ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รู้ไว้ได้ประโยชน์เรื่องของ 4 อิมาม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รู้ไว้ได้ประโยชน์เรื่องของ 4 อิมาม
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หะลาล-หะรอม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:09 pm    ชื่อกระทู้: รู้ไว้ได้ประโยชน์เรื่องของ 4 อิมาม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิมามอบูฮะนีฟะฮฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ไม่รู้ชัดในหลักฐานที่ฉันอ้างอิง แล้วมาชี้ขาดในคำพูดของฉัน
เพราะเรานั้นก็คือคนธรรมดา เราพูดวันนี้อย่างนี้ พรุ่งนี้เราอาจจะกลับคำพูดใหม่ก็ได้
อิมามมาลิก ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
เราเป็นคนธรรมดา มีผิดมีถูก จงพิจารณาคำพูดของฉันด้วย หากถูกต้องตรงกับ อัลกุรอาน
และแบบฉบับของท่านร่อซูล ท่านทั้งหลายจงรับไป แต่ถ้าหากคำพูดของฉันขัดกับ อัลกุรอาน
และแบบฉบับของท่านร่อซูล ก็จงทิ้งไปเสีย
อิมามซาฟิอี ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
เมื่อพวกท่านพบว่าในหนังสือของฉันขัดกับแบบฉบับของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
พวกท่านก็จงพูดตามแบบฉบับของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
และทิ้งคำพูดของฉันเสีย
อิมามอะหมัด อิบนุฮัมบัล ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
อย่าตามฉันหรือตามอิมามมาลิก ซาฟิอี และเซารี แต่จงเอาจากสิ่งที่พวกเขาเอามา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

### อิมามชาฟีอี ###
อิมามชาฟิอี ท่านมีหลักการในการหุก่มไว้ 5 ประการ คือ
1 # กุรอาน
2 # ซุนนะฮฺ
3 # อิจญ์มาอฺ
4 # ฟัตฺวาของเศาะหาบะฮฺ
5 # กิยาส
เรียงตามลำดับดังกล่าวมา ซึ่งอันนั้ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล อูม เล่มที่7 หน้า 165
มีความว่า
# ความรู้มีหลายระดับ อันดับหนึ่ง คำภีร์และซุนนะฮฺ อันดับสอง มติเอกฉันท์ ต่อสิ่งที่ไม่มี
ระบุในคัมภีร์และซุนนะฮฺที่ประจักชัด อันดับที่สาม คำกล่าวของสาวกบางส่วนที่ไม่มีใครขัดแย้ง
อันดับสี่ คำแตกต่างของบรรดาสาวก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อันดับห้า กิยาส #
จากหลักการทั้งห้าประการดังกล่าวนี้ มีอยู่อันหนึ่งที่เคยเกิดความเข้าใจผิดกันมามาก
นั่นคือ ฟัตฺวาของเศาะหะบะฮฺ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกาลุศเศาะหาบี อันหมายถึงทัศนะ
ของสาวกผู้หนึ่งที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และไม่มีตัวบทอันชัดเจนมาเป็นหลักฐาน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเข้าใจผิดเกิดขื้นจากการที่ไปพบทัศนะของท่านอิมามชาฟิอีใน โกลญะดีด ที่ให้ไว้
