานก็อฏอีย์ (เด็ดขาด)ได้ ...
นี่คือ 5 แนวทางที่นักวิชาการซึ่งมีทัศนะว่า บิดามารดาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมิใช่เป็นชาวนรกตามนัยของหะดีษ 2 บทข้างต้น ใช้เป็นข้อโต้แย้งทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:11 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อ..

ผมก็ขอชี้แจงในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้ ...

(1). ข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ในหนังสือที่ผมอ้างถึงข้างต้น (คือหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” เล่มที่ 2 หน้า 394) ที่ว่า .. ข้อความของหะดีษบทแรกที่ว่า “บิดาของฉันเป็นชาวนรก” มิใช่เป็นคำพูดท่านนบีย์ แต่เป็นคำพูดของผู้รายงานบางท่าน .. นั้น ...
1.1 อยากจะขอถามว่า มีหลักฐานชัดเจนตามหลักวิชาการหรือไม่ว่า .. เป็น ผู้รายงานท่านใด ..ในสายรายงานหะดีษนี้ที่กล่าวข้อความข้างต้นนี้จากความเข้าใจของตนเอง แล้ว “แทรก” มันเข้ามาในตัวบทหะดีษ ดังการกล่าวหาของท่านอัส-สะยูฏีย์ ? ...
ท่านหัมมาด บินสะละมะอ์, หรือท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ ??? ...
แน่นอน คำตอบ(ที่คาดว่าจะได้รับ) ก็คือ ผู้รายงานท่านนั้น (ตามความเข้าใจของท่านอัส-สะยูฏีย์) มิใช่ใครอื่นนอกจาก ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์! .. ผู้ซึ่งท่านอัส-สะยูฏีย์กล่าวว่า ถูกวิจารณ์ด้านความทรงจำ ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์วินิจฉัยว่า ข้อความที่ว่า “บิดาของฉันอยู่ในนรก” ท่านหัมมาดได้กล่าวจากความเข้าใจเอาเองจากหะดีษอีกบทหนึ่ง มิใช่เป็นคำพูดของท่านนบีย์แต่อย่างใด
เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ ก็ขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาด้วยใจเป็นธรรมเถิดว่า “หะดีษบทนี้” และ “หะดีษอีกบทหนึ่ง” ที่จะกล่าวถึงต่อไป เป็น “หะดีษคนละบท” ที่ถูกรายงานมา ในคนละเหตุการณ์กัน .. หรือเป็น “หะดีษเดียวกัน” แต่ถูกท่านหัมมาดใช้คำพูดตัวเองรายงานให้แตกต่างกับท่านมะอฺมัรฺ .. ดังข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์, ? ...
หะดีษที่1 ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ ได้รายงานมาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ว่า ...
أَنَّ رَجُلاً قَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَيْنَ أَبِىْ ؟ قَالَ : فِىْ النَّارِ، فَلَمَّا قَفَّى دَعَاهُ فَقَالَ : إِنَّ أَبِىْ وَأَبَاكَ فِى النَّارِ ..
“ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า .. โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์! บิดาของฉันอยู่ที่ไหน? .. ท่านนบีย์ตอบว่า .. อยู่ในนรก, .. แล้วเมื่อเขาผินหลังให้ ท่านนบีย์ก็เรียกเขาแล้วกล่าวว่า .. แท้จริง ทั้งบิดาของฉันและบิดาของท่าน อยู่ในนรก” ...
(ดูรายนามผู้บันทึกหะดีษบทนี้จากหน้า 1 ที่ผ่านมาแล้ว) ...


หะดีษที่ 2 ท่านอิบรอฮีม บินสะอัด ได้รายงานจากท่านซุฮ์รีย์, จากท่านอามิรฺ บินสะอัด, จากบิดาของท่านอามิรฺ .. คือท่านสะอัด บินอบีย์วักกอศ ร.ฎ. ว่า ...
أَنَّ أَعْرَابِيًّا أَتَى النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فًقَالَ : يَا رَسُوْلَ اللهِ! أَيْنَ أَبِىْ ؟ قَالَ : فِى النَّارِ، قَالَ whistling#1601;َأَيْنَ أَبُوْكَ ؟ قَالَ whistling#1581;َيْثُمَا مَرَرْتَ بِقَبْرِكَافِرٍ فَبَشِّرْهُ بِالنَّارِ ...
“ชาวอาหรับชนบทผู้หนึ่งได้มาหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมแล้วกล่าวว่า .. โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์! บิดาของฉันอยู่ที่ไหน? .. ท่านนบีย์ตอบว่า .. อยู่ในนรก, .. เขากล่าวถามต่อไปว่า .. แล้วบิดาของท่านเองล่ะ อยู่ที่ไหน? .. ท่านนบีย์จึงกล่าวว่า .. “ณ ที่ใดก็ตามที่ท่านเดินผ่านกุบูรฺของคนกาฟิรฺ ก็ให้ท่านแจ้งเรื่องนรกแก่เขาเถิด” ...
(บันทึกโดยท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ในหนังสือ “อัล-มุอฺญัม อัล-กะบีรฺ” 1/19/1, .. ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ “ดะลาอิลุ้น นุบูวะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 139-140, .. และท่านอัฎ-ฎิยาอ์ อัล-มุก็อดดิซีย์ในหนังสือ “อัล-อะหาดีษ อัล-มุคตาเราะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 333) ...
สายรายงานบทที่ 2 เป็นคนละสายรายงานกับบทที่ 1 และเป็นสายรายงานที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ดังคำกล่าวของท่านอัล-ฮัยษะมีย์ในหนังสือ “มัจญมะอฺ อัส-ซะวาอิด” เล่มที่ 1 หน้า 315 และท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ “อัศ-เศาะหี้หะฮ์” เล่มที่1หน้า 25
ส่วนข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฎีย์ที่ว่า มีหะดีษด้วยสำนวนและข้อความ “เหมือนหะดีษที่ 2” .. ซึ่งรายงานโดยท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด, จากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. นั้น ... ขอสารภาพตามตรงว่า แม้ผมจะได้ตรวจสอบจนสุดความสามารถแล้วจากตำราหะดีษทุกเล่มที่อยู่ในมือผมมากมายจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ แต่ผมก็ยังไม่เจอเลยว่า หะดีษด้วยสายรายงานดังการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์นั้น ถูกบันทึกอยู่ในตำราหะดีษเล่มใด! .. และบรรดานักวิชาการที่วิเคราะห์หะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ไม่มีผู้ใดเอ่ยถึงหะดีษนี้จากการรายงานของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด, จากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ดังการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์เลยแม้แต่คนเดียว ...
จึงเป็นไปได้ว่า หะดีษนี้, จากกระแสรายงานนี้ -- ดังการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ -- อาจถูกบันทึกอยู่ในตำราหะดีษบางเล่มที่ผมหรือแม้แต่ท่านนักวิชาการเหล่านั้น ยังไม่เคยเจอก็ได้ ...

แต่ที่เจอก็คือหะดีษเดียวกันนี้ ซึ่งถูกบันทึกโดยท่านอิบนุมาญะฮ์ (หะดีษที่ 1573) .. โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. ...
1.2 ในกรณีการตั้งสมมุติฐานว่า ท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด ได้รายงานหะดีษบทที่ 2 มาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส ร.ฎ. จริงดังการอ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ ...
แต่เมื่อเราพิจารณาดูข้อความหะดีษทั้ง 2 บท อย่างละเอียดถี่ถ้วน จะเห็นได้ว่าแม้จะมีส่วนคล้ายคลึงกัน แต่ก็น่าจะเป็นคนละเหตุการณ์กัน ...
ข้อความของหะดีษบทแรกที่ท่านนบีย์กล่าวว่า .. “แท้จริง ทั้งบิดาของฉันและบิดาของท่าน อยู่ในนรก” .. มิใช่เป็นการตอบคำถามของผู้ถาม เหมือนหะดีษบทที่ 2 .. แต่เป็น “ประเด็นใหม่” ที่ท่านนบีย์ได้กล่าวขึ้นมาเองหลังจากตอบคำถามแล้ว และหลังจากชายผู้นั้นผินหลังให้แล้ว ...
กรณีนี้ แตกต่างกับหะดีษบทที่ 2 ที่ท่านนบีย์ต้องตอบคำถามถึงสองครั้ง, และคำตอบครั้งที่สองของท่านก็เป็นการตอบ “เลี่ยงๆ”ไม่ตรงประเด็นอย่างที่เห็น .. ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ “ประเด็นใหม่” เรื่องบิดาของท่านอยู่ในนรกที่ท่านกล่าวออกมาเองอย่าง “ชัดเจน” ในหะดีษบทที่ 1 ...
ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาถัดมาก็คือ สมมุติถ้าหะดีษทั้ง 2 บทเป็นเหตุการณ์เดียวกัน .. และข้อความที่ว่า .. “บิดาของฉันและบิดาของท่านอยู่ในนรก” .. ก็มิใช่คำพูดท่านนบีย์.. แต่เป็นคำพูดของผู้รายงานบางท่าน – คือท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์” -- ที่ประดิษฐ์คำพูดเอาเอง, .. จากความเข้าใจของตัวเอง .. จากเนื้อหาใน “คำตอบครั้งที่สอง” ของท่านนบีย์ ในหะดีษบทที่ 2 อันได้แก่คำตอบเลี่ยงๆของท่านที่ว่า .. ณ ที่ใดที่ท่านเดินผ่านกุบูรฺคนกาฟิร ก็ให้ท่านแจ้งเรื่องนรกแก่เขาเถิด ...

ผมก็อยากถามว่า .. แล้วคำพูดของผู้รายงานในหะดีษบทที่ 1 ที่ว่า .. “เมื่อเขาผินหลังให้ ท่านนบีย์ก็เรียกเขา แล้วกล่าวว่า แท้จริง บิดาของฉัน .........” นั้น ผู้รายงานท่านนั้น (ซึ่งก็คงจะเป็นท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์) เอาความเข้าใจนี้มาจากตอนไหนของหะดีษบทที่ 2 จึงได้พูดเป็นตุเป็นตะออกมาอย่างนี้ ? ...
เพราะคำพูดลักษณะนี้ มองยังไงก็ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจมาจากเนื้อหาตอนใดของหะดีษบทที่ 2 ได้เลย ...
สรุปแล้ว ข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่ว่า .. ข้อความจากคำกล่าวท่านนบีย์ในหะดีษบทแรกที่ว่า “บิดาของฉันเป็นชาวนรก” .. เป็นเพียงคำกล่าวของผู้รายงานบางท่าน จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธความถูกต้องของหะดีษมัรฺฟูอฺ จากการคาดคะเนของตนเองโดยปราศจากหลักฐานใดๆตามหลักวิชาการ ...
นอกจากนี้ ยังมีหะดีษบางบทที่ท่านนบีย์กล่าวว่า ปู่ของท่าน คือท่านอับดุลมุฏฏอลิบ ก็เป็นชาวนรกด้วย .. ดังจะได้กล่าวต่อไปในตอนหลัง สิ่งนี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่เรื่องสถานภาพของบิดามารดาท่านนบีย์ในวันอาคิเราะฮ์ได้เป็นอย่างดี ...
ท่านอบู อัฏ-ฏ็อยยิบ อัล-อาบาดีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “เอานุ้ล มะอฺบูด” เล่มที่ 12 หน้า 494 ว่า ...
قُلْتُ : اَلْعَلاَّمَةُ السَّيُوْطِىُّ مُتَسَاهِلٌ جِدًّا لاَ عِبْرَةَ بِكَلاَمِهِ فِىْ هَذَاالْبَابِ مَالَمْ يُوَافِقْهُ كَلاَمُ اْلأَئِمَّةِ النَّقَّادِ
“ฉันขอกล่าวว่า ท่านอัลลามะฮ์ อัส-สะยูฏีย์ เป็นผู้ที่มีความสะเพร่าเป็นอย่างมาก ซึ่งจะถือเอาคำพูดของท่านมาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องนี้ไม่ได้ ตราบใดที่มันไม่สอดคล้องกับคำพูดของบรรดานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หะดีษ” ...


(2). คำกล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์และ อ.กอเซ็มที่ว่า ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์เป็นผู้รายงานที่มีความบกพร่องด้านความทรงจำ, และรายงานของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด ที่รายงานมาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ น่าเชื่อถือกว่ารายงานของท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ ที่รายงานมาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ ด้วยกัน ...
ผมขอชี้แจงดังนี้ ...
2.1 ท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 153 หรือ 154) เป็นศิษย์ตาบิอีนระดับอาวุโส, ส่วนท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 167) ก็เป็นศิษย์ตาบิอีนระดับอาวุโสรองลงมาจากท่านมะอฺมัรฺ ...
ทั้ง 2 ท่านนี้ เป็นผู้รายงานที่ได้รับความเชื่อถือ (تَوْثِيْقٌ)ในระดับสูงไล่เลี่ยกันจากนักวิชาการหะดีษ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบข้อมูลนี้ได้จากตำราที่เกี่ยวกับ رِجَالُ الْحَدِيْثِ แทบทุกเล่ม ...
ส่วนข้ออ้างที่ว่า ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ถูกวิจารณ์ด้านความทรงจำ ก็เป็นเหตุการณ์ในช่วงปลายของชีวิตขณะที่ท่านชราภาพแล้ว (จากหนังสือ “ตักรีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 1 หน้า 197) .. จึงไม่มีนักวิชาการหะดีษท่านใดกล่าวว่าข้อบกพร่องด้านความทรงจำดังกล่าวของท่านหัมมาด จะส่งผลเสียต่อหะดีษบทนี้ที่ท่านรายงานดังข้างต้น ...
นอกจากในด้านความน่าเชื่อถือที่ไล่เลี่ยกันแล้ว ทั้ง 2 ท่านนี้ยังถูกวิจารณ์ความบกพร่อง – ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชน -- ในข้อหาเดียวกันอีกด้วย .. คือเป็นผู้ชอบพลั้งเผลอ (أَوْهَامٌ) พอๆกัน ...
(ดูข้อมูลการวิจารณ์ความบกพร่องดังกล่าวจากประวัติท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ในหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 1 หน้า 590, และประวัติท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิดในหนังสือเดียวกัน เล่มที่ 4 หน้า 154) ...
ทั้งท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิดและท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ จึงเป็นผู้รายงานที่มีทั้งจุดดี-จุดด้อยไล่เลี่ยกันในกรณีที่รายงานหะดีษมาจากผู้อื่นจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ ...
แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 ท่านนั้น รายงานหะดีษมาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ด้วยกัน แล้วท่านอัส-สะยูฏีย์และ อ.กอเซ็มอ้างว่า รายงานของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิดจะได้รับความเชื่อถือมากกว่ารายงานของท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ ...
ข้ออ้างดังกล่าวนี้ ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงชนิด “หน้ามือเป็นหลังมือ” กับคำกล่าวของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ประวัติผู้รายงานหะดีษจริงๆหลายท่าน ...

เพราะนักวิชาการเหล่านั้นต่างกล่าวว่า การรายงานของท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ จากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ น่าเชื่อถือกว่าการรายงานของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด! ...
ท่านอะลีย์ บินอัล- มะดีนีย์ กล่าวว่า ...
لَمْ يَكُنْ فِىْ أَصْحَابِ ثَابِتٍ أَثْبَتُ مِنْ حَمَّادِ بْنِ سَلَمَةَ
“ไม่เคยมีผู้ใดจากสหายของท่านษาบิต (อัล-บุนานีย์) ที่จะแน่นอน (คือเชื่อถือได้ในสิ่งที่รายงานมาจากท่านษาบิต) ยิ่งไปกว่าท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์” ...
(จากหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 3 หน้า 12) ...
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัลและท่านยะห์ยา บินมะอีน ต่างกล่าวสอดคล้องกันว่า ...
هُوَ أَثْبَتُ النَّاسِ فِىْ ثَابِتٍ
“เขา (ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์) คือผู้ที่เชื่อถือได้ที่สุด ในสิ่งที่เขารายงานมาจากท่านษาบิต (อัล-บุนานีย์)” ...
(จากหนังสือ “ตักรีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 1 หน้า 197, หนังสือ “ตัสกิเราะฮ์ อัล-หุฟฟาศ” เล่มที่ 1 หน้า 200, หนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอ์ติดาล” เล่มที่ 1 หน้า 590, และหนังสือ “ซิยัรฺ อะอฺลามินนุบะลาอ์” เล่มที่ 7 หน้า 337) ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในการสรุปประวัติของท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด ว่า ...
(هُوَ) ثِقَةٌ، ثَبْتٌ، فَاضِلٌ، إِلاَّ أَنَّ فِىْ رِوَايَتِهِ عَنْ ثَابِتٍ، وَاْلأَعْمَشِ، وَهِشَامِ بْنِ عُرْوَةَ شَيْئاً
“เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้, แน่นอนมาก, และเป็นประเสริฐบุคคล เว้นแต่สิ่งที่เขารายงานมาจากท่านษาบิต (อัล-บุนานีย์), ท่านอะอฺมัช และท่านฮิชาม บินอุรฺวะฮ์ มีบางอย่าง (ที่จะต้องพิจารณา หรือไม่น่าเชื่อถือ)” ...
(จากหนังสือ “ตักรีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 2 หน้า 266) ...
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุหัมบัลยังกล่าวอีกว่า ...
حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ أَثْبَتُ فِىْ ثَابِتٍ مِنْ مَعْمَرٍ
“ท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ มีความแน่นอน (คือน่าเชื่อถือ)ในการรายงานมาจากท่านษาบิต ยิ่งกว่าท่านมะอฺมัรฺ (บินรอชิด)” ...
(จากหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 11) ...
และท่านยะห์ยา บินมะอีนยังกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า ...
مَعْمَرٌ عَنْ ثَابِتٍ ضَعِيْفٌ
“(รายงานของ)ท่านมะอฺมัรฺจากท่านษาบิต ถือว่าเฎาะอีฟ (คือไม่น่าเชื่อถือ)” ...
(จากหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัต-ตะฮ์ซีบ” เล่มที่ 10 หน้า 219, และหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 4 หน้า 154) ...
จากข้อมูลที่ได้อธิบายมานี้ ท่านผู้อ่านจึงย่อมจะรับทราบทันทีว่า ข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์และ อ.กอเซ็มที่ว่า ท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด น่าเชื่อถือกว่าท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์ในการรายงานหะดีษมาจากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์ นั้น ...
ข้ออ้างดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่มีหลักฐานยืนยัน หรือเป็นข้อมูลลอยๆประเภท “มั่วนิ่ม” กันแน่ ? ...
ดังนั้น ข้อความจากคำพูดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า .. “แท้จริง ทั้งบิดาของฉันและบิดาของท่านอยู่ในนรก” .. จากการรายงานของท่านหัมมาด บินสะละมะฮ์, จากท่านษาบิต อัล-บุนานีย์, จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. จึงถือเป็นหะดีษมัรฺฟูอฺที่เศาะเหี๊ยะฮ์และเชื่อถือได้ .. ตามหลักวิชาการหะดีษ ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:15 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อ

(3). ท่านอัส-สะยูฏีย์และ อ.กอเซ็มกล่าวว่า สมมุติถ้าหะดีษบทนั้นถูกต้อง คำพูดของท่านนบีย์ที่ว่า “บิดาของฉัน” น่าจะหมายถึง “ท่านอบูฏอลิบ” ผู้เป็นลุงซึ่งไม่มีความขัดแย้งใดๆในกลุ่มชาวซุนหนี่ว่าท่านเป็นชาวนรก, ..
แต่มิได้หมายถึง “บิดาจริงๆ” ของท่านนบีย์ คือท่านอับดุลลอฮ์ ...
ส่วนท่านอัช-ชันกีฏีย์ ได้อ้างโองการที่ 133 จากซูเราะฮ์ อัล-บะกอเราะฮ์ และโองการที่ 84-86 จากซูเราะฮ์ อัล-อันอาม มายืนยันว่า มีบางครั้งที่คำว่า “บิดา” ในอัล-กุรฺอ่าน ไม่ได้หมายถึงบิดาจริงๆ! .. แต่จะหมายถึงปู่หรือบรรพบิดาชั้นสูงขึ้นไป ดังนั้น “บิดาของท่านนบีย์” .. จากข้อความของหะดีษบทนี้จึงน่าจะมีความหมายนัยเดียวกันกับความหมาย “บิดา” ในอัล-กุรฺอ่าน คือหมายถึงญาติลำดับสูงอย่างท่านอบูฏอลิบ ...

