ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ไม่มีหลักฐานทีถูกต้องเรื่องซะกาตสินค้าจริงหรือครับ????
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ไม่มีหลักฐานทีถูกต้องเรื่องซะกาตสินค้าจริงหรือครับ????

 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-faruk
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 23/04/2009
ตอบ: 11


ตอบตอบ: Thu Jun 25, 2009 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ไม่มีหลักฐานทีถูกต้องเรื่องซะกาตสินค้าจริงหรือครับ???? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ผมได้อ่านคำตอบของอ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย ยอดนักวิชาการของเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง ท่านฟัตวาว่าไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องเรื่องให้จ่ายซะกาตสินค้า...ดังที่เราทำกันโครมๆ อ.อะสันว่าอย่างไรครับ อยากฟังทัศนะที่แตกต่าง

ข้อมูลมีดังนี้


เรื่องซะกาตสินค้า.
คำถาม ที่บ้านเปิดเป็นร้านขายของ, เมื่อครบรอบปีก็จะประเมินราคาของสินค้าทั้งหมดภายในร้าน หากครบจำนวนที่จะต้องจ่ายซะกาต ก็จะจ่ายไปร้อยละ 2.5, ..... อยากทราบว่า หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีว่าอย่างไร ? ...
ผู้ถาม : นักศึกษาจากศูนย์ สถานี 2 หาดใหญ่
ตอบ
คำว่า “ซะกาตสินค้า” ตามที่มีการปฏิบัติกันมา ก็เป็นเหมือนดังคำถามข้างต้น ... คือ เมื่อครบรอบปี ก็ทำการประเมินราคาสินค้าในร้านทั้งหมด แล้วนำราคาที่ประเมินได้มารวมกับเงินสดสุทธิที่เหลืออยู่ จากนั้นก็จะจ่ายซะกาตในอัตราร้อยละ 2.5 บาท
ผมตอบคำถามข้อนี้มิได้มีเป้าหมายที่จะชี้ขาดว่า สินค้าในลักษณะดังกล่าว “วาญิบ” ต้องจ่ายซะกาตตามทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่หรือไม่ ? .. แต่จะเขียนชี้แจงและ “วิเคราะห์หลักฐาน” ตามที่ผู้ถามได้ถามมาว่า หลักฐานเกี่ยวกับซะกาตสินค้า มีสถานภาพเป็นอย่างไร ? ... เป็นหลักฐานถูกต้องหรือไม่ ? .. เท่านั้น จึงขอให้ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจตามนี้ด้วย ...
และก็ขอเรียนให้ทราบเสียก่อนว่า หลักฐานที่ว่าวาญิบจะต้องจ่ายซะกาตสินค้าซึ่งได้นำมาวิเคราะห์นั้น ผมคัดมาจากหนังสือ “ฟิกฮุซ ซุนนะฮ์” ของท่านซัยยิด ซาบิก เล่มที่ 1 หน้า 291-292 ดังต่อไปนี้ ...
หลักฐานที่ 1.
มีรายงานข้อความของหะดีษมาอย่างนี้ ...
عَنْ سَمُرَةَ بْنِ جُنْدُبٍ قَالَ : اَمَّا بَعْدَ، فَإِنَّ رَسُوْلَ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَأْمُرُنَا اَنْ نُخْرِجَ الصَّدَقَـةَ مِنَ الَّذِيْ نُعِدُّ لِلْبَيْعِ .....
จากท่านสะมุเราะฮ์ บิน ญุนดุบ ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 58 ที่เมืองบัศเราะฮ์) ได้กล่าวว่า .... “อนึ่ง, หลังจากนั้น .. แท้จริง ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งพวกเราให้บริจาคซะกาตจากสิ่งที่เราได้เตรียมไว้เพื่อการค้าขาย” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 1562, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 146-147) ...
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษบทนี้ เป็นอย่างนี้ ...
1. มุหัมมัด บิน ดาวูด
2. ยะห์ยา บิน หัสซาน
3. สุลัยมาน บิน มูซา
4. ญะอฺฟัรฺ บิน สะอฺด์ (สะอัด)
5. คุบัยบ์ บิน สุลัยมาน
6. สุลัยมาน บิน สะมุเราะฮ์ (บิดาของคุบัยบ์)
7. สะมุเราะฮ์ บิน ญุนดุบ ร.ฎ.
8. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
สถานภาพของหะดีษบทนี้
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อนมาก ทั้งนี้ เพราะผู้รายงานหมายเลข 4, 5, และ 6 ล้วนเป็นบุคคลมัจญฮูล ... คือ ไม่มีใครทราบประวัติหรือไม่เป็นที่รู้จัก ...
(โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุ หัสม์ เล่มที่ 5 หน้า 234, และหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” ของท่านอัล-อัลบานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 311) ....
ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานข้างต้นนี้ว่า ...
(( هَـذَا إسْـنَادٌ مُظْلِمٌ ! لاَ يَنْهَضُ بِحُكْمٍ ))
“สายรายงานนี้ มืดสนิท ! (หมายถึงอ่อนมาก) ไม่สามารถสร้างพลังให้แก่หุก่มใดๆได้” ...
(โปรดดูหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 1 หน้า 408)
เพราะฉะนั้น หะดีษบทนี้จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตสินค้าไม่ได้
หลักฐานที่ 2.
มีการอ้างรายงานมาว่า ...
عَنْ اَبِيْ ذَرٍّ الْغِفَارِيِّ، اَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : فِي اْلإبِلِ صَدَقَتُها، وَفِي الْغَنَمِ صَدَقَتُهَا، وَفِي الْبَقَرِ صَدَقَتُهَا، وَفِي الْبَزِّ صَدَقَتُهَا ......
ท่านอบู ซัรรฺ อัล-คิฟารีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า .... “ในอูฐ ต้องมีการบริจาค, ในแพะหรือแกะ ต้องมีการบริจาค, ในโคกระบือ ต้องมีการบริจาค, และในอาภรณ์เสื้อผ้า ต้องมีการบริจาค”
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 101, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147) ...
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษบทนี้ เป็นอย่างนี้
1. ดะลัจญ บิน อะห์มัด
2. ฮิชาม บิน อะลีย์
3. อับดุลลอฮ์ บิน รอญาอ์
4. สะอีด บิน สะลิมะฮ์
5. มูซา บิน อุบัยดะฮ์
6. อิมรอน บิน อบีย์อนัส
7. มาลิก บิน เอาซ์
8. อบูซัรรฺ อัล-คิฟารีย์
9. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
สถานภาพของหะดีษบทนี้
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเฎาะอีฟเหมือนหะดีษบทก่อนที่ผ่านมา เพราะมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ ...
(1). ในกระแสรายงานข้างต้น ... บุคคลที่ 5 คือ “มูซา บิน อุบัยดะฮ์” ถูกวิจารณ์ว่า เฎาะอีฟ จากนักวิชาการจำนวนมาก ...
(โปรดดูหนังสือ “อัล-กาชิฟ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ เล่มที่ 3 หน้า 164, และหนังสือ “อัต-ตักรีบ” ของท่านอัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 2 หน้า 286) ...
ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล กล่าวว่า ...
لاَ يَحِلُّ عِنْدِيْ الرِّوَايَـةُ عَنْـهُ
“ในทัศนะของฉัน ไม่อนุญาตให้รายงาน(หะดีษ)จากบุคคลผู้นี้” ...
(โปรดดูหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า101 จากคำอธิบายด้านล่าง)
(2). ข้อความของหะดีษ สับสน, .. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อความที่เป็นหลักฐานเรื่องซะกาตสินค้า ...
ในบันทึกของหะดีษข้างต้น มีข้อความว่า وَفِي الْبَزِّ صَدَقَتُهَا ซึ่งแปลว่า “ในอาภรณ์เสื้อผ้า (หมายถึงอาภรณ์เสื้อผ้าที่จะใช้เป็นสินค้า) ต้องมีการบริจาค” ซึ่งนักวิชาการบางท่านตีความว่า บริจาคซะกาต ...
แต่ในบางกระแสของหะดีษนี้ซึ่งถูกบันทึกโดย ท่านอัล-หากิม ในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่มที่ 1 หน้า 545 กลับปรากฏข้อความว่า وَفِي الْبُرِّ صَدَقَـتُهَا ซึ่งแปลว่า ... “และในข้าวสาลีนั้น ต้องมีการบริจาค” ...
ทว่า ..ใน “สายรายงาน” ของท่านอัล-หากิมก็ยังมีข้อผิดพลาด คือไม่มีการระบุชื่อของผู้รายงานหมายเลข 5 (ท่านมูซา บิน อุบัยดะฮ์ อันเป็นจุดบกพร่องของหะดีษบทนี้ดังกล่าวแล้ว)ไว้ด้วย คงระบุเพียงผู้รายงานหมายเลข 4 (ท่านสะอีด บิน สะลิมะฮ์) และผู้รายงานหมายเลข 6 (ท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส) เท่านั้น ...
ความสับสนของข้อความหะดีษระหว่างคำว่า اَلْبَزِّ (เสื้อผ้าอาภรณ์) กับคำว่า اَلْبُرِّ (ข้าวสาลี) ถ้าไม่เพราะเกิดจากความผิดพลาดจากการเรียงพิมพ์ ระหว่างพยัญชนะ ز จากคำว่า البز, และพยัญชนะ ر จากคำว่า البر แล้ว ก็ต้องเกิดจากความบกพร่องด้านความทรงจำของผู้รายงานบางท่าน, .. ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้หะดีษบทนี้มีความบกพร่อง จนนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตในสินค้าไม่ได้ ...
อีกกระแสหนึ่งของหะดีษบทที่ 2 นี้ มีสายรายงานตั้งแต่ผู้บันทึกมาจนถึง ....
(5). ท่านมุหัมมัด บิน บักรฺ
(6). ท่านอิบนุ ญุร็อยจ์ญ
(7). ท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส
..... แล้วสืบสายรายงานต่อไปจนถึงท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...
สายรายงานและข้อความของกระแสนี้ ก็เหมือนกับกระแสแรก, .. คือสายรายงานบกพร่อง และข้อความ สับสน ! ...
สายรายงานบกพร่อง ก็เพราะท่านอิบนุ ญุร็อยจ์ญ ( ผู้รายงานลำดับที่ 6) เป็นผู้รายงานประเภท َتدْلِيْسٌ หรือ “มั่วนิ่ม” ... และไม่ปรากฏว่า ท่านเคยได้รับฟังหะดีษใดๆจากท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส ( ผู้รายงานลำดับที่ 7) ดังที่อ้างเอาไว้ในสายรายงานนั้น
ท่านอบู ฏ็อยยิบ อาบาดีย์ ได้ทำฟุตโน้ตไว้ด้านล่างหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” แล้วท่านได้อ้างคำพูดของท่านอัต-ติรฺมีซีย์จากหนังสือ “อัล-อิลัล” ว่า ...
(( سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ إسْمَاعِيْلَ عَنْ هَـذَاالْحَدِيْثِ، فَقَالَ : إبْنُ جُرَيْجٍ لَمْ يَسْمَعْ مِنْ عِمْرَانَ بْنِ اَبِيْ اَنَسٍ.... ))
“ฉันได้ถามท่านมุหัมมัด บิน อิสมาอีล ( หมายถึงท่านบุคอรีย์ ) เกี่ยวกับหะดีษนี้, ท่านตอบว่า ... อิบนุ ญุร็อยจ์ญ ไม่เคยได้รับฟังหะดีษใดจากท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัสเลย” ........
(โปรดดูฟุตโน้ตของท่านอาบาดีย์ในหนังสือ “สุนันอัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 101) ...
ส่วนข้อความสับสน ก็เพราะท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ และท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้รายงานหะดีษนี้ด้วยสำนวนว่า وَفِي اْلبَزِّ صَدَقَـتُهَا ด้วยพยัญชนะ ز ใน البز ซึ่งแปลว่า ... “ในอาภรณ์เสื้อผ้า ต้องมีการบริจาค” ....
(โปรดดูหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 102, และหนังสือ “อัส สุนัน อัล-กุบรออ์” ของท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147 ) ...
แต่ท่านอะห์มัดและท่านอัล-หากิม ได้รายงานหะดีษนี้จากสายรายงานเดียวกันกับสายรายงานของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์และท่านอัล-บัยฮะกีย์ข้างต้น ด้วยสำนวนว่า ...... وَفِي اْلبُرِّ صَدَقَتُـهَا ... ด้วยพยัญชนะ ر ใน البر ซึ่งแปลว่า ... “ในข้าวสาลี ต้องมีการบริจาค” ...
(โปรดดูหนังสือ “อัล-มุสนัด” ของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 179, และหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” ของท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 545) .....
สรุปแล้ว หะดีษบทที่ 2 นี้ -- จากทั้งสองกระแสรายงาน -- จึงเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และไม่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ตามหลักวิชาการหะดีษ ...
หลักฐานที่ 3.
มีรายงานมาดังนี้ ...
ท่านหิมาซ ได้กล่าวว่า ...
(( كُنْتُ أَبِيْعُ اْلاُدُمَ وَالْجِعَابَ، فَمَرَّبِيْ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ فَقَالَ لِيْ : أَدِّصَدَقَـةَ مَالِكَ ! فَقُلْتُ : يَا أمِيْرَالْمُوءْمِنِيْنَ ! إنَّمَا هُوَفِي اْلاُدُمِ، قَالَ : قَوِّمْـهُ ! ثُمَّ اَخْرِجْ صَدَقَتَـهُ ... “ฉันเคยขายหนังสัตว์และกระบอกใส่ลูกศร, ต่อมาท่านอุมัรฺ อิบนุค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้ผ่านมา แล้วกล่าวแก่ฉันว่า .. จงจ่ายซะกาตทรัพย์สินของท่านซิ ! .. ฉันจึงบอกว่า .. โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน ! มันเป็นเพียงแค่หนังสัตว์หรอกนะ, ..ท่านก็กล่าวว่า ... “ท่านจงประเมินราคามัน แล้วจงจ่ายซะกาตมัน” ...
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 125, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 2 หน้า 39, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147, และท่านอิบนุหัสม์ ในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 5 หน้า 234, ... ซึ่งสำนวนในที่นี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์) ...
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษบทนี้ เป็นดังนี้ ...
1. ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์, ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, เป็นต้น ...
2. ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์
3. ยะห์ยา บิน สะอีด
4. อับดุลลอฮ์ บิน อบีย์สะลิมะฮ์
5. อบูอัมร์ บิน หิมาซ
6. หิมาซ
7. อุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ ร.ฎ.
สถานภาพของหะดีษบทนี้
