ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮฺหรือ (ภาค2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮฺหรือ (ภาค2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

จริงๆแล้วพูดกันสิบวันสิบคืน ก็ไม่จบ หากไม่กลับไปดูว่า ท่านนบีศอลฯ ได้อธิบายหรือให้ความหมายคำว่า ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ ไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ หรือ เคาะลิฟะอฮทั้งสี่ให้ความหมายไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ คำว่า استوى على หากไปดูในปทานุกรมไทย-อาหรับ ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ส.วงศเสงี่ม หน้า 218 ก็มีความหมายว่า “นั่ง นั่งอย่างมั่นคง

ตอบ

บังอะสันครับ แล้วนบี(ซ.ล.) บอกหรือเปล่าล่ะครับ ว่า อัลอิสติวาอ์ หมายถึงการนั่ง และบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้งสี่บอกไว้หรือว่า ว่ามันคือการนั่ง !!! แต่บังอะสันให้คำตอบตรงนี้ไม่ได้เลย ก็เลยไปบอกว่าให้ไปดูปทานุกรมไทย - อาหรับ!!! ซุบหานัลเลาะฮ์ ! นี่คือหลักฐานบังอะสันเกี่ยวกับเรื่องอากิดะฮ์ครับ กรุณาอย่าตบตามผู้อ่าน ด้วยการไปดูปทานุกรม ไทย - อาหรับ ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยมซิครับ เพราะในนั้น มันเป็นปทานุกรมแบบย่อๆและสั้น เพื่อให้นักเรียนอนุบาลหรือประถมเขาใช้กัน แต่เราต้องมาดูคำอธิบายของอุลามาอ์ตัฟซีรเกี่ยวกับการอธิบาย คำว่า"อัลอิสติวาอ์"ในเชิงภาษาอาหรับ ซึ่งมีเป็นสิบความหมาย ซึ่งผมได้ยกอ้างอิงไปแล้วจากตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ แต่หากเรามาดูปทานุกรมอาหรับ ซึ่งมีหลายระดับ สำหรับนักศึกษา ระดับนักศึกษาประถม(อิบติดาอีย์)และมัธยม(ซะนาวีย์)นั้น ใช้ ( المعجم الوجيز) (ปทานุกรมเรียงตามลำดับอักษรแบบย่อ) ได้ให้ความหมายว่า

( اسْتَوىَ ) : استقام واعتدل. و- الشيئان : تساوى . وفلان تمّ شبابه . و- الطعام ونحوه : نضج . و- على كذا : أو فوقه : علا وصعد . و- عليه : استولى وملك

ความว่า"(อิสตะวา) : ทำให้ตรง และทำให้สมดุลย์. และ(ได้สมดลย์) โดยสองสิ่ง : คือเท่าเทียมกัน. (อิสตะวา)ฟุลานุน หมายถึง ได้สมบูรณ์แล้วโดยความหนุ่มของเขา. และอิสตะวา ใช้กับอาหารและเหมือนๆกับมันนั้น : คืออยู่ในความหมายสุก . หรือ อิสตะวา บน เท่านี้ : เหนือ บน มัน : หมายถึง ขึ้น(เท่านี้) และขึ้นบนมัน . และอิสตะวา บนมัน : คือหมายถึง ปกครอง และ ครอบครอง . (ดู อัล-มั๊วะญัม อัล-วะญีซฺ หมวด อิสตะวา หน้า 330 )
นี่ขนาด ปทานุกรมฉบับย่อของอาหรับนะครับ ยังไม่มีคำว่า جلس ที่เป็นความหมายหนึ่งในเชิงภาษาของคำว่า อิสตะวา เลยครับ แต่หากไปดูปทานุกรมที่ใหญ่กว่านี้ ก็คงจะมีให้มั้งครับ แต่หากอยากทราบให้ละเอียดจริง ก็กลับไปดูคำอธิบายของอิมาม อัล-กุรฏุบีย์ ที่ผมได้นำเสนอไปแล้วนะครับ
ดังนั้น ในเรื่องอัลอิสติวาอ์ นี้ ตามทัศนะของ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ อัล-อะชาอิเราะฮ์ มีสองแนวทาง คือ
1. تفويض มอบหมาย คือมอบหมายทั้งความหมายและวิธีการให้อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) และร่อซูล (ซ.ล.) (ซึ่งความจริงตรงนี้ เขาเรียกว่า การตีความแบบสรุป ซึ่งผมจะนำเสนออธิบายต่อไป) แต่วะฮาบีย์สาวกของอิบนุตัยมียะฮ์ กลับไปรู้ความหมายว่า ว่าพระองค์นั้น "นั่ง" แต่ค่อยมอบหมายวิธีการ ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันไปรู้จุดมุ่งหมายของอัลเลาะฮ์มาจากอายะฮ์ใหนมาสนับสนุนและหะดิษใหนมาสนับสนุนว่า มันคือ "การนั่ง" ทั้งที่อิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า
" ฉันขอศรัทธา ด้วยสิ่งที่มาจากอัลเลาะฮ์ บนความหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ และด้วยสิ่งที่มาจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) บนความหมายที่ร่อซูลเลาะฮ์ต้องการ" แล้วใหนล่ะครับ สิ่งที่มาสนับสนุนจากอัลกุรอานและหะดิษ ที่บอกว่า อัลอิสติวาอ์ นี้มี "ความหมาย" ว่ามันคือ "การนั่ง"
ทั้งที่สะลัฟนั้น เขามอบหมาย ทั้งความหมายและวิธีการ

ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า " สิ่ง(คือคุณลักษณะ)ที่อัลเลาะฮ์ ทรงพรรณากับพระองค์เอง ในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่านมัน คือการตัฟซีรอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติแก่ผู้ใด ทำการอธิบายมัน ด้วยภาษาอาหรับและเปอร์เซีย์ " (ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัศศิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้า 407) แต่บังอะสันของเราบอกว่าผู้อ่านว่าให้ไปดูปทานุกรมไทย - อาหรับ ซึ่งแปลว่า "นั่ง นั่งอย่างมั่นคง " แล้ววะฮาบีย์สาวกของอิบนุตัยมียะฮ์ ก็อธิบายด้วยว่า "นั่งสัมผัสบนอะรัชโดยมีน้ำหนักอึ้ง แล้ววันกิยามัตอัลเลาะฮ์ก็เหลือที่ว่างไว้ให้ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งข้างๆพระองค์!!! " วะฮาบีย์คนใด ต้องการออกมาปฏิเสธ ก็เสนอตัวออกมาแก้ต่างด่วน แต่ผมคิดว่าคุณไออาเอฟ ต้องออกมาออกตัวประกาศไม่เกี่ยวข้องคนแรก เหมือนกับเรื่องกุนูต เมื่อก่อนเถียงไปเวปมุรีด คอเป็นเอ็น แต่ตอนนี้เบาลง เรื่องมัซฮับ ก็กลับมายอมรับให้ทำการตามได้สำหรับคนเอาวาม อันนี้ผมก็ดีใจที่เขาเชื่ออย่างนี้ แต่ผมจะคุยกับพวกดื้อดึงที่มันยังไม่เข้าใจมัซฮับ เรามาเข้าเรื่องต่อครับ
ท่าน อิบนุกุ๊ดดามะฮ์ กล่าวถ่ายทอดจากอิมาม อะหฺมัด(ร.ฏ.) ว่า "บรรดาหะดิษเหล่านี้(คือบรรดาหะดิษซีฟาต) เราศรัทธาและยอมรับด้วยกับมัน โดยที่ไม่มีวิธีการ และความหมาย (หมายถึงมอบหมายวิธีการและความหมาย) และเราจะไม่พรรณา(คุณลักษณะ)กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ให้มากไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์เอง" (ดู ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต หน้า 3) แต่วะฮาบีย์กลับรู้ความหมายครับ คือหมายความว่า "นั่ง"

ท่าน อัซซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถ่ายทอดคำกล่าวของอิมาม มาลิก ซึ่งท่านได้กล่าวเกี่ยวกับหะดิษซิฟาต ว่า "พวกท่านจงผ่านมันไป เฉกเช่นที่มันได้มี(ระบุ)มาโดยไม่ต้องอธิบาย" ท่าน อัซซะฮะบีย์ กล่าวจากนั้นเล็กน้อย ว่า " การกล่าวของเราในสิ่งดังกล่าวนั้น คือ ยอมรับ และผ่านพ้นมันไป และมอบหมายกับความหมายของมัน ไปยังผู้ที่กล่าวมัน ซึ่งเป็นผู้ที่สัจจริง อีกทั้งมะซูมถูกปกป้องจากความผิด" (ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 8 หน้า 105)

ท่านอิบนุ หะญัร ได้กล่าวเรื่องการมอบหมายทั้งวิธีการและความหมายว่า " ท่านอัฏฏ๊อยิบีย์ กล่าวว่า นี้คือมัซฮับที่ถูกยึดถือ และสะลัฟซอลิหฺ ได้กล่าวด้วยกับมัน" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 390)

ดังกล่าวมาแล้วนี้ คือแนวทางสะลัฟ ซึ่งเป็นแนวทางแรกและเป็นแนวทางเดิม ของอัลอะชาอิเราะฮ์ และวะฮาบีย์สาวกอิบนุตัยมียะฮ์ไม่ใช่มีแนวทางอย่างนี้ เพราะพวกเขารู้ความหมาย คือไม่มอบหมายในความหมาย เพียงแต่มอบหมายวิธีการอย่างเดียว ซึ่งแบบนี้ไม่ใช่สะลัฟครับ แต่มันเป็นแนวทางของพวก อัล-มุญัสสิมะฮ์!!!

2. تأويل การตีความ ซึ่งเป็นการตีความแบบรายละเอียด และสองหนทางนี้ อัล-อะชาอิเราะฮ์ของกล่าวว่า "หนทางของสะลัฟนั้น ปลอดภัยกว่า แต่หนทางของค่อลัฟนั้นรู้มากกว่า" และผมจะนำมาเสนอรายงานละเอียดต่อไป ในการตอบคำถามของ วะฮาบีย์ ที่ใช้นามว่า ไออาเอฟ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

قال الإمام أبو حنيفة: ونقر بأن الله تعالى على العرش استوى من غير أن يكون له حاجة. [شرح الوصية ص10]

อิหมามอบูหะนีฟะอกล่าวว่า” เรายอมรับว่า แท้จริงอัลลอฮ(ซ.บ)สถิตอยู่บนบัลลังค์ โดยมิทรงต้องการมัน – ชัรหุอัลวะศียะฮ หน้า 10

ตอบ

บังอะสันแกยังไม่เลิกตบตาลวงผู้อ่านที่รู้เท่าไม่ถึงการอีกแล้วครับ คือบังอะสันเป็นคนที่วน และสนทนาลืมหน้าลืมหลัง ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ตนเองสนทนาไปแล้วคู่สนทนาได้เปิดเผยข้อเท็จจริงไปแล้ว ที่บังอะสันเป็นอย่างนี้นั้น ก็เพราะตะอัศศุบจัด จนหน้ามือตามัว จนไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองอ้างอิงมานั้นมันมีสภาพอย่างไร?

คำกล่าวของท่านอบูหะนีฟะฮ์(ร.ฏ.) นี้ บังอะสันก็ถูกอุลามาอ์วะฮาบีย์หลอกมาอีกที แล้วบังอะสันเขาก็มาสืบทอดเจตนารมณ์ต่อ ทำไมบังอะสันไม่ยกคำกล่าวของท่านอบูหะนีฟะฮ์มาให้หมดล่ะครับ หรือว่าหากยกมาแล้ว มันมาสนับสนุนแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ ท่านอบูหะนีฟะฮ์ได้กล่าวไว้อย่างสมบูรณ์ดังนี้ครับ

ونقر بأن الله سبحانه وتعالى على العرش استوى من غير أن يكون له حاجة إليه واستقرار عليه، وهو حافظ العرش وغير العرش من غير احتياج، فلو كان محتاجا لما قدر على إيجاد العالم وتدبيره كالمخلوقين، ولو كان محتاجا إلى الجلوس والقرار فقبل خلق العرش أين كان الله، تعالى الله عن ذلك علوا كبيرا

ความว่า "เรายอมรับว่า แท้จริง อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ทรงอยู่เหนืออะรัช โดยที่พระองค์ไม่ต้องการไปยังมัน และไม่ได้สถิตอยู่บนมัน พระองค์ทรงปกปรักรักษาอะรัชโดยที่ไม่ต้องการมัน ดังนั้น หากพระองค์มีความต้องการ แน่นอนพระองค์ก็ไม่มีความสามารถสร้างโลกและบริหารมันได้ โดยที่เหมือนกับบรรดามัคโลค และถ้าหากพระองค์ทรงต้องการไปยังการนั่งและสถิต(อยู่บนอะรัช) ดังนั้นก่อนที่พระองค์ทรงสร้างอะรัช พระองค์อยู่ใหน ? ? อัลเลาะฮฺทรงปราศจากจากสิ่งดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่” ดู กิตาบ วาซียะฮ์ ของอบูหะนีฟะฮ์ หน้า 2

ท่านอบูหะนีฟะฮ์กล่าวว่า" และถ้าหากพระองค์ทรงต้องการไปยังการนั่งและสถิต(อยู่บนอะรัช) ดังนั้นก่อนที่พระองค์ทรงสร้างอะรัช พระองค์อยู่ใหน ? ? " แบบนี้ ท่านอบูหะนีฟะฮ์ให้สติปัญญามาเกี่ยวข้องใหมครับ? แล้วทำไมเมื่อพวกเราถามว่า "หากอัลเลาะฮ์นั่งอยู่บนอะรัช แล้วก่อนสร้างอะรัชนั้น อัลเลาะฮ์อยู่ใหน? หากอัลเลาะฮ์อยู่บนฟ้าแล้ว ก่อนที่พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้านั้น พระองค์อยู่ใหน? พอเราถามแบบนี้ วะฮาบีย์กลับบอกว่า พวกเราใช้ปัญญา ซึ่งความจริงแล้ว คำถามเชิงปัญญาอย่างนี้ มันเป็นแบบอย่างของสะลัฟ!!!