ชี้แจง
3.1 ในกรณีข้ออ้างของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่ว่า “บิดาของฉัน” ในหะดีษบทนั้นหมายถึง “ท่านอบูฏอลิบ” .. โดยท่านอัส-สะยูฏีย์ได้อธิบายเหตุผลในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” เล่มที่ 2 หน้า 395 ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ...
หลักฐานการตะอ์วีลหรือเบี่ยงเบนความหมายดังกล่าวเป็นบันทึกจากประวัติศาสตร์ นั่นคือการที่ท่านอบูฏอลิบเรียกท่านนบีย์ว่า “ลูกของข้า” เป็นที่รับรู้กันอย่างแพร่หลายสำหรับชาวอาหรับในสมัยนั้น อันจะสังเกตเห็นได้จากบันทึกในประวัติศาสตร์หลายต่อหลายตอน ...
ตัวอย่างเช่น เมื่อชาวอาหรับกุเรชมาขอร้องท่านอบูฏอลิบให้ห้ามปรามท่านนบีย์จากการประณามรูปเคารพของพวกเขา ในหนังสือประวัติศาสตร์(บางเล่ม)จะมีการบันทึกคำพูดชาวกุเรชเอาไว้ว่า ...
قُلْ ِلابْنِكَ يَرْجِعْ عَنْ شَتْمِ آلِهَتِنَا
“บอก “ลูกของท่าน” ซิว่า ให้เขาเลิกประณามพระเจ้าของเราเสียที” ...
หรือเมื่อตอนที่พวกกุเรชมาเสนอตัวอุมาเราะฮ์ บินอัล-วะลีดให้ท่านอบูฏอลิบรับไว้ แล้วขอแลกเปลี่ยนตัวท่านนบีย์มาให้พวกเขา ท่านอบูฏอลิบก็ได้กล่าวตอบว่า ...
بِئْسَ مَا تَطْلُبُوْنَ!.. أَتُعْطُوْنِىْ ابْنَكُمْ ِلاُرَبِّيَهُ وَأُعْطِيْكُمْ إبْنِىْ لِتَقْتُلُوْهُ ؟ ..
“ข้อเสนอของพวกเจ้าช่างบัดซบแท้ๆ พวกเจ้าจะเอาลูกของพวกเจ้ามาให้ข้าเลี้ยง แล้วจะให้ข้ามอบ “ลูกของข้า” ไปให้พวกเจ้าสังหารกระนั้นหรือ ?” ...
หรือเมื่อครั้งที่ท่านอบูฏอลิบนำท่านนบีย์ไปค้าขายที่เมืองชามครั้งแรก ตอนท่านนบีย์อายุได้ 9 ขวบ (บางรายงานว่า 12 ขวบ) แล้วไปเจอนักบวชยิวท่านหนึ่งที่ใกล้เมืองบุศรอ ...
เมื่อนักบวชยิวผู้นั้นถามท่านอบูฏอลิบว่า .. “เด็กคนนี้เป็นอะไรกับท่านหรือ?” ท่านอบูฏอลิบก็ตอบว่า ...
هُوَابْنِىْ
เขาคือ “บุตรชายของข้า” ...
หลักฐานจากประวัติศาสตร์เหล่านี้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างท่านนบีย์และท่านอบูฏอลิบซึ่งแม้จะเป็นลุงกับหลาน แต่อันเนื่องมาจากท่านอบูฏอลิบได้เลี้ยงดูท่านนบีย์มาตั้งแต่ยังเยาว์ ดังนั้นความรู้สึกระหว่างทั้งสองจึงแนบแน่นเหมือนพ่อกับลูกแท้ๆ จนกระทั่งใช้คำพูดเรียกกันและกันว่า “พ่อ” และ “ลูก” ...
ดังนั้น.. เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์ข้างต้น ผนวกกับบิดามารดาของท่านนบีย์ เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวไว้ในซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ อายะฮ์ที่ 15 แล้วว่า พระองค์ไม่เคยลงโทษใครจนกว่าพระองค์จะส่งรอซู้ลมายังพวกเขาเสียก่อน จึง

เป็นไปได้ว่า คำกล่าวของท่านนบีย์ในหะดีษบทข้างต้นที่ว่า .. “บิดาของฉันอยู่ในนรก” .. น่าจะหมายถึงท่านอบูฏอลิบ ...
ผมขอเรียนชี้แจงว่า แม้คำอธิบายนี้จะ “เข้าท่า” ที่สุดยิ่งกว่าคำอธิบายหรือการตะอ์วีลอื่นใดในเรื่องนี้ (และผมเองก็อยากจะให้เป็นอย่างนี้ใจจะขาด) .. แต่ก็ยังมีข้อกังขาที่จะต้องตอบให้ได้อีก 3 ประเด็นคือ ...


ก. บันทึกจากประวัติศาสตร์ข้างต้นที่พวกกุเรชกล่าวกับท่านอบูฏอลิบเกี่ยวกับตัวท่านนบีย์โดยใช้คำว่า “ลูกของท่าน” .. หรือท่านอบูฏอลิบเรียกท่านนบีย์ว่า “ลูกของข้า” นั้น เป็นบันทึกที่เชื่อถือได้หรือไม่ในแง่ของวิชาการ ?,.. หมายถึงว่าบันทึกดังกล่าวมี “สายรายงานที่ถูกต้อง” ยืนยันหรือไม่ว่า มีการใช้คำพูดกันอย่างนี้จริงๆในการสนทนาในแต่ละเหตุการณ์เหล่านั้น ? ...
เพราะข้อความจากหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นๆบางเล่ม เช่นหนังสือ “นูรุลยะกีน หน้า 37 เป็นต้น .. พวกกุเรชจะกล่าวถึงท่านนบีย์ต่อท่านอบูฏอลิบในเหตุการณ์เดียวกันนี้ว่า إِبْنُ أَخِيْكَ(ลูกของน้องชายท่าน) .. ไม่ใช่กล่าวว่า إِبْنُكَ (ลูกของท่าน) ...


ข. แม้จะเป็นไปได้ว่า ท่านอบูฏอลิบจะเรียกท่านนบีย์ว่า “ลูก” เพราะความผูกพันใกล้ชิด .. ดังการบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มดังที่อ้างมา ...
แต่ในมุมกลับกัน -- ไม่ว่าขณะท่านอบูฏอลิบยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว -- มีหลักฐานหรือไม่ว่า ท่านนบีย์จะเคยเรียกท่านอบูฏอลิบว่า “พ่อ”! ...
เพราะประเด็นนี้ คือข้อเฉลยหรือคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในกรณีนี้ ...
ถ้าไม่มีหลักฐานว่าท่านนบีย์จะเคยเรียกอย่างนั้น แล้วเราจะไปบิดเบือนคำพูดท่านนบีย์ที่ว่า “บิดาของฉันอยู่ในนรก” ในหะดีษบทนั้นว่าหมายถึง “ท่านอบูฏอลิบ” ..ได้อย่างไร ??? ...
เท่าที่ผมตรวจสอบดู ไม่ว่าจากตำราประวัติศาสตร์หรือตำราหะดีษ, ไม่ว่าสายรายงานจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง, และไม่ว่าขณะท่านอบูฏอลิบยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว .. ก็ไม่เคยปรากฏแม้สักครั้งเดียวที่ท่านนบีย์ จะเรียกท่านอบูฏอลิบว่า “พ่อ” ...
แต่ท่านนบีย์จะเรียกท่านอบูฏอลิบว่า “ลุง” ทุกครั้งไป ...
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการบันทึกจากตำราประวัติศาสตร์บางเล่มและตำราหะดีษบางเล่ม ซึ่งผมจะไม่เน้นในเรื่องความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องของสายรายงาน แต่เพื่อต้องการให้รู้ว่า มีการบันทึกการเรียกของท่านนบีย์ต่อท่านอบูฏอลิบอย่างไรเท่านั้น ...

1. เมื่อตอนท่านนบีย์อายุ 9 ขวบและท่านอบูฏอลิบจะเดินทางไปค้าขายที่เมืองชามโดยตั้งใจจะละท่านนบีย์ไว้ที่มักกะฮ์ ท่านนบีย์ได้จับสายเชือกอูฐไว้แล้วอ้อนว่า ...
يَاعَمِّ! إِلَى مَنْ تَكِلُنِىْ، لاَ أَبٌ لِىْ وَلاَ أُمٌّ .......................
“ลุงจ๋า! ท่านจะฝากฝังฉันไว้กับใครหรือ? ฉันไม่มีทั้งพ่อทั้งแม่นะ ......”
(จากหนังสือ “ซีเราะฮ์” ของท่านมุหัมมัด บินอิสหาก หน้า 53) ...
2. เมื่อท่านอบูฏอลิบขอร้องให้ท่านนบีย์ยุติการประกาศเผยแผ่ศาสนาอิสลามเพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากการปองร้ายของพวกกุเรช ท่านนบีย์ก็กล่าวแก่ท่านอบูฏอลิบว่า ...
وَاللهِ يَا عَمِّ! لَوْوَضَعُوْاالشَّمْسَ فِىْ يَمِيْنِىْ وَالْقَمَرَ فِىْ يَسَارِىْ عَلَى أَنْ أَتْرُكَ هَذَااْلأَمْرَ مَا فَعَلْتُ ....
“ขอสาบานต่ออัลลอฮ์, ลุงจ๋า! .. ต่อให้พวกเขานำเอาดวงอาทิตย์มาวางไว้ในมือขวาของฉัน และนำดวงจันทร์มาวางไว้ในมือซ้ายของฉัน เพื่อให้ฉันยุติกิจการนี้ ฉันก็ทำไม่ได้ ...........”
(จากหนังสือ “นูรุลยะกีน” อันเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ หน้า 38, หนังสือ “ซีเราะฮ์” ของท่านอิบนุอิสหาก หน้า 135, และหนังสือ “มุหัมมัดรอซู้ลุลลอฮ์” ของเช็คมุหัมมัดริฎอ หน้า 108) ...


3. เมื่อตอนที่ท่านอบูฏอลิบใกล้จะสิ้นใจ ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวแก่ท่านอบูฏอลิบว่า ...
يَا عَمِّ! قُلْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ، كَلِمَةٌ أَشْهَدُ لَكَ بِهَا عِنْدَاللهِ ............
“ลุงจ๋า! จงกล่าวเถิดว่า .. لاَإِلَهَ إِلاَّ اللهُ .. คำเดียวเท่านั้นที่ฉันจะใช้มันเป็นพยานให้ท่านได้ ณ ที่อัลลอฮ์ ........”
(จากหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์มุสลิม” หะดีษที่ 39/24, หนังสือ “ซีเราะฮ์” ของท่านมุหัมมัด บินอิสหาก หน้าที่ 222 บรรทัดที่ 4, และยังมีข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้ในหนังสือเล่มและหน้าเดียวกัน บรรทัดที่ 21, .. และในหน้าที่ 221 บรรทัดที่ 9) ...
และ ..ในหนังสือ “อัซ-ซีเราะฮ์ อัน-นะบะวียะฮ์” ของท่านอิบนุฮิชาม หน้า 223 ก็มีข้อความที่คล้ายคลึงกับข้อความข้างต้นเช่นเดียวกัน ...


4. หลังจากท่านอบูฏอลิบสิ้นชีวิตไปแล้ว มีรายงานว่าท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเคยกล่าวว่า ...
مَا زَالَتْ قُرَيْشٌ كَاعَةً عَنِّىْ حَتىَّ مَاتَ عَمِّىْ
“พวกกุเรชไม่เคยกล้าระรานฉัน จนกระทั่ง “คุณลุง” ของฉันตายไป” ...
(จากหนังสือ “มุหัมมัด รอซู้ลุลลอฮ์” ของเช็คมุหัมมัดริฎอ หน้า 138) ...


5. ท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ ได้รายงานหะดีษบทหนึ่งมาจากท่านอุมมุสะละมะฮ์ว่า ท่านอัล-หาริษ บินฮิชาม ร.ฎ.ได้มาหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัม แล้วถามบางอย่างต่อท่าน ซึ่งท่านนบีย์ก็ตอบว่า ...
كُلُّ قَبْرٍ لاَ يَشْهَدُ صَاحِبُهُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ فَهُوَ جَذْوَةٌ مِنَ النَّارِ، وَقَدْ وَجَدْتُ عَمِّىْ أَبَاطَالِبٍ فِىْ طَمْطَامٍ مِنَ النَّارِ، فَأَخْرَجَهُ اللهُ لِمَكَانِهِ مِنِّىْ وَإِحْسَانِهِ إِلّىَّ، فَجَعَلَهُ فِىْ ضَحْضَاحٍ مِنَ النَّارِ
"ทุกหลุมฝังศพซึ่งเจ้าของมันมิได้กล่าวปฏิญาณว่า لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ มันก็คือคบเพลิงจากนรก, ฉันรู้ว่าคุณลุงของฉัน คือท่านอบูฏอลิบอยู่ในนรกขุมใหญ่ แต่พระองค์อัลลอฮ์ก็นำท่านออกมาเพราะท่านคือญาติของฉันและท่านทำดีต่อฉัน แล้วพระองค์ก็นำท่านใส่ในนรกขุมเล็กแทน” ...
(จากหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ เล่มที่ 1 หน้า 396)
จากข้อมูลที่กล่าวมานี้ แสดงว่าแต่ไหนแต่ไรมา – ไม่ว่าตอนท่านอบูฏอลิบยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว – ไม่มีหลักฐานว่าท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมจะเคยเรียกท่านอบูฏอลิบว่า “พ่อ” เลย ...
แต่จะเรียกท่านอบูฏอลิบว่า ลุง, ลุง มาตลอด .. แม้กระทั่งในหะดีษที่ 5 ซึ่งกล่าวถึงการเป็นชาวนรกของท่านอบูฏอลิบ ท่านนบีย์ก็ยังใช้คำว่า “ลุง” ...
แล้ว อ.กอเซ็มพอจะให้คำตอบได้ไหมว่า มาคราวนี้, ในหะดีษที่กำลังขัดแย้งกันนี้ เหตุใดท่านนบีย์จึงเปลี่ยนไปเรียกท่านอบูฏอลิบว่า “พ่อ” ??? ...
หรือจะให้เข้าใจว่า สาเหตุที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เปลี่ยนมาเรียกท่านอบูฏอลิบว่าพ่อ ก็เพราะนึกอยากจะให้เกียรติท่านอบูฏอลิบ หลังจากปรากฏแน่ชัดว่า ท่านอบูฏอลิบเป็นชาวนรก ??? ...
ค. แต่ถ้าหากผู้ใดยังยืนกรานที่จะตะอ์วีลคำว่า “บิดาของฉัน” ในหะดีษบทนั้นว่าหมายถึง “ท่านอบูฏอลิบ” .. ผมก็อยากจะให้ท่านลอง “ตะอ์วีล” คำว่า “อับดุลมุฏฏอลิบ” และคำว่า “แม่ของฉัน” ในหะดีษที่จะถึงต่อไปนี้ดูบ้างว่า หมายถึงใคร ??? ...


1. ท่านอบูดาวูดได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มะรอซีล” หะดีษที่ 508 ด้วยข้อความย่อๆ, .. และท่านอิบนุสะอัดได้บันทึกในหนังสือ “อัฏ-เฏาะบะกอต อัล-กุบรอ” เล่มที่ 4 หน้า 331 ด้วยข้อความที่ยืดยาวกว่า ว่า ...
أَنَّ رَجُلاً مِنَ الْمُهَاجِرِيْنَ لَقِىَ الْعَبَّاسَ بْنَ عَبْدِالْمُطَّلِبِ فَقَالَ : يَا أَبَاالْفَضْلِ أَرَأَيْتَ عَبْدَالْمُطَّلِبِ بْنَ هَاشِمٍ وَالْغَيْطَلَةَ كَاهِنَةَ بَنِىْ سَهْمٍ جَمَعَهُمَااللهُ جَمِيْعًا فِى النَّارِ؟ فَصَفَحَ عَنْهُ ثُمَّ لَقِيَهُ ثَانِيَةً فَقَالَ لَهُ مِثْلَ ذَلِكَ فَصَفَحَ عَنْهُ .................... فَقَالَ : يَارَسُوْلَ اللهِ وَاللهِ! لَقَدْ َعَلِمْتُ أَنَّ عَبْدَالْمُطَّلِبِ فِى النَّارِ، وَلَكِنَّهُ لَقِيَنِىْ فَقَالَ : يَا أَبَاالْفَضْلِ أَرَأَيْتَ عَبْدَالْمُطَّلِبِ بْنَ هَاشِمٍ وَالْغَيْطَلَةَ كَاهِنَةَ بَنِىْ سَهْمٍ جَمَعَهُمَااللهُ جَمِيْعًا فِى النَّارِ؟ فَصَفَحْتُ عَنْهُ مِرَارًا، ثُمَّ وَاللهِ! مَا مَلَكْتُ نَفْسِىْ ....... فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ Smiles "مَا بَالُ أَحَدِكُمْ يُؤْذِىْ أَخَاهُ فِى اْلأَمْرِ وَإِنْ كَانَ حَقًّا ؟"
“ชายชาวมุฮาญิรีนผู้หนึ่งได้เจอท่านอับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิบ เขาจึงกล่าวว่า นี่แน่ะ บิดาของอัล-ฟัฎล์ (เป็นชื่อรองของท่านอับบาส) ท่านรู้มิใช่หรือว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บุตรของฮาชิม และฆ็อยฏอละฮ์ นังนักทำนายโชคชะตาแห่งตระกูลซะฮัมนั้น อัลลอฮ์จะรวมทั้งสองคนนี้เข้าด้วยกันในนรก ?, ท่านอับบาสจึงเดินเลี่ยงไปเสียจากเขา.. (ชายผู้นั้นได้กล่าวอย่างนี้ถึง 3 ครั้งที่เจอท่านอับบาส ทำให้ท่านอับบาสไม่พอใจจนเรื่องนี้รู้ไปถึงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้เรียกท่านอับบาสมาสอบถาม) .. ท่าน(อับบาส)จึงกล่าวว่า .. “โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์, ขอสาบานด้วยอัลลอฮ์ แน่นอนฉันรู้ดีว่า ท่านอับดุลมุฏฏอลิบ (บิดาของฉัน) ต้องเข้านรก แต่เจ้าหมอนี่เจอฉัน มันก็กล่าวว่า นี่แน่ะ บิดาของอัล-ฟัฎล์ ท่านรู้มิใช่หรือว่า อับดุลมุฏฏอลิบและฆ็อยฏอละฮ์ นังนักทำนายแห่งตระกูลซะฮัมนั้น อัลลอฮ์จะรวมทั้งสองคนนี้เข้าด้วยกันในนรก? .. ฉันเดินเลี่ยงมันหลายครั้ง จนฉันควบคุมอารมณ์(แทบ)ไม่ได้แล้ว ............” ท่านนบีย์จึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า ...
“จิตใจพวกท่านบางคนเป็นอะไรไปหรือจึงชอบสร้างความเจ็บช้ำให้พี่น้องของเขาในเรื่องอย่างนั้น แม้ว่ามันจะเป็นความจริงก็ตาม” ...
(สำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอิบนุสะอัด แต่ผมได้ตัดข้อความบางตอนออกแล้วอธิบายแทนเพื่อความกระชับ) ...
ท่านผู้อ่านส่วนมากคงจะทราบ, แต่ผู้อ่านบางท่านอาจไม่ทราบว่า “อับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม” ในหะดีษบทนี้คือใคร ? .. มีความเกี่ยวพันกับท่านนบีย์อย่างไร ? ...


