ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:12 am    ชื่อกระทู้: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนังสือใหม่ลองอ่านดูครับ ยาวหน่อยแต่ไม่อยากเข้ามาโพสทีละวันสองวัน ขออภัยไว้ด้วย


ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ

ความเป็นมาของนิศฟุชะอฺบาน
ในหนังสือ “ละฏออิฟุล มะอาริฟ” ของอิบนุ รอญับ อัลฮัมบะลีย์ หน้าที่ 199 ท่านได้เล่าถึงการให้ความสำคัญกับคืนนิศฟุชะอฺบานของบรรดาตาบีอีนแห่งชามไว้โดยท่านกล่าวว่า

“และในคืนนิศฟุชะอฺบานบรรดาตาบิอีนที่เป็นชาวชาม เช่น คอลิด อิบนุ มะอฺดาน, มักฮูล, ลุกมาน อิบนุ อามิร และท่านอื่นๆได้ให้ความสำคัญ และพยายามทำอิบาดะฮฺในคืนดังกล่าว ผู้คนก็ได้รับรู้ความประเสริฐ และการให้ความสำคัญกับคืนดังกล่าวจากพวกท่าน ทว่ามีบางคนกล่าวว่าพวกท่านนำการกระทำดังกล่าวมาจากเรื่องเล่าของพวกยะฮูด เมื่อข่าวนี้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองต่างๆผู้คนก็มีความเห็นแตกต่างกันไป บางส่วนเห็นด้วยกับพวกท่านและให้ความสำคัญเช่นพวกท่าน เช่น ผู้คร่ำเคร่งในอิบาดะฮฺที่เป็นชาวเมืองบัศรอฮฺ และคนอื่นๆ ส่วนอุลามาอฺฮิญาซส่วนใหญ่นั้นปฏิเสธเรื่องดังกล่าว เช่น ท่านอะฏออฺ ท่านอิบนุ อบีมะลีกะฮฺ ท่านอับดุรรอฮฺมาน อิบนิ ซัยดฺ อิบนิ อัสลัมได้เล่าจากนักนิติศาสตร์(ฟุกอฮาอฺ)ชาวมะดีนะฮฺซึ่งก็คือทรรศนะของลูกศิษย์ลูกหาของอิมามมาลิก และจากท่านอื่นๆว่า ทั้งหมดที่มีมานั้นเป็นบิดอะฮฺ”

จากที่ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ รอญับ อัลฮัมบาลีย์เล่ามานั้นทำให้เรารู้ว่า
1.เรื่องของการให้ความสำคัญ,หมั่นเพียรในการทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟุชะอฺบานนั้นมีมาตั้งแต่สมัยตาบีอีน มิใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นใน 400-500 ปีหลังจากท่านรอซูลเสียชีวิต
2.มีทรรศนะขัดแย้งกันในหมู่ตาบีอีนสมัยนั้นระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน
3.การคัดค้านที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะการแพร่กระจายข่าวที่ว่า การกระทำและการให้ความสำคัญกับคืนดังกล่าวเป็นเรื่อง อิสรออีลียะฮฺ(เรื่องเล่าจากพวกยะฮูด) ไม่มีที่มาจากตัวบทในอิสลาม ซึ่งข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะการให้ความสำคัญดังกล่าวนั้นก็เพราะมีฮะดีษหลายสายกล่าวถึงนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งจะได้กล่าวเป็นลำดับต่อไป
4.ฝ่ายสนับสนุนนั้นอยู่แผ่นดินชาม และบางแห่งในอิรัก ส่วนฝ่ายค้านก็เป็นผู้รู้แถบฮิญาซ

อนึ่งผู้อ่านต้องแยกแยะระหว่างเรื่องที่อิมาม อัลฮาฟิซ อิบนุรอญับ อัลฮัมบาลีย์เล่า ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงการให้ความสำคัญ และขยันหมั่นเพียรในการทำอิบาดะฮฺในค่ำคืนดังกล่าว กับเรื่องที่อิมามอัฏฏอรฏูซีย์ได้เล่าไว้ว่า

“มีชายคนหนึ่ง(อิบนุ อบิลฮัมรออฺ)มุ่งหน้าไปบัยตุลมักดิส จากนั้นเขาก็ทำการละหมาดในคืนนิศฟุชะอฺบานในมัสญิดดอัลอักซอ ต่อมาได้มีผู้มาละหมาดตามเป็นมะอฺมูมคนหนึ่ง สองคน สามคน สี่คนกระทั่งมีผู้ละหมาดมากมาย เมื่อถึงปีต่อมาเขาก็ละหมาดพร้อมมะอฺมูมเป็นจำนวนมาก การกระทำดังกล่าวได้แพร่หลายไปตามมัสญิดต่างๆทั่วไป”
ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการริเริ่มมีการละหมาดเฉพาะของคืนนิศฟุชะอฺบานซึ่งเกิดขึ้นราวฮิเราะฮฺศักราชที่ 5 ซึ่งเรื่องหลังนี้น่าจะเป็นที่มาของการละหมาด 100 รอกอะฮฺ โดยใน แต่ละรอกอะฮฺให้อ่านซูเราะฮฺอัลอิคลาศ 10 จบ เมื่อครบ 100 รอกอะฮฺจะครบ 1000 จบ เรียกว่า ละหมาด “อัลฟียะฮฺ” ฉะนั้นจึงไม่ควรนำมาปะปนกันอันจะทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงเป็นอันว่า การให้ความสำคัญกับนิศฟุชะอฺบานนั้นมีมาตั้งแต่ยุคสลัฟ และจากที่เราได้ทราบจะเห็นว่าชาวสลัฟไม่ได้มีการกระทำละหมาดอัลฟียะฮฺ หรือการอ่านกุรอานที่มีการผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงชะตา ยืดอายุ ปัดเป่าภัยอันจะเกิดขึ้นกับตัวเองแต่ประการใด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:15 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นิศฟุชะอฺบานในตัวบท
อัลกุรอาน
คำว่า “นิศฟุชะอฺบาน” นั้นไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในที่ใดเลยในอัลกุรอานแม้เพียงสักอายะฮฺเดียว แต่มีรายงานมาจากท่านอิกริมะฮฺ และนักอรรถาธิบายอัลกุรอานกลุ่มหนึ่งเช่นอัษษะอฺละบีย์และคนอื่นๆว่า อายะฮฺในตอนต้นซูเราะฮฺ อัดดุคอนที่ว่า

[size=24] إنا أنزلناه في ليلة مباركة إناكنا منذرين*فيها يفرق كل أمر حكيم*[/size]
“แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน * ในคืนนั้นทุกๆกิจการที่สำคัญได้ถูกจำแนกไว้แล้ว” อัดดุคอน 3-4
เป็นอายะฮฺที่กล่าวถึงคืนที่มีความจำเริญ ซึ่งคืนดังกล่าวคือ คืนนิศฟุชะอฺบาน ในอายะฮฺดังกล่าวท่านอัลอะลูซีย์ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า
“มันคือคืนอัลกอดรฺตามรายงานจากท่าน อิบนุอับบาส ท่านกอตาดะฮฺ อิบนุญุเบร มุญาฮิด อิบนุซัยดฺ และอัลฮะซัน ซึ่งเป็นทรรศนะของนักอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่ ซึ่งตามความหมายแล้วถูกต้อง ส่วนท่านอิกริมะฮฺ และอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มันเป็นคืนนิศฟุชะอฺบาน”
ท่านอิมามอัฏอบารีย์กล่าวหลังจากเล่าถึงสองทรรศนะดังกล่าวว่า
“ที่ถูกต้องก็คือทรรศนะที่บอกว่ามันคือคืนอัลกอดรฺ เพราะอัลลอฮฺได้กล่าวไว้เช่นนั้น”
อันนัยซาบูรีย์กล่าวอธิบายอายะฮฺดังกล่าวว่า
“นักอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่มีทรรศนะว่ามันเป็นคืนอัลกอดรฺ เพราะอัลลอฮฺตรัสว่า “เราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลกอดรฺ”และคืนอัลกอดรฺนั้นตามทรรศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่แล้วอยู่ในเดือนรอมฎอน... และมีบางคนอ้าง เช่น อิกริมะฮฺ และคนอื่นๆว่า มันคือคืนนิศฟุชะอฺบานข้าพเจ้าไม่เห็นว่าพวกเขามีหลักฐานอ้างอิง”
จึงเป็นอันว่าเรื่องที่เกี่ยวกับนิศฟุชะอฺบานนั้นไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานเลยทั้งทางอักษร หรือความหมาย และทรรศนะที่บอกว่าคืนอันจำเริญที่ถูกกล่าวถึงในซูเราะฮฺอัดดุคอนนั้นเป็นคืนนิศฟุชะอฺบานนั้นเป็นทรรศนะที่ขัดแย้งกับอัลกุรอานอย่างชัดเจน อัลลอฮฺตรัสในซูเราะฮฺอัลกอดรฺอายะฮฺเเรกว่า

إنا أنزلناه في ليلة القدر
“เราได้ประทานอัลกุรอานมาในคืนอัลกอดรฺ”
ทำให้เรารู้อันดับเเรกว่าอัลลอฮฺทรงประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลกอดรฺ แล้วคืนอัลกอดรฺอยู่ในเดือนใด? มีผู้อ้างว่าคืนอัลกอดรฺก็คือคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน แต่อัลลอฮฺตรัสกับเราในซูเราะฮฺอัลบะกอรอฮฺว่า

شهر رمضان الذي أنزل فيه القرآن هدى للناس وبينات من الهدى و الفرقان
“เดือนรอมฎอนซึ่งอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำมวลมนุษย์ และเป็นหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับทางนำนั้น”
ทำให้เรารู้ว่าคืนที่มีการประทานอัลกุรอานนั้นคือคืนอัลกอดรฺ และคืนดังกล่าวอยู่ในเดือนรอมฎอน มิใช่ชะอฺบานแต่อย่างใด
จากอายะฮฺดังกล่าวในซูเราะฮฺอัดดุคอนที่มีทรรศนะขัดแย้งกันนี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเชื่อบางประการขึ้นเกี่ยวกับคืนนิศฟุชะอฺบาน อันเป็นผลมาจากอายะฮฺ

فيها يفرق كل أمر حكيم
“ในคืนดังกล่าวทุกๆกิจการที่สำคัญได้ถูกจำแนกไว้แล้ว”
ผู้คนเชื่อกันว่าสิ่งที่ถูกจำแนกไว้นั้นก็คือ อายุขัย ริสกีและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต ซึ่งเป็นที่มาของการอ่านดุอาอฺจำเพาะที่พูดถึงการขอให้อัลลอฮฺเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆเหล่านี้ และการอ่านกุรอานซูเราะฮฺยาซีนโดยมีเหนียตที่ผูกพันอยู่กับความเชื่อเหล่านี้ ซึ่งเราได้ผ่านมาแล้วว่าทรรศนะดังกล่าวในอายะฮฺข้างต้นนั้นเป็นทรรศนะที่ขัดแย้งกับกุรอาน ซึ่งประเด็นการเปลี่ยนแปลงชะตาต่างๆนี้นั้นเราจะได้พูดในลำดับต่อไป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:20 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัซซุนนะฮฺ

มีรายงานมากมายเกี่ยวกับนิศฟุชะอฺบานซึ่งผู้รู้ส่วนใหญ่ตัดสินรายงานต่างๆเหล่านั้นว่า ฎออีฟ และอีกส่วนหนึ่งตัดสินว่าเป็นศอเฮียฮ์ หรือฮะซัน ดังมีรายละเอียดดังนี้

ฮะดีษที่ 1 จากรายงานของอิบนุมาญะฮฺด้วยสายสืบที่อ่อนจากท่านอลีจากท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า

إذا كانت ليلة النصف من شعبان فقوموا ليلها و صوموا نهارها فإن الله تعالى ينزل فيها لغروب الشمس إلى السماء الدنيا فيقول ألا من مستغفر لي فأغفر له ألا من مسترزق فأرزقه ألا مبتلى فأعافيه ألا كذا ألا كذا حتى يطلع الشمس

“เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบาน พวกท่านจงละหมาดในคืนนั้น และจงถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงลงมายังฟ้าชั้นต่ำที่สุด และตรัสว่า มีผู้ขออภัยโทษหรือไม่ ข้าจะอภัยให้ มีใครขอริสกีหรือไม่ข้าจะให้ริสกีแก่เขา มีใครประสบทุกข์ภัยบ้างหรือไม่ ข้าจะให้เขาได้พ้นภัย มีผู้ใดเป็นอย่างนั้นอย่างนี้บ้างไหม กระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น”
ฮะดีษดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่ามีผู้รู้ท่านใดชี้ว่าเป็นฮะดีษที่ใช้ได้ อิมามอัลบูซีรีย์ได้กล่าวไว้ใน “มิศบาหุซซุญาญะฮฺ”ว่า นี่เป็นสายสืบที่มี อิบนุ อบีซับเราะฮฺ ชื่อเต็มคือ อบูบักร อิบนิ อับดิลลาฮฺ อิบนิ มุฮำหมัด อิบนิ อบีซับเราะฮฺ ท่านอิมามอะฮฺหมัด และอิบนุ มุอีนกล่าวว่า เขากุฮะดีษ อัลฮาฟิซอิบนุ ฮะญัร อัลอัสกอลานีย์กล่าวใน “อัตตักรีบ”ว่า พวกเขา(นักวิชาการฮะดีษ)กล่าวหาเขา(อิบนิ อบีซับเราะฮฺ)ว่า เป็นคนที่กุฮะดีษ ฮะดีษดังกล่าวถูกรายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ ในสุนันของท่าน อิบนุลเญาซียฺในอัลอิลัล อัลบัยฮะกียฺในชุอะบิลอีมาน