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

قال الإمام أحمد: نحن نؤمن بأن الله على العرش، كيف شاء، وكما شاء، بلا حد، ولا صفة يبلغها واصف أو يحده أحد؛ فصفات اللهِ منه وله، وهو كما وصف نفسه، لا تدركه الأبصار. [درء تعارض العقل والنقل لابن تيمية ج2 ص30].

อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า “ เราศรัทธาว่าแท้จริงอัลอฮนั้นอยู่บนอะรัช ตามที่พระองค์ทรงประสงค์และดังที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยไม่มีข้อจำกัด ไม่มีคุณลักษณะใดที่ผู้อธิบายคุณลักษณะจะเข้าถึงมันได้ หรือ ไม่มีคนใดจะมาจำกัดมันได้ บรรดาสิฟาตของอัลลอฮนั้น มาจากพระองค์และเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ โดยทีมันเป็นดังเช่นที่พระองค์ทรงอธิบายคุณลักษณะเอาไว้แก่พระองค์เอง บรรดาสายตาไม่สามารถจะเข้าถึงมันได้ - ดู ดัรอุตะอาริฎอัลอักลิวัลนักลี ของท่านอิบนิตัยมียะอ เล่ม 2 หน้า 30

ตอบ

สิ่งที่อิบนุตัยมียะฮ์ อ้างถ่ายทอดคำพูดของอิมามอะหฺมัดนั้น มีความถูกต้องครับ แต่มันเป็นคำพูดและจุดยืนของอิมามอะหฺมัด ซึ่งไม่ใช่เป็นคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ์ ซึ่งประเด็นต่างๆที่เป็นคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ์ที่เราจะต้องกันในคราวต่อไปนั้น มันมีมากมายที่ขัดแย้งกับอิมามอะหฺมัด แล้วเราค่อยว่ากัน

อ้างอิงจากบังอะสัน

عن الشافعي أنه قال: القول في السنة التي أنا عليها، ورأيت أصحابنا عليها، أهل الحديث الذين رأيتهم، وأخذت عنهم مثل سفيان، ومالك، وغيرهما: الإقرار بشهادة أن لا إله إلا الله، وأن محمداً رسول الله، وأن اللهَ تعالى على عرشه في سمائه يقرب من خلقه كيف شاء، وأن الله تعالى ينزل إلى سماء الدنيا كيف شاء. [اجتماع الجيوش الإسلامية لابن القيم ص165، إثبات صفة العلو ص124، مجموع الفتاوى ج4 ص181-183، والعلو للذهبي ص120، ومختصره للألباني ص176].
จากอัชชาฟิอี แท้จริงท่านได้กล่าวไว้ว่า “ทัศนะเกี่ยวกับอัสสุนนะอ ที่ข้าพเจ้าและบรรดาสหายของเราที่ข้าพเจ้าเห็น ยืนหยัดอยู่ คือ นักหะดิษที่ข้าพเจ้าพบเห็นพวกเขา และข้าพเจ้าได้รับเอามาจากพวกเขา เช่น สุฟยาน มาลิก และอื่นจากทั้งสองนั้น คือ การยอมรับการปฏิญานว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮและมุหัมหมัดคือ ศาสนทูตของอัลลอฮ และแท้จริงอัลลอฮ(ซ.บ)อยู่บนอะรัช บนฟากฟ้าของพระองค์ ทรงใกล้ชิดมัคลูคของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และแท้จริงพระองค์ทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ - ดู อิจญติมาอุลญุญสอิสลามียะอ ของท่านอิบนิกอ็ยยิม หน้า 165 สิฟะตุลอะลูวิ หน้า 124 มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 4 หน้า 181-183 อัลละลูวี ของอัซซะฮะบีย์ หน้า 120 และมุคตะศอรอัลอะลูวีย์ ของอัลบานีย์ หน้า 176

ตอบ

ประเด็นนี้ผมได้ตอบไปแล้วครับ อ้างมาทำไมครับ ทำไมถึงไม่วิจารณ์สิ่งที่ผมนำเสนอวิจารณ์แล้วไปแล้วละครับ แบบนี้เขาเรียกว่า "วน" นี่ครับ

สิ่งที่รายงานจากท่านอิมาม ชาฟิอีย์นี้ ฏออีฟ เมาฏั๊วะ กุเท็จต่ออิมามอัชชาฟิอีย์ ผมไม่ทราบว่า อิบนุก๊อยยิม ได้กล่าวสายรายงานนี้ โดยไปเอามาจากหนังสือเล่มใหน ? แต่ผมไปดูแล้ว พบว่า มีสายรายงานของ อิบนุ อบี หาติม และอิบนุ อบีหาติม ได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มใหนของเขา ? ซึ่งอิบนุอบีหาติมนั้น จะไม่ได้รับการเชื่อถือในสิ่งที่เขาได้รายงานจาก อิมามชาฟิอีย์ เนื่องจากเขาได้มีการต่อเติมคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุม เป็นต้น จนกระทั้งเขาไม่มีความ ثقة เชื่อถือ ในเรื่องการถ่ายทอดคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์

อย่างเช่น ท่านอัซฺฮะบีย์ ได้กล่าวหลักฐานที่ 414 ไว้ใน หนังสือ อัลอุลู้ ลิอะลียิลฆอฟฟาร จากการรายงานของ อิบนุอบีหาติม จาก ท่านอัรร่อบิอฺ โดยมีการเพิ่มเติมคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ซึ่งผมค้านที่จะหยิบยกมา เนื่องจาก ค้านที่จะพิมพ์และไม่ค่อยมีเวลา แต่หากบังอะสันยกอ้างอิงมา ผมก็จะอธิบายแบบรายละเอียด ในเชิงวิชาการ

อย่างเช่น อิมาม อัลบัยฮะกีย์ ได้กล่าววิจารณ์ไว้ว่า " อับดุรเราะหฺมาร บิน มุหัมมัด บิน อิดรีส อัลฮันซ่อลีย์ ในเรื่องเล่านี้ จากร่อบีอฺ จากอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) " ดู หนังสือ อัสมาอฺ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัลบัยฮะกีย์ หน้า 255 - 256

และหากเราไปดู หนังสือ อิจญฺติมาอฺ อัลญุยูช ของอิบนุ ก๊อยยิม นั้น เราจะพบว่า สิ่งที่อิบนุก๊อยยิมอ้างมานั้น คือการรายงานของ อิบนุ อบี หาติม ซึ่งเขาได้รายงานจาก อบู ชุอิบ ซึ่งอะบู ชุอิบนี้ พวกอัลมุญัสสิมะฮฺอ้างว่า เขาได้ทำการรายงานอะกีดะฮฺของอิมามชาฟิอีย์ ทั้งที่อบูชุอิบนั้น เกิด หลังจากอิมามชาฟิอีย์เสียชีวิตไปแล้วถึงสองปีด้วยกัน ดู ตารีค บุฆดาด เล่ม 9 หน้า 496 ของท่าน อัลค่าฏีบ อัลบุฆดาดีย์

แต่ตัวบทดังกล่าวนี้ บังอะสันเคยยกอ้างอิงมาแล้ว และผมก็ชี้แจงไปแล้ว หากเราไปดู จากหนังสือ อัลอุลุวฺ ของท่านอัซซะฮะบีย์ หลักฐานที่ 408 และมุคตะซ๊อร อัลอุลู้ หน้า 176 ที่บังอะสันนำเสนอมา โดยที่บังอะสันเองก็ไม่เคยจับแตะต้องและไม่เคยเห็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรายงานดังกล่าวเป็นการโกหกใส่อิมามอัชชาฟิอีย์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังโกหกใส่ท่าน ซุฟยาน และท่านอิมามาลิกด้วย วัลอิยาซุบิลลาหฺ ซึ่งสายรายงานนี้ ได้รายงานโดย ชัยคุลอิสลาม อัลกะฮารีย์ (เล่นใส่ชัยคุลอิสลามกันเลยครับ) และหาฟิซ อะบูมุหัมมัด อัลมุก๊อดดิซีย์ ด้วยสายรายงานจากทั้งสอง จาก อบู ชุอิบ และ อบู ษูร

1. อัลฮุกการีย์ الهكارى คนนี้ เป็นคนที่โกหกและกุหะดิษ ท่าน หาฟิซ อัซซะฮะบีย์ (ซึ่งเขาได้ล้มเลิกจากทัศนะที่ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ อัลอุลุวฺ ในขณะที่ท่านเป็นหนุ่มอยู่) เมื่อท่านมีความอวุโส มีความมั่นคงในวิชาความรู้โดยการศึกษาจากอาจารณ์ท่านอื่นๆ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ มีซาน อัลเอี๊ยะติดาน ว่าเกี่ยวกับ อัลกะฮารีย์ ว่า " อบูอัลกอซิม บิน อะซากิร กล่าวว่า อัลฮุกการีย์นั้น ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการเชื่อถือ และท่านอิบนุอันนัจญารกล่าวว่า อัลฮุกการีย์นั้น ถูกกล่าวหาว่า ชอบกุฮะดิษ และประดิษฐ์สายรายงานขึ้นมา " ดู มีซาน อัลเอี๊ยะติดาน ของท่าน อัซซะฮะบีย์ เล่ม 3 หน้า 112


ท่านอัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร กล่าวว่าเกี่ยวกับ อัลฮะการีย์ว่า " ส่วนมาก ฮะดิษของเขานั้น ของฮะดิษที่แปลๆ และมีถูกตำหนิ(คือมีฮะดิษฏออีฟโดยขัดกับฮะดิษซอเฮียะหฺ) และในฮะดิษของเขานั้น มีบรรดาสิ่งต่างๆที่ถูกกุขึ้นมา และฉันได้เห็น การเขียนของส่วนหนึ่งของอุลามาอฺฮะดิษ(ที่มีต่อเขาว่า) แท้จริงเขา ได้กุฮะดิษขึ้นที่ อัซฟะฮาน " ดู ลิซาน อันมีซาน เล่ม 4 หน้า 195

2. อบูมุฮัมมัด อัลมุก๊อดดิซีย์ เขาผู้ที่เป็นผู้หนึ่งที่ อุลามาอฺได้หะลาลเลือดของเขา เนื่องจากเป็นพวกมุญัสสิมะฮฺ ดู หนังสือ อัซซัยล์ อะลา อัรเราฏ่อตัยน์ ของท่าน อบู ชามะฮฺ อัลมุก๊อดดิซีย์ หน้า 46 และอบูมุฮัมมัด อัลมุก๊อดดิซีย์นั้น ได้รายงานจาก อบู ชุอัยบฺ จากท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ ซึ่งพวกอัลมุญัสสิมะฮฺได้อ้างว่า อบู ชุอัยบ์นี้ได้รายงานเกี่ยวกับอะกีดะฮฺของท่าน อิมามชาฟิอีย์ ทั้งที่ อบู ชุอัยบ์นี้ เกิด หลังจากอิมามชาฟิอีย์เสียชีวิตไปแล้ว ถึง สองปี ด้วยกัน ดู ตารีค อัลบุฆดาด เล่ม 9 หน้า 436 ของท่านคอฏีบ อัลบุฆดาดีย์

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ثُمَّ اِسْتَوَى عَلَى عَرْشه , فَارْتَفَعَ عَلَيْهِ وَعَلَا .
วัน แล้วพระองค์ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์ แล้วทรงขึ้นบนมันและทรงอยู่บน - ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 4 ซูเราะฮอัลหะดีด

ตอบ

บังอะสันแปลว่า"ทรงอยู่บน" นี้ ไม่ถูกต้องนะครับ หากจะแปลก็ให้แปลว่า "ทรงสูง" แต่จะสูงแบบ อยู่บนสถานที่ หรือสูงแบบฐานันดร นั้น ก็ค่อยว่ากันต่อ แต่ เจตนาและเป้าหมายของ ท่านอัฏฏ๊อบรีย์ นั้น ไม่ใช่อย่างที่วะฮาบีย์จะเอา เนื่องจากท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ปฏิเสธการอยู่สูงแบบอยู่บนสถานที่

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ได้ตะวีล ตีความ อายะฮ์ที่ว่า

ثم استوى إلى السماء

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ กล่าวว่า" ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า

فكذلك فقل : علا عليها علو ملك وسلطان لا علو انتقال وزوال .