เป็นหะดีษเฎาะอีฟ, เพราะผู้รายงานลำดับที่ 5 และที่ 6 คือ ท่านอบูอัมร์ บิน หิมาซ, และผู้เป็นบิดา คือ ท่านหิมาซ เป็นบุคคล มัจญฮูล ... ดังการวิจารณ์ของท่าน อัษ-ษะฮะบีย์และท่านอบูหาติม อัล-มิรฺวะซีย์ในบุคคลที่ 5, .... และการวิจารณ์ของท่านอิบนุหัสม์ ทั้งบุคคลที่ 5 และที่ 6 ...
(โปรดดูหนังสือ “มีซานอัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 4 หน้า 557 หรือลำดับบุคคลที่ 10465, และหนังสือ “อัล-กาชิฟ” เล่มที่ 3 หน้า 319, ฟุตโน้ตหมายเลข 1) ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าววิจารณ์ท่าน อบูอัมร์ บินหิมาซ ในหนังสือ “อัต-ตักรีบ” เล่มที่ 2 หน้า 454 (ลำดับเลขที่ 171) ว่า مَقْبُوْلٌ คือ ยอมรับ(ได้ในกรณีถ้ามีผู้อื่นรายงานมาให้สอดคล้องกัน), แต่ถ้าไม่มีผู้ใดรายงานมาให้สอดคล้องกัน ให้ถือว่า เขาเป็นผู้รายงานหะดีษที่เฎาะอีฟ ...
และก็ไม่ปรากฏว่า จะมีผู้รายงานท่านใดที่รายงานหะดีษนี้มาให้สอดคล้องหรือตรงกับการรายงานของท่านอบูอัมร์ แม้แต่คนเดียว ...
ดังนั้น หะดีษบทนี้จึงถือว่า เป็นหะดีษเฎาะอีฟ ! ... จะนำมาอ้างเป็นหลักฐานในเรื่องวาญิบให้ประเมินราคาสินค้า แล้วจ่ายซะกาตไม่ได้ ...
สรุปแล้ว หะดีษทั้ง 3 บทที่ท่านเช็คซัยยิดซาบิกได้อ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบต้องจ่ายซะกาตสินค้า ในหนังสือ “ฟิกฮุส ซุนนะฮ์” ล้วนแต่เป็นหะดีษเฎาะอีฟทั้งสิ้น ... ดังการวิเคราะห์ที่ผ่านมานั้น ....
ส่วนหลักฐานที่เป็นการรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนบางท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้จะเป็นสายรายงานที่ถูกต้อง แต่ก็มิอาจจะอ้างมาเป็นหลักฐานเรื่องซะกาตสินค้า ตามรูปแบบที่มีการปฏิบัติกันในปัจจุบัน ดังคำถามข้างต้นได้ ... ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้ ...
(1). ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
(( لَيْسَ فِي الْعُرُوْضِ زَكَاةٌ، إلاَّ اَنْ يُّرَادَ بِـهِ التِّجَارَةُ ))
“ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆที่จำเป็นจะต้องจ่ายซะกาต เว้นแต่สิ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า” ...
(บันทึกโดย ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 2 หน้า 39, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147) ...
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษนี้ เป็นดังนี้.
1. อิหม่ามชาฟิอีย์, อัล-บัยฮะกีย์
2. หัฟศ์ บิน ฆิยาส
3. อุบัยดิลลาฮ์ บิน อุมัรฺ
4. นาเฟียะอฺ
5. อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.
สายรายงานนี้ เป็นสายรายงานที่ถูกต้อง ! ดังนั้น รายงานนี้จึงถือว่า เป็นรายงานที่ صَحِيْحٌ (ถูกต้อง) ...
จะอย่างไรก็ตาม รายงานนี้ ก็ไม่อาจจะนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตสินค้าโดยการประเมินราคาแล้วจ่ายซะกาต ดังที่มีการปฏิบัติกันอยู่ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ ...
ก. รายงานนี้ เป็นเพียงทัศนะของเศาะหาบะฮ์ท่านหนึ่ง คือท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ซึ่งเรียกกันว่า“หะดีษ เมากูฟ”,.. มิใช่เป็นคำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานชี้ขาดตามหลักวิชาการ ...
ข. ทัศนะดังกล่าวยังมีข้อขัดแย้ง เพราะท่านอิบนุหัสม์ ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 5 หน้า 236- 237 ถึงรายนามและรายงานของเศาะหาบะฮ์บางท่าน ที่มีทัศนะขัดแย้งกับท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในเรื่องนี้ อาทิเช่น ท่านเคาะลีฟะฮ์ อับดุลลอฮ์ บิน อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 73) ท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 68), ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 57), ท่านอับดุรฺเราะห์มาน บิน นาเฟียะอฺ ร.ฎ. (ไม่ทราบปีที่สิ้นชีวิต) เป็นต้น ...
ส่วนตาบิอีนที่มีทัศนะขัดแย้งกับท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ก็มีอาทิเช่น ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัรฺบิน อับดุลอะซีซ(สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 101), ท่านอะฎออ์ บิน อบีย์รอบาห์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 114), ท่านอัมร์ บิน ดีนารฺ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 126) เป็นต้น ...
ค. คำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ที่กล่าวว่า .. วาญิบซะกาตในสินค้า .. ก็ยังไม่มีรายละเอียดใดๆเลยว่า จะต้องจ่ายซะกาตสินค้าเมื่อไร ? .. จ่ายเป็นตัวสินค้าหรือให้ประเมินราคา ? .. อัตรานิศอบ เริ่มต้นที่จำนวนเท่าไร ? ...
ดังนั้น แม้สายรายงานนี้จะถูกต้อง --- หมายความว่า เราเชื่อถือได้ว่า ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ได้กล่าวไว้อย่างนี้จริงๆ --- แต่ก็เป็นอย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว ... คือ เราจะนำคำพูดของท่านมาอ้างเป็นหลักฐาน (ถ้าต้องการจะปฏิบัติตามท่าน) ในเรื่องรูปแบบการจ่ายซะกาตสินค้าด้วยการประเมินราคาสินคาแล้วจ่ายซะกาตตอนครบรอบปีดังที่ปฏิบัติกันอยู่ย่อมไม่ได้ เพราะในคำพูดของท่าน ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า ให้จ่ายซะกาตเป็นสินค้าหรือให้ประเมินราคาสินค้า, ให้จ่ายซะกาตเมื่อไร ? นิศอบซะกาตสินค้าเริ่มต้นที่เท่าไร? และไม่ได้ระบุปริมาณที่ต้องจ่ายซะกาตเอาไว้เลย ดังกล่าวมาแล้ว ...
เป็นไปได้ (محتمل) ว่า การจ่ายซะกาตสินค้าตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. อาจจะหมายถึงการจ่าย “ซะกาตนอกระบบ” ... คือ ไม่จำกัดเวลา, ไม่จำกัดจำนวน, ไม่จำกัดนิศอบ, ... ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริจาคว่า จะบริจาคสักเท่าไร ? ... ซึ่งก็คล้ายๆกับโองการจากซูเราะฮ์อัล-อันอาม อายะฮ์ที่ 141 ซึ่งมีข้อความว่า ...
(( وَآتُوْا حَقَّـهُ يَوْمَ حَصَادِهِ ))
..... “และสูเจ้าจงจ่ายสิทธิของมัน ในวันเก็บเกี่ยวมัน ...” อันเป็นคำสั่งให้บริจาคผลผลิตจากการเกษตร โดยไม่จำกัดจำนวนในวันเก็บเกี่ยว ดังที่อธิบายผ่านมาแล้วในเรื่องซะกาตผลไม้และเมล็ดพืช ...
(2). ท่านอะฏออ์ บิน อบีย์รอบาห์ .... (เป็นตาบิอีน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 114) ... ได้กล่าวว่า ...
(( لاَ صَدَقَـةَ فِي الْلوُءْلوُءِ، وَلاَ زَبَرْجَدٍ، وَلاَ يَاقُوْتٍ، وَلاَ فُصُوْصٍ، وَلاَ عَرْضٍ، وَلاَ شَـْئٍ لاَيُدَارُ، وَإنْ كَانَ شَـيْئًامِنْ ذَلِكَ يُدَارُ فَفِـيْهِ الصَّدَقَـةُ مِنْ ثَمَنِـهِ حِيْنَ يُبَاعُ )).....
“ไม่มีวาญิบซะกาตในไข่มุก, ในซะบัรฺญัด (เพชรสีเขียว), ในทับทิม, ในอัญมณีต่างๆ, ในสิ่งอำนวยความสะดวก, และในสิ่งใดๆที่ไม่ใช่เพื่อการค้า, .... และถ้าหากมีสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้นที่มีเป้าหมายเพื่อการค้า ก็ให้จ่ายซะกาตจากราคาของมันในตอนที่ขายมัน” ...
(บันทึกโดย ท่านอับดุรฺ ร็อซซาก ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” หะดีษที่ 7061, และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 3 หน้า 36 ... ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) ...
จะเห็นได้ว่า คำพูดของท่านอะฏออ์ดังกล่าว มิได้ระบุว่า ให้ประเมินราคาแล้วค่อยจ่ายซะกาต, ... แต่ท่านกล่าวว่า ให้จ่ายซะกาตเมื่อขายได้แล้ว -- โดยไม่ได้กำหนดนิศอบและปริมาณที่ต้องจ่ายซะกาตแต่อย่างใด ...
จะอย่างไรก็ตาม คำพูดของท่านอะฏออ์ก็ไม่ถือว่า เป็นหลักฐานตามหลักวิชาการ เพราะท่านเป็นเพียง “ตาบิอีน” ท่านหนึ่ง .. และคำพูดของผู้ที่เป็นตาบิอีน เรียกว่า حَدِيْثٌ مَقْطُوْعٌ (หะดีษ มักฏั๊วะอฺ) ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานชี้ขาดไม่ได้ ....
ท่านด็อกเตอร์ มะห์มูด เฏาะหฺฮาน ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “ตัยซีรฺ มุศเฏาะละฮ์ อัล-หะดีษ” หน้า 133 ว่า ...
اَلْمَقْطُوْعُ لاَ يُحْتَـجُّ بِـهِ فِيْ شَـْئٍ مِنَ اْلأ حْكَامِ الشَّرْعِيَّـةِ، أيْ وَلَوْ صَحَّتْ نِسْبَتُـهُ لِقَـائِـلِهِ ، ِلأ نَّـهُ كَلاَمُ اَوْ فِعْلُ أحَـدِالْمُسْلِمِـيْنَ .....
“หะดีษมักฏั๊วะอฺนั้น ไม่อาจจะใช้เป็นหลักฐานชี้ขาดในบทบัญญัติต่างๆของศาสนาได้ หมายความว่า ต่อให้เชื่อได้ว่าเป็นคำพูดของผู้ที่ถูกอ้างถึงจริงๆก็ตาม ... เพราะถือว่า มันเป็นเพียงคำพูดหรือการกระทำของมุสลิม (ธรรมดา) คนหนึ่งเท่านั้น”
นักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอัล-บัฆวีย์ เป็นต้น อ้างว่า นักวิชาการได้ “إِجْمَاعٌ” คือ มีมติ “เป็นเอกฉันท์” ให้ “ทำการประเมินราคาสินค้าเมื่อครบรอบปี” .... แล้วให้จ่ายซะกาตจากราคาที่ประเมินได้หากครบนิศอบ .....
ท่านอัล-บัฆวีย์ยังอ้างอีกว่า นักวิชาการที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องนี้ มีเพียงผู้เดียว คือ “ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์” เท่านั้น ... ซึ่งถือว่ เป็นทัศนะที่เชื่อถือไม่ได้ หลังจากได้มี “อิจญมาอฺ” ( คือ มติเอกฉันท์) มาก่อนหน้านั้นแล้ว .....
(โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ ซุนนะฮ์” ของท่านอัล-บัควีย์ เล่มที่ 3 หน้า 350) ...
แต่ในความเป็นจริง ... เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักวิชาการตั้งแต่ยุคต้นๆมีความเห็น “ขัดแย้ง” กันมานานแล้ว, .. มิใช่เป็น “มติเอกฉันท์” อย่างที่ท่านอัล-บัฆวีย์อ้าง ....
ตัวอย่างในเรื่องนี้ ก็คือ ทัศนะของ “ท่านอะฏออ์ บิน อบีย์รอบาห์” ซึ่งเป็นตาบิอีนระดับอาวุโสท่านหนึ่ง ที่กล่าวว่า .. ให้จ่ายซะกาตเมื่อขายสินค้าได้, มิใช่ให้ประเมินราคาสินค้าที่ยังมิได้ขาย .. ดังที่เพิ่งจะนำเสนอผ่านมา ...
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งบรรดานักวิชาการที่มีทัศนะว่าวาญิบจะต้องจ่ายซะกาตสินค้า .. พวกท่านก็ยังขัดแย้งกันอยู่ดีในประเด็นที่ว่า .. จะต้องจ่ายซะกาตสินค้าในลักษณะไหน ? ...
ท่านอัล-มุซะนีย์ (เป็นศิษย์ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ... สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 264) มีทัศนะว่า ... ซะกาตสิ่งของ (สินค้า) ให้จ่ายเป็น “ตัว” ของสิ่งของนั้น มิใช่จ่ายเป็นราคา(ประเมิน) ...
นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ... สินค้า, จะหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ย่อมอยู่ในหลักการเดียวกัน, .. คือ เมื่อครบรอบปี ให้ประเมินราคาสินค้าแล้วจ่ายซะกาต แต่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ... ให้จ่ายซะกาตตาม “ราคาจริง” ที่ขายไป, มิใช่ให้จ่ายตาม “ราคาประเมิน” (ราคาตามท้องตลาด) ...
(โปรดดูหนังสือ “บิดายะตุ้ล มุจญตะฮิด” ของท่านอิบนุ รุชด์ เล่มที่ 1 หน้า 269) ...
ความขัดแย้งดังกล่าว ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เรื่องซะกาตสินค้านั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานถูกต้องหรือชัดเจนเพียงพอแต่อย่างใด ....
นักวิชาการยุคหลังที่มีทัศนะว่า ไม่วาญิบจ่ายซะกาตสินค้า (เท่าที่ผมทราบ) ได้แก่ท่านอบู อุบัยด์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 224), ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์ (ถือกำเนิดปี ฮ.ศ. 200 หรือ 202), ท่านอิบนุ หัสม์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 456), ท่านอัช-เชากานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255 .. โดยท่านได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “อัด-ดุเราะรุล บะฮียะฮ์” ), .. ท่านศิดดีก หะซัน คาน ในการอธิบายหนังสือ “อัรฺ เราเฎาะตุ้ล นะดียะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 192-193, และท่านเช็คมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 363-368 ...
สรุปแล้ว, จนบัดนี้ ผมยังไม่เคยเจอหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ที่อ้างอิงไปถึงท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม -- แม้แต่บทเดียว -- ว่า ท่านเคยใช้ให้ผู้ใดประเมินราคาสินค้าในตอนสิ้นปี แล้วจ่ายซะกาต .. ดังที่มีการปฏิบัติกัน ...
จึงเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยและน่าฉงนเป็นอย่างยิ่งว่า ... ทั้งๆที่การค้าขาย เป็นอาชีพหลักของชาวอฺรับ มาตั้งแต่อดีต, คือตั้งแต่สมัยก่อนหน้าอัล-วะห์ยุ ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จนถึงปัจจุบัน ...
ถ้าหากซะกาตสินค้า เป็นสิ่งวาญิบจริงอย่างที่เราเข้าใจและปฏิบัติกัน ... เหตุใด .. จึงไม่มีหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์แม้แต่บทเดียว ที่รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ????? ....
นี่คือ สิ่งที่ผมเคยสงสัย,... และก็ยังคงหาคำตอบไม่ได้อยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ ..

