ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 03, 2014 12:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สิฟัตวัจญฮ

Adul Aziz อาจาร ครับ แล้วหาดิส บทนี้ ล่ะครับ

فاذا صليتم فلا تلتفتوافان الله ينصب وجهه لوجه عبده في صلاته مالم يلتفت
เมื่อพวกท่านละหมาด พวกท่านอย่าหัน (ซ้ายหรือขวา) เพราะแท้จริงพระพักของอัลลอฮจะอยู่ตรงหน้าบ่าวของพระองในขณะที่เขาละหมาด ตราบใดที่เขาม่หัน (ซ้ายหรือขวา) ติรมีซี 2790 และอะหมัด16542
,...........................
หาดิส ข้างต้น คำว่า พระพักของอัลลอฮ จำเปนต้องตีความ มั่ยครับ อาจาร


...............
ตอบ

คนที่เข้าใจเกี่ยวกับอัลลอฮมากที่สุด คือ นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ และท่านนบี ย่อมไม่สอนอะไรที่เป็นศาสนา ให้เป็นปริศนา เพื่อให้อุมมะฮของท่านมาตีความ เพราะ การตีความนั้นเป็นการสร้างฟิตนะฮให้แก่ศาสนา เนื่องจากทำให้เข้าใจว่า ท่านนบีไม่อธิบายในสิ่งที่คลุมเครือ และอะกีดะฮอิสลาม ยังคงมีความคลุมเครือ ซึ่งแน่นอนย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง อิบนุคุซัยมะฮ กล่าวว่า

فنحن وجميع علمائنا من أهل الحجاز وتهامة واليمن والعراق والشام ومصر، مذهبنا: أنا نثبت لله ما أثبته الله لنفسه، نقر ذلك بألسنتنا، ونصدق ذلك بقلوبنا، من غير أن نشبه وجه خالقنا بوجه أحد من المخلوقين عز ربنا عن أن يشبه المخلوقين

ดังนั้น เราและบรรดานักวิชาการของพวกเราจากชาวฮิญาซ ,ตะฮามะฮ,เยเมน,อิรัก,ชามและอิยิปต์ มัซฮับของพวกเรา(มัซฮับชาฟิอีย)คือ เรารับรองสิ่งที่อัลลอฮทรงรับรองให้แก่ตัวของพระองค์เอง ,เรายืนยันดังกล่าวด้วยวาจาของพวกเรา และเราเชื่อดังกล่าวด้วยหัวใจของพวกเรา โดยไม่เปรียบเทียบพระพักต์ของพระผู้สร้างของเรา ว่าคล้ายคลึงกับใบหน้าคนหนึ่งคนใด จากบรรดามัคลูค พระผู้อภิบาลของเราทรงบริสุทธิ์จากการคล้ายคลึงกับบรรดามัคลูค
- ดู กิตาบุตเตาฮีด ของอิบนุคุซัยมะฮ เล่ม 1 หน้า 26
………………………………………
- อิบนุคุซัยมะฮ ปราชยุคสะลัฟ มัซฮับชาฟิอีย์ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ฮ.ศ 223-311 ได้ให้การยืนยันและรับรอง
สิฟัตพระพักต์(ใบหน้า)แก่อัลลอฮโดยไม่ตีความ เพราะฉะนั้น อย่าไปถูกหลอกด้วยคนบางกลุ่มที่พยายามตีความสิฟัตอัลลอฮ โดยอ้างเพียงแค่ไม่กินกับปัญญา ตามตรรกของแนวคิดพวกมุอฺตะซิละฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 11, 2014 10:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรณีไม่มีน้ำหรือไม่สามารถใช้น้ำอาบน้ำมัยยิตได้ จะทำอย่างไร

อัสลามูอลัยกุมครับอาจารย์ อยากทราบว่าหากมุสลิมคนหนึ่งเขาได้เสียชีวิตลง เเต่สถานการตอนนั้นไม่น้ำเผือที่จะอาบน้ำญะนาซะห์เราควรจำทำอย่างไรเพือไห้มัยยิดนั้นสะอาดครับ ญะซากัลลอฮุคอยรอนครับ
………………
ก็ให้ทำการตะยัมมุมครับ
อิบนุหัซมิน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

فَإِنْ عُدِمَ الْمَاءُ يُمِّمَ الْمَيِّتُ وَلَا بُدَّ ، لِقَوْلِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { جُعِلَتْ لِي الْأَرْضُ مَسْجِدًا وَطَهُورًا إذَا لَمْ نَجِدْ الْمَاءَ

ดังนั้น หากไม่มีน้ำ มัยยิตก็จะถูกทำการตะยัมมุม และ จำเป็น เพราะรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “ แผ่นดินนี้ถูกกำหนดให้เป็นมัสยิด (สถานที่สุญูดต่ออัลลอฮ)และ สิ่งทำความสะอาด สำรับฉัน เมื่อเราไม่มีน้ำ – ดู อัลมะหัลลา ของอิบนุหัซมิน เล่ม ๓ หน้า ๓๔๕

ฟัตวา
التيمم للميت عند العجز عن الماء:
การตะยัมมัยยิต เมื่อไม่สามารถในการใช้น้ำ
ان عدم الماء يمم الميت، لقوله تعالى: {فإن لم تجدوا ماء فتيمموا}، ولقول رسول الله صلى الله عليه وسلم: ;جعلت لي الأرض مسجدا وطهورا
หากไม่มีมีน้ำ ก็ให้เขาทำการตะยัมมุม มัยยิต เพราะอัลลอฮตะอาลาตรัสว่า (หากพวกเจ้าไม่มีน้ำ ก็จงทำการตะยัมมุม) และเพราะรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แผ่นดิน ถูกกำหนดให้เป็นมัสยิด (สถานที่สุญูด)และสิ่งทำความสะอาดสำหรับฉัน

وكذلك لو كان الجسم بحيث لو غسل لتهرى.
وكذلك المرأة تموت بين الرجال الاجانب عنها، والرجل يموت بين النساء الاجنبيات عنه.
روى أبو داود في مراسيله والبيهقي عن مكحول أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: ;إذا ماتت المرأة مع الرجال، ليس معهم امرأة غيرها، والرجل مع النساء، ليس معهن رجل غيره، فإنهما ييممان ويدفنان، وهما بمنزلة من لم يجد الماء
وييمم المرأة ذو رحم محرم منها بيده، فإن لم يوجد يممها أجنبي بخرقة يلفها على يده.
هذا مذهب أبي حنيفة وأحمد، وعند مالك والشافعي: إن كان بين الرجال ذو رحم محرم منها غسلها، لأنها كالرجل بالنسبة إليه في العورة والخلوة.

และในทำนองเดียวกัน หากปรากฏว่าร่างกายมัยยิตนั้น หากอาบน้ำ มันก็จะเละ(เนื่องจากศพเน่า) และในทำนองกันนั้น ผู้หญิงที่ตาย ในท่ามกลางบรรดาผู้ชายที่เป็นคนนอก(ไม่ใช่ญาติหรือภรรยาของเขา) และผู้ชายที่ตาย ในท่ามกลางบรรดาผู้หญิงที่เป็นคนนอก(ไม่ใช่ญาติหรือสามีของนาง) อบูดาวูดได้รายงานใน มะรอสีล ของเขา และอัลบัยฮะกีย์ จากมะหกูล ว่าแท้จริงนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า “เมือผู้หญิงตาย ในท่ามกลางบรรดคนผู้ชาย โดยที่ไม่มีผู้หญิงอื่นจากนาง อยู่พร้อมกับพวกเขา และผู้ชายเสียชีวิต ในท่ามกลางบรรดาผู้หญิง และไม่มีผู้ชายอื่นจากเขาอยู่พร้อมกับบรรดาพวกนาง ดังนั้น ก็ให้เขาทั้งสองได้รับการทำตะยัมมุมและฝัง และทั้งสองคน(ที่ตาย)นั้น อยู่ในฐานะผู้ที่ไม่มีน้ำ และ ให้ผู้ที่เป็นญาติร่วมสายเลือด ที่ถูกห้ามแต่งงานกับนาง ทำการตะยัมให้แก่ผู้หญิงนั้น ด้วยมือของเขา แล้วถ้าหาก ไม่มีมีญาติ ก็ให้คนนอก(ไม่ใช่ญาติ)ทำการตะยัมมุมให้นาง โดยใช้ผ้าขี้ริวห่อมือของเขา นี้คือ มัซฮับของ อบูหะนีฟะฮ,อะหมัด,มาลิกและชาฟิอี ว่า หากปรากฏว่านะหว่างบรรดาผู้ชายคนนอกนั้น มีผู้ชายที่เป็นญาตร่วมสายเลือดที่เป็นมะอฺรอมของนาง ก็ให้เขาอาบน้ำให้แก่นาง เพราะว่า นางนั้น เหมือนกับผู้ชาย เมื่อเทียบกับเขา ในเรื่องเอาเราะฮและการอยู่ตามลำพังด้วยกัน
http://www.al-eman.com/.../8-%20%D8%A7.../i603&d936881&c&p1