"ดังนั้น แบบนั้นแหละ ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่สูงอยู่สถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

เมื่อเป็นแบบนี้ คราวหลังบังอะสันก็อย่าพยายามเอาการอธิบายของท่านฏ๊อบรีย์ ไปแอบอ้างเพื่อให้เข้าทางตนเองนะครับ เพราะมันจะเป็นการอธรรมต่อท่านฏ๊อบรีย์!!

อ้างอิงจากบังอะสัน

الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ ) الذي هو أرفع المخلوقات وأعظمها وأوسعها ( اسْتَوَى ) استواء يليق بجلاله ويناسب عظمته وجماله فاستوى على العرش واحتوى على الملك

พระเจ้าผู้ทรงเมตตาอยู่บนอะรัช) ผู้ทรงอยู่เหนือกว่าบรรดามัคลูค ทรงยิ่งใหญ่และทรงกว้างขวางกว่ามัน (ทรงสถิต) ทรงสถิตที่เหมาะสมกับความเกรียงไกรของพระองค์ เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความสง่างามของพระองคื ทรงสถิตอยู่บนอะรัชและทรงกรรมสิทธิ์ในอำนาจการปกครอง - ดูตัฟสีรอัสสะอดีย์ ยุซที่ 16 หน้า 312


ตอบ

คำอธิบายของ ท่าน อัสสะดีย์ที่เป็นภาษาอาหรับนั้น ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้มาสนับสนุนแนวอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์เลยครับ และก็ไม่ได้มีความหมายแบบที่บังอะสันแปลเลยแม้แต่น้อย
สำหรับการแปลของบังอะสันนั้น แปลผิดอย่างอันตราย คือแปลว่า อัลเลาะฮ์ทรงกว้างขวางกว่าบรรดามัคโลค!! พูดง่ายๆว่า บรรดามัคโลคเล็กกว่าอัลเลาะฮ์ แต่อัลเลาะฮ์กว้างกว่าอะไรปานนั้น เขาเรียกว่าแปลมาโดยใช้อากิดะฮ์ของตนเองมาเป็นที่ตั้ง ก็คือ อะกีดะฮ์ของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์
หากแปลให้ถูก ต้องแปลอย่างนี้ครับ

"พระเจ้าผู้ทรงเมตตา อิสติวาอ์ อยู่เหนืออะรัช ซึ่งอะรัชนั้น คือสิ่งที่สูง ใหญ่และกว้างที่สุดจากบรรดามัคโลค พระองค์ทรงอิสติวาอ์ กับการอิสติวาอ์ที่เหมาะสมกับความเกรียงไกร ความยิ่งใหญ่ และความวิจิตของพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงอิสติวาอ์เหนืออะรัช และทรงกรรมสิทธิ์เหนืออำนาจการปกครอง"

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ ) قال الكلبي ومقاتل: استقر. وقال أبو عبيدة: صعد. وأولت المعتزلة الاستواء بالاستيلاء, وأما أهل السنة فيقولون: الاستواء على العرش صفة لله تعالى, بلا كيف, يجب على الرجل الإيمان به, ويكل العلم فيه إلى الله عز وجل. وسأل رجل مالك بن أنس عن قوله: الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى [طه-5], كيف استوى؟ فأطرق رأسه مليًّا, وعلاه < 3-236 > الرحضاء, ثم قال: الاستواء غير مجهول, والكيف غير معقول, والإيمان به واجب, والسؤال عنه بدعة, وما أظنك إلا ضالا ثم أمر به فأخرج.

แล้วทรงสถิตอยู่บนบัลลัง) อัลกะละบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า หมายถึง ทรงสถิตอยู่ และอบูอบีดะฮ กล่าวว่า หมายถึง “ขึ้นบน” และพวกมุอตะซิละอได้ตีความคำว่า อัลอิสติวาอ(สถิต) ว่าหมายถึงอำนาจการปกครอง สำหรับอะฮลุสสุนนะอแล้วพวกเขากล่าวว่า “การสถิตบนอะรัช เป็นคุณลักษณะของอัลลอฮ(ซ.บ) โดยไม่สามารถจะอธิบายรูปแบบได้ว่าเป็นอย่างไร จำเป็นแก่บุคคลจะต้องศรัทธามันและมอบหมายความรู้เกี่ยวกับมันแก่อัลลออ ผู้ทรงเกรียงไกรผู้ทรงสูงส่ง..........

ตอบ

บังอะสันก็เริ่มเผยอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์ทีละนิดๆ แล้วล่ะครับ ผมเนี่ย อย่างให้วะฮาบีย์เขากล่าวมาเอง ไม่อยากจะไปปลักปลำพวกเขานะครับ
บังอะสันกล่าวว่า

ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ ) قال الكلبي ومقاتل: استقر

" อัลกะละบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า หมายถึง ทรงสถิตอยู่ "

คำกล่าวของ อัลกะละบีย์และมุกอติล นี้แหละครับ ที่บังอะสันและวะฮาบีย์ทั้งหลายเขายึดเอามาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของอะกีดะฮ์ เกี่ยวกับ อัลอิสติวาอ์ เพราะบังอะสันจะแปลเกี่ยวกับอายะฮ์ อัลอิสติวาอ์ นี้ บางทีแปลว่า "ประทับ(นั่ง)" (جلس) หรือแปลว่า"สถิต" (استقر) เท่านั้น และพวกวะฮาบีย์ก็เลือกแปลแบบนี้ และผมก็เฝ้าขอหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานแล้ว วะฮาบีย์ก็เผยมาแล้วหนึ่งคำครับ คือคำว่า แปลว่า"สถิต" (استقر) ที่เป็นคำกล่าวของ อัลกะละบีย์ และมุกอติล

1. อัล-กะละบีย์

ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้กล่าววิจารณ์และถ่ายทอดคำวิจารณ์ของบรรดานักหะดิษว่า
" อบูซอลิหฺนี้ และอัล-กะละบีย์ และมุฮัมมัด บิน มัรวาน พวกเขาทั้งหมดนี้ ถูกทิ้ง ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษ พวกเขาไม่อ้างหลักฐาน ด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากบรรดาสายรายงานของพวกเขา เนื่องจากมีสิ่งที่ขัดกับหลักการอย่างมาก และปรากฏความเท็จในบรรดาสายรายงานของพวกเขา "

"ท่านอลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ยะหฺยา บิน สะอีด อัลกุฏฏอน ได้เล่า จากท่านซุฟยาน ท่านซุฟยานกล่าวว่า อัลกะละบีย์ กล่าวว่า "อบู ซอลิหฺ กล่าวกับฉันว่า ทุกสิ่งที่ฉันได้รายงานเล่ากับท่านนั้น เป็นการโกหก"

"... อัล-กะละบีย์ นั้น ท่านยะหฺยา บิน สะอีด และ ท่านอับดุรเราะฮ์มาน บิน มะฮ์ดี ได้ทิ้ง(การรายงาน) กับเขา"

" ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัล-กะละบีย์ นั้น ไม่มีอะไร (ที่เชื่อถือได้" (ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 384 และตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 1 หน้า 271)

2. มุกอติล บิน สุลัยมาน

มุกอติล ท่านนี้ ฏออีฟ อย่างมาก และเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ อัลมุญัสสิมอะฮ์ ท่านอัซฺซะฮะบีย์ กล่าววิจารณ์ว่า" มุกอติล บิน สุไลมาน นี้ เป็นคนบิดอะฮ์ โดยที่เขาเชื่อถือไม่ได้ " (ดู อัลอุลู้ว์ หลักฐานลำดับที่ 333 และหนังสือ มีซาน อัลเอี๊ยะติดาล เล่ม 4 หน้า 174)

ท่านอิมาม อัสซะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า " ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ สายรายงานหะดิษหนึ่งที่ท่าน อัล-หากิม รายงาน จากท่านอิบนุ มัสอูด (ร.ฏ.) ว่า อิสหาก และ มุกอติล นั้น ทั้งสอง เชื่อถือไม่ได้ และเป็นคนที่พูดไม่สัจจะ" (ดู อัล-ละอาลิอฺ อัล-มัสนูอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 306 และ อัลมุสตัดร๊อก เล่ม 4 หน้า 320)

เมื่อ ผู้ที่รายงานและผู้ที่กล่าวว่า อัลอิสติวาอ์ มีความหมายว่า "สถิต" นั้น เป็นบุคคลที่อุลามาอ์ไม่ให้การเชื่อถือ และพูดไม่สัจจะ แล้วต่อไปบังอะสันของเรา จะแปลอายะฮ์อัลอิสติวาอ์ว่า "อัลเลาะฮ์ทรงสถิตบนอะรัช" อีกหรือเปล่า? ถ้ายังแปลอยู่อีก ผมก็ขอให้ผู้ร่วมสนทนาทำความคิดเห็นหน่อยครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

คือ พวกคุณจะตอบว่า ของที่เรานำเสนอนั้น เฏาะอีฟ อันที่จริง ผมไม่ไส่ใจหรอกครับ ในการที่พวกคุณเอาความเห็นอุลามาอพวกคุณ มาอ้างเพื่อเปลี่ยนความหมายกุรอ่านและหะดิษ ให้เป็นไปตามความเชื่อสไตล์เดียวกับพวกมุอตะซิละอ ผมเชื่อมันในบรรดาอายะอและหะดิษ ที่ระบุเกียวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ เช่น การสถิตหรือ ประทับอยู่บนบัลลัง

ตอบ

บังอะสันครับ กรุณาอย่าดูถูกบรรดาอุลามาอ์ของอุมมะฮ์อิสลามซิครับ การวิจารณ์ของบรรดาอุลามาอฺหะดิษนั้น ว่าคนนี้ ฏออีฟ คนนั้นฏออีฟ นั้น เขาวิจารณ์ตามสถานะภาพที่พวกเขาเป็น ไม่ใช่เลือกปฏิบัติ แม้เขาจะเป็นคนดีแค่ใหน แต่หากเขาเป็นคนที่มีความจำไม่ได้ หรือความจำสับสน หรือกุหะดิษ เพื่อเจตนาดี ก็ตาม ก็ย่อมถือเป็นสิ่งต้องห้าม และเป็นบาปใหญ่ หากเขาทำการเตาบะฮ์ อินชาอัลเลาะฮ์ พระองค์อัลเลาะฮ์จะทรงรับ แต่สถานะภาพการรายงานนั้น อุลามาอ์เขาสามารถที่รับการรายงานได้แล้ว บังอะสันก็น่าจะรู้ไว้บ้างว่า แต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น ก็จะมีพวกนอกลู่ กุหะดิษขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวทางของตน บรรดาอุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ก็ต้องทำการปกป้อง ตามหลักการของศาสนา และบรรดานักหะดิษ ผู้ที่คอยปกป้องซุนนะฮ์นั้น ล้วนแต่มาจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เกือบทั้งสิ้น อิมามชาฟิอีย์มีอะกีดะฮ์อย่างนี้ และบรรดาสานุศิษย์ส่วนมากหรือเกือบจะทั้งหมด เชื่อกันต่อๆมาว่า อิมามชาฟิอีย์มีอะกีดะฮ์อย่างนี้ แต่มีกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามกุคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ในเรื่องอากิดะฮ์เพื่อมาสนับสนุนแนวทางของตน แล้วพวกเขาก็ต้องหมดบทบาทไป แต่มายุคนี้ ตำราเหล่านั้นที่เคยได้รับสืบทอดกันมา แบบลับ เหมือนกับพวกชีอะฮ์นั้น ก็ได้ถูกตีพิมพ์ได้อย่างเปิดเผย โดยไม่สนทนาว่าใครจะว่าอย่างไร แม้ว่าผู้แต่งจะเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์สถานะภาพของเขา ทางหะดิษ และเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้ ตามหลักการของอัลหะดิษ แต่ก็มีคนหนึ่งอย่างบังอะสันกลับมาพูดว่า "พวกคุณตอบว่า ของเราเสนอนั้น เฏาะอีฟ อันที่จริงผมไม่ใส่ใจหรอก!!! โดยที่พวกคุณเอาความเห็นองอุลามาอ์พวกคุณ(ทั้งที่พวกเขาคืออุลามาอ์ของอุมมะฮ์อิสลาม ที่เชี่ยวชาญในวิชาหะดิษ) แต่ถูกปฏิเสธโดยวะฮาบีย์หัวรุนแรง ที่มีนามว่า บังอะสัน เนื่องจากเขาบอกว่าไม่สนใจ!!!อุลามาอ์หะดิษ ที่มาวิจารณ์สถานะภาพของอุลามาอ์บังอะสันในด้านหลักการหะดิษ และหากบังอะสันไม่สนใจคำกล่าวของอุลามาอ์หะดิษแล้ว เก่งจริงก็อย่าสนใจในทุกแง่ทำประเด็นไปเลย อย่างเลือกปฏิบัติและเลือกเชื่อตามอารมณ์

อ้างอิงจากบังอะสัน

พวกคุณเอาความเห็นอุลามาอพวกคุณ มาอ้างเพื่อเปลี่ยนความหมายกุรอ่านและหะดิษ ให้เป็นไปตามความเชื่อสไตล์เดียวกับพวกมุอตะซิละอ

ตอบ

บังอะสันครับ การที่เราตีความนั้น ไม่ใช่เอากลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ มาเป็นบรรทัดฐาน และมันก็ไม่แปลก ที่บางประเด็นเราจะไปตรงกับกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ ซึ่งมั๊วะตะซิละฮ์นั้น เป้นกลุ่มชนมุสลิมครับ และบรรดาอากิดะฮ์ขอพวกเขานั้น ไม่ใช่จะผิดไปทั้งหมด ซึ่งมีทั้งถูกและมีทั้งผิด แต่ประเด็นเรื่อง อัลอิสติวาอ์นั้น เราเชื่อว่า พวกเขาก็มีความถูกต้อง แต่บางประเด็นพวกเขาตีความโดยไม่ถูกต้องเลย ไม่ว่าจะตามหลักการและหลักภาษาอาหรับ และบางประเด็นที่พวกเขาก็ถูกต้อง เช่น ตีความ يد ว่า "พลังอำนาจ" อันนี้ เราอัล-อะชาอิเราะฮ์ ก็เชื่ออย่างนั้น ตามหนทางที่ 2 และท่านอิบนุอับบาสก็ตีความอย่างนั้นด้วย ดังที่ผมนำเสนอไปแล้ว หากการตีความนี้เป็นบิดอะฮ์ ท่านอิบนุอับบาส ก็ทำบิดอะฮ์ ด้วยล่ะครับ

อ้างอิงจากบังอะสัน

ผมเชื่อมันในบรรดาอายะอและหะดิษ ที่ระบุเกียวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ เช่น การสถิตหรือ ประทับอยู่บนบัลลัง

ตอบ

แล้วมีหะดิษใหน และอุลามาอ์สะลัฟคนใหน ที่บอกและจำกัดความหมายว่า มันคือ "การสถิต" และ "นั่งประทับ" ใหนล่ะที่บอกเหลือเกินว่า เชื่อตามหะดิษ ตามอัลกุรอาน??

