ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) (สนทนาเชิงวิชาการ)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Tue May 16, 2006 11:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูดของผมที่ว่า

แต่ถ้าเราจะรักท่านรอซูลก็ควรเอาเยี่ยงอย่างซอฮาบะฮ์ไม่ใช่หรือ แต่ทำไมเราถึงไปเอาเยี่ยงอย่างของคนอื่นมาแสดงความรักด้วยเล่า หรือว่าสุดยอดในของความรักต้องแบบอย่างที่เราทำ ไม่ใช่แบบอย่างของซอฮาบะฮฺใช่ไหม

นายคนอยากรู้วิจารณ์ว่า

คุณพูดผิดครับแถมไม่เคลียร์ เลย ---คุณต้องพูดว่า** ถ้าเรารักท่านรอซุล้ เราก็ต้องเอาแบบอย่างท่านรอซุล้ครับผม*** แต่ถ้ารักซอฮาบะ ก็ต้องเอาแบบอย่างซอฮาบะ ครับ

นายคนอยากรู้สะดุถดขาตัวเองล้มหงายหลังตึง ฮ้าๆๆ

เพราะนายคนอยากรู้ไม่เอาทั้งแบบรอซู้ลและแบบซอฮาบะฮ์ แต่คิดพิธีกรรมกันขึ้นเอง เขารรักนาบีรักซอฮาบะฮ์แบบไหนกันละนี่ สงสัยจะรักแต่ปากอย่างที่อัลฟารูกว่าละมั้ง ฮ้าๆๆเอิกๆๆ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 4:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

การแบ่งหัวข้อของรายวิชา โดยพิจารณาจากเนื้อหา เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ มันเกี่ยวอะไรกับบิดอะฮ ในศาสนาล่ะครับ ในทำนองเดียวกับการแบ่ง อายะฮอัลกุรอ่าน เป็นมักกียะฮ เป็นมะดะนียะฮ ในวิชาอุซูลตัฟสีร โดยการพิจารณาจากการประทานลงมาก่อนและหลังจากฮิจญเราะฮ ทั้งนี้ เพื่อให้การศึกษาง่ายขึ้น

วิจารณ์

ประเด็นการแบ่งอายะฮ์อัลกุรอานเป็นมักกีย์และมะดะนีย์ และอื่นๆนั้น มันไม่ใช่ปัญหา แต่แบ่งเตาฮีดออกมาเป็น 3 ประเภท แล้วมาหุกุ่มบรรดามุสลิมมีนว่า "มุสลิมคนนั้น เป็นรุชริกีน มีเตาฮีดรู่บูบียะฮ์ แต่ไม่มีเตาฮีดอุลูฮียะฮ์" คำกล่าวแบบนี้มันมีในยุคสมัยนบีและยุคสะลัฟด้วยหรือครับ? ท่านนบี(ซ.ล.) เคยเผยแพร่ให้บรรดาประชาชาติและบอกเผยแพร่หรือว่า "เราต้องศรัทธาเตาฮีดอุลูฮียะฮ์ และเตาฮีรุบูบียะฮ์" ? จนกระทั้งบางกลุ่มเอามาเป็นหลักการ หุกุ่มพี่น้องมุสลิมที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางของตนว่า "เขาคือมุชริกที่มีแต่เตาฮีดรุบูบียะฮ์ แต่เป็นมุอฺมินไม่แท้เพราะไม่มีเตาฮีดอุลูฮียะฮ์" ??? นี่แหละที่เขาเรียกว่าการแบ่งแบบบิดอะฮ์แล้วนำมาหุกุ่มกับบรรดามุสลิมมีนผู้ที่อยู่อื่นจากแนวทางของตน

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 4:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ศาสนาที่มาจากอัลลอฮและรซูล และ ให้ไปผลิตบุญเอาเองก็แล้วกัน เพราะท่านนบีไม่ได้รับรองไว้ แบบนี้เขาเรียกว่า บิดอะฮประยุกต์

วิจารณ์

นั่นคือหลักความเห็นของบังอะสันล้วนๆเลยครับ และมันไม่ใช่หลักฐานว่า อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)และท่านร่อซูลุลเลาะอ์(ซ.ล.) ได้ห้ามกระทำเมาลิดเลย

ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ว่า

قال عبد الله بن الإمام أحمد بن حنبل : كان أبى يصلى كل يوم ثلاثمئة ركعة ، فلما مرض من تلك الأسواط أضعفته فكان يصلى كل يوم وليلة مئة وخمسين ركعة

"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าว ท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน " ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 212

ผมอยากถามว่า การละหมาดสุนัตทุกวัน 300 ร่อกะอัตที่ท่านอิมามอะหฺมัดทำนั้น เป็นเรื่องศาสนาที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์รับรองเอาไว้หรือไม่? อัลเลาะฮ์ได้ตรัสไว้ว่า ให้ทำละหมาดวันละ 300 ร่อกะอัตหรือไม่? ท่านร่อซูลสอนว่า ให้ทำละหมาดสุนัตทุกวัน 300 ร่อกะอัตหรือไม่? การละหมาดวัน 300 ร่อกะอัตทุกวันนั้น มันเป็นบิดอะฮ์ที่ท่านอิมามอะหฺมัดประยุกต์ขึ้นมาเองหรือไม่? บังอะสันโปรดหน่อยได้ไหม?

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 4:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

เอาของคริสต์ มาประยุกต์กับของอิสลาม หรือ บิดอะฮสลัดผัก เอาโน้นนิด เอานี้หน่อย มาผสมกัน แล้วกลายเป็นรูปแบบอิบาดธขึ้นมา

วิจารณ์

แล้วพวกยาฮูดีย์ ยิว เชื่อและศรัทธาว่า อัลเลาะฮ์นั่งอยู่บนบัลลังก์ ในบนฟากฟ้า ล่ะครับ มันไม่เหมือนกับอากิดะฮ์ วะฮาบีย์ หรือครับ? แล้วแถมนะซอรอให้ด้วยนะ!

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 4:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

หลักฐานคือ อะไรครับน้อง ในเมื่อ เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ท่านนบีและเหล่าสาวกไม่ได้จัดงานงานหรือ พิธีเมาลิด หรือ จะเอาแบบหาอาไหล่มาประกอบ

วิจารณ์

นั่นมันแค่ความเห็นของบังอะสันล้วนๆเลยครับ เอาหลักฐานชัดๆมาซิครับ ที่ชี้ให้เห็นว่า การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) เป็นปาป เป็นความชั่ว

ของดีในรูปแบบสุนัติกว้างๆนั้น หากนำมารวมทำกันกลายเป็นความชั่ว ตกนรกหรือครับ ? หากเราจะทำการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)กัน มันต้องห้ามในการอ่านประวัติกันหรือครับ? มันห้ามการซอละวาตด้วยหรือครับ? ห้ามให้อาหารและเลี้ยงอาหารกันหรือครับ? หรือว่าความดีเหล่านี้ ต้องทำกันทีละอย่าง ถึงจะเป็นผลบุญ? แต่ถ้าหากความดีต่างๆเหล่านี้มาทำรวมกัน มันกลายเป็นความชั่ว!! ตามทัศนะของวะฮาบีย์ไปได้อย่างไรกัน? ใครที่บัญญัติมันว่าหะรอม ?? มีใครตอบได้บ้าง ?

แล้วสิ่งที่นบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ไม่เคยทำรูปแบบเอาไว้นั้น มันหะรอมกระทำหรือครับ โดยเฉพาะเรื่องที่สมัครใจกระทำ?

ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ว่า

قال عبد الله بن الإمام أحمد بن حنبل : كان أبى يصلى كل يوم ثلاثمئة ركعة ، فلما مرض من تلك الأسواط أضعفته فكان يصلى كل يوم وليلة مئة وخمسين ركعة

"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าว ท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน " ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 212

ผมอยากถามบังอะสันนักหน่อยเถอะครับ การละหมาดสุนัตในรูปแบบ 300 ร่อกะอัตที่ท่านอะหฺมัดทำนี้ ท่านนบีเคยสั่งให้ทำหรือเปล่า? บรรดาซอฮาบะฮ์เคยกระทำแบบอย่างไว้หรือเปล่า? เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำมันเอาไว้ ผมอยากถามว่า ท่านอะหฺมัด ทำบิดอะฮ์หรือไม่???

อิมามอัชชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า

كل ما له مستند من الشرع فليس ببدعة فلو لم يعمل به السلف

"ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม" ดู หนังสือ อิตกอน อัลซ๊อนอะฮ์ ฟี ตะหฺกีก มะอฺนา บิดอะฮ์ ของท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ อัลฆุมารีย์ หน้า 14 ตีพิพม์ มัตตักอัลกอฮิเราะฮ์ ปี ฮ.ศ. 1426 - ค.ศ. 2005

ผมอยากทราบว่า สิ่งที่ศาสนาสนับสนุนให้กระทำนั้น หากสะลัฟไม่กระทำรูปแบบเอาไว้ นั่นก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์ซึ่งเป็นนักปราชน์สะลัฟท่านสำคัญคนหนึ่งแห่งโลกอิสลาม

การเรียกว่า"เมาลิด"นั้น มันแค่ชื่อเรียกเท่านั้นเอง อันดับแรกเราต้องทราบก่อนกว่า เมาลิดคืออะไร ? العلم بالشىء فرع عن تصوره เคยได้ยินคำนี้ใหม ? ไม่ใช่อุลามาอ์วะฮาบีย์บอกว่าเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ แล้วก็เอาหัวชนอย่างเดียว โดยไม่ลืมหูลืมตาแล้วว่า เมาลิด มันคืออะไร?

บังอะสันก็ยังคงย้ำหลักการแนวทางของบังที่ว่า "ท่านนบีและสลัฟไม่ทำนั้น ถือว่าหะรอมบิดอะฮ์" ? ซึ่งประเด็นนี้ ผมก็นำเสนอวิจารณ์ในเชิงวิชาการไปแล้ว แต่ทำไมบังอะสันไม่นำมาวิจารณ์หักล้างนั้น ปล่อยไว้เฉยๆอย่างนี้ มันก็มีน้ำหนักน่ะซิ แล้วบังอะสันยังมาพูดได้ยังไงในนำนองที่ว่า "ท่านนบีและสลัฟไม่ทำนั้น ถือว่าหะรอมบิดอะฮ์" ? ก่อนที่บังอะสันจะพูดคำๆนี้ บังอะสันต้องวิจารณ์สิ่งที่ผมได้เคยนำเสนอสิ่งต่อไปนี้ก่อนนะครับ ผมต้องนำมันมาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เพราะรู้สึกว่าบังอะสันจะทำแกล้งลืม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

พี่น้องซุนนะฮ์วะฮาบีย์มักจะอ้างว่า "ท่านนบีไม่เคยทำ บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เคยทำ และสะลัฟไม่เคยทำ" ซุนนะฮ์วะฮาบีย์ก็เลยเอาหลักการนี้ มาหุกุ่มหะรอม บิดอะฮ์ในเรื่องของศาสนา โดยไม่ลืมหูลืมตาว่าอะไรเป็นหลักการที่สอดคล้องกับศาสนาและอะไรที่ขัดแย้งกับศาสนา คำพูดนั้นถูกแต่เป้าหมายที่นำมาใช้นั้นผิด

ดังนั้น การที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" ( دليل ) แต่มันชี้ถึง"การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" (دليل ) ว่าห้ามทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แต่มันบ่งถึง "การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือ "หลักฐานในเชิงไม่มีและไม่รู้ว่ามีหุกุ่มมาระบุ" ( الدليل العدمى )ในการห้ามเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น หลักฐานที่ชี้ถึงการห้าม ( دليل التحريم ) นั้น คือการมีตัวบทหลักฐานที่บ่งถึงการต้องห้าม(النهى) กับการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือมีการตำหนิจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ในการกระทำสิ่งหนึ่ง และหากว่ามีตัวบทมาระบุห้าม ก็ย่อมไม่มีข้อกังขาใดๆอย่างแน่นอน

ดังนั้น การหลักการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำนั้นหรือท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้กระทำ มาเป็นหลักฐาน(دليل)ในศาสนา เพื่อทำการตำหนิ ทำการหุกุ่มหะรอม ทำการกล่าวหาบิดอะฮ์ตกนรก และนำมากล่าวหาเป็นการกระทำที่ชั่วนั้น ย่อมเป็นหลักการที่โง่เขลาอย่างชัดเจนกับหลักการหุกุ่มของศาสนาและหลักพื้นฐานของฟิกห์ที่บรรดานักปราชญ์มุจญฺฮิดแห่งโลกอิสลามได้วางหลักการวินิจฉัยหุกุ่มเอาไว้ ฉะนั้น การสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำย่อมไม่ใช่หลักฐาน แต่มันบ่งถึง ไม่มีหลักฐาน และหลักฐานหนึ่งจะสามารถบ่งถึงการห้ามและตำหนิได้นั้น ก็ด้วยสิ่งที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงบัญญัติห้ามและสิ่งที่ท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้ห้ามไว้ในซุนนะฮ์ที่ซอฮิหฺของท่าน

ดังนั้น ประเด็นเมาลิดนี้ มันอยู่ในเรื่องของการ "ทิ้งการกระทำ" ( الترك ) ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งกับสิ่ง - คือไม่เคยกระทำมัน - หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมัน โดยที่ "ไม่มี" หะดิษ หรือ ร่องรอย มารายงานระบุห้ามจากการกระทำกับสิ่งที่ถูกทิ้งการกระทำดังกล่าว ที่ให้ความเข้าใจถึงหะรอมหรือมักโระฮ์

บรรดาผู้รู้ยุคหลังๆบางท่านเลยเถิดในการอ้างหลักฐานที่คลุมเคลือเช่นนี้ โดยทำการหุกุ่มหะรอม หรือกล่าวหาบิดอะฮ์ลุ่มหลงในเรื่องของศาสนา ด้วยคำกล่าวที่ว่า นบีไม่เคยทำอย่างนั้น หรือไม่ได้รับการยืนยันว่านบี(ซ.ล.)กระทำอย่างนั้น เป็นต้น

อุลามาอ์บางส่วนกล่าวไว้ว่า

الترك ليس بحجة فى شرعنا
لا يقتضى منعا ولا إيجابا
فمن ابتغى حظرا لترك نبينا
ورأه حكما صادقا وصوابا
قد ضل عن نهج لأدلة كلها
بل أخطأ الحكم الصحيح وخابا