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 11, 2014 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ละหมาดในยามหวาดกลัว


NuRuddeen Al-nurillah
อัสลามุอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮ ครับ

มีคนถามมาว่า เราจะละหมาดเดินได้ไหม หมายถึงเดินด้วยเท้า หากมีอุปสรรค อย่างเช่น มีคนกำลังตามล่าเรา หรืออุปสรรค อื่นๆ

มีฮาดิษที่ท่านนบีนะหมาดบนพาหนะ เเต่กรณี้นี้ไม่มีพาหนะ เราจะทำได้ไหม ?

ตอบ

Question


ความจริง การละหมาดในภาวะหวาดกลัว เกรงศัตรูจะมาทำร้าย ก็มีบทบัญญัติไว้แล้ว


ใน อัล-บ่าก่อเราะฮฺ :239

فَإنْ خِفْتُمْ فَرِجَالاً أَوْ رُكْبَانًا فَإِذَا أَمِنتُمْ فَاذْكُرُواْ اللّهَ كَمَا عَلَّمَكُم مَّا لَمْ تَكُونُواْ تَعْلَمُونَ

ถ้าพวกเจ้ากลัว ก็จงละหมาดพลางเดินหรือขี่ ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ ดังที่พระองค์ได้ทรงสอน

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า

فَرَضَ الله الصَّلاةَ عَلَى لِسَانِ نَبِيِّكُمْ صلى الله عليه وسلم فِي الحَضَرِ أَرْبَـعاً، وَفِي السَّفَرِ رَكْعَتَينِ، وَفِي الخَوْفِ رَكْعَةً

ความว่า “อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้ซึ่งการละหมาดด้วยถ้อยคำที่มาจากนบีของท่านในขณะปรกติไม่ได้เดินทางสี่ร็อกอะฮฺ ในขณะเดินทางสองร็อกอะฮฺ และในขณะหวาดกลัวร็อกอะฮฺเดียว” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 687)

ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร ได้สรุปประเด็นเห็นต่างเกี่ยวกับ การละหมาดหนึ่งเราะฮกะอัตในภาวะหวาดกลัวว่า

وَالصَّوَابُ قَوْلُ مَنْ قَالَ بِجَوَازِ الْاقْتِصَارِ عَلَى رَكْعَةٍ وَاحِدَةٍ في الْخَوْفِ لِصِحَّةِ الْأَحَادِيثِ بِذَلِكَ ، وَاللَّهُ أَعْلَمُ.

และที่ถูกต้อง คือ ทัศนะของผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้จำกัด บนรอกะอัตเดียว ในยามหวาดกลัว เพราะความถูกต้อง(เศาะเฮียะ) ด้วยดังกล่าวนั้น วัลลอฮุอะลัม- ดูฟัตหุลบารีย หะดิษหมายเลข 902 เรื่อง การละหมาดในยามหวาดกลัว

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Feb 15, 2014 11:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Muhammad Fatin
ถ้าว่า คำว่า "ทุกๆบิดอะฮ" ในหะดิษ มีข้อยกเว้นใหม โดยใช้หลักการ อามและคอส ,,,


มีผู้รู้คนหนึ่ง อ้างว่า
ทุกสิ่งที่เป็น อิบาดะห์ ไม่ว่าจะอาม หรือ คอส มันย่อมเป็นอิบาดะห์ จะไปบอกว่า มันไม่ใช่อิบาดะห์นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ส่วนรูปแบบใดๆก็ตามที่อัลเลาะห์และร่อซู้ลไม่ได้กำหนดให้เป็นเรื่องตายตัวไว้ ทั้งในเรื่องของรูปแบบ เวลา และสถานที่ ย่อมไม่เป็นบิดอะห์ หากสิ่งนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมของการเป็นอิบาดะห์ และตราบใดที่ไม่มีตัวคอสอีกตัวมาห้ามไว้ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรเสริญให้กระทำได้ นี่คือ สิ่งที่อุลามาอ์มุรตะบัรทั้งสะลัฟและค่อลัฟเขาเข้าใจกัน ส่วนทัศนะของคนในยุคนี้ที่จิตใจแคบ อีกทั้งไม่มีเครื่องมือในการอิสติมบาต และไม่ถึงขั้นจะวินิจฉัยได้ ย่อมเป็นทัศนะที่ถูกมองข้าม เหมือนดังที่ท่านอีหม่ามนะวะวีย์เคยกล่าวว่า "ทัศนะนี้ ไม่ต้องหันไปมอง" คือ ไร้นำหนักในทางวิชาการนั่นเอง ... วัลลอฮู่อะอ์ลัม.
………..
ชี้แจง
คำพูดข้างต้น เป็นการนั่งเทียนพูด เพราะการอิบาดะฮในอิสลามนั้น เป็นเรื่องศาสนบัญญัติ สิ่งที่เป็นศาสนบัญญัติ และรูปแบบปฏิบัติต้องมาจากคำสั่งและการกำหนดรูปแบบมาจากเจ้าของศาสนาคือ อัลลอฮและศาสนาทูตของพระองค์ คือ มุหัมหมัด ศอ็ลฯ
อย่างที่ท่านอบูชามะฮกล่าว

"ولا ينبغي تخصيص العبادات بأوقات لم يخصصها بها الشرع ، بل يكون جميع أفعال البر مرسلة في جميع الأزمان ليس لبعضها على بعض فضل ، إلا ما فضله الشرع وخصه بنوع من العبادة ، فإن كان ذلك ، اختص بتلك الفضيلة تلك العبادة دون غيرها

ไม่สมควรเจาะจงอิบาดะฮ ด้วยบรรดาเวลา ซึ่ง ศาสนบัญญัติไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้วยมัน แต่ทว่า บรรดาการกระทำความดีทั้งหมด ถูกปล่อยให้อยู่ในบรรดาเวลา โดยที่ส่วนหนึ่งไม่ได้มีความประเสริฐเหนื่ออีกส่วนหนึ่ง เว้นแต่ สิ่งที่ ศาสนบัญญัติได้ระบุความประเสริฐมันและได้เฉพาะเจาะจงมัน ด้วยชนิดอิบาดะฮ เพราะถ้าหากได้ปรากฏดังกล่าวนั้น อิบาดะฮดังกล่าวนั้นก็ได้ถูกเจาะจง ด้วยความประเสริฐดังกล่าว โดยไม่ได้เจาะจงอิบาดะฮอื่นจากมัน- อัลบาอิษ ลิอิงการิลบิดอิ วัลหะวาดิษ หน้า 48).......