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

และเพื่อจะบอกว่า ยังมีนักวิชาการมากมายที่เขาเชื่อเช่นเดียวกับผมเชื่อ

ตอบ

หากมีอีกมาก แล้วทำไมต้องยกวนไปวนมา เหมือนหาทางออกไม่ได้ และหากมีอีกตามที่บังอะสันว่า ก็ยกมาอีกซิครับ เราจะทำการชี้แจงตามหลักวิชาการอิสลามครับ เนื่องจากมีอุลามาอ์มากมาย ที่ไม่รู้เรื่องและไม่เกี่ยวกับแนวทางวะฮาบีย์ แต่พวกวะฮาบีย์ก็พยายามแอบอ้างว่า มีอากิดะฮ์เหมือนวะฮาบีย์ เพื่อเอาไปบังหน้า และสนับสนุนแนวทางของตน และผมพร้อมที่จะชี้แจงความจริงเสมอครับ แม้จะถูกบิดเบือน โกหก หมดเม็ด ก็จะพยายามชี้แจงให้กระจ่าง อินชาอัลเลาะฮ์

อ้างอิงจากบังอะสัน

และขอเรียนให้คุณทราบว่า การพิมพ์ข้อความในกระดานอาจจะตกล่นไปบ้าง ไม่คิดว่าพวกคุณเอาจุดนี้มาโจมตี เพิ่งจะรู้ว่า นี้คือสไตล์พวกคุณ

ตอบ

ถ้าหากบังอะสัน เป็นคนที่ถ่อมตน ไม่ตะกับบุร ไม่กลัวว่าตนเองจะต่ำต้อย นึกอยู่เสมอว่าตนเองนั้นเป้นมนุยษ์ เป็นบ่าวผู้ต่ำต้อยของอัลเลาะฮ์เท่านั้น หากบังอะสันเชื่อมั่นอย่างนี้ บังอะสันจะไม่พูดออกมาอย่างนี้หรอก เราอย่าคิดว่าตนเองดี จึงไม่อยากให้ใครมาชี้นำแก้ไขข้อผิดพลาด แต่หากบังอะสันพิมพ์ตกนั้น ไม่เป็นไรหรอก แต่หากแปลผิดล่ะก็ ผมต้องแก้ไข แต่หากนำเสนอแบบบิดเบือน ผมก็ต้องชี้แจง และบังอะสันสมควรที่จะจดจำคำดังต่อไปนี้ให้มากๆ เพราะมันจะเป็นผลดีกับบังอะสัน คือ " ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตากับผู้ที่ชี้ข้อตำหนิแก่เรา" แต่ผมขอบอกให้นะครับว่า คนตะกับบุร จะใช้คติอันนี้ไม่ได้เลย แม้กระทั้งตายจากโลกนี้ไป

อ้างอิงจากบังอะสัน

โองการต่างๆข้างล่างนี้มันพอเพียงแล้วสำหรับผม
1 ـ ‏ إن ربكم الله الذي خلق السماوات والأرض في ستة أيام ثم استوي علي العرش يغشي الليل النهار يطلبه حثيثا والشمس والقمر والنجوم مسخرات بأمره ألا له الخلق والأمر تبارك الله رب العالمين‏.(‏ الأعراف‏:54)‏

2 ـ ‏ إن ربكم الله الذي خلق السماوات والأرض في ستة أيام ثم استوي علي العرش يدبر الأمر ما من شفيع إلا من بعد إذنه ذلكم الله ربكم فاعبدوه أفلا تذكرون‏(‏ يونس‏:3)‏

3 ـ ‏ وهو الذي خلق السماوات والأرض في ستة أيام وكان عرشه علي الماء ليبلوكم أيكم أحسن عملا‏..(‏ هود‏:7)‏

4 ـ ‏ الذي خلق السماوات والأرض وما بينهما في ستة أيام ثم استوي علي العرش الرحمن فاسأل به خبيرا‏(‏ الفرقان‏:59)‏

5 ـ ‏ الله الذي خلق السماوات والأرض وما بينهما في ستة أيام ثم استوي علي العرش ما لكم من دونه من ولي ولا شفيع أفلا تتذكرون‏(‏ السجدة‏:4)‏

6 ـ ‏ قل أئنكم لتكفرون بالذي خلق الأرض في يومين وتجعلون له أندادا ذلك رب العالمين‏,‏ وجعل فيها رواسي من فوقها وبارك فيها وقدر فيها أقواتها في أربعة أيام سواء للسائلين‏,‏ ثم استوي إلي السماء وهي دخان فقال لها وللأرض ائتيا طوعا أو كرها قالتا أتينا طائعين‏,‏ فقضاهن سبع سماوات في يومين وأوحي في كل سماء أمرها وزينا السماء الدنيا بمصابيح وحفظا ذلك تقدير العزيز العليم
‏(‏فصلت‏:9‏ ـ‏12)‏
7. ‏ هو الذي خلق السماوات والأرض في ستة أيام ثم استوي علي العرش يعلم ما يلج في الأرض وما يخرج منها وما ينزل من السماء ومايعرج فيها وهو معكم أينما كنتم والله بما تعملون بصير‏.(‏ الحديد‏:4)


ตอบ


บังอะสันครับ โองการเหล่านั้น ก็เพียงพอแก่พวกเราเช่นกัน และโองการเหล่านี้ เราไม่ได้มีการขัดแย้งกันในตัวบทของอายะฮ์ แต่ประเด็นการขัดแย้งนั้นคือ "ความเข้าใจ" จากของคำว่า "อัลอิสติวาอ์" จากอายะฮ์ต่างๆเหล่านั้นต่างหาก ซึ่งคำว่า" อัลอิสติวาะฮ์" นั้น مشترك بين معان มีความหมายร่วมกันอยู่หลายความหมายด้วยกันตามหลักภาษอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของอัลกรุอาน (บังอะสันโปรดเข้าใจหน่อยน่ะครับ) และส่วนหนึ่งจากความหมายต่างๆเหล่านั้น คือ 1. ปกครอง 2. สถิต นั่ง ซึ่งในสองแง่นี้ อันใดที่เหมาะสมกับอัลเลาะฮ์มากที่สุด?

หากบังอะสันบอกว่า เชื่อตามหลักภาษาอาหรับ คือนั่ง สถิต (ซึ่งกลุ่ม มุญัสสิมะฮ์ ก็มีความเห็นตรงกัน) แต่ผมก็บอกได้เช่นกันว่า เชื่อตามหลักภาษาอาหรับคือ ปกครอง (ซึ่งกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ ก็มีความเห็นตรงกัน)

หากบังอะสันยังยืนยันว่า มันคือการนั่ง สถิต ผมก็อยากถามว่า อัลกุรอานอายะฮ์ใด ที่มาอธิบายคำว่า อิสติวาอ์ ว่าพระองค์ทรงนั่ง หรืออัลกุรอานอายะฮ์ใด ที่ให้ความหมายมาสนับสนุนว่า พระองค์ทรงมีซีฟัต "นั่งสถิต" และมีหะดิษใด ที่อธิบาย "อัลอิสติวาอ์" ว่า อัลเลาะฮ์ ทรงนั่ง (جلس) หรือ สถิต ( استقر ) และมีสะลัฟท่านใดบ้างที่ อธิบายว่า อัลอิสติวาอ์ คือการ นั่ง และ สถิต

หากเรากลับไปหาหลักเดิม คือ ทั้งคำว่า ปกครอง นั่ง สถิต ต่างก็มีฐานะเท่าเทียมกัน คือทั้งหมดนั้น มีความหมายร่วมตามหลักภาษาอาหรับของคำว่า"อัลอิสติวาอ์" และความหมายเหล่านี้ ก็ไม่มีผู้ใดรู้ความหมายที่แท้จริง ตามจุดมุ่งหมายและพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ และไม่มีสะลัฟคนใดหรอก ที่อัลเลาะฮ์ทรงลงวาฮีมาบอกว่า อัลอิสติวาอ์ นั้น หมายถึงการนั่ง สถิต หรือการปกครอง และนบีก็ไม่ได้บอกอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า "อัลอิสติวาอ์นั้น คือการนั่ง สถิต หรือการปกครอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ บังอะสันก็ลองพิจารณาดูซิครับ หากเชื่อว่า พระองค์ทรงนั่งสถิต ก็ไปหาอายะฮ์มาสนับสนุน แต่ผมเชื่อว่า มันคือ การปกครอง คืออัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะการปกครอง ซึ่งมีหลักฐานจากอัลกุรอานมากมาย ที่ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์ทรงปกครองทรงกรรมสิทธิ์ทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน !!!

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

และช่วยแปลอายะฮนี้ให้ด้วย
"يدبر الأمر من السماء إلى الأرض ثم يعرج إليه في يوم كان مقداره ألف سنة مما تعدون" سورة السجدة الآية 5

ตอบ

บังอะสันทำอย่างนี้ ถือว่าไม่ถูกต้องนะครับ คือบังอะสันจะสำนวนภาษาไทย มาเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) นั้น ผมเชื่อว่ามันไม่เป็นการดีเลย หากบังอะสันต้องการให้แปลแบบภาษาไทยโดยความหมายผิวเผินอย่างนี้ เพื่อจะให้เข้าทางตนเอง ทั้งที่สะลัฟที่เคร่งครัดอย่างแท้จริงนั้น เขากลัวเรื่องแปลอัลกุรอานที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ให้เป็นภาษาอื่นนะครับ

ท่าน อัช-ชะฮ์ร๊อสตานีย์ กล่าวว่า" สะลัฟบางส่วนนั้น มีความระมัดระวังอย่างมาก จนกระทั้ง พวกเขาไม่เคยอ่าน(ความหมาย)คำว่า "يد " ด้วยภาษาเปอร์เซีย ไม่อ่าน(ความหมาย)คำว่า " الوجه " คำว่า " الاستواء " ด้วยภาษาเปอร์เซีย และคำที่เป็นประเภทเดียวกันนี้(จากซิฟัตของอัลเลาะฮ์) แต่หาก ต้องการไปกล่าวมัน ด้วยสำนวนหนึ่ง(ที่ไม่ใช่อาหรับ) พวกเขาจะพูดออกมา ด้วยสิ่งที่ มีมา เป็นคำต่อคำ (คือพูดทับศัพท์ตามที่อัลกุรอานกล่าวไว้)!!! ดังนี้ คือสิ่งที่ปลอดภัย โดยที่มันไม่มีการตัชบีฮ์(สร้างความคล้ายคลึงกับอัลเลาะฮ์) ดว้ยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย" (ดู อัลมิลัล วะ นิหัล เล่ม 1 หน้า 118 - 119 ดารฺ มะริฟะฮ์ เบรุต )

ดูซิครับ บังอะสัน แม้กระทั้งภาษาอื่น สะลัฟเขาก็ยังไม่กล้าจะแปลคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ออกไป โดยที่พวกเขาจะพูดทับศัพท์ แต่บังอะสันกลับพยายามให้ผู้อ่านแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ พอสนทนาไปสนทนาก็จะให้แปลเป็นไทย เพื่อจะใช้ศัพท์ภาษาไทย มาเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์

ซึ่งหากบังอะสันจะเอาอย่างนั้นจริง บังอะสันก็กรุณาอย่างเลือกปฏิบัติได้หรือเปล่าล่ะครับ บังอะสันลองแปลอายะฮ์นี้ซิครับ คือแปลตามหลักภาษาไทยให้ตรงตัวเลยนะ เพราะว่ามันเป็นความหมายหะกีกัต ตามทัศนะที่วะฮาบีย์นำมาให้เกี่ยวกับซิฟัตของอัลเลาะฮ์

فأينما تولوا فثم وجه الله

"ไม่ว่าที่ใหน ที่พวกเจ้าผินไป ที่นั่นก็คือใบหน้าของอัลเลาะฮ์"

كل شىء هالك إلا وجهه

"ทุกสิ่งเสียหาย นอกจากใบหน้าของอัลเลาะฮ์"
ดังนั้น บังอะสันจะแปลแบบหะกีกัตอย่างนี้หรือเปล่าครับ ? แล้วก็มอบหมาย หรือจะเลือกปฏิบัติ กับอายะฮ์บางส่วนให้อยู่ในความหมายหะกีกัต และเพิกเฉยบางส่วนโดยให้ความหมายแบบ "มะญาซฺ" ตามที่อารมณ์ตนเองต้องการ!!