วัลลอฮุ อะอฺลัม.


คัดลอกจาก

http://www.muslimzikung.com/pamote/sakad.doc

ฝากอ.อะสันด้วยนะครับ Idea
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 25, 2009 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Question
คุณ al-faruk แห่งเว็บซุนนะฮสะติวเด้น อุตสาห์คัดลอกบทความของท่าน อ. ปราโมทย์ เรื่องที่ท่านคัดค้านหะดิษ เรื่อง ซะกาตการค้า แต่ผมขอยืนยันว่า ท่านไม่ได้ค้านเรื่อง การจ่ายซะกาตรายได้ที่ได้จากการค้าขายนะครับ ผมแปลกใจ มีนัยหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทำไมคุณอัลฟารุก ไม่เอาไปวิจารณ์ในเว็บสะติ้วเด้น แต่ยืมมือผมให้วิจารณ์บทความของ อ. ปราโมทย์ (และยืมมือ อ.มุรีด ด้วย(1) )ซึ่งสำหรับท่านอาจารย์ปราโมทย์นั้น ผมถือว่าเป็นอาจารย์ผมคนหนึ่ง แม้ผมจะเห็นต่างกับท่านในเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาทีศิษย์เห็นต่างกับอาจารย์ได้ และเรื่องนี้ ผมก็ได้เขียนไว้แล้วในเว็บอัซซุนนะฮ ดังนี้

ซะกาตการค้า

อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสว่า :

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَنفِقُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ وَمِمَّا أَخْرَجْنَا لَكُم مِّنَ الأَرْضِ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา และจากสิ่งที่เราได้ให้มันงอกเงย สำหรับสู่เจ้าจากแผ่นดิน ซูเราะห์ที่ 2 อายะห์ 267

عَنْ الْحَكَم , عَنْ مُجَاهِد فِي هَذِهِ الْآيَة : { يَا أَيّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَنْفِقُوا مِنْ طَيِّبَات مَا كَسَبْتُمْ } قَالَ : مِنْ التِّجَارَة
จากหะกัม จากมุญาฮิด ในอายะฮนี้(โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา) เขากล่าวว่า "จาก การค้า - ตัสสีรอัฏฏอ็บรีย์

عَنْ سَمُرَةَ بْنِ جُنْدُبٍ قَالَ : إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَأْمُرُنَا أَنْ نُخْرِجَ الصَّدَقَةَ مِنْ الَّذِي نُعِدُّ لِلْبَيْعِ .