อิหม่ามอิบนุดะกีกุลอีด อัชชาฟิอีย์กล่าวว่า

أن الخصوصيات بالوقت أو بالحال والهيئة والفعل المخصوص يحتاج
إلى دليل خاص يقتضي استحبابه بخصوصه

แท้จริงการเจาะจงด้วยเวลาใดๆ หรือ ด้วย โอกาส ,รูปแบบและการกระทำ ที่ถูกเฉพาะเจาะจง นั้น ต้องอาศัยหลักฐานเฉพาะ มาตัดสินการชอบให้กระทำมันด้วยการเจาะจงมัน - อะหกามอิบนุดะกีกุลอีด เล่ม 1119 บาบุเศาลาตุลญะมาอะฮ

หมายถึง การเจาะจงเวลา ,วิธีการ และการกระทำ ที่ศาสนากล่าวไว้กว้างๆนั้นจะต้องมีหลักฐานมายืนยันว่าส่งเสริมหรือสนับสนุนให้กระทำเป็นกรณีเฉพาะ

ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

وَالْأَصْلُ مَشْرُوعِيَّةُ الِاتِّبَاعِ ، وَالْخَصَائِصُ لَا تَثْبُتُ إِلَّا بِدَلِيلٍ

และรากฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกบัญญัตินั้น คือ การปฏิบัติตาม และการจำกัดเฉพะนั้น มันไม่ถูกรับรอง นอกจาก ด้วยหลักฐาน - ดูฟัตหุลบารีย์ เรือง بَابُ خُطْبَةِ الْإِمَامِ فِي الْكُسُوفِ

จากสิ่งที่ผมนำเสนอข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การจำกัดอิบาดะฮที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆนั้น ต้องมีหลักฐานมายืนยัน ไม่ใช่คิดเอาเองตามความเชื่อของตน ศาสนาเป็นของอัลลอฮนะครับ ไม่ใช่ของมนุษย์ที่จะให้มนุษย์คิดอะไรก็ได้ไปปนกับวะหยูของอัลลอฮ


ถ้าว่า คำว่า "ทุกๆบิดอะฮ" ในหะดิษ มีข้อยกเว้นใหม โดยใช้หลักการ อามและคอส
….
ตอบ
ท่กบิดอะฮในเรื่องศาสนา เป็นสิ่งต้องห้าม ไม่มีข้อยกเว้น
ท่านนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า
وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأمُوْرِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ "
رَوَاهُ أَبُوْ دَاودَ وَالتِّرْمِذِيُّ وَقَالَ : حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ
เพราะทุกๆ อุตริกรรม(บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด และทุกๆ ของความหลงผิดนั้นอยู่ในไฟนรก” หะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์ และท่านกล่าวว่า หะดีษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้หฺ
.......
อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ กล่าวว่า
أَنَّ ذَمَّ الْبِدَعِ وَالْمُحْدَثَاتِ عَامٌّ لَا يَخُصُّ مُحْدَثَةً دُونَ غَيْرِهَا

แท้จริง การตำหนิบิดอะฮและบรรดาสิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่นั้น เป็นความหมายโดยรวม(อาม) ไม่มีสิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ใดๆอื่นจากมัน มาจำกัดเจาะจง (หมายถึงมาเป็นข้อยกเว้น)
แล้วท่านได้กล่าวว่าอีกว่า
أَنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ ، وَأَنَّ كُلَّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَةٌ . . . . وَمَا كَانَ نَحْوَ ذَلِكَ مِنَ الْعِبَارَاتِ الدَّالَّةِ عَلَى أَنَّ الْبِدَعَ مَذْمُومَةٌ ، وَلَمْ يَأْتِ فِي آيَةٍ وَلَا حَدِيثٍ تَقْيِيدٌ وَلَا تَخْصِيصٌ وَلَا مَا يُفْهَمُ مِنْهُ خِلَافُ ظَاهِرِ الْكُلِّيَّةِ فِيهَا; فَدَلَّ ذَلِكَ دَلَالَةً وَاضِحَةً عَلَى أَنَّهَا عَلَى عُمُومِهَا وَإِطْلَاقِهَا .
คำว่า “แท้จริงทุกบิดอะฮ คือ การหลงผิด และแท้จริงทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ....และ สิ่งที่ปรากฏในทำนองดังกล่าวจากบรรดาข้อความ ที่แสดงบอกว่า แท้จริงบิดอะฮนั้น ถูกตำหนิ และไม่มี ในอายะฮใดๆ ไม่มีในหะดิษใดๆ มาจำกัดและมาเจาะจง(เป็นข้อยกเว้น) และไม่มี สิ่งใดที่ถูกทำให้เข้าใจจากมัน แตกต่างจากความหมายที่ปรากฏของคำว่าทั้งหมด ในมัน ดังนั้น ดังกล่าวเป็นหลักฐานอันชัดเจนที่แสดงบอก ว่าแท้จริงมัน อยู่บนความหมายโดยรวมและโดยกว้างๆ โดยไม่จำกัดของมัน – ดูอัลเอียะติซอม เล่ม 1 หน้า 188
........
จากคำอธิบายข้างต้น แสดงว่า คำว่า “ทุกบิดอะฮเป็นการหลงผิดนั้น ไม่มีข้อยกเว้น เพราะไม่มีอายะฮใดๆ ,หะดิษใดๆ มายืนยันและ ความหมายคำว่า “กุลลุ” ไม่มีความหมายอื่นๆจากนั้น

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Feb 16, 2014 8:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษที่มักจะถูกนำมาอ้างเป็นหลักฐานในการดะอวะฮ

พี่น้องคนหนึ่งกล่าวว่า

ลองทำความเข้าใจฮาดีซบทหนึ่ง...สรุปว่า หลังจากกลับมาจากสงคราม ศอฮาบะห์ท่านหนึ่งได้ถามท่านรอซูล(ศ) ว่า จากสงครามครั้งนี้ จะสงมีครามที่หนักหนากว่าอีกมั้ย?......ท่านรอซูล(ศ) ตอบว่า มี สงครามอะไรหรือ ยารอซูล(ศ)
ท่านรอซูล(ศ) ตอบว่า....คือสงครามนัฟซู และมันจะอยู่อุมมะห์จนถึงวันกียามัต ส่วนหนึ่งเราออกเพื่อทำสงครามคับ (สงครามนัฟซู)
....................

ชี้แจง

นี่แหละครับ ผลของการไม่ศึกษาหะดิษแล้วอ้างหะดิษ แล้วไประบุว่า นบี ศอ็ลฯกล่าวไว้ ความจริงหะดิษข้างต้นเป็นหะดิษเฎาะอีฟครับ

عن جابر رضي الله عنه قال : قدم على رسول الله صلى الله عليه وسلم قوم غزاة ، فقال صلى الله عليه وسلم " قدمتم خير مقدم من الجهاد الأصغر إلى الجهاد الأكبر . قالوا : وما الجهاد الأكبر ؟ قال : مجاهدة العبد هواه

รายงานจากญาบีร กล่าวว่า “ มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่ออกทำสงคราม ได้มายังรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ แล้วรซูลุลลฮ อะลัยฮิสสลามกล่าวว่า พวกท่านได้มา เป็นการมาที่ดี จากการญิฮาดเล็ก มาสู่การญิฮาดใหญ่ มีผู้กล่าวว่า การญิฮาดใหญ่คืออะไรหรือ ? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “คือการญิฮาดของบ่าวต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา
มาดูคำวิจารณ์หะดิษ

رواه الخطيب في تاريخ بغداد (13/523) والبيهقي في كتاب الزهد الكبير (2/165) برقم (373) وقال: وهذا إسناد فيه ضعف

รายงานโดย อัลเคาะฏีบ ในตาริค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 523 และ อัลบัยฮะกีย์ ใน กิตาบ อัซซุออัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 165 หะดิษหมายเลข 373 และเขากล่าวว่า หะดิษนี้ สายรายงานในมัน เฎาะอีฟ
อิบนุ เราะญับ ได้ระบุ ใน ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม เล่มที่ 1 หน้า 236-237 ว่า

ويروى هذا مرفوعاً من حديث جابر بإسناد ضعيف

หะดิษนี้ถูกรายงาน โดยอ้างถึงนบี (หะดิษมัรฟัวะ) จากญาบีร ด้วยสายรายงานที่เฎาะอีฟ

…………

พี่น้องดาอีย์คนหนึ่งแย้งว่า

นี่คือวาทะกรรมประจำตัวหรือเปล่าว่าดออิฟแล้วที่นบีบอกฃอฮาบัตบันลีฆูอันนีว่าเลาอายะห์ ว่าฮัตดีฃูอันบนีอิสรออีลดออีฟอีกเปล่าไม่ใช่เรียนไม่ถึงหาไม่เจอไม่เหมือนของตัวก็เหมาฮาดีษใส่เข่งอีก
………………
ชี้แจง

