ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวมพลคนรักษ์คอมฯ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวมพลคนรักษ์คอมฯ
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> คอมพิวเตอร์- อินเตอร์เนต
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Tue Jan 11, 2005 8:45 am    ชื่อกระทู้: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
กระทู้นี้เปิดเพื่อให้พี่น้องและเพื่อนสมาชิก
เข้ามาถาม เข้ามาตอบ
ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
ซึ่งจะเป็นแนวทางในการใช้ บำรุงรักษา และการแก้ใข
ส่วนผมเองนั้น ขอออกตัวไว้ก่อนว่าพอจะรู้บ้าง
ส่วนพี่น้องและเพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีความรู้หรือมีความเห็น
เป็นอย่างอื่น จะช่วยกันตอบให้พี่น้องของเรา ผมยินดีมากครับ
เราจะไม่หวังผลประโยชน์ทางด้านอื่นๆและในการโฆษณาอื่นๆ
เราและท่านทำไปเพื่อ แรกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ในเรื่องการถามปัญหานั้นผู้ถามจะต้องให้ลายละเอียดมากที่สุด
ซึ่งจะทำให้การตอบแคบและตรงประเด็นมากขึ้นเช่นเดียวกัน
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ผมขออนุญาติท่านผู้ดูแลเวบไว้ในที่นี้เลย
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Thu Jan 13, 2005 9:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam บทความนี้ได้คัดลอกมาให้อ่านเพื่อเพิ่มความรู้
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ชุด

อะไรจะเป็นตัววัดความคุ้มค่าของพีซีได้ดีที่สุด เท่าที่เคยใช้ๆ ก็เห็นจะเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ หรือไม่ก็ราคาที่แพง บางคนก็มองแค่ภายนอกด้วยซ้ำว่าเครื่องนี้ดูสวยดี ใช้ซีพียูความเร็วสูงๆ แถมราคาสูงๆ ก็ซื้อเลย แต่ไม่ได้มองเจาะไปถึงการนำไปใช้งานของตัวเองเลยว่าจะนำไปใช้ได้เต็มประสิทธิภาพได้มากแค่ไหน แต่ก็นี่แหละคนไทย

ถ้าจะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ชุดที่ขายดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ก็เห็นจะปฏิเสธเครื่องคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่จัดโดยรัฐบาล ในโครงการเครื่องคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะสามารถจุดกระแสให้ประชาชนหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการกระตุ้นตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านเราด้วย ทำให้ผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์รายต่างๆ ขายดิบขายดีไปตามๆกัน การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทั่วๆไปก็จะมีอยู่ 2 แบบ สำหรับแบบแรกนั้นก็คงจะเดินไปจัดสเปคเครื่อง ตามร้าน ขายอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์กันเอง เปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านหาร้านที่มีราคาถูกแล้วก็นำไปประกอบด้วยตนเอง หรือไม่ก็ให้ทางร้านที่เราซื้ออุปกรณ์ร้านใดร้านหนึ่งเป็น ผู้ประกอบเครื่องให้ ซึ่งบางทีร้านเขาอาจจะคิดค่าบริการในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย สำหรับการเลือกซื้อแบบแรกนั้นน่าจะเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความรู้ทางด้าน อุปกรณ ์คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง มาดูแบบที่สองกันบ้างครับ สำหรับการเลือกซื้อแบบที่สองนั้นน่าจะเหมาะกับผู้ใช้มือใหม่ หรือผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เลย ซึ่งผู้ใช้ ประเภทนี้มักจะให้ทางร้านเขาจัดสเปคให้เลย โดยจะกำหนดราคาเครื่องที่ต้องการใช้ให้ทางร้านไป หรือผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการเลือกซื้อ หรือต้องการ การรับประกันจากผู้ผลิตที่ดีๆ ก็อาจจะหันไปมองเครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์เนมจากผู้ผลิตทั้งใน หรือต่างประเทศที่นำออกมาวางขายในตลาดบ้านเรากันมากมาย หลากหลายยี่ห้อ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้ใช้จะสามารถซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่ชี้นิ้ว หรือแค่บอกความต้องการนำไปใช้งานของตนกับผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายจัดสเปคเครื่องให้ แล้วก็เหลือ เพียงแค่ขนเครื่องที่ซื้อมากลับไปบ้านเท่านั้นเอง
ซึ่งบางทีผู้ซื้อก็อาจจะเสียเปรียบเพราะอุปกรณ์ที่ทางร้านเขาจัดให้นั้นอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าเงินที่ท่านจ่าย หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพให้ เพื่อให้ทางร้านได้ กำไรเยอะๆจากตรงส่วนนี้ ซึ่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่จัดโดยค่ายผู้ผลิตแบรนด์เนมต่างๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะถ้าเครื่องมีปัญหาผู้ซื้อก็สามารถส่งเคลมได้ทันที แต่สำหรับเครื่องที่ทางร้านจัดสเปคให้นั้น ซึ่งถึงแม้จะมีการรับประกัน Void จากทางร้านมาแล้ว แต่บางทีอุปกรณ์บางชิ้นก็อาจไม่ได้คุณภาพและทางผู้ผลิตก็ไม่รับประกันด้วย เช่น พวกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปลอมต่างๆ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์คู่ใจซักเครื่อง เราลองมาดูหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น รวมถึงวิธีการเลือกซื้อ แบบมี ีประสิทธิภาพ ทำยังไงไม่ให้โดนหลอกกันครับ

ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องๆ หนึ่งนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ และแยกกันทำงานแตกต่างกันออกไปซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง จำเป็นต้องอาศัย ส่วนประกอบเหล่านี้เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน และประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลที่นำเสนอออกมาทางด้านต่างๆ ว่าจะเป็นภาพ, เสียง และเอกสารต่างๆ ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยประมวลผลหลัก (CPU) ทำหน้าที่ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งรวมถึงการอ่าน การคำนวณ และแปลค่าสัญญาณต่างๆ ที่ได้มาจากอุปกรณ์ Input และอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอย่างเช่น Hard Disk และ RAM เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปแสดงผล สำหรับซีพียูนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแรกๆที่ผู้ซื้อควรจะมอง เพราะว่ามันจะ บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆได้ดีที่สุด ว่าซีพียูตัวนี้ความเร็วขนาดนี้น่าจะใช้งานในระดับไหนได้ดี โดยมักจะแบ่งการใช้งานเป็นหลัก เช่น ใช้งานเอกสารทั่วไป ใช้เล่นเกม 3D, 2D ที่มีความละเอียดสูงๆ หรือใช้งานทางด้านมัลติมีเดียความบันเทิงต่างๆ สำหรับซีพียูที่ออกมาวางขายในปัจจุบันนั้นก็จะมีอยู่ 2 ค่าย ได้แก่ ค่ายอินเทล และ ค่ายเอเอ็มดี โดยอินเทลจะมาด้วยซีพียู Intel Pentium4 กับ Intel celeron กับซ็อกเก็ต 478 ที่จะรองรับกับความเร็วบัส (FSB) ที่ 400, 533 และ 800MHz ส่วนซีพียูจากค่าย เอเอ็มดี นั้นก็จะมาด้วย AMD Athlon XP กับซ็อกเก็ต 462 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) ตั้งแต่ 200, 266 และ 333MHz และ AMD Athlon64 กับซ็อกเก็ต 754 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) 1600MHz

เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับ/ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งผ่าน ข้อมูล ซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านส่วนควบคุมนั้นคือ ชิปเซต (Chipset) เมื่อผู้ซื้อทำตกลงใจที่จะใช้งาน ซีพียู ตัวไหนแล้ว ต่อไปเราก็มาทำการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ที่จะมาใช้งานร่วม กับ ตัวซีพียู เมนบอร์ดที่วางขายกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อก็อาจจะทำให้ผู้ซื้อตาลายไปเลยก็ได้ เพราะไม่รู้จะเลือกใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนตัวไหนดี สำหรับเมนบอร์ด ที่มีวางขายอยู่ ใน บ้านเราก็จะมีรายชื่อดังต่อไปนี้ ABIT, Albatron, ASROCK, ASUS, DFI, ECS, Gigabyte, Intel, Iwill, LEMEL, MSI, SHUTTLE, MATSONICและ P&A ซึ่งบางยี่ห้อก็จะทำเมนบอร์ดออกมารองรับกับซีพียูจากทั้งค่ายเลยก็มี เมื่อเราได้ซีพียูที่ต้องการมาแล้วต่อไปก็มาดูว่ามีเมนบอร์ดตัวไหนบ้างที่รองรับกับซีพียูตัวนี้ ซึ่งถ้าเป็นซีพียูจากค่ายอินเทล ก็จะต้องใช้เมนบอร์ดที่รองรับซีพียูซ็อกเก็ต 478 ส่วนถ้าเลือกใช้ซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีก็จะต้องเลือกใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต 462 หรือ ซ็อกเก็ต 754 กับซีพียูแบบ 64 บิต ขั้นที่สองก็ต้องมาดูว่าซีพียูของท่านสามารถรองรับกับความเร็วบัสขนาดเท่าใดบ้าง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับความเร็วบัส ของซีพียูที่ใช้ได้ อย่างเช่น ถ้าท่านใช้ Intel Pentium4 กับขนาดความเร็วที่ 800MHz ท่านก็จะต้องซื้อเมนบอร์ดที่สนับสนุนความเร็วบัสที่ 800MHz หรือสนับสนุนเทคโนโลยี ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ด้วย แต่ถ้าถามว่าถ้าใช้ซีพียูความเร็วบัสเพียง 400 หรือ 533MHz แล้วอยากจะใช้เมนบอร์ดความเร็วบัส 800MHz จะได้ไหม คำตอบก็คือได้ครับ ถ้าท่านจะซื้อเผื่อการอัพเกรดซีพียูในอนาคตด้วย แต่มีข้อแนะนำอยู่นิดหนึ่งก็คือในยุคสมัยนี้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเก่าๆ ได้ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ พอถึงวันหนึ่งที่ท่านอยากจะเปลี่ยนซีพียูตัวใหม่ วันนั้นเมนบอร์ดของท่านอาจจะ ไม่สนับสนุนซีพียูตัวใหม่ แล้วก็ได้ ดังนั้นเวลาจะซื้อควรเน้นการใช้งานในขณะปัจจุบันจะดีกว่าครับ

หน่วยความจำ (RAM) สำหรับหน่วยความจำนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บ และพักข้อมูลที่รอการประมวลผล หรือทำการประมวลผลเสร็จแล้ว เพื่อนำไปใช้ใน การแสดงผลของข้อมูล และยังสามารถที่จะทำการเก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ เพื่อให้การทำงานของระบบรวดเร็วขึ้น แรมเป็นอุปกรณ์ชิ้นที่สามที่ควรจะมอง แรมที่วางขายอยู่ในท้องตลาดก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ SDRAM และ DDR-SDRAM แต่สำหรับแรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันก็คงจะเป็นแรมในแบบ DDR-SDRAM การเลือกใช้แรมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าเลือกใช้แรมไม่ดี หรือไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น สำหรับแรมก็มีให้เลือกใช้มากมายหลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะแบ่งออกเป็นด้านของขนาดความจุ และขนาดความเร็ว ในฝั่งของ SDRAM ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ 168 pin นั้นจะมีความเร็วที่ PC133 ซึ่งก็จะมีขนาดของหน่วยความจำมาให้เลือกติดตั้งตั้งแต่ 128, 256 และ 512MB ครับ ส่วนทางฝั่งแรมแบบ DDR นั้นก็มีมาให้เลือก ใช้อยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น PC2100 (266MHz) แต่ถ้าคุณต้องการใช้งาน ซีพียู ที่มีความเร็วบัส 533MHz นั้น ควรที่จะหาซื้อ PC2700 (333MHz) หรือถ้าใช้ซีพียู ที่มีความเร็วบัส 800MHz แรมที่ใช้ก็ควรจะเป็นแบบ PC3200 (400MHz) มากกว่า เพราะจะสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ถ้าเมนบอร์ดที่ท่านใช้สนับสนุนแรมแบบคู่ หรือ Dual-channel ด้วย แล้วท่านติดตั้งแรมเป็นคู่ด้วยก็จะดีมาก เพราะจะทำให้การทำงานของแรมมีประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้น สำหรับขนาดความจุที่มีก็จะมี 128, 256, 512 และ 1024MB หรือ 1GB ในส่วนของราคาของแรมทั้งในแบบ SDRAM และ DDR-RAM ก็จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ทางดีที่เลือกใช้เมนบอร์ด ที่สนับสนุนแรม แบบ DDR ไปเลยจะดีกว่า และเมนบอร์ดที่สนับสนุนแรมในแบบ SDRAM ก็หาได้ยากแล้วในท้องตลาด

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ใช้งานในระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้ามีความจุสูงๆ ก็สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ในปริมาณได้มากๆ จะว่าไปแล้วฮาร์ดดิสก์ที่ออกมาวางขายนั้นก็มีมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีคุณภาพที่ไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากนัก รสนิยมการเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ของคนไทยอย่างเราๆ ก็คงจะดูที่ยี่ห้อ กับการรับประกันหลังการขายกันมากกว่า โดยมักจะสอบถามจากผู้ที่เคยใช้มาก่อนว่าฮาร์ดดิสก ์ตัวนี้ยี่ห้อนี้เป็น อย่างไร เวลาส่งเคลมแล้วรวดเร็วหรือไม่ เพราะฮาร์ดดิสก์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานหนักที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการรับประกันจึงมักเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรจะดูด้วย ซึ่งก็จะมีการรับประกันตั้งแต่ 1 ปี, 3 ปี และ 5 ปี ตามแต่ละยี่ห้อและชนิดของฮาร์ดดิสก์ นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบ Ultra 160 SCSI ที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับสูงๆ อย่างเครื่อง Server แล้ว ฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็จะมีให้เลือกอยู่ 3 แบบ โดยจะแบ่งตามมาตรฐานการโอนถ่ายข้อมูล และอินเทอร์เฟซที่ใช้เชื่อมต่อ ซึ่งก็จะมี ATA/100, ATA/133 และแบบ SATA 150 ที่มีขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ 8MB ซึ่งมากกว่าในแบบ ATA ที่มีเพียงแค่ 2MB ดังนั้นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จึงมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็วกว่า ถ้าเมนบอร์ดของท่านสนับสนุน SATA 150 ด้วยก็น่าจะติดตั้งใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA ไปเลย เพราะราคาของ ฮาร์ดดิสก์แบบนี้ก็ไม่ค่อยแตกต่างกับแบบ IDE แล้ว ด้านความเร็วในการส่วนของจากหมุนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ความเร็วจะมีตั้งแต่ 5400, 7200, 10000 โดยจะมีหน่วยเป็น rpm หรือ รอบ/นาที ส่วนความเร็ว 10000 และ 15000 ก็มักจะมีใช้ในฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ครับ ทางด้านขนาดความจุอันนี้ก็แล้วแต่การนำไปใช้งานครับ ว่าต้องการขนาดพื้นที่เท่าไร
กราฟิกการ์ด (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอแสดงผล โดยส่วนใหญ่แล้วในตอนนี้นั้น กราฟิกการ์ดจะเป็นการ์ดแบบที่สามารถแสดงผลได้ทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติไปในตัว เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย โดยกราฟิกการ์ดนั้นจะมีหน่วยประมวลผลหรือที่เรียกว่า GPU เป็นของตัวเอง โดยจะไม่พึ่ง CPU ในการประมวลข้อมูล ทางด้านกราฟิก และกราฟิกการ์ดนั้นยังมีหน่วยความจำเป็นของตัวเองไม่ได้ใช้ร่วมกับหน่วยความจำหลักหรือ RAM ปัจจุบันนี้กราฟิกการ์ดที่มีขาย อยู่นั้นส่วยใหญ่แล้ว จะเป็น จำพวก 3D Card ซึ่งใช้สำหรับการเล่นเกมส์ และประมวลผลภาพ 3 มิติ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง ซึ่งก็มีผู้ที่ผลิตชิปรายใหญ่อยู่ 2-3ราย นั้นก็คือ nVIDIA, ATi และ SiS ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิป 3 มิติระดับคุณภาพสูง และมีขายอยู่ในตลาดบ้านเรามากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งการเลือกซื้อการ์ดจอนั้น ควรจะดูที่งบประมาณในการซื้อ เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าการ์ดที่มีคุณภาพในการแสดงผลในระดับสูงราคาจะแพงมาก ซึ่งจะทำให้งบประมาณในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้นตามไปอีกด้วย ทั้งนี้เมนบอร์ดของท่านจะต้อง มีสล็อต AGP สนับสนุนอยู่ด้วย ซึ่งเมนบอร์ดบางตัวที่สนับสนุนการ์ดแสดงผลแบบออนบอร์ดไว้แล้วมักจะไม่ติดตั้งสล็อต AGP มาให้ ความเร็วของระบบกราฟิกบัส ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าเมนบอร์ดสนับสนุน AGP 8X ก็ควรใช้การ์ดแสดงผลแบบ AGP 8X ด้วย ซึ่งก็จะทำให้งานทางด้านภาพสามารถ ทำได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ ลักษณะการเลือกใช้ถ้าต้องการความละเอียดในการแสดงผลสูงๆ ก็ควรจะใช้หน่วยความจำขนาดสูงๆด้วย ซึ่งขนาดของหน่วยความจำก็จะมีให้เลือกตั้งแต่ 32, 64, 128, 256MB