"การทิ้ง(นบีไม่ได้ทำ)ไม่ใช่เป็นหลักฐานในชาริอัตของเรา"
"มันไม่ได้ใช้นัยยะถึงห้ามหรือจำเป็น"
"ดังนั้น ผู้ใดปราถนา (หุกุ่ม) ห้ามเพราะนบีของเราไม่ได้ทำ"
"โดยเขาเห็นว่ามันเป็นหุกุ่มที่จริงและถูกต้อง"
"แน่แท้แล้ว เขาย่อมหลงจากวิถีทางของ(การอ้าง)บรรดาหลักฐานทั้งหมด"
"ยิ่งไปกว่านั้น เขาก็ผิดพลาดกับหุกุ่มที่ถูกต้องและเขาก็สิ้นหวัง"
ดู หนังสือ อัตตะหฺซีร มินัลอิฆติยาร ของชัยค์ อับดุลหัยฺ อัลอัมรอวีย์และชัยค์อับดุลกะรีม มุร๊อด หน้า 75

ท่านชัยค์ อัลฆุมารีย์กล่าวว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงาน มาระบุห้ามจากสิ่งที่ถูกทิ้งนั้น หรือไม่มีหลักฐานมาห้ามมัน หรือให้ละทิ้งมันไป" (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12 ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )

ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น

1. ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งมันนั้น เพราะมีสิ่งที่มาหักห้ามตามอุปนิสัยตามธรรมชาติ หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งการกินเนื้อ ฏ๊อบ เมื่อมันได้ถูกนำมาให้แก่ท่าน ซึ่งในหะดิษนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ถูกถามว่า "มันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า "ไม่หรอก" ดังนั้น ดังกล่าวถึงชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ถือว่า เป็นการหะรอมห้ามกับมัน

2. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งนั้น เพราะว่าได้ลืมมัน ซึ่งเสมือนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ลืมในละหมาด โดยท่านได้ละทิ้งสิ่งหนึ่ง ท่านจึงถูกถามว่า "มีสิ่งใดเกิดขึ้นในละหมาดหรือ?" ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "แท้จริง ฉันนั้นก็เป็นมนุษย์ ฉันลืมเหมือนกับที่พวกท่านลืม ดังนั้น เมื่อฉันลืม พวกท่านก็จงเตือนฉัน"

ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งสิ่งหนึ่งจากละหมาด พวกเขาก็ไม่คิดว่าเลยว่ามันเป็นหุกุ่มใดหุกุ่มหนึ่ง แต่พวกเขากลับไปทบทวนถามกับท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ทำการตอบกับพวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นหุกุ่มใดๆขึ้นมา

3. การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำนั้น เพราะเกรงว่า จะเป็นฟัรดู เหนือประชาชาติของท่าน เช่นท่านได้ทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ ตะรอวิหฺ ในขณะที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำาการรวมตัวกันละหมาด เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นฟัรดูเหนือพวกเขา

4. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำ ก็เพราะเกรงถึงฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้นได้ อาธิเช่น ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการรื้นถอนบัยตุลลอฮ โดยนำมาสร้างไว้ที่ฐานของท่านนบี(ซ.ล.)อิบรอฮีม(ซ.ล.) เสมือนที่ได้ระบุไว้ในซอฮิหฺบุคอรีย์และมุสลิม ดังนั้น การละทิ้งการดังกล่าวนั้น เพื่อถนอมน้ำใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ จากชาวมักกะฮ์

5. บางครั้ง ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง เนื่องจากสาเหตุที่เฉพาะสำหรับท่าน เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ทิ้งการรับประทานหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นไม่ดี เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเดือนร้อนแก่มะลาอิกะฮ์ ในขณะที่รับวะหฺยุ โดยที่ไม่มีผู้ใดกล่าวว่า การรับประทานหัวหอมนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม เพราะว่านบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการรับประทานมัน

จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นว่า การที่ท่านนบีได้ทิ้ง หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม

ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า " การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป้นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และสำหรับการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้เข้าใจว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก " ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า "การทิ้ง" (ไม่ได้กระทำ) มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1. การทิ้งที่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า "การทิ้งเชิงการมี" ( الترك الوجودى ) คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งการกระทำกับสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยมีการกระทำมันมาแล้ว หรือท่านนบี(ซ.ล.)ได้หยุดกระทำกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำได้

2. การทิ้ง(การกระทำ)ที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า"การทิ้งเชิงไม่มี" ( الترك العدمى ) คือ สิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำและไม่เคยกล่าวมัน โดยที่ไม่ได้นำเสนอหุกุ่มออกมา เนื่องจากไม่มีความต้องการหรือมีนัยยะให้กับการหุกุ่มสิ่งดังกล่าว
ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว การทิ้งการกระทำที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) นั้น ย่อมไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็น"หลักฐาน"( دليل ) ได้ ในแง่ของหลักการศาสนา

ในแง่หลักการของศาสนาก็คือ คำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า

وما أتاكم الرسول فخدوه وما نهاكم عنه فأنتهوا

"สิ่งใดที่รอซูลนำมากับพวกท่านนั้น พวกท่านจงเอามัน และสิ่งใดที่ร่อซูลห้ามกับพวกท่านจากมันนั้น พวกท่านจงยุติ" อัลหัชรฺ 7

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

فإدا نهيتكم عن شيء فأجتنبوه ، وإدا أمرتكم بأمر فأتوا منه ما أستطعتم

"ดังนั้น เมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงห่างไกลมัน และเมื่อฉันใช้พวกท่านด้วยกับสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ" รายงานโดยบุคคอรีย์และมุสลิม
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

الحلال ما أحل الله فى كتابه ، والحرام ما حرم الله فى كتابه ، وما سكت عنه فهو مما عفا عنه

"หะล้าลก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัติไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และหะรอมก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงห้ามไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และสิ่งที่พระองค์ไม่นิ่งจากมัน ก็คือสิ่งที่พระองค์ผ่อนปรนให้" รายงานโดยท่านติรมีซีย์

ท่านผู้อ่านลองพิเคราะห์ถึง สถานะภาพของผู้คนในปัจจุบัน ท่านจะพบว่าการกระทำหรือไม่กระทำของพวกเขานั้น อยู่หลักการใหญ่ๆเกี่ยวกับหลัก "การใช้" ( أمر ) และหลัก "การห้าม" ( نهى ) ดังนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งที่ไม่มี "การใช้" ให้กระทำ หรือไม่มี "การห้าม" ให้กระทำ ก็ย่อมจะหุกุ่ม "หะรอม" ไม่ได้ แต่สมควรอยู่ในกรอบของ มุบาหฺ อนุญาติให้กระทำได้ หรืออยู่ในกรอบของสิ่งที่ไม่มีหุกุ่มาระบุแล้วก็นำไปวางบนมาตรฐานของหุกุ่มศาสนา


จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถสรุปได้ดังนี้

1. บรรดานักปราชญ์อิสลาม ให้คำนิยามของ ซุนนะฮ์ ว่า "คือสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้พูด กระทำ และยอมรับ" "บรรดานักปราชญ์ไม่ได้นำการ "ทิ้งของท่านนบี" หรือ "การไม่ได้ทำ" ของท่านนบี(ซ.ล.) เข้าไปอยู่ในคำว่าซุนนะฮ์ เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ "หลักฐาน" ( دليل )

2. หุกุ่มนั้น คือ (คิฏ๊อบ) คำบัญชาของอัลเลาะฮ์ บรรดานักปราชญ์อุซูลกล่าวว่า หุกุ่มก็คือ สิ่งที่ หลักฐานจากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อัลอิจญฺมาอ์ และกิยาส มาบ่งชี้ถึงมัน โดยที่การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ก็ไม่ใช่หนึ่งจาก สี่ หลักฐานมากล่าวมา ดังนั้น การที่ไม่ได้กระทำ จึงไม่ใช่ "หลักฐาน" ที่จะนำมาอ้าง