คุณอย่าเอาหะดิษแค่ท่อนเดียวซิครับ มาดูหะดิษเต็มๆ

عن عبد الله بن عمرو بن العاص رضي الله عنهما : أنَّ النبيَّ - صلى الله عليه وسلم - ، قَالَ : بَلِّغُوا عَنِّي وَلَوْ آيَةً ، وَحَدِّثُوا عَنْ بَنِي إسْرَائِيلَ وَلاَ حَرَجَ، وَمَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّداً فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ . رواه البخاري
รายงานจากอับดุลลอฮ บิน อัมริน บิน อัลอาศ(ร.ฎ) กล่าวว่า แท้จริงนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า พวกท่านจงเผยแพร่จากฉันแม้จะอายะฮหนึ่งก็ตาม และพวกท่านจงรายงานเรื่องราวจากบนีอิสรออีล และไม่เป็นบาป และผู้ใดก็ตามกุเรื่องเท็จให้แก่ฉัน เขาจงเตรียมที่อยู่ของเขาจาก นรก – รายงานโดย บุคอรี

คุณ ..... ครับ

ข้างบนก็คือ วาทกรรมครับ เป็นวาทะกรรมของท่านนบี ที่สอนให้นำอัลกุรอ่านมาเผยแพร่ และห้ามกุเรื่องเท็จ มาเผยแพร่ การอ้างหะดิษว่า นบี ศอ็ลฯพูด ต้องตรวจสอบหะดิษ ไม่ใช่สักแต่จะอ้างอย่างเดียว เพราะถ้าเรื่องนั้น นบีไม่ได้พูดจริง เท่ากับการโกหกให้แก่ท่านนบี ศอ็ลฯ ส่วนการอนุญาตให้เล่าเรื่องราวจากชาวยิวนั้น หมายถึง เรื่องที่ดี ไม่ใช่เรื่องเท็จ แต่เป็นเรื่องราวของพวกเขาที่ระบุในอัลกุรอ่านและหะดิษ
อัลหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

وَقَالَ مَالِكٌ الْمُرَادُ جَوَازُ التَّحَدُّثِ عَنْهُمْ بِمَا كَانَ مِنْ أَمْرٍ حَسَنٍ ، أَمَّا مَا عُلِمَ كَذِبُهُ فَلَا . وَقِيلَ الْمَعْنَى حَدِّثُوا عَنْهُمْ بِمِثْلِ مَا وَرَدَ فِي الْقُرْآنِ وَالْحَدِيثِ الصَّحِيحِ

และมาลิก กล่าวว่า “ ความมุ่งหมายของการอนุญาตให้รายงานเรื่องราวจากพวกเขา(หมายถึงเรื่องราวของชาวยิว)นั้นด้วยสิ่งที่เป็นเรื่องดีๆ สำหรับ สิ่งที่ได้รู้ว่ามันเป็นเท็จก็ไม่อนุญาตให้เล่า และ มีผู้กล่าวว่า ความหมายคำว่า “พวกท่านจงรายงานเรื่องราวจากพวกเขา ที่เหมือนกับสิ่งที่ปราฏในอัลกุรอ่านและหะดิษที่เศาะเฮียะ – ดูฟัตหุลบารีย์ เรื่อง การระบุเรื่องราวจากบนีอิสรอิล หะดิษหมายเลข 3274
......
เพราะฉะนั้น คุณ ........ ควรจะนำมาคิด และพึงระวังในสิ่งที่นำไปสอนคนอื่น ไม่ใช่เมื่อมีคนเตือน แล้วออกอาการไม่พอใจ และดูหมิ่นว่า คนอื่นไม่มีความรู้เหมือนตัวเอง นั้นไม่ใช่สิฟัตเศาะหาบะฮไม่ใช่หรือท่าน

ผมชอบคำสรุปของท่านหาฟิซ อิบนุหะญัร จากหะดิษที่ คุณ .........มาก
ท่านสรุปว่า

وَالدِّينُ بِحَمْدِ اللَّهِ كَامِلٌ غَيْرُ مُحْتَاجٍ إِلَى تَقْوِيَتِهِ بِالْكَذِبِ

และศาสนานี้ อัลหัมดุลิลละฮ สมบูรณ์แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา การสร้างความเข้มแข็งแก่มันด้วยการพูดเท็จ
- ดูฟัตหุลบารีย์ เรื่อง การระบุเรื่องราวจากบนีอิสรอิล หะดิษหมายเลข 3274

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 18, 2014 6:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


คำพูดอิหม่ามเอาซาอีที่ถูกนำไปบิดเบือนส่งเสริมบิดอะฮ

คุณ คณคณครูท่านหนึ่ง อ้างว่า
ท่านอีหม่ามเอาซาอีย์(รฮ.) เสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 157 ท่านได้กล่าวว่า

إذا ظهرت البدع ، فلم ينكرها أهل العلم ، صارت سنة

ความว่า "เมื่อได้มีสิ่งไหม่เกิดขึ้น(หมายถึงสิ่งไหม่ที่มีที่มาทางบทบัญญัติ) และบรรดาผู้รู้มิได้ปฎิเสธมัน สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นซุนนะห์" (หนังสือ มะวาอิส อัลอีหม่าม อัลเอาซาอีย์ โดย ซอและห์ อะห์หมัด อัชชามีย์)
นี่คือ ความเข้าใจในหลักวิชาการจากบรรดาผู้นำในยุคสลัฟและค่อลัฟที่โลกอิสลามให้การยอมรับ ซึ่งถือว่า เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ... ไว้พบกันไหม่ ในตอนต่อไปครับ
...................

ชี้แจง

ดู ซิครับ คุณครูอ้างว่า ถ้า เมื่อบิดอะฮ ได้ปรากฏ แล้วไม่มีบรรดาผู้รู้คนใหนค้าน สิ่งนั้น กลายเป็นสุนนะฮได้
เป็นความเข้าใจที่งี่เง้าและบิดเบือนคำพูดของอิหม่ามเอาซาอีย์ ความจริงท่านหมายถึง หากปรากฏการทำบิดอะฮ แล้วบรรดาผู้มีความรู้ไม่คัดค้าน สิ่งที่เป็นบิดอะฮนั้น ก็จะกลายเป็นสุนนะฮ คนจะนำไปปฏิบัติกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นสุนนะฮ นี่คือสิ่งที่อันตราย ท่านต้องการเตือนบรรดาผู้รู้ว่า ถ้ามีบิดอะฮเกิดขึ้น บรรดาผู้รู้ไม่ต่อต้าน บิดอะฮอะฮนั้น คนก็จะเข้าใจว่าเป็นสุนนะฮ มันก็จะอันตราย ไม่ใช่ เมื่อมีบิดอะฮ ถ้าผู้รู้ไม่คัดค้าน บิดอะฮนั้นกลายเป็นสุนนะฮที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติตามที่คุณครู อ้าง และบิดเบือนความมุ่งหมายของคำพูดอิหม่ามเอาซาอีย์
อิหม่ามเอาซาอีย์ ท่านเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้ยึดมั่นตามสุนนะฮ

أَخْبَرَنَا الْحَسَنُ بْنُ عُثْمَانَ ، قَالَ : أَخْبَرَنَا أَحْمَدُ بْنُ حَمْدَانَ ، قَالَ : حَدَّثَنَا بِشْرُ بْنُ مُوسَى ، قَالَ : حَدَّثَنَا مُعَاوِيَةُ بْنُ عَمْرٍو ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَبُو إِسْحَاقَ ، قَالَ : سَأَلْتُ الْأَوْزَاعِيَّ فَقَالَ : " اصْبِرْ نَفْسَكَ عَلَى السُّنَّةِ ، وَقِفْ حَيْثُ وَقَفَ الْقَوْمُ ، وَقُلْ بِمَا قَالُوا ، وَكُفَّ عَمَّا كَفُّوا ، وَاسْلُكْ سَبِيلَ سَلَفِكَ الصَّالِحِ ، فَإِنَّهُ يَسَعُكَ مَا وَسِعَهُمْ

อบูอิสหากกล่าวว่า ฉันถามอัลเอาซาอีย์ แล้วเขากล่าวว่า ท่านจงอดตนตัวของท่านบนอัสสุนนะฮ และจงหยุดอยู่ ตามที่กลุมชนนั้น(หมายถึงเหล่าเศาะหาบะฮ)หยุดอยู่ และจงพูด(หมายถึงปฏิบัติ)ตามที่พวกเขาพูด(หมายถึงตามที่พวกเขาปฏิบัติ) และจงยับยั้งจากสิ่งที่พวกเขายับยั้ง และจงดำเนินตาม บรรพชนผู้ทรงธรรมยุคก่อนจากท่าน เพราะแท้จริง สิ่งที่เป็นทางออกแก่พวกเขา มันจะเป็นทางออกให้แก่ท่าน – ดู ชัรอุศูลิดสุนนะฮ ของ อัฏฏฮ็บรีย์ เล่ม 1 หน้า 174 เรืองอะกีดะฮของอิหม่ามอัลเอาซาอีย์