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้างอิงจากบังอะสัน

สองอายะฮนี้
أَأَمِنتُم مَّن فِي السَّمَاء أَن يَخْسِفَ بِكُمُ الأَرْضَ فَإِذَا هِيَ تَمُورُ
[67.16] พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ จากผู้ทรงอยู่บนฟากฟ้าจะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าแล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว
أَمْ أَمِنتُم مَّن فِي السَّمَاء أَن يُرْسِلَ عَلَيْكُمْ حَاصِباً فَسَتَعْلَمُونَ كَيْفَ نَذِيرِ
[67.17] หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากผู้ทรงอยู่ บนฟากฟ้า จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าจะได้รู้ว่าการตักเตือนของข้าเป็นเช่นใด
..................................
(أَمْ أَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ ) وهو الله
(หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากผู้ทรงอยู่ บน ฟากฟ้า) และพระองค์คือ อัลลอฮ
-- ดูตัฟสีร อัฏอ็บรีย์ เล่ม 23 หน้า 512
( أَأَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ ) قال ابن عباس: أي: عذاب مَنْ في السماء إن عصيتموه
(หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัย(จาก)ผู้ทรงอยู่บนฟ้ากฟ้า) อิบนุอับบาสกล่าวว่า หมายถึง การลงโทษของผู้ทรงอยู่บนฟากฟ้า หากพวกเจ้าฝ่าฝืนพระองค์ - ดูตัฟสีรอัลบัฆวีย เล่ม 8 หน้า 579
هل أمنتم- يا كفار "مكة"- الله الذي فوق السماء أن يخسف بكم الأرض, فإذا هي تضطرب بكم حتى تهلكوا؟ هل أمنتم الله الذي فوق السماء أن يرسل عليكم ريحا ترجمكم بالحجارة الصغيرة, فستعلمون- أيها الكافرون- كيف تحذيري لكم إذا عاينتم العذاب؟ ولا ينفعكم العلم حين ذلك. وفي الآية إثبات العلو لله تعالى, كما يليق بجلاله سبحانه.
พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ โอ้บรรดากาเฟร ชาวมักกะ(จาก)อัลลอฮ ผูซึ่งอยู่บนฟากฟ้า ที่จะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้า เมื่อมันทำให้พวกเจ้าหวั่นไหว จนกระทั้งพวกเจ้าพินาศ ? พวกเจ้าจะปลอดภัยกระนั้นหรือ(จาก)อัลลอฮผู้ซึ่งอยู่บนฟากฟ้า จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดเล็กๆให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าจะได้รู้โอ้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย ว่าการตักเตือนของข้าแก่พวกเจ้าเป็นเช่นใด เมื่อพวกเจ้าเผชิญกับการลงโทษ ? ในเวลานั้นความรู้จะไม่ก่อประโยชน์แก่พวกเจ้า และในอายะฮนี้ เป็นการรับรองการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ(ซ.บ) ตามความเหมาะสมด้วยความสูงส่งของพระองค์ ผู้ทรงบริสุทธิ์
-ดูตัฟสีรอัลมุยัสสิร ยุซที่ 29 หน้า 563

ตอบ

ความหมายของบรรดาอายะฮ์ดังกล่าวนี้ หากจะให้ความหมาย (فى ) แบบ หะกีกัต คำเดิม นั้น แปลว่า"ใน" ซึ่งวะฮาบีย์มีจุดยืนว่า จะให้ความหมายแบบหะกีกัต โดยไปตีความเป็น มะญาซฺ ไม่ได้ แต่วะฮาบีย์ใช้ความหมาย "ใน" (ที่มีความหมายแบบหะกีกัต) มาตีความ تأويل เปลี่ยนไปเป็นความหมาย "على " ที่แปลว่า"บน" ซึ่งอยู่ในหนทางของมะญาซฺ ผมจึงไม่รู้ว่า กลุ่มวะฮาบีย์นั้น เขามีจุดยืนอย่างไรกันแน่?? หากวะฮาบีย์ใช้ความหมายหะกีกัต ก็ใช้ให้หมดทุกอายะฮ์และหะดิษ แต่หากพวกเขาใช้คำมะญาซฺ ตีความ ก็ไม่สมควรไปว่าแนวทางอื่น ที่เขาใช้ความหมายแบบมะญาซฺในอายะฮ์และหะดิษอื่นๆซิครับ

แต่การตัฟซีร ที่ได้นำมากล่าวไว้ ในตัฟซีร อัล-มุยัสซัร ที่อธิบายอายะฮ์ที่ 16 -17 ของซูเราะฮ์ อัล-มุลก์ นั้น ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์อยู่บนฟากฟ้า ที่อยู่ในความหมายของการอยู่ในสถานที่ หรือ บนสถานที่ เนื่องจากคำอธิบายอายะฮ์ดังกล่าวนั้น ได้สรุปว่า

وفي الآية إثبات العلو لله تعالى, كما يليق بجلاله سبحانه

" และในอายฮ์(นี้) เป็นการยืนยันถึงความสูงส่ง สำหรับอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ที่เหมือนกับความเหมาะสม ด้วยความเกรียงไกรของผู้พระองค์ ผู้ทรงบริสุทธิ์"

นั่นคือความหมายที่ถูกต้อง แต่บังอะสันชอบแปลผิด ซึ่งตรงนี้ ผมก็ไม่ได้จะนำมาประจานหรือวิจารณ์อะไรบังอะสันให้เสียหาย แต่ผมจำต้องชี้แจงให้มันถูกต้อง โดยเฉพาะการแปลให้ความหมายเกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แต่หากบังอะสันแปลเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเด็นในซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น ผมไม่เอามาใส่ใจอยู่แล้วครับ เพราะคนเราย่อมมีผิดพลาดกันเป็นธรรมดา แต่การแปลให้ความหมายเรื่องอากิดะฮ์ ซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น หากแปลบิดเบือน คนอื่นที่รู้อิโหน่อิเหน่ ของก็หลงทางกันเป็นแถวซิครับ

บังอะสันแปลว่า
وفي الآية إثبات العلو لله تعالى
"และในอายะฮนี้ เป็นการรับรองการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ(ซ.บ)"

แต่ที่ถูกต้องนั้น ต้องให้ความหมายว่า "รับรองถึง ความสูงส่ง " ไม่ใช่ไปแปลบิดเบือนเข้าทางตนเองว่า"ทรงอยู่เบื้องสูง" ที่ให้ความหมายว่าพระองค์ทรงมีสถานที่ ที่ทั้งคำว่า"العلو " นั้น ไม่ใช่ให้ความหมายแบบมีสถานที่เลย ( الظرفية ) แต่มันกลับให้ความหมายถึงสภาวะการ ที่สูงส่งต่างหาก ( المصدر )

คำว่า ( بجلاله ) แปลว่า "ด้วยความยิ่งใหญ่ หรือ เกียตริเกรียงไกร ของระองค์ " ไม่ใช่แปลว่า"สูงส่ง" และตบท้ายด้วยคำว่า ( سبحانه ) คือพระองค์ทรงบริสุทธิ์ ก็หมายความว่า พระองค์ทรงบริสุทธิ์ จากภาคี บริสุทธิ์จากการเหมือนและคล้ายกับมัคโลค และทรงบริสุทธิ์จากจินตนาของมนุษย์ว่าพระองค์ทรงมีสถานที่ มีทิศ เพราะการมีสถานที่และมีทิศนั้น มีคุณลักษณะที่เหมือนกับมัคโลก และอัลเลาะฮ์ทรง ( سبحانه ) จากสิ่งดังกล่าวทั้งมวล

และคำอธิบายของท่านอิบนุอับบาสกับสองอายะฮ์ดังกล่าวนี้ ก็มีอีกรายงานหนึ่งบอกว่า

" عن إبن عباس : اى قدرته وسلطانه وغرشه ومملكته "

จากท่านอิบนิอับบาส ท่านกล่าวว่า (พวกเจ้าจะปลอดภัยหรือ) จากอานุภาพของพระองค์ อำนาจ อะรัช และการครอบครองของพระองค์ " ดู ซฺาดุลมาะซีร ฟี อิลมิลตัฟซีร (ตัฟซีรอิบนุเญาซีย์ ) เล่ม 8 หน้า 21 ดารฺ ฟักรฺ ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 ญะมาดุลอูลา ฮ.ศ. 1407 - ค.ศ. 1987

และคำกล่าวของผม ที่เคยบอกไปว่า หมายถึง บรรดามะลาอิกะฮ์ นั้น ก็ผมยกมาจากตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ และก็มีหลักฐานหะดิษมาสนับสนุนว่า บรรดามะลาอิกะฮ์นั้น อยู่บนฟากฟ้า และเมื่ออัลเลาะฮ์จะทรงทำลายพวกมุชริกีนแต่ละยุคสมัยนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์ที่อยู่บนฟากฟ้าก็ จะเป็นผู้รับบัญชาจากอัลเลาะฮ์ แล้วบรรดามะลาอิกะฮ์ที่อยู่บนฟากฟ้า ก็จัดการทำลายพวกเขา

แต่ถ้าหากว่า من فى السماء หมายถึง "อัลเลาะฮ์" ล่ะก็ ผมก็ขอกล่าวว่า มันไม่ใช่อยู่ในความหมายแบบผิวเผิน ที่ชี้ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีสถานที่อยู่ในฟากฟ้า มีการเคลื่อนไหว ขึ้น ลง ตามที่วะฮาบีย์ได้กล่าวพรรณาเอาไว้กับอัลเลาะฮ์ เพราะองค์ทรงตรัสกันเอาไว้แล้วว่า

سبحان رب السموات والأرض رب العرش عما يصفون

" องค์อภิบาลแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน องค์อภิบาลแห่งบันลังก์ ทรงบริสุทธิ์ยิ่งนัก เกินกว่าสิ่งที่พวกเขา(บรรดามนุษย์) ได้บรรยายคุณลักษณะเอาไว้"
ท่าน อัลหาฟิซฺ อบู หิยาน ได้อธิบายไว้ ในตัฟซีร อัล-บะหฺรุ อัล-มุฮีด เล่ม 7 หน้า 302 ของท่านว่า

فظاهر قوله ( من فى السماء ) غير مراد كما أن ظاهر ( وهو معكم ) و (نحن أقرب إليه منكم ولا تبصرون) غير مراد ، وكذا ظاهر ( وليعلم الله الذين جاهدوا منكم ويعلم الصابرين ) غير مراد أيضا لأنه يفيد حدوث عام جديد لم يكن عند الله عز شأنه قبل الجهاد والصبر..