การ์ดเสียง (Sound Card) ในส่วนของการ์ดแสดงผลทางด้านเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการแสดงผลทางด้านมัลติมีเดียซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะใช้งานกันมาก ซึ่งตอนนี้ นั้นได้ถูกปรับปรุง และทำการพัฒนาให้สามารถที่จะทำการส่งสัญญาณเสียงได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น 2.1, 4.1, 5.1, 6.1 และ 7.1 ซึ่งถ้าใช้จำนวนช่องมาก ก็จะ ทำให้ ้ระบบเสียงนั้นสมบูรณ์แบบเพิ่มขึ้น และปัจจุบันก็จะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบที่ติดตั้งภายใน หรือติดตั้งภายนอก หรือแม้แต่ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีซาวนด์การ์ดแบบ ออนบอร์ด ติดตั้งให้เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งบางท่านที่ไม่ค่อยใส่ใจมากนักก็อาจจะใช้เพียงแค่ออนบอร์ดเท่านั้น

ไดร์ฟ (Drive) ในส่วนของการเลือกซื้อ ไดร์ฟ นั้น สามารถที่จะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ เพราะว่าในตอนนี้นั้นไดร์ฟต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัว CD-ROM, DVD, CD-RW, DVD-CDRW หรือแม้แต่ DVD-RW นั้น ได้มีราคาที่ลดลงมาก ทำให้การเลือกซื้อเป็นไปได้ง่ายขึ้น สำหรับการเลือกซื้อนั้นให้ดูถึง ลักษณ์ของการ ใช้งาน เป็นหลักจะดีกว่า ว่าเน้นหนักไปใช้ในงานด้านไหนบ้าง จะใช้เพียงแค่อ่านแผ่น หรือจะใช้แบบบันทึกข้อมูลได้ด้วย ด้านความเร็วในการเขียน หรือความเร็วในการอ่าน ก็มีมา ให้เลือกใช้อย่างมากมาย สำหรับว่าควรจะเลือกใช้แบบที่ติดตั้งภายใน หรือภายนอกดี อาจจะเป็นคำถามของหลายๆคนอยู่ในตอนนี้ ก็ง่ายๆครับ ถ้าจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ และไม่ชอบที่จะถอดเข้าถอดออกไดร์ฟบ่อยๆ ก็น่าจะใช้แบบติดตั้งภายนอกไปเลย แต่แบบติดตั้งภายนอกจะมีราคาที่สูงกว่าแบบติดตั้งภายในอยู่ค่อนข้างมาก ในส่วนของ 1.44MB floppy drives นั้นก็ยังเป็นมาตรฐานเดิมซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปมากครับ

จอมอนิเตอร์ (Monitor) นับว่าเป็นส่วนอุปกรณ์ Output ที่จะขาดไปเสียไม่ได้เลย เพราะถ้าได้มอนิเตอร์ที่มีคุณภาพดี ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมภาพที่มีคุณภาพที่ดีด้วย และการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จอมอนิเตอร์ที่ดียังเป็นการช่วยในการถนอมสายตาของผู้ใช้อีกด้วย มอนิเตอร์ที่มีขายในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบ CRT กับแบบ LCD ซึ่งในแบบ CRT ก็จะแตกแยกย่อยออกเป็นอีกหลายแบบ เช่น Flat, Digital, Flattron หรือ FD Triniton และยังมีอีกหลายแบบตามแต่ละ เทคโนโลยีการผลิตของแต่ละค่าย ขนาดของจอภาพก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อควรจะมองเป็นอันดับแรก เพราะถ้าจอภาพมีขนาดใหญ่ก็จะทำให้การรับชมภาพของท่านสบายตามากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความละเอียดสูงสุด และอัตราการปรับ Rrfresh Rate ของมอนิเตอร์แต่ละตัวด้วยว่าสนับสนุนได้เพียงเท่าใด สำหรับจอ CRT ขนาด 15 นิ้วนั้น จะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดได้ที่ 1024 x 768 ที่และอัตราการปรับ Rrfresh Rate 75MHz ส่วนขนาด 17 นิ้ว ก็จะมีตั้งแต่ 1280 x 1024, 1600 x 1200 กับ Rrfresh Rateที่ 75 และ 85MHz ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของแต่ละค่าย ส่วนแบบ 19 นิ้ว และ 21 นิ้ว ก็ปรับความละเอียดได้สูงสุดที่ 1600 x 1200,1792 x 1374, 1920 x 1440, 2048 x 1536 และ Rrfresh Rateที่ 85MHz ครับ ทางด้านจอมอนิเตอร์แบบ LCD ก็จะคล้ายๆ กับ CRT ในเรื่องของการปรับค่าความละเอียดสูงสุด แต่ก็จะปรับได้ไม่เกิน 1280 x 1024 และสามารถปรับ Rrfresh Rate ได้แค่เพียง 75MHz เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นจอขนาด 14,15, 17, 18 หรือ 19 นิ้ว

เคส และเพาเวอร์ซัพพลาย (Case & Power Supply)ในส่วนของเคสนั้น จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับหน้าตาของเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะถ้าได้เคสคุณภาพดี และสวยงามก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีประสิทธิภาพ และน่าใช้มากขึ้น ถ้าจะให้ดีนั้น ในการเลือกซื้อก็ควรที่จะเลือกซื้อเคสที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้างๆ เพื่อที่จะติดตั้งอุปกรณ์ได้มากขึ้น หรือสามารถระบายความร้อนภายในเครื่องได้อย่างรวดเร็ว หรือถ้าหาเคสที่มีพัดลมระบายความร้อนเยอะๆ ก็จะดีมาก สำหรับตัว เพาเวอร์ซัพพลาย นั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะให้มากับเคสเลย ในเวลาที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งตัว เพาเวอร์ซัพพลาย นี้จะทำหน้าที่ในการจ่ายไฟฟ้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ ์คอมพิวเตอร์ให้สามารถที่จะทำงานได้ ซึ่งถ้าเราเลือกซื้อตัว เพาเวอร์ซัพพลาย ที่มีกำลังจ่ายมากอย่าง 350 วัตต์ - 400 วัตต์ ก็จะสามารถพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้มากขึ้น

แลน และโมเด็ม (LAN & Modem) อุปกรณ์สองประเภทนี้นับว่าเป็นสองอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันได้อย่างมากทีเดียว เพราะทั้งสอง อุปกรณ์ จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนช่องทางในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เรามาดูในส่วนของแลนกันก่อนครับ โดยส่วนมากแล้ว การ์ดแลน มักจะถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ซึ่งก็มีทั้งความเร็ว 10/100Mbps และ 10/100/1000Mbps หรือถ้าไม่มีก็สามารถซื้อหามาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ซึ่งก็จะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แต่แนะนำให้ใช้แบบติดตั้งภายในกับสล็อต PCI มากกว่า ทางโมเด็มนั้นก็จะกำหนดก่อนว่าจะใช้อินเทอร์เน็ต ในรูปแบบใดบ้าง ถ้าใช้เชื่อมต่อแบบธรรมดา ก็ใช้โมเด็มแบบอนาล็อก 56K แต่ถ้าใช้แบบความเร็วสูง อย่างเช่น ADSL ก็จะต้องใช้โมเด็มในแบบ ADSL ซึ่งก็จะมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบที่ติดตั้งภายใน หรือแบบที่ติดตั้งภายนอกเหมือนกันครับ

เมาส์ คีย์บอร์ด และลำโพง สำหรับอุปกรณ์เหล่านี้นั้นเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ซึ่งสามารถที่จะทำการเรียกรวมๆ กันว่าอุปกรณ์มัลติมีเดียเลยก็ว่าได้ เพราะเนื่องจากว่าคีย์บอร์ด กับ เมาส์ในสมัยนี้นั้นสามารถที่จะทำงานอย่างอื่นได้อีกมากมายเลยที่เดียว ในการเลือกซื้อนั้นก็ดูที่ความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ว่าชอบคีย์บอร์ด หรือเมาส์ลักษณะไหนสีอะไร มีปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ อะไรบ้าง โดยปัจจุบันอุปกรณ์ ทั้งสองแบบก็สามารถ เชื่อมต่อแบบ ไร้สายเพื่อเพิ่มความอิสระในการใช้งานมากขึ้น

ระบบปฏิบัติการ สำหรับการเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการให้กับเครื่องใหม่นั้น เราสามารถที่จะทำการเลือกใช้ตามประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ ซึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้น สามารถที่จะใช้งานกับระบบปฏิบัติการได้เกือบๆ ทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็น Windows 98se, ME, XP, 2000 หรือแม้แต่พวก Linux เองก็ตาม โดยการเลือกใช้นั้นควรดูที่ความต้องการ และความถนัดในการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก

การรับประกัน มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์คู่ใจแล้วครับ และเป็นขั้นตอนที่ผู้ซื้อจะมองข้ามไปไม่ได้เลย นั้นคือการรับประกันหลังการขาย เพราะถ้า การบริการหลักการขายดีเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาผู้ใช้ก็สามารถยกไปให้ทางร้านได้ทันที โดยวิธีการสังเกตว่าร้านไหนดีหรือไม่ดีนั้น ท่านอาจจะลองสอบถาม ผู้ที่เคยซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์จากร้านนั้นๆ ดูว่าการบริการหลังการขายของร้านนั้นๆ ดีหรือไม่ เป็นร้านที่เปิดขายมานานหรือยัง ขนาดร้านใหญ่หรือเล็ก เพื่อลด ความเสี่ยงว่าเมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากทางร้านเขาแล้ว จะไม่โดนปล่อยเกาะ เพราะร้านปิดกิจการ หรือปิดร้านหนีไป การสังเกตสติกเกอร์รับประกัน หรือ Void ที่ติดอยู่ บนตัวสิ้นค้าก่อนออกจากร้านซักนิดก็จะดี ว่าทางร้านเขาได้ติกระยะการรับประกันถูกต้องหรือ เพื่อปกป้องสิทธิของท่านเองครับ

สรุป สรุปแล้วการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นควรที่จะมีการวางแผนในการเลือกซื้อไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่จะจัดสเปคเอง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม รายค่ายต่างๆ และควรพิจารณาถึงความต้องการนำไปใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานนั้นสามารถที่จะเอื้ออำนวย ในการทำงานของ ผู้ใช้ได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ ซึ่งการคัดเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นผู้ใช้งานเท่านั้นที่จะสามารถจะกำหนดขอบข่าย และสเปคของเครื่องตัวเองได้เหมาะสมที่สุดครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 15, 2005 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์


Disk Cleanup เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีมาให้ใน Windows ใช้สำหรับการทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ
ใช้สำหรับลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งานทิ้ง เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่เหลือใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นควรที่จะทำการสั่งโปรแกรม Disk Cleanup เป็นประจำ อาจจะสักประมาณสัปดาห์ละครั้ง
การเรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup
เรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories
เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Cleanup กดเลือกที่ Disk Cleanup
เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรมครั้งแรก
ให้ทำการเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการ Cleanup ก่อนและกดปุ่ม OKหน้าตาของเมนูต่าง ๆ
ในโปรแกรม Disk Cleanup ส่วนหลัก ๆ ที่ต้องทำการเลือกคือในช่องของ Files to delete
โดยทำการเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจะลบทิ้ง และกดที่ OK เพื่อเริ่มต้นการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก
อาจจะมีเมนูการยืนยันการลบอีกครั้งก็กด Yes เพื่อยืนยันการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง
รอสักพักก็เป็นอันจบขั้นตอนครับ
การตั้งให้โปรแกรม Disk Cleanup ทำงานแบบอัตโนมัติ
นอกจากการสั่งเรียกโปรแกรม Disk Cleanup ให้ทำงานตามต้องการแล้ว ยังสามารถทำการตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงาน
โดยอัตโนมัติ เมื่อฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่มีพื้นที่เหลือน้อยได้ วิธีการคือเรียกโปรแกรม Disk Cleanup เลือก Drive
ที่ต้องการตั้ง และหลังจากนั้น กดเลือกที่ป้ายของ Settings
กดเลือกที่ช่อง If this drive runs low on disk space.... เพื่อกำหนดให้โปรแกรมนี้ทำงานเมื่อพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์
เหลือน้อย ๆ จากนั้นก็กด OK หลังจากนี้ ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ใกล้จะเต็ม โปรแกรมนี้ก็จะเริ่มต้นทำงานทันที
ก็พอเป็นแนวทางคร่าว ๆ นะครับ ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าการที่เราเข้าไปลบไฟล์ใน Folder ต่าง ๆ
โดยตรงซึ่งบางครั้ง การลบไฟล์แบบนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ของ Windows ตามมาก็ได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 15, 2005 10:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์

Scandisk เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ทำการตรวจสอบการทำงาน และความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น เมื่อใช้งาน Windows ไปนาน ๆ
และรู้สึกว่าการทำงานต่าง ๆ ของ Windows เริ่มจะมีปัญหา อาจจะใช้โปรแกรม Scandisk
เพื่อทำการตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่าง ๆ ของ Windows ได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของระบบไฟล์ ถ้าหากการเสียหายนั้นไม่มากจนเกินไป
การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk
เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessoriesเลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk
กดเลือกที่ Scandisk เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรมหน้าตาของเมนูการเลือก
Scandisk
ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
Select the drive(s) คือช่องสำหรับเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการตรวจสอบ
Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น
Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่
ใช้งานด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่
Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ
เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
เมื่อเลือกค่าต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วก็กดที่ Start เพื่อเริ่มต้นการทำการตรวจสอบ
ฮาร์ดดิสก์ได้เลย ในที่นี้
หากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก ก็ทำแบบ Standard ก็พอแล้ว แต่ถ้าหากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่สงสัยว่าใกล้จะเสีย
หรือคิดว่าปัญหาเกิดจาก ฮาร์ดดิสก์แล้ว ให้เลือกที่ Thorough ครับ
ซึ่งจะทำการตรวจสอบพื้นผิวได้ดีกว่า
(แต่ก็จะใช้เวลานานด้วย)หน้านี้ คือรายงานผลของการตรวจสอบเมื่อสิ้นสุดครับ
จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆของฮาร์ดดิสก์ที่ทำการตรวจสอบ
การเลือกค่าต่าง ๆ ในแบบ Advanced
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถทำการเลือกค่าต่าง ๆ แบบ Advanced ได้ด้วย
โดยการกดเลือกที่ปุ่ม Advanced..
.เป็นการเลือกค่าต่าง ๆ ดังนี้
System and data areas คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบ และไฟล์ข้อมูล
System area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบเท่านั้น
Data area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ข้อมูลเท่านั้น
Do not perform write-testing คือการเลือกให้ไม่ต้องทำการทดสอบการเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
Do not repair bad sectors... คือการเลือกให้ไม่ทำการซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย หากเป็นไฟล์ของระบบหรือไฟล์ที่ซ่อนไว้
เลือกค่าต่าง ๆ แล้วกดที่ OK
การเลือกค่าต่าง ๆ ในเมนู Options
หากเราทำการเลือกการตรวจสอบแบบ Thorough จะสามารถเลือกที่ Options เพิ่มเติมได้ด้วย
ก็ลองดูรายละเอียดด้านในกัน
รายละเอียดต่าง ๆ ในเมนู Options ซึ่งก็จะสามารถเลือกค่าต่าง ๆ ตามใจชอบได้
แต่ที่จริงก็คงไม่จำเป็นเท่าไรนักหรอกครับ
ใช้ตามที่มีตั้งมาให้แบบนี้น่ะแหละดีแล้ว หรือหากใครอยากเปลี่ยนแปลงก็ทดลองได้เลยครับ
สรุปว่า ปกติก็คงไม่ต้องทำการ Scandisk บ่อยนัก แต่ถ้าหากมีความรู้สึกว่า ฮาร์ดดิสก์เริ่มมีการทำงานแบบแปลก ๆ ไปก็ลองเข้ามาทำการตรวจสอบกันดูบ้างสักครั้งก็ดีครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 15, 2005 10:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ


การทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Defragmenter ก็คือการทำการจัดเรียงข้อมูล
ของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์
ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับคือ
ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูล
ได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าหากมีไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์
ที่มีการเก็บข้อมูลแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อต้องการอ่าน
ข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมา
เพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากเรามีการทำ Defrag
ฮาร์ดดิสก์ แล้วจะทำให้การเก็บข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น
เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้
โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลา
ในการอ่านได้เร็วขึ้น
ที่จริงแล้ว ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่น ๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูล
ให้มีความต่อเนื่องกันได้
เช่น Speeddisk ของ Norton และอื่น ๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำ
หลักการของการใช้โปรแกรม
Disk Defragmenter ที่มีมาให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่นครับ
ข้อแนะนำก่อนใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เพื่อให้การใช้งาน Disk Defragmenter มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ก่อนการเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
ควรจะเรียกโปรแกรม Walign ก่อนเพื่อการจัดเรียงลำดับของไฟล์ที่ใช้งานบ่อย ๆ
ให้มาอยู่ในลำดับต้น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ครับ
โดยที่โปรแกรม Walign จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการใช้งานไฟล์
ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ ไว้ และนำมาจัดการเรียงลำดับ
ให้อยู่ในส่วนแรก ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นการที่เราเรียกโปรแกรม Walign
ก่อนการทำ Disk Defragmenter
จะเป็นการเพิ่มความเร็วของการอ่านข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง โปรแกรม Walign จะอยู่ใน
Folder C:\WINDOWS\SYSTEM\Walign.exe ครับ เปิดโดยการเข้าไปใน My Computer
และเลือกไฟล์กดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Walign เพื่อเรียกไฟล์ Walign.exe
โปรแกรมจะเริ่มต้นการ Tuning up Application
เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการ Defrag ต่อไป
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำ Disk Defrag คือต้องปิดโปรแกรมต่าง ๆ
ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นให้หมดก่อน
เช่น Screen Saver, Winamp หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องทำให้มีการอ่าน-เขียน
ฮาร์ดดิสก์ บ่อย ๆ เพราะว่า
เมื่อใดก็ตามที่ฮาร์ดดิสก์มีการอ่าน-เขียนข้อมูล จะทำให้โปรแกรม
Disk Defragment เริ่มต้นการทำ Defrag
ใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำ Defrag ไม่ยอมเสร็จง่าย ๆ หรืออาจจะใช้วิธีเข้า
Windows แบบ Safe Mode
โดยการกด F8 เมื่อเปิดเครื่องเพื่อเข้าหน้าเมนู และเลือกเข้า Safe Mode แทนก็ได้
การเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs
และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter
เลือกที่ Disk Defragmenter
เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defragเลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK
เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag
หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้Rearrange program files...
เลือกถ้าต้องการให้มีการจัดเรียงลำดับการเก็บข้อมูลของไฟล์
Check the drive... เลือกถ้าต้องการให้มีการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ก่อนการทำ Defrag
This time only เลือกถ้าต้องการให้การตั้งค่าข้างบน มีผลเฉพาะการเรียก
Disk Defragmenter ในครั้งนี้เท่านั้น
Every time I degragment... เลือกถ้าต้องการเก็บค่าที่ตั้งไว้ให้ใช้ตลอดไปโดย
ไม่ต้องเข้ามาเลือกใหม่
เมื่อเลือกได้แล้วก็กด OK (แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ค่าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว จะดีกว่าครับ)
เมื่อกด OK ก็จะเริ่มต้นการทำ Disk Defragment ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ จะค่อนข้างนานมากนะครับ
ประมาณ 1-4 ชม.ทีเดียว ดังนั้นก็นาน ๆ ทำสักครั้งก็พอ ไม่ต้องทำบ่อยนัก
ถ้าสงสารฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการทำงานที่หนัก ๆ
มากครับ โดยส่วนตัวผมแนะนำว่า ถ้าไม่มีการลงโปรแกรมต่าง ๆ บ่อยนัก
ก็ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่า
ฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าลงไป ก็ลองทำดูสักครั้งครับ
ข้อควรระวังในการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์
ขณะที่กำลังทำการ Defrag หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ Stop เท่านั้น
ห้ามปิดเครื่องหรือกดปุ่ม Reset เป็นอันขาด
ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะสูญหายได้ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Tue Jan 25, 2005 9:37 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

RAM (หน่วยความจำ แรม)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
Module ของ RAM
RAM ที่เรานำมาใช้งานนั้นจะเป็น chip เป็น ic ตัวเล็กๆ ซึ่งส่วนที่เรานำมาใช้เป็นน่วยความจำหลัก จะถูกบัดกรีติดอยู่บนแผงวงจร หรือ Printed Circuit Board เป็น Module ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่ 2 Module คือ SIMM กับ DIMM
SIMM หรือ Single In-line Memory Module
โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuit board จะให้สัญญาณ เดียวกัน
ความเป็นมาของ SIMM RAM
ในยุคต้น ๆ ที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งส่วนมากมักเป็นคอมพิวเตอร์ ระดับบุคคล (prosonal computer:PC) ใช้ซีพียู 8088 หรือ 80286 หน่วยความจำ DRAM ถูกออกแบบให้ บรรจุอยู่ในแพคเกจแบบ DIP (dual in-line package) หรือที่เรียกว่าแบบตีนตะขาบเหมือนกับไอซีที่ใช้งานกันทั่วไป การใช้งานหน่วยความจำแบบนี้ จึงต้องมีการจัดสรรพื้นที่มากพอสมควร บนเมนบอร์ด ถ้าเคยเปิดฝาเรื่องดูภายในก็จะเห็นซ็อกเก็ตไอซีเหล่านี้ เรียงกันเป็นแถวเต็มไปหมด
การเพิ่มหน่วยความจำชนิดนี้ทำได้ง่าย เพี่ยงแต่ซื้อ DRAM ตามขนาดความจุที่ต้องการมา เสียบลงใน ซ็อกเก็ตที่เตรียมไว้ และทำการติดตั้งจั๊มเปอร์อีกบางตัวหรือบางเครื่องอาจเพียงตั้งค่าในซอตฟ์แวร์ ไบออส (BIOS) ของเครื่องใหม่ เป็นอันเรียบร้อยใช้งานได้ทันที
ครั้งเมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เทคนิคการแพคเกจชิพไอซีลงบนตัวถังทันสมัยมากขึ้น และเป็นที่รู้จักกันดีกับเทคโนโลยี อุปกรณ์ติดพื้นผิว ทำให้การติดตั้งหน่วยความจำหรือเพิ่มหน่วยความจำ ทำได้ยากขึ้นและต้องมีเครื่องมือเฉพาะ จึงได้มีการคิดค้น วิธีการใหม่ โดยการนำเอาตัวไอซี DRAM แบบ ติตั้งบนพื้นผิวไปติดบนแผงวงจรแผ่นเล็ก ๆ ก่อน แล้วจึงเดินลายทองแดงต่อขาจากตัวไอซี DRAM ออกมา และแยกเป็นขาเชื่อมต่อเอาไว้เมื่อต้องการจะติดตั้งก็นำเปเสียบลงในซ็อกเก็ตที่เตรียมไว้บนเมนบอร์ดได้ทันที โมดูลหน่วยความจำแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ซิพแรม (SIP RAM : Single In-line Package RAM) แรมชนิดนี้จะมี 30 ขา
การพัฒนายังไม่หยุดเพียงเท่านี้ เพื่อความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น จึงได้มีการออกแบบซ็อกเก็ต สำหรับหน่วยความจำชั่วคราว แบบใหม่ โดยออกแบบในลักษณะคอนเน็กเตอร์ที่ส่วนของลายทองแดงบนแผ่น วงจรของซิพแรมโดยตรง ทำให้สามารถตัดขาที่ยื่นออกมา จากตัวโมดูลได้ ดังนั้นจึงได้มีการตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า แบบซิมแรม (SIMM RAM : Single In-line Memory Module RAM)
ซิพแรมมีขาต่อใช้งาน 30 ขา เช่นเดียวกับซิมแรม และสัญญาณที่ต่อใช้งานแต่ละขาก็เหมือนกันด้วย

DIMM หรือ Dual In-line Memory Module
โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 บิต โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน ตั้งแต่ CPU ตระกูล Pentium เป็นต้นมา ได้มีการออกแบบให้ใช้งานกับ datapath ที่มากว่า 32 bit เพราะฉะนั้น เราจึงพบว่าเวลาจะใส่ SIMM RAM บน slot RAM จะต้องใส่เป็นคู่ ใส่โดด ๆ แผง เดียวไม่ได้
Memory Module ปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบคือ 30-pin, 72-pin, 168-pin ที่นิยมใช้ในเวลานี้คือ 168-pin
รายละเอียดของ RAM แต่ละชนิด
Parity จะมีความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยจะมี bit ตรวจสอบ 1 ตัว ถ้าพบว่ามีข้อมูลผิดพลาด ก็จะเกิ system halt ในขณะที่แบบ Non-Parity จะไม่มีการตรวจสอบ bit นี้ Error Cheching and Correcting (ECC) หน่วยความจำแบบนี้ ได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เพราะนอกจากจะตรวจสอบว่ามีข้อมูลผิดพลาดได้แล้ว ยังสามารถแก้ไข bit ที่ผิดพลาดได้อีกด้วย โดยไม่ ทำให้ system halt แต่หากมีข้อมูลผิดพลาดมาก ๆ มันก็มี halt ได้เหมือนกัน สำหรับ ECC นี้จะเปลือง overhead เพื่อเก็บข้อมูล มากว่าแบบ Parity ดังนั้น Performance ของมันจึงถูกลดทอนลงไปบ้าง
ชนิดและความแตกต่างของ RAM
Dynamic Random Access Memory (DRAM)
DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ (Capaciter) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูล ให้คงอยู่โดยการ refresh นี้ทำให้เกิดการหร่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่องจากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เองจึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM

Staic Random Access Memory (SRAM)
จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM ต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูล นั้น ๆ ไว้ และจำไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมันก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมัน

Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM)
FPM นั้น ก็เหมือนกับ DRAM เพียงแต่ว่า มันลดช่วงการหน่วงเวลาขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้ มันมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่า DRAM ปกติ ซึ่งโดยที่สัญญาณนาฬิกาในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 (Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page) และสำหรับ ระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบ 64 bit จะมีอัตรา การส่งถ่ายข้อมูลที่ 200 MB ต่อววินาที เช่นกัน ปัจจุบันนี้ RAM ชนิดนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้วแต่ ยังคงมีให้เห็นบ้าง และมักมีราคา ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเที่ยบกับ RAM รุ่นใหม่ ๆ เนื่องจากที่ว่าปริมาณใน ท้องตลาดมีน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ยังมีคนต้องการใช้แรมชนิดนี้อยู่

Extended-Data Output (EDO) DRAM
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งก็คือ Hyper-Page Mode DRAM ซึ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการที่มันจะอ้างอิง ตำแหน่งที่อ่านข้อมูล จากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก RAM ณ ตำแหน่งใด ๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีการอ้งอิง ณตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้ เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS latency ลงด้วย และด้วย ความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิมกว่า 40% เลยทีเดียว และมีความสามารถโดยรวมสูงกว่า FPM กว่า 15% EDO จะทำงานได้ดีที่ 66 MHzด้วย timming 5-2-2-2 และก็ยังทำงานได้ดีเช่นกัน แม้จะใช้งานที่ 83 MHz ด้วย Timming นี้และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ (มากว่า 50ns) มันจะ สามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Tomming 6-3-3-3 ได้อย่างสบาย อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด ของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264 MB ต่อวินาที EDO RAM ในปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว

Burst EDO (BEDO) DRAM
BEDO ได้เพิ่มความสามารถขึ้นมาจาก EDO เดิม คือ Burst Mode โดยหลังจากที่มันได้ address ที่ ต้องการ adress แรกแล้วมันก็จะทำการ generate อีก 3 address ขึ้นทันที ภายใน 1 สํญญาณนาฬิกา ดังนั้น จึงตัดช่วงเวลาในการรับ adress ต่อไป เพราะฉะนั้น Timming ของมันจึงเป็น 5-1-1-1 ณ 66 MHz BEDO ไม่เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากว่าทาง Intel ตัดสินใจใช้ SDRAM แทน EDO และไม่ได่ใช้ BEDO เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา chipset ของตน ทำให้บริษัทผู้ผลิต ต่าง ๆ หันมาพัฒนา SDRAM แทน

Synchronous DRAM (SDRAM) SDRAM
จะต่างจาก DRAM เดิมตรงที่มันจะทำงานสอดคล้งกับสัญญาณนาฬิกา สำหรับ DRAM เดิมจะ ทราบตำแหน่งที่อ่าน ก็ต่อเมื่อเกิดทั้ง RAS และCAS ขึ้น แล้วจึงทำการไปอ่านข้อมูลโดยมีช่วงเวลาในการ เข้าถึงข้อมูล ตามที่เรามักจะได้เห็นบนตัว chip ของตัว RAM เลย เช่น -50, -60, -80 โดย -50 หมายถึง ช่วงเวลาเข้าถึง ใช้เวลา 50 นาโนวินาทีเป็นต้น แต่ว่า SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการ ทำงานโดยจะใช้ความถี่ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้นเพื่อรอรับ ตำแหน่งข้อมูล ที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้นมันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมาหลังจากได้รับ ตำแหน่งแล้ว เท่ากับค่าของ CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่อ่านแล้วมันจะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา SDRAM จะมี Timming เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่ มันเร็วพอ ๆ กันกับ BEDO RAM เลยที่เดียว แต่ว่ามันสามารถทำงานได้ ณ 100 MHz หรือมากว่า และมีอัตราการส่งถ่าย ข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที

DDR SDRAM (หรือ SDRAM II)
DDR RAM นี้แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลัก ๆ ของทั้งสองชนิดนี้คือ DDR SDRAM นี้สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งขาขึ้น และขาลง ขแงสัญญาณนาฬิกาเพื่องส่งถ่ายข้อมูล นั่นก็ทำให้อัตราส่งถ่าย เพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูสุดถึง 1 G ต่อวินาทีเลยทีเดียว

Rambus DRAM (RDRAM)
ชื่อของ RAMBUS เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท RAMBUS Inc. ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ยุค 80 แล้ว เพราะฉะนั้นชื่อนี้ ก็ไม่ได้เป็นชื่อที่ ใหม่อะไรนัก โดยปัจจุบันได้เอาหลักการของ RAMBUS มาพัฒนาใหม่ โดยการลด pin รวม static buffer และทำการปรับแต่งทาง interface ใหม่ DRAM ชนิดนี้ จะสามารถ ทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้น และลงของสัญญาณนาฬิกา และเพียงช่องสัญญาณเดียว ของหน่วยความจำ แบบ RAMBUS นี้ มี Performance มากกว่าเป็น 3 เท่า จาก SDRAM 100 MHz แล้ว และเพียงแค่ช่อง สัญญาณเดียวนี้ก็มีอัตราการส่งถ่ายข้องมูลสูงถึง 1.6 G ต่อวินาที ถึงแม้ว่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูลแบบ สุ่มของ RAM ชนิดนี้จะช้า แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องจะเร็วมาก ๆ ซึ่งกาว่า RDRAM นี้มีการพัฒนา Interface และมี PCB (Printed Circuit Board) ที่ดี ๆ แล้วละก็รวมถึง Controller ของ Interface ให้ สามารถใช้งานได้ถึง 2 ช่องสัญญาณแล้วมันจะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มเป็น 3.2 G ต่อวินาที และหากว่าสามารถใช้ได้ถึง 4 ช่องสัญญาณก็จะสามารถเพิ่มไปถึง 6.4 G ต่อวินาที

Synchronous Graphic RAM (SGRAM)
SGRAM นี้ก็แยกออกมาจาก SDRAM เช่นกันโดยมันถูกปรับแต่งมาสำหรับงานด้าน Graphics เป็นพิเศษแต่โดยโครงสร้างของ Hardware แล้ว แทยไม่มีอะไรต่างจาก SDRAM เลย เราจะเห็นจากบาง Graphic Card ที่เป็นรุ่นเดียวกัน แต่ใช้ SDRAM ก็มี SGRAM ก็มี เช่น Matrox G200 แต่จุดที่ต่างกัน ก็คือ ฟังก์ชัน ที่ใช้โดย Page Register ซึ่ง SG สามารถทำการเขียนข้อมูลได้หลาย ๆ ตำแหน่ง ในสัญญาณนาฬิกาเดียว ในจุดนี้ทำให้ความเร็วในการแสดงผล และ Clear Screen ทำได้เร็วมาก และยังสามารถ เขียนแค่ บาง bit ในการ word ได้ (คือไม่ต้องเขียนข้อมูลใหม่ทั้งหมดเขียนเพียงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง เท่านั้น) โดยใช้ bitmask ในการเลือก bit ที่จะเขียนใหม่สำหรับงานโดยปกติแล้ว SGRAM แทบจะไม่ ให้ผลที่ต่างจาก SDRAM เลย มันเหมาะกับงานด้าน Graphics มากกว่า เพราะความสามารถที่ แสดงผลเร็วและ Clear Screen ได้เร็วมันจึงเหมาะกับใช้บน Graphics Card มากกว่า ที่จะใช้บน System

Video RAM (VRAM)
VRAM ชื่อก็บอกแล้วว่าทำงานเกี่ยวกกับ Video เพราะมันถูกออกแบบมาใช้บน Dispaly Card โดย VRAM นี้ก็มีพื้นฐานมาจาก DRAM เช่นกัน แต่ที่ทำให้มันต่างกันก็ด้วยกลไกการทำงานบางอย่าง ที่เพิ่มเข้ามา โดยที่ VRAM นั้น จะมี serial port พิเศษเพิ่มขึ้นมาอีก 1หรือ 2 port ทำให้เรามองว่ามันเป็น RAM แบบ พอร์ทคู่ (Dual-Port) หรือ ไตรพอร์ท (Triple-Port) Parallel Port ซึ่งเป็น Standard Interface ของมัน จะถูกใช้ในการติดต่อกับ Host Processor เพื่อสั่งการให้ ทำการ refresh ภาพขึ้นมาใหม่ และ Seral Port ที่เพิ่มขึ้นมา จะใช้ในการส่งข้อมูลภาพออกสู่ Display

Windowns RAM (WRAM)
WRAM นี้ ดู ๆ ไปล้วเหมือนกับว่า ถูกพัฒนาโดย Matrox เพราะแทบจะเป็นผู้เดียวที่ใช้ RAM ชนิดนี้ บน Graphics Card ของตน (card ตระกูล Millenium และ Millenium II แต่ไม่รวม Millenium G200 ซึ่งเป็น ซึ่งใช้ SGRAM ) แต่ในปัจจุบันก็เห็นมีของ Number 9 ที่ใช้ WRAM เช่นกัน ในรุ่น Number 9 Revolutuon IV ที่ใช้ WRAM 8M บน Crad WRAM นี้โดยรวมแล้วก็เหมือน ๆ กับ VRAM จะต่างกันก็ตรงที่ มันรองรับ Bandwith ที่สูงกว่า อีกทั้งยังใช้ระบบ Double-Buffer อีกด้วย จึงทำให้มันเร็วกว่า VRAM อีกมากทีเดียว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Tue Jan 25, 2005 9:41 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Mainboard (แผงวงจรหลัก)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย

1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge
ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI
ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน
ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 29, 2005 8:04 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Display Card (การ์ดแสดงผล)
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
หน่วยความจำ
การ์แสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น
เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ
ความละเอียดในการแสดงผล
การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด
โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color
อัตราการรีเฟรชหน้าจอ
การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้
อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 29, 2005 8:07 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Harddisk (ฮาร์ดดิสก์)
ฮารด์ดิกส์เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบ ทั้งกลไกการทำงาน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอบรับคำสั่งและเคลื่อนที่ ไปยังส่วนที่ถูกต้องของ Platter เมื่อถึงที่หมายก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้น ไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิกส์ จะมีการทำงาน คล้ายกับการทำงาน ของของเทปคาสเซ็ท
แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียง หัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน และเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิกส์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้ รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่า กับเป็นการเขียนข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้น ก็จะเป็นการแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่ได้บันทึก อยู่บนฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่ม สัญญาณและทำการ ประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีกจุดที่แตกต่าง กันของการเก็บข้อมูลระหว่าง ออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็ คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณ อนาล็อก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะ เก็บในรูป สัญญาณ ดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือ เส้นวงกลม โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่าน สามารถเคลื่อนที่ ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของ ฮาร์ดดิสก์ก็ได้ ไม่เหมือนกับเทปเพลงที่หากจะต้องการฟังเพลง ถัดไปเราก็ต้องกรอเทป ไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น
หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่งมาจากซีพียู ซึ่งการเข้า ถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ สามารถแทนที่เทปในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถ เก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านเขียนนั้นอยู่ทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่ มีแพล็ตเตอร์ 2 แผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ในการ เก็บข้อมูลได้ถึง 4 ด้าน และมีหัวอ่านเขียน 4 หัวการเคลื่อนที่ของ หัวอ่านเขียนนี้จะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออก เป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector
การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นจะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่านก็จะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมา ที่ว่างแล้วทำการเขียน ข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อ มูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังแทร็คถัดไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีฮาร์ดดิสก์แบบ 4 แพล็ตเตอร์อยู่และหัวอ่านเขียนอยู่ที่แทร็ค 15 ไดร์ฟจะเขียนข้อมูลลงในแทร็ค 15 บนทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ทั้ง 4 จนเต็มจากนั้นจึงเคลื่อนเข้าไปหาที่แทร็ค 16 ต่อไป การหมุนของแพล็ตเตอร์นั้นนับได้ว่า เร็วมาก ความเร็วต่ำ สุดก็เท่ากับ 3,600 รอบต่อนาที และปัจจุบันสูงสุดนับหมื่นรอบ ซึ่งเป็นการทำงานที่เร็วกว่า ฟล็อบปี้ดิสก์หรือเทปมาก
ด้วยความเร็วขนาดนี้ทำให้หัวอ่านเขียนขนาดเล็กสามารถลอยหรือบินอยู่เหนือพื้น ผิวได้หัวอ่านเขียนนั้นได้รับการ ออกแบบให้บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูงนี้ ในความสูงเพียง 3 ล้านส่วนของนิ้ว ซึ่ง เท่ากับว่าระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนและแพล็ตเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก กว่าเส้นผมของคนเราหรือแม้กระทั่งฝุ่นมาก หากเกิดการกระแทก อย่างรุนแรงขึ้นกับฮาร์ดดิสก์จนทำให้ หัวอ่านเขียนสัมผัสกับแผ่นแพล็ตเตอร์ก็จะทำให้พื้นผิว หรือหัวอ่านเขียน เกิดการเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิด ปัญหาข้อมูลเสียหาย หรือถ้าโชคร้ายก็คือฮาร์ดดิสก์พังอย่างแก้ไข ไม่ได้ อย่างไรก็ตามปัญหานี้มักจะไม่เกิด กับฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการ ผลิตที่สูงขึ้นและได้รับการป้องกัน เป็นอย่างดีโดยถูกสร้าง ให้สามารถ รับแรงกระแทกได้สูงถึง 70-100 เท่าของ แรงดึงดูด (70-100G)
การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีลักษณะเดียวกับแผนที่ ข้อมูลจะถูกจักเก็บไว้ในแทร็คบนแพล็ตเตอร์ ดิสก์ไดร์ฟทั่ว ๆ ไปจะมีแทร็คประมาณ 2,000 แทร็คต่อนิ้ว (TPI) Cylinder จะหมายถึงกลุ่มของ Track ที่อยู่ บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุก ๆ แพล็ตเตอร์ ในการเข้าอ่านข้อมูลนั้นแต่ละแทร็คจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector กระบวนการในการจัดการดิสก์ ให้มีแทร็ค และเซกเตอร์เรียกว่า การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์
ในปัจบันส่วนใหญ่จะได้รับการฟอร์แมตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติ เซกเตอร์ จะมีขนาด เท่ากับ 512 ไบต์ คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่ได้รับการฟอร์แมตนี้ เหมือนกับที่นักท่องเที่ยวใช้แผนที่ ในการเดินทาง คือใช้ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดบนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นหากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้รับการฟอร์แมต เครื่องคอมพิวเตอร์ จะก็ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ใด และจะนำข้อมูลมาได้จากที่ไหนในการออกแบบฮาร์ดดิสก์ แบบเก่านั้นจำนวน เซกเตอร์ต่อแทร็กจะถูกกำหนดตายตัว เนื่องจากพื้นที่แทร็คบริเวณขอบนอกนั้นมีขนาด ใหญ่กว่าบริเวณขอบใน ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นพื้นที่สิ้นเปลืองของแทร็คด้านนอกจึงมีมากกว่า
แต่ในปัจจุบัน ได้มีการใช้เทคนิคการฟอร์แมต รูปแบบใหม่ที่ เรียกว่า Multiple Zone Recording เพื่อบีบข้อมูลได้มากขึ้น ในการนำมาจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ได้ Multiple Zone Recording จะอนุญาตให้พื้นที่แทร็คด้านนอก สามารถ ปรับจำนวนคลัสเตอร์ได้ทำให้พื้นที่แทร็ค ด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่า ด้านในและด้วยการแบ่งให้พื้น ที่แทร็คด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่าด้านในนี้ ข้อมูลสามารถจัดเก็บได้ตลอดทั้งฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีการใช้เนื้อที่บนแพล็ตเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการ เพิ่มความจุโดย ใช้จำนวนแพล็ตเตอร์น้อยลงจำนวนของเซกเตอร์ต่อแทร็ค ในดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วแบบปกติจะมีอยู่ ประมาณ 60 ถึง 120 เซกเตอร์ภายใต้การจัดเก็บแบบ Multiple Zone Recording
การทำงานของหัวอ่านเขียน
หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
Seek Time
คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัด ๆ ไปในแทร็คที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย
ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า “ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
Head Switch Time
เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms
Cylinder Switch Time
เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms
Rotational Latency
เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) ด้วยเช่นกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 29, 2005 8:09 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