ฮะดีษที่ 2
حديث عائشة رضي الله عنها قالت فقدت النبي صلى الله عليه وسلم فخرجت فإذا هو بالبقيع رافعا رأسه إلى السماء فقال أكنت تخافين أن يحيف الله عليك ورسوله فقلت يا رسول الله ظننت أنك أتيت بعض نسائك فقال ‘أن الله تعالى ينزل ليلة النصف من شعبان إلى السماء الدنيا فيغفر لأكثر من عدد شعر غنم كلب

“คืนหนึ่งฉันไม่พบท่านรอซูล ฉันจึงออกไปตามหา ปรากฎว่าท่านอยู่ที่บะเกียอฺ ท่านกล่าวว่า เธอคิดว่าอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์จะไม่ยุติธรรมต่อเธอหรือ ฉันตอบว่า ท่านรอซูลฉันคิดว่าท่านออกไปหาภรรยาคนอื่น ท่านกล่าวว่า อัลลออฺตะอาลาจะทรงลงมายังฟ้าชั้นที่ต่ำที่สุดในคืนนิศฟุชะอฺบานแล้วก็จะอภัยโทษให้กับ(ผู้คน)มากกว่าจำนวนขนของแกะของเผ่ากัลบฺเสียอีก”
รายงานดังกล่าวบันทึกโดย อะฮฺหมัด, อัตติรมิซียฺ, อิบนุมาญะฮฺ, อัลลาละกาอียฺใน อุศูลเอียอฺติกอดอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, อัลบัยฮะกียฺในชุอะบิลอีมาน อัตติรมิซียฺกล่าวว่า ฮะดีษท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราไม่ได้รับรายงานจากสายอื่นนอกจากสายนี้ และฉันได้ยินมุฮำหมัด(อิมามอัลบุคอรียฺ)ชี้ว่าเป็นฮะดีษฎออีฟ
ในสายสืบของฮะดีษนี้มีข้อบกพร่องที่ผู้รายงานที่ชื่อ อัลฮัจญาจ อิบนิ อัรฏอฮฺเป็นมุดัลลิส(ผู้ที่ปิดบัง) และรายงานโดยใช้คำว่า “อัน”(อันอะนะฮฺ)แปลว่าจากคนนั้นคนนี้โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าคนๆนั้นได้รายงานกับตน และยังไม่ได้ยินฮะดีษดังกล่าวจากยะฮฺยาอินนิ อบีกะษีรอีกด้วย ส่วนยะฮฺยาอิบนิ อบีกะษีรนั้นเป็นนักท่องจำ และเชื่อถือได้ แต่มีการขัดแย้งกันในสิ่งที่ท่านรายงานจากท่านอุรวะฮฺ อิบนิซซุเบร(ซึ่งอยู่ในสายรายงานนี้ด้วยเช่นกัน) จึงทำให้ฮะดีษฎออีฟ

ฮะดีษที่ 3عن أبي موسى الأشعري عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : إن الله ليطلع ليلة النصف من شعبان فيغفر لجميع خلقه إلا لمشرك أو مشاحن

จากอบีมูซาอัลอัชอารียฺ จากท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮฺจะทรงมองดูในคืนนิศฟุชะอฺบาน และจะทรงอภัยโทษให้แก่บ่าวทั้งหมดเว้นแต่ผู้ที่ตั้งภาคี และผู้ที่เกลียดชัง”

ฮะดีษนี้รายงานโดยอิบนุ มาญะฮฺ และอัลบัยฮะกียฺ สายสืบนี้เป็นสายสืบที่ฎออีฟ เพราะมีอัลวะลีด อิบนิ มุสลิม อัดดิมัชกียฺ ซึ่งเป็นมุดัลลิส และรายงานโดยอันอะนะฮฺ และในสายสืบยังมี อิบนุ ละฮีอะฮฺ ซึ่งเป็นบุคคลที่ฎออีฟ และอับดุรรอฮฺมาน อิบนิ อัรซับ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ถูกรู้จัก(มัจฮูล) อัซซินดียฺกล่าวในฮาชียะฮฺอิบนิมาญะฮฺว่า อิบนุอัรซับไม่เคยพบกับท่านอบูมูซา ซึ่งชี้แจงไว้โดยอัลมุนซิรียฺ

แต่การที่สายสืบดังกล่าวฎออีฟไม่จำเป็นว่าตัวบทฮะดีษจะต้องฎออีฟไปด้วย เพราะตัวบทดังกล่าวมีรายงานมาจากสายอื่นเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ฮะดีษดังกล่าวเลื่อนระดับจากฎออีฟมาสู่ฮะซันได้ ซึ่งสายรายงานอื่นที่มาทำให้ตัวบทฮะดีษใดๆเเข็งขึ้นนั้นเรียก “มุตาบะอาต หรือชะวาฮิด” และการที่ฮะดีษที่มีสายสืบฎออีฟถูกรายงานมาหลายสายแล้วจะกลายเป็นฮะซันลิฆอยริฮีนั้นเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่มีความรู้ในวิชาการฮะดีษ หรือแม้กระทั่งผู้ที่เป้นนักศึกษาก็ตาม

ท่านอิมามอบูล ฮะซัน อิบนิล กอฏฏอนกล่าวว่า “ฮะดีษประเภทนี้(ฮะดีษฎออีฟ)ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้เลย(ในเรื่องอะกีดะฮฺ และฮุก่มต่างๆ)แต่ให้กระทำตามได้ในเรื่องคุณค่าของการงาน และไม่นำไปปฏิบัติในเรื่องของฮุก่มต่างๆ เว้นแต่ว่าจะมีรายงานมาหลายสาย หรือมีการกระทำกันมาอย่างต่อเนื่อง หรือไปตรงกับหลักฐานที่ศอเฮียฮฺ หรืออัลกุรอาน”

และในเอานุลบารี อ้างอิงจาก อันนะวะวีย์ว่า
“ฮะดีษฎออีฟกรณีที่มีหลายสายจะเลื่อนระดับจากฎออีฟมาสู่ระดับฮะซัน”

อัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัรกล่าวว่า
“เมื่อใดก็ตามที่ผู้ที่มีความจำไม่ดีมีรายงานสายอื่นมาหนุน เช่นสายรายงานที่มีระดับดีกว่า หรือเท่ากัน แต่ไม่ใช่ต่ำกว่า หรือกระทั่งคนที่มีความสับสนในการรายงาน คนที่รู้ความน่าเชื่อถือแต่เพียงภายนอก หรือสายรายงานที่เป็นมุรซัล หรือคนมุดัลลิซเมื่อไม่รู้คนที่เขารายงานข้ามไป(ทุกประเภทที่กล่าวมานี้หากมีรายงานสายอื่นมาสนับสนุน)ฮะดีษของพวกเขาจะกลายเป็นฮะซันแต่ไม่ใช่ด้วยตัวของมันเอง แต่เราจะเรียกมันเช่นนั้น(ว่าเป็นฮะซัน)โดยภาพรวมทั้งรายงานที่มาสนับสนุน และถูกสนับสนุน...”

และตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆที่บอกถึงความละเอียดลออของนักวิชาการฮะดีษในการดำเนินตามกฎเกณฑ์ โดยที่พวกเขาได้เตือนไว้ว่า “ไม่จำเป็นว่าสายสืบที่อ่อนนั้นจะทำให้ตัวบทดังกล่าวอ่อนตาม และเช่นเดียวกันไม่จำเป็นว่าเมื่อสายสืบศอเฮียฮฺแล้วตัวบทจะศอเฮียฮฺด้วย”รายละเอียดตรงนี้นั้นมีเยอะซึ่งต้องอาศัยการศึกษาอย่างจริงจัง ดังนั้นนักวิชาการฮะดีษจึงกล่าวกันว่า(ในอุลูมุลฮะดีษ92-93)
“ถ้าหากท่านพบฮะดีษใดมีสายรายงานอ่อน ท่านมีสิทธิที่จะพูดว่า “มันอ่อนด้วยสายรายงานนี้” แต่ท่านไม่มีสิทธิกล่าวว่า “(ฮะดีษ)นี้ฎออีฟ”(หมายถึงฮุก่มรวมทั้งสายรายงาน และตัวบท) เฉกเช่นพวกที่ทำตัวเป็นมุจตะฮิดในวิชาแขนงนี้ ซึ่ง(ถ้าท่านพูดแบบนั้น)หมายความว่าตัวบทนั้นๆอ่อนเนื่องจากเหตุผลเพียงแค่สายสืบอ่อน ซึ่งฮะดีษนั้นๆอาจถูกรายงานมาจากอีกสายหนึ่งที่ถูกต้องทำให้ตัวบทดังกล่าวใช้ได้ ยิ่งกว่านั้นแล้วการฮุก่มว่าฮะดีษใดฎออีฟนั้นจะต้องขึ้นกับอิมามคนใดคนหนึ่งของวิชาการฮะดีษ”

ฎออีฟนั้นเมื่อมีรายงานมาหลายสายทำให้เกิดผลได้ 2 กรณีคือ
1.ไม่สามารถเลื่อนขั้นมาเป็นฮะดีษฮะซันได้ เพราะฎออีฟมาก ประเภทนี้เป็นประเภทที่มีผู้รายงานเป็นผู้ที่โกหก หรือถูกกล่าวหาว่าโกหก หรือเป็นคนชั่ว(ฟาซิก) ฉะนั้นหากมีรายงานมาจากสายอื่นที่มีบุคคลประเภทนี้อยู่เหมือนกันก็ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักให้กับตัวบทนั้นได้
2.ฎออีฟที่เกิดจากการขาดตอนของสายสืบ หรือผู้รายงานเป็นผู้มีความจำไม่ดี หรือมีผู้ที่เป็นมุดัลลิสอยู่ ฮะดีษประเภทนี้หากมีสายรายงานอื่นมาซึ่งเป็นสายที่มีระดับพอกันหรือดีกว่า(ไม่ใช่แย่กว่า)ตัวบทนั้นจะถือว่าอยู่ในระดับฮะซัน

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วจะสังเกตได้ว่าฮะดีษที่ 2-3ไม่มีใครที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โกหก หรือเป็นคนชั่ว หรือถูกกล่าวหาในเรื่องใดๆในศาสนา อีกทั้งยังมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน เพียงแต่ฮะดีษที่ 2 นั้นมีเรื่องราวของท่านหญิงเพิ่มเข้ามา อีกทั้งฮะดีษที่ 3 นี้ยังมีรายงานมาอีกมากมายหลายสายแม้จะถูกวิจารณ์ในบางสายก็ตามดังนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:24 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สายที่ 1
รายงานโดยท่านอิมาม อะฮฺหมัดในมุสนัดของท่าน ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ อิบนิล อาศ จากท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัมกล่าวว่า

يطلع الله عز وجل إلى خلقه ليلة النصف من شعبان فيغفر لعباده إلا مشاحن أو قاتل نفس

“อัลลอฮฺจะทรงมองมายังบ่าวของพระองค์คืนนิศฟุชะอฺบาน และจะทรงอภัยให้กับบ่าวของพระองค์ เว้นแต่ผู้ที่เกลียดชัง และผู้ที่ฆ่าชีวิตหนึ่ง”
อัลฮาฟิซอัลมุนซิรียฺกล่าวใน “อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ”ว่า “รายงานโดยอะฮฺหมัด และในสายสืบมี อิบนุ ละฮีอะฮฺ ซึ่งเป็นฎออีฟ”

สายที่ 2

عن معاذ بن جبل عن النبي صلى الله عليه وسلم قالwhistling#1610;طلع الله على جميع خلقه ليلة النصف من شعبان فيغفر لجميع خلقه إلا لمشرك أو مشاحن