อัลอับบาส บิน วะลิด บิน มัซยัด กล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าได้บอกว่า ท่านได้ยินอิหม่ามอัลเอาซาอีย์กล่าวว่า

عَلَيْكَ بِآثَارِ مَنْ سَلَفَ وَإِنْ رَفَضَكَ النَّاسُ ، وَإِيَّاكَ وَآثَارَ الرِّجَالِ وَإِنْ زَخْرَفُوا لَكَ الْقَوْلَ

ท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามร่องรอย(หมายถึงคำพูด)ผู้ที่อยู่ก่อนหน้า (หมายถึงชาวสะลัฟ)และแม้บรรดาผู้คนจะปฏิเสธท่านก็ตาม และท่านจงระวังบรรดาร่องรอย(หมายถึงบรรดาคำพูด)ของบรรดาผู้คนและแม้พวกเขาจะเสริมแต่งคำพูดให้ท่านเห็นว่าดีก็ตาม – ดู ญิมิอุลบะยาน วัลอิลมิ ของอับดุลบัร หะดิษหมายเลข 1277 และ ในอีกสำนวนหนึ่งกล่าวว่า

وإيّاك وآراء الرجال وإن زخرفوها لك بالقول؛

และท่านจงระวังบรรดาความเห็นของบรรดาผู้คนและแม้พวกเขาจะเสริมแต่งมันด้วยคำพูดให้ท่านเห็นว่าดีก็ตาม
ดูเพิ่มเติมจากตำราต่อไปนี้
، الشريعة للآجري (124) ، سير أعلام النبلاء (7/120) ، طبقات الحنابلة (1/236)]

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 25, 2014 11:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


Adul Aziz อาจาร ครับ อยากให้อาจารช้วย วิเคราะคำกล่าวนี้ หน่อย น่ะครับ ผมเหนมีทั้ง ชีอะอิมามียะ อัชอารียะฮ ชอบยกมาจริงๆ ว่าพระเจ้าของวาฮาบี มีลักษณะอย่างนี้

وأما حديث: رأيت ربي في صورة شاب موقر، جعد قطط، عليه نعلان، رجلاه في خضرة فهو حديث ثابت

"สำหรับฮะดีษที่ว่า : ฉันเห็นผู้อภิบาลของฉันในรูปของชายหนุ่มผมดก หยิกหยักศก มีสองรองเท้า และสองเท้าพระองค์อยู่ในสรวงสวรรค์ที่เขียวชอุ่ม. เป็นฮะดีษที่ซอฮิห์" (ตามทัศนะของวะฮาบีย์) ครับ


...........................

ตอบ

หะดิษข้างต้น มักจะอ้างเพื่อใส่ร้ายอิบนุตัยมียะฮ โดยไม่นำคำชี้แจงของอิบนุตัยมียะฮเกี่ยวหะดิษนี้มาลง หรือจะเรียกว่าเป็นการตัดตอนข้อความ เพื่อฟิตนะฮอิบนุตัยมียะฮ อินชาอัลลอฮ ผมจะชี้แจงต่อไป

อะชาอีเราะฮที่ใช้นามแฝงว่า นายเรเยส rayes.ได้โพสต์โจมตีในเว็บมุสลิมไทยโพสต์ว่า
(พระเจ้าของวะฮาบีย์เป็นชายหนุ่มรูปงาม ผมดก ซุบฮานัลเลาะฮ์!
244868 - رأيت ربي في صورة شاب أمرد له وفرة جعد قطط في روضة خضراء
الراوي: عبدالله بن عباس المحدث: ابن تيمية - المصدر: تلبيس الجهمية - الصفحة أو الرقم: 7/290خلاصة الدرجة: صحيح
หนังสือ ตัลบีส อัลญะฮ์มียะฮ์ เป็นตำราที่วะฮาบีพิมพ์เผยแพร่ในโลกอิสลาม ซึ่งระบุว่า "พระเจ้าของพวกเขา(วะฮาบี)นั้น เป็นรูปชายหนุ่มรูปงาม ผมดก หยักศก อยู่ในสวนสีเขียวชอุ่ม"
……………….
ขอชีแจงว่า
อิบนุตัยมียะฮได้ระบุว่าหะดิษนี้มีหลายสำนวนเช่น ที่รายงานจากอิกริมะฮ จากอิบนุอับบาส

رأيت ربي جعداً أمرد عليه حلة خضراء

ฉันเห็นพระผู้อภิบาลของฉัน (ชายหนุ่ม)ผมหยิกเป็นลอน ไม่มีหนวด ส่วมเสื้อคลุมสีเขียว
ท่านอิบนุตัยมียะฮได้สรุปว่า

وكلها (يعني روايات الحديث) فيها ما يبين أن ذلك كان في المنام

และทั้งหมดนั้น (หมายถึงบรรดาการรายงานของหะดิษ) ในมัน คือสิ่งที่อธิบายดังกล่าวว่าแท้จริง มันปรากฏในความฝัน - ดู บะยานตัลบิส อัลญะมียะฮ เล่ม 7 หน้า 229
อิหม่ามอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า

وهذه الرؤية رؤيا منام إن صحت".

และการเห็นนี้ เป็นการเห็นในฝัน หากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ – ดูมีซาลอัลเอียะติดาล เล่ม 1 หน้า 594
อิหม่ามอัสสะยูฏีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์กล่าวว่า

وهذا الحديث إن حُمل على رؤية المنام فلا إشكال)

และหะดิษนี้ หากถูกถือว่าอยู่บนการเห็นในฝัน ก็ไม่มีการสงสัยใดๆ – ดู อัลลาลิอุลมัศนูอะฮ เล่ม 1 หน้า 34

อิหม่ามอัดดาริมีย์ กล่าวในการอธิบายหะดิษที่ว่า

أتاني ربي في أحسن صورة

พระผู้อภิบาลของฉัน ได้มาหาฉันในรูปอันสวยงามยิ่ง
โดยท่านอธิบายว่า

وإنما هذه الرؤية كانت في المنام، وفي المنام يمكن رؤية الله تعالى على كل حال وفي كل صورة
.
และความจริง การเห็นนี้ มันปรากฏในความฝัน และในความฝันนั้น การฝันเห็นอัลลอฮนั้นย่อมเป็นไปได้ บนทุกๆสภาพการณ์และในทุกๆรูปร่าง – ดู อัลนักฎุ อะลัลมะรีสีย์ เล่ม 2 หน้า 738

อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وَكُلُّ مَنْ قَالَ مِنْ الْعِبَادِ الْمُتَقَدِّمِينَ أَوْ الْمُتَأَخِّرِينَ أَنَّهُ رَأَى رَبَّهُ بِعَيْنَيْ رَأْسِهِ فَهُوَ غالط فِي ذَلِكَ بِإِجْمَاعِ أَهْلِ الْعِلْمِ وَالْإِيمَانِ

และ ทุกคนจากบรรดาบ่าวของอัลลอฮยุคก่อนและยุคหลัง ที่กล่าวว่า เขาเห็นพระเจ้าของเขาด้วยตาหัว(หมายถึงด้วยตาจริงๆ)นั้น เขาคือผู้ที่เข้าใจผิดพลาดในเรื่องดังกล่าว ตามทัศนะของนักวิชาการและผู้ศรัทธา – อัลฟะตาวา เล่ม 3 หน้า 390
......
เพราะฉะนั้น นักวิชาการที่มีทัศนะเหมือนกับอิบนุตัยมียะฮหลายๆคน รวมถึงอิหม่ามสะยูฏีย์ด้วย คงถูกหางเลข
จากผู้ก่อฟิตนะฮข้างต้นเช่นกัน เป็นวะฮบีย์กันหมดละคราวนี้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Mar 09, 2014 11:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมาตากุม คือ อะไร