ความว่า" ดังนั้น (ความหมาย)ผิวเผิน คำตรัสของพระองค์ ที่ว่า ( من فى السماء ) "พระองค์ผู้ที่อยู่ในฟากฟ้า" นั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย (ตรงตัว) ซึ่งเสมือนกับ (ความหมาย)ผิวเผิน คำตรัสของพระองค์ที่ว่า ( وهو معكم ) "พระองค์ทรงอยู่พร้อมกับพวกเจ้า" และ(ความหมายผิวเผินคำตรัสของพระองค์ที่ว่า) (نحن أقرب إليه منكم ولا تبصرون) "เรา ได้อยู่ใกล้เขามากกว่า จากพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าไม่เห็น" ก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย(แบบตรงตัว) และเช่นเดียวกันนี้ (ความหมาย)แบบผิวเผิน คำตรัสของพระองค์ที่ว่า ( وليعلم الله الذين جاهدوا منكم ويعلم الصابرين ) "เพื่ออัลเลาะฮ์จะทรงรู้ ถึงบรรดาผู้ทำการต่อสู้ จากหมู่พวกเจ้า และเพื่อพระองค์ทรงรู้ ถึงบรรดาผู้อดทน" ก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย (แบบตรงตัว) เช่นกัน เพราะว่ามันให้ผลถึง การเกิดลักษณะการรู้ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ณ อัลเลาะฮ์ (ผู้ทรงยิ่งใหญ่) ก่อนจากการต่อสู้ และอดทน "

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของอายะฮ์นี้ ก็ขอมอบหมายให้กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ซึ่งพระองค์ไม่ทรงอยู่ในความหมายแบบผิวเผินที่ พระองค์ทรงมีสถานที่อยู่บนฟากฟ้าและนั่งอยู่อะรัช หากพระองค์ทรงอยู่(ใน)บนฟากฟ้าและนั่ง(ประทับสถิต)อยู่บนอะรัช นั้น ก่อนที่พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและอะรัช พระองค์ทรงอยู่ที่ใหน? ซึ่งคำถามเชิงสติปัญญาที่ดีๆนี้ ท่านอบูหะนีฟะฮ์(ร.ฏ.) ซึ่งเป็นอุลามาอ์สะลัฟ ก็ได้เคยถามแบบนี้ด้วยเช่นกัน

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานจากซุนนะฮ์

มีหะดิษต่างๆ ที่อยู่ในความหมายของการที่อัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากทิศและสถานที่ ซึ่งบรรดานักปราชน์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ ได้ทำการอ้างหลักฐาน เพื่อยืนยันอากิดะฮ์ของอุมมะฮ์อิสลามดังนี้

1. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

كان الله ولم يكن شيىء غيره

" พระองค์ทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากพระองค์(เพียงองค์เดียว) " รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ ไว้ในซอเฮี๊ญะหฺของท่าน
หมายถึง อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงยังคงมีมาตั้งแต่เดิมแล้ว โดยที่ไม่มีสิ่งใดอยู่พร้อมกับพระองค์ ไม่มีน้ำ ไม่มีอากาศ ไม่มีผืนดิน ไม่มีท้องฟ้า ไม่มีกุรซีย์ ไม่มีอะรัช ไม่มีมนุษย์ ไม่มีญิน ไม่มีมะลาอิกะฮ์ ไม่มีเวลา และไม่มีสถานที่ ดังนั้น พระองค์ทรงยังคงมีมาแต่เดิมโดยไม่มีสถานที่ และมีมาก่อนที่จะมีสถานที่ ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงสร้างสถานที่ ดังนั้น พระองค์จึงไม่ทรงต้องการมัน

และอัลเลาะฮ์ ก็ไม่ทรงมีคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลง จากสถานะภาพหนึ่งไปสู่งสถานะภาพหนึ่ง เนื่องการการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาคุณลักษณะของมัคโลค ดังนั้น เราจะกล่าวเหมือนกับ พวก อัล-มุชับบิฮะฮ์ ไม่ได้ว่า "พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม โดยที่ไม่มีสถานที่ หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างสถานที่ แล้วพระองค์ก็ทรงอยู่ในสถานที่และทิศเบื้องบน (วัลอิยาซุบิลลาห์) ดังนั้น เราขอกล่าวว่า "พระองค์ทรงทำให้เปลี่ยนแปลง แต่พระองค์ไม่ทรงเปลี่ยนแปลง"

2. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

اللهم أنت الأوّل فليس قبلك شيء ، وأنت الآخر فليس بعدك شيء ، وأنت الظاهر فليس فوقك شيء ، وأنت الباطن فليس دونك شيء

" โอ้พระเจ้าของข้าฯ พระองค์คือ องค์แรก ดังนั้น ไม่มีสิ่งที่ใดอยู่ก่อนพระองค์ และพระองค์คือองค์สุดท้าย ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดอยู่หลังจากพระองค์ และพระองค์ทรงเป็นภายนอก ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือพระองค์ และพระองค์ทรงเป็นภายใน ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่อื่นจากพระองค์" รายงานโดย ท่านมุสลิม "
ท่าน หะฟิซฺ อัลบัยฮะกีย์ กล่าวว่า " ส่วนหนึ่งจากบรรดาสหายของเรา ได้อ้างหลักฐาน ในการปฏิเสธสถานที่จากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า

وأنت الظاهر فليس فوقك شيء ، وأنت الباطن فليس دونك شيء

"และพระองค์ทรงเป็นภายนอก ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือพระองค์ และพระองค์ทรงเป็นภายใน ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่อื่นจากพระองค์"
และเมื่อไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือพระองค์ และไม่มีสิ่งใดที่อื่นจากพระองค์ ก็แสดงว่าพระองค์ไม่มีสถานที่ " (ดู อัล-อัสมาอ์ วะ ซิฟาต หน้า 400)

ท่านอัล-บัยฮะกีย์กล่าวอีกว่า" สิ่งที่รายงานในส่วนท้ายของหะดิษนี้ ชี้ถึง การปฏิเสธสถานที่ จากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และแท้จริง บ่างคนหนึ่งนั้น ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใหน ดังนั้น ทั้งในความใกล้หรือไกล จากอัลเลาะฮ์ ก็ย่อมเท่าเทียมกัน และแท้จริง พระองค์ ทรงเป็นภายนอก คือสามารถรู้ได้ ด้วยบรรดาหลักฐานต่างๆ และพระองค์ทรงเป็นภายใน จึงไม่สามารถรับรู้การมีของพระองค์ ด้วยกับการมีอยู่ในสถานที่ " (ดู อัล-อัสมาอ์ วะ ซิฟาต หน้า 400)

3. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أقرب ما يكون العبدُ من ربّه وهو ساجد ، فأكثروا الدعاء

"บ่าวคนหนึ่ง จะใกล้ชิดไปยังอัลเลาะฮ์มากที่สุด โดยที่เขาทำการสุยูด ดังนั้น พวกท่านจงขอดุอาอ์ให้มากๆ" รายงานโดย อิมามมุสลิม
ท่าน อิมาม หาฟิซฺ อัสสะยูฏีย์ กล่าวว่า " ท่าน อัลบัดรฺ บิน อัสศอฮิบ ได้กล่าวใน หนังสือ อัตตัษฺกิเราะฮ์ของเขาว่า ในหะดิษนี้ ชี้ถึง การปฏิเสธทิศให้กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) " (ดู หนังสือ อธิบาย สุนัน อันนะซาอีย์ ของท่าน อัสสะยูฏีย์ เล่ม 1 หน้า 576)

4. ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

ما ينبغي لعبدٍ أن يقول : إني خيرٌ من يونس بن متـّى

" ไม่สมควรแก่บ่าวคนหนึ่ง กล่าวว่า แท้จริง ฉันนั้นดีกว่า(นบี) ยูนุส บุตร มัตธา" รายงานโดยบุคคอรีย์ และมุสลิม ซึ่งตัวบทนี้เป็นของอัล-บุคคอรีย์
ท่าน หาฟิซฺ อิมาม มุรตะฏอ อัซซะบีดีย์ กล่าวว่า " ท่านอิมาม นะซิรุดดีน บิน อัลมุนัยยิร อัลอิสกันดะรีย์ อัลมาลิกีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัลมุนตะกอ ฟี ชะร๊อฟ อัลมุสฏ่อฟา) คือในขณะที่เขาได้บรรยายถึงเรื่อง ทิศ และได้ทำการปฏิเสธมัน เขากล่าวว่า "ด้วยเหตุนี้แหละ ที่อิมาม มาลิก(ร.ฏ.) ได้เคยชี้แจงไปแล้ว เกี่ยวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

لا تفضّلوني على يونس ابن متى

"พวกท่านอย่ากล่าวความประเสริญกับฉันเหนือยูนุส บิน มัตธา"
ดังนั้น ท่านอิมามมาลิกกล่าวว่า นบี(ซ.ล.)ได้พูดเจาะจงเฉพาะกับนบียูนุสนั้น เพื่อให้ตระหนัก ว่า(อัลเลาะฮ์)ทรงบริสุทธิ์(จากสถานที่) เนื่องจากนบี(ซ.ล.) ได้ขึ้นไปยังอะรัช โดยที่ท่านนบียูนุส(อ.) ตกอยู่ในก้นทะเล(อยู่ในท้องปลา) และการพาดพิงทั้งสอง(คือนบีมุฮัมมัดและนบียูนุส) พร้อมกับสิ่งดังกล่าว(คือนบีขึ้นไปยังอะรัชแต่นบียูนุสอยู่ในก้นทะเล) ด้วยคำนึงของด้านขององค์อัลเลาะฮ์นั้น ย่อมเป็นอันเดียวกัน (คือมีฐานันดรเหมือนกัน) และหากว่าความประเสริฐ โดยคำนึงถึงสถานที่ แน่นอนว่า นบี(ซ.ล.)ทรงใกล้ชิดอัลเลาะฮ์มากกว่านบียูนุส บิน มัตธา และประเสริฐกว่า และนบีก็ไม่ห้ามจากสิ่งกล่าว(จากตัวบทหะดิษ)" จากนั้น อิมาม นาซิรุดดีน บอกว่า ความประเสริฐนี้ ประเสริฐด้วยกับฐานันดร ไม่ใช่ด้วยสถานที่" (ดู อิตหาฟ อัสซาดะฮ์ อัลมุตตะกีน เล่ม 2 หน้า 105)

ท่านอัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า " อบู อัลมะอาลีย์ กล่าวว่า วจนะของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า

لا تفضّلوني على يونس ابن متى

"พวกท่านอย่ากล่าวความประเสริญกับฉันเหนือยูนุส บิน มัตธา"

หมายถึง "ในสภาพที่ฉันอยู่ ณ ซิดเราะตุลมุนตะฮา นั้น ฉันก็ไม่ไกล้ชิดไปยังอัลเลาะฮ์ มากกว่าไป ยูนุส โดยที่เขากำลังอยู่ที่ก้นทะเลในท้องปลา และหะดิษนี้ ชี้ให้เห็นว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ไม่มีทิศ" (ดู อัลญาเมี๊ญะอฺ ลิ อะหฺกาม อัลกุรอาน เล่ม 11 หน้า 333 - 334 )

6. ท่านมุสลิม รายงานจากท่านอะนัสบินมาลิก ว่า

أن النبي صلى الله عليه وسلم استسقى فأشار بظهر كفيه إلى السماء

" แท้จริง ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการละหมาดขอฝน แล้วขอดุอาอ์ยกคว่ำสองฝ่ามือของท่าน ขึ้นไปยังด้านฟากฟ้า"
หมายถึงท่านนบี(ซ.ล.) ได้ขอดุอาอ์ละหมาดขอฝน แล้วท่านก็พลิกฝ่ามือไปด้านพื้นดิน ซึ่งดังกล่าวนั้น ชี้ให้เห็นว่า อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ไม่ได้ทรงอยู่ทิศบน ซึ่งเฉกเช่นเดียวกับทิศล่าง

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานอิจญฺมาอ์

ส่วนหนึ่ง จากนักปราชน์ ที่ได้ทำการรายงานถ่ายทอด การลงมติของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ ว่า อัลเลาะฮ์ ทรงปราศจากสถานที่ คือ
1. ท่านอิมาม อับดุลกอฮิร อัลบุฆดาดีย์ ( 429 ฮ.ศ.) ท่านกล่าวว่า " พวกเขาเหล่านั้น(คืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) ได้ลงมติว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์ ไม่มีสถานที่ และไม่มีการผ่านกับพระองค์โดยกาลเวลา " (ดู อัลฟัรก์ บัยนะ อัลฟิร๊อก หน้า 333)

2. ท่านอิมาม อัลหะร่อมัยน์ อัลญุวัยนีย์ (478 ฮ.ศ.) กล่าวว่า "มัซฮับของบรรดาผู้สัจจริง โดยทั้งหมดนั้น กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงปราศจากสถานที่อยู่ และมีการจำกัดสถานที่" (ดู หนังสือ อัล-อิรชาด เล่ม 58) "

3. ท่านอิมาม ฟัครุด อัรรอซีย์ (606 ฮ.ศ.) กล่าวว่า "ได้เป็นมติแล้วว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ไม่ได้ทรงอยู่พร้อมกับเรา แบบสถานที่ และไม่ทรงมีทิศ และสถานที่อยู่" (ดู ตัฟซีร กะบีร เล่ม 29 หน้า 216)

4. ท่านอิมาม อิสมาอีล อัชชัยบานีย์ (626 ฮ.ศ.) กล่าวว่า" บรรดาผู้มีสัจจะธรรมกล่าวว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงปราศจาก สถานที่ ไม่ได้มั่นคงอยู่ในสถานที่ใด และพระองค์ก็ไม่ทรงมีทิศ ซึ่งขัดแย้งกับ กลุ่ม อัรกัรรอมียะฮ์ และกลุ่ม อัลมุญัสสิมะฮ์" (ดู ชัรหฺ อะกีดะฮ์ อัฏฏ่อหาวียะฮ์ ของท่าน อัชชัยบานีย์ หน้า 45)
5. ท่านอัลอามิดีย์ กล่าวว่า " สิ่งที่ถูกรายงานมาจากสะลัฟ จากคำกล่าวต่างๆ ที่ถ้อยคำผิวเผินของมันนั้น ทำให้คิดว่า ยืนยันการมีทิศและสถานที่(ให้กับอัลเลาะฮ์) ดังนั้น ความจริงแล้วมัน ได้ถูกตีความ บนสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว จากการทำให้ผ่านมันไป(ไม่ใช่หยุด)ต่อคำที่มีความหมายแบบผิวเผินนั้น และศรัทธาว่ามันได้ถูกประทานมาอย่างนั้น และทำการอ่านทุกๆอายะฮ์ที่เราได้กล่าวมาแล้วจากพวกเขา และบรรดาสะลัฟนั้น ได้ทำการอธิบายโดยใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกัน โดยที่ทุกๆการแตกต่างนั้น เพียงแค่สำนวนการพูดเท่านั้นเอง พร้อมกับสะลัฟ มีความเห็นพร้องกันทั้งหมด ในความหมายที่ว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ไม่ได้มั่นคงอยู่ในสถานที่หนึ่งที่ใด และพระองค์ไม่ทรงมีทิศอยู่" (ดู ฆอยะตุลมะรอม ฟี อิลมิลกะลาม หน้า 194)
ผมใคร่จะขอหยิบยกคำกล่าวของบรรดาอุลามาอฺสะลัฟเกี่ยวกับการปฏิเสธเวลา สถานที่และทิศให้กับอัลเลาะฮฺ(ซุบหานะฮฺ) แบบพอสังเขปดังต่อไปนี้

1. อิมามอลีอิบนิอบีฏอลิบ (ร.ฏ.)