ฮะดีษนี้เป็นรายงานจากท่านมุอาซ อิบนิ ญะบัล ซึ่งบันทึกโดย อิบนิ ฮิบบาน อัฏฏอบรอนียฺ และอบูนุอัยมฺใน “อัลฮิลยะฮฺ” อิบนุ อบีอาศิมใน “อัซซุนนะฮฺ” อัลฮาฟิซ นูรุดดีน อัลฮัยษะมียฺได้กล่าวไว้ใน “มัจมะอุซซะวาอิด”ว่า “รายงานโดยอัฏฏอบรอนียฺในอัลกะบีร และอัลเอาซัฏ ซึ่งรายงานที่ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือทั้งสองเล่มนั้นผู้รายงานเป็นผู้ที่เชื่อถือได้” มาลิก อิบนิ ยุคอมิร ในสายสืบข้างต้นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เป็นมุคอฎรอม(ผู้ที่ทันสมัยญาฮิลียะฮฺ และสมัยท่านรอซูล แต่ไม่เคยเห็นท่าน และไม่ได้เป็นศอฮาบะฮฺ)ท่านมีชีวิตทันท่านมักฮูลสายสืบจึงไม่ขาดตอน และท่านอิมาม อิบนิ ฮิบบานก็ชี้ว่าฮะดีษข้างต้นศอเฮียฮฺ

สายที่ 3
เป็นฮะดีษเดียวกันที่รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ บันทึกโดย อัลบัซซาร อัลฮัยษะมียฺกล่าวว่า “เป็นฮะดีษที่รายงานโดยอัลบัซซาร โดยในสายรายงานมี ฮิชาม อิบนิ อับดิรรอฮฺมานซึ่งฉันไม่รู้จัก ส่วนผู้รายงานคนอื่นๆนั้นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้

สายที่ 4
เป็นรายงานของ อบูษะอฺละบะฮฺ อัลคุชะนียฺ ที่รายงานโดย อัฏฏอบรอนียฺ ,อิบนุ อบีอาศิมใน อัซซุนนะฮฺ อัลฮัยษะมียฺกล่าวว่า “ในสายรายงานมีอัลอะฮฺวัศ อิบนิ ฮะกีมซึ่งฎออีฟ” อัดดารุกุฏนียฺกล่าวไว้เกี่ยวกับ อัลอะฮฺวัศว่า “นำฮะดีษเขามาพิจารณาร่วมได้ถ้าเขารายงานจากคนที่เชื่อถือได้”ชี้ให้เห็นว่า อัลอะฮฺวัศไม่ฎออีฟในทุกกรณี

สายที่ 5
ฮะดีษเอาฟฺ อิบนิ มาลิก บันทึกโดยอัลบัซซารในมุสนัดของท่าน อันนูร อัลฮัยษะมียฺกล่าวว่า “รายงานโดยอัลบัซซาร ในสายรายงานมีอับดุรรอฮฺมาน อิบนิ ซิยาด อิบนิ อันอัม ท่านอะฮฺหมัด อิบนิ ศอและหฺให้ความเชื่อถือ แต่ญุมฮูร(นักวิชาการฮะดีษส่วนมาก)บอกว่าฎอออีฟ ,อิบนุ ละฮีอะฮฺฎออีฟ ส่วนผู้รายงานที่เหลือเชื่อถือได้”

สายที่ 6
จากท่านอบูบักร อัศศิดดีก รอฎิยัลลอฮุอันฮุ บันทึกโดย อิบนุ คุซัยมะฮฺ ในอัตเตาฮีด และอัลบัยฮะกียฺ ,อิบนุ อบีอาศิม อัลบัซซารกล่าวว่า “นักวิชาการมีการรายงานฮะดีษนี้ และยึดถือมัน” อัลฮัยษะมียฺกล่าวว่า “ในสายสืบมีอับดุลมะลิก อิบนิ อิบดิลมะลิก ท่านอิบนุ อบีฮาติมกล่าวชื่อไว้ในหนังสือ “อัลญัรหฺ วัตตะอฺดีล”แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นบุคคลฎออีฟ ส่วนผู้รายงานที่เหลือเชื่อถือได้” ท่านอิมาม อัซซะฮะบียฺ ได้กล่าวถึง อับดุลมะลิกผู้นี้ไว้ในหนังสือของท่าน “มีซานุลเอียอฺติดาล”ซึ่งมีข้อความที่ชี้ถึงความฎออีฟของเขา แต่อัลฮาฟิซอัลมุนซิรียฺกล่าวใน อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบว่าสายสืบนี้ใช้ได้

สายที่ 7
ฮะดีษของกะษีร อิบนิ มุรเราะฮฺรายงานเป็นมุรซัล(ข้ามศอฮาบะฮฺ) ซึ่งบันทึกโดย อัลบัยฮะกียฺ ,อัลบัยฮะกียฺกล่าวว่า นี่เป็นมุรซัลที่ดี
สำหรับฮะดีษมุรซัลนั้น ณ ที่นักวิชาการฮะดีษแล้วถือว่าไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ ส่วนนักนิติศาสตร์นั้นฮุก่มไม่ตายตัวอิมามอบู ฮะนีฟะฮฺและมัซฮับของท่านรับฮะดีษมุรซัลหากว่าผู้ที่รายงานเป็นมุรซัลนั้นอยู่ใน 3 ศตวรรษที่มีฮะดีษของท่านรอซูลยืนยันความดีโดยท่านกล่าวไว้ในฮะดีษดังกล่าวในตอนท้ายว่า “หลังจากนั้นการโกหกจะแพร่กระจาย” รายงานโดยอันนะซาอียฺ และท่านอิมามมาลิกก็มีทรรศนะเช่นนี้ดังจะเห็นจากการบันทึกฮะดีษของท่านใน “อัลมุวัฏเฏาะ” ส่วนท่านอิมามอัชชาฟิอียฺใน “อัรริซาละฮฺ”ท่านได้วางเงื่อนไขของการรับมุรซัลว่า จะต้องมีรายงานมาหลายสาย หรือมีคำกล่าวของศอฮาบะฮฺ หรือผู้รู้ส่วนใหญ่มาเสริม หรือว่าผู้ที่รายงานเป็นมุรซัลนั้นปกติแล้วจะรายงานจากผู้ที่เชื่อถือได้เท่านั้น และท่านกล่าวว่า “ส่วนมุรซัลของผู้ที่มิใช่ตาบิอีนอาวุโสนั้นฉันไม่เห็นว่าจะมีใครยอมรับ” และกะษีรนั้นทันศอฮาบะฮฺ 70 ท่านที่เคยร่วมสงครามบัดรฺกับท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และด้วยฮะดีษนี้เองที่ทำให้ท่านมะอฺดาน อัลมัรวะซียฺนับท่านกะษีรเข้าอยู่ในหมู่ศอฮาบะฮฺเพราะท่านรายงานจากท่านนบีเลยโดยข้ามศอฮาบะฮฺไปซึ่งความเข้าใจดังกล่าวคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตามท่านอิมามอัลบัยฮะกียฺกล่าวไว้ว่ามันเป็นมุรซัลที่ดีและมันก็เป็นอย่างที่ท่านกล่าวจริงๆ และบรรดาผู้รู้ทั้งนักวิชาการฮะดีษ และฟิกฮฺเห็นตรงกันว่าเมื่อฮะดีษมุรซัลถูกรายงานมาหลายสายแม้จะในลักษณะมุรซัลเช่นเดียวกันถือว่ามุรซัลดังกล่าวใช้ได้ดังตัวอย่างในฮะดีษข้างต้นนี้

สายที่ 8
เป็นฮะดีษที่บันทึกโดย อัลบัยฮะกียฺในชุอะบิลอีมาน รายงานโดยท่านอุษมาน อิบนิ อบีล อาศ

إذا كان ليلة النصف من شعبان نادى مناد هل من مستغفر فأغفر له هل من سائل فأعطيه فلا يسأل أحد شيئا إلا أعطيه إلا زانية بفرجها أو مشرك

“เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบานจะมีผู้ป่าวประกาศว่า มีผู้ใดจะขออภัยโทษบ้างหรือไม่ เราจะอภัยให้ มีผู้ใดจะขออะไรหรือไม่ เราจะให้ เราจะให้ผู้ที่ขอทุกคนเว้นแต่หญิงที่ทำซินาด้วยอวัยวะเพศของเธอ หรือผู้ที่ตั้งภาคี”
คงเป็นที่ทราบแล้วว่าฮะดีษที่มีรายงานมาในเรื่องนิศฟุชะอฺบานมีมากมายหลายกระแส บางกระแสชี้ขาดโดยท่านอิมาม อิบนุฮิบบานว่าเป็นศอเฮียฮฺ และอิมาม อัลฮัยษะมียฺได้กล่าวไว้ใน มัจมะอุซซะวาอิด ในบันทึกของอัฏฏอบรอนีย์ในอัลมัวอฺญัมอัลกะบีร และอัลเอาซัฏ จากรายงานของท่านมุอาซ อิบนิ ญะบัลในรายงานสายที่ 2 ของเรา
อัลฮาฟิซ อัลมุนซิรียฺในอัตตัรฆีบวัตตัรฮีบ กล่าวไว้ว่า
“ฮะดีษดังกล่าวรายงานโดยอัฏฏอบรอนียฺในอัลเอาซัฏ อิบนุฮิบบานในศอเฮียฮฺของท่าน และอัลบัยฮะกียฺ และอิบนุมาญะฮฺได้รายงานสำนวนเดียวกันนี้จากท่านอบูมูซา อัลอัชอารียฺ และอัลบัซซาร และอัลบัยฮะกียฺจากฮะดีษของอบูบักร รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ในทำนองเดียวกันด้วยสายสืบที่ใช้ได้” ดังกล่าวจากตัวฮฺฟะตุลอะฮฺวะซียฺ ของอัลมุบารอกฟูรียฺ จึงไม่ควรปฏิเสธความพิเศษของคืนนิศฟุชะอฺบานที่มีเหนือคืนอื่นๆ และเป็นการสยบข่าว(ที่จริงๆแล้วไม่มีผู้รู้ท่านใดเคยอ้างเหตุผลดังกล่าว)ที่ว่าเป็นสิ่งที่อ้างมาจากเรื่องราวของอิสรออีล เพราะมีฮะดีษหลายสายที่รายงานมาโดยศอฮาบะฮฺหลายท่าน ทำให้ตัวบทฮะดีษนี้เป็นฮะดีษที่แข็งแรงที่สุดในเรื่องคุณค่าของนิศฟุชะอฺบาน และถึงแม้สมมุติเอาว่าเป็นรายงานที่บกพร่องทุกสายก็ตาม ยังเพียงพอที่จะชี้ว่าคืนดังกล่าวมีความพิเศษเหนือคืนอื่นๆซึ่งดังกล่าวเป็นไปตามกฎเกณฑ์เรื่องฮะดีษฎออีฟที่นักวิชาการทั่วไปทราบกันดี

ท่านอิมามฮะซัน อัลบันนากล่าวว่า “เราวางใจได้ว่าฮะดีษเหล่านี้(พร้อมกับยอมรับว่ามันฎออีฟ และมีข้อบกพร่อง)เพียงพอที่จะทำให้คืนดังกล่าวมีคุณค่าเหนือคืนอื่นๆในเดือนนั้น และทำให้การละหมาดตามที่มีมาในเรื่องอิบาดะฮฺทั้งหลาย(เช่นการละหมาดในค่ำคืนดังกล่าว)เป็นการละหมาดที่ถูกต้องกับบทบัญญัติ การถือศีลอดในวันรุ่งขึ้นก็เป็นศีลอดที่ถูกกับหลักการ และงานอื่นๆที่เป็นมุสตะฮับก็เช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์การปฏิบัติตามฮะดีษฎออีฟในเรื่องคุณค่าการงาน(ฟะฎออิลุล อะอฺมาล) แต่ต้องด้วยเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่ยึดถือไปเป็นสื่อที่จะทำอิบาดะฮฺใดๆที่ไม่ได้มีหลักฐานรองรับ”

อัลมุบารอกฟูรียฺได้กล่าวว่า “ฮะดีษต่างๆเหล่านี้โดยภาพรวมแล้วเป็นหลักฐานปรักปรำผู้ที่อ้างว่าในเรื่องความประเสริฐของนิศฟุชะอฺบานนั้นไม่มีตัวบทที่ใช้ได้ยืนยันเลย วัลลอฮุอะอฺลัม” ดังกล่าวจากตัวฮฺฟะตัลอะฮฺวะซียฺ ซึ่งประโยคนี้สร้างความแปลกใจให้กับข้าพเจ้าเป็นอย่างมากเพราะผู้เขียนบางคนที่เขียนเกี่ยวกับนิศฟุชะอฺบานนั้นมีการอ้างอิงจากหนังสือเล่มดังกล่าว(ตัวฮฺฟะฮฺฯ)แต่เพียงเพื่อยืนยันว่าฮะดีษนั้นฮะดีษนี้ใช้ไม่ได้ แต่กลับเงียบไม่ยอมพูดถึงทรรศนะของเจ้าของหนังสือที่ว่าคืนดังกล่าวมีความประเสริฐดังที่ได้อ้างมาให้อ่านข้างต้น เป็นการอ้างประโยชน์เข้าหาตนจากคำพูดของผู้ที่ยอมรับความประเสริฐของคืนดังกล่าว ทำให้ต้องตั้งข้อสงสัยกับเจตนาของผู้เขียน

วัลลอฮุอะอฺลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:26 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกี่ยวกับความเชื่อและการปฏิบัติของผู้คนทั่วไปในคืนดังกล่าว

ความเชื่อ

ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นว่าสิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อถือบางประการนั้นน่าจะมาจากสาเหตุของการขัดแย้งกันในเรื่องการอธิบายอายะฮฺซูเราะฮฺอัดดุคอน ซึ่งฝ่ายที่ตรงกันข้ามกับญุมฮูรบอกว่ามันคือนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าท่านอิกริมะฮฺและผู้ที่ดำเนินตามแนวทรรศนะท่านนั้นไม่ได้มีตัวบทที่จะอ้างอิงว่า “คืนอันจำเริญ” ที่ถูกกล่าวไว้ในอัดดุคอนเป็นนิศฟุชะอฺบาน นอกจากความเชื่อที่ว่าคืนนิศฟุชะอฺบานเป็นคืนอันประเสริฐ และการที่ท่านเชื่อเช่นนั้นน่าจะเป็นการชี้โดยนัยยะว่าท่านได้รับรู้ และยอมรับฮะดีษที่กล่าวถึงความประเสริฐของนิศฟุชะอฺบาน
อย่างไรก็ตามเราได้กล่าวไปแล้วว่าความเชื่อดังกล่าวเกี่ยวกับอายะฮฺซูเราะฮฺอัดดุคอนไม่ถูกต้อง แต่กระนั้นความเชื่อดังกล่าวก็ได้แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในประชาชนของดินแดนต่างๆ เนื่องจากอายะฮฺที่ 4 ได้กล่าวว่า “ในคืนนั้นทุกๆกิจการที่สำคัญได้ถูกจำแนกไว้แล้ว” หากเรามองตามสายตาของผู้ที่มีทรรศนะว่ามันเป็นนิศฟุชะอฺบานนั้น เราก็จะทราบจากอายะฮฺเพียงว่ากิจการหลายอย่างถูกแจกแจงจัดสรรในคืนดังกล่าว แต่การเจาะจง “กิจการต่างๆ” เหล่านั้นว่าเป็นเรื่องของอายุขัย และทุกข์ภัยต่างๆนั้นเราไม่พบที่มาของการเจาะจงสิ่งเหล่านี้(ตามที่เราทราบมา) อัลลอฮุมมะ นอกจากเราได้ยินอายะฮฺหนึ่งในตอนท้ายของซูเราะฮฺ อัรรออฺด ที่มักจะถูกอ้างอิงควบคู่กับความเชื่อดังกล่าว อายะฮฺดังกล่าวมีใจความว่า

يمحو الله ما يشاء و يثبت وعنده أم الكتاب

“อัลลอฮฺทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงคงไว้ และที่พระองค์คือแม่บทแห่งคัมภีร์” อัรรออฺด 39
โดยบอกว่าพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในคืนนั้น(นิศฟุชะอฺบาน) นักวิชาการหลายคนคัดค้านความเชื่อเช่นนี้ เชคมะฮฺมูด ชัลตูตกล่าวว่า
“มันเป็นการบิดเบือนอย่างเห็นได้ชัด จริงๆแล้วอายะฮฺนี้ถูกกล่าวขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าอัลลอฮฺจะทรงลบฮุก่มต่างๆในบัญญัติยุคก่อนๆหลายๆฮุก่มที่ไม่เข้ากันกับความพร้อมของประชาชาติที่จะมาในยุคหลัง และหลักมูลฐานที่มนุษยชาติต้องการ(เช่น การให้เอกภาพ การฟิ้นคืนชีพ สาส์น หรือการห้ามสิ่งที่เลวทรามทั้งหลาย)เป็นสิ่งที่คงอยู่ถาวร ซึ่งตรงนี้เรียก “อุมมุลกิตาบ” ของอัลลอฮฺที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างอายะฮฺที่พูดถึงการลบล้าง และให้คงไว้กับเรื่องของเหตุการณ์ที่เป็นไปในจักรวาลที่ต้องมารวมกันขอดุอาอฺ และพูดให้ความหวังกัน” จากฟัตวาเชค ชัลตูต
ท่านอิบนุ อุมัร กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

يمحو الله مايشاء ويثبت إلا السعادة والشقاوة والموت

“อัลลอฮฺจะทรงลบ และคงไว้ซึ่งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ เว้นแต่สุข ทุกข์(หมายถึง การได้เป็นชาวสวรรค์ หรือนรก) และความตาย”
ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า “อัลลอฮฺจะทรงลบ และคงไว้ซึ่งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ เว้นแต่บางอย่าง คือ การสร้าง จริยธรรม วาระความตาย ริสกี ความสุขทุกข์”
อิบนุถะษีร กล่าวว่า ความหมายของอายะฮฺก็คือ กำหนดต่างๆนั้นอัลลอฮฺจะทรงลบล้างตามพระประสงค์ และคงไว้ตามพระประสงค์
แต่มีรายงานจากท่าน เซาบานในบันทึกของอิมาม อะฮฺหมัด อันนะซาอียฺ อิบนุ มะญะฮฺ ท่านรอซูลกล่าวว่า

إن الرجل ليحرم الرزق بالذنب يصيبه و لا يرد القضاء إلا الدعاء ولا يزيد في العمر إلا البر

“คนๆหนึ่งจะถูกห้ามริสกีของเขาเพราะบาปที่เขาทำ และไม่มีอะไรจะโต้การกำหนดได้นอกจากการวิงวอน และไม่มีอะไรจะเพิ่มอายุได้นอกจากการทำความดี”
ในรายงานของท่านอัลฮากิมกล่าวว่า

الدعاء يرد القضاء وإن البر يزيد في الرزق و إن العبد ليحرم الرزق بالذنب يصيبه

“การวิงวอนนั้นจะโต้การกำหนดได้ ความดีจะเพิ่มพูนริสกี บ่าวคนหนึ่งจะถูกห้ามริสกีเพราะบาปที่เขากระทำ”
อีกฮะดีษหนึ่งท่านรอซูลกล่าวว่า

من سره أن يبسط له في رزقه وينشأ له في أثره فليصل رحمه

“ผู้ใดอยากให้มีริสกีมากๆ ให้อายุยืนยาวก็จงติดต่อเครือญาติ”
จากคำกล่าวของท่านรอซูลนั้นภายนอกแล้วชี้ให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกำหนดของอัลลอฮฺ ตะอาลา ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับเนื้อความภายนอกของอายะฮฺ ส่วนฮะดีษอีกส่วนหนึ่งบอกเราว่า สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นั้นคือ กำหนดการตาย การได้เป็นชาวสวรรค์ หรือนรก
เราต้องทราบว่าตอนท้ายอายะฮฺกล่าวถึง “อุมมุลกิตาบ” ซึ่งนักวิชาการชี้ว่าคือ อัลเลาฮุลมะฮฺฟูซ และสิ่งที่ถูกบันทึกอยู่ในนั้นทั้งหมดเป็นไปตามความรู้ของพระองค์ และความรู้ของพระองค์นั้นคงเดิม ไม่มีเปลี่ยนแปลงเพราะดุอาอฺ หรือการทำอิบาดะฮฺของใครคนใดคนหนึ่ง ฉะนั้นกำหนดอายุขัยของคนๆหนึ่ง และการที่เขาจะได้เป็นชาวสวรรค์หรือนรกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นแล้วตามความรอบรู้ของพระองค์มันจะไม่เปลี่ยนแปลง ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ถูกกล่าวในฮะดีษนั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นกอฎอของอัลลอฮฺประเภทหนึ่งเช่นกัน ฉะนั้นหากจะมีความเชื่อที่ว่าอัลลอฮฺจะทรงลบล้างสิ่งที่พระองค์ทรงรู้ และบันทึกไว้ในอัลเลาฮุลมะฮฺฟูซนั้นเป็นความเชื่อที่ต้องหลีกห่าง และกอฎอกอดัรนั้นมีทั้งประเภทที่ตายตัว และประเภทที่เป็นไปตามสาเหตุของมัน ถ้าทำเช่นนี้จะได้เช่นนั้น ถ้าไม่ทำจะเป็นเช่นนี้ ซึ่งบางคนให้ชื่อเรียกว่า “กอฎอมุอัลลัก” คือมีการเกี่ยวพันอยู่กับสาเหตุ และประเภทนี้คือสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ อินชาอัลลอฮฺ ด้วยความดี การวิงวอนต่างๆซึ่งผลที่ออกมาท้ายสุดนั้นอยู่ที่ความรู้ของอัลลอฮฺ และอัลเลาฮุลมะฮฺฟูซอยู่แล้วโดยมิได้เปลี่ยนแปลงท่านอิบนุ อับบาสถูกถามเกี่ยวกับ อุมมุลกิตาบท่านกล่าวตอบว่า “มันเป็นความรู้ของอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้ และสิ่งที่พระองค์สร้างไว้นั้นจะเป็นอย่างไร แล้วพระองค์ก็ทรงกล่าวกับความรู้นั้นว่า จงเป็นหนังสือ, และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในความรู้ของอัลลอฮฺ”

คงทราบแล้วว่ากำหนดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตาย การเกิดวันกิยามะฮฺขึ้น ฯลฯ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วตามความรู้ของพระองค์ เพียงแต่คำถามในใจมีมาว่า “ทำไมความเชื่อที่ว่ามีการต่ออายุ และกำหนดริสกี และเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ต่างๆนั้นจึงถูกผูกพันอยู่กับค่ำคืนนิศฟุชะอฺบาน?” หากจะตอบว่าเพราะมันเป็นคืนที่ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺอัดดุคอนนั้นเราก็ได้วิจัยไปแล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นผิด ฉะนั้นสิ่งที่ผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ผิดนี้สมควรจะต้องละทิ้ง ฉะนั้นตามที่ได้กล่าวมาทำให้ความเชื่อประเภทนี้ถูกปฏิเสธจากนักวิชาการตั้งแต่เริ่มต้น และไม่เคยมีสิ่งที่เชื่อถือได้มาจากยุคสลัฟ แม้กระทั่งสลัฟที่ให้ความสำคัญกับนิศฟุชะอฺบาน ในเรื่องความเชื่อดังกล่าวนี้ และการให้ความสำคัญกับนิศฟุชะอฺบานนั้นควรจะเป็นไปตามหลักวิชาการ และละทิ้งในส่วนที่ไม่ถูกต้องเสีย และความดีของนิศฟุชะอฺบานตามที่ถูกชี้ไว้ในฮะดีษนั้นเพียงพอแล้วต่อการให้ความสำคัญอย่างพอเพียงและถูกต้อง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:29 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปฏิบัติ

เมื่อพูดถึงนิศฟุชะอฺบานก็ต้องพูดถึงสิ่งที่มีการปฏิบัติกันทั่วไปในค่ำคืนดังกล่าว
1.การละหมาด 100 รอกอะฮฺ
เรียกว่าละหมาด “อัลฟียะฮฺ” หรือ “ศอลาตุลคอยรฺ” มีการอ่านซูเราะฮฺอิคลาศ 1000 จบ 10 จบในแต่ละรอกอะฮฺ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีการกระทำกันในยุคสลัฟ อีกทั้งเกิดขึ้นในราว ฮิจเราะฮฺศักาชที่ 5 ตามที่อัฏฏอรฏูซีย์เล่าไว้ ละหมาดดังกล่าวถูกคัดค้านจากนักวิชาการแทบทั้งหมด และเราไม่เคยเห็นผู้รู้ท่านใดสนับสนุนให้กระทำ อัลลอฮุมมะ เว้นแต่อิมาม อบูฮามิด อัลฆอซาลีย์เท่านั้น ท่านกล่าวไว้ในเอียฮฺยาอฺ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276 ความว่า
“ส่วนละหมาดในเดือนชะอฺบานนั้น อยู่ในคืนที่ 15 ของเดือน ให้ละหมาด 100 รอกอะฮฺ ให้สลามทุกสองรอกอะฮฺ ในทุกๆรอกอะฮฺอ่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัดหลังจากอัลฟาติฮะฮฺ 11 เที่ยว หรือจะ 10 รอกอะฮฺ หลังจากอัลฟาติฮะฮฺในทุกๆรอกอะฮฺอ่าน กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด 100 เที่ยว นี่เป็นสิ่งที่ถูกรายงานมาจากการละหมาดของสลัฟที่เคยละหมาดดังกล่าว และเรียกชื่อมันว่า “ศอลาตุล คอยรฺ” พวกเขาจะรวมตัวกัน และในบางครั้งพวกเขาก็จะละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ มีรายงานจากท่านอัลฮะซันว่าท่านกล่าวว่า “มีศอฮาบะฮฺ 30 คนของท่านรอซูลเล่ากับฉันว่า ใครก็ตามที่ละหมาดๆนี้ ในคืนนี้อัลลอฮฺจะทรงมองมาที่เขา 70 ครั้ง และสนองความต้องการของเขาในทุกๆครั้งที่มอง 70 ความต้องการ ที่ถือว่าน้อยที่สุดคือ การให้อภัยโทษ”