ก็ขอบอกว่า ท่านอับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม ผู้นี้เป็นบิดาของท่านอบูฏอลิบ และของท่านอับดุลลอฮ์ผู้เป็นบิดาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
หรืออีกนัยหนึ่งท่านอับดุลมุฏฏอลิบผู้นี้ก็คือ คุณปู่ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมนั่นเอง ...
เมื่อท่านนบีย์ยอมรับว่า คำกล่าวของชายชาวอันศ็อรฺที่ว่า “ท่านอับดุลมุฏฏอลิบเป็นชาวนรก” เป็นความจริง ก็อยากให้ อ.กอเซ็มลอง “ตะอ์วีล” ดูซิว่า ...
“อับดุลมุฏฏอลิบ บินฮาชิม” คนนี้ หมายถึงผู้ใดอีกที่ไม่ใช่อับดุลมุฏฏอลิบผู้เป็นปู่ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ??? ...
2. ท่านมุสลิมและท่านผู้บันทึกท่านอื่นๆดังที่กล่าวมาแล้วในหน้าแรก ได้รายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ. ว่า ...
زَارَالنَبِىُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَبْرَ أُمِّهِ فَبَكَى، وَأَبْكَى مَنْ حَوْلَهُ، فَقَالَ : إِسْتَأْذَنْتُ رَبِّىْ فِىْ أَنْ أَسْتَغْفِرَ لَهَا فَلَمْ يَأْذَنْ لِىْ، وَاسْتَأْذَنْتُ فِىْ أَنْ أَزُوْرَ قَبْرَهَا فَأَذِنَ لِىْ ......
ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ไปซิยาเราะฮ์กุบูรฺ “มารดาของท่าน” แล้วท่านก็ร้องไห้ ทำให้คนที่อยู่รอบตัวท่านพลอยร้องไห้ไปด้วย แล้วท่านจึงกล่าวว่า .. “ฉันขออนุญาตต่อพระผู้อภิบาลของฉันในการขออภัยโทษให้ท่าน (คุณแม่) แต่ฉันไม่ได้รับอนุญาต, ฉันจึงขออนุญาตต่อพระองค์ในการไปซิยาเราะฮ์กุบูรฺของท่าน พระองค์ก็อนุญาตแก่ฉัน .....................”
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์โดยปราศจากความขัดแย้งใดๆจากนักวิชาการ แม้กระทั่งท่านอัส-สะยูฏีย์เองก็ตาม ...
ตามหลักการอิสลาม ผู้ที่มุสลิมขออภัยโทษให้ไม่ได้ ได้แก่ผู้เป็น “มุชริก” หรือ “กาฟิรฺ” เท่านั้น .. ดังหลักฐานจากซูเราะฮ์อัต-เตาบะฮ์ โองการที่ 113 ...
ดังนั้น การที่พระองค์อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้ท่านนบีย์ขออภัยโทษให้มารดาของท่าน แสดงว่า มารดาของท่านต้องเป็นหนึ่งจากสองประเภทข้างต้น ...
จึงอยากให้ อ.กอเซ็มลอง “ตะอ์วีล” ดูอีกสักครั้งว่า คำกล่าวท่านนบีย์ที่ว่า “มารดาของฉัน” ในหะดีษบทนี้ หมายถึงมารดาคนไหนของท่านนบีย์อีก ??? ...
อนึ่ง คำกล่าวของ อ.กอเซ็ม มุหัมมัดอะลีย์ที่ว่า .. สาเหตุที่ท่านนบีย์ร้องไห้ มิใช่เพราะสงสารที่มารดาของท่านเป็นชาวนรก แต่เป็นเพราะท่านเสียใจที่มารดาของท่านไม่ทันได้รับอิสลามจากท่าน .. นั้น ...


ทัศนะของ อ.กอเซ็มข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ .. ขัดแย้งกับหะดีษที่ถูกต้องบทนี้อีกสำนวนหนึ่งจากการบันทึกของท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ” เล่มที่ 4 หน้า 76 โดยรายงานมาจากท่านบุร็อยดะฮ์ ร.ฎ. ซึ่งข้อความของหะดีษบทนั้นระบุอย่างชัดเจนว่า สาเหตุที่ท่านนบีย์ร้องไห้ ก็เพราะสงสารที่มารดาของท่านเป็นชาวนรก ...
ข้อความของหะดีษตอนนั้นมีว่า ...
قَالَ : إِنِّىْ إِسْتَأْذَنْتُ رَبِّىْ فِى اسْتِغْفَارِىْ ِلأُمِّىْ فَلَمْ يَأْذَنْ لِىْ، فَبَكَيْتُ لَهَا رَحْمَةً لَهَا مِنَ النَّارِ ...
ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า .. “แท้จริงฉันขออนุญาตต่อพระผู้อภิบาลของฉันในการขออภัยโทษให้แก่มารดาของฉันแต่ฉันไม่ได้รับอนุญาต ฉันจึงร้องไห้เพราะสงสารท่านที่ต้องอยู่ในนรก” ...
ท่านอัล-ฮัยษะมีย์ ได้บันทึกหะดีษนี้ในหนังสือ “มัจญมะอฺ อัส-ซะวาอิด” เล่มที่ 1 หน้า 314 จากบันทึกของท่านอะห์มัด แล้วท่านก็กล่าววิจารณ์ว่า ... رَوَاهُ أَحْمَدُ، وَرِجَالُهُ رِجَالُ الصَّحِيْحِ
“รายงานโดยท่านอะห์มัด, ผู้รายงานของมัน เป็นผู้รายงานของเศาะเหี๊ยะฮ์ (หมายถึงเศาะเหี๊ยะฮ์มุสลิม)” ...
ก็ไม่ทราบว่า อ.กอเซ็มจะแก้ตัวว่าอย่างไรอีก ? ...
3.2 ในส่วนข้ออ้างของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ในเว็บไซด์ที่ว่า บางครั้งความหมายคำว่า “พ่อ” ในอัล-กุรฺอ่านจะหมายถึงบรรพบุรุษลำดับสูงขึ้นไป ซึ่งมิใช่เป็นพ่อผู้ให้กำเนิดจริงๆ .. อย่างเช่นโองการที่ 133 จากซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ เป็นต้น ...
ผมขอเรียนว่า .. ไม่มีความขัดแย้งในประเด็นที่ว่า บางครั้งคำว่า أَبٌ (บิดา, พ่อ) ในภาษาอาหรับหรือในอัล-กุรฺอ่าน อาจหมายถึงลุง, หรือปู่, หรือบรรพบิดาในลำดับสูงขึ้นไปก็ได้ ...
แต่กรณีดังกล่าว มิได้หมายความว่าจะอนุญาตให้อธิบายคำว่า “บิดา” ให้มีความหมายเป็นผู้อื่นได้ตามอำเภอใจ ทว่าจะต้องมี หลักฐานแวดล้อม (ภาษาอาหรับเรียกว่า قَرِيْنَةٌ) กำกับอยู่ด้วยเสมอว่า คำว่า “บิดา” ในกรณีนั้นๆหมายถึงผู้อื่น, ไม่ใช่หมายถึงบิดาผู้ให้กำเนิดจริงๆ! ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:21 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อ

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ก็คือ คำว่า آبَائِكَ (บรรพบุรุษของท่าน) ในโองการที่ 133 ซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ (ดังการอ้างของท่านอัช-ชันกีฏีย์) ที่ว่า ...
قَالُوْا نَعْبُدُ إِلَهَكَ وَإِلَهَ آبَائِكَ
“พวกเขา (ลูกๆของยะอฺกูบ) กล่าวว่า พวกเราจะเคารพสักการะพระเจ้าของท่าน และพระเจ้าแห่งบรรพบิดาของท่าน” ...
คำว่า آبَائِكَ (บรรพบิดา, บรรพบุรุษของท่าน)ในโองการนี้ จะหมายถึง “บิดาจริงๆ” คือท่านนบีย์ยะอฺกูบ ย่อมไม่ได้ .. เนื่องจากมี “หลักฐานแวดล้อม” บ่งชี้ว่า มีการกล่าวถึง “บิดาจริงๆ” มาก่อนแล้วจากประโยคก่อนหน้านี้ นั่นคือข้อความที่ว่า نَعْبُدُ إِلَهَكَ (พวกเราจะเคารพสักการะพระเจ้าของท่าน) ...
คำว่า “ท่าน” ในประโยคนี้ หมายถึง ท่านนบีย์ยะอฺกูบ ซึ่งเป็น “บิดาจริงๆ” ของพวกเขา ...
ดังนั้น คำว่า آبَائِكَ ข้างหลัง จึงจะหมายถึงท่านนบีย์ยะอฺกูบผู้เป็นบิดาของพวกเขาไม่ได้อีก, แต่จะมีความหมายถึง “บรรพบุรุษ” ระดับสูงของพวกเขา .. อันได้แก่นบีย์อิบรอฮีม, นบีย์อิสมาอีล, และนบีย์อิสหาก .. ดังมีการระบุนามไว้แล้วในข้อความถัดมาจากโองการเดียวกันนี้ ...
โองการบทนี้จึงแตกต่างกับกรณีคำพูดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมในหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ที่ผ่านมาแล้วว่า .. “แท้จริง ทั้งบิดาของฉันและบิดาของท่าน อยู่ในนรก” ...
ผมอยากจะขอถามว่า มีหลักฐานแวดล้อมอันใดมากำหนดให้ต้อง تَأْوِيْلٌ (เบี่ยงเบน) ความหมายของคำว่า “บิดาของฉัน” ในหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์บทนี้ว่า มิได้หมายถึงท่านอับดุลลอฮ์ซึ่งเป็นบิดาของท่านนบีย์จริงๆ แต่หมายถึง “ลุง” ของท่านนบีย์ ที่ชื่ออบูฏอลิบ .. ดังที่อ้างกัน ??? ...
แน่นอน คำตอบของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ในประเด็นนี้ย่อมไม่พ้นจากคำกล่าวที่ว่า .. เพราะบิดาท่านนบีย์เป็น “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” จึงไม่ต้องถูกลงโทษในนรก, .. ซึ่งแตกต่างกับท่านอบูฏอลิบผู้เป็นลุงที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นชาวนรก ...
ประเด็นเรื่อง “อะฮฺลุลฟัตเราะฮ์” นี้ ผมจะขออธิบายรายละเอียดในการชี้แจงข้อที่ 4 ที่กำลังจะถึงต่อไป ...

แต่ตอนนี้ ผมต้องการ “สรุป” ผลการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้นเสียก่อน .. ซึ่งผลสรุปก็คือ ...
1. หะดีษทั้ง 2 บทข้างต้นนั้น เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ (หะดีษที่ถูกต้อง) ตามหลักวิชาการหะดีษ ...
2. คำกล่าวของท่านนบีย์ในหะดีษทั้ง 2 บทที่ว่า “บิดาของฉันและมารดาของฉัน”(อยู่ในนรก) มีความหมายถึงบิดาและมารดาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมจริงๆ .. มิได้หมายถึงท่านอบูฏอลิบหรือใครอื่นทั้งสิ้น ...
แต่ผลสรุปข้อที่ 2 จะถูกหรือผิด ก็ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ทัศนะของท่านอัส-สะยูฏีย์และท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ในข้อที่ 4- 5 ที่จะถึงต่อไป .. เพราะถ้าผลการวิเคราะห์ออกมาว่าทัศนะของ 2 ท่านนั้นถูกต้อง ผลสรุปข้อที่ 2 ก็จะตกและเป็นโมฆะไปด้วย ...

(4) ท่านอัส-สะยูฏีย์, ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ และ อ.กอเซ็มอ้างว่า .. บิดามารดาของท่านนบีย์เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ (ผู้อยู่ในช่วงว่างเว้นนบีย์) จึงไม่ต้องถูกลงโทษในนรก .. ดังโองการที่ 15 ซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ที่ว่า ...
وَمَا كُنَّا مُعَذِّبِيْنَ حَتىَّ نَبْعَثَ رَسُوْلاً
“และเราไม่เคยลงโทษ (ผู้ใด) จนกว่าเราจะแต่งตั้งรอซู้ลลงมา”


ชี้แจง
ก่อนอื่น ให้เรามาทราบกันเสียก่อนว่า “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” หมายความว่าอย่างไร?, อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์มีกี่ประเภท ?, .. บิดามารดาของท่านนบีย์เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์หรือไม่, ถ้าเป็น จะจัดอยู่ในอะฮ์ลุ้ลฟัตเราะฮ์ประเภทใด ? และโองการที่ 15 จากซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์บทนั้นมีความหมายอย่างไร ? ...
ต่อไปนี้ คือคำอธิบาย ...
4.1 “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” หมายความว่าอย่างไร ? ...
คำว่า อะฮ์ลุ (أَهْلُ) มีความหมายหลายอย่าง แต่ในที่นี้ แปลว่า ชาว ...
ส่วนคำว่า ฟัตเราะฮ์ (اَلْفَتْرَةِ) ตามหลักภาษามีความหมายว่า อ่อนแอ, อ่อนเปลี้ย, ระโหยโรยแรง ...
ท่านอิบนุ อัล-อะษีรฺ ได้อธิบายความหมาย “ฟัตเราะฮ์” ว่า ...
اَلْفَتْرَةُ مَا بَيْنَ الرَّسُوْلَيْنِ مِنْ رُسُلِ اللهِ تَعَالَى مِنَ الزَّمَانِ الَّذِىْ انْقَطَعَتْ فِيْهِ الرِّسَالَةُ
“ฟัตเราะฮ์ก็คือ สิ่งซึ่งอยู่ระหว่างรอซู้ล 2 ท่านจากบรรดารอซู้ลทั้งหลายของอัลลอฮ์, อันเป็นเวลาที่ขาดตอนจากการมีรอซู้ล” ...
(จากหนังสือ “อัน-นิฮายะฮ์ ฟี เฆาะรีบิลหะดีษ” เล่มที่ 3 หน้า 408) ...
โดยนัยนี้ “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” จึงมีอยู่เสมอในช่วงรอยต่อของรอซู้ลแต่ละท่าน ...
ส่วนท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ได้อธิบายคำว่า “ฟัตเราะฮ์” ว่า ...
(هِىَ) اَلْمُدَّةُ الَّتِىْ لاَ يُبْعَثُ فِيْهَا رَسُوْلٌ مِنَ اللهِ وَلاَ يَمْتَنِعُ أَنْ يَنْبَأَ مِنْهَا مَنْ يَدْعُوْ إِلَى شَرِيْعَةِ الرَّسُوْلِ اْلآخَرِ
“คือ ระยะเวลาที่มิได้มีการแต่งตั้งรอซู้ลคนใดมาจากพระองค์อัลลอฮ์, และไม่มีข้อขัดข้องอันใด (คือไม่เสียสิทธิ์ความเป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์) ที่ในระยะเวลานั้น จะมีผู้ใดเชิญชวนไปสู่บทบัญญัติของรอซู้ลท่านอื่น (ที่ล่วงลับไปก่อนหน้านั้น)” ...
(จากหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 7 หน้า 277) ...
ดังนั้น ความหมายของอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ตามคำอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ก็คือ บรรดาประชาชนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. มิได้แต่งตั้งรอซู้ลคนใดมายังพวกเขา .. หลังจากการสิ้นชีวิตของรอซู้ลในแต่ละยุค ...
และสมมุติว่า ในช่วงเวลาที่ว่างเว้นรอซู้ล จะมีบางคนเรียกร้องเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติตามบทบัญญัติของรอซู้ลท่านอื่นๆก่อนหน้านั้น พวกเขาก็ยังถูกเรียกว่า อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่ได้รับการผ่อนผันจากการถูกลงโทษ ...
นักวิชาการบางท่าน เช่นท่านอิหม่ามนะวะวีย์หรือท่านอัล-บัยฮะกีย์เป็นต้น มีทัศนะขัดแย้งกับท่านอิบนุหะญัรฺในกรณีอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่ได้รับข่าวสารจากนบีย์คนก่อนๆ อย่างเช่น อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์จากพวกญาฮิลียะฮ์ยุคก่อนอิสลามที่ได้รับข่าวสารจากท่านนบีย์อิบรอฮีมหรือนบีย์อีซาแล้ว แต่ยังปฏิเสธและยังตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ ...
ตามทัศนะนี้ถือว่า อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์พวกนี้จะต้องถูกลงโทษเหมือนผู้ตั้งภาคีอื่นๆตามนัยของหะดีษ 2 บทนั้น ดังที่จะถึงต่อไปในข้อ 4.5 ...
และ .. ความเข้าใจกันโดยทั่วๆไปในแวดวงนักวิชาการเมื่อพูดถึงอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ มักจะหมายถึงประชาชนที่อยู่ใน “ช่องว่าง” ระหว่างท่านนบีย์อีซา อะลัยฮิสสลาม กับท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
“ช่องว่าง” ของเวลาดังกล่าวตามหลักฐานที่ถูกต้อง ก็คือ 600 ปี ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์, หะดีษที่ 3948 บทว่าด้วยเรื่อง “มะนากิบ อัล-อันศอรฺ” บาบที่ 53 โดยรายงานมาจากท่านซัลมาน อัล-ฟาริซีย์) ...
ท่านอับดุรฺร็อซซาก ได้บันทึกมาจากท่านมะอฺมัรฺ บินรอชิด, จากท่านเกาะตาดะฮ์ว่า ช่องว่างระหว่างท่านนบีย์อีซากับท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมี 560 ปี ...
ท่านอัล-กัลบีย์กล่าวว่า 540 ปี ...
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า 400 ปี ...
(จากหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 7 หน้า 277) ...



4.2 อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์มีกี่ประเภท ? ...
บางคนอาจเข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่า อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์แล้วย่อมมีอยู่ประเภทเดียว และอยู่ในสถานภาพเดียวกันทั้งหมด ...
แต่ความจริง เรื่องนี้เป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างนักวิชาการ ...
ท่านอัล-สะยูฏีย์เอง ได้แบ่ง “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” ออกเป็น 3 ประเภท.. ดังข้อมูลจากหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” เล่มที่ 2 หน้า 365-366 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ...
1. ได้แก่อะฮ์ลุ้ลฟัตเราะฮ์ที่ยอมรับในเอกภาพของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ด้วยจิตสำนึกของตัวเอง และไม่มีการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์เลย พวกนี้ถือเป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่มีศาสนา ...
2. ได้แก่อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่นอกจากจะปฏิเสธอัลลอฮ์แล้ว ยังตั้งภาคีต่อพระองค์ ด้วยการกราบไหว้รูปเคารพต่างๆ, กราบไหว้ญิน เป็นต้น ...
3. ได้แก่อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่ไม่มีการตั้งภาคี แต่ไม่ยอมรับเอกภาพของอัลลอฮ์, ไม่เคยได้รับรู้เรื่องบทบัญญัติของนบีย์ท่านใด แต่ก็มิได้อุตริสิ่งใดในเรื่องความเชื่อจนนำไปสู่การตั้งภาคี พวกเขาจึงใช้ชีวิตไปวันๆตามสภาพความไม่รู้ของพวกเขาจนตายในสภาพนั้น ...
สำหรับอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทที่ 2 ท่านอัส-สะยูฏีย์กล่าวว่า เป็นไปได้ว่า การลงโทษพวกเขาในนรกเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะพวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธอัลลอฮ์ด้วยสิ่งที่มิใช่เป็นข้อผ่อนผันตามหลักการ ...
(จากหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” เล่มที่ 2 หน้า 366)


ส่วนอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทที่ 3 ถือว่าเป็น “อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์” ที่แท้จริง ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงกล่าวว่า พระองค์จะไม่ลงโทษพวกเขา .. ดังในโองการบทนั้น แต่พวกเขายังต้องผ่านการทดสอบในอาคิเราะฮ์อีกทีว่า จะได้เป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก .. ดังหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ที่มีกล่าวในเรื่องนี้ ซึ่งผมจะไม่นำเสนอในที่นี้ ...
4.3 บิดามารดาของท่านนบีย์เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์หรือไม่ ?
จากข้อมูลอันเป็นทัศนะต่างๆของนักวิชาการเท่าที่ได้อธิบายมานี้ พอสรุปได้ว่า บิดามารดาของท่านนบีย์, รวมทั้งคุณปู่ของท่าน ล้วนเป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ทั้งสิ้น ซึ่งแทบจะไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้ ...
4.4 บิดามารดาของท่านนบีย์ เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทไหน ? ...
กรณีนี้ นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันเป็น 2 ทัศนะคือ ...
1. นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่า บิดามารดาท่านนบีย์ จัดอยู่ในอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทที่ 2 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษในนรก เพราะเป็นผู้ตั้งภาคี ...
2. นักวิชาการบางท่านถือว่า บิดามารดาท่านนบีย์ จัดอยู่ในอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทที่ 3 ซึ่งจะไม่ถูกลงโทษในนรก เพราะไม่มีหลักฐานว่า พวกท่านเคยตั้งภาคีหรืออุตริสิ่งใดที่จะนำไปสู่การตั้งภาคีเลย ...
4.5 โองการดังกล่าวมีความหมายอย่างไร ?
โองการข้างต้น นักวิชาการตัฟซีรฺได้อธิบายขัดแย้งกันเป็น 4 ทัศนะ คือ ...
ทัศนะที่ 1 ความหมายโองการที่ว่า وَمَاكُنَّا مُعَذِّبِيْنَ : และเรามิได้ลงโทษ(ผู้ใดหรือชนกลุ่มใด) .. หมายถึง وَمَاكُنَّا مُهْلِكِيْنَ : และเรามิได้ทำให้(ผู้ใดหรือชนกลุ่มใด)พินาศ .. ซึ่งเป็นการบอกเล่าของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาถึงการไม่ลงโทษผู้ทำผิดในโลกนี้, ..ไม่ได้หมายถึงการไม่ลงโทษผู้ทำผิดหรือตั้งภาคีในอาคิเราะฮ์
นี่คือ ทัศนะของท่านอัล-กุรฏุบีย์, ท่านอบูหัยยานในหนังสือตัฟซีรฺของพวกท่านและเป็นทัศนะของญุมฮูรฺหรือนักวิชาการส่วนใหญ่ .. ดังคำกล่าวของท่านอัช-เชากานีย์ในตัฟซีรฺ “ฟัตหุ้ลกอดีรฺ” เล่มที่ 3 หน้า 307 ...