ท่านอิมามอลี (ร.ฏ.) คอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรมท่านที่ 4 แห่งโลกอิสลาม กล่าวว่า

كان ولامكان، وهو الأن على ما عليه كان

“อัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ และพระองค์ในปัจจุบันนี้ ก็ยังอยู่อย่างที่พระองค์ทรงเป็นอย่างนั้น(คือไม่ทรงมีสถานที่)” ดู อัลฟัร บันนะ อัลฟิร๊อก หน้า 333 ของท่านอบีมันซูร อัลบุฆดาดีย์

และท่านอิมามอะลี(ร.ฏ.)เช่นกันว่า

إن الله تعالى خلق العرش إظهارا لقدرته لا مكانا له

“อัลเลาะฮฺ ตะอาลา ทรงสร้างอะรัช (บัลลังค์) เพื่อทำให้เห็นถึงเดชานุภาพของพระองค์ ไม่ใช่เพื่อเป็นสถานที่(พำนัก)สำหรับพระองค์” ดู อัลฟัร บันนะ อัลฟิร๊อก หน้า 333 ของท่านอบีมันซูร อัลบุฆดาดีย์

2. อิมามซัยนุลอาบิดีน อลี บิน อัลหุซัยน์ บิน อลี (ร.ฏ.)
ซึ่งท่านเป็นอุลามาอฺซะลัฟ กล่าวว่า

أنت الله الذي لا يحويك مكان

“พระองค์คืออัลเลาะฮฺที่ไม่มีสถานที่มาห้อมล้อมพระองค์” ดู อิตหาฟ อัสสาดะฮฺ อัลมุตตะกีน เล่ม 4 หน้า 380 ของท่านซะบีดีย์

3. อิมามญะฟัร อัศศอดิก (ร.ฏ.)

ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก (ร.ฏ.) กล่าวว่า

"من زعم أن الله في شىء، أو من شىء، أو على شىء فقد أشرك. إذ لو كان على شىء لكان محمولا، ولو كان في شىء لكان محصورا، ولو كان من شىء لكان محدثا- أي مخلوقا"

"ผู้ใดอ้างว่า อัลเลาะฮฺอยู่ในสิ่งหนึ่ง หรือมาจากสิ่งหนึ่ง หรืออยู่บนสิ่งหนึ่ง แท้จริงเขาได้ทำชิริก เพราะหากพระองค์ทรงอยู่บนสิ่งหนึ่ง แน่นอนพระองค์ก็จะถูกแบก และหากพระองค์อยู่ในสิ่งหนึ่ง พระองค์ก็ถูกจำกัด และหากพระองค์ทรงมาจากสิ่งหนึ่ง พระองค์ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่(หมายถึงเป็นมัคโลค" ดู อัรริซาละฮฺ อัลกุชัยรียะฮฺ หน้า 6

4.. อิมามอบูหะนีฟะฮฺ (ร.ฏ.)

ซึ่งท่านเป็นอิมามของมัชฮับหะนาฟีย์ ซึ่งเป็นอุลามาอฺซะลัฟ ท่านกล่าวว่า

" قلت: أرأيت لو قيل أين الله تعالى؟ فقال- أي أبو حنيفةok يقال له كان الله تعالى ولا مكان قبل أن يخلق الخلق، وكان الله تعالى ولم يكن أين ولا خلق ولا شىء، وهو خالق كل شىء"

“ฉันขอกล่าวว่า ท่านจะบอกว่าอย่างไร หากถูกกล่าว(แก่ท่าน)ว่า อัลเลาะฮฺอยู่ใหน ? ดังนั้น เขา(อบูหะนีฟะฮฺ)กล่าวว่า ก็กล่าวตอบแก่เขาว่า “อัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ ก่อนที่พระองค์จะสร้างมัคโลก และอัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีคำว่า ที่ใหน (ให้กับพระองค์) ไม่มีมัคโลก และไม่มีสิ่งใด(พร้อมกับพระองค์) โดยที่พระองค์นั้นทรงสร้างทุกๆ สิ่ง” ชัรหฺ อัลฟิกหฺ อัลอักบัร ของท่าน มุลลา อะลีย์ อัลกอรีย์ หน้า 138

"ونقر بأن الله سبحانه وتعالى على العرش استوى من غير أن يكون له حاجة إليه واستقرار عليه، وهو حافظ العرش وغير العرش من غير احتياج، فلو كان محتاجا لما قدر على إيجاد العالم وتدبيره كالمخلوقين، ولو كان محتاجا إلى الجلوس والقرار فقبل خلق العرش أين كان الله، تعالى الله عن ذلك علوا كبيرا"

ท่านอบูหะนีฟะฮฺกล่าวเช่นกันว่า "เรายอมรับว่า แท้จริง อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ทรงอยู่เหนืออะรัช โดยที่พระองค์ไม่ต้องการไปยังมัน และไม่ได้สถิตอยู่บนมัน พระองค์ทรงปกปรักรักษาอะรัชโดยที่ไม่ต้องการมัน ดังนั้น หากพระองค์มีความต้องการ แน่นอนพระองค์ก็ไม่มีความสามารถสร้างโลกและบริหารมันได้ โดยที่เหมือนกับบรรดามัคโลค และถ้าหากพระองค์ทรงต้องการไปยังการนั่งและสถิต(อยู่บนอะรัช) ดังนั้นก่อนที่พระองค์ทรงสร้างอะรัช พระองค์อยู่ใหน ? ? อัลเลาะฮฺทรงปราศจากจากสิ่งดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่” ดู กิตาบ วาซียะฮ์ ของอบูหะนีฟะฮ์ หน้า 2
ท่านอิมามอบูหะนีฟะฮฺกล่าวเช่นกันว่า

ولقاء الله تعالى لأهل الجنة بلا كيف ولا تشبيه ولا جهة حق

" และการที่อัลเลาะฮฺ(ตะอาลา)ทรงพบกับชาวพบสวรรค์ โดยไม่มีวิธีการ ไม่มีการคล้ายคลึง และไม่มีทิศนั้น เป็นสัจจะธรรม" ดู กิตาบ อัลวะซียะฮฺ ของอบูหะนีฟะฮฺ หน้า 4

5. อิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

ซึ่งท่านเป็น อุลามาอฺซะลัฟ ปราชน์ท่านสำคัญของโลกอิสลาม ท่านกล่าวว่า
" إنه تعالى كان ولا مكان فخلق المكان وهو على صفة الأزلية كما كان قبل خلقه المكان لا يجوز عليه التغيير في ذاته ولا التبديل في صفاته "

“แท้จริงอัลเลาะฮฺ ตะอาลา ทรงมีมา(แต่เดิม)แล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ จากนั้นอัลเลาะฮฺทรงสร้างสถานที่ โดยที่พระองค์อยู่บนคุณลักษณะเดิม เสมือนกับที่พระองค์ทรงมีก่อนสร้างสถานที่ ไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงซาตของพระองค์ และคุณลักษณะของพระองค์”ดู อิตหาฟ อัสสาดะฮฺ อัลมุตตะกีน เล่ม 2 หน้า 24

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่ออัลเลาะฮ์ไม่ทรงนั่งอยู่บนอะรัช แล้วอะไรล่ะครับที่อยู่บนอะรัช ? ตอบ คือ สิ่งบันทึกของอัลเลาะฮ์ ได้วางอยู่บนอะรัช

ท่านอิมาม อัล-บุคคอรีย์ ได้รายงานจากท่านอบูหุรอยเราะฮ์ ว่า

لما قضى الله الخلق كتب فى كتابه فهو عنده فوق العرش : إن رحمتى غلبت غضبى

ความว่า"ในขณะที่อัลเลาะฮ์ทรงเสร็จสิ้นจากการสร้างมัคโลค พระองค์ก็ทรงเขียนไว้ในบันทึกของพระองค์ โดยที่มัน(บันทึก) นั้น อยู่บนบันลังก์ ณ พระองค์ ว่า แท้จริง ความเมตตาของข้านั้น พิชิตเหนือ ความกริ้วของฉัน"
มีสายรายงาน ของท่าน อัล-บุคคอรีย์ มีความว่า

وهو وضع عنده على العرش : إن رحمتى تغلب غضبى

" และ บันทึกนั้น ถูกวาง บนอะรัช ณ ที่พระองค์ (บันทึกว่า) แท้จริง ความเมตตาของข้านั้น พิชิตเหนือ ความกริ้วของฉัน"

ท่านอิบนุหะญัร กล่าวอธิบายว่า " وَضْعٌ อ่าน ฟัตหะฮ์ และสุกูน หมายถึง موضوع (ถูกวาง) และดังกล่าว ก็ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลญัมอ์(บัยนะ ซอฮีฮัย) ของท่าน อัลหุมัยดีย์ ด้วยคำว่า موضوع ซึ่งเป็นการรายงานของ อัลอิสมาอีลีย์ " (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 385)

และในสายรายงานหนึ่ง ที่ ท่านอิบนุหิบบาน รายงานด้วยคำว่า
وهو مرفوع فوق العرش
"และมัน(บันทึก)ได้ถูกยกไว้ บนบันลังก์" (ดู อัลอิหฺซาน บิตัรตีบ ซ่อฮิหฺ อิบนุหิบบาน เล่ม 6 ยุซ 8 หน้า 5 )

ท่านอิบนุ ซุรอะฮ์ อะหฺมัด บิน อิบรอฮีม อัล-อิรอกีย์ กล่าวว่า " คำว่า عنده " ณ ที่พระองค์ นี้ ไม่ใช่หมายความถึง ณ สถานที่ที่พระองค์อยู่ แต่หมายความว่า "ความมีเกียตริ ณ ที่พระองค์ "
คือหมายถึง บันทึกดังกล่าวไว้ถูกวางไว้ ในสถานที่ที่มีเกียตริ ตามทัศนะของพระองค์" (ดู ฏ๊อรหฺ อัตตัษรีบ เล่ม 8 หน้า 83 )

อ้างอิงจากบังอะสัน

قال الإمام أبو حنيفة: لا ينبغي لأحد أن ينطق في ذات الله بشيء، بل يصفه بما وصف به نفسه، ولا يقول فيه برأيه شيئاً تبارك الله تعالى ربّ العالمين

อิหม่ามอบูหะนีฟะฮกล่าวว่า “ ไม่สมควรแก่บุคคลใด กล่าวเกี่ยวกับซาตของอัลลอฮ ด้วยสิ่งใด แต่ทว่า ให้เขาอธิบายคุณลักษณะของพระองค์ ตามที่ พระองค์ได้ทรงอธิบายคุณลักษณะของพระองค์เอง และอย่ากล่าวสิ่งใดๆในเรื่องนั้น ตามความเห็นของตนเอง อัลลอฮทรงบริสุทธิ์ ทรงสูงส่ง พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล
. [شرح العقيدة الطحاوية ج2 ص427 تحقيق د. التركي وجلاء العينين ص368

ตอบ

ทำไมบังอะสันถึงอ้างอิงแบบตัดข้อความไปละครับ หรือว่าอับอายข้อความที่ตัดไป กลัวคนอื่นจะจับได้ ข้อความคำพูดของอิมาม หะนะฟีย์ นี้ คือคำกล่าวที่อยู่ใน หนังสือ ฟิกหุลอักบัร ที่รายงานโดย อบูมุเฏี๊ยะอฺ อัลบัลคีย์ ซึ่งบังอะสันคงทราบผมได้นำเสนอเป็นอย่างดีแล้วนะครับ ว่า อบู อัลมุเฏี๊ยะอฺ อัล-บัลคีย์ นั้น เป็นคนที่กุหะดิษ ดังนั้นการายงานของเขาจากท่านอบูหะนีฟะฮ์จึงตกไปครับ และสิ่งที่วะฮาบีย์อ้างอิงมาและพยายามปกปิด คือ

قال الإمام أبو حنيفة فى الفقه الأكبر : لا ينبغي لأحد أن ينطق في ذات الله بشيء، بل يصفه بما وصف به نفسه، ولا يقول فيه برأيه شيئاً تبارك الله تعالى ربّ العالمين

ขอโทษด้วยนะครับบังอะสัน ที่บังหมกเม็ดมาไม่แนบเนียน

อ้างอิงจากบังอะสัน

แต่..ที่ผ่านมาพวกคุณตอบแบบ double standard หรือ สองมาตรฐาน แบบคนไม่มีจุดยืน คือ บอกว่า ต้องตีความ ป้องกันการเข้าใจผิด อีกมาตรฐานหนึ่ง บอกว่า ปล่อยมันไปอย่าไปแปลมัน มาชาอัลลอฮ น้องบ่าวที่รัก อาบังเศร้าใจจริง