ณ เมืองอียิปต์ไปหักล้างกับ โกลกอดีม ที่ให้ไว้ ณ เมืองบัฆดาด และปัญหานั้นเคยมีทัศนะของ
สาวก เคยให้ไว้ก่อนแล้ว ท่านอิมามนำมาเป็นหลักฐาน ความจริงมันมีขึ้นในบางปัญหา
แต่บางคนเข้าใจว่าท่านอิมามเลิกใช้ทัศนะหรือฟัตฺวาของเศาะหะบะฮฺไปโดยสิ้นเชิง ถึงกับทำให้
ผู้แต่งหนังสือในสมัยหลังๆนี้ เขียนออกมาชัดๆเลยว่า ท่านอิมามชาฟิอีเลิกใช้ฟัตฺวาเศาะหะบะฮฺ
หรือ เกาลุศเศาะหาบี ไปแล้วในโกลญะดีด โดยผู้เข้าใจผิดเขียนโคลงไว้ตอนหนึ่งว่า
# คำของเศาะหาบีในญะดีดของชาฟิอีไม่ใช้เป็นหลักฐาน ส่วนในกอดีดเป็นหลักฐานมาก่อน
ทว่าอันนี้อ่อน ดังนี้นจึงถูกผลัก #
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บรรดาผู้รู้ในบ้านเรา เมื่อได้อ่านพบอย่างนี้ก็เชื่ออย่างสนิทใจ เพราะเมื่อมันเป็นภาษา
อฺรับแล้วคิดว่าเป็นหลักฐานได้ทันที โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริง ด้วยเหตุนี้ เกาลุศเศาะหาบี
จึงได้เป็นเรื่องใหญ่อยู่พักหนึ่ง แต่ต่อมาเงียบหายไปเพราะจำนนต่อความจริงที่ได้มาจาก
คำของท่านอิมามเอง ในหนังสือ อัล อุม เล่ม7 หน้า 265 มีข้อความว่า
# สิ่งที่มีอยู่ในคำภีร์และซุนนะฮฺแล้ว ข้ออ้างของผู้ที่ทราบทั้งสองดีแล้วย่อมฟังไม่ขึ้น
นอกจากต้องทำตามทั้งสองเท่านั้น หากปรากฎว่าไม่มีอยู่ในทั้งสอง เราก็หันไปสู่คำกล่าว
ของบะะดาสาวก หรือคนได คนหนึ่งจากบรรดาสาวก # ข้อความชัดเจนอยู่แล้วจาก
อิมามชาฟิอี
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาปัญหาหนึ่ง ไปตรวจดูใน กุรอาน หรือหะดีษ หรืออิจญ์มาอฺ ตลอดจนทัศนะ
ของสาวกก็ไม่พบหุกุมอันนี้ จะทำอย่างไร ท่านอิมามชาฟิอีบอกว่า ให้ใช้กิยาส เพราะเกิดความ
จำเป็น อันนี้จะเห็นได้จากคำของท่านเอง ที่ตอบกับอิมามฮัมบาลี ซึ่งอิมามฮัมบาลีกล่าวว่า
# ข้าพเจ้าถามอิมามชาฟิอีถึงเรื่องกิยาส และท่านตอบว่า เฉพาะกิยาสจะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำ
เป็น # จาก หนังสือ ตารีค มะซาฮิบ อัล อิสลามียะฮฺ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาจมีข้อสงสัยว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วไปค้นในกุรอานไม่พบหุก่ม จะเป็นไปได้หรือ ทั้งๆ
ที่เคยได้ยินได้ฟังเสมอว่า กุรอานมีทุกสิ่ง ทุกอย่างครบสมบูรณ์
อันนี้ขอชี้แจงว่า เรื่องที่กุรอานมีทุกสิ่งทุกอย่างครบสมบูรณ์นั้นจริงที่สุด คือครบในเรื่องหลัก
การ ส่วนปัญหาปลีกย่อยนั้น ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ถ้าจะให้กุรอานระบุไว้เสียทุก
ปัญหา มุกมัสอะละฮฺแล้ว กุรอานก็คงไม่สิ้นสุดลงเพียง 30 ญุซอฺ แต่จะต้องมีมาเรื่อยๆ จน