3. การทิ้ง ก็คือ การที่ไม่ได้กระทำ และการที่ไม่ได้กระทำ ก็หมายถึง การที่ไม่มี"หลักฐาน" ( دليل ) มาระบุ ดังนั้น การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ย่อมไม่ชี้ถึงหะรอม นอกจากมีหลักฐานมาบ่งชี้ชัดว่าหะรอม จากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ และกิยาส

ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) โดยอ้างหะรอมว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นคำอ้างที่ฟังไม่ขึ้นโดยหลักการของศาสนา

การทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แม้ไม่ได้เกิดรูปแบบปรากฏการกระทำขึ้นในสมัยของบรรดาซอฮาบะฮ์ แต่บรรดาซอฮาบะฮ์เองก็ทำการำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)อยู่เสมอ หัวใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ล้วนแต่คำนึงถึงท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกการตัดสินใจและการเคลื่อนไหวของพวกเขา ดังนั้น หัวใจของพวกเขาจึงตื่นตัวอยู่เสมอด้วยการรำลึกถึงแบบฉบับบุคลิคภาพของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.)กล่าวว่า"หากฉันไม่รำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)สักช่วงเวลาเดียว มันเหมือนกับว่าฉันไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากมุสลิมีน" (อ้างจากคำกล่าวของชัยค์ด๊อกเตอร์ที่สอนผมกับวิชาตะเซาวุฟ) ฉะนั้น ความรักที่มีต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ระหว่างบรรดาซอฮาบะฮ์กับเรานั้น ย่อมห่างใกลกันเหลือเกิน บรรดาซอฮาบะฮ์จึงไม่จำเป็นมากนักที่จะต้องมาทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบีเหมือนกับพวกเรา สถานะภาพปัจจุบัน อิหม่านของมุสลิมทั่วไปยิ่งถดถอย การส่งเสริมตอกย้ำให้มีการรำลึกถึงท่านนบี ด้วยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่นเมาลิดนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นสิ่งที่บิดอะฮ์ลุ่มหลงถึงกับลงนรกตามทัศนะของวะอาบีย์หรอกครับ


และการกล่าวว่า ซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำนั้น เป็นหลักการบัญญัติที่ "ห้าม" ย่อมไม่ใช่หลักการของศะละฟุศศอลิหฺและไม่ใช่เป็นหลักฐานของหลักวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกห์) และการกล่าวว่า "หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ดี บรรดาสะละฟุศศอลิหฺย่อมกระทำมาก่อนเรา" ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นหลักฐานของศาสนาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ที่มาบ่งชี้ว่ามันเป็นสิ่งที่"หะรอม" ต้องห้าม หรือบิดอะฮ์ตกนรก ซึ่งหลักการนี้ ไม่ใช่หลักการของสะละฟุศศอลิหฺ แต่เป็นหลักการของวะฮาบีย์!!!

ดังนั้น หากว่าประเด็นหนึ่ง หรือปัญหาหนึ่ง ที่สะละฟุศศอลิหฺ(หรือผู้ที่อยู่ก่อนจากเขา)นั้นไม่ได้กระทำไว้ เป็นหลักฐาน ที่ชี้ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนาแล้ว แน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอีน ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน และแน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดานักปราชญ์ตาบิอีนได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน ซึ่งหลักการนี้ ขัดแย้งกับคำกล่าวและหลักการของท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อุซุลุลฟิกห์ของท่านว่า

قال أبو داود: قال أحمد بن حنبل:... فإذا وجدت عن رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم لم أعدل إلى غيره، فإذا لم أجد... فعن الخلفاء الأربعة... فإذا لم أجد فعن أصحابه الأكابر فالأكابر... فإذا لم أجد فعن التابعين وتابع التابعين“، ولو كان عدم الرواية حجة على عدم المشروعية لكان ينبغي للتابعين أن يقولوا لو كان خيراً لسبقنا إليه الصحابة، وكان ينبغي لأتباعهم أن يقولوا: لو كان خير لسبقنا إليه التابعون

" ท่านอบู ดาวูด กล่าวว่า ท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัลกล่าวว่า เมื่อฉันพบ(หลักฐาน) จากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ฉันก็ไม่เคยผินไปยังผู้อื่นจากท่านร่อซูล และเมื่อฉันไม่พบ ก็เอาจากบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้ง 4 และเมื่อฉันไม่พบ ก็จากบรรดาซอฮาบะฮ์ผู้อวุโส และอวุโสถัดๆไป และเมื่อฉันไม่พบอีก ก็เอาจากตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน และถ้าหากว่าการไม่มีการรายงานมานั้น เป็นหลักฐานว่าไม่มีบทบัญญัติในศาสนา แน่นอนว่า เป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอีน โดยการกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว (ตาบิอีนไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเพราะมันไม่ใช่หลักฐาน)" ดู หนังสือ มุเซาวะดะฮ์ อาลิ ตัยมียะฮ์ หน้า 336

จากสิ่งที่ผมได้อ้างอิงมานั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า หากมีไม่มีสายรายงานมาระบุ บรรดาตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้เอาคำกล่าวที่ว่า" บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว" มาเป็นหลักการและหลักฐาน ในการห้ามหรือหุกุ่มหะรอมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย

และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า

فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه

ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)

ดังนั้น หากการไม่มีรายงานมาระบุ เป็นหลักฐานที่ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนานั้น แน่นอนว่า ท่านอิบนุมัสอูดก็กล่าวไม่ได้ว่า "ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" แต่ท่านอิบนุมัสอูด สมควรกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี บรรดาผู้มีคุณธรรมก็ต้องกระทำล่วงหน้ามันมาก่อน(จากท่านอิบนุมัสอูด)แล้ว ดังนั้น จึงไม่อนุญาติให้ทำการวินิจฉัย แต่ท่านอิบนุมัสอูดไม่ได้กล่าวอย่างนั้น และไม่มีสะละฟุศศอลิหฺ ให้คำพูดดังกล่าวมาเป็นหลักฐานหุกุ่มเกี่ยวศาสนาในนิติศาสตร์อิสลาม

และที่ผมได้กล่าวนำเสนอมาทั้งหมดนี้ ก็คือการสนทนานำเสนอในเชิงวิชาการ ที่ยืนยันว่า การกล่าวหาหุกุ่มว่าการทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ตกนรกหรือเป็นการกระทำที่ชั่ว เพราะว่าท่านนบีและสะสะฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ย่อมเป็นหลักการที่ไร้น้ำหนักครับ

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
al-farook
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005
ตอบ: 297
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 7:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างจากบังอะสัน

มุรีด ทิมมะเสน กล่าวว่า "การทำเมาลิดเกิดจากการริเริ่มของกลุ่มชีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ"

วิจารณ์


ผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على


"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

หะดิษดังกล่าวนี้อย่างชัดเจนถึงการอนุญาติให้มีการฉลอง ปิติยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัต ในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น จึงถือว่าไร้ความหมายกับผู้ที่กล่าวว่า ชีอะฮ์อัลอิสมาอีลียะฮ์จากพวกฟาฏิมีย์เป็นบุคคลแรกที่ฉลองความปิติยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัน ในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) เพราะการเชื่อว่าพวกชีอะฮ์อัลอิสมาอีลียะฮ์เป็นบุคคลแรกที่แสดงความยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัตในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ถือว่าเป็นการแกล้งโง่ ทำไม่รู้ไม่ชี้กับสัจจะธรรม

หากถูกกล่าวแก่เราว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการถือศีลอด เพราะว่าเป็นวันเกิดของท่าน แต่พวกเราทำการฉลองเมาลิดเพื่อรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการรวมตัวกัน และมาทำการอ่านประวัติ อ่านอัลกุรอานบางส่วน ซอลาวาต ทำการให้อาหารและเลี้ยงอาหาร โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่เคยกระทำรูปแบบนี้มาก่อน ซึ่งมันเป็นบิดอะฮ์หรือไม่?