ทัศนะที่ 2 ถือว่า โองการบทนี้มีความหมายครอบคลุมการลงโทษทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์, ดังนั้นชาวอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นดังการจำแนกของท่านอัส-สะยูฏีย์จะไม่มีประเภทใดถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮ์จากการทำความผิดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดจากการตั้งภาคีหรือความผิดอะไรก็ตาม ...
ท่านอัส-สะยูฏีย์ และเช็คอัช-ชันกีฏีย์ก็เป็นหนึ่งจากผู้ที่มีทัศนะดังกล่าวนี้ ...
ทัศนะที่ 3 ถือว่า อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่ข่าวสารของนบีย์ก่อนๆไม่ถึงมายังพวกเขา และพวกเขาก็ไม่เคยตั้งภาคีใดๆต่ออัลลอฮ์ ก็จะไม่ถูกลงโทษแต่ประการใดในอาคิเราะฮ์
ส่วนอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่มีพฤติการณ์ตั้งภาคีอย่างชัดแจ้ง ถึงแม้ข่าวสารของนบีย์ก่อนๆจะไม่ถึงมายังพวกเขาก็ตาม .. พวกนี้จะต้องถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮ์เหมือนกับผู้ตั้งภาคีอื่นๆตามนัยของหะดีษ 2 บทนั้น ...
ทัศนะที่ 4 ถือว่า อะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่ข่าวสารนบีย์ก่อนหน้าพวกเขาได้ถึงมายังพวกเขาแล้วและพวกเขายอมปฏิบัติตาม พวกนี้จะไม่ถูกลงโทษในอาคิเราะฮ์ ...
ส่วนผู้ที่ปฏิเสธและตั้งภาคี ก็จะต้องถูกลงโทษตามนัยของหะดีษทั้ง 2 บทข้างต้น
ทัศนะนี้เป็นทัศนะของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุมุสลิม” เล่มที่ 2 ส่วนที่ 1 หน้า 79, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ในหนังสือ “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ” เล่มที่ 7 หน้า 190 และนักวิชาการท่านอื่นๆอีกหลายท่าน ...
ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ได้อธิบายโต้แย้งทัศนะที่ 1, 3 และ 4 ในหนังสือตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” ของท่าน เล่มที่ 3 หน้า 317-321 ด้วยการยกเหตุผลและหลักฐานบทอื่นๆจากอัล-กุรฺอ่านมาหักล้างทัศนะเหล่านี้ทั้งหมดตามมุมมองของท่าน ...
“ทางออก” ของความขัดแย้งในกรณีนี้ตามทัศนะของท่านอัช-ชันกีฏีย์ – ดังที่ท่านกล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” เล่มที่ 3 หน้า 318 -- ก็คือ ...
إِنَّ الْقَاطِعَ الَّذِىْ هُوَ قَوْلُهُ تَعَالَى : ((وَمَا كُنَّا مُعَذِّبِيْنَ حَتىَّ نَبْعَثَ رَسُوْلاً )) يَجِبُ تَقْدِيْمُهُ عَلَى أَخْبَارِ اْلآحَادِ الدَّالَّةِ عَلَى تَعْذِيْبِ بَعْضِ أَهْلِ الْفَتْرَةِ، كَحَدِيْثَىْ مُسْلِمٍ فِىْ صَحِيْحِهِ ..........
“แท้จริง “หลักฐานเด็ดขาด” -- ซึ่งได้แก่พระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ที่ว่า .. และเรามิได้ลงโทษ (ผู้ใด) จนกว่าเราจะแต่งตั้งรอซู้ลมา -- วาญิบจะต้อง “มาก่อน” หะดีษอาหาดที่แสดงว่า มีการลงโทษอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์บางคน .. ดังเช่นหะดีษ 2 บทของท่านมุสลิมในหนังสือ “เศาะเหี๊ยะฮ์” ของท่าน .....”
เมื่อพิจารณาจากคำกล่าวข้างต้นอย่างละเอียดจะเห็นได้ว่า “ทางออก” ของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ 3 ประการคือ ...
1. หะดีษทั้ง 2 บทนั้นของท่านมุสลิมเป็นหะดีษอาหาดซึ่งเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ จึงมีน้ำหนักน้อยกว่าอัล-กุรฺอ่านที่เป็นหลักฐานก็อฏอีย์ ...
2. ความหมายหะดีษทั้ง 2 บทนั้น ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน ซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ อายะฮ์ที่ 15 ...

3. ท่านอัช-ชันกีฏีย์ใช้หลัก تَرْجِيْحٌ .. คือ “เน้นน้ำหนัก” ..โดยยึดอัล-กุรฺอ่านอย่างเดียวและปัดหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทั้ง 2 บททิ้งไปด้วยเหตุผลจากข้อที่ 1 และที่ 2 ...
แม้ผมจะเห็นด้วยกับทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่า .. ความหมายของอัล-กุรฺอ่านที่พระองค์อัลลอฮ์กล่าวว่า พระองค์จะไม่ลงโทษผู้คนใดจนกว่าพระองค์จะแต่งตั้งรอซู้ลมา .. เป็นคำกล่าวกว้างๆโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่มีพฤติการณ์อย่างไร.. และอัล-กุรฺอ่านก็เป็นหลักฐานก็อฏอีย์โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ...
แต่ผมก็ยังมีมุมมองที่ขัดแย้งเกี่ยวกับ “ทางออก” ของท่านเช็คอัช-กีฏีย์ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้น .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
สรุปแล้ว ข้อมูลจากข้อ 4 ที่ผ่านมาทั้งหมด ถ้ามองด้วยใจเป็นธรรมจะเห็นได้ว่า ทุกๆประเด็นเป็นปัญหาขัดแย้งที่ยังหาข้อชี้ขาดจริงๆไม่ได้ ..ไม่ว่าในเรื่องความหมายอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์, บิดามารดาท่านนบีย์เป็นอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ประเภทไหน ? .. ความหมายของอัล-กุรฺอ่านบทนั้นที่แท้จริงอย่างไร ฯลฯ ...
แต่ละทัศนะหรือแต่ละมุมมอง – แม้กระทั่งท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์เอง – ต่างก็มั่นใจว่าทัศนะของตนเป็นทัศนะที่ถูกต้องกว่าทัศนะอื่นด้วยกันทั้งสิ้น ...
ความมั่นใจในความถูกต้องของตนเองจากแต่ละฝ่าย จึงไม่ใช่ทางออกและยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินความถูก-ผิดของปัญหาขัดแย้งใดๆ ดังนั้น ปัญหาขัดแย้งข้างต้นทั้งหมด จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อที่ 5 ที่จะถึงต่อไป มาเป็นตัวตัดสินชี้ขาดอีกทีหนึ่ง


(5). ท่านอัส-สะยูฏีย์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ลฟะตาวีย์” เล่มที่ 2 หน้า 365, .. และท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ได้กล่าวในเว็บไซด์ ซึ่งสรุปได้ว่า ...
แม้หะดีษที่กล่าวว่า บิดามารดาท่านนบีย์เป็นชาวนรก จะเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ แต่หะดีษดังกล่าวก็เป็นเพียง “หะดีษอาหาด” ซึ่งเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ (คาดคะเน) จึงไม่สามารถไปหักล้างข้อความของอัล-กุรฺอ่านจากซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ อายะฮ์ที่ 15 ซึ่งเป็นหลักฐานก็อฏอีย์ (เด็ดขาด) ได้ ...
ชี้แจง
เพื่อความกระจ่างแจ้งของเรื่องนี้ ผมจึงขออธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายหะดีษอาหาด, สถานภาพของหะดีษอาหาด, หะดีษอาหาดใช้เป็นหลักฐานในเรื่องอะกีดะฮ์ได้หรือไม่ ? หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จะขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่านหรือไม่ ? ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้ตามหลักวิชาการว่า ควรเป็นอย่างไร ? ...
ต่อไปนี้คือรายละเอียดของคำอธิบายในแต่ละประเด็นข้างต้น ...


5.1 หะดีษอาหาดคือหะดีษอย่างไร ? ...
นักวิชาการจะแบ่งหะดีษ – ตามจำนวนและปริมาณผู้รายงานในแต่ละระดับ – ออกเป็น 2 ประเภทคือ ...
1. หะดีษมุตะวาติรฺ (حَدِيْثٌ مُتَوَاتِرٌ) หมายถึงหะดีษซึ่งผู้รายงานในแต่ละระดับมีจำนวนมากมายจนเป็นไปไม่ได้ว่า พวกเขาเหล่านั้นจะร่วมกัน “กุ” หะดีษบทนั้นขึ้นมา ...
นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันในปริมาณที่ “น้อยที่สุด” ของผู้รายงานในทุกๆระดับของหะดีษมุตะวาติรฺ ...
ทัศนะที่เป็นทางเลือก (اَلْمُخْتاَرُ) ตามความเห็นของท่านอัล-อุศตุครีย์ก็คือ .. “อย่างน้อยที่สุด” ของผู้รายงานหะดีษมุตะวาติรฺในทุกระดับ จะต้องไม่น้อยกว่า 10 คน ...
(จากหนังสือ “ตัดรีบ อัรฺ-รอวีย์” ของท่านอัส-สะยูฏีย์ เล่มที่ 2 หน้า 177) ...
ตัวอย่างหะดีษมุตะวาติรฺ เช่นคำพูดท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ...
مَنْ كَذَبَ عَلَىَّ مُتَعَمِّدًا فَالْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ
“ผู้ใดป้ายความเท็จให้ฉันโดยเจตนา ก็ให้เขาจงเตรียมที่พำนักในนรก”
หะดีษบทนี้เรียกว่าหะดีษมุตะวาติรฺ เพราะผู้รายงานในทุกระดับ ไม่ว่าระดับเศาะหาบะฮ์, ระดับตาบิอีน, ระดับศิษย์ตาบิอีน เป็นต้น .. มีจำนวนมากจนเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะรวมตัวกันกุหะดีษบทนี้ได้ ...
เท่าที่มีการตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าหะดีษนี้ถูกรายงานมาทั้งหมดรวม 113 กระแส จากเศาะหาบะฮ์ 54 ท่าน ...
(สรุปจากหนังสือ “อัฎ-เฎาะอีฟะฮ์” ของท่านอัล-อัลบานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 71-72)
ท่าน ดร.มะห์มูด อัฏ-เฏาะฮ์ฮาน ได้กล่าวในหนังสือ “تَيْسِيْرُمُصْطَلَحِ الْحَدِيْثِ” หน้า 20 ว่า เศาะหาบะฮ์ที่รายงานหะดีษบทนี้มีกว่า 70 ท่าน ...
หะดีษมุตะวาติรฺทุกบท ถือเป็นหลักฐานก็อฏอีย์ (เด็ดขาด)โดยไม่มีข้อขัดแย้ง ...


2. หะดีษอาหาด (حَدِيْثٌ آحَادُ) หมายถึงหะดีษซึ่งผู้รายงานแต่ละระดับมีตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ไม่มากมายถึงขั้นผู้รายงานของหะดีษมุตะวาติรฺที่กล่าวมาแล้ว ...
ดังนั้น บางครั้งผู้รายงานหะดีษอาหาดอาจจะมีระดับละ 1 คนในทุกระดับ, หรือบางระดับจะมีเพียง 1 คน, หรือ 2 คน, หรือ 3 คน เป็นต้น .. แต่ในระดับถัดไปอาจจะมีถึง 8 คนหรือ 9 คนก็ได้ ...
หะดีษอาหาดจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ...
2.1 หะดีษมัชฮูรฺ (حَدِيْثٌ مَشْهُوْرٌ) หมายถึงหะดีษซึ่งผู้รายงานในทุกๆระดับมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 9 คนหรือมากมายถึงขั้นหะดีษมุตะวาติรฺ ...
2.2 หะดีษอะซีซ (حَدِيْثٌ عَزِيْزٌ) หมายถึงหะดีษซึ่งผู้รายงานในทุกๆระดับหรือในระดับใดระดับหนึ่งมี 2 คน ...
2.3 หะดีษเฆาะรีบ (حَدِيْثٌ غَرِيْبٌ) หมายถึงหะดีษซึ่งผู้รายงานในทุกๆระดับ หรือในระดับใดระดับหนึ่ง มีเพียง 1 คน ...
ดังนั้นความเข้าใจของบางคนที่ว่า หะดีษอาหาด หมายถึงหะดีษที่มีผู้รายงานเพียงระดับละ 1 คน จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ...
หะดีษอาหาดทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว อาจจะเป็นหะดีษอาหาดที่เศาะเหี๊ยะฮ์, หะดีษอาหาดที่หะซัน, หรือหะดีษอาหาดที่เฎาะอีฟ .. แล้วแต่ข้อเท็จจริงของสายรายงานในแต่ละบทของมัน หรือข้อมูลประกอบอื่นๆตามหลักวิชาการหะดีษ ...
หะดีษที่มีรายงานแพร่หลายอยู่ในตำราหะดีษต่างๆ ไม่ว่าหะดีษของท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม หรือท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นหะดีษอาหาดประเภทใดประเภทหนึ่งจากทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว ...
ส่วนหะดีษมุตะวาติรฺ แม้จะมีจำนวนพอประมาณ แต่ก็ถือว่ามีปริมาณน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับปริมาณของหะดีษอาหาด ...


5.2 สถานภาพของหะดีษอาหาด
นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันเกี่ยวกับสถานภาพของ “หะดีษอาหาดที่เศาะเหี๊ยะฮ์” ว่า ถือเป็นหลักฐานก็อฏอีย์ หรือหลักฐานซ็อนนีย์ .. ออกเป็น 3 ทัศนะคือ ...
1. หะดีษอาหาดทุกประเภท ถือว่าเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ .. นี่คือทัศนะของท่านอิหม่ามนะวะวีย์, ท่านอิบนุบุรฺฮาน, ท่านอิบนุ อับดิสสลาม และนักวิชาการบางท่าน ...
(จากหนังสือ “ตัดรีบ อัรฺ-รอวีย์” เล่มที่ 1 หน้า 132) ...
2. หะดีษอาหาดทุกประเภทที่ “รายงานโดยท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม” .. ถือเป็นหลักฐานก็อฏอีย์ (เด็ดขาด), ...
นี่คือทัศนะของท่านอิบนุศ-เศาะลาห์ อาจารย์ของท่านอิหม่ามนะวะวีย์ในหนังสือ “อุลูมุลหะดีษ” ของท่าน หน้า 24 ...
นักวิชาการหะดีษระดับแนวหน้าที่มีความเห็นสอดคล้องกับท่านอิบนุศ-เศาะลาห์ในกรณีนี้ (ดังการรายงานของท่านอัล-อิรอกีย์ในหนังสืออธิบายหะดีษของท่านอิบนุศ-เศาะลาห์) มีจำนวนมาก อาทิเช่น ท่านอัล-หาฟิศมุหัมมัด บินฏอฮิรฺ อัล-มุก็อดดิซีย์, ท่านหาฟิศอับดุรฺรอหีม บินอับดุลคอลิก, ท่านอบูอิสหาก, ท่านอบูหามิด, ท่านกอฎีย์อบูอัฏ-ฏ็อยยิบ, ท่านเช็คอบูอิสหาก อัช-ชัยรอซีย์, ท่านอัซ-ซัรฺคอซีย์, ท่านกอฎีย์อับดุลวะฮ์ฮาบ ท่านอบูยะอฺลา, ท่านอบูอัล-ค็อฏฏอบ, ท่านอิบนุอัล-ซัควานีย์, ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์, ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ เป็นต้น ...
(จากหนังสือ “อัล-บาอิษ อัล-หะษีษฯ” ของท่านอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ หน้า 36ซึ่งหนังสือดังกล่าว เป็นหนังสืออธิบายตำรา “อิคติศ็อรฺอุลูมิลหะดีษ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์) ...


3. หะดีษอาหาดที่เศาะเหี๊ยะฮ์, “ไม่ว่าจะเป็นการรายงานโดยผู้ใด” .. ถือว่า เป็นหลักฐานก็อฏอีย์ทั้งสิ้น ...
นี่คือทัศนะของท่านดาวูด อัซ-ซอฮิรีย์, ท่านหุเซ็น บินอะลีย์ อัล-กะรอบิซีย์, ท่านอัล-หาริษ บินอะซัด อัล-มัจญลิซีย์, ท่านอิหม่ามมาลิก บินอนัส, และท่านอิบนุหัสม์
ท่านอิบนุหัสม์ ได้อ้างข้อมูลอย่างยืดยาวเพื่อโต้แย้งและหักล้างทัศนะผู้ที่ขัดแย้งกับท่านในเรื่องนี้ในหนังสือ “อัล-อิห์กาม ฟิ อุศูลิลอะห์กาม” เล่มที่ 1 หน้า 119-137 โดยท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนั้นตอนหนึ่งว่า ...
إِنَّ خَبَرَالْوَاحِدِ الْعَدْلِ عَنْ مِثْلِهِ إِلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُوْجِبُ الْعِلْمَ وَالْعَمَلَ مَعًا ...
“แท้จริง การรายงานของบุคคลเพียงคนเดียวที่อาดิล(มีคุณธรรม) ที่รายงานมาจากผู้ที่มีคุณธรรมเช่นเดียวกับเขา จนถึงท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม วาญิบจะต้องเชื่อและจะต้องปฏิบัติตามในคราวเดียวกัน” ...
(จากหนังสือ “อัล-บาอิษ อัล-หะษีษฯ” หน้า 36) ...
ท่านเช็คอะห์มัด มุหัมมัดชากิรฺ ได้กล่าวเสริมทัศนะนี้ในหน้าที่ 37 ว่า ...
وَالْحَقُّ الَّذِىْ تُرَجِّحُهُ اْلأَدِلَّةُ الصَّحِيْحَةُ مَاذَهَبَ إِلَيْهِ ابْنُ حَزْمٍ وَمَنْ قَالَ بِقَوْلِهِ مِنْ أَنَّ الْحَدِيْثَ الصَّحِيْحَ يُفِيْدُ الْعِلْمَ الْقَطْعِىَّ، سَوَاءٌ أَكَانَ فِىْ أَحَدِ الصَّحِيْحَيْنِ أَمْ فِىْ غَيْرِهِمَا
“ที่ถูกต้องตามน้ำหนักแห่งหลักฐานเศาะเหี๊ยะฮ์ก็คือ ทัศนะของท่านอิบนุหัสม์ และผู้ที่มีทัศนะเหมือนท่าน .. อันได้แก่หะดีษ(อาหาด)ที่เศาะเหี๊ยะฮ์นั้น ให้ผลในด้านความเชื่อที่เด็ดขาด (เป็นหลักฐานก็อฏอีย์) .. ไม่ว่าจะรายงานมาโดยท่านใดท่านหนึ่งจาก 2 ท่าน (คือบุคอรีย์และมุสลิม) หรือรายงานโดยผู้อื่นจากทั้งสองท่านนั้นก็ตาม ....”