พอดีเห็นพี่น้องเรา ที่ใช้นามแฝงว่า แอบา อาแบ ท้าให้คณะใหม่วะฮบี แปลหะดิษ 2 บท โดยเขากล่าวว่า
ลักกินูเมาตากุ้ม ลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ กับ อิซาว่าเดาะตุ้มเมาตากุ้มฟิ้ลกุบูรี่ ฟ้ากูลู บิสมิ้ลลาฮิว่าอะลามิ้ลละตี้ร่อซูลิ้ลลาฮี่ อยากให้วะฮาบีคณะไหมช่วยแปลฮาดีษทั้ง2ต้นนี้หน่อยคับ
…………
เมื่อพี่น้องเราขอให้แปล ก็ขอแปล และชี้แจงไปด้วย เพื่อจะเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน
หะดิษที่หนึ่ง คือ
ท่านอบู สะอีด อัลคุดรียฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า

;لَقِّنُوا مَوْتَاكُم لا إله إلا الله [أخرجه مسلم]

“พวกท่านจงพูดให้คนใกล้ตายอ่านตาม (ว่า) ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ”

قَالَ النَّوَوِيُّ فِي شَرْحِ مُسْلِمٍ : مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ ذَكِّرُوهُ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ لِيَكُونَ آخِرَ كَلَامِهِ كَمَا فِي الْحَدِيثِ : " مَنْ كَانَ آخِرُ كَلَامِهِ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ دَخَلَ الْجَنَّةَ

อิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวใน ชัรหุมุสลิมว่า ความหมายของมันคือ ผู้ที่ความตายได้มาถึงเขา (หมายถึงผู้ที่ใกล้จะตาย) ให้พวกเขาเตือนให้เขา กล่าวคำว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ “ เพื่อให้มันเป็น คำพูดสุดท้ายของเขา ดังที่ด้ระบุในหะดิษว่า

«مَن كَانَ آخِر كَلَامِهِ لا إله إلا الله دَخَلَ الجَنَّة]

“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ เขาจะได้เข้าสวรรค์” – ดู ตุหฟะตุลอะฮวะซีย์ ชัรหุ ญาเมียะอัตติรมิซีย์ กิตาบุลญะนาอิซ เรื่อง การสอนผู้ป่วย ในขณะที่ใกล้จะตาย หะดิษหมายเลข 975
..........
มันเป็นน่าขันที่ผู้ถาม ต้องการจะนำ เรื่อง คำว่า “เมาตากุม” ไปโยงเรื่องอะกีดะฮดะฮ เพื่อจะถามว่า “ทำไม่คำว่า “เมาตากุม” ตีความได้
แต่ อายะฮเกี่ยวกับสิฟาตหรือคุณลักษณะอัลลอฮ วาฮาบีย์ห้ามไม่ให้ตีความ......นะอูซุบิลละฮ คำว่า”เมาตากุม” ในหะดิษข้างต้น ไม่ใช่การตีความ เพราะมีหะดิษอีกบทได้อธิบายเหตุผลไว้แล้ว ดังที่อิหม่ามนะวาวีย์อธิบาย ..... คนถามไม่รู้เรื่องแล้วมาถามแบบมั่วนิ่มอีกต่างหาก

ส่วนหะดิษที่สอง คือ

إذَا وَضَعْتُمْ مَوْتَاكُمْ فِى القَبْرِ فَقُوْلُوا بِسْمِ اللهِ وَعَلى مِلَّةِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ

“เมื่อพวกเจ้าได้วางศพของพวกเจ้าลงในหลุมศพ ก็จงกล่าวว่า บิสมิลลาฮิ ว่าอะลามิ้ลละติร่อซูลิ้ลลาฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” คัดลอกตัวบทจากมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 4581 และ 4748
.............

หะดิษข้างต้น หากผู้ถามมีความเข้าใจหะดิษ ก็คงไม่ท้าให้วะฮบีย์แปลแน่นอน เพราะ คำว่า “เมาตากุม” ณ ที่นี้ คือผู้ที่ถูกวางในหลุม มันจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ผู้ที่ตายแล้ว จะไปตีความ (ตะอวีล)ว่า คนที่ใกล้จะตาย ไม่ได้หรอกครับ ท่าน แอบ้า อาแบ เพราะคนที่ใกล้จะตาย คงไม่มีใครนำไปฝังหรอกครับ
จึงสรุปว่า “ ไม่ว่าคำว่า เมาตากุม” ในหะดิษบทแรก กับ คำว่า “เมาตากุม” ในหะดิษที่สอง ก็ไม่จุดใหนต้องตีความ เพราะมันมีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น อย่าเอาเรื่องนี้ ไปอ้างการตีความสิฟาตอัลลอฮ ให้เสียเวลาเลยครับ ท่าน แอบา อาแบ
والله أعلم

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 10, 2014 12:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่อง สัมผัส ที่หก


NuRuddeen Al-nurillah
อยากจะถามว่า เรื่อง สัมผัส ที่หก มองเห็นสิ่งที่คนธรรมดามองไม่เห็น หรือ มีคุณสมบัติพิเศษ เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับ ในอิสลาม มีความเชื่ออย่างไรครับ มีจริงไหม ?เรื่องพวกนี้ ? หมายถึงคนที่มีสัมผัสที่หก ?

..................

ตอบ


สัมผัสที่ 6 (six sense)
หลายๆคน คงจะรุ้จัก คำว่า สัมผัสทั้ง 5 ของคนเราแล้วใช่ไหมครับ
การได้เห็น
การได้ยิน
การได้กลิ่น
การได้ลิ้มรส
การได้สัมผัส
ซึ่ง สัมผัสทั้งห้าที่ ได้กล่าวไปข้างตนนั้น คนปกติทั่วไปก็ คงจะมีครบทุกคน
ส่วนสัมผัสที่ 6 (six sense) นั้น คือ การรับรู้สิ่งต่างๆ ที่มีนอกเหนือจาก สัมผัสทั้ง 5 ของเรา เช่น การรับรู้ด้วยพลังจิต ตามความเชื่อในบางศาสนาหรือบางคน
จะอย่างไรก็ตาม ในหลักความเชื่อของอิสลามนั้น ไม่มีมัคลูคใด รู้สิ่งที่พ้นญานวิสัย หรือ สิ่งที่นอกเหนื่อจากการใช้ สัมผัสทั้ง 5 (five sense) นอกจากอัลลอฮ มนุษย์ คนใดก็ตามสามารถรู้บางเรื่องที่คนธรรมดาทั่วไปไม่รู้ ก็เกิดได้ด้วยการบอกให้รู้จากอัลลอฮ เช่น บรรดาศาสดา เป็นต้น
อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า

قُل لَّا يَعْلَمُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ الْغَيْبَ إِلَّا الله وَمَا يَشْعُرُونَ أَيَّانَ يُبْعَثُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัยนอกจากอัลลอฮฺ และพวกเขาจะไม่รู้ว่าเมื่อใดพวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพ” (อัลนัมลุ 65 )


NuRuddeen Al-nurillah ถ้าสัมผัส ที่หก หมายถึง การเห็น ญิน หรือสำผัส กับมันได้ เเบบนี้ มีมั้ยครับ

………….

ญิน เป็นมัคลูคที่ถูกสร้างจากไฟ ลักษณะที่แท้จริงเป็นอย่างไรเราไม่รู้และพวกเขาเป็นมัคลูคที่อำพรางตัวได้และไม่สามารถมองเห็นพวกเขาในรูปร่างที่แจริงได้ แต่พวกเขา สามารถแปลงกายให้มนุษย์เห็นได้ เพราะฉะนั้นถ้าญิน แปลงกายให้เห็นก็เป็นปกติธรรมดาไม่ใช่เกิดจากสัมผัสที่ 6 แต่อย่างใด
อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า

إِنَّهُ يَرَاكُمْ هُوَ وَقَبِيلُهُ مِنْ حَيْثُ لَا تَرَوْنَهُمْ إِنَّا جَعَلْنَا الشَّيَاطِينَ أَوْلِيَاءَ لِلَّذِينَ لَا يُؤْمِنُونَ

แท้จริงทั้งมัน (หมายถึงญิน)และเผ่าพันธุ์ของมันมองเห็นพวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าไม่เห็นพวกมัน แท้จริงเราได้ให้บรรดาชัยฏอนเป็นเพื่อนกับบรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธา
เช็ครอชีดริฎอ กล่าวว่า