จากสะมุเราะฮ บุตร ญุนดุบ กล่าวว่า"แท้จริงรซูลุ้ลลอฮ Solallah ใช้ให้พวกเราจ่ายซะกาต จากสิ่งที่เราเตรียมไว้เพื่อขาย"
أبو داود (1562)
والحديث في سنده مقال ، لكن بعض أهل العلم قد حسنه ، كابن عبد البر رحمه الله ، وهو ما اعتمده علماء اللجنة الدائمة للإفتاء
และหะดิษนี้ ในสายรายงานของมันถูกวิจารณ์ แต่นักวิชาการบางท่าน ถือว่าเป็นหะดิษหะซัน เช่น ท่าน อิบนุอับดิ้ลบีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ) และมันคือ สิ่งที่นักวิชาการ คณะกรรมการถาวร เพื่อการตอบปัญหาศาสนาฯ ยึดถือมัน
انظر فتاوى اللجنة الدائمة (9/331

وقال بن عبدالبر إسناده حسن
และอิบนุอับดุลบีรริ กล่าวว่า "สายรายงานของมันดี

เอานุลมะอฺบูด 4/297

وَرَوَى الْبَيْهَقِيُّ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ : لَيْسَ فِي الْعَرُوضِ زَكَاةٌ إِلَّا مَا كَانَ لِلتِّجَارَةِ . وَأَخْرَجَ عَبْدُ الرَّزَّاقِ عَنِ ابْنِ عُمَرَ وَعُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ وَسَعِيدِ بْنِ الْمُسَيَّبِ وَالْقَاسِمِ أَنَّهُمْ قَالُوا بِذَلِكَ . وَقَالَ فِي سُبُلِ السَّلَامِ : وَالْحَدِيثُ دَلِيلٌ عَلَى وُجُوبِ الزَّكَاةِ فِي مَالِ التِّجَارَةِ . وَاسْتَدَلَّ لِلْوُجُوبِ أَيْضًا بِقَوْلِهِ تَعَالَى أَنْفِقُوا مِنْ طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ الْآيَةَ قَالَ مُجَاهِدٌ : نَزَلَتْ فِي التِّجَارَةِ . قَالَ ابْنُ الْمُنْذِرِ : الْإِجْمَاعُ قَائِمٌ عَلَى وُجُوبِ الزَّكَاةِ فِي مَالِ التِّجَارَةِ . وَمِمَّنْ قَالَ بِوُجُوبِهَا الْفُقَهَاءُ السَّبْعَةُ . قَالَ لَكِنْ لَا يُكَفَّرُ جَاحِدُهَا لِلِاخْتِلَافِ فِيهَا .

และรายงานโดยอัลบัยฮะกีย์ จากอิบนุอุมัร กล่าวว่า ไม่มีซะกาตในสิ่งต่างๆที่อำนวยความสะดวก นอกจาก สิ่งที่มีไว้เพื่อการค้า และอับดุรรอซซาก บันทึกจาก อิบนุอุมัร ,อุรวะฮ บุตร อัซซุบัยรฺ.สะอีด บุตร อัลมุสัยยิบและ อัลกอสิม ว่า พวกเขากล่าวอย่างนั้น และเขา(อัศศอนอานีย์)ได้กล่าวไว้ในสุบุลุสสลามว่า "และหะดิษนี้ (หะดิษสุมุเราะฮ)เป็นหลักฐาน แสดงว่า วาญิบต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินการค้า และเขาได้อ้างหลักฐานว่า วาญิบ ด้วยคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า (จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา) จนจบอายะฮ.. อีกด้วย ซึ่งมุญาฮิดกล่าวว่า ถูกประทานลงมา ในเรื่อง การค้า ,อิบนุมันซิร กล่าวว่า "อิจญมาอฺ นั้น ยืนยันถึงวาญิบต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินการค้า และส่วนหนึ่งจากผู้ที่กล่าวว่า วาญิบต้องจ่ายทรัพย์สินการค้าคือ บรรดาฟุเกาะฮาอฺทั้งเจ็ดท่าน เขา(อิบนุอันมันซิร)กล่าวว่า "ผู้ที่ปฏิเสธมันจะไม่ถูกตัดสินว่าเป็นกาเฟร เพราะเหตุมีความเห็นที่ขัดแย้งกันในมัน - เอานุลมะอฺบูด 4/297

.........................

والله أعلم بالصواب

..........
(1)
คงเป็นคำถามจากคุณอัลฟารุกเช่นกัน ที่ถาม อ. มุรีด
http://www.mureed.com/mr_talk/bview.asp?id=12313

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ไข่นุ้ย
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 11/05/2009
ตอบ: 51
ที่อยู่: ข้างวัดลิงขบ

ตอบตอบ: Fri Jun 26, 2009 11:31 am    ชื่อกระทู้: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ท่านอ.ปราโมทย์ กล่าวสรุปว่าในตอนท้ายว่า


สรุปแล้ว, จนบัดนี้ ผมยังไม่เคยเจอหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์ .. ที่อ้างอิงไปถึงท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม -- แม้แต่บทเดียว -- ว่า ท่านเคยใช้ให้ผู้ใดประเมินราคาสินค้าในตอนสิ้นปี แล้วจ่ายซะกาต .. ดังที่มีการปฏิบัติกัน ...
จึงเป็นเรื่องที่ชวนสงสัยและน่าฉงนเป็นอย่างยิ่งว่า ... ทั้งๆที่การค้าขาย เป็นอาชีพหลักของชาวอฺรับ มาตั้งแต่อดีต, คือตั้งแต่สมัยก่อนหน้าอัล-วะห์ยุ ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จนถึงปัจจุบัน ...
ถ้าหากซะกาตสินค้า เป็นสิ่งวาญิบจริงอย่างที่เราเข้าใจและปฏิบัติกัน ... เหตุใด .. จึงไม่มีหะดีษที่เศาะเหี๊ยะฮ์แม้แต่บทเดียว ที่รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ????? ....
นี่คือ สิ่งที่ผมเคยสงสัย,... และก็ยังคงหาคำตอบไม่ได้อยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ ..

วัลลอฮุ อะอฺลัม.


ท่านอ.อะสันกล่าวว่า

แต่ผมขอยืนยันว่า ท่านไม่ได้ค้านเรื่อง การจ่ายซะกาตรายได้ที่ได้จากการค้าขายนะครับ


แล้วตกลงเรื่องซะกาตสินค้านี้อ.ปราโมทย์ท่านห้ามเรื่องไหรกันล่ะเนี๊ยะไข่นุ้ยงงไปหมดแล้ว
Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes

_________________
เรารักนบี ไม่ด่าศอหาบะฮ์ ไม่เพิ่มกุรอ่าน แอนตี้บิดอะฮ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Fri Jun 26, 2009 11:53 am    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

อ.อะสันอ้างหลักฐานที่ว่า

.

จากสะมุเราะฮ บุตร ญุนดุบ กล่าวว่า"แท้จริงรซูลุ้ลลอฮ ใช้ให้พวกเราจ่ายซะกาต จากสิ่งที่เราเตรียมไว้เพื่อขาย"
أبو داود (1562)
والحديث في سنده مقال ، لكن بعض أهل العلم قد حسنه ، كابن عبد البر رحمه الله ، وهو ما اعتمده علماء اللجنة الدائمة للإفتاء
และหะดิษนี้ ในสายรายงานของมันถูกวิจารณ์ แต่นักวิชาการบางท่าน ถือว่าเป็นหะดิษหะซัน เช่น ท่าน อิบนุอับดิ้ลบีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ) และมันคือ สิ่งที่นักวิชาการ คณะกรรมการถาวร เพื่อการตอบปัญหาศาสนาฯ ยึดถือมัน
انظر فتاوى اللجنة الدائمة (9/331

وقال بن عبدالبر إسناده حسن
และอิบนุอับดุลบีรริ กล่าวว่า "สายรายงานของมันดี

แต่อ.ปราโมทย์ ได้วิเคราะห์หะดีษนี้ว่า
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษบทนี้ เป็นอย่างนี้ ...
1. มุหัมมัด บิน ดาวูด
2. ยะห์ยา บิน หัสซาน
3. สุลัยมาน บิน มูซา
4. ญะอฺฟัรฺ บิน สะอฺด์ (สะอัด)
5. คุบัยบ์ บิน สุลัยมาน
6. สุลัยมาน บิน สะมุเราะฮ์ (บิดาของคุบัยบ์)
7. สะมุเราะฮ์ บิน ญุนดุบ ร.ฎ.
8. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
สถานภาพของหะดีษบทนี้
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อนมาก ทั้งนี้ เพราะผู้รายงานหมายเลข 4, 5, และ 6 ล้วนเป็นบุคคลมัจญฮูล ... คือ ไม่มีใครทราบประวัติหรือไม่เป็นที่รู้จัก ...
(โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุ หัสม์ เล่มที่ 5 หน้า 234, และหนังสือ “อิรฺวาอุ้ล ฆอลีล” ของท่านอัล-อัลบานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 311) ....
ท่านอัษ-ษะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานข้างต้นนี้ว่า ...
(( هَـذَا إسْـنَادٌ مُظْلِمٌ ! لاَ يَنْهَضُ بِحُكْمٍ ))
“สายรายงานนี้ มืดสนิท ! (หมายถึงอ่อนมาก) ไม่สามารถสร้างพลังให้แก่หุก่มใดๆได้” ...
(โปรดดูหนังสือ “มีซาน อัล-เอี๊ยะอฺติดาล” เล่มที่ 1 หน้า 408)
เพราะฉะนั้น หะดีษบทนี้จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตสินค้าไม่ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Fri Jun 26, 2009 12:06 pm    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

อ.อะสัน อ้างหลักฐานจากหะดีษเมากูฟของท่านอิบนุอุมัรว่า

الْمُسَيَّبِ وَالْقَاسِمِ أَنَّهُمْ قَالُوا بِذَلِكَ . وَقَالَ فِي سُبُلِ السَّلَامِ : وَالْحَدِيثُ دَلِيلٌ عَلَى وُجُوبِ الزَّكَاةِ فِي مَالِ التِّجَارَةِ . وَاسْتَدَلَّ لِلْوُجُوبِ أَيْضًا بِقَوْلِهِ تَعَالَى أَنْفِقُوا مِنْ طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ الْآيَةَ قَالَ مُجَاهِدٌ : نَزَلَتْ فِي التِّجَارَةِ . قَالَ ابْنُ الْمُنْذِرِ : الْإِجْمَاعُ قَائِمٌ عَلَى وُجُوبِ الزَّكَاةِ فِي مَالِ التِّجَارَةِ . وَمِمَّنْ قَالَ بِوُجُوبِهَا الْفُقَهَاءُ السَّبْعَةُ . قَالَ لَكِنْ لَا يُكَفَّرُ جَاحِدُهَا لِلِاخْتِلَافِ فِيهَا .

และรายงานโดยอัลบัยฮะกีย์ จากอิบนุอุมัร กล่าวว่า ไม่มีซะกาตในสิ่งต่างๆที่อำนวยความสะดวก นอกจาก สิ่งที่มีไว้เพื่อการค้า และอับดุรรอซซาก บันทึกจาก อิบนุอุมัร ,อุรวะฮ บุตร อัซซุบัยรฺ.สะอีด บุตร อัลมุสัยยิบและ อัลกอสิม ว่า พวกเขากล่าวอย่างนั้น และเขา(อัศศอนอานีย์)ได้กล่าวไว้ในสุบุลุสสลามว่า "และหะดิษนี้ (หะดิษสุมุเราะฮ)เป็นหลักฐาน แสดงว่า วาญิบต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินการค้า และเขาได้อ้างหลักฐานว่า วาญิบ ด้วยคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า (จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา) จนจบอายะฮ.. อีกด้วย ซึ่งมุญาฮิดกล่าวว่า ถูกประทานลงมา ในเรื่อง การค้า ,อิบนุมันซิร กล่าวว่า "อิจญมาอฺ นั้น ยืนยันถึงวาญิบต้องจ่ายซะกาตในทรัพย์สินการค้า และส่วนหนึ่งจากผู้ที่กล่าวว่า วาญิบต้องจ่ายทรัพย์สินการค้าคือ บรรดาฟุเกาะฮาอฺทั้งเจ็ดท่าน เขา(อิบนุอันมันซิร)กล่าวว่า "ผู้ที่ปฏิเสธมันจะไม่ถูกตัดสินว่าเป็นกาเฟร เพราะเหตุมีความเห็นที่ขัดแย้งกันในมัน - เอานุลมะอฺบูด 4/297