กระทั่งถึงวันกิยามะฮฺทีเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ที่ว่ากุรอานครบสมบูรณ์นั้น ก็หมายถึงว่ามี
หลักการในการตัดสินปัญหาไว้อย่างครบครัน ขอยกตัวอย่างไว้สักเรื่องหนึ่ง เช่น
ข้าวเปลือกในเมืองไทยเรานี้แหละว่าทำไมจึงต้องออกซะกาต ทั้งๆที่ไม่มีตัวบทระบุไว้เลย
จะค้นในกุรอานก็ไม่มี มีแต่เพียงว่า จงบริจากซะกาต แล้วในบทหะดีษก็ได้มาขยายว่า สิ่งมี่ต้อง
ออกซะกาตมี เงิน ทอง ปศุสัตว์ เมล็ดพืชบางอย่าง เช่นข้าวสาลี เป็นต้น ทีนี้บรรดานักปราชญ์
หรืออุละมาอฺได้พิจารณาแล้วว่า ในตัวหะดีษนั้นบอกว่า ข้าวสาลีต้องออกซะกาต เพราะใช้เป็น
อาหารหลัก แล้วข้าวสารก็เป็นอาหารหลักของเราเช่นกัน จึงมีลักษณะตรงกันว่าทั้งสองอย่างเป็น
อาหาร จึงได้เอาหุกุมของข้าวสาลีมาใช้แก่ข้าวเปลือก คือต้องออกซะกาตเหมือนกันโดยใช้หลัก
กิยาสหรือเปรียบเทียบนั่นเอง อันนี้โดยฝีมือของอุละมาอฺ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu May 27, 2004 11:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากตัวอย่างที่หยิบยกมาอ้างแล้วนี้ ท่านผู้อ่านคงทราบดีว่า การที่ไม่ได้มีหุกุมปัญหาปลีกย่อย
ระบุอยู่ในกุรอานนั้น มิได้หมายความว่ากุรอานบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ตรงกันข้าม กุรอานสมบูรณ์
ในหลักการใหญ่ๆทุกอย่าง ส่วนปัญหาปลีกย่อยนั้นต้องอาศัยหลักอื่นๆ เช่น อิจญ์มาอฺ หรือกิยาส
เป็นต้น จึงจะได้หุกุมมา
แนวทางอีกอย่างหนึ่งของอิมามชาฟิอีที่แตกต่างกับของผู้อื่นนั่นก็คือ ท่านถือว่า กุรอานกับ
ซุนนะฮฺที่แท้และที่ชัดเจนนั้น มีน้ำหนักเท่ากันในการยึกถือเป็นหลักฐาน ซึ่งอันนี้อิมามคนอื่นๆ
ถือว่าฐานะของซุนนะฮฺนั้นต่ำกว่ากุรอาน ในด้านการเป็นหลักฐาน ดั่งนั้น จากคำพูดของอิมาม
ชาฟิอีในหนังสือ อัลอุม ที่ผ่านมาแล้วส่อให้เห็นได้ชัดว่า ท่านได้จัดอันดับของที่มาจากหุกุมไว้
ห้าอันดับด้วยกัน อันดับที่หนึ่ง คือ คัมภีร์และซุนนะฮฺที่ประจักษ์ชัด ฯลฯ การยึดถือที่มีของหุกุม
ไม่เหมือนกัน หรือจัดอันดับไม่เหมือนกัน นี้จึงมีผลทำให้ปัญหาปลีกย่อยของแต่ละฝ่ายมีหุกุม
ไม่เหมือนกันด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
u
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2003
ตอบ: 114


ตอบตอบ: Fri May 28, 2004 10:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ญะซากัลลอฮุคอยรอน ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีครับ
Smile ... ผมกำลังรอเรื่องอิหม่ามท่านต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

### มัซฮับหะนะฟี ###
การวินิจฉัยหุกุมออกมานั้น มัซฮับหะนะฟีมีหลักการว่า จะได้มาจากหลัก 7 ประการ คือ
1 # กุรอาน
2 # ซุนนะฮฺ
3 # ทัศนะของสาวก