فإذا تمثل الملك أو الجان في صورة كثيفة كصورة البشر أو غيرهم ، أمكن للبشر أن يروه ، ولكنهم لا يرونه على صورته وخلقته الأصلية بحسب العادة

ดังนั้นเมื่อมลาอิกะฮ หรือบรรดาญิน แปลงกาย ในรูปร่างที่หนา (หมายถึงไม่โปร่งใส) เช่น (แปลงกาย)ในรูปของมนุษย์ หรืออื่นจากพวกเขา
ก็เป็นไปได้ที่มนุษย์จะมองเห็นพวกเขา แต่พวกเขา(มนุษย์) ไม่สามารถจะเห็นมันบนรูปร่างของเขา และ(ไม่สามารถเห็น)แบบการสร้างเดิมๆของเขาตามธรรมชาติ ได้ - ดู ตัฟสีรอันมะนัร เล่ม 7 หน้า 525
หมายความว่าเป็นไปได้ที่มนุษย์จะเห็นญินในรูปร่างที่พวกเขาแปลงกาย ส่วนรูปร่างเดิมตามธรรมชาติของเขา มนุษย์ไม่สามารถมองเห็น ได้

ในสมัยนบีมุฮัมมัด ญินกลุ่มหนึ่งได้ยินท่านอ่านคัมภีร์กุรอานและเกิดความศรัทธา ญินกลุ่มนั้นจึงได้จดจำและนำถ้อยคำจากคัมภีร์กุรอานไปเผยแผ่ในหมู่ญินด้วยกัน ญินชั่วจะถูกเรียกว่า “ชัยฏอน” หรือ “ซาตาน” ชัยฏอนจะทำหน้าที่ล่อลวงมนุษย์ให้หลงผิดไปกราบไหว้บูชา วิงวอนบนบานหรืออธิษฐานต่อวัตถุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมาแทนที่จะเคารพสักการะพระเจ้าและวิงวอนต่อพระองค์


ญินสามารถปรากฏกายในรูปของมนุษย์และสัตว์ได้ นอกจากนี้แล้วมันยังสามารถเข้าสิงหรือครอบงำมนุษย์ให้ทำสิ่งที่มนุษย์ปรกติไม่สามารถทำได้อีกด้วย
และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า :
إِنَّ الشَّيْطَانَ يَجْرِىْ مِنِ ابْنِ آدَمَ مَجْرى الدَّمِ
“แท้จริงชัยฏอนจะวิ่งอยู่ตามเส้นเลือดจากลูกหลานอาดัม”
(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ 4/282 มุสลิม 14/155)
และในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
إِنَّ الشَّيْطَانَ يَبْلُغُ مِنِ ابْنِ آدَمَ مَبْلَغَ الدَّمِ
“แท้จริงชัยฏอนจะไปถึงที่สุดของเลือดจากลูกหลานอาดัม”
(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ 4/278 , มุสลิม 14/157)

อัลหาฟีซ อิบนุหะญัร (ร.ฮ) กล่าวว่า
الشيطان - قد يتصور ببعض الصور فتمكن رؤيته ، وأن قوله تعالى ( إِنَّهُ يَرَاكُمْ هُوَ وَقَبِيلُهُ مِنْ حَيْثُ لا تَرَوْنَهُمْ ) مخصوص بما إذا كان على صورته التي خُلق عليها .
ชัยฏอน นั้นแท้จริงมันได้แปลงรูป ด้วยบางส่วนของรูปร่าง ก็สามารถที่จะเห็นมัน และแท้จริงอัลลอฮตะอาลาตรัสว่า
إِنَّهُ يَرَاكُمْ هُوَ وَقَبِيلُهُ مِنْ حَيْثُ لَا تَرَوْنَهُمْ َ
แท้จริงทั้งมัน (หมายถึงญิน)และเผ่าพันธุ์ของมันมองเห็นพวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าไม่เห็นพวกมัน
คือสิ่งที่ถูกเจาะจง ด้วยสิ่ง เมื่อมันปรากฏบนรูปร่างของมันที่ถูกสร้างบนมัน – ดูฟัตหุลบารี เล่ม 4 หน้า 489
............
คือ รูปร่างที่มันแปลงกายสามารถเห็นได้แต่รูปร่างเดิมๆตามธรรมชาติการสร้างของมัน ไม่สามารถเห็นได้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 10, 2014 12:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมืออิหม่ามลืมแล้วเพิ่มเราะกะอัตมะมูมต้องทำตามไหม

พอดีมีพี่น้องถามเป็นการส่วนตัว เลยขอตอบ ณ ที่นี้เพื่อ พี่น้องคนอื่นๆจะได้ศึกษาด้วย
ในกรณีนี้ อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า

وإن تمت صلاة المأموم أولاً لم يجز له متابعة الإمام في الزيادة ، بل إن شاء فارقه عند تمامها وتشهد وسلَّم ، وتصح صلاته بلا خلاف ، لأنه فارقه بعذر يتعلق بالصلاة ، وإن شاء انتظره في التشهد وطوَّل الدعاء حتى يلحقه الإمام ثم يسلم عقبه " . أهـ

และหาการละหมาดของมะอฺมูมครบถ้วนแล้ว ในครั้งแรก ก็ไม่อนุญาตให้เขาตามอิหม่ามในส่วนที่เพิ่ม แต่ทว่า หากเขาประสงค์ ก็ให้เขาแยกออก(หมายถึงเนียตออกจากการตามอิหม่าม) แล้วให้เขากล่าวตะชะฮุด และกล่าวสล่าม และการละหมาดของเขาใช้ได้ โดยไม่มีการขัดแย้ง เพราะแท้จริงการแยกออกขออกเขานั้น เนื่องด้วยมีความจำเป็นเกี่ยวกับการละหมาด และถ้าหากเขารอคอยอิหม่าม ในตะชะฮุด และอ่านดุอายาวๆ จนกระทั่ง อิหม่ามได้ทำร่วมกับเขา หลังจากนั้น เขากล่าวสล่ามหลังจากอิหม่ามกล่าวสล่าม ก็ได้ - ดูอัลมัจญมัวะ เล่ม 4 หน้า 209

พิ่มเติม
وسئل شيخ الإسلام ابن تيمية – رحمه الله في " مجموع الفتاوى " (23/53) : عن إمام قام إلى خامسة فسبح به فلم يلتفت لقولهم وظن أنه لم يَسْهَ فهل يقومون معه أم لا ؟

มีผู้ถามชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) ในมัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 23 หน้า 53 เกี่ยวกับอิหม่ามลุกขึ้นยืน ไปทำร็อกอัตที่ห้า แล้วเขาได้ถูกกล่าวตัสเบียะ(เพื่อเตือน) แล้วเขาไม่สนใจคำพูดของพวกเขา(หมายถึงคำพูดของมะมูมที่เตือนด้วยการกล่าวตัสเบียะ) และเขาเข้าใจจว่าเขาไม่ได้ลืมมัน ว่า พวกเขา(มะอมูม)จะลุกขึ้นยืนตามอิหม่ามหรือไม่ ?

فأجاب: " إن قاموا معه جاهلين لم تبطل صلاتهم لكن مع العلم لا ينبغي لهم أن يتابعوه بل ينتظرونه حتى يسلم بهم أو يسلموا قبله والانتظار أحسن " .أهـ

แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮ ตอบว่า “ หากเขาลุกขึ้นยืน พร้อม(ตาม)อิหม่าม โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยไม่รู้ว่าผิด) การละหมาดของพวกเขาไม่เป็นโมฆะ แต่ ถ้าพร้อมกับรู้(ว่าผิด) ก็ไม่สมควรแก่พวกเขา ทำตามอิหม่ามนั้น แต่ทว่า ให้รอคอยเขา จนกว่า อิหม่ามได้สล่ามพร้อมกับพวกเขา หรือว่า ให้พวกเขาสล่ามก่อนอิหม่าม(โดยเนียตออกจากการตาม) และ การรอคอยอิหม่ามนั้น ดีกว่า

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 10, 2014 12:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Adul Aziz อาจาร ครับ ถ้าเปนละหมาดญุมอัต สมมติว่าเราไปมัสยิดช้าด้วยเหตุผลใดก้อแล้วแต่ พอไปถึงอิหม่ามละหมาดใกล้เสดแล้วเราไปถึง ตักเบรละหมาดในขณะอิม่ามอ่านตะชาวุตครั้งสุดท้าย พออิหม่ามให้สลาม ในกรณีนี้เราจะทำแค่2 รอกาอัต เรยหรือป่าว ครับ
……………………
อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