อ.ปราโมทย์ได้ กล่าววิเคราะห์หะดีษนี้ว่า

ส่วนหลักฐานที่เป็นการรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์และตาบิอีนบางท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้จะเป็นสายรายงานที่ถูกต้อง แต่ก็มิอาจจะอ้างมาเป็นหลักฐานเรื่องซะกาตสินค้า ตามรูปแบบที่มีการปฏิบัติกันในปัจจุบัน ดังคำถามข้างต้นได้ ... ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้ ...
(1). ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
(( لَيْسَ فِي الْعُرُوْضِ زَكَاةٌ، إلاَّ اَنْ يُّرَادَ بِـهِ التِّجَارَةُ ))
“ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆที่จำเป็นจะต้องจ่ายซะกาต เว้นแต่สิ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า” ...
(บันทึกโดย ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 2 หน้า 39, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147) ...
วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษนี้ เป็นดังนี้.
1. อิหม่ามชาฟิอีย์, อัล-บัยฮะกีย์
2. หัฟศ์ บิน ฆิยาส
3. อุบัยดิลลาฮ์ บิน อุมัรฺ
4. นาเฟียะอฺ
5. อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.
สายรายงานนี้ เป็นสายรายงานที่ถูกต้อง ! ดังนั้น รายงานนี้จึงถือว่า เป็นรายงานที่ صَحِيْحٌ (ถูกต้อง) ...
จะอย่างไรก็ตาม รายงานนี้ ก็ไม่อาจจะนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตสินค้าโดยการประเมินราคาแล้วจ่ายซะกาต ดังที่มีการปฏิบัติกันอยู่ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ ...
ก. รายงานนี้ เป็นเพียงทัศนะของเศาะหาบะฮ์ท่านหนึ่ง คือท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ.ซึ่งเรียกกันว่า“หะดีษ เมากูฟ”,.. มิใช่เป็นคำพูดของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานชี้ขาดตามหลักวิชาการ ...
ข. ทัศนะดังกล่าวยังมีข้อขัดแย้ง เพราะท่านอิบนุหัสม์ ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 5 หน้า 236- 237 ถึงรายนามและรายงานของเศาะหาบะฮ์บางท่าน ที่มีทัศนะขัดแย้งกับท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ในเรื่องนี้ อาทิเช่น ท่านเคาะลีฟะฮ์ อับดุลลอฮ์ บิน อัซ-ซุบัยรฺ ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 73) ท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 68), ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 57), ท่านอับดุรฺเราะห์มาน บิน นาเฟียะอฺ ร.ฎ. (ไม่ทราบปีที่สิ้นชีวิต) เป็นต้น ...
ส่วนตาบิอีนที่มีทัศนะขัดแย้งกับท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ก็มีอาทิเช่น ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัรฺบิน อับดุลอะซีซ(สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 101), ท่านอะฎออ์ บิน อบีย์รอบาห์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 114), ท่านอัมร์ บิน ดีนารฺ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 126) เป็นต้น ...
ค. คำพูดของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ที่กล่าวว่า .. วาญิบซะกาตในสินค้า .. ก็ยังไม่มีรายละเอียดใดๆเลยว่า จะต้องจ่ายซะกาตสินค้าเมื่อไร ? .. จ่ายเป็นตัวสินค้าหรือให้ประเมินราคา ? .. อัตรานิศอบ เริ่มต้นที่จำนวนเท่าไร ? ...
ดังนั้น แม้สายรายงานนี้จะถูกต้อง --- หมายความว่า เราเชื่อถือได้ว่า ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. ได้กล่าวไว้อย่างนี้จริงๆ --- แต่ก็เป็นอย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว ... คือ เราจะนำคำพูดของท่านมาอ้างเป็นหลักฐาน (ถ้าต้องการจะปฏิบัติตามท่าน) ในเรื่องรูปแบบการจ่ายซะกาตสินค้าด้วยการประเมินราคาสินคาแล้วจ่ายซะกาตตอนครบรอบปีดังที่ปฏิบัติกันอยู่ย่อมไม่ได้ เพราะในคำพูดของท่าน ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า ให้จ่ายซะกาตเป็นสินค้าหรือให้ประเมินราคาสินค้า, ให้จ่ายซะกาตเมื่อไร ? นิศอบซะกาตสินค้าเริ่มต้นที่เท่าไร? และไม่ได้ระบุปริมาณที่ต้องจ่ายซะกาตเอาไว้เลย ดังกล่าวมาแล้ว ...
เป็นไปได้ (محتمل) ว่า การจ่ายซะกาตสินค้าตามคำกล่าวของท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. อาจจะหมายถึงการจ่าย “ซะกาตนอกระบบ” ... คือ ไม่จำกัดเวลา, ไม่จำกัดจำนวน, ไม่จำกัดนิศอบ, ... ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริจาคว่า จะบริจาคสักเท่าไร ? ... ซึ่งก็คล้ายๆกับโองการจากซูเราะฮ์อัล-อันอาม อายะฮ์ที่ 141 ซึ่งมีข้อความว่า ...
(( وَآتُوْا حَقَّـهُ يَوْمَ حَصَادِهِ ))
..... “และสูเจ้าจงจ่ายสิทธิของมัน ในวันเก็บเกี่ยวมัน ...” อันเป็นคำสั่งให้บริจาคผลผลิตจากการเกษตร โดยไม่จำกัดจำนวนในวันเก็บเกี่ยว ดังที่อธิบายผ่านมาแล้วในเรื่องซะกาตผลไม้และเมล็ดพืช ...
(2). ท่านอะฏออ์ บิน อบีย์รอบาห์ .... (เป็นตาบิอีน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 114) ... ได้กล่าวว่า ...
(( لاَ صَدَقَـةَ فِي الْلوُءْلوُءِ، وَلاَ زَبَرْجَدٍ، وَلاَ يَاقُوْتٍ، وَلاَ فُصُوْصٍ، وَلاَ عَرْضٍ، وَلاَ شَـْئٍ لاَيُدَارُ، وَإنْ كَانَ شَـيْئًامِنْ ذَلِكَ يُدَارُ فَفِـيْهِ الصَّدَقَـةُ مِنْ ثَمَنِـهِ حِيْنَ يُبَاعُ )).....
“ไม่มีวาญิบซะกาตในไข่มุก, ในซะบัรฺญัด (เพชรสีเขียว), ในทับทิม, ในอัญมณีต่างๆ, ในสิ่งอำนวยความสะดวก, และในสิ่งใดๆที่ไม่ใช่เพื่อการค้า, .... และถ้าหากมีสิ่งใดจากสิ่งเหล่านั้นที่มีเป้าหมายเพื่อการค้า ก็ให้จ่ายซะกาตจากราคาของมันในตอนที่ขายมัน” ...
(บันทึกโดย ท่านอับดุรฺ ร็อซซาก ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” หะดีษที่ 7061, และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ ใน “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 3 หน้า 36 ... ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง) ...
จะเห็นได้ว่า คำพูดของท่านอะฏออ์ดังกล่าว มิได้ระบุว่า ให้ประเมินราคาแล้วค่อยจ่ายซะกาต, ... แต่ท่านกล่าวว่า ให้จ่ายซะกาตเมื่อขายได้แล้ว -- โดยไม่ได้กำหนดนิศอบและปริมาณที่ต้องจ่ายซะกาตแต่อย่างใด ... จะอย่างไรก็ตาม คำพูดของท่านอะฏออ์ก็ไม่ถือว่า เป็นหลักฐานตามหลักวิชาการ เพราะท่านเป็นเพียง “ตาบิอีน” ท่านหนึ่ง .. และคำพูดของผู้ที่เป็นตาบิอีน เรียกว่า حَدِيْثٌ مَقْطُوْعٌ (หะดีษ มักฏั๊วะอฺ) ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานชี้ขาดไม่ได้ ....
ท่านด็อกเตอร์ มะห์มูด เฏาะหฺฮาน ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ “ตัยซีรฺ มุศเฏาะละฮ์ อัล-หะดีษ” หน้า 133 ว่า ...
اَلْمَقْطُوْعُ لاَ يُحْتَـجُّ بِـهِ فِيْ شَـْئٍ مِنَ اْلأ حْكَامِ الشَّرْعِيَّـةِ، أيْ وَلَوْ صَحَّتْ نِسْبَتُـهُ لِقَـائِـلِهِ ، ِلأ نَّـهُ كَلاَمُ اَوْ فِعْلُ أحَـدِالْمُسْلِمِـيْنَ .....
“หะดีษมักฏั๊วะอฺนั้น ไม่อาจจะใช้เป็นหลักฐานชี้ขาดในบทบัญญัติต่างๆของศาสนาได้ หมายความว่า ต่อให้เชื่อได้ว่าเป็นคำพูดของผู้ที่ถูกอ้างถึงจริงๆก็ตาม ... เพราะถือว่า มันเป็นเพียงคำพูดหรือการกระทำของมุสลิม (ธรรมดา) คนหนึ่งเท่านั้น”
นักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอัล-บัฆวีย์ เป็นต้น อ้างว่า นักวิชาการได้ “إِجْمَاعٌ” คือ มีมติ “เป็นเอกฉันท์” ให้ “ทำการประเมินราคาสินค้าเมื่อครบรอบปี” .... แล้วให้จ่ายซะกาตจากราคาที่ประเมินได้หากครบนิศอบ .....
ท่านอัล-บัฆวีย์ยังอ้างอีกว่า นักวิชาการที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องนี้ มีเพียงผู้เดียว คือ “ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์” เท่านั้น ... ซึ่งถือว่ เป็นทัศนะที่เชื่อถือไม่ได้ หลังจากได้มี “อิจญมาอฺ” ( คือ มติเอกฉันท์) มาก่อนหน้านั้นแล้ว .....
(โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ ซุนนะฮ์” ของท่านอัล-บัควีย์ เล่มที่ 3 หน้า 350) ...
แต่ในความเป็นจริง ... เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักวิชาการตั้งแต่ยุคต้นๆมีความเห็น “ขัดแย้ง” กันมานานแล้ว, .. มิใช่เป็น “มติเอกฉันท์” อย่างที่ท่านอัล-บัฆวีย์อ้าง ....
ตัวอย่างในเรื่องนี้ ก็คือ ทัศนะของ “ท่านอะฏออ์ บิน อบีย์รอบาห์” ซึ่งเป็นตาบิอีนระดับอาวุโสท่านหนึ่ง ที่กล่าวว่า .. ให้จ่ายซะกาตเมื่อขายสินค้าได้, มิใช่ให้ประเมินราคาสินค้าที่ยังมิได้ขาย .. ดังที่เพิ่งจะนำเสนอผ่านมา ...
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งบรรดานักวิชาการที่มีทัศนะว่าวาญิบจะต้องจ่ายซะกาตสินค้า .. พวกท่านก็ยังขัดแย้งกันอยู่ดีในประเด็นที่ว่า .. จะต้องจ่ายซะกาตสินค้าในลักษณะไหน ? ... ท่านอัล-มุซะนีย์ (เป็นศิษย์ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ... สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 264) มีทัศนะว่า ... ซะกาตสิ่งของ (สินค้า) ให้จ่ายเป็น “ตัว” ของสิ่งของนั้น มิใช่จ่ายเป็นราคา(ประเมิน) ... นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ... สินค้า, จะหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ย่อมอยู่ในหลักการเดียวกัน, .. คือ เมื่อครบรอบปี ให้ประเมินราคาสินค้าแล้วจ่ายซะกาต แต่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ... ให้จ่ายซะกาตตาม “ราคาจริง” ที่ขายไป, มิใช่ให้จ่ายตาม “ราคาประเมิน” (ราคาตามท้องตลาด) ...
(โปรดดูหนังสือ “บิดายะตุ้ล มุจญตะฮิด” ของท่านอิบนุ รุชด์ เล่มที่ 1 หน้า 269) ...
ความขัดแย้งดังกล่าว ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เรื่องซะกาตสินค้านั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานถูกต้องหรือชัดเจนเพียงพอแต่อย่างใด ....
นักวิชาการยุคหลังที่มีทัศนะว่า ไม่วาญิบจ่ายซะกาตสินค้า (เท่าที่ผมทราบ) ได้แก่ท่านอบู อุบัยด์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 224), ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์ (ถือกำเนิดปี ฮ.ศ. 200 หรือ 202), ท่านอิบนุ หัสม์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 456), ท่านอัช-เชากานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255 .. โดยท่านได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “อัด-ดุเราะรุล บะฮียะฮ์” ), .. ท่านศิดดีก หะซัน คาน ในการอธิบายหนังสือ “อัรฺ เราเฎาะตุ้ล นะดียะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 192-193, และท่านเช็คมุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 363-368 ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Fri Jun 26, 2009 12:21 pm    ชื่อกระทู้: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