ท่านได้กล่าวไว้อีกในหน้า 482 ในการเล่าถึงวันและคืนที่มีความประเสริฐว่า “และคืนนิศฟุชะอฺบาน ในค่ำคืนนั้นมีการละหมาด 100 รอกอะฮฺ มีการอ่าน กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด 10 เที่ยว หลังจากอัลฟาติฮะฮฺในทุกๆรอกอะฮฺ พวกเขาไม่เคยทิ้งมันเลยอย่างที่เราได้พูดไปในเรื่องการละหมาดตะเตาวัวอฺ”

ท่านอิมามอัลฆอซาลียฺนั้นเสียชีวิตลงในปี 505 หรือต้นฮิจเราะฮฺศักราชที่ 6 นั่นเอง ซึ่งเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่อัฏฏอรฏูซียฺเล่าถึงอิบนุ อบิลฮัมรออฺที่ริเริ่มการละหมาดที่มัสยิดอัลอักซอ และได้แพร่กระจายไปที่ต่างๆ เป็นไปได้ว่าท่านอิมามอัลฆอซาลียฺรับการกระทำแบบนี้มาแล้วเขียนลงหนังสือของท่าน และด้วยความที่หนังสือดังกล่าว “เอียฮฺยาอฺ อุลูมิดดีน”เป็นหนังสือที่มีคุณค่าและมีการอ่านกันทั่วไปตามหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งท่านอิมาอันนะวะวียฺกล่าวว่า “อัลเอียฮฺยาอฺนั้นเกือบจะกลายเป็นกุรอานแล้ว” ทำให้มีการแพร่หลายของการละหมาดแบบนี้ออกไปอีกทั้งมีรายงานของท่านอัลฮะซันที่ท่านได้อ้างไว้ด้วยจึงทำให้ผู้คนยอมรับกันเข้าไปใหญ่

ฮะดีษท่านอัลฮะซันที่อิมาม อัลฆอซาลียฺ นำมาบันทึกไว้ในหนังสือท่านนั้น ท่านอิมาม อัลฮาฟิซ ซัยนุดดีน อัลอิรอกียฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน “อัลมุฆนียฺ อะนิล อิสฟาร” ซิ่งเป็นหนังสือที่ชี้แจงฮะดีษที่มีบันทึกอยู่ในหนังสือ “เอียฮฺยาอฺ” ว่า “ฮะดีษที่พูดถึงละหมาดนิศฟุชะอฺบานนี้นั้นเป็นฮะดีษที่ถูกกุขึ้น รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺจากฮะดีษของท่านอลี อิบนิ อบีฏอลิบ “เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบานจงละหมาดในตอนกลางคืน และถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น...” ซึ่งสายสืบของมันฎออีฟ”

อัลกอรียฺได้กล่าวไว้ใน อัลมิรกอตุลมะฟาเตียหฺ ว่า “จากที่ได้ถูกกล่าวในอัลละอาลิอฺ การละหมาด 100 รอกอะฮฺในคืนนิศฟุชะอฺบานด้วการอ่านอัลอิคลาศ 10 เที่ยวในทุกรอกอะฮฺ และความประเสริฐมากมายที่บันทึกจากอัดดัยละมียฺ และคนอื่นๆนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกุขึ้น” จากตัวฮฺฟะฮฺ

อัลอัจลูนียฺ กล่าวในบทลงท้ายของหนังสือ “กัชฟุลคอฟาอฺ วะมุซีลุลอิลติบาซ”ว่า
“และในเรื่องละหมาดรอฆออิบ ละหมาดนิศฟุชะอฺบาน ละหมาดนิศฟุรอญับ ละหมาดอีมาน ละหมาดคืนอัลเมียอฺรอจ ละหมาดคืนอัลกอดรฺ และละหมาดทุกคืนของรอญับ ชะอฺบาน และรอมฎอน และเรื่องเหล่านี้ไม่มีตัวบทใดยืนยันเลย” ท่านหมายถึงละหมาดเฉพาะด้วยรูปแบบเฉพาะในค่ำคืนที่ได้กล่าวไว้นี้เท่านั้น เพราะเราก็รู้กันดีว่าท่านรอซูล และบรรดาศอฮาบะฮฺขยันหมั่นเพียรในการละหมาดและอิบาดะฮฺอื่นในคืนอัลกอดรฺ และการละหมาดในยามค่ำคืนที่เป็นที่ชอบให้กระทำนั้นสามารถทำในคืนไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นรอญับ ชะอฺบาน หรือรอมฎอน หรือเดือนอื่นๆ และจะทำมากเท่าไหร่ก็ได้ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อะฮฺหมัดได้เคยเล่าว่าบิดาของท่านอิมามอะฮฺหมัดละหมาดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง 300 รอกอะฮฺ พอท่านป่วยก็จะเหลือ 100 กว่ารอกอะฮฺ และท่านรอซูลกล่าวว่า

اكلفوا من العمل ما تطيقون

“จงทำการงานเท่าที่จะทำได้”
จึงเป็นอันว่านักวิชาการและผู้รู้ทั้งหลายปฏิเสธการละหมาด 100 รอกอะฮฺในรูปแบบดังกล่าวในคืนนิศฟุชะอฺบานจำเป็นต้องละทิ้ง ส่วนละหมาดที่เป็นไปตามระเบียบเดิมทั่วไปนอกเหนือจากนี้นั้นไม่เป็นที่คัดค้านแต่อย่างใด วัลลอฮุอะอฺลัม

อนึ่งเมื่อผู้อ่านอ่านหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นเกี่ยวกับนิศฟุชะอฺบานนั้นจะเห็นว่ามีการอ้างคำกล่าวของผู้รู้ท่านนั้นท่านนี้ แต่ให้แยกแยะและสังเกตดูว่าคำพูดของท่านเหล่านั้นเป็นการปฏิเสธการละหมาด และการกระทำบางอย่างในคืนนั้น หรือว่าเป็นการปฏิเสธความดีเด่นของค่ำคืนนั้นกันแน่เพื่อจะได้ไม่หลงประเด็น เพราะผู้รู้ส่วนใหญ่ปฏิเสธการกระทำบางอย่างที่ถูกปฏิบัติในคืนนั้นแต่ไม่ได้ปฏิเสธคุณค่าของคืนดังกล่าว ตัวอย่าง อิบนุตัยมียะฮฺกล่าวในฟัตวาว่า “ส่วนการริเริ่มการละหมาดที่มีการละหมาดเท่านั้น อ่านเท่านี้ในเวลานั้นๆ ละหมาดร่วมกันเฉกเช่นละหมาดที่ได้ถามมานี้นั้น(ส่วนหนึ่งก็คือละหมาด “อัลฟียะฮฺ”) สิ่งนี้ไม่ได้ถูกบัญญัติใช้ด้วยมติของบรรดาอิมามทั้งหลายของอิสลามดังที่บรรดาผู้รู้ที่เชื่อถือได้ระบุเอาไว้ จะไม่มีใครกระทำสิ่งดังกล่าวเว้นแต่คนที่เขลาและชอบประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เปิดประตูที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติอิสลามกันใหม่ และเป็นประเภทเดียวกับพวกที่กำหนดบัญญัติขึ้นในศาสนาในสิ่งที่อัลลอฮฺไม่อนุญาติ” ท่านกล่าวอีกว่า
“การรวมตัวในมัสญิดเพื่อละหมาดจำนวนเท่านั้นเท่านี้ เช่นการรวมกันละหมาด 100 รอกอะฮฺ โดยอ่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด 1000 จบ ถือเป็นอุตริกรรม” นี่เป็นตัวอย่างการคัดค้านการกระทำบางอย่างในคืนดังกล่าว แต่ถามว่าเกี่ยวกับความประเสริฐหรือไม่? ตอบได้ว่าเรื่องของความประเสริฐเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากท่านสงสัยเราลองมาอ่านอีกคำพูดหนึ่งของคนๆเดียวกันคือ อิบนุ ตัยมียะฮฺที่เพิ่งจะตัดสินการกระทำบางอย่างในคืนดังกล่าวว่าเป็นอุตริกรรมในศาสนา ท่านกล่าวใน “อิกติฎออุศศิรอฏิลมุสตะกีม”ว่า
“ทรรศนะของผู้รู้ส่วนใหญ่ทั่วไป และผู้รู้ส่วนมากของพวกเรา(มัซฮับฮัมบาลียฺ)และคนอื่นๆถือว่าคืนดังกล่าวมีความประเสริฐ เพราะมีฮะดีษมากมายมายืนยัน และมีการกระทำจากชาวสลัฟ มีการรายงานคุณค่าของคืนนั้นในมุสนัด และสุนันทั้งหลาย แม้จะมีบางรายงานถูกกุขึ้นมาก็ตาม”
กล่าวอีกว่า“ฉะนั้นการละหมาดคนเดียวมีการกระทำมาจากสลัฟ เขามีหลักฐาน เรื่องแบบนี้ไม่มีการคัดค้านกัน”
ฉะนั้นจำเป็นต้องมองภาพให้ทะลุทุกมุม นั่นคืนคำกล่าวของ อิบนุ ตัยมียะฮฺ ผู้นำของผู้ที่เรียกตนว่า ซะละฟียะฮฺ แล้วจะทำอย่างไรกัน แม้แต่อิบนุ ตัยมียะฮฺเองยังยอมรับความประเสริฐของคืนดังกล่าว ยิ่งกว่านั้น มูฮำหมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานียฺที่บางท่านยกย่องว่าเป็น “ชัยคุลฮะดีษ” ก็ยอมรับฮะดีษที่มีมาในเรื่องคุณค่าของนิศฟุชะอฺบาน แต่ผู้ที่ติดตามกลับไม่เอาเสียอย่างนั้น ทั้งที่ได้ยึดถืออัลอัลบานียฺในการชี้ถึงสถานะฮะดีษต่างๆมาโดยตลอด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:32 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2.การอ่านอัลกุรอาน

เมื่อคืนดังกล่าวเป็นคืนพิเศษก็สมควรที่จะทำความดีให้มากๆ และหนึ่งในการทำความดีเหล่านั้นก็คือ การอ่านอัลกุรอาน

แต่เป็นประเพณีทั่วไปของผู้คนที่จะมีการอ่านซูเราะฮฺยาซีน 3 จบโดยแต่ละจบจะมีการตั้งเจตนา หรือขอดุอาอฺเฉพาะของแต่ละครั้ง ประเด็นนี้เรากล่าวว่า การอ่านกุรอานไม่ว่าซูเราะฮฺใดหรืออ่านกี่จบนั้นเป็นงานที่ศาสนาใช้ แต่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง ณ ที่นี้ก็คือเรื่องของสิ่งที่ตั้งเจตนา หรือสิ่งที่ขอนั่นเอง ซึ่งเป็นการขอให้อายุยืน มีริสกี ซึ่งเป็นการขอที่ถูกต้องกับบทบัญญัติ แต่เผอิญมีคำถามว่า “ทำไมจึงต้องเป็นเรื่องอายุขัย และริสกี และถูกผูกพันกับคืนนี้?” ถ้าตอบโดยอ้างซูเราะฮฺอัดดุคอนมาอีก เราก็ได้บอกไปแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เป็นอันว่าการกระทำดังกล่าวถูกคัดค้านในแง่ที่ว่ามันถูกผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องที่นักวิชาการทั้งหลายคัดค้าน ส่วนเรื่องประเด็นการกำหนดนั้นทรรศนะของเราเห็นว่า “ไม่ใช่การกำหนดทุกอย่างจะเป็นสิ่งที่ถูกคัดค้านเสมอไป ตราบใดก็ตามที่ไม่เอาการกำหนดนั้นๆมาเป็นศาสนาบังคับให้ตนเอง และผู้อื่นต้องปฏิบัติตามหากละทิ้งจะเป็นบาป”

ท่านบิลาลเคยกำหนดการละหมาด 2 รอกอะฮฺหลังอาบน้ำละหมาดให้ตัวเองและท่านรอซูลยอมรับ ศอฮาบะฮฺบางท่านกำหนดจะอ่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัดเพราะชอบในรอกอะฮฺที่สองของทุกละหมาดท่านรอซูลก็ยอมรับ ศอฮาบะฮฺบางท่านจะนั่งรำลึกถึงอัลลอฮฺโดยกำหนดเวลาหลังศุบฺฮด้วยก้อนหินจำนวนหนึ่ง ท่านอิมามอัลบุคอรียฺ และมุสลิมกำหนดจะอาบน้ำละหมาดและละหมาด 2 รอกอะฮฺทุกครั้งเมื่อจะบันทึกฮะดีษ หากการกำหนดใดเป็นไปตามลักษณะนี้ถือว่าไม่ถูกคัดค้าน วัลลอฮุอะอฺลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:35 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3.การขอดุอาอฺ

การขอดุอาอฺนั้นเป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริมไม่ว่าเวลาใด ที่ไหน และการขอดุอาอฺจะถูกเรียกร้องให้กระทำมากขึ้นเมื่อถึงเวลา หรือสถานที่ที่มีความประเสริฐอยู่ อย่างที่ได้ทราบไปแล้วว่าชาวสลัฟส่วนหนึ่ง และนักวิชาการยอมรับความประเสริฐของนิศฟุชะอฺบานพวกเขาจึงพยายามขอดุอาอฺในค่ำคืนดังกล่าวเพราะอัลลอฮฺจะทรงอภัยให้กับปวงบ่าวในคืนนั้น แต่คำถามคือ มีดุอาอฺเฉพาะของนิศฟุชะอฺบานหรือไม่?

