ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - แย่งดินแดน?
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
แย่งดินแดน?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
youngman
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2009
ตอบ: 41


ตอบตอบ: Tue Aug 11, 2009 3:59 pm    ชื่อกระทู้: แย่งดินแดน? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำไมมุสลิมต้องแย่งปาเลสไตน์กับชาวคำภีร์ด้วยละคับ

ในเมื่อดินแดนในประเทศมุสลิมนั้นก็มีมากแถมรวยอีกด้วย

และที่สำคัญ ณ ที่นั้นก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากนี่คับ Sad Sad

งงจิงๆ ไม่รู้จะแย่งกันทำไม Crying or Very sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
youngman
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2009
ตอบ: 41


ตอบตอบ: Tue Aug 11, 2009 5:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอขยายความนิดนึงนะคับจาก "ในเมื่อดินแดนในประเทศมุสลิมนั้นก็มีมากแถมรวยอีกด้วย "

หมายความว่า ประเทศมุสลิมก็มีอยู่ในแถบนั้นแถมเศษฐกิจในประเทศก็ดี ทำไมถึงไม่นำ

มุสลิมที่ถูกไล่ที่จากปาเลสไตน์มาอยู่ที่ประเทศของตน สงสารคนที่นั่นที่ต้องมานั่งรบกับเรื่องแค่

นี้ เฮ้อ! สงสัยกว่าสงครามแย่งชิงดินแดนจะจบได้ก็คงต้องให้ ดัจญาลมาปิด!
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 13, 2009 9:31 am    ชื่อกระทู้: Re: แย่งดินแดน? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

youngman บันทึก:
ทำไมมุสลิมต้องแย่งปาเลสไตน์กับชาวคำภีร์ด้วยละคับ

ในเมื่อดินแดนในประเทศมุสลิมนั้นก็มีมากแถมรวยอีกด้วย

และที่สำคัญ ณ ที่นั้นก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากนี่คับ Sad Sad

งงจิงๆ ไม่รู้จะแย่งกันทำไม Crying or Very sad


...............

ผมอ่านคำถามของคุณแล้วสะอึก ถ้าคุณเป็นมุสลิม คุณพูดแบบนี้ได้อย่างไร เพราะเท่าที่ดูจากคำถามหลายกระทู้ แสดงว่า คนสนใจประวัติศาสตร์ แล้วทำไมคุณไม่ศึกษาประวัติความเป็นมาของดินแดนปาเลสไตน์ และอะไรคือปัญหา ที่พี่น้องมุสลิมเราจึงต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนผืนนี้
ดังนั้นคุณกรุณาอ่านบทความข้างล่างนี้

ความเป็นมาแห่งดินแดนปาเลสไตน์

ถอดความจาก “PALESTINE, THE ARAB & ISRAEL-THE SEARCH FOR JUSTIC ( Longmans Green and Co.,Ltd. London 1969 ) โดย เฮ็นรี กัตตาน

การที่จะเข้าใจปัญหาปาเลสไตน์ได้ถูกต้องนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาความเป็นมาแต่หนหลังให้เข้าใจพอสมควรเสียก่อน ดังนี้ :

ปาเลสไตน์ก่อน ค.ศ.1922

คำว่า “ปาเลสไตน์” ถอดมาจากชื่อของชนชาติ “ฟิลิสตีน” ผู้เคยตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ตามชายฝั่งทะเลตอนใต้ของดินแดนในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล จากหลักฐานที่เราสามารถสืบย้อนหลังไปได้ไกลที่สุดในขณะนี้ ปรากฏ ว่าดินแดนปาเลสไตน์ไม่เคยว่างเว้นจากการมีผู้คนอยู่อาศัยเลย ชาวพื้นเมืองรุ่นดึกดำบรรพ์เป็นพวกพเนจรเผ่าต่าง ๆ