เราขอตอบว่า กรณีดังกล่าวนี้ มันอยู่ในเรื่องของวิธีการหรือสภาพการแต่ละพื้นที่ ซึ่งวิธีการในการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นเรื่องวิธีการที่อยู่ในรูปแบบกว้างๆ (มุฏลัก) ที่เป็นประเด็นในเชิงวินิจฉัย الإجتهاد ดังนั้น รูปแบบในการทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)นั้น มันยังคงถูกเปิดให้แก่ประชาชาติอิสลาม ในการวินิจฉัย พิจารณาตามสภาพที่สะดวกของพวกเขา โดยไม่ขัดกับหลักของศาสนา ฉะนั้น การมีความยินดี วันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) นั้น มีรากฐานจากศาสนา แต่วิธีการต่างๆนั้น อิสลามเปิดกว้างโดยอยู่ในเรื่องของการวินิจฉัย

ในประเด็นของการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่รากฐานของมันได้ระบุเอาไว้ แต่วิธีการนั้น ถูกทิ้งให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน

แต่วิธีการสอน การท่องจำ การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มันมีรูปแบบและวิธีการหรือไม่? และอย่างไร?

คำตอบก็คือ ให้ผู้อ่านพิจารณากับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านจะเห็นและทราบว่า วิธีการสอน เรียน เผยแพร่ อัลกุรอานนั้น มีอยู่ในทั้งรูปแบบของ โรงเรียน หรือ มหาลัย สอนอัลกุรอาน หรือคณะอัลกุรอาน มีสมาคมสอนอัลกุรอาน มีการแข่งขันกันอ่านอัลกุรอาน ท่องอัลกุรอาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ท่องจำอัลกุรอาน มีประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จในหลักวิชาอัลกุรอาน และมีการสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและความสำคัญของอัลกุรอาน มีการบันทึกอัลกุรอานในในรูปแบบ เทป หรือ ซีดี มีการเผยแพร่อัลกุรอาน ที่อยู่ในรูปแบบของโรงพิมพ์ มีการตีพิมพ์อัลกุรอาน ที่มีสีสันเน้นคำตัจญวีด มีการทำเล่มที่มีหลายรูปแบบ และบางทีการเผยแพร่อัลกุรอานก็อยู่ในรูปแบบของสมาคมนักกอรีย์ ดังนั้น รูปแบบต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)หรือไม่?? ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาครับ

แต่รูปแบบเป็นทางการอย่างเช่นปัจจุบันนั้น วะฮาบีย์ มักจะอ้างว่า ชีอะฮ์ อิสมาอีลียะฮ์ กษัตริย์ราชวงค์ฟาฏิมีย์ เป็นคนแรกที่กระทำเมาลิดขึ้นมา ?? แล้วก็โพทนาว่า การทำเมาลิด เป็นการเลียนแบบพวกชีอะฮ์ ให้เป็นหลักฐานอ้างให้พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์รังเกียจในเรื่องการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)

หากเรากลับไปดูประวัติศาสตร์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้น มีจุดที่น่าสังเกตุดังต่อไปนี้

1. ไม่มีตำราประวัติศาสตร์เล่มใด ระบุอย่างชัดเจนว่า กษัตริย์คนใดของราชวงค์ฟาฏิมีย์ เป็นคนแรกที่ริเริ่มทำเมาลิดอย่างเป็นทางการขึ้นมา ? ซึ่งถ้าหากมี เราขอให้วะฮาบีย์ยกอ้างอิงยืนยันกับเราอย่างสมบูรณ์ด้วย ?

2. การยกอ้างการทำเมาลิดอย่างเป็นทางการ ไปยังราชวงศ์ฟาฏิมีย์นั้น ไม่มีสายรายงานมายืนยันที่ซอฮิหฺเลยแม้แต่น้อย ซึ่งถ้าหากมี เราขอให้วะฮาบีย์ยกมายืนยันแก่เราด้วย ?

3. การยืนยันกล่าวอ้างว่า ราชวงศ์ฟาฏิมีย์เป็นบุคคลแรกในการทำเมาลิดนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่แวกแนว เนื่องจากเป็นการกล่าวอ้างที่ขัดกับสิ่งที่ชัดเจนกว่า และขัดกับสิ่งที่เลื่องลือมากกว่าจากบรรดาอุลามาอ์ที่เชื่อถือได้

ดังนั้น การกล่าวอ้างว่า ราชวงศ์ฟาฏิมีย์เป็นผู้ริเริ่มในการทำเมาลิดนบี(ซ.ล.) เป็นครั้งแรกนั้น จึงเป็นสิ่งที่คลุมเคลือ ไม่มีความถูกต้องเด็ดขาดแต่อย่างใด กลุ่มผู้อ้างตนเป็นซุนนะฮ์บางกลุ่มพยายามเชื่อและยึดมั่นว่าราชวงศ์ฟาฏิมีย์เป็นบุคคลแรกในการทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ใช่อื่นใด นอกจากเพื่อจะนำมาใช้ตำหนิ หุกุ่มพี่น้องมุสลิม ว่าทำบิดอะฮ์ ตกนรก เท่านั้นเอง

ท่านอิมามอบูชามะฮ์ (ร่อหิมะฮุลลอฮ์) กล่าวระบุไว้ว่า

وكان أول من فعل ذلك يالموصل الشيخ عمر بن محمد الملا أحد الصالحين المشهورين وبه اقتدى في ذلك صاحب أربل وغيره رحمهم الله تعالى

"บุคคลแรกที่กระทำสิ่งดังกล่าว(เมาลิด) ที่เมือง เมาซิล นั้น คือ ชัยค์ อุมัร บิน มุหัมมัด อัลมุลลา หนึ่งในบรรดาผู้มีคุณธรรมที่เลื่องลือ และด้วยการกระทำของเขานั้น ก็ได้ดำเนินตามสิ่งดังกล่าว โดยเข้าเมืองอิรบิลและคนอื่นๆ (ร่อหิมะฮุมุลเลาะฮ์)" ดู หนังสือ อัลบาอิษ อะลา อิงการ อัลบิดะอฺ เล่ม 1 หน้า 24