สรุปแล้ว สถานภาพของหะดีษอาหาดจึงไม่ใช่เป็นหลักฐานซ็อนนีย์โดยมติเอกฉันท์ของนักวิชาการ ดังความเข้าใจของบางคน .. แต่เป็นเรื่องขัดแย้งกันระหว่างนักวิชาการว่า จะถือเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ หรือหลักฐานก็อฏอีย์ ดังข้อมูลข้างต้น ...
แต่สิ่งที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ นักวิชาการหะดีษระดับแนวหน้าส่วนมาก (ดังในข้อที่ 2 และข้อที่ 3) มีความเห็นสอดคล้องกันว่า หะดีษอาหาดที่รายงานโดยท่านบุคอรีย์และ/หรือท่านมุสลิม ถือเป็น “หลักฐานก็อฏอีย์” เหมือนกับหะดีษมุตะวาติรฺ! ...
และหะดีษเรื่องบิดามารดาของท่านนบีย์ทั้ง 2 บทข้างต้น ก็เป็นหะดีษอาหาดที่รายงานโดยท่านมุสลิม .. ดังนั้นหะดีษทั้ง 2 บทนั้นจึงถือว่าเป็น “หลักฐานก็อฏอีย์” ตามทัศนะของนักวิชาการหะดีษเหล่านั้น ...


เพราะฉะนั้น “ทางออก” ตามทัศนะของท่านอัช-ชันกีฏีย์(ซึ่งมิใช่เป็นนักวิชาการหะดีษ)ในข้อ 1 ที่ว่า หะดีษทั้ง 2 บทของท่านมุสลิมเป็นเพียงหลักฐานซ็อนนีย์ จึงน่าจะเป็นทางออกที่ مَرْجُوْحٌ .. คือ อ่อนด้อยหรือขาดน้ำหนัก เพราะขัดแย้งกับทัศนะของ “นักวิชาการหะดีษ” ส่วนใหญ่ ...
5.3 หะดีษอาหาดใช้เป็นหลักฐานในเรื่องอะกีดะฮ์ (ความเชื่อ)ได้หรือไม่ ? ...
ทัศนะที่ถูกต้องในเรื่องนี้ก็คือ หะดีษอาหาดที่เศาะเหี๊ยะฮ์ สามารถใช้เป็นหลักฐานศาสนาได้ .. ไม่ว่าในเรื่องอะห์กาม (ภาคปฏิบัติต่างๆ) หรือเรื่องอะกีดะฮ์ (ความเชื่อ) ...
หลักฐานในเรื่องนี้ มีทั้งการวิเคราะห์จากอัล-กุรฺอ่านหลายบท และจากหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์บางบท .. ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ...
1. หลักฐานจากอัล-กุรฺอ่าน
ก. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงดำรัสในซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ อายะฮ์ 36 ว่า ...
وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ
“และเจ้าอย่าตามในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น”
บรรดามุสลิมทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันแม้กระทั่งในยุคของเศาะหาบะฮ์ .. พวกเขาต่างยอมรับและเชื่อคำบอกเล่าของผู้ที่เชื่อถือได้ -- แม้จะเป็นคนเดียว – ที่อ้างการรายงานต่อเนื่องไปถึงท่านนบีย์ .. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาคปฏิบัติต่างๆ หรือเรื่องความเร้นลับต่างๆ เช่นเรื่องเริ่มต้นการสร้างของอัลลอฮ์, เรื่องเครื่องหมายต่างๆของวันกิยามะฮ์, เรื่องการสอบถามในกุบูรฺ, เหตุการณ์ต่างๆในวันกิยามะฮ์ เป็นต้น ...
ความเร้นลับเหล่านี้ เป็นเรื่องของอะกีดะฮ์ (ความเชื่อ) .. และหะดีษแต่ละบทที่กล่าวถึงเรื่องความเร้นลับเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นหะดีษอาหาดแทบทั้งสิ้น ...
ถ้าหะดีษอาหาดใช้เป็นหลักฐานเรื่องอะกีดะฮ์ไม่ได้ แน่นอนมุสลิมทุกคนตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน – ไม่เว้นแม้กระทั่ง อ.กอเซ็มหรือท่านเช็ค-อัชชันกีฏีย์ – ที่เชื่อในเรื่องความเร้นลับเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้ฝ่าฝืนคำห้ามอัลลอฮ์ที่ว่า “เจ้าอย่าตามในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้” ด้วยกันทั้งนั้น ...


ข. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ได้ทรงดำรัสในซูเราะฮ์อัล-หุญุรอต อายะฮ์ที่ 6 ว่า ...
يَاأَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْا إِنْ جَاءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَأٍ فَتَبَيَّنُوْا .......
“ศรัทธาชนทั้งหลาย หาก “คนชั่วคนใด” นำ “ข่าวใด” มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัดเสียก่อน” ...
คำว่า فَاسِقٌ (คนชั่ว) เป็นนามเอกพจน์ที่เป็นสามานยนาม จึงมีความหมายว่า ไม่ว่าคนชั่วคนนั้นจะเป็นใคร ก็ต้องสอบสวนก่อน ...
ส่วนคำว่า نَبَأٍ (ข่าว, ข่าวใด) ก็เป็นนามเอกพจน์ที่เป็นสามานยนามเช่นเดียวกัน จึงมีความหมายกว้างๆไม่จำกัดว่า ข่าวที่คนชั่วคนนั้นนำมาบอกเล่า จะเป็นเรื่องการปฏิบัติหรือความศรัทธา ...
โองการบทนี้จึงมีความหมายว่า ข่าวใดก็ตามที่คนชั่วคนใดนำมาแจ้ง ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องภาคปฏิบัติหรือภาคศรัทธา .. ก็ให้สอบสวนเสียก่อนจึงจะเชื่อได้ ...
ความหมายในมุมกลับ (مَفْهُوْمٌ) ของโองการบทนี้ก็คือ ถ้าบุคคลที่มีคุณธรรม -- แม้เพียงคนเดียว -- นำข่าวใดมาแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาคปฏิบัติหรือภาคศรัทธา ผู้รับฟังข่าวก็สามารถเชื่อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นจะต้องสอบสวนอีก ...
โองการบทนี้จึงเป็นหลักฐานว่า หะดีษอาหาดที่บุคคลซึ่งมีคุณธรรมเพียงคนเดียวรายงาน แม้จะเป็นเรื่องของความเชื่อหรืออะกีดะฮ์ – ผู้รับฟังข่าวสามารถเชื่อถือและปฏิบัติตามได้ทันที ...
2. หลักฐานจากหะดีษ ...
ก. ท่านมาลิก บินอัล-หุวัยริษ ร.ฎ. กล่าวว่า .. พวกเราได้ไปหาท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่พวกเราเป็นเด็กหนุ่มที่มีวัยไล่เลี่ยกัน และพวกเราพักอยู่กับท่านประมาณ 20 วัน, ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ เป็นคนเมตตาและละเอียดอ่อน เมื่อท่านสังเกตเห็นพวกเราแสดงอาการคิดถึงลูกเมียทางบ้าน ท่านจึงไต่ถามซึ่งพวกเราก็บอกท่านตามตรง ท่านจึงกล่าวว่า ...
إِرْجِعُوْا إِلَى أَهْلِيْكُمْ! فَأَقِيْمُوْا فِيْهِمْ، وَعَلِّمُوْهُمْ، وَمُرُوْهُمْ،.... وَصَلُّوْاكَمَارَأَيْتُمُوْنِىْ أُصَلِّىْ
“พวกท่านจงกลับไปหาลูกเมียเถิด, จงอยู่กับพวกเขาและจงสอนพวกเขา, และจงใช้พวกเขา, และพวกท่านจงนมาซเหมือนที่พวกท่านเห็นฉันนมาซ” ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 631 และผู้บันทึกหะดีษท่านอื่นๆ) ...
ในหะดีษบทนี้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้ใช้ให้เศาะหาบะฮ์วัยรุ่นชาวเยเมนแต่ละคนเหล่านั้นกลับไปอยู่กับลูกเมีย, และให้แต่ละคนสอนลูกเมียตัวเองในเรื่องศาสนา และสอนให้ปฏิบัติศาสนกิจตามแบบอย่างของท่าน ...
แน่นอนที่ว่า สิ่งแรกที่ “พวกเขาแต่ละคน” จะต้องสอนลูกเมียก็คือ เรื่องความศรัทธาและเรื่องอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง .. แล้วจึงค่อยสอนเรื่องภาคปฏิบัติต่อไป ..
แสดงว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมรับรองแล้วว่า คำสอนของพวกเขาแต่ละคนต่อลูกเมีย ไม่ว่าในเรื่องความศรัทธาหรือภาคปฏิบัติ เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ...
ข. ท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. กล่าวว่า ...
إِنَّ أَهْلَ الْيَمَنِ قَدِمُوْا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالُوْا : إِبْعَثْ مَعَنَا رَجُلاً يُعَلِّمُنَا السُّنَّةَ وَاْلإِسْلاَمَ، قَالَ : فَأَخَذَ بِيَدِ أَبِىْ عُبَيْدَةَ فَقَالَ : هَذَا أَمِيْنُ هَذِهِ اْلأُمَّةِ ...
แท้จริงชาวเยเมนกลุ่มหนึ่งได้ไปหาท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า .. “ท่านจงส่งใครสักคนไปพร้อมกับพวกเราเพื่อให้เขาสอนซุนนะฮ์และอิสลามแก่พวกเรา”, .. ท่านอนัสกล่าวต่อไปว่า ท่านนบีย์จึงคว้ามือท่านอบูอุบัยดะฮ์ ร.ฎ.แล้วกล่าวว่า .. “นี่คือผู้ซื่อสัตย์คนหนึ่งแห่งประชาชาตินี้” ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 54/2419) ...


คำว่า “สอนอิสลาม” มิได้หมายถึงสอนการปฏิบัติเพียงอย่างเดียว แต่ตามรูปการณ์ย่อมหมายถึงการสอนทั้งภาคความรู้หรืออะกีดะฮ์ (عِلْمٌ) และภาคปฏิบัติ (عَمَلٌ) พร้อมกันทั้งสองอย่าง ...
และผู้ที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมส่งไปสอนชาวเยเมนก็คือ ท่านอบูอุบัยดะฮ์ บินอัล-ญัรฺรอห์ เพียงผู้เดียว ...
ถ้าคำพูดผู้ที่มีคุณธรรมคนเดียวในเรื่องอะกีดะฮ์เชื่อถือไม่ได้ ท่านนบีย์ก็คงไม่ส่งท่านอบูอุบัยดะฮ์ไปเพียงคนเดียวแน่นอน ...
ค. ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ได้รายงานมาจากท่านซุฟยาน บินอัมรฺ, จากท่านสะอีด บินญุบัยรฺ ซึ่งกล่าวว่า ...
قُلْتُ ِلابْنِ عَبَّاسٍ : إِنَّ نَوْفًا الْبُكَالِىَّ يَزْعُمُ أَنَّ مُوْسَى صَاحِبَ الْخَضِرِلَيْسَ بِمُوْسَى بَنِىْ إِسْرَائِيْلَ فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ : كَذَبَ عَدُوُّاللهِ! أَخْبَرَنِىْ أُبَىُّ بْنُ كَعْبٍ قَالَ : خَطَبَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ........ ثُمَّ ذَكَرَ حَدِيْثَ مُوْسَى وَالْخَضِرِ بِشَيْئٍ يَدُلُّ عَلَىأَنَّ مُوْسَى صَاحِبُ الْخَضِرِ ..
“ฉันได้กล่าวแก่ท่านอิบนุอับบาสว่า .. แท้จริง เนาฟัล อัล-บุกาลีย์เข้าใจว่า มูซาที่เป็นเพื่อนกับนะบีย์คอฎีรฺ มิใช่นบีย์มูซาที่เป็นชาวบนีย์อิสรออีล .. ท่านอิบนุอับบาส จึงกล่าวว่า .. เจ้าศัตรูอัลลอฮ์ (คนนั้น) พูดเท็จ, ท่านอุบัยย์ บินกะอับบอกฉันว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเคยคุฏบะฮ์แก่พวกเรา ..... แล้วท่านอุบัยย์ได้เล่าหะดีษเรื่องมูซากับคอฎีรฺบางตอนซึ่งแสดงว่า แท้จริงท่านนบีย์มูซา ก็คือเพื่อนของท่านนบีย์คอฎีรฺ” ...
(จากหนังสือ “อัรฺ-ริซาละฮ์” ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ หน้า 442 หมายเลข 1218)
เรื่องราวระหว่างท่านนบีย์มูซากับท่านนบีย์คอฎีรฺ เป็นเรื่องของความเชื่อ (อะกีดะฮ์) .. ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติ ...
และท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ก็เชื่อการบอกเล่าของ “บุคคลเพียงคนเดียว” ในเรื่องนี้ คือท่านอุบัยย์ บินกะอับ ร.ฎ. ที่บอกว่าได้รับฟังเรื่องนี้มาจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
ถ้าการบอกเล่าของบุคคลเพียงคนเดียวเชื่อถือไม่ได้ในเรื่องอะกีดะฮ์ ท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ก็คงไม่อ้างคำพูดของท่านอุบัยย์ บินกะอับมาหักล้างความเข้าใจของเนาฟัล อัล-บุกาลีย์ในเรื่องนี้ ...


ข้อมูลทั้งหมดจากอัล-กุรฺอ่านและอัล-หะดีษบางส่วนที่ได้นำเสนอมา จึงเป็นข้อชี้ขาดว่า หะดีษอาหาด “เป็นหลักฐาน” ในเรื่องอะกีดะฮ์ได้อย่างเดียวกับหะดีษมุตะวาติรฺ ...
บางท่านอาจจะมีข้อกังขาและคลางแคลงใจว่า หะดีษอาหาดกับหะดีษมุตะวาติรฺจะมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือเท่าเทียมกันได้อย่างไร ? ...
ผมขอชี้แจงและย้ำว่า “ความเท่าเทียม” ในที่นี้ หมายถึงความเท่าเทียมในแง่ของ “การใช้เป็นหลักฐานศาสนา”, .. มิใช่ความเท่าเทียมในด้านน้ำหนักแห่งความน่าเชื่อถือ ...
ตัวอย่างเปรียบเทียบง่ายๆในเรื่องนี้ก็คือ ...
เงินดอลลาร์สหรัฐชนิด 100 ดอลลาร์ 1 ใบ, กับชนิด 20 ดอลลาร์ 5 ใบ ...
ถ้าท่านอยากรู้ว่า ความ “น่าเชื่อถือ” ของเงินดอลลาร์ทั้ง 2 ชนิดนี้เท่าเทียมกันหรือไม่ ก็ให้ไปถามร้านรับแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราดู ...
แน่นอน คำตอบที่ท่านจะได้รับก็คือ แบงค์ชนิด 100 ดอลลาร์หนึ่งใบ ได้รับการยอมรับและความเชื่อถือมากกว่าใบละ 20 ดอลลาร์ 5 ใบ ...
แต่ถ้าท่านนำเงินทั้ง 2 ชนิดนั้นไปซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไรก็ตาม ท่านก็สามารถจะซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่ “เท่ากัน” ...
ดังนั้น แบงค์ชนิด 100 ดอลลาร์หนึ่งใบ อาจจะมีความ “น่าเชื่อถือ” มากกว่าแบงค์ 20 ดอลลาร์ 5 ใบในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ...
แต่ในแง่การซื้อขายสินค้าแล้ว เงินดอลลาร์ทั้ง 2 ชนิดนั้นย่อมจะ “เท่าเทียมกัน”ในปริมาณของสินค้าทุกชนิดที่จะซื้อ ดังกล่าวมาแล้ว ...
เรื่องหะดีษมุตะวาติรฺกับหะดีษอาหาด จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับการเปรียบเทียบข้างต้นนี้ ...


5.4 หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จะขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่านได้หรือไม่ ? ...
คำตอบก็คือ หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จะไม่มีวันขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่านเด็ดขาด ดังเหตุผลและหลักฐานที่จะกล่าวต่อไป ...
หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทุกบทที่มองดูผิวเผินว่ามีความหมายขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน ข้อเท็จจริงก็คือ จะต้องมีช่องทางของ “ทางออก” ตามหลักวิชาการอยู่เสมอ .. อย่างเช่นอาจเป็นเรื่องระหว่าง اَلْعَامُّ وَالْخَاصُّ (สิ่งที่มีความหมายกว้างๆกับสิ่งที่มีความหมายจำกัด) หรือเป็นเรื่องระหว่าง اَلْمُطْلَقُ وَالْمُقَيَّدُ (สิ่งที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆกับสิ่งที่มีเงื่อนไขเฉพาะเรื่อง) เป็นต้น ...
ในกรณีของตัวอย่างที่กล่าวมานี้ นักวิชาการก็ได้วางกฎเกณฑ์ที่เป็นทางออกซึ่งเป็นที่ยอมรับกันไว้แล้ว อาทิเช่นกฎเกณฑ์ที่ว่า الْخَاصُّ يُخَصِّصُ الْْعَامَّ ในกรณีแรก, หรือ حَمْلُ الْمُطْلَقُ عَلَى الْمُقَيَّدِ ในกรณีหลัง เป็นต้น ...
สำหรับหลักฐานที่ว่า หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ – ไม่ว่าจะเป็นหะดีษมุตะวาติรฺหรือหะดีษอาหาด -- จะไม่มีวันขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน ได้แก่โองการต่างๆ และหะดีษดังต่อไปนี้
1. โองการที่ 2-3 จากซูเราะฮ์อัน-นัจญม์ ที่ว่า ...
وَمَا يَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى إِنْ هُوَ إلاَّ وَحْىٌ يُّوْحَى
“และเขา(มุหัมมัด) จะไม่พูดสิ่งใดจากอารมณ์, มัน(คำพูดของมุหัมมัด)มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะห์ยุที่ถูกประทานลงมา” ...
คำพูดของท่านนบีย์ – ไม่ว่าในเรื่องของอะกีดะฮ์หรือเรื่องอิบาดะฮ์ –ไม่ได้หมายถึงหะดีษมุตะวาติรฺโดยเฉพาะ .. แต่หมายถึง “หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์” ทุกบท...
หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทุกบทจึงต้องถือว่าเป็น “วะห์ยุ” จากพระองค์อัลลอฮ์เหมือนอัล-กุรฺอ่าน .. ดังการรับรองของพระองค์เอง ...
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์อัลลอฮ์จะ “วะห์ยุ” ในสองลักษณะนี้ให้ขัดแย้งกันเอง .. ดังความเข้าใจของบุคคลบางคน ...
2. โองการจากซูเราะฮ์อัล-หิจญร์ โองการที่ 9 ที่ว่า ...
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُوْنَ
“แท้จริง เราได้ประทานอัซ-ซิกรฺ ลงมา และแท้จริงเราคือผู้คุ้มครองรักษามัน”
อาจมีคำถามว่า “อัซ-ซิกรฺ” หมายถึงอะไร ? ...
คำตอบก็คือ อัซ-ซิกรฺ หมายถึงวะห์ยุทุกอย่างที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานลงมาแก่ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. อันได้แก่อัล-กุรฺอ่าน และหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ .. ดังคำอธิบายของนักวิชาการจำนวนมาก อาทิเช่น ท่านอับดุลลอฮ์ บินมุบาร็อก, ท่านอิบนุหัสม์, ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เป็นต้น ...
(จากหนังสือ “اَلْحَدِيْثُ حُجَّةٌ بِنَفْسِهِ فِى الْعَقَائِدِ وَاْلأَحْكَامِ” ของท่านมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ หน้า 22- 24) ...
หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทุกบท ก็คือ “วะห์ยุ” จากพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ดังหลักฐานจากโองการบทข้างต้นที่ผ่านมาแล้ว ...