ต่อมาเมื่อราวศตวรรษที่ 20 ก่อน คริสตกาล ชนชาติกันอาน ( ชนชาติกันอานเป็นชนชาติอาหรับซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์ และชาวกันอานนี้เป็นชน ส่วนใหญ่จากบรรดาชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ) เริ่มอพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในที่ราบชายฝั่งทะเล ชนชาตินี้ได้สร้างบ้านสร้างเมืองและมีวัฒนธรรมของตนเองโดยเฉพาะดินแดนแห่งนี้ จึงเรียกชื่อในไบเบิลว่า “แผ่นดินกันอาน”

ก่อนอื่น จะต้องชี้แจงให้ทราบไว้ก่อนว่า ชนชาติอิสราเอลไม่ใช่เป็นเจ้าของท้องถิ่นเดิม หากแต่เป็นผู้บุกรุกมาจากอียิปต์ เข้ายึดครองเมื่อศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล เมื่อชาวอิสราเอลเข้ามานั้น ก็ปรากฏว่ามีผู้คนอาศัยอยู่แต่เดิม มีวัฒนธรรมเป็นพิเศษโดยเฉพาะของตนอยู่แล้ว ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่เดิมนี้มีด้วยกันหลายชาติ เช่น ชาวกันอาน ชาวกิบบิโอน และชาวฟิลิสตีน สำหรับชนชาติฟิลิสตีนนั้น อิสราเอลไม่สามารถจะปราบลงได้ เพราะปรากฏว่าชนชาตินี้ยังคงยึดครองดินแดนส่วนหนึ่ง ณ ชาย ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเรื่อยมา เมื่ออิสราเอลได้รับชัยชนะเหนือชาติอื่น ๆ นอกจากฟิลิสตีนดังกล่าวแล้ว ก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นราชอาณาจักรอิสราเอล ราชอาณาจักรนี้ต่อมาได้แยกออกเป็นสองส่วน ทางเหนือเรียกว่าอาณาจักรอิสราเอล ส่วนทางใต้เรียกว่าอาณาจักรยูดาย ระหว่างปี 733 ถึง 721 ก่อน คริสตกาล ชนชาติซีเรีย (อสูร) ได้ยกเข้ามาย่ำยีอาณาจักรอิสราเอลจนสิ้นความเป็นชาติเอกราชนับแต่นั้นมา โดยไม่สามารถเรียกคืนได้อีก ( Palestine and Transjorrdan Geographical Handbook Series, หน้า 87 )

ถัดจากอาสิเรีย ก็มีชนชาติบาบิโลนและเปอร์เซีย รุกรานเข้ามาครอบครองติดต่อกันมาตามลำดับ ชนชาติเปอร์ เซียได้อนุญาตให้เชลยศึกอิสราเอลที่บาบิโลนกวาดต้อนไปนั้น ได้กลับเข้ามาสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นใหม่ ถัดจากนั้นชนชาติกรีกและโรมันก็ได้ผลัดกันเข้าครอบครองต่อไป

เมื่อคริสตศักราชที่ 70 ชาวยิวกลุ่มหนึ่งได้ลุกฮือขึ้นเป็นขบถต่อผู้ปกครอง (โรมัน) จักรพรรดิโรมันชื่อตีตุสจึงได้ทำลายเยรูซาเล็มเสีย ส่วนพวกขบถที่ลุกฮือขึ้นใน ค.ศ. 132 นั้น จักรพรรดิโรมันเฮเลี่ยนเป็นผู้ปราบปรามจนราบคาบ ในอาณาจักรยูดาย ชาวยิวแทบจะถูกโค่นล้างจนไม่เหลือหลอ นอกจากแถบทะเลสาปกะลีลีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ( Cncyclopedia Britannica 1966 เล่ม 170 หน้า 166 ) ต่อมาในศตวรรษที่ 4 ถึง 7 แห่ง คริสตกาล ปาเลสไตน์ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของชนคริสต์ จักรพรรดิโรมันชื่อคอนสตันตีน ผู้เข้ารีตคริสต์ ได้ทรงสร้างมหาวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นแห่งหนึ่ง พระมารดาของจักรพรรดิ์องค์นี้ชื่อเฮเลน่า เป็นผู้สร้างวิหารขึ้นเพิ่มเติมอีกสองวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ดินแดนปาเลสไตน์ ก็เริ่มเป็นถิ่นดึงดูดชาวคริสต์ทั่วโลกให้หลั่งไหลเข้ามาจาริกบุญ จนกลายเป็นศูนย์กลางระบบสงฆ์และนักบวชผู้สละโลกของชาวคริสต์ในเวลาต่อมา ชาวคริสต์จากแหล่งต่าง ๆ ได้เดินทางมาเพื่อใช้ชีวิตสันโดษแบบฤๅษีอยู่ในเยรูซาเล็มเป็นการแสวงบุญ จำนวนโบสถ์วิหารก็เริ่มขยายจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ

นับแต่ปี ค.ศ. 637 เป็นต้นมา ดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ในการครอบครองของอาหรับ และจากนั้นมาประชากรซึ่งแต่เดิมเคยเป็นคริสต์ศาสนิกชนเป็นส่วนใหญ่ก็ค่อย ๆ หันมาเลื่อมใสศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น จนในที่สุดประชากรแห่งดินแดนนี้ซึ่งเคยเป็นคริสตศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็กลายเป็นมุสลิมเกือบทั้งหมด ส่วนผู้ที่ยังคงถือคริสต์ศาสนาอยู่ก็ยังคงเป็นพลเมืองอยู่ต่อไปได้โดยเสรี

ต่อมาชาติคริสเตียนได้ใช้ความพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อกอบกู้ดินแดนนี้ ซึ่งตกเป็นของอาหรับให้กลับมาเป็นของชาวคริสต์ ซึ่งตนถือว่าเป็นพรรคพวกเดียวกับตน ด้วยการทำสง--ครามครูเสด ( ครูเสด แปลว่า “ชาวไม้กางเขน” เป็นคำขวัญและฉายาของการรบเพื่อกู้ดินแดนให้กลับเป็นของชาวคริสต์/-ผู้แปล ) ใน ค.ศ.1100 แต่เมื่อศอลาฮุดดีน ( ตำราฝรั่งเรียกเป็น SALADIN ) นักรบอาหรับได้มีชัยต่อกองทัพครูเสด โดยชิงดินแดนปาเลสไตน์มาเป็นของชนชาติอาหรับได้ใน ค.ศ.1187 ประชากรปาเลสไตน์ที่ยังคงนับถือคริสต์ก็คงเป็นพลเมืองเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชากรมุสลิมแห่งปาเลสไตน์เรื่อยมา

ใน ค.ศ.1518 ชนชาติตุรกีได้ยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ได้จนถึง ค.ศ. 1917 แต่การยึดครองนี้มิใช่เป็นการแผ่อำนาจทางศาสนจักร และมิได้ทำให้ส่วนสัดของประชากรผู้นับถือศาสนาต่างๆ แห่งดินแดนนี้ต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด แม้แต่เชื้อชาติของพลเมืองก็ยังคงเป็นชนชาติอาหรับตามเดิม รวมทั้งภาษา ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมด้วย

ประวัติศาสตร์อันแปดเปื้อนไปด้วยคาวเลือดแห่งการสู้รบและรุกราน ซึ่งดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์นี้ปรากฏขึ้นตามสมัยของการเปลี่ยนแปลงผู้ยึดครอง มีอันดับตามที่บาดหลวงชาร์ลส์ บริดจ์ แมน ( สารของ R.V. Charle T. Rridgeman ถึงประธานสภาทรัสตี 13.1.1950 เอกสารสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 5, ผนวก 9, หมายเลข A/1286 หน้า 15 ) ได้เรียบเรียงไว้ดังนี้

* ผู้ครองดินแดน / เหตุการณ์ / ระยะเวลายึดครอง Smiles

- ชนชาติอิสราเอล / จากการสถาปนาอาณาจักรเดวิด 1050 ก่อน ค.ศ. จนถึงการเสียกรุงเยรูซาเล็ม 586 ก่อน ค.ศ. / 464 ปี

- ชาวบาบิโลน / จากการเสียกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อปี 586 ก่อน ค.ศ. ถึงการพินาศแห่งอาณาจักรบาบิโลน ปี 538 ก่อน ค.ศ / 50 ปี.