อ.อะสันได้อ้างหลักฐานจากอัลกุรอ่านว่า

อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสว่า :

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَنفِقُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا كَسَبْتُمْ وَمِمَّا أَخْرَجْنَا لَكُم مِّنَ الأَرْضِ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา และจากสิ่งที่เราได้ให้มันงอกเงย สำหรับสู่เจ้าจากแผ่นดิน ซูเราะห์ที่ 2 อายะห์ 267

عَنْ الْحَكَم , عَنْ مُجَاهِد فِي هَذِهِ الْآيَة : { يَا أَيّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَنْفِقُوا مِنْ طَيِّبَات مَا كَسَبْتُمْ } قَالَ : مِنْ التِّجَارَة
จากหะกัม จากมุญาฮิด ในอายะฮนี้(โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงบริจาคสิ่งที่ดี ที่สู่เจ้าได้แสวงหา) เขากล่าวว่า "จาก การค้า - ตัสสีรอัฏฏอ็บรีย์

แต่อ.ปราโมทย์ได้นำทัศนะของนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมาหักล้าง ดังนี้



ข้อความตอนต้นของโองการนี้ที่ว่า ... “สูเจ้าจงบริจาค ....” นั้น ท่านอิบนุญะรีรฺ อัฎ-ฎ็อบรีย์ ได้อ้างรายงานไว้ในตัฟซีรฺ “ญามิอุ้ล บะยาน” เล่มที่ 3 หน้า 81, จากท่านอุบัยดะฮ์ อัซ-ซัลมานีย์ว่าท่านได้ถามท่านอะลีย์ บินอบีย์ฎอลิบร.ฎ.เกี่ยวกับความหมายของโองการนี้, และท่านอะลีย์ ร.ฎ. ก็ตอบว่า .. หมายถึง เมล็ดพืชต่างๆ, ผลไม้ต่างๆ, และทุกๆสิ่งที่วาญิบต้องจ่ายซะกาต” ... ท่านอัช-เชากานีย์ ได้กล่าวในหนังสือตัฟซีรฺ “ฟัตหุ้ล กอดีรฺ” เล่มที่ 1 หน้า 436-437 มีข้อความว่า .... กลุ่มหนึ่งของนักวิชาการสลัฟ (นักวิชาการยุคต้นของอิสลาม) ถือว่า โองการบทนี้ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเศาะดะเกาะฮ์ฟัรฺฎู (คือ ซะกาต), ...
แต่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า โองการบทนี้ มีความหมายกว้างๆ, ครอบคลุมทั้งบริจาคสุนัต (เศาะดะเกาะฮ์ธรรมดา) และบริจาคฟัรฺฎู (ซะกาต) ...ในมุมมองส่วนตัวของผม ทัศนะหลังนี้น่าจะใกล้เคียงต่อความถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับโองการข้างต้นนี้ ...
จะอย่างไรก็ตาม เมื่อสรุปแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีนักวิชาการท่านใดปฏิเสธว่า โองการนี้ เป็นหลักฐานหนึ่งของบทบัญญัติในเรื่องซะกาตในลักษณะทั่วๆไป, คือ มิได้จำแนกรายละเอียดเกี่ยวกับ “อัตราส่วน, ระยะเวลา, ตลอดจนชนิดของผลไม้หรือพืชที่จะต้องจ่ายซะกาต” ตามระบบที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน .. ซึ่งก็คล้ายคลึงกับอีกโองการหนึ่งในซูเราะฮ์ อัล-อันอาม อายะฮ์ที่ 141 (ในกรณีที่ “อนุโลม” ว่า โองการนี้ก็เป็นบทบัญญัติเรื่องซะกาต ตามทัศนะของนักวิชาการบางท่าน) .. อันได้แก่โองการที่ว่า ..
وَآتُوْا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ ...........
.. อันมีความหมายว่า “และสูเจ้าจงจ่ายสิทธิของมัน ในวันเก็บเกี่ยวมัน” .... ซึ่งโองการนี้ หากถือว่าเป็นบัญญัติเกี่ยวกับซะกาต ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับโองการข้างต้น นั่นคือเป็นเพียงซะกาต “นอกระบบ” ในช่วงแรกของอิสลาม .. ซึ่งให้บริจาคทันทีที่เก็บเกี่ยวผลิตผลเสร็จ โดยไม่กำหนดว่า เป็นเมล็ดหรือพืชผลชนิดใด, ไม่จำกัดจำนวนว่าต้องจ่ายร้อยละเท่าใด, และไม่จำกัดนิศอบใดๆทั้งสิ้น !...


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://www.muslimzikung.com/pamote/sakad.doc

ในคำถามหัวข้อเรื่องซะกาตผลไม้และเมล็ดพืช ตั้งแต่หน้า24เป็นต้นไป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jun 26, 2009 2:19 pm    ชื่อกระทู้: Re: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไข่นุ้ย บันทึก:
Exclamation



แต่ผมขอยืนยันว่า ท่านไม่ได้ค้านเรื่อง การจ่ายซะกาตรายได้ที่ได้จากการค้าขายนะครับ


แล้วตกลงเรื่องซะกาตสินค้านี้อ.ปราโมทย์ท่านห้ามเรื่องไหรกันล่ะเนี๊ยะไข่นุ้ยงงไปหมดแล้ว
Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes


Exclamation
อัสสลามุอะลัยกุม
ผมหมายถึงเงินรายได้ที่สะสมไว้เนื่องจากอาชีพค้าขาย เมื่อครบรอบปี มีจำนวนครบพิกัด ต้องจ่ายซะกาต 2.5 % ครับ
ส่วนกรณีซะกาตสินค้า
อินชาอัลลอฮ ผมจะนำเสนอต่อไป(แต่คงไม่ไปโต้แย้งบทความอ. ปราโมทย์ )

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jun 27, 2009 8:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสสลามมุอะลัยกุม
ตามที่ผมได้เรียนให้ทราบแล้วว่า ไม่ประสงค์จะโต้แย้งหรือวิภาษ หลักฐานอาจารย์ปราโมทย์ที่ค้านการจ่ายซะกาตการค้า แต่ผมจะนำเสนอทัศนะและหลักฐานที่ผมมั่นใจและยืนอยู่บนจุดนั้น คือ วาญิบต้องจ่ายซะกาตการค้า
ในหนังสือมัจญมัวะ ชัรหุอัลมุหัซซับ เล่ม 6 หน้า 3-4 ระบุไว้ว่า

بَابُ زَكَاةِ التِّجَارَةِ : قَالَ الْمُصَنِّفُ رَحِمَهُ اللَّهُ تَعَالَى : ( تَجِبُ الزَّكَاةُ فِي عُرُوضِ التِّجَارَةِ ؛ لِمَا رَوَى أَبُو ذَرٍّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : { فِي الْإِبِلِ صَدَقَتُهَا ، وَفِي الْبَقَرِ صَدَقَتُهَا وَفِي الْغَنَمِ صَدَقَتُهَا ، وَفِي الْبَزِّ صَدَقَتُهُ } ؛ وَلِأَنَّ التِّجَارَةَ يُطْلَبُ بِهَا نَمَاءُ الْمَالِ فَتَعَلَّقَتْ بِهَا الزَّكَاةُ كَالسَّوْمِ فِي الْمَاشِيَةِ


บทว่า ด้วยเรื่อง ซะกาตการค้า : ผู้แต่งหนังสือ(หมายถึงอบูอิสหากอัชชิรอซีย์) ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า “ การจ่ายซะกาต จำเป็นในบรรดาสินค้าเพราะมีหะดิษรายงานโดยอบูซัรริน (ร.ฎ)ว่า แท้จริงนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ในอูฐนั้น มีซะกาตของมัน,ในวัวนั้นมีซะกาตของมัน,ในแกะนั้นมีซะกาตของมันและในทรัพย์สินของบ้านนั้นมีซะกาตของมัน ) เพราะว่า การค้านั้น ต้องการให้ทรัพย์สินเพิ่มพูนด้วยมัน และการจ่ายซะกาตเกี่ยวข้องกับมันด้วยเช่น การเสนอราคา(การซื้อขาย) ในปศุสัตว์
………..

อิหม่ามนะวาวีย์ อธิบายว่า

هَذَا الْحَدِيثُ رَوَاهُ الدَّارَقُطْنِيّ فِي سُنَنِهِ ، وَالْحَاكِمُ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ فِي " الْمُسْتَدْرَكِ " وَالْبَيْهَقِيُّ بِأَسَانِيدِهِمْ ذَكَرَهُ الْحَاكِمُ بِإِسْنَادَيْنِ ثُمَّ قَالَ : هَذَانِ الْإِسْنَادَانِ صَحِيحَانِ عَلَى شَرْطِ الْبُخَارِيِّ وَمُسْلِمٍ

นี้คือหะดิษ รายงานโดยอัดดารุลกุฏนีย์ ในสุนันของเขา , อัลหากิม,อบูอับดุลลอฮ ได้รายงานไว้ในอัลมุสตัดรอ็ก และ อัลบัยฮะกีย์ ด้วยบรรดาสายรายงานของพวกเขา โดยอัลบัยฮะกีย์ ได้ระบุมันด้วยสองสายรายงาน แล้วต่อมาเขากล่าวว่า “สายรายงานทั้งสองนี้ เศาะเฮียะ ตามเงื่อนไขของ อัลบุคอรีและมุสลิม

قَالَ ابْنُ الْمُنْذِرِ : أَجْمَعَ عَامَّةُ أَهْلِ الْعِلْمِ عَلَى وُجُوبِ زَكَاةِ التِّجَارَةِ قَالَ : رَوَيْنَاهُ عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ وَابْنِ عَبَّاسٍ وَالْفُقَهَاءِ السَّبْعَةِ وَسَعِيدِ بْنِ الْمُسَيِّبِ وَالْقَاسِمِ بْنِ مُحَمَّدٍ وَعُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ وَأَبِي بَكْرِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ الْحَارِثِ ، وَخَارِجَةَ بْنِ زَيْدٍ ، وَعُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ وَسُلَيْمَانَ بْنِ يَسَارٍ وَالْحَسَنِ الْبَصْرِيِّ وَطَاوُسٍ وَجَابِرِ بْنِ زَيْدٍ وَمَيْمُونَ بْنِ مِهْرَانَ وَالنَّخَعِيِّ وَمَالِكٍ وَالثَّوْرِيِّ وَالْأَوْزَاعِيِّ وَالشَّافِعِيِّ وَالنُّعْمَانِ وَأَصْحَابِهِ وَأَحْمَدَ وَإِسْحَاقَ وَأَبِي ثَوْرٍ وَأَبِي عُبَيْدٍ