ดังนั้น หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จึงถูกพระองค์คุ้มครองรักษาไว้จากการสูญหายหรือถูกถูกทำลายหรือถูกบิดเบือน, เฉกเช่นเดียวกันกับอัล-กุรฺอ่าน .....
เมื่อทั้งสอง -- คืออัล-กุรฺอ่านและหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ – ล้วนเป็นวะห์ยุที่ถูกคุ้มครองความถูกต้องโดยพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งสองจะมีความขัดแย้งกัน .. ดังความเข้าใจของบุคคลบางคน ...
3. โองการจากซูเราะฮ์อัน-นะห์ลิ โองการที่ 44 ที่ว่า ...
وَأَنْزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ
“และเราได้ประทานแก่เจ้าซึ่งอัซ-ซิกรฺ(อัล-กุรฺอ่าน) เพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ถูกประทานลงมายังพวกเขา” ...
ความหมายของโองการบทนี้ก็คือ หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม –ไม่ว่าจะเป็นหะดีษมุตะวาติรฺหรือหะดีษอาหาด-- เป็นสิ่งที่อธิบายความหมายที่ยัง مُجْمَلٌ (คลุมเครือ,ไม่ชัดเจน) ของอัล-กุรฺอ่าน ...
ถ้าหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์ซึ่งเป็นคำพูดท่านนบีย์มิได้ถูกคุ้มครองจากความผิดพลาดจนมีความขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่านแล้ว พระองค์อัลลอฮ์จะทรงรับรองได้อย่างไรว่าคำพูดของท่านนบีย์คือสิ่งอรรถาธิบายอัล-กุรฺอ่าน? ...
ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วในหลักฐานที่ 2 ว่า หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จะได้รับความคุ้มครองจากความผิดพลาดเหมือนอัล-กุรฺอ่าน ดังนั้นความขัดแย้งระหว่างทั้งสองย่อมมีขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด ...
4. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
أَلاَ إِنِّىْ أُوْتِيْتُ الْقُرْآنَ وَمِثْلَهُ مَعَهُ! أَلاَ يُوْشِكُ رَجُلٌ شَعْبَانُ عَلَى أَرِيْكَتِهِ يَقُوْلُ : عَلَيْكُمْ بِهَذَاالْقُرْآنِ!فَمَا وَجَدْتُمْ فِيْهِ مِنْ حَلاَلٍ فَأَحِلُّوْهُ، وَمَا وَجَدْتُمْ فِيْهِ مِنْ حَرَامٍ فَحَرِّمُوْهُ
“พึงระวัง! แท้จริงฉันถูกประทานอัล-กุรฺอ่านและสิ่งที่เหมือนอัล-กรฺอ่านมาพร้อมกัน, .. พึงระวัง! อีกไม่นานจะมีคนอวิชาซึ่งนั่งเอกเขนกบนเก้าอี้กล่าวว่า .. หน้าที่ของพวกท่านคือทำตามอัล-กุรฺอ่านนี้(เท่านั้น) .. ดังนั้นสิ่งใดจากสิ่งหะล้าลที่พวกท่านเจอในอัล-กุรฺอ่านก็จงถือว่ามันหะล้าล และสิ่งใดจากสิ่งต้องห้ามที่พวกท่านเจอในอัล-กุรฺอ่าน ก็จงถือว่ามันหะรอม ......”
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 4604, และท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2664 โดยรายงานมาจากท่านอัล-มิกดาม บินมะอดีย์กะริบ) ...
ท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์กล่าวว่า ท่านนบีย์ได้สำทับด้วยหะดีษนี้ให้ระวังเรื่องการขัดแย้งกับซุนนะฮ์ต่างๆที่ท่านได้พูดหรือทำแบบอย่างเอาไว้ อันเป็นสิ่งที่มิได้มีระบุไว้ในอัล-กุรฺอ่าน .. ดังเช่นพวกคอวาริจญ์ (พวกนอกคอก) และพวกรอฟิเฎาะฮ์ (ชีอะฮ์ 12 อิหม่าม) ซึ่งเป็นพวกหลงผิดที่ยอมรับเฉพาะรูปการณ์ภายนอกของอัล-กุรฺอ่านเท่านั้น และไม่ยอมรับซุนนะฮ์ซึ่งเป็นสิ่งอรรถาธิบายอัล-กุรฺอ่านอีกทีหนึ่ง ...
(จากหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 12 หน้า 355) ...


และคำว่า “สิ่งซึ่งเหมือนกุรฺอ่าน” ที่ถูกประทานให้ท่านนบีย์ในหะดีษบทนี้ ท่านผู้อ่านทุกท่านก็คงจะเข้าใจได้เองโดยไม่ต้องอธิบายว่า ย่อมหมายถึงหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์(ทุกบท) ที่ท่านนบีย์ได้กล่าวหรือทำแบบอย่างเอาไว้ ...
หะดีษบทนี้จึงเป็นหลักฐานว่า ทั้งหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์และอัล-กุรฺอ่าน สามารถใช้เป็นหลักฐานได้เหมือนกันทั้งเรื่องอะกีดะฮ์และภาคปฏิบัติ และจะไม่มีวันขัดแย้งกัน ...
5. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ...
إِنِّىْ قَدْ تَرَكْتُ فِيْكُمْ شَيْئَيْنِ لَنْ تَضِلُّوْا بَعْدَهُمَا، كِتَابَ اللهِ وَسُنَّتِىْ، وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتىَّ يَرِدَا عَلَى الْحَوْضِ ..
“ฉันได้ละไว้สำหรับพวกท่าน 2 ประการซึ่งพวกท่านจะไม่หลงทาง (ตราบใดที่พวกท่านยึดมั่นสองอย่างนี้ไว้ ..นั่นคือ) กิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์ของฉัน, และทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนมันทั้งสองไปถึงอัล-เหาฎ์ (สระน้ำในสวนสวรรค์)” ...
(บันทึกโดยท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 172 จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.) ...
ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมบอกว่า ผู้ที่ยึดมั่นทั้งสองอย่างนี้(อัล-กุรฺอ่านกับซุนนะฮ์) จะ “ไม่หลงทาง” ออกจากอิสลาม .. ซึ่งคำว่า “หลงทาง” นี้ มีได้ทั้งจากภาคปฏิบัติที่ออกนอกกรอบของซุนนะฮ์ และเรื่องอะกีดะฮ์ที่นอกรีตนอกรอย ...
ท่านนบีย์ยังบอกอีกว่า ทั้งอัล-กุรฺอ่านและซุนนะฮ์ (หมายถึงหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์) จะไม่มีวันแยกจากกัน .. จนถึงวันกิยามะฮ์ ...
ดังนั้น ผู้ที่แยกหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์และอัล-กุรฺอ่านออกจากกัน (ทั้งๆที่ยอมรับว่าหะดีษบทนั้นเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์) จึงเป็นผู้ที่ปฏิเสธคำกล่าวของท่านนบีย์จากหะดีษบทนี้
ความจริงโองการจากอัล-กุรฺอ่านและหะดีษในทำนองนี้ยังมีอีกมาก แต่เท่าที่ได้นำเสนอไปก็น่าจะเป็นการเพียงพอแล้ว ...

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sunnahkung
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008
ตอบ: 116


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 7:24 pm    ชื่อกระทู้: . ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อ

จากคำอธิบายทั้งหมดในช่วงหลัง .. ตั้งแต่ข้อที่ 5.3 และ 5.4 ที่ผ่านมา จึงพอจะสรุปประเด็นหลักๆได้เป็น 2 ประเด็น คือ ...
1. หะดีษอาหาดที่เศาะเหี๊ยะฮ์ ใช้เป็นหลักฐานในเรื่องอะกีดะฮ์ได้อย่างแน่นอน ..
2. หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์กับอัล-กุรฺอ่าน จะไม่มีวันขัดแย้งกันอย่างเด็ดขาด ...
เพราะถ้าเรายอมรับคำกล่าวว่า “หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์กับอัล-กุรฺอ่านขัดแย้งกัน” เป็นเรื่องถูกต้องดังทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ แน่นอนว่าจะต้องมีหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ – ไม่ว่าถูกรายงานโดยผู้ใด – อีกจำนวนมากที่จะต้องถูกปัดทิ้งด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ ...
ข้อเท็จจริง 2 ประเด็นนี้จึงหักล้างทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่า หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทั้ง 2 บทนั้นของท่านมุสลิม ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน ..ได้อย่างสิ้นเชิง ...
ก็คงเหลือประเด็นสุดท้ายเพียงประเด็นเดียว ก็คือ ...
5.4 ทางออกที่ถูกต้องของความขัดแย้งในเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไร ? ...
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า “ทางออก” ในปัญหาขัดแย้งเรื่องสถานภาพบิดามารดาท่านนบีย์ ตามทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ มีอยู่ 3 ประเด็นคือ ...
1. หะดีษทั้ง 2 บทนั้นของท่านมุสลิมเป็นหะดีษอาหาดซึ่งเป็นหลักฐานซ็อนนีย์
2. ความหมายหะดีษทั้ง 2 บทนั้นขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน
3. ใช้หลัก تَرْجِيْحٌ คือเน้นน้ำหนักให้อัล-กุรฺอ่านทั้งหมด และปัดหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทั้ง 2 บทนั้นทิ้งไปตามเหตุผลข้อที่ 1 และที่ 2 ...
สำหรับในประเด็นที่ 1 ผมก็ได้ชี้แจงมาแล้วว่า คำกล่าวของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่าหะดีษอาหาดเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ เป็นการมองเพียงด้านเดียวจากทัศนะที่ขัดแย้งกันของนักวิชาการ, .. และทัศนะดังกล่าวนั้นก็เป็นทัศนะที่ مَرْجُوْحٌ .. คือ “ด้อยน้ำหนัก” ตามมุมมองของนักวิชาการหะดีษส่วนใหญ่ด้วย ...
ส่วนทัศนะที่ رَاجِحٌ (มีน้ำหนัก)ในกรณีนี้ก็คือ หะดีษอาหาด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รายงานโดยท่านบุคอรีย์หรือท่านมุสลิม ถือเป็นหลักฐานก็อฏอีย์! .. หะดีษอาหาดตามทัศนะนี้จึงมีนำหนักในด้านความน่าเชื่อถือเหมือนหะดีษมุตะวาติรฺและอัล-กุรฺอ่าน ...
และในกรณีสมมุติว่า ทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่มองหะดีษทั้ง 2 บทนั้นเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ เป็นทัศนะที่ถูกต้อง แต่ดังได้กล่าวมาแล้วว่า หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ – ไม่ว่าจะเป็นหะดีษมุตะวาติรฺที่เป็นหลักฐานก็อฏอีย์หรือหะดีษอาหาดซึ่งเป็นหลักฐานซ็อนนีย์ -- สามารถใช้เป็นหลักฐานทั้งในเรื่องภาคปฏิบัติและอะกีดะฮ์ได้เท่าเทียมกัน ...



ดังนั้นหะดีษอาหาดทั้ง 2 บทนั้นจึงไม่มีผลเสียอันใดต่อการนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ในกรณีนี้ ...
ส่วนในประเด็นที่ 2 ที่ว่า “ความหมายหะดีษทั้ง 2 บทนั้นขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน” ผมก็ได้นำหลักฐานทั้งจากอัล-กุรฺอ่านและจากหะดีษมายืนยันแล้วว่า หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จะไม่มีวันขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน .. ดังนั้น ทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ในกรณีนี้ จึงเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง ...
และ .. ในประเด็นสุดท้าย .. คือการ “ให้น้ำหนัก” แก่อัล-กุรฺอ่านทั้งหมดและปัดหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทั้ง 2 บทนั้นทิ้งไป .. ดังทางออกที่ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” เล่มที่ 3 หน้า 318 นั้น ...
ผมขอเรียนชี้แจงว่า ทางออกในลักษณะ تَرْجِيْحٌ (เน้นน้ำหนัก) ตามหลักการ จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อหลักฐาน 2 บท ขัดแย้งกันจนไม่มีทางประสานกันได้ ..ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ...
แต่ถ้ายังมีหนทางประสานความขัดแย้งได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดจากบรรดาแนวทางที่นักวิชาการกำหนดไว้ ก็ต้องเลือกใช้วิธีการประสานหลักฐานทั้งสองนั้น (ซึ่งวิชาอุศูลุลฟิกฮ์เรียกว่า جَمْعٌ) ไว้ก่อนเสมอ .. ดังกฎเกณฑ์ที่ว่า ...
اَلْجَمْعُ مُقَدَّمٌ عَلَى التَّرْجِيْحِ
“การรวมหลักฐาน(เมื่อเกิดขัดแย้งกัน) ต้องมาก่อนการเน้นน้ำหนัก(ให้แก่หลักฐานใดหลักฐานหนึ่ง)” ...
กฎเกณฑ์ข้อนี้ ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์เองก็ได้มีระบุไว้เช่นกันในหนังสือตัฟซีรฺ “อัฎวาอุ้ลบะยาน” ของท่าน เล่มที่ 3 หน้า 321 โดยกล่าวว่า ...
إِنَّ الْجَمْعَ بَيْنَ اْلأَدِلَّةِ وَاجِبٌ مَتىَ أَمْكَنَ بِلاَ خِلاَفٍ، ِلأَنَّ إِعْمَالَ الدَّلِيْلَيْنِ أَوْلَى مِنْ إِلْغَاءِ أَحَدِهِمَا ...
“แท้จริง การรวมหลักฐานต่างๆ(ที่ขัดแย้งกันนั้น) เป็นเรื่องจำเป็น (วาญิบ) ตราบใดที่มีความสามารถ โดยนักวิชาการไม่มีความขัดแย้งใดๆ(ในกฎเกณฑ์ข้อนี้) เพราะการนำหลักฐานทั้ง 2 บทมาใช้ร่วมกัน ย่อมดีกว่าการปัดบทใดบทหนึ่งทิ้งไป” ...
การที่ท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ไม่ได้นำกฎเกณฑ์ข้อนี้มาใช้ในกรณีนี้ ก็เพราะในมุมมองของท่านถือว่า หะดีษทั้ง 2 บทนั้นขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน และมีน้ำหนักในด้านการใช้เป็นหลักฐานน้อยกว่าอัล-กุรฺอ่าน .. ซึ่งถือเป็นมุมมองที่ไม่ถูกต้อง ...


เพราะข้อเท็จจริงก็คือ หะดีษทั้ง 2 บทนั้นเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ จึงมิได้ขัดแย้งกับอัล-กุรฺอ่าน, .. และหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ ก็คือวะห์ยุที่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกับอัล-กุรฺอ่านดังที่ได้อธิบายมาหลายครั้งแล้ว ...
ความขัดแย้ง (เท่าที่เห็น) จึงเป็นเพียงความขัดแย้งในมุมมองของมนุษย์เท่านั้น หาใช่ความขัดแย้งที่แท้จริงไม่, .. และความขัดแย้งตามมุมมองดังกล่าวก็มี “ทางออก” ตามหลักวิชาการด้วย ...
ประเด็นต่อมาจึงอยู่ที่ว่า อะไรคือ “ทางออก” ที่น่าจะถูกต้องที่สุดของปัญหานี้ ?
คำตอบก็คือ ดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า ทัศนะของท่านเช็คอัช-ชันกีฏีย์ที่ว่า ความหมายของอัล-กุรฺอ่านโองการที่ 15 จากซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ มีความหมายกว้างๆ (عَامٌّ) และไม่จำกัดเรื่องผู้ที่ไม่ต้องถูกลงโทษในนรกสำหรับชาวอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ทุกคน .. นั้น -- ตามพื้นฐานเดิม -- เป็นทัศนะที่ถูกต้อง ...
แต่ขณะเดียวกัน หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ของท่านมุสลิม 2 บทที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า บิดามารดาของท่านเป็นชาวนรก ก็เป็น “วะห์ยุ” ที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ...
ดังนั้น ทางออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีนี้ จึงได้แก่การนำกฎเกณฑ์ .. “การรวมหลักฐานต้องมาก่อนการเน้นน้ำหนัก” .. ที่กล่าวแล้ว มาใช้ ...
การรวมหลักฐานในกรณีนี้ได้แก่การถือว่า หะดีษทั้ง 2 บทนั้น เป็นสิ่ง “อธิบาย” ข้อความกว้างๆในอัล-กุรฺอ่านบทที่ 15 ซูเราะฮ์อัล-อิสรออ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นั่นคือ ...
ความหมายอัล-กุรฺอ่านที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ทรงกล่าวว่า .. พระองค์ไม่เคยลงโทษผู้ใดจนกว่าจะแต่งตั้งรอซู้ลลงมา ..นั้น หมายถึงอะฮ์ลุลฟัตเราะฮ์ที่อยู่ในช่วงว่างเว้นนบีย์ .. โดยที่นบีย์คนใหม่ก็ยังไม่ถูกแต่งตั้งมา, แต่ขณะเดียวกันข่าวสารของนบีย์ก่อนหน้านั้นก็ยังไม่ถึงมายังพวกเขาเช่นเดียวกัน ...
ซึ่งในกรณีนี้ตามรูปการณ์ของอัล-กุรฺอ่านบทนั้นก็คือ พวกเขาจะไม่ต้องถูกลงโทษ! ..ไม่ว่าพวกเขาจะมีพฤติการณ์การตั้งภาคีต่อพระองค์หรือไม่ก็ตาม ...
ส่วนผู้ที่แม้จะยังไม่มีการแต่งตั้งนบีย์คนใหม่ลงมา แต่ข่าวสารของนบีย์ก่อนหน้านี้ก็เคยถึงมายังพวกเขาแล้ว .. อย่างเช่นพวกญาฮิลียะฮ์ยุคก่อนอิสลามที่ได้รับข่าวสารของท่านนบีย์มูซา, นบีย์อีซาหรือนบีย์อิบรอฮีมแล้ว แต่พวกเขาก็ยังฝ่าฝืนด้วย


การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ เมื่อตายไปพวกเขาก็จะต้องถูกลงโทษในนรก .. ซึ่งบิดามารดาของท่านนบีย์เองก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย .. ดังเนื้อหาของหะดีษ 2 บทนั้น ...
โดยนัยนี้ ทั้งอัล-กุรฺอ่านและหะดีษ 2 บทนั้นจึงไม่มีความขัดแย้งกันแต่อย่างใด ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
ส่วนคำกล่าวของ อ.กอเซ็มที่พยายามถามย้ำ อ.ฟาริดอยู่หลายครั้งว่า มีหลักฐานหรือไม่ว่า บิดามารดาของท่านนบีย์เคยตั้งภาคีขณะมีชีวิตอยู่ ? ...
คำถามดังกล่าว ดูเหมือน อ.ฟาริดจะตอบไปแล้วว่า หะดีษทั้ง 2 บทนั้นเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์จึงเป็นความชัดเจนที่ไม่ควรจะมีปัญหาอะไรอีก ...
แต่ อ.กอเซ็มก็ยังทำเป็นไม่เข้าใจอยู่ดี ...
ผมจึงอยากขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า ...
ถ้า อ.กอเซ็ม “เชื่อ” คำพูดท่านนบีย์ในหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ที่บอกว่า ..บิดามารดาของท่านเป็นชาวนรก ..ว่า เป็นความจริง .. อ.กอเซ็มก็ไม่จำเป็นต้อง “ล้วงลึก” ถึงขนาดถามต่อไปว่า มีหลักฐานไหมว่าบิดามารดาท่านนบีย์เคยทำชิริก? ...
อุปมาเหมือนใครสักคนนำเนื้อมาให้ อ.กอเซ็มกิโลหนึ่งแล้วบอกว่าเป็นเนื้อกุรฺบ่าน ..
ถ้า อ.กอเซ็มเชื่อถือเขา อ.กอเซ็มก็สามารถรับประทานเนื้อนั้นได้ทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องซักไซ้ไล่เลียงต่อไปว่า วัวตัวนี้มีอายุครบตามหลักเกณฑ์การทำกุรฺบานหรือเปล่า ? .. หรือถามว่า ผู้เชือดวัวตัวนั้นกล่าว “บิสมิลลาฮ์” ก่อนเชือดหรือไม่ .. มิใช่หรือ ?
เว้นแต่ถ้า อ.กอเซ็ม “ไม่เชื่อ” คำพูดท่านนบีย์ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ...
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงดำรัสไว้ในซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ โองการที่ 65 ว่า ...
فَلاَ وَرَبِّكَ لاَيُؤْمِنُوْنَ حَتىَّ يُحَكِّمُوْكَ فِيْمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُوْا فِىْ أَنْفُسِهِمْ حَرَجًا مِمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا
“มิใช่เช่นนั้น ขอสาบานด้วยพระผู้อภิบาลของเจ้าว่า พวกเขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะมอบให้ “เจ้า” ตัดสินในสิ่งขัดแย้งระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาจะไม่พบความอึดอัดใจใดๆจากการตัดสินของเจ้า, และพวกเขาจะยอมจำนนโดยดุษฎี”
และท่านอัมรฺ บินอัล-อาศ ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتىَّ تَكُوْنَ هَوَاهُ تَبَعًا لِمَا جِئْتُ بِهِ
“คนใดจากพวกท่านยังไม่ศรัทธา จนกว่า “อารมณ์” ของเขาจะคล้อยตาม (คือยอมรับ)ในสิ่งที่ฉันนำมามอบให้ (หรือบอกเล่า)” ...
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อัรฺบะอีน” ท้ายหะดีษที่ 41 ว่า ..หะดีษนี้เป็นหะดีษหะซัน, เราได้รายงานหะดีษนี้ในหนังสือ “อัล-หุจญะฮ์” ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง ..