- เปอร์เซีย / จากจักรพรรดิไซรัสถึงการพิชิตของชาวมาสิโดเนีย (กรีก) 538-332 ก่อน ค.ศ. / 206 ปี

- กรีก / จากอะเล็กซานเดอร์มหาราช ถึงขบถกู้ชาติ โดยพวกมะดะบี 332-166 ก่อน ค.ศ. / 166 ปี

- ยิว / อาณาจักรมะดะบี 166-63 ก่อน ค.ศ. / 93 ปี

- โรมัน / 63 ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 323 / 386 ปี

- โรมัน (คริสต์) / จากจักรพรรดิคอนสแตนติน ถึงสมัยเปอร์เซีย ค.ศ. 323-614 / 291 ปี

- เปอร์เซีย / ค.ศ. 614-628 / 14 ปี

- โรมัน (คริสต์ ) / ค.ศ. 628-637 / 11 ปี

- อาหรับ / ค.ศ. 637-1072 / 435 ปี

- คริสต์ / อาณาจักรครูเสด ค.ศ.1072 - 1092 / 20 ปี

- อาหรับ / ค.ศ.1092-1099 / 7 ปี

- คริสต์ / ค.ศ.1099-1187 / 88 ปี

- อาหรับ / ค.ศ.1187-122 / 42 ปี

- คริสต์ / ค.ศ.1229-1239 โดยเฟร็ดเดริดที่ 2 / 10 ปี

- อาหรับ / ค.ศ.1239-1514 / 278 ปี

- ตุรกี (มุสลิม) / อาณาจักรอุธมานียะฮฺ (OTTOMAN) ค.ศ.1514-1917 / 403 ปี

- คริสต์ / โดยชนชาติอังกฤษ ค.ศ.1917-1947 / 30 ปี

- อิสราเอล -อาหรับ / ค.ศ.1947 - ?? / -

การผลัดกันเข้าครองดินแดนอันแสนจะสับสนนี้ ไม่มีผลทำให้ชนพื้นเมืองเดิมต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ทั้งนี้โดยไม่นับชนชาติอิสราเอลที่เป็นผู้รุกราน เข้ามาระยะหนึ่ง แล้วในที่สุดก็ถูกเนรเทศหรือพิฆาตลง จนกระทั่งราวกลางศต--วรรษที่ 20 นี้เอง

ได้มีการสร้างความเข้าใจผิดขึ้นอย่างจงใจที่สุดว่าชนชาติอาหรับในปาเลส ไตน์เป็นผู้บุกรุกเข้ามาในสมัยที่อาณา จักรมุสลิมแผ่อำนาจเมื่อศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นการขัดกับประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง ชนชาติอาหรับในปาเลสไตน์เป็นชาวพื้นเมืองมาช้านานอยู่ก่อนแล้ว มิใช่เพราะการที่ชนชาติอาหรับ (มุสลิม) ได้ยึดดินแดนได้เมื่อ ค.ศ. 637 ชนชาติอาหรับมีมาก่อนการประกาศศาสนาอิสลามเป็นเวลาหลายศตวรรษ ได้ตั้งรกรากอยู่ในปาเลสไตน์และในภาคพื้นตะวันออกกลางอยู่ก่อน เมื่อมุสลิมอาหรับได้พิชิตปาเลสไตน์แล้ว การรุกรานโดยชนต่างชาติก็มีไม่มาก เพราะผู้เข้าครองก็กลายเป็นชนพื้นเมืองไปเป็นส่วนใหญ่ โดยการอยู่ร่วมกันฉันท์ชาติเดียว

ข้อมูลจาก หนังสือ " ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์ " สำนักพิมพ์ สายสัมพันธ์

http://www.azizstan.ac.th/th/index.php?Itemid=127&catid=113:2009-02-04-11-45-58&id=684:2009-02-05-13-44-48&option=com_content&view=article

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Aug 13, 2009 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
ปาเลสไตน์ดินแดนศักสิทธิ์

"ปาเลสไตน์" ตั้งมาจากชื่อเมืองที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของดินแดนที่เรียกว่า อัช-ชาม (เป็นดินแดนที่รวมเอาซีเรีย จอร์แดน เลบานอน และปาเลสไตน์) เนื้อที่ของปาเลสไตน์ตามที่ปรากฏในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 27,009 ตารางกิโลเมตร

ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเซียกับทวีปอัฟริกา พรมแดนทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ติดต่อกับเลบานอน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับซีเรีย ทางด้านตะวันออกติดกับจอร์แดนและทางตอนใต้ติดต่อกับอิยิปต์

ปาเลสไตน์ในมุมมองอิสลาม

· ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่มีความจำเริญและศักดิ์สิทธิ์

· เป็นสถานที่ซึ่งประกอบไปด้วยมัสยิดอัลอักซอกิบลัตแห่งแรกในการละหมาดของชาวมุสลิม

· เป็นมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นอันดับสามของอิสลาม

· ปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนแห่งการอิสรออฺ(การเดินทางในเวลากลางคืน) และมิอฺร็อจญฺ(การขึ้นไปสู่ฟ้าเบื้องบน)

· เป็นดินแดนของศาสดาทั้งหลาย ศาสดาหลายท่านที่ถูกระบุอยู่ในอัลกุรอานอันสูงส่งได้เจริญเติบโตอยู่ทีนี่และศพของพวกเขาก็ถูกฝังอยู่ในดินแดนแห่งนี้

· ปาเลสไตน์เป็นจุดศูนย์รวมของกลุ่มชนที่ได้รับชัยชนะ(ฏออิฟะฮฺ มันศูเราะฮฺ) ที่ถูกสัญญาไว้ ซึ่งยืนหยัดในสัจธรรมจนกระทั่งถึงวันสิ้นโลก.

คานาอาน: เผ่าพันธ์ชาวปาเลสไตน์

กลุ่มชนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดซึ่งอาศัยอยู่ในปาเลสไตน์และได้จารึกร่องรอยของพวกเขาไว้ในแผ่นดินนี้คือ พวก " คานาอาน" ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่มาจากคาบสมุทรอาหรับราว 4,500 ปี ดั้งนั้นปาเลสไตน์จึงเป็นที่รู้จักในตอนต้นว่าเป็น "ดินแดนแห่งคานาอาน" ชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบันคือทายาทของชาวคานาอาน

ถึงแม้ว่าปาเลสไตน์จะถูกปกครองโดยชนหลายกลุ่มครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตามแต่ชนพื้นเมืองยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย พวกเขาจำนวนมากได้เข้ารับอิสลามและได้รับเอาภาษาอาหรับมาเป็นภาษาของพวกเขาพร้อมกับการมาถึงของอิสลาม ดังนั้นเอกลักษณ์แห่งอิสลามของชาวปาเลสไตน์จึงได้ถูกสถาปนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานติดต่อกันในช่วงแห่งประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่การพิชิตของอิสลามในปีที่ 636 แห่งคริสต์ศักราช จวบจนปัจจุบัน


การอ้างสิทธิของชาวยิว

แม้ชาวยิวจะเข้าปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์เป็นเวลานานถึง 4 ศตวรรษ(1000-586 ก่อนคริสต์กาล)โดยประมาณแต่พวกเขาก็ไม่ได้ ปกครองดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์ ต่อมาอำนาจการปกครองของชาวยิวค่อยๆสิ้นสุดลงอันเนื่องจากการเข้ามามีอำนาจของพวกแอสซีเรียน เปอร์เซีย กรีกและโรมัน ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ยังคงตั้งรกรากอยู่ในแผ่นดินของตนเอง 90 ปี ที่ว่างเว้นจากสงครามครูเสดอิสลามได้ปกครองดินแดนแห่งนี้เป็นเวลานานถึง1,200ปี(ปีค.ศ.636-1917) ถือได้ว่าเป็นช่วงของการปกครองที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งปาเลสไตน์ ในภาคปฏิบัติความสัมพันธ์ระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ได้สิ้นสุดลงราว1,800ปีคือตั้งแต่ปีที่135แห่งคริสต์ศักราชจนถึงศตวรรษที่20 ในช่วงเวลาดังกล่าวพวกยิวไม่มีอำนาจทั้งทางด้านการเป็นผู้นำ,ด้านการเมืองหรือแม้แต่อารยธรรมให้เห็นในปาเลสไตน์ แม้แต่ในคำสอนศาสนาก็ห้ามมิให้คนยิวกลับไปยังแผ่นดินปาเลสไตน์ไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น