ตอบ

ประเด็นนี้ ผมจะค่อยนำเสนอตอบ ไออาเอฟ ต่อไป ซึ่งทั้งสองแนวทาง คือมอบหมาย แบบสะลัฟ(ไม่ใช่แบบวะฮาบีย์) และการตีความนั้น ทั้งสองมีหลักฐานจากสะลัฟทั้งสิ้น ประเด็นนี้โปรดรอครับ

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 12:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ผมมั่นใจว่าพวกเราทั้งหลายที่สนทนาอยู่นี้ ไม่มีใครที่เข้าใจว่าอัลเลาะห์นั้นอยู่บนอะรัช ที่เหมือนกับนั่งบนเก้าอี้หรือนั่งบนวัวบนควาย และไม่มีใครที่เข้าใจว่าอัลเลาะห์นั้นลอยไปลอบมาอย่างเทวดาของจีนหรือหนุมาน ส่วนคำที่ว่านั่งหนักอึ้งบนบัลลังนั้น เท่าที่ได้อ่านมาผมเข้าใจว่าเป็นการกล่าวหาของอัล-อัซฮารี เพื่อที่จะให้การสนทนาของเขามีน้ำหนัก และเพื่อที่จะกล่าวหาว่าผู้ที่เดินตามแนว ของสะลัฟยุคนี้มันผิดและก็เป็นวาฮาบี และแนวของตนนั้นถูกต้องและก็คือ
แนวสะลัฟเหมือนกัน แต่คอลัฟก็คือคอลัฟสะลัฟก็คือสะลัฟ
.........................
และโดยแน่นอน เราได้ทำให้อัลกุรอานนี้เป็นที่เข้าใจง่ายแก่การรำลึก
แล้วมีผู้ใดบ้างที่รับข้อตักเตือนนั้น
(1) เราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นที่ง่ายดายแก่การท่องจำและการเข้าใจ
แต่มีผู้ใดบ้างที่จะยึดถือเป็นข้อตักเตือนและเป็นบทเรียน
(อัลกอมัร -17)
แต่ก็ยังมีคนที่เห็นว่าอัลกุรอ่านนั้นยากต่อความเข้าใจของมนุษย์
...........................
เรามิได้ให้บกพร่องแต่อย่างใดในคัมภีร์(อัลอันอาม 38)
แต่ก็ยังมีคนมาตีความหมายให้เป็นอื่น ยังคิดว่าอัลกุรอ่านั้นยังไม่สมบูรณ์
.........................
ท่านทั้งหลายอย่าไปนึกคิดไป เพราะว่าการนึกคิดไปนั้นมันเป็นเรื่องที่โกหกที่สุด
(บุคอรี-มุสลิม)
ท่านทั้งหลายจงระวังฮะดิษของฉัน นอกจากสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้รู้เท่านั้น
(ตีรมีซี-อะหมัด)
.........................
และผู้ใดเล่า ที่มีถ้อยคำที่จริงไปกว่าอัลเลาะห์(อันนีซา-87)
และผู้ใดเล่า ที่มีคำกล่าวที่จริงไปกว่าอัลเลาะห์(อันนีซา-87)

ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลเลาะห์และรอซูล
(อันนีซาอํ-59)แต่ก็ยังมีคนที่ชอบใช้ความคิดของตนเองมาตัดสิน คิดว่าของตนนั้นถูกต้องกว่า
........................
บุคคลใดที่เรียกร้องไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก ถือว่าไม่ใช่พวกเรา
บุคคลใดต่อสู้เพื่อกลุ่มของตนเอง ถือว่าไม่ใช่พวกเรา
และบุคคลใดที่สิ้นชีวิตเพื่อกลุ่มชนของตนเอง ถือว่าไม่ใช่พวกเรา
(อาบูดาวูด 4456 บทว่าด้วยมารยาท)
แต่ก็ยังมีคนชอบการแบ่งแยกเพื่อแสดงว่าฝ่ายของตนนั้นได้รับการยอมรับมากกว่า
ทั้งที่หลักฐานก็อ่อนหรือไม่มีเลย
..................
มีชายสามคนมาถามภริยาของท่านรฮสูล ซ.ล บางคน เกี่ยวกับการทำอีบาดะห์ของท่านรอสูล ซล.
ภายหลังการถาม หนึ่งในพวกเขาก็กล่าวขึ้นว่า ฉันจะนมาซในยามคำคืนตลอดไป
ท่านที่สองก็กล่าวขึ้นว่า ฉันจะถือศิลอดตลอดปีโดยไม่ละศิลอด
และท่านสุดท้ายกล่าวว่า ฉันจะออกห่างจากผู้หญิงโดยไม่แต่งงาน
เมื่อท่านรอสูล ซล.ทราบว่ามีการผูดเช่นนั้น ท่านรอสูล ซ.ล จึ่งไปหาพวกเขาและกล่าวว่า
"ขอสาบานต่ออัลเลาะห์ ฉันกลัวและยำเกรงต่ออัลเลาะห์มากกว่าพวกท่าน
เช่นนั้นฉันก็ถือศิลอด และละศิลอด ,ฉันนมาซ และฉันก็นอน,
ฉันแตงงานกับสตรีด้วยเช่นกัน ดังนั้น บุคคลใดที่ไม่ปราถนาแนวทาง(สุนนะห์)ของฉัน
ถือว่าไม่ใช่พวกเรา"(บุคอรี 4675,มุสลิม2487)
แต่ก็ยังมีคนที่ชอบความสุดโตงเอาจริงเอาจังในการกระทำบิดอะห์
ทั้งๆที่อะไรๆที่เป็นสุนนะห์ก็ถูกเมินเฉย ซ้ำยังกล่าวหาว่า เป็นผู้สร้างความแตกแยก
แก่คนที่มาเชิญชวนให้กระทำตามสุนนะห์
.............................
จงกล่าวเถิด(มูหัมหมัด)ว่า หากพวกท่านรักอัลเลาะห์ก็จงปฎิบัติตามฉัน
อัลเลาะห์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่าน ซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน
(อัลอิมรอน 31)
ชัดเจนว่าให้ปฎิบัติตาม รอซูลเท่านั้นที่แสดงว่าคนๆหนึ่งรักอัลเลาะห์ และผู้ที่ปฎิบัติตามสุนนะห์นั้น
จะได้รับการอภัยโทษ ซึ่งถ้าเกินหรือขาดไปกว่านี้(ซุนนะห์)อะไรละที่จะรับรองว่าการกระทำนั้น
จะได้รับการอภัยโทษ
...........................
พวกเจ้าจงดำเนินตามสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมายังพวกเจ้า และอย่าได้ดำเนินตามนอกเหนือจากนั้น
ซึ่งบรรดา วลียํ(ผู้เป็นที่รักของอัลเลาะห์)น้อยที่พวกเจ้าจะระลึกถึ่ง(อัลอะรอฟ-3)
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 1:43 pm    ชื่อกระทู้: การแบ่ง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam คุณฟาอิส
คุณกล่าวว่า***ผมมั่นใจว่าพวกเราทั้งหลายที่สนทนาอยู่นี้ ไม่มีใครที่เข้าใจว่าอัลเลาะห์นั้นอยู่บนอะรัช ที่เหมือนกับนั่งบนเก้าอี้หรือนั่งบนวัวบนควาย และไม่มีใครที่เข้าใจว่าอัลเลาะห์นั้นลอยไปลอบมาอย่างเทวดาของจีนหรือหนุมาน ส่วนคำที่ว่านั่งหนักอึ้งบนบัลลังนั้น เท่าที่ได้อ่านมาผมเข้าใจว่าเป็นการกล่าวหาของอัล-อัซฮารี เพื่อที่จะให้การสนทนาของเขามีน้ำหนัก และเพื่อที่จะกล่าวหาว่าผู้ที่เดินตามแนว ของสะลัฟยุคนี้มันผิดและก็เป็นวาฮาบี และแนวของตนนั้นถูกต้องและก็คือ
แนวสะลัฟเหมือนกัน แต่คอลัฟก็คือคอลัฟสะลัฟก็คือสะลัฟ

ผมว่าคุณฟาอิสนี่ช่างหมกอยู่ในกะลาเหมือบังฮะซันรูปหล่อเคยเปรียบเปรยก่อนหน้านั้น Razz ถามจริงๆคุณเคยตั้งใจอ่านหมดในการนำเสนอของคุณอัชอารีจากข้อความข้างบนสักครั้งไหม
ผมเห็นคุณตอบไม่เข้าประเด็นเลย และไม่ได้สาระอไร
แม้กระทั้งข้อความที่ผมนำเสนอไปก่อนหน้านั้นเรื่องควยามเข้าใจของบุคคลอื่น....คุณก็ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ ของเนื้อหาแถมคุณก็อยากจะให้ผมนำเสนอภาษาอาหรับมาคุยกัน ผมนั้นไม่อยากอวดโอ้ใครหรอกครับ ว่าเก่งภาษาอาหรับ

ก็เเค่ภาษาไทยคุณยังไม่เข้าใจเลยในการนำเสนอแล้วนับประสาอะไรกับคนอื่นๆที่เขาไม่ได้ร่ำเรียนมา อย่าลืมนะว่าระหว่างผมคุณและผู้ร่วมเสวนาอาจจะพอรู้เรื่องบ้างแต่คนอื่นละเขาจะคิดยังไง โดยเฉพาะเรื่องเตาฮีดหรือหลัการยึดมั่นของพวกคุณ นะเขาก็ยังเข้าใจแบบว่า อัลลออ์นั้นมีลักษณะคล้ายคนเลย ผมนะสัมผัสตรงๆเลยคุณโดยเฉพาะคนที่มีกาลีมะเดียวกันนี้แหละ
เพราะเขาไม่สามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้กับบางอายะที่แปลออกมาตรงๆ
เพราะเขาไม่ได้เรียนทางศาสนา เหมือนคุณๆ จึงสามารถ เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ จากที่ว่า อัลลออ์นั้นทรงนั่งประทับ หรือทรงสถิตย์บนบังลังก์ โดยคุณก็ตีความหมายด้วยสัญชาติญานว่า
แม้ในอายะนี้จะบอกตรงๆว่านั้งมั่นจริงๆแต่ลึกๆของพวกคุณละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ไม่ได้นั่งมั่นบนอารัชหรือบัลลังก์หรอก แต่นั่งอย่างไรก้ไม่สามารถรู้ได้ นี่คือสติปัญยาของคุณกับความเปลี่ยนแปลงความรู้สึกในการให้ความหมาย แต่ คุณครับ
ขอถามหน่อยเถิดว่า คนที่เขาไม่รู้เหมือนคุณละ เขาจะคิดเหมือนคุณหรือไม่
ว่า หรืออัลลออ์มีพระพักตร์ มีเท้า มีมือมีนิ้ว มีก้น สำหรับนั่งฯลฯหลายอย่างๆ ซึ่งบางอายะก็บอกแบบคลุมเครือ บางอายะก็ชัดเจน แม้ในฮาดีสก็มีบอก แต่บางครั้งท่านนบีก็เปรียบเปรยให้เราฟัง ว่าอัลลออ์อย่างนั้น อย่างนี้ สำหรับซอฮาบะนั้น ไม่เป็นำไรครับในเรื่องเตาฮีด
แต่ที่พูดกันตอนนี้คือ คนยุคสุดท้าย ที่ไม่ได้ศึกษานี่แหละเขาจะคิดยังไง กับการให้ความหมาย
แบบสุดโต่งของพวกคุณ นะอูซุบิลลา...

ฟาอิสครับเรื่องที่เราพูดอยู่นี้ ถ้ามีคนมีความคิดแบบคุณๆทั้งหลาย การที่เราท่านที่จะปรับความเข้าใจหรือประนีประนอม กัน คงอยาก แลต่อไปข้างหน้าะยิ่งแตกแยกมากว่านี้ โดยเฉพาะการไม่ให้เกียติรในการออกความเห็น ของบรรดาอุลามะ ที่ต่างทัศนะเขาได้ชี้แจงไว้ ไม่ว่า ท่านอิหม่ามนาวะวีย์หรือคนอื่นๆ พวกท่านก็ไม่เคยให้เกียรติ แล้วยังเยาะเย้ย เหยียดหยาม บุคคลเหล่านั้นอีก ถ้าสิ่งใดที่ขัดแย้งกับทัศนะของท่าน
อะไรละเรื่องที่ทำให้ท่านๆมีทิฐิ มีริยะ มีชีริกคอฟี่**ไม่ใช่เพราะการไม่อยากรู้จักหรือการมะรีฟัตอัลลออ์หรอกหรือ ***

บรรดาอุลามาะท่านหรือใครๆ ล้วนมาจากการเจตนาของพระองค์ทั้งนั้นที่จะให้เกิดมา เหมือนที่พระองค์ตรัสว่า
****หรือว่าพวกเจ้าคิดว่าเราได้บรรดาลเจ้ามาอย่างไร้สาระ..กระนั้นหรือ..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Sat Jan 28, 2006 1:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
แก้คำผิด
และผู้ใดเล่า ที่มีคำกล่าวที่จริงไปกว่าอัลเลาะห์(อันนีซา-122)

wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.29 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