4 # กิยาส [การเปรียบเทียบ]
5 # อิสติหฺซาน [นับว่าดี]
6 # อิจญ์มาอฺ [มติเอกฉันท์]
7 # อัล อุรฺฟ์ [ประเพณี]
ทั้งนี้ท่านอิมาม อบูหะนีฟะฮฺ ได้กล่าวไว้มีข้อความว่า
# ข้าพเจ้านำหุกุมมาจากกุรอาน หากไม่พบในกุรอานก็ได้จากซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม ถ้าไม่พบในทั้งสองก็จะได้จากคำกล่าวของสาวก ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งข้าพเจ้าจะรับเอาหรือไม่เอาจากบางท่านตามความเห็นของข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้าจะไม่ทอดทิ้งคำกล่าวของบรรดาสาวกแล้วไปเอาคำของผู้อื่นเป็นอันขาด อนึ่ง หากว่าหุกุมต่างๆ เป็นทัศนะของ อิบรอฮีม นะคออี ซะอฺบี อิบนุซีรีน หะสัน อะฎออฺ หรือสอิด อิบนุ อัล มุซัยยิบ
[เป็นชนชั้นตาบิอีน] นั้น เขาทั้งหลายต่างใช้ความอุตสาหะ ซึ่งข้าพเจ้าก็ใช้ได้เหมือนๆกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกตอนหนึ่ง ท่านอิมามหะนะฟี กล่าวว่า
# สิ่งที่มีอยู่ในกุรอานและซุนนะฮฺนั้น ข้าพเจ้าจะรับโดยสิ้นเชิง ส่วนที่เป็นคำกล่าวของสาวก
ข้าพเจ้าจะเฟ้นเอาที่เหมาะสม ส่วนคำกล่าวของตาบิอีนนั้น เขาทั้งหลายล้วนเป็นชาย[ผู้มีวิชา]
เราเองก็ชายคนหนึ่งเช่นกัน
อีกตอนหนึ่ง ปรากฎในหนังสือ อัล มะนากิบ ว่า
# ปัญหาต่างๆ จะอาศัยกิยาส ถ้าการกิยาสไม่ได้ผลก็อาศัยอิสติหฺซาน แต่ถ้าไม่ได้ผล
อีก ก็จะหันไปพิจารณาเอาจากสิ่งที่บรรดามุสลิมปฎิบัติมา [ประเพณีนิยม]
จากข้อความที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่า อิมามหะนะฟีใช้หลักในการวินิจฉัยหุกุม 7 ประการ
ด้วยกัน ดังที่กล่าวมาแล้ว ข้อที่น่าอธิบายให้ผู้อ่านทราบก็คือคำว่า อิสติหฺซาน อิจญ์มาอฺ และ
อัล อุรฺฟุ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

# อิสติหฺซาน ตามภาษาแปลว่า นับว่าดี ส่วนในด้านวิชาการหมายถึงการกิยาสที่ลึกล้ำ
[เคาะฟี] ใช้เหตุผลที่ไกล แทนที่จะให้เหตุผลที่ไกล้หรือเห็นได้ชัด [ซฺอหิรฺ] ตัวอย่างเช่น
เราเอาที่ดินเพาะปลูกแปลงหนึ่งทำวะกัฟ แต่มิได้มีการระบุในขณะที่ทำวะกัฟว่าสิ่งเพาะปลูก
ในเนื้อที่นี้เข้าอยู่ในวะกัฟด้วยหรือไม่ ทางหะนะฟีว่า สิ่งเพาะปลูกย่อมเข้าอยู่ในวะกัฟด้วย
เหมือนกัน โดยอาศัยหลักอิสติหฺซานนี่เอง ถ้าว่ากันด้วยเหตุผลทั่วๆไป สิ่งเพาะปลูกบนผืนดิน
นี้ไม่เข้าอยู่ในวะกัฟ เพราะไม่มีระบุมาแต่แรก อันนี้โดยอาศัยการกิยาสจากเรื่องซื้อขาย
เพราะการซื้อขายนั้นก็คือการโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิมไปสู่เจ้าของใหม่ การวะกัฟก็เช่นกัน
กรรมสิทธิ์ที่อยู่กับเจ้าของเดิมก็ย่อมโอนไปให้แก่ฝ่ายที่รับวะกัฟ ถึอว่าสิ่งเพาะปลูกเข้าอยู่ใน
วะกัฟด้วย เพราะใช้หลักอิสติหฺซาน คือนับได้ว่าเป็นผลดีแก่ฝ่ายรับวะกัฟนั่นเอง