ลูกหลานของอิสราเอล(บนี อิสรออีล)ส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับศาสดามูซา(โมเซส)ในการอพยพไปสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ในทำนองเดียวกันชาวยิวส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะกลับจากบาบิโลนไปยังปาเลสไตน์หลังข้อเสนอของจักรพรรดิ์ไซรัสแห่งเปอร์เซียเสนอที่จะรักษาคนเหล่านี้เอาไว้ ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ทั้งหมดจวบจนปัจจุบันจำนวนของประชากรยิวในปาเลสไตน์ไม่เคยมีมากไปกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรยิวในช่วงที่ดีที่สุดของพวกเขา

ข้อมูลหลักฐานจากการค้นคว้าวิจัยของบรรดานักวิชาการยิว(อย่างเช่นนักวิชาการผู้เรืองนามนายอาเธอร์ คอสต์เลอร์)พบว่าชาวยิวยุคปัจจุบันกว่าร้อยละ 80 ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์กับปาเลสไตน์แต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่ได้มีการสืบทอดทางสายโลหิตหรือความผูกพันในความรักที่มีต่อบรรดาลูกหลานของอิสราเอล ที่จริงแล้วชาวยิวส่วนใหญ่ในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากพวกคาซาร์ (Khazars)หรือที่เรียกกันว่าพวกอัชเคนัซ(Ashkenaz) ซึ่งเป็นชนเผ่าตาตาร์เตอร์กิค (Tatar-Turkic) เก่าแก่โบราณที่อาศัยอยู่แถบตอนเหนือของคอเคซัสและได้เข้ารับศาสนายูดายในช่วงปีที่ 8 แห่งคริสต์ศักราช ดังนั้นสมมุติว่าถ้าหากชาวยิวมีสิทธิ์ที่จะกลับไปสู่บ้านเกิดของตนเองก็คงไม่ใช่ปาเลสไตน์แต่ต้องเป็นรัสเซียตอนใต้อย่างแน่นอน

การอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ของชาวยิวในปาเลสไตน์ได้จืดจางไปต่อหน้าสิทธิของชาวอาหรับที่มีต่อแผ่นดินของพวกเขา บรรดาลูกหลานชาวปาเลสไตน์ได้ตั้งรกรากและสร้างเมืองมามากว่า1,5oo ปีก่อนที่ชาวยิวจะสถาปนารัฐของพวกเขาขึ้นมา พวกเขายังคงอาศัยอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพวกเขาถูกบังคับขับไล่โดยยิวไซออนิสต์ในปี ค.ศ.1948.

จากงานเขียนของ
ดร.มุหเซ็น มูฮัมมัดศอและหฺ
อ. ฮารูน หะยีหมะ แปล
http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=54&id=421



palestine_map.jpg
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  76.99 กิโลไบต์
 เข้าชม:  8046 ครั้ง

palestine_map.jpg



_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
youngman
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2009
ตอบ: 41


ตอบตอบ: Mon Aug 17, 2009 12:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Confused
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
youngman
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2009
ตอบ: 41


ตอบตอบ: Mon Aug 17, 2009 12:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

wassalam ... เป็นคำตอบที่ดีคับ ทำให้ผมรู้อดีตของที่แห่งนี้มากทีเดียว แต่ช่วยตอบอีกทีได้มั้ยคับว่าทำไมสงครามถึงยังไม่ยุติ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
youngman
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2009
ตอบ: 41


ตอบตอบ: Mon Aug 17, 2009 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

... ไม่ต้องตอบแล้วละคับ ผมพอเดาคำตอบได้แล้ว ซึ่งผมก็ลืมไปซะสนิทว่าเหตุการณ์เหล่า
นี้จะยุติได้เมื่อวันนั้นมาถึง wassalam

________________________________________________-
ขอพระองค์ทรงตอบแทน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