กษัตริย์จอมทัพ นูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์

กษัติย์ นูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์ นั้น เป็นบุคคลที่สามารถพิชิตสงครามครูเสดได้หลายสมรภูมิด้วยกัน ในกองทัพของเขานั้น มีท่าน ซอลาหุดดีน อัลอัยยูบีย์ร่วมอยู่ด้วย และท่านก็ได้ส่งท่านซอลาหุดดีนไปประจำการที่อียิปต์หลังจากนั้น มีนักหะดิษท่านหนึ่งได้ทำการรายงานหะดิษแบบ มุซัลซัล (หะดิษมีการรายงานในรูปแบบที่สืบเนื่อง) โดยมีการยิ้ม เขาก็ได้ขอให้ท่าน นูรุดดีน ซังกีย์ทำการยิ้มด้วยเพื่อที่จะได้รายงานในรูปแบบที่สืบเนื่องกัน แต่ท่านนูรุดดีนงดจากสิ่งดังกล่าว และกล่าวว่า "ฉันละอายต่ออัลเลาะฮ์ ที่พระองค์ทรงเห็นฉันยิ้ม โดยที่บรรดามุสลิมีนถูกปิดล้อมโดยพวกฟรังก์(ฝรังเศส) ที่ดุมยาฏ"

ท่าน อัลมะเฏาะรีย์ ได้กล่าวประวัติของท่านนูรุดดีน ซังกีย์ ไว้ใหนหนังสือ ตีรีค อัลมะดีนะฮ์ ว่า "กษัตริย์ นูรุดดีน มุหฺมูด ซังกีย์ นั้น ได้ฝันเห็นท่านนบี(ซ.ล.)ในคืนหนึ่ง ถึงสามครั้งด้วยกัน โดยทุกๆครั้งท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวแก่เขาว่า "โอ้ มะหฺมูด ท่านจงกอบกู้ฉัน จากบุคคลสองคนนี้ด้วย" สองคนนี้มีผิดอมแดง ดังนั้น ท่านนูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์ ได้เรียนรัฐมนตรีมาพบก่อนเวลาซุบหฺ แล้วก็บอกเรื่องความฝันกับเขา รัฐมนตรีท่านนั้นกล่าวแก่ ท่าน นูรุดดีน มะหูมูด ซังกีย์ ว่า เหตุการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นที่เมืองมะดีนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งไม่มีผู้ใดอีกแล้ว(ที่จะช่วยเหลือ)นอกจากท่าน ดังนั้น ท่านนูรุดดีน ซังกีย์ จึงเตรียมการเดินทางเร็ว ด้วยอูฐ 1000 ตัว และติดตามด้วยม้าและอื่นๆ จนกระทั้งถึงเมืองมะดีนะฮ์โดยไม่มีผู้ใดรู้ตัว ดังนั้น ท่านนูรุดดีนจึงขอให้บรรดาผู้คนทั้งหมดร่วมกันบริจาค โดยไม่มีผู้ใดคงเหลืออยู่เลยที่เมืองมะดีนะฮ์ นอกจาก ชายสองคนที่คล้ายกับเป็นคนมาจากสเปน(อันดะลูส) ที่ลงไปอยู่ในด้านหนึ่งของห้อมท่านนบี(ซ.ล.)ที่อยู่นอกมัสยิด ซึ่งอยู่ ณ ที่พำนักของวงค์ท่านอุมัรอิบนุค๊อฏฏอบ อันเป็นทราบกันดีไปปัจจุบันว่า ดารฺ อัลอะชะเราะฮ์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม) ชายสองคนกล่าวว่า เราได้มาถึงที่นี้ เพื่อทำการเคลื่ยนย้ายนบี(ซ.ล.)ออกจากห้องที่มีเกียตรินี้ ท่านนูรุดดีน ซังกีย์ พบว่า ทั้งสองได้การเจาะขุดเป็นโพลงใต้ดิน จากข้างใต้กำแพงมัสยิดด้านหน้า โดยทั้งสองเอาดินไปถมบ่อที่บ้านทั้งสองอาศัยอยู่ ดังนั้น ท่านนูรุดดีน ซังกีย์ จึงสั่งให้ประหารทั้งสอง" ดู หนังสือ ตีรีค อัลมะดีนะฮ์ ของท่าน อัลมะเฏาะรีย์ เล่ม 3 หน้า 507 – 508 , หนังสือ วะฟาอฺ อัลวะฟาฮ์ บิ อัคบารฺ ดารุลมุสเฏาะฟา ของท่าน อัซซัมฮูดีย์ เล่ม 2 หน้า 430 – 435 , หนังสือ อัตตั๊วะหฺฟะฮ์ อัชชะรีฟะฮ์ ฟี ตารีค อัลมะดีนะอ์อัชชะรีฟะฮ์ ของท่าน อัศศะคอวีย์ เล่ม 1 หน้า 45

ท่านอิบนุกะษีรได้กล่าวประวัตินับความดีงามของท่าน นูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์ ได้ตอนหนึ่งว่า

ذلك كله بإشارة الشيخ الصالح العابد عمر الملا ، وقد كان له زاوية يقصد فيها وله فى كل سنة دعوة فى شهر المولد يحضر فيه عنده الملوك والأمراء والعلماء والوزراء ويحتقل بذلك

"ดังกล่าวทั้งหมดนั้น ด้วยการแนะนำของ ชัยค์ที่มีคุณธรรม ผู้เคร่งครัดในอิบาดะฮ์ คือ ท่านอุมัร อัลมุลลา โดยที่เขาจะมีมุมหนึ่งที่เขาจะมุ่งไป(ทำอิบาดะฮ์) และสำหรับ ท่านนูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์ นั้น ในทุกๆปี จะมีการเชิญมาในเดือนที่ท่านนบีประสูต โดยมีบรรดากษัตริ บรรดาเจ้าชาย บรรดานักปราชญ์ และบรรดารัฐมนตรี ได้มา(ตามการเชิญ)ที่เขาในเดือนนั้น แล้วท่านนูรุดดีน มะหฺมูด ซังกีย์ ก็ทำการฉลองเดือนเมาลิดนบีดังกล่าว" ดู หนังสือ อัลบิดายะฮ์ วันนะนิฮายะฮ์ เล่ม 12 หน้า 263

เราได้สังเกตุได้ว่า ท่าน นูรุดดีน มุหฺมูด ซังกีย์ นั้น เป็นกษัตริย์ที่รักบรรดาอุลามาอ์และผู้ที่มีคุณธรรมทั้งหลาย และท่านเองก็ทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)

ท่านอิบนุกะษีร กล่าวระบุไว้ว่า

الملك المظفر أبو سعيد كوكبري ، أحد الأجواد والسادات الكبراء والملوك الأمجاد له آثار حسنة وكان يعمل المولد النبوي الشريف في ربيع الأول ويحتفل به احتفالاً هائلاً ؛ وكان مع ذلك شهماً شجاعاً فاتكاً
عاقلاً عادلاً ، رحمه الله وأحسن مثواه

" กษัตริย์ อัลมุซ๊อฟฟัร อบูสะอีด กูกูบรีย์ หนึ่งจากบรรดาผู้ใจบุญศุลทาน เป็นหัวหน้าที่ยิ่งใหญ่ และเป็นกษัตริที่มีเกียตริ ซึ่งเขามีบรรดาผลงานที่ดีงาม เขาได้ทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)ที่มีเกียตริ ในเดือนร่อบิอุลเอาวัล โดยที่เขาได้ทำการฉลองเมาลิดนบี(ซ.ล.) อย่างยิ่งใหญ่ และพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนั้น เขาเป็นผู้ที่ชาญฉลาด กล้าหาญ ชาญชัย มีสติปัญหาดี และมีความยุติธรรม ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาแก่เขา และทรงประทานความดีงามแก่พี่พำนักของเขา" ดู หนังสือประวัติศาสตร์ อัลบิดายะฮ์ วัน นะฮายะฮ์ ของท่านอิบนุกะษีร เล่ม 13 หน้า 136