อัลอะลูซียฺกล่าวในตัฟซีรของท่านว่า อิบนุ อบีชัยบะฮฺได้บันทึกใน “อัลมุศอนนัฟ”และคนอื่นๆด้วย จากท่านอิบนุ มัสอูด รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ไม่มีบ่าวคนไหนอ่านคำวิงวอนเหล่านี้เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงเปิดกว้างให้กับการใช้ชีวิตของเขา

يا ذا المن لا يمن عليه يا ذا الجلال والإكرام يا ذا الطول لاإله إلا أنت ظهر اللاجئين و جار المستجيرين ومأمن الخائفين إن كنت كتبتني عندك في أم الكتاب شقيا فامح عني اسم الشقاوة واثبتني عندك سعيدا وإن كنت كتبتني عندك في أم الكتاب محروما مقترا علي رزقي فامح حرماني ويسر رزقي و اثبتني عندك سعيدا موفقا للخير فإنك تقول في كتابك الذي أنزلت *يمحو الله ما يشاء ويثبت و عنده أم الكتاب*

คำอ่าน
ยาซัลมันนิ ลายุมันนุอะลัยฮิ ยาซัลญะลาลิวัลอิกรอม ยาซัฏเฏาลิ ลาอิลาฮะอิลลาอันตะ ซอฮฺรอลลาญิอีน วะญารอลมุสตะญีรีน วะมะอฺมะนัลคออิฟีน อินกุนตะ กะตับตะนีอินดะกะ ฟีอุมมิลกิตาบชะกียัน ฟัมฮุอันนี อิสมัชชะกอวะฮฺ วัษบุตนี อินดะกะซะอีดัน วะอินกุนตะกะตับตะนี อินดะกะฟีอุมมิลกิตาบมะฮฺรูมัน มุกอตตะรอนอะลัยยะริสกียฺ ฟัมฮุหิรมานี วะยัซซิรริสกียฺ วัษบุตนียฺอินดะกะซะอีดันมุวัฟฟะกอนลิลคอยริ ฟะอินนะกะตะกูลุ ฟี กิตาบิกัลละซี อันซัลตะ “ยัมหุลลอฮุมายะชาอุ วะยุษบิตุ วะอินดะฮูอุมมุลกิตาบ”

“โอ้ผู้ทรงให้ความโปรดปราน พระองค์ไม่ถูกให้ความโปรดปราน ผู้ทรงสูงส่งมีเกียรติ ผู้ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความโปรดปราน ไม่มีพระเจ้าอื่นนอกพระองค์ ที่พึ่งพิงของผู้พึ่งพา ผู้ช่วยเหลือผู้ที่ขอความช่วยเหลือ ที่สงบใจของผู้หวาดกลัว หากพระองค์ทรงกำหนดข้าพระองค์ ณ ที่พระองค์ในอุมมุลกิตาบว่าจะเป็นผู้ที่มีทุกข์เข็ญ โปรดทรงลบการมีทุกข์เข็ญดังกล่าวออกไปจากข้าพระองค์ด้วย และขอทรงยืนยันให้ข้าพระองค์เป็นผู้มีสุข ณ ที่พระองค์ และหากพระองค์กำหนดข้าพระองค์ไว้ ณ ที่พระองค์ในอุมมุลกิตาบว่าเป็นผู้ที่ถูกห้าม ถูกเจียดริสกี ขอพระองค์ทรงลบการหักห้ามข้าพระองค์ และขอพระองค์ทรงให้ริสกีสะดวกกับข้าพระองค์ และขอให้พระองค์ยืนยันไว้ ณ ที่พระองค์ให้ข้าพระองค์เป็นผู้มีสุข ได้รับความสะดวกในเรื่องความดี เพราะพระองค์ตรัสในคัมภีร์ที่พระองค์ทรงประทานว่า “อัลลอฮฺทรงลบ และยืนยันให้มั่นคงไว้ในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และ ณ ที่พระองค์นั้นมีแม่บทแห่งคัมภีร์”
และอับดฺ อิบนิ ฮุมัยดฺ และคนอื่นๆได้บันทึกจากท่านอัมรฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านกล่าว(ขณะที่ท่านกำลังเวียนรอบกะอฺบะฮฺ)ว่า

اللهم إن كنت كتبت علي شقوة أو ذنبا فامحه واجعله سعادة ومغفرة فإنك تمحو ماشئت و تثبت و عندك أم الكتاب

คำอ่าน
อัลลอฮุมมะ อินกุนตะ กะตับตะ อะลัยยะ ชิกวะตัน เอาซันบัน ฟัมฮุฮู วัจอัลฮุสะอาดะตัน วะมัฆฟิรอตัน ฟะอินนะกะ ตัมฮูมาชิตะ วะตุษบิตุ วะอินดะกะ อุมมุลกิตาบ

“ข้าแต่อัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงกำหนดความทุกข์ และบาปให้กับข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงลบมันไป แล้วเปลี่ยนมันเป็นความสุข และการให้อภัย เพราะพระองค์ทรงลบ และคงไว้ซึ่งสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และที่พระองค์นั้นมีแม่บทแห่งคัมภีร์”

ข้อสังเกตุจากเชค ฮะซัน อัลบันนาท่านกล่าวว่า
1.ไม่ได้มีการขอดุอาอฺแบบเดียวกัน(สำนวนเดียวกัน)ในศอฮาบะฮฺและตาบิอีน
2.คำพูดในดุอาอฺนี้มีสิ่งที่ไปขัดแย้งกับทรรศนะของศอฮาบะฮฺด้วยกันเองบางคน
3.ดุอาอฺไม่ได้ถูกรายงานจากท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอาลิฮีวะซัลลัม และดุอาอฺที่มีรายงานมา(จากท่านรอซูล)ย่อมสมควรกว่าอยู่แล้ว
4.เราไม่รู้ระดับความน่าเชื่อถือของการพาดพิงดุอาอฺเหล่านี้ไปสู่เจ้าของจากบรรดาอิมาม

เสริมจากผู้เขียน
1.ในจำนวนสองรายงานไม่ได้บอกว่านี่คือดุอาอฺเฉพาะของนิศฟุชะอฺบาน
2.จากข้อสังเกตุของอิมามอัลบันนาในข้อที่ 2 เราได้ทราบมาแล้วในบทที่ว่าด้วยความเชื่อของผู้คนทั่วไปในคืนดังกล่าวว่าศอฮาบะฮฺอีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าสิ่งที่เป็นรากฐานนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ท่านอิบนุ อุมัร กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

يمحو الله مايشاء ويثبت إلا السعادة والشقاوة والموت

“อัลลอฮฺจะทรงลบ และคงไว้ซึ่งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ เว้นแต่สุข ทุกข์(หมายถึง การได้เป็นชาวสวรรค์ หรือนรก) และความตาย”
ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า “อัลลอฮฺจะทรงลบ และคงไว้ซึ่งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ เว้นแต่บางอย่าง คือ การสร้าง จริยธรรม วาระความตาย ริสกี ความสุขทุกข์”
การที่ศอฮาบะฮฺมีความเห็นไม่ตรงกันนั้นไม่มีความเห็นของใครจะประเสริฐกว่าของอีกคนเว้นแต่ด้วยการสนับสนุนของหลักฐาน หากรายงานของท่านอิบนุ อุมัรถูกต้องก็เป็นอันว่าได้ข้อสรุป
3.จากข้อสังเกตข้อที่ 3 ของอัลบันนามีประโยชน์บางประการที่สมควรรู้ สังเกตว่าท่านไม่ได้หักดิบว่าดุอาอฺจะต้องมาจากท่านรอซูลเท่านั้นไม่เช่นนั้นขอไม่ได้ แต่ท่านบอกว่าถ้ามีมาจากท่านรอซูลจะเหมาะกว่า
4.จากข้อ 3 ทำให้เราต้องแยกแยะประเด็นที่มีการคัดค้านและปฏิเสธการขอดุอาอฺดังกล่าวในนิศฟุชะอฺบาน เขาค้านกันเรื่องไหน? อัลบันนาไม่ได้ค้านว่าดุอาอฺไม่ได้มาจากท่านนบี แต่ท่านค้านสำนวนความหมายของดุอาอฺนั้น ท่านกล่าวว่า

“นักวิชาการบางท่านได้สังเกตเห็นบางอย่างที่ขัดกับหลักฐานทางบทบัญญัติในสำนวนคำวิงวอนในดุอาอฺดังกล่าว อันได้แก่
1.การพาดพิงการแยกแยะอันยิ่งใหญ่ การจัดแจงกิจการต่างๆไว้ในคืนนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งท่านได้รู้ไปแล้วว่าความเห็นที่ว่าคืนนั้นเป็นคืนอัลกอดรฺนั้นมีน้ำหนักมากกว่า ไม่ใช่คืนนิศฟุชะอฺบาน
2.การพาดพิงถึงการลบ และคงไว้เกี่ยวกับอุมมุลกิตาบ หากว่า(อุมมุลกิตาบ)คือ อัลเลาฮุลมะฮฺฟูซจริงก็จะไม่มีการลบ หรือยืนยันใดๆเกิดขึ้น ถ้าเกิดมัน(อุมมุลกิตาบ)เป็นความรอบรู้ของอัลลอฮฺมันก็เช่นเดียวกัน(คือไม่มีการเปลี่ยนแปลง) แล้วจะกล่าวในดุอาอฺได้อย่างไรว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺหากพระองค์ทรงกำหนดข้าพระองค์ไว้ ณ ที่พระองค์เป็นผู้มีทุกข์ภัย หรือถูกหักห้าม...ข้าแต่อัลลอฮฺก็ขอพระองค์ทรงลบความทุกข์นั้นออกไปเถิด”...
3.การขออัลลอฮฺให้ลบทุกข์เข็ญ การหักห้าม(ริสกี) การขับไล่ การถูกเจียดริสกี และการขอให้ยืนยันสิ่งตรงกันข้ามเอาไว้แทนไม่ว่าจะเป็นความสุข การตอบรับ ความมั่งมีในริสกี และกล่าวการท้วงติงแบบนี้ในสำนวนดุอาอฺนั้น ทำให้เราเข้าไปสู่วังวนแห่งการกำหนดกฎสภาวะการณ์กอฎอ กอดัร ซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้าต่างหาก และการหยุดเอาไว้นั้นจะดีกว่า มีการขัดแย้งกันมากมาย จากเหตุเหล่านี้นี่เองเราจะเห็นว่าการที่บรรดานักวิชาการเข้ามาทำการท้วงติงสำนวนของดุอาอฺดังกล่าวนั้นเป็นไปเพราะความขัดแย้งอันมากมายที่สามารถมีทรรศนะต่างๆกัน มีข้อคลุมเครือหลายอย่าง ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าดุอาอฺที่เห็นพ้องต้องกันในสำนวนนั้นย่อมดี และมีประโยชน์กว่าดุอาอฺที่ก่อปัญหามากมายให้เกิดขึ้นนี้”

จากสิ่งที่ท่านอัลบันนากล่าวมาเป็นสิ่งที่ชัดเจน และไม่ต้องมีคำอธิบายเสริม เว้นแต่ว่าสำนวนดุอาอฺดังกล่าวนั้นถูกรายงานมาจากศอฮาบะฮฺบางท่าน และถ้าการรายงานถูกต้องเชื่อถือได้ข้อท้วงติงบางส่วน(ย้ำว่าเพียงบางส่วน)ของนักวิชาการทั้งหลายที่มีต่อดุอาอฺนี้นั้น ก็จะเป็นการท้วงติงศอฮาบะฮฺไปด้วย ที่ดีที่สุดก็คือการละทิ้งดุอาอฺดังกล่าวเสียเนื่องจากผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “คืนอันจำเริญ”ที่ถูกกล่าวในอัดดุคอน และดุอาอฺต่างๆนั้นมีอยู่มากมายคงเพียงพอแล้วที่จะทำให้เราได้รับความดีจากดุอาอฺ และความประเสริฐของคืนดังกล่าว วัลลอฮุอะอฺลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:37 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4.การถือศีลอด