อิบนุมุนซีร กล่าวว่า “ บรรดานักวิชาการโดยทั่วไปได้มีมติว่า จำเป็นต้องจ่ายซะกาตการค้า โดยเขา(อิบนุมุนซีร)กล่าวว่า “ เราได้รายงานมันจาก อุมัร บุตร อัลคอ้ฏฏอบ,อิบนุอับบาส,บรรดานักกฎหมายอิสลามทั้งเจ็ด, สะอีด บุตร อัลมุสัยยิบ,กอเว็ม บุตร มุหัมหมัด, อุรวะฮ บุตร อัซซุบัยรฺ, อบีบักรฺ บุตร อับดุรเราะหมาน บุตร อัลหาริษ, คอริยะฮ บุตร เซด, อุบัยดิลละฮ บุตร อับดุลลอฮ บุตร อุตบะฮ ,สุลัยมาน บุตร ยะสาร ,อัลหาซัน อัลบัศรี, ฏอวูส,ญาบีร บุตร เซด ,มัยมูน บุตร เมียะรอน,อัลนะเคาะอีย์,มาลิก, อาเษารีย์,อัลเอาซาอีย์ ,อัชชาฟิอีย์,อัลนุอฺมานและบรรดาศานุษิษย์ของเขา,อะหมัด,อิสหาก,อบีษูรและ อบีอุบัยดิน – ดูอัลมัจญมัวะ ของอิหม่ามนะวาวีย์ เล่ม 6 หน้า 3 – 4 บทว่าด้วยเรื่อง ซะกาตการค้า

……………

ท่านสัยยิดสาบิก กล่าวว่า

ذهب جماهير العلماء؛ من الصحابة، والتابعين، ومن بعدهم من الفقهاء إلى وجوب الزكاة في عروض ( 2) التجارة؛ لما رواه أبو داود، والبيهقي، عن سمرة أن جندب، قال: أما بعد، فإن النبي صلى الله عليه وسلم كان يأمرنا أن نخرج الصدقة من الذي نعده للبيع (3)..
وروى الدارقظي، والبيهقي، عن أبي ذر، أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: "في الإبل صدقتها، وفي الغنم صدقتها، وفي البقر صدقتها، وفي البز (4) صدقته "(5


บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่ จากบรรดาเศาะหาบะฮ,บรรดาตาบิอีนและบรรดานักนิติศาสตร์อิสลามยุคหลังจากพวกเขา มีทัศนะว่า จำเป็นต้องจ่ายซะกาตสินค้า(2) เพราะมีหะดิษบันทึกโดย อบูดาวูดและอัลบัยฮะกีย์ จากสะมุเราะ บุตร ญุนดุบ กล่าวว่า อนึง แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้พวกเราให้ออกซะกาต จากสิ่งที่เราเตรียมไว้ขาย (3) และอัดดารุลกุฏนีย์และอัลบัยฮะกีย์ ได้บันทึกหะดิษรายงานจากอบีซัรริน ว่า
แท้จริงนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ในอูฐนั้น มีซะกาตของมัน,ในวัวนั้นมีซะกาตของมัน,ในแกะนั้นมีซะกาตของมันและในทรัพย์สินของบ้านนั้นมีซะกาตของมัน(4)
-------------------------------------------------------------------
(2) العروض: جمع عرض؛ وهر غير الأثمان من المال.
(3) أبو داود: كتاب الزكاة - باب الروض اذا كانت للتجارة هل فيها من زكاة ؟ برقم (562 1 ) (2 / 1 21، 2 21)، والبيهتي: كتاب الزكاة - باب زكاة التجارة 0 0 0 (4 / 46 1، 47 1 ). - (1178 ).
(4) البز: متاع البيت.
(5) الدارقطني: كتاب الزكاة - باب ليس في الخضراوات صدقة، برقم (28) (2 / 2 0 1)، والبيهقى: كتاب الزكاة - باب زكاة التجارة (4 / 47 1 )، وهو ضعيف، انظر: إرواء الغليل (827).

………………………………..
ในสิ่งที่ผมยืนอยู่ ผมมั่นใจ ซึ่งก็เป็นทางเลือกของผม แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือ ทำไม่บรรดานักวิชาการทั้งในยุคสะลัฟและเคาะลัฟมากมาย จึงยอมรับในทัศนะที่ว่า “วาญิบต้องจ่ายซะกาตสินค้า” และมีตำรามากมากมายทั้งที่เป็นตาราหะดิษและฟิกฮ ได้จัดให้ การจ่ายซะกาตสินค้า เป็นบทหนึ่งในตำราที่พวกเขารวบรวม มันเกิดอะไรขึ้นหรือครับ ที่นักวิชาการรุ่นแล้วรุ่นเล่า มากมายขนาดนี้ ไม่รู้ที่มาที่ไปของหะดิษที่ท่านอาจารย์ของผมบอกว่าใช้ไม่ได้ แต่พวกเขาก็ยังอ้างหะดิษบทนี้ และหะดิษบทอื่นมาสนับสนุน – อินชาอัลลอฮ มีต่อ (ผู้อ่านกรุณาพิจารณาด้วย นี่คือ ทางเลือกของผมเท่านั้น)
.............

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Sat Jun 27, 2009 10:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

อ.อะสันยังพยายามอ้างหลักฐานอีกว่า

บทว่า ด้วยเรื่อง ซะกาตการค้า : ผู้แต่งหนังสือ(หมายถึงอบูอิสหากอัชชิรอซีย์) ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า “ การจ่ายซะกาต จำเป็นในบรรดาสินค้าเพราะมีหะดิษรายงานโดยอบูซัรริน (ร.ฎ)ว่า แท้จริงนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ในอูฐนั้น มีซะกาตของมัน,ในวัวนั้นมีซะกาตของมัน,ในแกะนั้นมีซะกาตของมันและในทรัพย์สินของบ้านนั้นมีซะกาตของมัน ) เพราะว่า การค้านั้น ต้องการให้ทรัพย์สินเพิ่มพูนด้วยมัน และการจ่ายซะกาตเกี่ยวข้องกับมันด้วยเช่น การเสนอราคา(การซื้อขาย) ในปศุสัตว์
………..


แต่หะดีษที่คุณครูอ้างอาจารย์ของคุณครูค้านไว้ดังนี้ครับ

มีการอ้างรายงานมาว่า ...
عَنْ اَبِيْ ذَرٍّ الْغِفَارِيِّ، اَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : فِي اْلإبِلِ صَدَقَتُها، وَفِي الْغَنَمِ صَدَقَتُهَا، وَفِي الْبَقَرِ صَدَقَتُهَا، وَفِي الْبَزِّ صَدَقَتُهَا ......
ท่านอบู ซัรรฺ อัล-คิฟารีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า .... “ในอูฐ ต้องมีการบริจาค, ในแพะหรือแกะ ต้องมีการบริจาค, ในโคกระบือ ต้องมีการบริจาค, และในอาภรณ์เสื้อผ้า ต้องมีการบริจาค”
(บันทึกโดย ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ เล่มที่ 2 หน้า 101, และท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147) ...

วิเคราะห์
สายรายงานของหะดีษบทนี้ เป็นอย่างนี้
1. ดะลัจญ บิน อะห์มัด
2. ฮิชาม บิน อะลีย์
3. อับดุลลอฮ์ บิน รอญาอ์
4. สะอีด บิน สะลิมะฮ์
5. มูซา บิน อุบัยดะฮ์
6. อิมรอน บิน อบีย์อนัส
7. มาลิก บิน เอาซ์
8. อบูซัรรฺ อัล-คิฟารีย์
9. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
สถานภาพของหะดีษบทนี้
หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษเฎาะอีฟเหมือนหะดีษบทก่อนที่ผ่านมา เพราะมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ ...

(1). ในกระแสรายงานข้างต้น ... บุคคลที่ 5 คือ “มูซา บิน อุบัยดะฮ์” ถูกวิจารณ์ว่า เฎาะอีฟ จากนักวิชาการจำนวนมาก ...
(โปรดดูหนังสือ “อัล-กาชิฟ” ของท่านอัษ-ษะฮะบีย์ เล่มที่ 3 หน้า 164, และหนังสือ “อัต-ตักรีบ” ของท่านอัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 2 หน้า 286) ...

ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล กล่าวว่า ...

لاَ يَحِلُّ عِنْدِيْ الرِّوَايَـةُ عَنْـهُ
“ในทัศนะของฉัน ไม่อนุญาตให้รายงาน(หะดีษ)จากบุคคลผู้นี้” ...

(โปรดดูหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า101 จากคำอธิบายด้านล่าง)

(2). ข้อความของหะดีษ สับสน, .. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อความที่เป็นหลักฐานเรื่องซะกาตสินค้า ...

ในบันทึกของหะดีษข้างต้น มีข้อความว่า وَفِي الْبَزِّ صَدَقَتُهَا ซึ่งแปลว่า “ในอาภรณ์เสื้อผ้า (หมายถึง

อาภรณ์เสื้อผ้าที่จะใช้เป็นสินค้า) ต้องมีการบริจาค” ซึ่งนักวิชาการบางท่านตีความว่า บริจาคซะกาต ...

แต่ในบางกระแสของหะดีษนี้ซึ่งถูกบันทึกโดย ท่านอัล-หากิม ในหนังสือ “อัล-มุสตัดร็อก” เล่ม

ที่ 1 หน้า 545 กลับปรากฏข้อความว่า وَفِي الْبُرِّ صَدَقَـتُهَا ซึ่งแปลว่า ... “และในข้าวสาลีนั้น ต้อง

มีการบริจาค” ...

ทว่า ..ใน “สายรายงาน” ของท่านอัล-หากิมก็ยังมีข้อผิดพลาด คือไม่มีการระบุชื่อของผู้รายงาน

หมายเลข 5 (ท่านมูซา บิน อุบัยดะฮ์ อันเป็นจุดบกพร่องของหะดีษบทนี้ดังกล่าวแล้ว)ไว้ด้วย คง

ระบุเพียงผู้รายงานหมายเลข 4 (ท่านสะอีด บิน สะลิมะฮ์) และผู้รายงานหมายเลข 6 (ท่านอิมรอน

บิน อบีย์อนัส) เท่านั้น ...

ความสับสนของข้อความหะดีษระหว่างคำว่า اَلْبَزِّ (เสื้อผ้าอาภรณ์) กับคำว่า اَلْبُرِّ (ข้าวสาลี) ถ้าไม่

เพราะเกิดจากความผิดพลาดจากการเรียงพิมพ์ ระหว่างพยัญชนะ ز จากคำว่า البز, และพยัญชนะ

ر จากคำว่า البر แล้ว ก็ต้องเกิดจากความบกพร่องด้านความทรงจำของผู้รายงานบางท่าน, .. ซึ่งไม่

ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้หะดีษบทนี้มีความบกพร่อง จนนำมาอ้าง

เป็นหลักฐานเรื่องวาญิบซะกาตในสินค้าไม่ได้ ...