# อิจญ์มาอฺ คือความเห็นเป็นเอกฉันท์ อันหมายถึงว่าบรรดาสาวกของร่อซูล มีความเห็น
ตรงกันในปัญหาไดปัญหาหนึ่ง ซึ่งไม่มีตัวบทระบุไว้อย่างชัดแจ้งสำหรับอิจญ์มาอฺนี้
นักปราชญ์ต่างก็มีความเห็นขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่า ภายหลังจากยุคของสาวกแล้ว จะมี
อิจญ์มาอฺได้หรือไม่ ท่านอิมามฮัมบะลีมีทัศนะว่า อิจญ์มาอฺจะมีแต่เฉพาะในยุคศอหะบะฮฺ
เท่านั้น ส่วนอิจญ์มาอฺของนักปราชญ์วิชาฟิกฮฺ ท่านไม่นับว่าเป็นอิจญ์มาอฺ
หรืออีกนัยหนึ่งไม่ถือว่าเป็นหุจณะฮฺ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

# อัล อุรฟ คือประเพณีนิยม หมายถึงการยึดถือประฎิบัติของมุสลิมในบางอย่างที่ไม่มี
ตัวบทวางไว้ และสาวกก็มิได้กระทำเป็นตัวอย่างมาก่อน หลักอันนี้ท่านอิมามหะนะฟี ได้วาง
เงื่อนไขว่า ต้องเป็นประเพณีที่ดี [อุรฺฟุนเศาะหิหฺ] และไม่ขัดต่อบทบัญญัติ ถ้าขัดกับบทบัญญัติ
ศาสนาเรียกว่า [อุรฺฟุนฟาสิก] จะนำมาใช้เป็นหุกุมไม่ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

### มัซฮับฮัมบะลี ###
สำหรับมัซฮับฮัมบะลี ซึ่งเป็นมัซฮับที่สี่ ท่านก็ไช้หลักการของอิมามชาฟิอีทั้ง 5 ประการ
แต่ได้เพิ่มมากกว่าอิมามชาฟิอีอีก 4 ประการ รวมหลักการของท่านมีอยู่ 9 ประการด้วยกัน
หลักการ 4 อย่างที่เพิ่มมีดังนี้
1 # อัล มัซละหะฮฺ [ผลประโยชน์]
2 # อัด ดะรีอะฮฺ [สื่อชักนำ]
3 # อิสติหฺซาน [นับว่าดี]
4 # อิสติสฮาบ [อ้างสภาพเดิม]
ข้อควรอธิบายในที่นี้คือ หลัก อิสติสฮาบ ความหมายของคำนี้คือ การถึอสภาพเดิมของสิ่งต่างๆ
ถึออนุญาตให้กระทำได้ จนกว่าจะมีหลักฐานมาห้าม เช่นสภาพเดิมของการทำข้อตกลงต่างๆ
ตลอดจนเงื่อนไขที่วางขึ้นระหว่างคู่กรณี สภาพเดิมอนุญาตให้กระทำได้ ยกเว้นสิ่งที่มีหลักฐาน
มาห้าม
ตัวอย่างอีกอัน เช่นสภาพเดิมของน้ำถือว่าสะอาดนำมาไช้ได้ จนกว่าจะได้พบหลักฐานว่าไม่
สะอาดถึงจะห้ามไช้ เหล่านี้เป็นต้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากหลักการของอิมามทั้ง 4 กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า มีมากน้อยไม่เหมือนกัน คือ
1 # หะนะฟีใช้หลัก 7 ประการ
2 # มาลิกีใช้หลัก 6 ประการ
3 # ชาฟิอีใช้หลัก 5 ประการ
4 # ฮัมบะลีใช้หลัก 9 ประการ
การแตกต่างระหว่างอิมามทั้ง 4 ในเรื่องหลักการที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หุกุมที่พิจารณา
นำออกมาต้องมีลักษณะแตกต่างกันไป แม้จะได้มีการใช้หลักการเหมือนๆกัน แต่การให้คำนิยาม
แตกต่างกันก็มีผลทำให้หุกุมของปัญหาปลีกย่อย แตกต่างกันไปด้วย เช่นคำว่า ซุนนะฮฺ
ตามความหมายโดยทั่วไป หมายถึงคำพูดและการกระทำของท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ
วะซัลลัม แต่ท่านอิมามมาลิกีให้ไว้กว่างกว่านี้ คือ หมายถึงคำพูด การกระทำ ทัศนะของ
ศอหะบะฮฺ การปฎิบัติของชาวเมืองมดีนะฮฺในสมัยท่านมาลิกีด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เหตุใดท่านมาลิกีจึงประมวลทัศนะของศอหะบะฮฺ และการกระทำของชาวเมือง มดีนะฮฺในสมัยของท่านเข้าไว้ในคำว่า ซุนนะฮฺ
อันนี้พออธิบายได้ว่า ท่านมาลิกีเห็นว่า ศอหะบะฮฺทุกคนเป็นผู้ใกลชิดท่าน นบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บางท่านมีชีวิตคลุกคลีอยู่กับท่านตลอดเวลา เช่น อะลี อับดุลลอฮฺ บิน
อับบาส อนัส อิบนิ มาลิก เป็นต้น พูดง่ายๆ ว่าท่านเหล่านั้นเป็นบุคคลในวงการย่อมจะรู้เห็น
มากกว่าบุคคลภายนอก ดังนั้น ฟัตวาหรือทัศนะของศอหะบะฮฺที่แสดงออกมา จึงเท่ากับเป็นการ
ถ่ายทอดหุก่มจาก นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั่นเอง อิมามมาลิกีจึงถือเป็นซุนนะฮฺ ด้วย
ส่วนการปฎิบัติของชาวเมืองมดีนะฮฺที่ท่านเป็นหลักการด้วย ก็เพราะชาวเมืองนี้เป็นผู้ใกล้
ชิดกับศอหะบะฮฺ ย่อมได้รับการถ่ายทอดวิชาศาสนามาจากท่านเหล่านั้น จึงถือได้ว่าการกระทำ
ต่างๆเกี่ยวกับศาสนาของชาวเมืองมดีนะฮฺ ย่อมแสดงออกมาในทางที่ถูกต้อง
จึงเชื่อถือได้และใช้เป็นหลักฐานได้ด้วยตามทัศนะของท่าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat May 29, 2004 8:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

### มัซฮับมาลิกี ###
มัซฮับอิมามมาลิกี ซึ่งท่านผู้นี้ในวงการศาสนาให้ฉายาท่านว่า "อิมามแห่งถิ่นที่อพยพ"
หมายถึงเมืองมะดีนะฮฺนั่นเอง ท่านมาลิกีก็ได้วางหลักในการวินิจฉัยหุกุมไว้ 6 ประการคือ
## 1 กุรอาน
## 2 ซุนนะฮฺ
## 3 กิยาส
## 4 อัล มัซละหะฮฺ [ผลประโยชน์]
## 5 อัล อุรฺฟุ
## 6 ดะรีอะฮฺ [สื่อชักนำ]
เกี่ยวกับหลักเกณฆ์ทั้ง 6 ประการของมาลิกีนี้ เราต้องทำความเข้าใจในทัศนะที่แท้จริง
ของท่านเสียก่อน หาไม่แล้ว บางปํญหาเราอาจจะงง หรือฉงนในแนวทางของท่าน กล่าวคือ
กุรอานนั้นท่านมาลิกีถือเป็นบัญญัติขั้นสุดยอด หากมีหะดีษหรืออื่นๆมาขัดกับกุรอานแล้วท่าน
ก็จะปัดอย่างอื่นหมด หันมายึดกุรอานอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ปัญหาสุนัข ซึ่งท่านมีทัศนะว่า
มันไม่นะญีส เพราะในกุรอานอายะฮฺที่ 5 ซูเราะฮฺ อัล มาอิดะฮฺ ระบุว่า
5:4 ### และสัตว์ล่าเหยื่อ ซึ่งสูเจ้าได้สอนมันตามที่ อัลลอฮฺ ทรงสอนสูเจ้าทั้งหลาย
ก็อนุญาตให้บริโภค ###
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หะลาล-หะรอม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 9

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.19 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