เราได้ผ่านไปแล้วกับฮะดีษที่รายงานโดยท่านอลี กัรรอมัลลอฮุวัจฮะฮู ที่รายงานจากท่านรอซูล คงไม่เป็นไรที่จะนำมาอ้างอิงใหม่อีกครั้ง

إذا كانت ليلة النصف من شعبان فقوموا ليلها و صوموا نهارها فإن الله تعالى ينزل فيها لغروب الشمس إلى السماء الدنيا فيقول ألا من مستغفر لي فأغفر له ألا من مسترزق فأرزقه ألا مبتلى فأعافيه ألا كذا ألا كذا حتى يطلع الشمس

“เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบาน พวกท่านจงละหมาดในคืนนั้น และจงถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงลงมายังฟ้าชั้นต่ำที่สุด และตรัสว่า มีผู้ขออภัยโทษหรือไม่ ข้าจะอภัยให้ มีใครขอริสกีหรือไม่ข้าจะให้ริสกีแก่เขา มีใครประสบทุกข์ภัยบ้างหรือไม่ ข้าจะให้เขาได้พ้นภัย มีผู้ใดเป็นอย่างนั้นอย่างนี้บ้างไหม กระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น”

เราได้ทราบแล้วว่าเมื่อคืนนิศฟุชะอฺบานมีความประเสริฐตามฮะดีษหลายกระแสได้กล่าวไว้ การที่เราทำอิบาดะฮฺในค่ำคืนดังกล่าวเป็นเรื่องที่นักวิชาการสนับสนุน แต่นิศฟุชะอฺบานมีความประเสริฐในตอนกลางคืนมิใช่กลางวันตามฮะดีษได้แจ้งไว้ ฉะนั้นในบรรดาอิบาดะฮฺที่ถูกกระทำจึงไม่มีรายชื่อของการถือศีลอดอยู่ด้วยเพราะเป็นเวลากลางคืน แต่ฮะดีษข้างต้นมีเนื้อความบอกว่าท่านรอซูลให้เราถือศีลอดในวันรุ่งขึ้นของนิศฟุชะอฺบาน แล้วฮุก่มจะว่าอย่างไรในเรื่องการถือศีลอดในกลางวันของนิศฟุชะอฺบาน?

ใน ตัวฮฺฟะตุลอะฮฺวะซียฺ หนังสืออธิบายซุนันอัตติรมิซียฺ ของอัลมุบารอกฟูรียฺ ท่านได้กล่าวไว้ในบทว่าด้วย นิศฟุชะอฺบานว่า
“หมายเหตุ ข้าพเจ้าไม่พบหลักฐานที่อ้างถึงท่านรอซูลอย่างถูกต้องในเรื่องการถือศีลอดวันนิศฟุชะอฺบาน ส่วนฮะดีษอลียฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺที่ว่า “เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบาน จงละหมาดในตอนกลางคืน และจงถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น...”นั้นท่านก็ได้รู้แล้วว่ามันฎออีฟมาก และท่านอลียังมีอีกฮะดีษหนึ่งว่า “และหากว่าท่านตื่นเช้ามาโดยถือศีลอด มันก็เท่ากับการถือศีลอด 60 ปีที่ผ่านมาแล้ว และ 60 ปีหน้า”รายงานโดย อิบนุล เญาซียฺใน อัลเมาฎูอาต และกล่าวว่า (ฮะดีษดังกล่าว)เมาฎัวอฺสายสืบมืดมิด” จากตัวฮฺฟะฮฺ

และส่วนความเห็นของอิมามฮะซัน อัลบันนานั้นเราได้อ้างอิงมาแล้วในบทที่ว่า นิศฟุชะอฺบานในตัวบทอัซซุนนะฮฺ เราจะนำมาให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า
“เราวางใจได้ว่าฮะดีษเหล่านี้(พร้อมกับยอมรับว่ามันฎออีฟ และมีข้อบกพร่อง)เพียงพอที่จะทำให้คืนดังกล่าวมีคุณค่าเหนือคืนอื่นๆในเดือนนั้น และทำให้การละหมาดตามที่มีมาในเรื่องอิบาดะฮฺทั้งหลาย(เช่นการละหมาดในค่ำคืนดังกล่าว)เป็นการละหมาดที่ถูกต้องกับบทบัญญัติ การถือศีลอดในวันรุ่งขึ้นก็เป็นศีลอดที่ถูกกับหลักการ...”

โดยคร่าวๆแล้วมีความเห็นแตกต่างกันว่าการถือศีลอดในวันนิศฟุชะอฺบานนั้นเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำหรือไม่ และสิ่งที่ท่านอัลมุบารอกฟูรียฺพูดมานั้นมีเหตุผลมากกว่าในแง่ของกฎเกณฑ์ในวิชาอุลูมุลฮะดีษ เพราะฮะดีษของท่านอลีนั้นฎออีฟมาก เหตุเพราะอิบนุ อบีซับเราะฮฺถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กุฮะดีษ และฮะดีษฎออีฟนั้นญุมฮูรเห็นตรงกันว่านำมาปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่นิติศาสตร์ได้ แต่ต้องมีเงื่อนไข หนึ่งในเงื่อนไขดังกล่าวก็คือ ตัวบทดังกล่าวจะต้องไม่ฎออีฟมาก ซึ่งฮะดีษท่านอลีข้างต้นนั้นฎออีฟมากอย่างที่ทราบกันไปทำให้การทำอิบาดะฮฺที่ถูกสนับสนุนในตัวบทนั้นมีแต่ช่วงกลางคืนเท่านั้น ไม่มีกลางวัน ฉะนั้นการถือศีลอดที่เรียกว่า การถือศีลอดนิศฟุชะอฺบานจึงไม่มีในบทบัญญัติ ไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือฟิกฮฺทั้งหลาย

แม้ว่าข้อสรุปเบื้องต้นจะเป็นดังที่ได้กล่าวไป แต่การถือศีลอดในวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบานนั้นมิได้เป็นที่ต้องห้ามแต่อย่างใด เนื่องด้วยตัวบทต่อไปนี้

อัลฮาฟิซ อัดดุมยาฏียฺกล่าวไว้ว่า
จากอับดุลมะลิก อิบนิ กอตาดะฮฺ อิบนิ มัลฮาน จากพ่อของเขากล่าวว่า

كان رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم يأمرنا بصيام البيض ثلاث عشرة وأربع عشرة و خمس عشرة قال و قال هو كهيئة الدهر رواه أبو داود والنسائي إلا أنه قال كان يأمر بهذه الأيام الثلاث البيض و يقول هن صيام الشهر

“ท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอาลิฮีวะซัลลัม เคยสั่งใช้ให้เราถือศีลอดในวันที่ 13,14,15 เขาเล่าว่า และท่านนบีก็กล่าวว่า มันเหมือนกับทั้งปี” รายงานโดยอบูดาวูด และอันนะซาอียฺ แต่ของอันนะซาอียฺกล่าวว่า “ท่านเคยสั่ง(ให้เราถือศีลอด)ในวัน 3 วันที่ดวงจันทร์สุกนี้ และท่านกล่าวว่า มันเป็นการถือศีลอดประจำเดือน”
จากท่านญะรีร อิบนิ อับดิลลาฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอาลิฮีวะซัลลัม กล่าวว่า

صيام ثلاث أيام من كل شهر صيام الدهر أيام البيض صبيحة ثلاث عشرة و أربع عشرة و خمس عشرة

“การถือศีลอด 3 วันในทุกๆเดือนที่เหมือนการถือศีลอดทั้งปี คือวันที่ดวงจันทร์สุกเต็มดวงเช้าของวันที่ 13,14,15” รายงานโดยอันนะซาอียฺ ด้วยสายสืบที่ศอเฮียฮฺ” จากหนังสือ“อัลมัตญะรุรรอเบียฮฺ ฟีษะวาบิลอะมะลิซซอเและฮฺ”
ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุรอญับ อัลฮัมบาลียฺกล่าวไว้ใน ลาฏออิฟุลมะอาริฟว่า
“ส่วนการถือศีลอดวันนิศฟุชะอฺบานนั้นไม่ได้ถูกห้ามไว้เพราะมันอยู่ในวันที่ดวงจันทร์สุกเต็มดวงที่ชอบให้ถือศีลอดในทุกๆเดือน”
สรุปว่า การถือศีลอดที่ชื่อว่า “นิศฟุชะอฺบาน” นั้นไม่ได้มีหลักฐานที่ยืนยันถูกต้อง แต่การถือศีลอดในวันดังกล่าวด้วยเหนียตถือศีลอดตะเตาวัวอฺทั่วไป หรือซุนนะฮฺอัยยามุลเบฎ(วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงช่วงกลางเดือน)เป็นสิ่งที่จะไม่ถูกคัดค้าน วัลลอฮุอะอฺลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:41 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การให้ความสำคัญกับนิศฟุชะอฺบาน

เมื่อทราบแล้วว่าคืนนิศฟุชะอฺบานมีความประเสริฐเหนือคืนใดๆในเดือนดังกล่าว ชอบให้มุสลิมปฏิบัติสิ่งที่เป็นความดีทั้งหลายเพื่อให้ตัวเองใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด ซิกรุลลอฮฺ การอ่านอัลกุรอาน การทำศอดาเกาะฮฺ ฯลฯ ท่านอิบนุ รอญับกล่าวว่า

“ดังนั้นผู้ศรัทธาควรจะอุทิศเวลาในคืนดังกล่าวเพื่อทำการซิกรุลลอฮฺ ขอดุอาอฺให้พระองค์อภัยให้ ให้พระองค์ทรงปกปิดความผิด ให้ทรงช่วยเหลือให้พ้นจากภัยพิบัติ ให้ทำการเตาบะฮฺ ในคืนนั้นอัลลอฮฺจะทรงเตาบะฮฺให้กับคนที่ขอ...และมุสลิมต้องหลีกหนีบาปที่จะไปขัดขวางการอภัยของพระองค์ และการตอบรับดุอาอฺในคืนดังกล่าว ซึ่งได้มีรายงานมาแล้วว่ามันคือ การตั้งภาคี การฆ่า และการผิดประเวณี...”

ท่านได้กล่าวถึงทรรศนะของนักวิชาการในเรื่องวิธีการให้ความสำคัญกับนิศฟุชะอฺบานอีกว่า
“และนักวิชาการแห่งชามมีความเห็นแตกต่างกันในวิธีการให้ความสำคัญนั้นเป็น 2 ทรรศนะด้วยกัน
1.ชอบให้กระทำอะไรต่างๆเป็นญะมาอะฮฺในมัสญิด ท่านคอลิด อิบนุ มะอฺดาน ท่านลุกมาน อิบนิ อามิร และคนอื่นจะใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดในคืนนั้น จะอบควันหอม ทาตา และละหมาดในมัสญิดในคืนนั้น และท่านอิมาม อิสหาก อิบนิ รอฮาวัยฮฺ ก็เห็นด้วยกับสิ่งนี้ ท่านกล่าวเกี่ยวกับการละหมาดในมัสญิดเป็นญะมาอะฮฺว่า ดังกล่าวไม่ได้เป็นบิดอะฮฺ เป็นคำอ้างอิงจาก อัลกัรมานียฺใน มะซาอิล ของท่าน”
ก่อนที่จะกล่าวถึงทรรศนะที่ 2 ขอชี้ให้สังเกตท่านอิมาม อิสหาก อิบนุ รอฮาวัยฮฺซึ่งเป็นนักวิชาการฟิกฮฺที่เป็นที่ยอมรับ และยกย่องในวงการวิชาการ ท่านกล่าวว่าการกระทำแบบนี้ไม่ใช่บิดอะฮฺ แสดงให้เห็นว่าท่านไม่ได้มีแนวทางอันตื้นเขินในการตัดสินสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นบิดอะฮฺ
ท่านอิบนุ รอญับ กล่าวต่อไปว่า

“2.การรวมกันในมัสญิดเพื่อทำการละหมาด เล่าเรื่องราว และดุอาอฺนั้นเป็นมักรูฮฺ แต่การที่ใครจะละหมาดเฉพาะของตนนั้นไม่ถือเป็นสิ่งมักรูฮฺ นี่คือทรรศนะของ อัลเอาซาอียฺ อิมาม นักวิชาการฟิกฮฺ และผู้รู้แห่งชาม และนี่น่าจะใกล้ที่สุด(กับความถูกต้อง)อินชาอัลลอฮฺ”

จะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า “การรวมตัวกันเพื่อทำอิบาดะฮฺในคืนนิศฟุชะอฺบานที่มัสญิดนั้นไม่ใช่บิดอะฮฺ” เพียงแต่อีกฝ่ายบอกว่าเป็นมักรูฮฺเท่านั้น แล้วจะว่าอย่างไรกับผู้ที่ฮุก่มทุกอย่างเป็นบิดอะฮฺ ทั้งที่คนที่พวกเขาเรียกอยู่ทุกวี่วันว่า “ชัยคุลอิสลาม” อิบนุ ตัยมียะฮฺกล่าวไว้ว่า
“ถ้าหากละหมาดคนเดียว หรือญะมาอะฮฺเฉพาะ เฉกเช่นที่สลัฟกลุ่มหนึ่งเคยปฏิบัตินั้นจะดีกว่า ส่วนการรวมกันเพื่อละหมาดจำนวนเท่านั้นเท่านี้นั้น นี่เป็นบิดอะฮฺไม่มีอิมามคนใดส่งเสริมให้กระทำ”