ท่านอัลหาฟิซฺ อัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึง กษัตริย์ อัลมุซ๊อฟฟัร ว่า

كان متواضعا خيرا سنيا ، يحب الفقهاء والمحدثين

"เขานั้น เป็นผู้ที่นอบน้อมถ่อมตน เป็นคนดี ยึดซุนนะฮ์ รักบรรดานักปราชญ์ฟิกห์ และนักปราชญ์หะดิษ" ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 22 หน้า 336

ท่านผู้ที่เคารพโปรดพิจารณาครับว่า ท่านอิบนุกะษีร และท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวกับ กษัตริย์ อัลมุซ๊อฟฟัรว่า เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีความยุคติธรรม ทั้งที่เขาทำเมาลิดนบี(ซ.ล.) และบรรดานัหะดิษแห่งโลกอิสลามมากมายที่มีทัศนะในการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) แต่วะฮาบีย์กล่าวว่า ผู้ทำเมาลิดคือคนโง่ และอุลามาอ์ที่ทำเมาลิดนั้น เป็นคนที่ลุ่มหลง ตามที่อุลามาอ์วะอาบีย์ ซอลิหฺ อัลเฟาซานกล่าวไว้ ซุบหานัลลอฮ์ !!

_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัลฟารูกกล่าวว่า

ประเด็นการแบ่งอายะฮ์อัลกุรอานเป็นมักกีย์และมะดะนีย์ และอื่นๆนั้น มันไม่ใช่ปัญหา แต่แบ่งเตาฮีดออกมาเป็น 3 ประเภท แล้วมาหุกุ่มบรรดามุสลิมมีนว่า "มุสลิมคนนั้น เป็นรุชริกีน มีเตาฮีดรู่บูบียะฮ์ แต่ไม่มีเตาฮีดอุลูฮียะฮ์" คำกล่าวแบบนี้มันมีในยุคสมัยนบีและยุคสะลัฟด้วยหรือครับ?....................นี่แหละที่เขาเรียกว่าการแบ่งแบบบิดอะฮ์แล้วนำมาหุกุ่มกับบรรดามุสลิมมีนผู้ที่อยู่อื่นจากแนวทางของตน


มันยังไงละ อัลฟารูก พูดวกไปวนมาขัดคำพูดเองซะแล้ว

ขึ้นต้นก็บอกว่าการแบ่งไม่ใช่ปัญหา แต่ลงท้ายบอกว่านี่แหละเขาเรียกว่าการแบ่งแบบบิดอะฮ์

แหม....ขึ้นต้นกับลงท้ายนี่มันไปคนละทางเลยนะเนี่ย
ตกลงว่าปัญหามันอยู่ที่การแบ่งหรือปัญหาอยู่ที่การฮุก่ม
ต้องทำให้มันมั่วๆ ไว้ก่อนคนอ่านจะได้มึน

ว่าแต่เมาลิดนะใครผสมสูตรให้ ไม่มีคำตอบอีกเช่นเคย ฮ้าๆๆเอิกๆๆ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอ้..จะว่าไม่ตอบก็ใช่ที่ เพราะตอบแล้วนี่ไง

บังอะสันถามว่าไปไหนมา อัลฟารูกตอบว่าสามวาสองศอก ครับท่าน ฮ้าๆๆ ลองดูซิ

บังอะสันบอกว่า

มันไม่ได้เป็นเรื่อง ศาสนาที่มาจากอัลลอฮและรซูล และ ให้ไปผลิตบุญเอาเองก็แล้วกัน เพราะท่านนบีไม่ได้รับรองไว้ แบบนี้เขาเรียกว่า บิดอะฮประยุกต์ เอาของคริสต์ มาประยุกต์กับของอิสลาม หรือ บิดอะฮสลัดผัก เอาโน้นนิด เอานี้หน่อย มาผสมกัน แล้วกลายเป็นรูปแบบอิบาดธขึ้นมา

อัลฟารูกตอบว่า

"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าว ท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน "

ทำไมอิมามอะฮ์หมัดยังละหมาด 300 ร่อกะอัต 150 ร่อกะอัตได้ ข้าก็จะทำเมาลิดบ้างจะเป็นไร สามวาสองศอกจิ้งจิง ฮ้าๆๆเอิกๆๆ แต่ยังถามทิ้งท้ายไว้อีกนะว่า มันเป็นบิดอะฮ์ที่ท่านอิมามอะหฺมัดประยุกต์ขึ้นมาเองหรือไม่?

แหม...อยากรู้ขึ้นมาตะงิดๆ ว่าที่เอามาอ้างนี้นะ มันดออีฟ อะปล่าวละ ถึงจะไม่ได้อ้างนาบีกับซอฮาบะฮ์ก็เถอะ แต่โกหกใส่อิมามอะฮ์หมัดมันไม่ดีน้า ช่วยเอาสายรายงานมาโชว์แล้วอะสันออกแรงสอบให้หน่อยเถอะ

ว่าแต่...อ้างอิหมามอะฮ์หมัด แต่อิหม่ามอะฮ์หมัดก็ไม่ทำเมาลิดนะ ขอบอกๆๆ ฮ้าๆๆ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองดูอีกอันครับท่านผู้ชม

บังอะสันบอกว่า

แบบนี้เขาเรียกว่า บิดอะฮประยุกต์ เอาของคริสต์ มาประยุกต์กับของอิสลาม หรือ บิดอะฮสลัดผัก เอาโน้นนิด เอานี้หน่อย มาผสมกัน แล้วกลายเป็นรูปแบบอิบาดธขึ้นมา

อัลฟารูกตอบว่า

แล้วพวกยาฮูดีย์ ยิว เชื่อและศรัทธาว่า อัลเลาะฮ์นั่งอยู่บนบัลลังก์ ในบนฟากฟ้า ล่ะครับ มันไม่เหมือนกับอากิดะฮ์ วะฮาบีย์ หรือครับ? แล้วแถมนะซอรอให้ด้วยนะ

นี่ไม่ใช่ตอบแบบสามวาสองศอกแล้วครับท่าน แต่มันสี่วาแปดศอก ฮ้าๆๆ ไปกันคนละเรื่องเลย

ทางที่ดีช่วยตอบให้ตรงๆหน่อยว่า เบิดเดย์ เอ้ย..เมาลิดมันเข้ามาในอิสลามเมื่อไหร่แน่ๆ

เขาว่าคนแรกที่ทำในเมืองไคโร แต่อัลฟารูกบอกว่าคนแรกที่ทำในเมืองเมาซิล

แหม..คนแรกเหมือนกันแต่คนละเมือง

แต่ที่แน่เลยก็คือต้องหลบที่เขาทำที่เมืองไคโร เพราะกลัวโดนข้อหาก๊อปปี้ของชีอะฮ์ ฮ้าๆๆ

ว่าแต่ใครเป็นคนผสมสูตร เอาโน้นนิด เอานี่หน่อยรวมกัน กลายเป็นบิดอะฮ์สลัดผัก เมาลิด ฮ้าๆๆ

สามวาสองศอก สี่วาแปดศอก ฮ้าๆๆ เอิกๆๆ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัลฟารูกบอกว่า

การเรียกว่า"เมาลิด"นั้น มันแค่ชื่อเรียกเท่านั้นเอง




แหมบังอะสันน่าจะตั้งชื่อเขาให้เพราะๆหน่อย

เรียกเมาลิดว่าบิดอะฮ์สลัดผัก นี่มันยังไงไม่รู้

เรียกว่าเมาลิดค๊อกเทล ดีกว่าไหม จะได้สมกับที่ก๊อปฝรั่งเขามาหน่อย ฮ้าๆๆ

ไหนๆก็แค่ชื่อ เอาให้มันโก้หน่อย ฮ้าๆๆ เอิกๆๆ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัลฟารูกโชว์หลักฐานเด็ดเรื่องเมาลิดมาแล้วครับท่าน ชมกันให้ดีๆ

............แอ๋นแอนแอ้น............

ผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

แต่อัลฟารูกก็บอกว่า

เมาลิดคือการอ่านอัลกุรอาน
เมาลิดคือการอ่านและเล่าประวัตินาบี
เมาลิดมีการซอลาวาต
เมาลิดมีการเลี้ยงอาหาร

โอ้ย...ความแตกปิดไม่มิด...นาบีบวช แทนที่จะบวชตามนาบี แต่เมาลิดกินกันพุงกาง...ฮ้าๆๆ

เอาหลักฐานมาตอกหน้าตัวเองก็ทำได้ ฮ้าๆๆเอิกๆๆ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
adeel
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004
ตอบ: 172


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นี่คือข้อความของใครหว่า

ดังนั้น ประเด็นเมาลิดนี้ มันอยู่ในเรื่องของการ "ทิ้งการกระทำ" ( الترك ) ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งกับสิ่ง - คือไม่เคยกระทำมัน - หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมัน โดยที่ "ไม่มี" หะดิษ หรือ ร่องรอย มารายงานระบุห้ามจากการกระทำกับสิ่งที่ถูกทิ้งการกระทำดังกล่าว


เฉลยครับ

เจ้าของข้อความนี้คืออัลฟารูก คนเดียวเดียวที่บอกว่า ผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเอง

ยังไงละคร๊าบนายหัว เดี๋ยวก็บอกว่านาบีทิ้งไม่ได้ทำ เผลอแป๊บเดียวบอกว่านาบีทำอีกแล้ว

ขอไปกินยาแก้มึนหน่อย ฮ้าๆๆเอิกๆๆ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 1:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นาย al-farook อ้าง
ผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
….............................
ตอบ
น้องอัลฟารุก เคยกล่าวว่า
ดังนั้น ประเด็นเมาลิดนี้ มันอยู่ในเรื่องของการ "ทิ้งการกระทำ" ( الترك ) ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งกับสิ่ง - คือไม่เคยกระทำมัน - หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมัน โดยที่ "ไม่มี" หะดิษ หรือ ร่องรอย มารายงานระบุห้ามจากการกระทำกับสิ่งที่ถูกทิ้งการกระทำดังกล่าว ที่ให้ความเข้าใจถึงหะรอมหรือมักโระ
แต่วันนี้ กลับกลืนน้ำลายแล้วอ้างว่า “ผู้ริเริ่มผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง”
โดยอ้างหะดิษ
ที่ว่า
سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
................
แล้วใหนล่ะครับ จุดโฟกัสที่บ่งบอกว่าท่านนบีจัดงานวันเกิดให้กับตัวเอง ตรงกันข้าม หะดิษนี้ ท่านนบี ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ แต่ การจัดงานเมาลิดนั้น มีการเลี้ยงอาหาร โดยเชิญโต๊ะยี โต๊ะละบัย มารับประทานอาหารและ อ่านบัรซันยี เมื่อเสร็จพิธี ก็จะแจกจาดแก่โต๊ะยี โต๊ะละบัยที่เชิญมา ( คำว่า “จาด” คือกะละมัง หรือ ภาชนะ ที่ในนั้นจะมี ขนม ข้าวตั้มมัด และของกินอื่นๆ พร้อม เงิน ปะไว้ข้างบน) ตามสุนนะฮส่งเสริมให้ถือ ศีลอด แต่ พวกคุณบอกว่า ทำเมาลิดเพื่อแสดงความรักต่อท่านนบี แล้วทำไมไม่ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ล่ะครับ ท่าน และหะดิษนี้ กล่าวความประเสริฐของวันจันทร์ ไม่ได้หมายถึง ความประเสร็จในวันเกิดของท่านนบี แล้วขอถามว่า เหล่าเศาะหาบะฮคนใดจัดงานวันเกิดนบีในวันจันทร์บ้าง ?..เปล่าเลย
.....................................
ขอตัวไปทำงานก่อน อินชาอัลลอฮ คืนนี้ จะมาต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
yoohoo
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 17/02/2004
ตอบ: 65


ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 3:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

ขอขัดจังหวะ มิใช่ขัดคอนิดนึงนะครับ

ผู้ริเริ่มทำเมาลิด ฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม


จากคำพูดของคุณฟารุ ที่กล่าวไว้นี้ ย่อมแสดงให้ทราบว่ามันคือหลักฐานที่ชัดเจนให้ทำเมาลิดใช่มั้ยครับ และตัวท่านร่อซู้ล Solallah เองเป็นคนริเริ่มให้กระทำด้วยตัวท่านเองใช่มั้ยครับ ปัญหาอยู่ที่ว่าในเมื่อมันชัดเจนขนาดนี้แล้ว ทำไมซอฮาบะห์ผู้ใกล้ชิดถึงมิได้เอามาปฏิบัติ และบรรดาผู้รู้ยุคถัดจากนั้นต่อ ๆ มาก็ไม่ได้ปฏิบัติการทำเมาลิดแบบที่ได้อ้างไว้เลย มันน่าสนเท่ห์จริง ๆ ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Wed May 17, 2006 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

วิชาเตาฮิดสะลัฟ ก็เรียนหนังสือ กิตาบุตเตาฮีด ของมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮฮับ ไม่เห็นใครเขาต่อต้าน แปลกใจเหมือนกัน ที่มีคนอ้างว่าเป็นนักศึกษาไคโร สองคนนี้แหละที่ออกมาโจมตี เพราะฉะนนั้น จะพูดอะไร น่าจะใช้สมองส่วนบน คิดเสียก่อนนะครับน้อง konyakroo

ตอบ

บังอะสันเริ่มกล่าวหาเรา โดยต้องการให้เราวิจารณ์หนังสือของมุหัมมัด บิน อัลดุลวะฮาบีย์ ใช่ไหมครับ หนังสือเตาฮีดบังมุหัมมัดบินอับดุลวะฮาบีย์นั้น เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ที่ยกอ้างหะดิษที่ขัดกับอัลกุรอานและเป็นหะดิษอาหาด คือหะดิษที่ไม่ใช้ความรู้อย่างแน่นอน มากล่าวในเรื่องอากิดะฮ์แล้วหุกุ่มบรรดามุสลิมีน รูปแบบการเขียนและความเข้าใจ ไม่ได้อยู่ในเชิงวิชาการ หนังสือเตาฮีดของมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบนั้น หากเรานำมาวิจารณ์ทีละประเด็นๆ บังอะสันจะร่วมสนทนาหรือเปล่า? ตอบหน่อย แล้วผมจะเปิดกระทู้อีกสักกระทู้หนึ่ง เกี่ยวกับการวิจารณ์หนังสือ เตาฮีด และกุชฟุชชุฮาด ของมุหัมมัด บินอับดุลวะฮาบ เอาไหมครับบังอะสัน เราไม่เคยทำให้วะฮาบีย์ผิดหวังอยู่แล้วนี่ครับ หุหุหุ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