แต่ท่านอัล-อัลบานีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดีษนี้มีข้อบกพร่องเล็กน้อย ...
ความหมายของหะดีษข้างต้นก็คือ ผู้ศรัทธาที่แท้จริงนั้น ต่อให้ฝืนความรู้สึกยังไงก็ต้องทำใจรับให้ได้ในทุกสิ่ง (จากการกระทำหรือคำพูด) ของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ท่านนำมามอบให้ ...
ผมไม่ทราบหรอกว่า บิดามารดาของท่านนบีย์, .. ตลอดจนคุณปู่ของท่านนบีย์ คือท่านอับดุลมุฏฏอลิบ จะเคยตั้งภาคีหรือไม่ ? ...
แต่ผมจำได้ว่า ตระกูลกุเรชของท่านนบีย์ .. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณปู่ของท่าน .. ประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ว่า เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาบัยตุ้ลลอฮ์ (กะอฺบะฮ์) ...
และเมื่อตอนที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมพิชิตนครมักกะฮ์ในเดือนรอมะฎอนปี ฮ.ศ.ที่ 8 .. ปรากฏว่ารอบๆกะอฺบะฮ์ (ตามบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่ม ตัวอย่างเช่นหนังสือ “นูรุลยะกีน” หน้า 223) ระบุว่า มีเจว็ดต่างๆอยู่ถึง 360 ตัวด้วยกัน ...
ผมจึงไม่ทราบว่า ตระกูลของท่านนบีย์ทำหน้าที่ดูแลรักษาบัยตุ้ลลอฮ์เพียงอย่างเดียว หรือเคยเคารพบูชาเจว็ดพวกนั้นด้วย ?? ...
หรือเมื่อตอนที่ท่านอบูฏอลิบซึ่งเป็นลุงจะสิ้นชีวิต และท่านนบีย์เสนอให้ท่าน “ยอมรับพระเจ้าองค์เดียว” โดยการกล่าวปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ แต่กลับถูกขัดขวางโดยอบูละฮับผู้เป็นลุงอีกท่านหนึ่งที่คอยกำชับท่านอบูฏอลิบว่า “อย่าละทิ้งศาสนาของปู่ย่าตายาย” เป็นอันขาด ...
อ. กอเซ็มพอจะบอกได้ไหมว่า ศาสนา “ปู่ย่าตายาย” ของท่านนบีย์ ตามคำกล่าวของอบูละฮับนั้น นับถือพระเจ้าองค์เดียว หรือนับถือพระเจ้าหลายองค์ ??? ...


สรุป

1. หะดีษที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า บิดาของท่านเป็นชาวนรก, และพระองค์อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้ท่านขออภัยโทษให้มารดาของท่าน เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ และมีความหมายถึงบิดามารดาท่านนบีย์อย่างแท้จริง ...

2. หะดีษทั้ง 2 บทนั้น เป็นหะดีษอาหาดโดยปราศจากข้อขัดแย้ง ...

3. นักวิชาการขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่า หะดีษอาหาดเป็นหลักฐานซ็อนนีย์หรือหลักฐานก็อฏอีย์ ? .. ซึ่งนักวิชาการหะดีษระดับแนวหน้าจำนวนมากกล่าวว่าหะดีษอาหาดเป็นหลักฐานก็อฏอีย์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หะดีษอาหาดที่รายงานโดยท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม ...

4. หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ทุกบท ไม่ว่าหะดีษมุตะวาติรฺหรือหะดีษอาหาด ใช้เป็น “หลักฐานศาสนา” ในเรื่องภาคปฏิบัติและเรื่องอะกีดะฮ์ได้เท่าเทียมกัน ...

5. หะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์กับอัล-กุรฺอ่านจะไม่มีวันขัดแย้งกัน เพราะทั้ง 2 เป็นวะห์ยุจากพระองค์อัลลอฮ์เช่นเดียวกัน ...
ทั้งหมดนี้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักวิชาการ ซึ่งผมก็ไม่ได้ยืนยันหรือฟันธงว่า เป็นทัศนะที่ถูกต้องแน่นอนร้อยเปอร์เซ็น ...
เพราะมันอาจผิดก็ได้ .. และพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.เท่านั้นที่จะทรงรู้ ...
แต่ที่แน่ๆก็คือ ขอสารภาพว่า ผมเขียนเรื่องนี้ด้วยความอึดอัดใจที่สุดในชีวิต และไม่ประสงค์จะให้ผลการวิเคราะห์นี้ เกิดขึ้นจริงๆเลย ...
ทว่า .. ผมก็ยังมีความหวังลึกๆในใจ .. จากคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ในซูเราะฮ์อัฎ-ฎุหาอ์ อายะฮ์ที่ 5 ที่ว่า ...
وَلَسَوْفَ يُعْطِيْكَ رَبُّكَ فَتَرْضَى
“และแน่นอน ต่อไปภายหน้า(คือในอาคิเราะฮ์) พระผู้อภิบาลของเจ้าจะประทานให้เจ้า แล้วเจ้าจะพอใจ (ในสิ่งที่ถูกประทานนั้น)” ...
ผมมั่นใจว่า ไม่มีสิ่งใดที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จะพอใจยิ่งไปกว่าการได้เห็นบิดามารดาของท่าน รอดพ้นจากการถูกลงโทษในนรก ...
และผมหวังว่า พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. คงจะประทานสิ่งนี้ให้ท่านนบีย์ด้วยในวันอาคิเราะฮ์ ดังโองการบทนั้น, .. ทั้งนี้เพื่อความพอใจและความสบายใจของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, ศาสดาผู้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ ...


และสุดท้าย ผมก็พร้อมที่จะน้อมรับการติติงหรือการท้วงติงจากทุกท่านเกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องนี้ด้วยความเคารพ แต่ขอให้เป็นการท้วงติงทางหลักวิชาการ ..ไม่ใช่ท้วงติงด้วยอารมณ์หรือ “ความรู้สึกส่วนตัว” ของท่าน ...

رَبَّنَا آتِنَا فِى الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِى اْلآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ، وَصَلَّى اللهُ عَلَى خَيْرِخَلْقِهِ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَىآلِهِ وَصَحْبِهِ وَسَلَّمَ
อ. มะห์มูด (ปราโมทย์) ศรีอุทัย
โทรฯ 086 – 6859660
วันอาทิตย์ ที่ 7 ธันวาคม 2551, .. ตรงกับวันที่ 9 เดือนซุลหุจญะฮ์ ฮ.ศ. 1429

_________________
"และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 8:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากการอ่านข้อเขียนของอาจารย์ปราโมทย์ ได้ความสรุปว่า ทุกคนต้องทำใจยอมรับความจริง ตามที่อะบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้ท่านนบีขออภัยโทษให้บิดามารดา ทุกคนต้องเชื่อว่าพ่อแม่ท่านนบีตกนรก

แสดงว่า ในความเข้าใจของอาจารย์ปราโมทย์ ถือว่า อายะอัลกุรอาน(วะห์ยูจากอัลลอฮ์) ที่สั่งท่านนบี(ศ)ว่า

وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا

ว่าจงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) ได้โปรดเมตตาท่านทั้งสอง(บิดามารดา)ของฉัน เสมือนท่านทั้งสองเมตตาฉันเมื่อฉันยังเล็ก"(ศอดะก็อลลอฮุลอะซีม) ต้องตกเป็นรองริวายะฮ์ที่รายงานโดยอะบูฮุร็อยเราะฮ์ เพราะใจความระหว่างคำบอกเล่าของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ กับอายะกุรอานวรรคนี้ ขัดแย้งกัน ราวตัดขาวตัดดำ

กล่าวคือ อัลลอฮ์สั่งนบีเองว่าจงกล่าวขอความเมตตาให้พ่อแม่ ว่าرَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا

แต่พอไปตรวจสอบกับฮะดีษของอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ที่รายงานว่า ท่านนบีขออนุญาตเพื่อจะขออภัยให้มารดา แต่อัลลอฮ์ไม่อนุญาต

ผลสรุปคือ ต้องทำใจ

เห็นความสว่างจากอ.ปราโมทย์ของท่านแล้วยังครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านฮาฟิซ อิบนุฮะญัร อัลอัสก็อลลานีย์ ถึงแม้ท่านจะไม่ยืนยันว่า ฮะดีษนี้ปลอม แต่ก็ไม่วายที่ท่านได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า فيقول إن

صحة السند لا تستلزم صحة المتن واستنتج أن من صحح الحديث في أحسن أحواله إنما ذهب إلي تصحيح السند فقط أما المتن فلا يصح لمعارضته للواقع


ความถูกต้องของสารบบนักรายงาน(สะนัด)ที่ถ่ายทอดมา มิใช่เครื่องบ่งชี้ว่า เนื้อหาของฮะดีษจะถูกต้องตามไปด้วย ผลสรุปก็คือว่า ลักษณะของฮะดีษนี้ ถ้าจะระบุว่า ศอฮีฮ์ ก็เป็นฮะดีษที่ศอฮีฮ์เฉพาะในส่วนของสารบบนักรายงาน(สะนัด) เท่านั้น ส่วนเนื้อหาของฮะดีษนี้ ถือว่า ไม่ถูกต้อง เนื่องจากค้านกับหลักความจริงที่ปรากฏ

จึงใคร่ขอให้อัลลอฮ์ประทานความเมตตาแก่ ฮาฟิซ อิบนุฮะญัร อัลอัสก็อลลานีย์ และท่านฟะฎีล บิน อิยาฎ ซึ่งได้ตัฟซีรโองการหนึ่งดังนี้

قوله تعالي " إن الذين يؤذون الله ورسوله لعنهم الله في الدنيا والآخرة وأعد لهم عذابا مهينا "

“แท้จริง บรรดาผู้ที่ทำร้ายอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์นั้น อัลลอฮ์จะทรงสาปแช่งพวกเขาทั้งในโลกนี้ และปรโลก และทรงเตรียมไว้แก่พวกเขาซึ่งการลงโทษอันอัปยศยิ่ง”

قال : إن من أعظم الأذي له صلي الله عليه وسلم أن يقال : إن أبوي النبي صلي الله عليه وسلم في النار .

ท่านอธิบายว่า แท้จริงการทำร้ายท่านศาสนทูต(ศ)ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การกล่าวว่า บิดามารดาของท่านนบี(ศ)อยู่ในนรก

ท่านนบี(ศ) กล่าวว่า وروي الطبراني وأبو نعيم وابن عساكر عنه صلي الله عليه وسلم قال Smiles " خرجت من نكاح ولم أخرج من سفاح من لدن آدم إلي أن ولدني أبي وأمي ولم يصبني من سفاح الجاهلية شيء "

รายงานโดยอัฏฏ็อบรอนีย์ อะบูนะอีม และอิบนุอะซากิร ว่ามีรายงานจากท่านนบี(ศ) ท่านกล่าวว่า ฉันมาจากการนิกาห์ และมิได้มาจากพวกที่ทำชั่วจากลูกหลานอาดัม จนถึงกับว่า บิดาของฉัน และมารดาของฉัน ได้ให้กำเนิดฉันจากความชั่ว ประสาพวกญาฮิลียะฮ์แต่ประการใด

ฮะดีษจากศอฮีฮ์มุสลิม

إن الله اصطفي كنانة من نسب إسماعيل واصطفي قريشا من كنانة واصطفي من قريش بني هاشم واصطفاني من بني هاشم " مسلم

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกกินานะฮ์ มาจากเชื้อสายของอิสมาอีล และทรงคัดเลือกกุเรช มาจาก กินนานะฮ์ และทรงคัดเลือกบะนีฮาชิม มาจากกุเรช และทรงคัดเลือกฉันมาจากบะนีฮาชิม

إن الله اختار الخلق فاختار منهم بني آدم ثم اختار من بني آدم العرب ثم اختارني من العرب فلم أزل خيارا من خيار " الطبراني

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ดังนั้นทรงคัดเลือกลูกหลานอาดัมมาจากพวกเขา ต่อมา ทรงคัดเลือกชนชาวอาหรับ มาจากลูกหลานอาดัม ต่อมา ทรงคัดเลือกฉันมาจากชนชาวอาหรับ ดังนั้น การคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุด จะไม่หยุดยั้ง (จากฏ็อบรอนีย์)

น่าอนาถใจแม้ คนธรรมดาอย่างเรา ๆ จะขออภัยโทษให้พ่อแม่ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากอัลลอฮ์ก่อนเลย

แต่เหตุไฉน ท่านนบีจะขออภัยให้พ่อแม่ทั้งที จำเป็นต้องขออนุญาตจากอัลลอฮ์ก่อน

ทำไมม่มีซุนนะฮ์ ให้ขออนุญาตจากอัลลอฮ์ก่อน ขออภัยโทษให้พ่อแม่ (ถ้าจริงเช่นนั้น)

เหตุไฉน โสเภณีสาวชาวบะเนีอิสรออีล คนต่างศาสนา ตักน้ำให้แมวหรือสุนัขดื่มดับกระหาย ๑ ครั้ง ในสมัยนบี(ศ) กลับมีฮะดีษศอฮีฮ์รับรองว่าได้เข้าสวรรค์ (บุคอรี)

แม่ที่อุ้มครรภ์มารดาอย่างเหน็ดเหนื่อย ตามที่กุรอานบอกเล่า ให้เลือดนบีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ให้นมนบี ตั้งแต่เป็นทารก เลี้ยงดูฟูมฟัก อยู่ตั้งหลายปี ทั้งๆที่ลูกได้ตำแหน่งที่ดีที่สุดในสากลโลก เป็นถึงนายของบรรดารอซูล แต่ตัวเอง ต้องลงนรก เป็นไปได้ไง

ไหนว่า ดุอาของบรรดานบี มุสตะญับ ท่านนบี(ศ)เคยกล่าวว่า ฉันคือผลมาจากดุอาของนบีอิบรอฮีม และดุอาของอีซา ทำไมอัลลอฮ์จึงทรงคัดเลือกให้ท่านเกิดมาในท้อง มุชริก

๕-๖ โองการอีกที่กล่าวอย่างชัดเจนว่า คนเมืองใดที่ว่างเว้นศาสนทูต ไม่มีคำตักเตือนแผ่ไปถึง คนเมืองนั้น อัลลอฮ์ ไม่เอาโทษ ก็กลับไม่มีผลสำหรับแม่ท่านนบีสุดที่รักของเรา กระนั้นหรือ ??
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
AntiRafidah
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/06/2009
ตอบ: 120


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 11:12 pm    ชื่อกระทู้: Re: อัลกุรอาน ขัดกับฮะดีษ เรื่องพ่อแม่นบี จะยึดไหนดีครับ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

israya บันทึก:

ถามว่า ฮะดีษเล่าจากศอฮาบะฮ์ว่า อัลลอฮ์ไม่อนุญาตให้นบีขอพรให้พ่อแม่
อัลกุรอาน ๑๗/๒๔ อัลลอฮ์สั่งท่านนบีให้ขอพรให้พ่อแม่

มันอย่างไงกันครับ อธิบายด้วย






อัลกุรอ่านอายะที่ 17/24 มีว่า






Thai: [17:24] และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา
และจงกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย


ถามคุณรอฟิเฏาะ israya ว่า พ่อและแม่ของท่านนบี ได้เลี้ยงดูท่านนบีเมื่อตอนเยาว์วัยด้วยเหรอครับ?
ผมนึกว่าแม่ของท่านมีโอกาสเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เดียว เพราะพ่อของท่านเสียชีวิตไปก่อนท่านเกิดซะอีก?




เอ๊ะ อ้าว เป็นรอฟิเฏาะ ไม่น่าจะสอบตกเรื่องประวัติศาสตร์ซะได้นะ


ออกมาสู่ที่สว่าง แล้วเห็นความโง่จากความมืดของตัวเองหรือยังครับ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
AntiRafidah
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 05/06/2009
ตอบ: 120


ตอบตอบ: Sun Oct 04, 2009 11:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

israya บันทึก:

แม่ที่อุ้มครรภ์มารดาอย่างเหน็ดเหนื่อย ตามที่กุรอานบอกเล่า ให้เลือดนบีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ให้นมนบี ตั้งแต่เป็นทารก เลี้ยงดูฟูมฟัก อยู่ตั้งหลายปี ทั้งๆที่ลูกได้ตำแหน่งที่ดีที่สุดในสากลโลก เป็นถึงนายของบรรดารอซูล แต่ตัวเอง ต้องลงนรก เป็นไปได้ไง

ไหนว่า ดุอาของบรรดานบี มุสตะญับ ท่านนบี(ศ)เคยกล่าวว่า ฉันคือผลมาจากดุอาของนบีอิบรอฮีม และดุอาของอีซา ทำไมอัลลอฮ์จึงทรงคัดเลือกให้ท่านเกิดมาในท้อง มุชริก

๕-๖ โองการอีกที่กล่าวอย่างชัดเจนว่า คนเมืองใดที่ว่างเว้นศาสนทูต ไม่มีคำตักเตือนแผ่ไปถึง คนเมืองนั้น อัลลอฮ์ ไม่เอาโทษ ก็กลับไม่มีผลสำหรับแม่ท่านนบีสุดที่รักของเรา กระนั้นหรือ ??




ดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับคุณจังเลยนะครับ แต่ละเรื่องเนี่ย ก็ทำไมละครับ

พ่อของท่านนบีอิบรอฮีม ก็เป็นคนที่ทำรูปเจว็ดด้วยซ้ำไป ลูกของท่านนบีนูฮฺก็ต้องจมน้ำ เพราะไม่ศรัทธา

เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจครับ ไม่ใช่ว่าเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับบรรดานบี หรือบรรดารอซู้ลแล้วตัวเองจะรอด

เรื่องการศรัทธานี่ ตัวใครตัวมันครับ เช่นเดียวกัน บางคนในประเทศไทย ที่อ้างว่ามีเชื้อสายนบี
นั่นก็ไม่ใช่เครื่องรับรองการรอดปลอดภัยจากไฟนรกด้วยเหมือนกันนะคุณรอฟิเฏาะ israya




ขอเถอะครับ คำถามโง่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ารอฟิเฏาะอ่อนเรื่องประวัติศาสตร์แบบคุณนี่ ยิ่งถามก็ยิ่งแสดงถึงความมั่ว





เรื่องนบียังมั่วได้ เรื่องศอฮาบะจะไปเหลืออะไร เฮ้ออออออ...... Rolling Eyes Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Mon Oct 05, 2009 8:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับคุณจังเลยนะครับ แต่ละเรื่องเนี่ย ก็ทำไมละครับ

พ่อของท่านนบีอิบรอฮีม ก็เป็นคนที่ทำรูปเจว็ดด้วยซ้ำไป ลูกของท่านนบีนูฮฺก็ต้องจมน้ำ เพราะไม่ศรัทธา

เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจครับ ไม่ใช่ว่าเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับบรรดานบี หรือบรรดารอซู้ลแล้วตัวเองจะรอด

เรื่องการศรัทธานี่ ตัวใครตัวมันครับ เช่นเดียวกัน บางคนในประเทศไทย ที่อ้างว่ามีเชื้อสายนบี
นั่นก็ไม่ใช่เครื่องรับรองการรอดปลอดภัยจากไฟนรกด้วยเหมือนกันนะคุณรอฟิเฏาะ israya

ขอเถอะครับ คำถามโง่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ารอฟิเฏาะอ่อนเรื่องประวัติศาสตร์แบบคุณนี่ ยิ่งถามก็ยิ่งแสดงถึงความมั่ว


ผมไม่ได้เข้ามาเพื่อประชันขันแข่งคำด่าหรือประณามเสียดสีซึ่งกันและกันนะครับ นี่คือประเด็นปัญหาทางวิชาการ ไม่มีใครโง่จริง และไม่มีใครฉลาดจริง ในเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขา ขอให้พิจารณากันด้วยใจเป็นกลาง แต่เรามาเพื่อทำความเข้าใจกันในส่วนที่พอจะทำความเข้าใจกันได้ เพราะประเด็นเกี่ยวกับพ่อแม่นบีนี้ มีการถกเถียงกันมานานแล้ว และเป็นกรณีศึกษาที่ใหญ่มากในหมู่อุละมาของฝ่ายซุนนะ

ขอให้เข้าใจอีกอย่างว่า ความเห็นแย้งในเรื่องนี้ มิใช่อะศอบียะฮ์กับชาติพันธุ์ สายตระกูลของนบี(ศ) ทุกคนเข้าใจตรงนั้นอยู่ด้วยกันทุกฝ่าย และยอมรับกันว่า ในบรรดาเครือญาติของท่านนบีนั้น มีพวกปฏิเสธ บูชาเจว็ด รวมอยู่ด้วยมากมาย เช่น อะบูละฮับ อะบูญะฮัล และกลุ่มของอุมัยยะฮ์ ฯลฯ เราไม่เคยอินังขังขอบกับความเป็นชาติพันธุ์ แต่ที่เรามีความเห็นไม่ตรงกัน ในส่วนของสายที่สืบสายเลือดให้แก่นบีโดยตรงต่างหาก และขอให้มองแค่ว่า เป็นความขัดแย้งเชิงวิชาการเท่านั้น มาพิจารณาเรื่องดุอาของนบีอิบรอฮีมกันก่อนนะครับ และขออย่าได้มองข้ามประเด็นนี้ ทำความเข้าใจกันและกันให้ถ่องแท้ จริงจัง นะครับ

وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِي قَالَ لاَ يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ ﴿2/124﴾
124. และจงรำลึกถึง ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ 1 แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน(*2*) พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย(*3*) พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม(*4*)

(1) เราไม่สามารถรู้ได้ว่าพระบัญชาบางประการนั้นคืออะไรบ้าง? เพราะไม่ปรากฏว่าท่านนะบีได้อธิบายไว้ ในการนี้นักปราชญ์จึงมีทรรศนะต่างกัน
(2) ปฏิบัติตามบัญชานั้นอย่างครบถ้วน
(3) ท่านนะบีอิบรอฮีม ขอให้อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งผู้นำจากลูกหลานของท่านด้วย
(4) พระองค์ทรงรับคำของท่านนะบีอิบรอฮีม แต่ถ้าสมัยใดที่ลูกหลานของท่านเป็นผู้อธรรมแล้ว ก็จะไม่ได้รับตามสัญญานั้น

ปรากฏหลักฐานการสืบตระกูลของท่านนบี(ศ)ว่ามาจากอิสมาอีล บุตรชายคนหนึ่งของอิบรอฮีม

وَإِذْ قَالَ إِبْرَاهِيمُ رَبِّ اجْعَلْ هََذَا بَلَدًا آمِنًا وَارْزُقْ أَهْلَهُ مِنَ الثَّمَرَاتِ مَنْ آمَنَ مِنْهُم بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ قَالَ وَمَن كَفَرَ فَأُمَتِّعُهُ قَلِيلاً ثُمَّ أَضْطَرُّهُ إِلَى عَذَابِ النَّارِ وَبِئْسَ الْمَصِيرُ ﴿2/126﴾

126. และจงรำลึกถึงขณะที่อิบรอฮีมได้วิงวอนว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์โปรดทรงให้ที่นี่เป็นเมืองที่ปลอดภัย และโปรดประทานบรรดาผลไม้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่ชาวเมืองนั้นด้วย คือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลกจากพวกเขา(*1*) พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดที่ปฏิเสธการศรัทธา ข้าจะให้เขาได้รับความสำราญชั่วเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภายหลังข้าจะบีบบังคับให้เขาไปสู่การทรมานแห่งขุมนรก และเป็นจุดหมายปลายทางอันชั่วช้ายิ่ง
(1) คือจากลูกหลานของท่านนะบีอิบรอฮีม
แน่นอน เหลือเกิน ลูกหลานของอิบรอฮีม(อ)นั้น ย่อมมีบรรดาผู้อธรรม กราบไหว้เจว็ด แต่ก็แน่นอนเหมือนกันว่า ต้องมีกลุ่มที่เป็นไปตามดุอานี้ ซึ่งนั่นก็ได้แก่บรรพบุรุษของนบีมุฮัมมัด(ศ) รวมปู่ย่าตายายของนบีมุฮัมมัด หากเราพิจารณาฮะดีษที่ท่านนบีบอกว่า อัลลอฮ์ทรงคัดเลือกท่านมา

رَبَّنَا وَاجْعَلْنَا مُسْلِمَيْنِ لَكَ وَمِن ذُرِّيَّتِنَا أُمَّةً مُّسْلِمَةً لَّكَ وَأَرِنَا مَنَاسِكَنَا وَتُبْ عَلَيْنَآ إِنَّكَ أَنتَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ ﴿2/128﴾ رَبَّنَا وَابْعَثْ فِيهِمْ رَسُولاً مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيهِمْ إِنَّكَ أَنتَ العَزِيزُ الحَكِيمُ
128. ข้าพระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้เขาทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดให้มีขึ้นจากลูกหลานของเรา ซึ่งประชาชนที่นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดแสดงแก่ข้าพระองค์ ซึ่งพิธีการทำฮัจญ์ของพวกข้าพระองค์ และโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยโทษ ทรงเอ็นดูเมตตา
129. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดส่งร่อซูลคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเองไปในหมู่พวกเขา ซึ่งเขาจะได้อ่านบรรดาโองการของพระองค์ให้พวกเขาฟัง และจะได้สอนคัมภีร์ และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติให้พวกเขาทราบ และซักฟอกพวกเขาให้สะอาด แท้จริงพระองค์ทรงไว้ซึ่งเดชานุภาพและปรีชาญาณ
คำว่า “โปรดส่งร่อซูลคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเองไปในหมู่พวกเขา” แน่นอน อัลลอฮ์จะทรงคัดเลือกจากคำขอที่ว่า “จากลูกหลานของเรา ซึ่งประชาชนที่นอบน้อมต่อพระองค์” อัลลอฮ์คงคัดเลือกนบีมุฮัมมัด มาจากท้องของพวกอธรรม
นั่นก็หมายความว่า สายพันธุ์นบีมุฮัมมัด ย่อมต้องมาจากกลุ่มบุคคลตามที่อิบรอฮีมอ้อนวอนขอ
وَإِذْ قَالَ إِبْرَاهِيمُ رَبِّ اجْعَلْ هَذَا الْبَلَدَ آمِنًا وَاجْنُبْنِي وَبَنِيَّ أَن نَّعْبُدَ الأَصْنَامَ
35. และจงรำลึกเมื่ออิบรอฮีมกล่าวว่า “โอ้ พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้เมืองนี้ (มักกะฮ) ปลอดภัยและทรงให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์พ้นจากการบูชาเจว็ด(*1*)

(1) จุดมุ่งหมายก็คือ ขอพระองค์ทรงให้ท่าน(อิบรอฮีม) และลูกหลานของท่าน ยึดมั่นอยู่บนหลักอัตเตาฮีด และศาสนาอิสลาม
และกลุ่มที่ไม่บูชาเจว็ดนี่แหละ ที่อัลลอฮ์จะทรงคัดเลือกให้เป็นสายพันธุ์ที่ให้กำเนิดท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮ์ ที่จะปฏิเสธคำขอดุอาของอิบรอฮีม ด้วยการคัดเลือกคนเป็นนบีมาจากลูกหลานที่เป็นผู้ตั้งภาคี
رَّبَّنَا إِنِّي أَسْكَنتُ مِن ذُرِّيَّتِي بِوَادٍ غَيْرِ ذِي زَرْعٍ عِندَ بَيْتِكَ الْمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُواْ الصَّلاَةَ فَاجْعَلْ أَفْئِدَةً مِّنَ النَّاسِ تَهْوِي إِلَيْهِمْ وَارْزُقْهُم مِّنَ الثَّمَرَاتِ لَعَلَّهُمْ يَشْكُرُونَ

37. “โอ้พระเจ้าของเรา แท้จริงข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลานของข้าพระองค์(*1*) พำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผลใดๆ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้พระเจ้าของเรา เพื่อให้พวกเขาดำรงการละหมาด ขอพระองค์ทรงให้จิตใจจากปวงมนุษย์(*2*) มุ่งไปยังพวกเขา และทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขาหวังว่าพวกเขาจะขอบคุณ
رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاَةِ وَمِن ذُرِّيَّتِي رَبَّنَا وَتَقَبَّلْ دُعَاء

40. “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์และจากลูกหลานของข้าพระองค์เป็นผู้ดำรงการละหมาด โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงตอบรับการวิงวอนของข้าพระองค์ด้วยเทอญ(*1*)
ผมหวังว่า คงไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกแม้แต่กาเฟร จะรังเกียจความรักในบรรดาลูกหลาน และสายตระกูลของตัวเอง และคงไม่มีใครคิดตำหนินบีอิบรอฮีมว่า คลั่งไคล้ในชาติพันธุ์ หรืออะศอบียะฮ์เป็นแน่แท้ นอกจากคนที่สภาพจิตใจไม่เป็นปกติ
เพราะเกือบทุกบทดุอาที่ท่านขอ จะต้องมีขอไปให้ถึงลูกหลานวงศ์วานของท่านด้วย เมื่อเราทำความเข้าใจกับส่วนนี้ ที่เป็นดุอาของนบีอิบรอฮีมแล้ว แน่นอน เราก็ต้องเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์ต้องตอบรับคำขอของอิบรอฮีม
สรุปก็คือ นบีอิบรอฮีมขอดุอาว่า ในบรรดาลูกหลานของท่านทั้งหมดนั้น ขอให้อัลลอฮ์บันดาลให้มีสักสายพันธุ์หนึ่งที่สะอาด สวามิภักดิ์ นอบน้อม เพื่อจะได้มีรอซูลสักคนหนึ่งกำเนิดมาจากสายพันธุ์ของพวกเขา
(นี่คือการขอพร (ดุอาอ) ที่ดี ที่บรรดาผู้ศรัทธาควรใช้ขอพรให้แก่ลูกหลานของเขาด้วย
ความหมายอัลกุรอาน ส่วนใหญ่ คัดลอกจากฉบับของนักเรียนเก่าอาหรับครับ)
ท่านนบี(ศ) กล่าวว่า وروي الطبراني وأبو نعيم وابن عساكر عنه صلي الله عليه وسلم قال " خرجت من نكاح ولم أخرج من سفاح من لدن آدم إلي أن ولدني أبي وأمي ولم يصبني من سفاح الجاهلية شيء "

รายงานโดยอัฏฏ็อบรอนีย์ อะบูนะอีม และอิบนุอะซากิร ว่ามีรายงานจากท่านนบี(ศ) ท่านกล่าวว่า ฉันมาจากการนิกาห์ และมิได้มาจากพวกที่ทำชั่วจากลูกหลานอาดัม จนถึงกับว่า บิดาของฉัน และมารดาของฉัน ได้ให้กำเนิดฉันจากความชั่ว ประสาพวกญาฮิลียะฮ์แต่ประการใด
ฮะดีษจากศอฮีฮ์มุสลิม
إن الله اصطفي كنانة من نسب إسماعيل واصطفي قريشا من كنانة واصطفي من قريش بني هاشم واصطفاني من بني هاشم " مسلم

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกกินานะฮ์ มาจากเชื้อสายของอิสมาอีล และทรงคัดเลือกกุเรช มาจาก กินนานะฮ์ และทรงคัดเลือกบะนีฮาชิม มาจากกุเรช และทรงคัดเลือกฉันมาจากบะนีฮาชิม

إن الله اختار الخلق فاختار منهم بني آدم ثم اختار من بني آدم العرب ثم اختارني من العرب فلم أزل خيارا من خيار " الطبراني
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงคัดเลือกสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ดังนั้นทรงคัดเลือกลูกหลานอาดัมมาจากพวกเขา ต่อมา ทรงคัดเลือกชนชาวอาหรับ มาจากลูกหลานอาดัม ต่อมา ทรงคัดเลือกฉันมาจากชนชาวอาหรับ ดังนั้น การคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุด จะไม่หยุดยั้ง (จากฏ็อบรอนีย์)
ทุกฮะดีษเหล่านี้มีความหมาย โปรดอ่าน และพิเคราะห์ อย่าเพิ่งขยี้ด้วยส้นเท้า ผมพยายามสรรหาหลักฐานที่ได้รับความเชื่อถือจากนักปาชญ์เจ้าของตำราฝ่ายซุนนะที่พวกคุณให้ความเคารพเชื่อถือ และจะไม่หยิบยกหลักฐานรายงานจากบรรดาอิมามแห่งอะฮลุลบัยต์แม้แต่ริวายะฮ์เดียว


เกี่ยวกับกุรอานวรรคนี้
وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرًا
และจงกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย
ถามคุณรอฟิเฏาะ israya ว่า พ่อและแม่ของท่านนบี ได้เลี้ยงดูท่านนบีเมื่อตอนเยาว์วัยด้วยเหรอครับ?
ผมนึกว่าแม่ของท่านมีโอกาสเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เดียว เพราะพ่อของท่านเสียชีวิตไปก่อนท่านเกิดซะอีก?


ผมยกหลักฐานกุรอานเพื่อค้านรายงานของอะบูฮุร็อยเราะที่แสดงหลักฐานว่า อัลลอฮฺห้ามนบีขออภัยแก่บิดามารดา

เพราะอายะนี้แสดงหลักฐานว่า อัลลอฮ์ สั่งให้ท่านนบีให้ขอเองเลยทีเดียว ไม่เพียงไม่ห้าม
ความจริง ถ้าหากไม่อะศอบียะฮ์กับคำรายงาน คำอธิบายวกไปวนมาของอุละมา ลำพังแค่อายะนี้ อายะเดียว ก็ตัดปัญหาได้ตั้งนานแล้วครับ เพราะกุรอาน คือดะลีลุลก็อฎอีย์ จับเท็จริวายะไหนได้ ถือว่า ริวายะนั้นตกไปโดยปริยาย ริวายะบอกว่า ไม่อนุญาตให้ขอ กุรานบอกว่า สั่งให้ขอ ดูเอาเองก้แล้วกันครับ

ส่วนข้อโต้แย้งของคุณตรงนี้ด้วยการตัดพ้อและถากถางเป็นนัยๆ ว่า พ่อและแม่ของท่านนบี ได้เลี้ยงดูท่านนบีเมื่อตอนเยาว์วัยด้วยเหรอครับ?
ผมนึกว่าแม่ของท่านมีโอกาสเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เดียว เพราะพ่อของท่านเสียชีวิตไปก่อนท่านเกิดซะอีก?

คุณไม่ได้แย้งผม แต่คุณแย้งอัลลอฮ์ต่างหาก ไว้ไปถามพระองค์ก็แล้วกัน ได้คำตอบแล้วบอกผมด้วยนะ
ที่ถกมานี้ เป็นเพียงหลักฐานในแง่มุมว่าด้วยดุอาของนบีอิบรอฮีมเท่านั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Mon Oct 05, 2009 8:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออภัยอย่างมาก ต่อเว็บมาสเตอร์ ผ่านยังท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ ผมตรวจทานไม่ดี ผิดพลาด ขอแก้คำผิดตรงท่อนนี้หน่อยนะครับ

رَبَّنَا وَاجْعَلْنَا مُسْلِمَيْنِ لَكَ وَمِن ذُرِّيَّتِنَا أُمَّةً مُّسْلِمَةً لَّكَ وَأَرِنَا مَنَاسِكَنَا وَتُبْ عَلَيْنَآ إِنَّكَ أَنتَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ ﴿2/128﴾ رَبَّنَا وَابْعَثْ فِيهِمْ رَسُولاً مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيهِمْ إِنَّكَ أَنتَ العَزِيزُ الحَكِيمُ

128. ข้าพระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้เขาทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดให้มีขึ้นจากลูกหลานของเรา ซึ่งประชาชนที่นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดแสดงแก่ข้าพระองค์ ซึ่งพิธีการทำฮัจญ์ของพวกข้าพระองค์ และโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยโทษ ทรงเอ็นดูเมตตา

129. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดส่งร่อซูลคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเองไปในหมู่พวกเขา ซึ่งเขาจะได้อ่านบรรดาโองการของพระองค์ให้พวกเขาฟัง และจะได้สอนคัมภีร์ และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติให้พวกเขาทราบ และซักฟอกพวกเขาให้สะอาด แท้จริงพระองค์ทรงไว้ซึ่งเดชานุภาพและปรีชาญาณ

คำว่า “โปรดส่งร่อซูลคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเองไปในหมู่พวกเขา” แน่นอน อัลลอฮ์จะทรงคัดเลือกจากคำขอที่ว่า “จากลูกหลานของเรา ซึ่งประชาชนที่นอบน้อมต่อพระองค์” อัลลอฮ์คงคัดเลือกนบีมุฮัมมัด มาจากท้องของพวกอธรรม

[size=18][color=#444444]ให้แก้เป็น

อัลลอฮ์คงคัดไม่เลือกนบีมุฮัมมัด มาจากท้องของพวกอธรรม [/B][/size][/size][/color]

นั่นก็หมายความว่า สายพันธุ์นบีมุฮัมมัด ย่อมต้องมาจากกลุ่มบุคคลตามที่อิบรอฮีมอ้อนวอนขอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
israya
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/10/2009
ตอบ: 293


ตอบตอบ: Mon Oct 05, 2009 12:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โอ ผมผิดอีกแล้วครับ ขอโทษ สะเพร่าขนาดนี้เลยหรือ ผมนี่ ??ขอโทษอีกที แก้แล้ว ก็ยังผิด ขอมะอัฟ ทุกฝ่ายด้วยรับ

ผิดตรงที่คำแก้ที่ว่าให้แก้เป็น

อัลลอฮ์คงคัดไม่เลือกนบีมุฮัมมัด มาจากท้องของพวกอธรรม

นั่นก็หมายความว่า สายพันธุ์นบีมุฮัมมัด ย่อมต้องมาจากกลุ่มบุคคลตามที่อิบรอฮีมอ้อนวอนขอ

อันนี้ไม่เอาครับ ไม่เอ้า ไม่เอา


เอาอย่างนี้ครับ ให้แก้เป็น


[size=18]อัลลอฮ์คงไม่คัดเลือกนบีมุฮัมมัด มาจากท้องของพวกอธรรม[/size]

เอาอันนี้แหละครับ นั่นก็หมายความว่า สายพันธุ์นบีมุฮัมมัด ย่อมต้องมาจากกลุ่มบุคคลตามที่อิบรอฮีมอ้อนวอนขอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 1.11 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