ลองสังเกตดูว่าท่านพูดว่าการละหมาดคนเดียวนั้น “ดีกว่า” ไม่ได้พูดว่าถ้าละหมาดคนเดียวถูกต้องอย่างอื่นบิดอะฮฺ ส่วนฮุก่มบิดอะฮฺภายหลังนั้นเป็นการฮุก่มละหมาดจำนวน 100 รอกอะฮฺอย่างที่ผ่านไปแล้วว่าผู้รู้ทุกท่านไม่ยอมรับ และอีกประการหนึ่งจากคำพูดข้างต้นจะเห็นได้ว่าค้านกับสิ่งที่ อิบนุ รอญับได้เล่าว่าบรรดาตาบิอีนนั้นละหมาดในมัสญิด และเรามีความเห็นเช่นเดียวกันว่า การละหมาด และอิบาดะฮฺอื่นๆนั้นทำคนเดียวที่บ้านนั้นน่าจะเป็นการดีกว่า วัลลอฮุอะอฺลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:44 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทสรุป

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่า คืนนิศฟุชะอฺบานนั้นมีความประเสริฐ และความพิเศษเหนือคืนหลายๆคืนทั่วไป ตามที่มีหลักฐานยืนยัน และเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทั้งอตีดและปัจจุบัน การไม่ดำเนินตามกฎเกณฑ์วิชาการนั้นเป็นเหตุหนึ่งของการปฏิเสธคุณค่าของคืนดังกล่าว คงไม่น่าจะสงสัยแล้วว่านักวิชาการส่วนมากแล้วได้สรุปว่า คืนนิศฟุชะอฺบานมีคุณค่าตามที่ได้อ้างอิงมา และนักวิชาการในอดีต และปัจจุบันได้ประพันธ์หนังสือที่กล่าวถึงคุณค่าของชะอฺบานไว้มากมาย ดังที่เชค มุฮำหมัด ซาฮิด อัลเกาษารียฺได้กล่าวไว้ในบทความหนึ่งของท่านที่เกี่ยวกับนิศฟุชะอฺบานว่า

“คืนนิศฟุชะอฺบานเป็นคืนที่ประชาชาติคุ้นเคยกันดีกับการให้ความสำคัญด้วยการกระทำอิบาดะฮฺชนิดต่างๆ มีการขอดุอาอฺต่อผู้ที่จะทรงสนองความต้องการ(อัลลอฮฺ) อันเนื่องด้วยรายงานต่างๆที่มีกล่าวถึงคุณค่าของมัน ซึ่งมัน(ชะอฺบาน)มาแจ้งข่าวดีกับเราถึงการใกล้เข้ามาของเดือนถือศีลอดเพื่อเราจะได้เตรียมตัว นักวิชาการในอดีต และปัจจุบันได้ประพันธ์หนังสือเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นของอันนัจมฺ อัลฆอยฏียฺ, อิบนุ ฮะญัร อัลมักกียฺ ,อลี อัลกอรียฺ, ซาลิม อัซซันฮูรียฺ และท่านอื่นๆมีข้อเขียนที่เป็นที่ทราบกันดีในการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเล่มที่มีประโยชน์มากที่สุดเล่มหนึ่งที่ถูกประพันธ์ในเรื่องของคุณค่าของวัน และคืนที่มีความจำเริญต่างๆก็คือหนังสือ “อัลละฏออิฟ” ของอิบนุ รอญับ อัลฮัมบาลียฺ ซึ่งมันถูกตีพิมพ์ให้ได้อ่านกันทั่วไปแล้ว”

การทำอิบาดะฮฺที่มีรากฐานมาจากฮะดีษที่ถูกกุขึ้น ไม่มีหลักฐานทางบทบัญญัติรองรับทั้งที่ชัดเจน หรือชี้เป็นนัยยะ และอิบาดะฮฺที่ถูกผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้นจำต้องละทิ้ง ส่วนถ้าไม่ได้มีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่เรื่องจะต้องคัดค้าน

ให้มุสลิมทำอิบาดะฮฺมากๆในคืนดังกล่าว และหลีกเลี่ยงบาปที่จะนำมาซึ่งการไม่ตอบรับดุอาอฺ และการกระทำอิบาดะฮฺมากๆในคืนดังกล่าวได้รับมาจากชาวสลัฟที่มีฮะดีษยืนยันความดีเด่นของท่านเหล่านั้น และการอิบาดะฮฺที่บ้านน่าจะดีกว่าในแง่ของการป้องกันความเข้าใจผิดกับผู้ที่ไม่มีวิชาความรู้ที่อาจสร้างความเข้าใจบางประการที่คลาดเคลื่อนได้ และอัลลอฮฺทรงรู้ดีที่สุด


و الحمد لله رب العالمين و صلى الله على سيدنا محمد و على آله وصحبه أجمعين
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:46 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก็จบลงด้วยความยืดยาว คิดว่าคงได้รับประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ วัสสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ahlussunnah
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 25/06/2004
ตอบ: 43


ตอบตอบ: Sat Oct 02, 2004 2:48 pm    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Yasakullahukairal

Are there anybody have more evidence?

Assalamuialaikum
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว เข้าชมเว็บไซต์
ค่อลัฟ
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 27/09/2004
ตอบ: 6


ตอบตอบ: Sun Oct 03, 2004 11:45 am    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

سؤال رقم 49675: هل يصوم يوم النصف من شعبان حتى لو كان الحديث ضعيفاً ؟



اضغط هنا للحصول على نسخة مناسبة للطباعة

السؤال:


هل يجوز بعد العلم بضعف حديث أن نأخذ به ؛ وذلك من باب فضائل الأعمال " إذا كانت ليلة النصف من شعبان فقوموا ليلها وصوموا نهارها " علماً أن الصوم نفلاً في تعبد لله وكذلك قيام الليل .

الجواب:

الحمد لله

أولاً :

ما ورد في فضل الصلاة والصيام والعبادة في النصف من شعبان ليس من قسم الضعيف ، بل هو من قسم الموضوع والباطل ، وهذا لا يحل الأخذ به ولا العمل بمقتضاه لا في فضائل الأعمال ولا في غيرها .

وقد حكم ببطلان الروايات الواردة في ذلك جمعٌ من أهل العلم ، منهم ابن الجوزي في كتابه " الموضوعات " ( 2 / 440 - 445 ) ، وابن قيم الجوزية في " المنار المنيف " رقم 174 – 177 ) ، وأبو شامة الشافعي في " الباعث على إنكار البدع والحوادث " ( 124- 137 ) ، والعراقي في " تخريج إحياء علوم الدين " ( رقم 582) ، وقد نقل شيخُ الإسلام الاتفاق على بطلانها في " مجموع الفتاوى " ( 28 / 138 )

وقال الشيخ ابن باز – رحمه الله - : في " حكم الاحتفال بليلة النصف من شعبان "

إن الاحتفال بليلة النصف من شعبان بالصلاة أو غيرها وتخصيص يومها بالصيام : بدعة منكرة عند أكثر أهل العلم ، وليس له أصل في الشرع المطهر .

وقال – رحمه الله - :

ليلة النصف من شعبان ليس فيها حديث صحيح ، كل الأحاديث الواردة فيها موضوعة وضعيفة لا أصل لها ، وهي ليلة ليس لها خصوصية لا قراءة ولا صلاة خاصة ولا جماعة ، وما قاله بعض العلماء أن لها خصوصية : فهو قول ضعيف ، فلا يجوز أن تُخصَّ بشيءٍ ، هذا هو الصواب ، وبالله التوفيق .

" فتاوى إسلامية " ( 4 / 511 ) .

انظر السؤال رقم ( 8907 )

ثانياً :

وإن سلَّمنا أنها ضعيفة وليست موضوعة : فإن الصحيح من أقوال أهل العلم هو عدم الأخذ بالحديث الضعيف مطلقاً وإن كان في فضائل الأعمال والترغيب والترهيب ، وفي الصحيح ما يغني المسلم عن الأخذ بالضعيف ، ولا يُعرف تخصيص هذه الليلة ونهارها بشيء في الشرع لا عند النبي صلى الله عليه وسلم ولا عند أصحابه .

وقال العلاَّمة أحمد شاكر: لا فرقَ بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حجةَ لأحدٍ إلا بما صحَّ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم من حديث صحيحٍ أو حسنٍ .

" الباعث الحثيث " ( 1 / 278 ) .


ใครรู้ช่วยแปลให้ที โดยเฉพาะคุณมุสลิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
มุสลิม
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/06/2004
ตอบ: 79


ตอบตอบ: Sun Oct 03, 2004 7:58 pm    ชื่อกระทู้: Re: จริงหรือที่นิศฟุชะอฺบานเหมือนคืนทั่วไป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ได้ครับในเมื่อเจาะจงผมมา เอาคร่าวๆนะ(ผมคิดว่าท่านคงรู้ความหมายอยู่แล้วล่ะ)

“คำถาม จะถือศีลอดวันนิศฟุชะอฺบานได้รึเปล่า แม้ว่าฮะดีษจะฎออีฟ?
คำตอบ
อัลฮัมดุลิลลาฮ์
ประการแรก
สิ่งที่มีมาในเรื่องคุณค่าของการละหมาด การถือศีลอด และอิบาดะฮฺในนิศฟุชะอฺบานนั้นไม่ใช่ฎออีฟ แต่อยู่ในประเภทเมาฎัวอฺ ฉะนั้นไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามไม่ว่าในเรื่องคุณค่าการงานหรือเรื่องอื่นๆ

มีผู้รู้จำนวนหนึ่งตัดสินว่ารายงานเหล่านั้นใช้ไม่ได้ เช่น อิบนุลเญาซียฺ อิบนิ กอยยิม อบูชามมะฮฺ อัลอิรอกียฺ ท่าน “ชัยคุลอิสลาม”ได้อ้างอิงว่ามีความเห็นที่ตรงกันว่ามันใช้ไม่ได้

เชค อิบนิ บาซ กล่าวเรื่อง ฮุก่มของการเฉลิมฉลองคืนนิศฟุชะอฺบานว่า
“การฉลองคืนนิศฟุชะอฺบานด้วยการละหมาด หรืออย่างอื่น และการเจาะจงกลางวันนิศฟุชะอฺบานเพื่อถือศีลอดนั้นเป็นบิดอะฮฺที่น่าเกลียดสำหรับผู้รู้ส่วนใหญ่ ไม่มีรากฐานใดๆจากบทบัญญัติอันบริสุทธิ์

ท่านกล่าวอีกว่า “คืนนิศฟุชะอฺบานนั้นไม่มีฮะดีษใดศอเฮียฮฺ ทุกฮะดีษที่มีมาเป็นเมาฎัวอฺ เป็นฎออีฟ เป็นคืนที่ไม่มีความพิเศษใดๆ ไม่มีการอ่านกุรอาน ละหมาดเฉพาะ หรือเป็นญะมาอะฮฺ ส่วนผู้รู้บางท่านที่บอกว่ามันมีความพิเศษอยู่นั้นเป็นทรรศนะที่อ่อน ฉะนั้นไม่อนุญาตให้เจาะจงทำอะไรนี่คือสิ่งที่ถูกต้อง

ประการที่ 2
สมมุติว่าเรายอมรับว่าฮะดีษต่างนั้นฎออีฟไม่ใช่เมาฎัวอฺ ทรรศนะที่ถูกต้องที่สุดของบรรดาผู้รู้คือไม่ให้รับฎออีฟเลย แม้จะเป็นเรื่องคุณค่าการงานก็ตาม สิ่งที่เป็นศอเฮียฮฺนั้นน่าจะเพียงพอที่จะไปเอาฎออีฟ และการเจาะจงคืน และกลางวันวันนั้นด้วยการทำอะไรนั้นไม่เป็นที่เคยรู้จักจากท่านนบี และศอฮาบะฮฺ

ท่านอะฮฺหมัดชากิรกล่าวว่า ไม่มีข้อแตกต่างกันระหว่างเรื่องคุณค่าการงานหรือเรื่องฮุก่มต่างๆในการห้ามเอาสายรายงานที่อ่อน และไม่มีใครอ้างหลักฐานได้นอกจากที่ถูกรายงานมาถูกต้อง หรือฮะซันจากท่านรอซูลเท่านั้น”


ประโยคภาษาไทยต้องแปลกลับเป็นอรับมั้ยครับ? Smile

ถ้าอยากให้ผมวิจารณ์คำฟัตวานี้ก็บอกนะครับ หรือจะคิดเปรียบเทียบเอาเองก็ตามสบายครับ

วัสสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.26 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