SoundCard (การ์ดเสียง)
เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย
การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ
ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน
ความชัดเจนของเสียง จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด
ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 29, 2005 8:13 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Monitor (จอภาพ)
จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์แบบชั่วคราว ที่ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความ และภาพกราฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผล จอภาพจะมีขนาด คุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อจอภาพที่เหมาะสม กับงานและงบประมาณ ที่มีอยู่ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีชนิดความละเอียดสูง และเป็นจอภาพแบบ Non Interface ซึ่งจอภาพชนิดนี้ จะช่วยลดอาการสั่นกระพริบของจอภาพได้ ทำให้ผู้ใช้งานลดความเครียดทางสายตาได้
การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริง เพียงใด โดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้ว
จอภาพที่แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216 สี จะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงานตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Sat Jan 29, 2005 8:17 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Modem (โมเด็ม)
โมเด็มย่อมาจากคำสองคำ คำว่า MO ย่อมาจาก MOdulation เป็นการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญาณอนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ DEM ย่อมาจาก DEModulation เป็นการเปลี่ยนจากสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้า ของโทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับความไวของ โมเด็มที่ความไว 28.8 Kb. และ 33.6 Kb. นี่ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้เพราะมีมาตรฐาน เดียวกัน แต่โมเด็ม ความไวขนาด 28.8 Kb. ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว สำหรับความไวที่ 33.6 Kb. นั้นยังผลิต และจำหน่ายเนื่อง จากยังมีผู้ใช้กันอยู่ Kb. นี่ย่อมาจากคำว่า Kilobit ครับ สังเกตตรงตัว b ซึ่งเป็นตัวเล็กจะอ่านเป็น bit หากเขียนตัวใหญ่ เช่นค่าความจุของฮาร์ดดิสก์จะเรียกป็น Kilobyte และเขียนเป็น KB. หรือ MB. เช่น Harddisk 540 MB. ฮาร์ดดิสก์ มีความจุ 540 เมกกะไบต์ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kb. ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ ตอนซื้อควรกำหนด ให้เป็นมาตรฐาน V.90 เลย จะได้ไม่มีปัญหา สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น
หากดูตามรูปร่างการใช้งานก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. Internal
2. External
3. PCMCIA
ข้อดีและเสียก็มีต่างกันครับ อันนี้จะไม่เอา PCMCIA มาเกี่ยวเนื่องจากจะนำไปใช้กับพวก Notebook
Internal Modem
Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือ PCI
ข้อดีก็คือ
1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ
2. ราคาถูก
3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว
4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน serial port
5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก
ข้อเสียคือ
1. ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก
2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง
3. เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต
4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก
5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
External Modem
External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 บางครั้งนาน ๆ เจอก็ติดที่ Pararel port ก็มีบ้าง (ยังไม่เคยเจอเลย)
ข้อดีคือ
1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย
2.ติดตั้งได้ง่ายกว่า
3. ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก
4. สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม
ข้อเสีย
1. มีราคาแพง
2. เกะกะ
3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย
4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน
5. หากใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ได้ความไวต่ำเนื่องจากชิพ UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ทุนทรัพย์ ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก อีกอย่างก็เป็น ความชอบก็มีส่วนอยู่ด้วยครับ หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก แต่หากมีปัญหาทุนทรัพย์ก็คงต้องเลือก แบบ Internal อีกแหละ ก็มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกใช้ครับ แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐานแบบไหนแต่ที่แน่นอนก็ต้องเลือกให้มีมาตรฐาน V.90 ครับ
ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ง่าย ตรงนี้ควรนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ
จากที่เรียบเรียงมานี่จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อโมเด็มว่าจะใช้แบบ Internal หรือ External ดีและเป็นคำตอบที่ว่า การใช้โมเด็มบางตัวทำไมทำ เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง หรือว่าทำไมสายหลุดง่ายจังเลย ส่วนการเลือกซื้อนั้น ยังมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วยเช่น ยี่ห้อ ระยะเวลา การรับประกัน ความรับผิดชอบของตัวแทนจำหน่าย การอัพเดทไดรฟ์เวอร์ ประวัติความคงทน และความสามารถพิเศษอื่น ๆ เป็นต้นครับ
การเลือกซื้อโมเด็มควารเป็นโมเด็มที่มีความไว 56 K และต้องสนับสนุนมาตรฐาน V.90 นอกจากดูความเร็ว แล้ว ยังต้องดูอัตราความเร็ว Throughputs ด้วย โดย แบบเดิมโดยมากทำได้ 115,200 bit/s แต่ในปัจจุบัน จะทำได้ถึง 223,400 bit/s ทำใประหยัดเวลาในการใช้ งานอินเทอร์เน็ตและช่วยให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้เร็วขึ้น อีก ทั้งเป็นการประหยัดค่าอินเทอร์เน็ตด้วย สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Mon Feb 07, 2005 10:19 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

CD-ROM
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป

ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรส์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรฟ์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
ความเร็วของไดรว์ ซีดีรอม อัตราการโอนถ่ายข้อมูล (กิโลไบต์ต่อวนาที)
1x 150
2x 300
3x 450
4x 600
6x 900
8x 1,200
10x 1,500
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมตราฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป

แคชและบัฟเฟอร์
ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัพเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัพเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิกส์ ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสยเวลาไปอ่านข้อูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก
ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง

อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม
อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากว่า
ไดรฟ์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งถายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อดแปเตอร์เพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก

เทคโนโลยีซีดีรอม
เทคโนโลยีซีดีรอมแบบที่นิยมใชกันมีอยู่ 2 ประเภทคือ CLV (Constant Linear Velocity)
และ CAV (Constant Angular Velocity)
การทำงานของ CLV
คือตัวไดรฟ์จะทำงานที่ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่แน่นอน (ความเร็ว X) แต่มอเตอร์ นั้นหมุนที่ความเร็วระดับต่างๆ กันขึ้นอยู่กับเนื้อที่ในการเก็บข้อูล โดยหากอ่านข้อมูลบริเวณด้านในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จะหมุนที่ความเร็วสูง แต่เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณด้านนอก ตัวไดรฟ์จะลดความเร็วรอบลง โดย ความเร็วรอบนจะอยู่ระหว่าง 500 ถึง 4,000 รอบต่อนาที สำหรับซีดีรอมความเร็ว 8 เท่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำ การเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลโอนข้อมูลได้ยาก เนื่อจากต้องคงความเร็ว ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 16 เท่านั้น เมื่อข้อมูลถูกเก็บอยู่ในพื้นที่วงในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จำเป็นต้องหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อให้คงอัตราการ ถ่ายโอนข้อมูลนั้นไว้ ทำให้เกิดปัญหาความร้อนและเกิดข้อมผิดพลาดในการรับข้อมูลได้มากขึ้น
แต่สำหรับเทคโนโลยี CAV ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่านั้นจะมีการทำงานที่ต่างกันโดยตัวไดรฟ์ CAV นั้นจะมีความเร็วในการหมุนคง ที่เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณวงในของ แผ่นซีดีรอมนั้นตัวไดรฟ์อาจจะทำความเร็วในระดับ 8-12 เท่า แต่ประโยชน์ที่ได้จาก แต่ประโยชนที่ได้จาก ตัวไดรฟ์เทคโนโลยีนี้ก็คือเมื่อไดรฟ์ ทำการอ่านข้อมูลบริเวณวงนอกของแผ่นซีดีความเร็ว ในการอ่านจะเพิ่มขึ้น เป็น 16 เท่า เพราะเนื้อที่ด้านนอกของซีดีนั้นจะเก็บข้อมูลมากว่าพื้นที่วงในของแผ่น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Mon Feb 07, 2005 10:22 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ
เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง

4. พล็อตเตอร์ (plotter)
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Mon Feb 07, 2005 10:26 am    ชื่อกระทู้: Re: รวมพลคนรักษ์คอมฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Scanner (สแกนเนอร์)
สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัสแท่ง (Bar Code) แล้ว แปลงเป็นข้อมูล ที่อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้และนำไปประมวลผลได้
สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
แบบแท่นนอน (flatbed scanner)
แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)
แบบมือถือ
แบบเลื่อนกระดาษ (sheet-fed scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้

แบบแท่นนอน (Flatbed scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
การทำงานของสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
แสงจากหลอดไฟกระทบกับหน้าหนังสือด้านที่วางแนบแผ่นกระจก โดยบริเวณที่เป็นสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า บริเวณที่มีสีทึบกว่า
มอเตอร์ที่ติดอยู่กับหัวสแกนจะค่อย ๆ เลื่อนหัวสแกนเนอร์จากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่หัวสแกนเนอร์ของสแกนเนอร์ จะมีตัวรับแสงได้ละเอียดถึง 1/90,000 ต่อตารางนิ้ว
ข้อมูลดิจิตอลที่ได้ถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์กราฟฟิก หรือซอฟต์แวร์อ่านตัวอักษร (Optical Character Recognition software) สามารถนไปใช้งานได้
แสงสะท้อนจากหน้าหนังสือตกกระทบสู่หมู่กระจกซึ่งจะเรียงตัวทำมุมได้พอเหมาะกับเลนส์ ของสแกนเนอร์ได้ตลอดเวลา
แสงที่ผ่านเลนส์จะรวมตัวกันทำให้มีความเข้มมากขึ้นจะผ่านตกกระทบลงบนไดโอดรับแสงซึ่ง เรียงตัวกันอยู่ที่หลังของเลนส์ ไดโอดดังกล่าวทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้า โดยแสงที่มีความเข้มมาก ก็จะทำให้สัญญาณ แรงดันไฟฟ้าที่มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย
วงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล (A-D:Analog-to-Digital Converter) แปลงสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากไดโอด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้แทนจุดที่เป็นสีขาวและดำ มีความละเอียดของข้อมูลสูง สแกนเนอร์แบบสีทำงานคล้าย ๆ กันเพียงจะสแกน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะสแกนเก็บความเข้มของแสง ที่ผ่านตัวกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน และนำมารวมกันเป็นภาพในขั้นสุดท้าย

แบบมือถือ
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> คอมพิวเตอร์- อินเตอร์เนต ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.12 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