อีกกระแสหนึ่งของหะดีษบทที่ 2 นี้ มีสายรายงานตั้งแต่ผู้บันทึกมาจนถึง ....

(5). ท่านมุหัมมัด บิน บักรฺ

(6). ท่านอิบนุ ญุร็อยจ์ญ

(7). ท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส

..... แล้วสืบสายรายงานต่อไปจนถึงท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ...

สายรายงานและข้อความของกระแสนี้ ก็เหมือนกับกระแสแรก, .. คือสายรายงาน

บกพร่อง และข้อความ สับสน ! ...

สายรายงานบกพร่อง ก็เพราะท่านอิบนุ ญุร็อยจ์ญ ( ผู้รายงานลำดับที่ 6) เป็นผู้รายงานประเภท َ

تدْلِيْسٌ หรือ “มั่วนิ่ม” ... และไม่ปรากฏว่า ท่านเคยได้รับฟังหะดีษใดๆจากท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส

( ผู้รายงานลำดับที่ 7) ดังที่อ้างเอาไว้ในสายรายงานนั้น

ท่านอบู ฏ็อยยิบ อาบาดีย์ ได้ทำฟุตโน้ตไว้ด้านล่างหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” แล้วท่านได้อ้าง

คำพูดของท่านอัต-ติรฺมีซีย์จากหนังสือ “อัล-อิลัล” ว่า ...

(( سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ إسْمَاعِيْلَ عَنْ هَـذَاالْحَدِيْثِ، فَقَالَ : إبْنُ جُرَيْجٍ لَمْ يَسْمَعْ مِنْ عِمْرَانَ بْنِ اَبِيْ اَنَسٍ

.... ))

“ฉันได้ถามท่านมุหัมมัด บิน อิสมาอีล ( หมายถึงท่านบุคอรีย์ ) เกี่ยวกับหะดีษนี้,

ท่านตอบว่า ... อิบนุ ญุร็อยจ์ญ ไม่เคยได้รับฟังหะดีษใดจากท่านอิมรอน บิน อบีย์อนัส

เลย” ........
(โปรดดูฟุตโน้ตของท่านอาบาดีย์ในหนังสือ “สุนันอัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 101) ...

ส่วนข้อความสับสน ก็เพราะท่านอัด-ดารุกุฏนีย์ และท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้รายงานหะดีษนี้ด้วย

สำนวนว่า وَفِي اْلبَزِّ صَدَقَـتُهَا ด้วยพยัญชนะ ز ใน البز ซึ่งแปลว่า ... “ในอาภรณ์เสื้อผ้า ต้องมีการบริ

จาค” ....

(โปรดดูหนังสือ “สุนัน อัด-ดารุกุฏนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 102, และหนังสือ “อัส สุ

นัน อัล-กุบรออ์” ของท่านอัล-บัยฮะกีย์ เล่มที่ 4 หน้า 147 ) ...

แต่ท่านอะห์มัดและท่านอัล-หากิม ได้รายงานหะดีษนี้จากสายรายงานเดียวกันกับ

สายรายงานของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์และท่านอัล-บัยฮะกีย์ข้างต้น ด้วยสำนวนว่า ...... وَفِي اْلبُرِّ صَدَقَتُـهَا

... ด้วยพยัญชนะ ر ใน البر ซึ่งแปลว่า ... “ในข้าวสาลี ต้องมีการบริจาค” ...

(โปรดดูหนังสือ “อัล-มุสนัด” ของท่านอะห์มัด เล่มที่ 5 หน้า 179, และหนังสือ “อัล-มุ

สตัดร็อก” ของท่านอัล-หากิม เล่มที่ 1 หน้า 545) .....

สรุปแล้ว หะดีษบทที่ 2 นี้ -- จากทั้งสองกระแสรายงาน -- จึงเป็นหะดีษเฎาะอีฟ และไม่

สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ตามหลักวิชาการหะดีษ ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Sat Jun 27, 2009 10:51 am    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

คุณครูกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า

ในสิ่งที่ผมยืนอยู่ ผมมั่นใจ ซึ่งก็เป็นทางเลือกของผม แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือ ทำไม่บรรดานักวิชาการทั้งในยุคสะลัฟและเคาะลัฟมากมาย จึงยอมรับในทัศนะที่ว่า “วาญิบต้องจ่ายซะกาตสินค้า” และมีตำรามากมากมายทั้งที่เป็นตาราหะดิษและฟิกฮ ได้จัดให้ การจ่ายซะกาตสินค้า เป็นบทหนึ่งในตำราที่พวกเขารวบรวม มันเกิดอะไรขึ้นหรือครับ ที่นักวิชาการรุ่นแล้วรุ่นเล่า มากมายขนาดนี้ ไม่รู้ที่มาที่ไปของหะดิษที่ท่านอาจารย์ของผมบอกว่าใช้ไม่ได้ แต่พวกเขาก็ยังอ้างหะดิษบทนี้ และหะดิษบทอื่นมาสนับสนุน – อินชาอัลลอฮ มีต่อ (ผู้อ่านกรุณาพิจารณาด้วย นี่คือ ทางเลือกของผมเท่า


แต่อาจารย์ของคุณครูกล่าวไว้อย่างน่าคิดกว่าว่า[/B]

[B]นักวิชาการบางท่าน อาทิเช่น ท่านอัล-บัฆวีย์ เป็นต้น อ้างว่า นักวิชาการได้ “إِجْمَاعٌ” คือ มี

มติ “เป็นเอกฉันท์” ให้ “ทำการประเมินราคาสินค้าเมื่อครบรอบปี” .... แล้วให้จ่ายซะกา

ตจากราคาที่ประเมินได้หากครบนิศอบ .....

ท่านอัล-บัฆวีย์ยังอ้างอีกว่า นักวิชาการที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องนี้ มีเพียงผู้เดียว

คือ “ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์” เท่านั้น ... ซึ่งถือว่ เป็นทัศนะที่เชื่อถือไม่ได้ หลังจากได้มี “อิจญมา

อฺ” ( คือ มติเอกฉันท์) มาก่อนหน้านั้นแล้ว .....

(โปรดดูข้อมูลจากหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ ซุนนะฮ์” ของท่านอัล-บัควีย์ เล่มที่ 3 หน้า 350) ...

แต่ในความเป็นจริง ... เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักวิชาการตั้งแต่ยุคต้นๆมีความเห็น “ขัด

แย้ง” กันมานานแล้ว, .. มิใช่เป็น “มติเอกฉันท์” อย่างที่ท่านอัล-บัฆวีย์อ้าง ....

ตัวอย่างในเรื่องนี้ ก็คือ ทัศนะของ “ท่านอะฏออ์ บิน อบีย์รอบาห์” ซึ่งเป็นตาบิอีนระดับอาวุโส

ท่านหนึ่ง ที่กล่าวว่า .. ให้จ่ายซะกาตเมื่อขายสินค้าได้, มิใช่ให้ประเมินราคาสินค้าที่ยังมิได้

ขาย
.. ดังที่เพิ่งจะนำเสนอผ่านมา ...

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งบรรดานักวิชาการที่มีทัศนะว่าวาญิบจะต้องจ่ายซะกา

ตสินค้า .. พวกท่านก็ยังขัดแย้งกันอยู่ดีในประเด็นที่ว่า .. จะต้องจ่ายซะกาตสินค้าในลักษณะ

ไหน ? ...


ท่านอัล-มุซะนีย์ (เป็นศิษย์ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์, ... สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 264) มี

ทัศนะว่า ... ซะกาตสิ่งของ (สินค้า) ให้จ่ายเป็น “ตัว” ของสิ่งของนั้น มิใช่จ่ายเป็นราคา

(ประเมิน) ...


นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ... สินค้า, จะหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ย่อมอยู่

ในหลักการเดียวกัน, .. คือ เมื่อครบรอบปี ให้ประเมินราคาสินค้าแล้วจ่ายซะกาต แต่นัก

วิชาการอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ... ให้จ่ายซะกาตตาม “ราคาจริง” ที่ขายไป, มิใช่ให้จ่าย

ตาม “ราคาประเมิน” (ราคาตามท้องตลาด) ...
(โปรดดูหนังสือ “บิดายะตุ้ล มุจญตะฮิด” ของท่านอิบนุ รุชด์ เล่มที่ 1 หน้า 269) ...

[B]ความขัดแย้งดังกล่าว ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เรื่องซะกาตสินค้านั้น เป็นเรื่องที่ไม่มี

หลักฐานถูกต้องหรือชัดเจนเพียงพอแต่อย่างใด ....
นักวิชาการยุคหลังที่มีทัศนะว่า ไม่วาญิบจ่ายซะกาตสินค้า (เท่าที่ผมทราบ) ได้แก่

ท่านอบู อุบัยด์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 224), ท่านดาวูด อัศ-ซอฮิรีย์ (ถือกำเนิดปี ฮ.ศ. 200 หรือ

202), ท่านอิบนุ หัสม์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 456), ท่านอัช-เชากานีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1255 .. โดย

ท่านได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “อัด-ดุเราะรุล บะฮียะฮ์” ), .. ท่านศิดดีก หะซัน คาน ใน

การอธิบายหนังสือ “อัรฺ เราเฎาะตุ้ล นะดียะฮ์” เล่มที่ 1 หน้า 192-193, และท่านเช็คมุหัมมัด

นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “ตะมามุ้ล มินนะฮ์” หน้า 363-368 ... [/B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Sat Jun 27, 2009 10:56 am    ชื่อกระทู้: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ไม่เห็นคุณครูคนเก่งจะพูดให้เคลียร์เลยว่าหะดีษดังกล่าวศอเหี๊ยะดังที่ท่านครูว่า

หรือฏออีฟญิดดันดังที่อาจารย์ของคุณครูกล่าวและวิเคราะห์เอาไว้อย่างละเอียดกันแน่!!

สรุปแล้วคำพูดของคุณครูก็ไม่มีน้ำหนักอยู่ดี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
w
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 26/06/2009
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Sat Jun 27, 2009 11:04 am    ชื่อกระทู้: .. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

หะดีษที่คุณครูอ้างมาก็ถูกค้านหมดแล้วอยากรู้จังคราวนี้คุณครูจะเอาหะดีษต้นไหนมาค้านอีก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jun 28, 2009 3:15 pm    ชื่อกระทู้: Re: ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

w บันทึก:
Exclamation

ไม่เห็นคุณครูคนเก่งจะพูดให้เคลียร์เลยว่าหะดีษดังกล่าวศอเหี๊ยะดังที่ท่านครูว่า

หรือฏออีฟญิดดันดังที่อาจารย์ของคุณครูกล่าวและวิเคราะห์เอาไว้อย่างละเอียดกันแน่!!

สรุปแล้วคำพูดของคุณครูก็ไม่มีน้ำหนักอยู่ดี

.................

ถ้อยคำที่คุณ w ใช้ ผมจึงรู้ได้ทันทีว่า กระทู้นี้ตั้งมาเพื่อก่อฟิตนะฮ ผมเคยบอกแล้วว่า คำขอโทษทางโทรศัพท์ที่ผมว่า คือการสร้างภาพ ได้เริ่มปรากฏขึ้นมาแล้ว และแผนต่อไปคือการยืมมือกลุ่มเดียวกันให้ขัดแย้งกันเอง เพราะฉะนั้น ขอปิดกระทู้นี้เพียงแค่นี้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.17 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