فِي مَذَاهِبِ الْعُلَمَاءِ فِيمَا يُدْرِكُ بِهِ الْمَسْبُوقُ الْجُمُعَةَ قَدْ ذَكَرْنَا أَنَّ مَذْهَبَنَا أَنَّهُ إنْ أَدْرَكَ رُكُوعَ الرَّكْعَةِ الثَّانِيَةِ أَدْرَكَهَا وَإِلَّا فَلَا ، وَبِهِ قَالَ أَكْثَرُ الْعُلَمَاءِ ، حَكَاهُ ابْنُ الْمُنْذِرِ عَنْ ابْنِ مَسْعُودٍ وَابْنِ عُمَرَ وَأَنَسِ بْنِ مَالِكٍ وَسَعِيدِ بْنِ الْمُسَيِّبِ وَالْأَسْوَدِ وَعَلْقَمَةَ وَالْحَسَنِ الْبَصْرِيِّ وَعُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ وَالنَّخَعِيِّ وَالزُّهْرِيِّ وَمَالِكٍ وَالْأَوْزَاعِيِّ وَالثَّوْرِيِّ وَأَبَى يُوسُفَ وَأَحْمَدَ وَإِسْحَاقَ وَأَبِي ثَوْرٍ ، قَالَ : وَبِهِ أَقُولُ .

ในมัซฮับ(ทัศนะ)ของบรรดานักวิชาการ ในสิ่งที่ มะมูมมัสบูก มาทันละหมาดญุมอัต ด้วยมันนั้น แท้จริงเราได้กล่าวไว้แล้วว่า แท้จริงมัซฮับของเรา(หมายถึงมัซฮับชาฟิอี) นั้น หากเขามาทันการรุกัวะ ของรอ็กอะฮที่สอง เขาก็ทันการละหมาดญุมอัต แต่ถ้าไม่ทัน ก็ไม่ได้ญุมอัตนั้น
และนักวิชาการส่วนใหญ่ ได้กล่าว(หมายถึงมีทัศนะ) ด้วยทัศนะนี้ ,อิบนุมันซีร ได้รายงานมันจาก อิบนุมัสอูด ,อิบนุอุมัร ,อะนัส บิน มาลิก ,สะอีด บิน มุสัยยิบ ,อัลอัสวัด ,อัลเกาะมะฮ ,อัลหะซัน อัลบัศรีย์ ,อุรวะฮบิน ซุบีร ,อัลนะเคาะอีย์ ,อัซซุฮรีย์ ,มาลิก ,อัลเอาซาอีย์ ,อัษเษารีย์
, อบียูซูฟ ,อะหมัด ,อิสหาก และอบีษูร และเขา(อิบนุมันซิร) กล่าวว่า ฉันก็กล่าว(หมายถึงมีทัศนะ) ด้วยมัน (ด้วยทัศนะดังกล่าว)
- ดูอัลมัจญมัวะ ชัรหุอัลมุหัซซับ เล่ม 4 หน้า 433
กล่าวคือ นักวิชาการส่วนมาก มีทัศนะว่า การมาทันละหมาดญุมอัตสำหรับมัสบูกนั้น คือ ต้องทัน การรุกัวะของอิหม่ามในเราะกัตที่สอง
ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ถือว่าไม่ทันละหมาดญุมอัต ..........


อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวต่อไปว่า

وَقَالَ عَطَاءٌ وَطَاوُسٌ وَمُجَاهِدٌ وَمَكْحُولٌ : مَنْ لَمْ يُدْرِكْ الْخُطْبَةَ صَلَّى أَرْبَعًا ، وَحَكَى أَصْحَابُنَا مِثْلَهُ عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ وَقَالَ الْحَكَمُ وَحَمَّادٌ وَأَبُو حَنِيفَةَ : مَنْ أَدْرَكَ التَّشَهُّدَ مَعَ الْإِمَامِ أَدْرَكَ الْجُمُعَةَ ، فَيُصَلِّي بَعْدَ سَلَامِ الْإِمَامِ رَكْعَتَيْنِ وَتَمَّتْ جُمُعَتُهُ ،

และ อะฏออฺ ,ฏอวูส ,มุญาฮิด และมะหกูล กล่าวว่า “ใครมาไม่ทัน คุฏบะฮ เขาจะต้องละหมาดซุฮรีย์ และบรรดาสหายของเรา ก็รายงานเหมือนกับมันจาก อุมัร บิน อัลคอฏฏอบ และ อัลหะกัม ,หัมมาดและอบูหะนีฟะฮ กล่าวว่า “ใครมาทันอ่านตะชะฮุด พร้อมกับอิหม่าม เขาก็ได้ทันละหมาดญุมอัตนั้น แล้วหลังจากอิหม่ามสล่าม ก็ให้เขาละหมาดต่ออีกสองรอ็กอะฮ ,การละหมาดญุมอัตของเขาก็จะครบถ้วนสมบูรณ์
- ดูอัลมัจญมัวะ ชัรหุอัลมุหัซซับ เล่ม 4 หน้า 433
กล่าวคือ ในทัศนะของ อัลหะกัม ,หัมมาดและอบูหะนีฟะฮ นั้น ผู้ที่มาทัน การอ่านตะชะฮุด พร้อมกับอิหม่าม ก็ถือว่าทันละหมาดญุมอัต
และให้ทำเพิ่มให้ครบ หลังจากที่อิหม่ามกล่าวสล่ามแล้ว

หลักฐานของฝ่ายที่ว่า ต้องมาทัน รอ็กอัต สุดท้าย จึงถือว่ามาทันละหมาดญุมอัต คือหะดิษที่ว่า
ท่านนะบี ศอ็ลฯ ได้ กล่าวว่า :
مَنْ أَدْرَكَ رَكْعَةً مِنْ الْجُمُعَةِ فَلْيُصَلِّ إلَيْهَا أُخْرَى
"ผู้ใดที่ทันหนึ่งร่อกะอัตจากละหมาดวันศุกร์ ดังนั้น เขาก็จงทำละหมาดเพิ่มร่อกะอัตอื่นไปอีก(ให้ครบ)"
อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า
قَالَ الْمُصَنِّفُ - رَحِمَهُ اللَّهُ تَعَالَى - : ( وَمَنْ دَخَلَ وَالْإِمَامُ فِي الصَّلَاةِ أَحْرَمَ بِهَا فَإِنْ أَدْرَكَ مَعَهُ الرُّكُوعَ مِنْ الثَّانِيَةِ فَقَدْ أَدْرَكَ الْجُمُعَةَ ، فَإِذَا سَلَّمَ الْإِمَامُ أَضَافَ إلَيْهَا أُخْرَى ، وَإِنْ لَمْ يُدْرِكْ الرُّكُوعَ فَقَدْ فَاتَتْ الْجُمُعَةُ فَإِذَا سَلَّمَ الْإِمَامُ تَمَّ الظُّهْرَ ; لِمَا رَوَى أَبُو هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { مَنْ أَدْرَكَ رَكْعَةً مِنْ الْجُمُعَةِ فَلْيُصَلِّ إلَيْهَا أُخْرَى

และผู้เรียบเรียงหนังสือ(หมายถึง อัชชีรอซีย) (ร.ฮ) กล่าวว่า ผู้ใดเข้า(สู่ละหมาด) โดยที่อิหม่ามอยู่ในละหมาดแล้ว ก็ให้เขาตักบิรเราะตุลเอียะรอม ด้วยมัน แล้วถ้าเขามาทัน รุกัวะจากรอ็กอะฮที่สอง พร้อมกับอิหม่าม เขาก็ได้ทันละหมาดญุมอัต แล้วเมื่อ อิหม่ามสะล่าม ก็ให้เขา เพิ่มส่วนที่เหลือ และถ้าเขา มาไม่ทัน การรุกัวะ (ในรอ็กอะฮที่สอง) เขาก็ไม่ได้ละหมาดญุมอัต ดังนั้น เมื่ออิหม่ามสล่าม ก็ให้เขาทำละหมาดซุฮรีให้ครบถ้วน เพราะมีรายงานจากอบีฮุรัยเราะฮว่า
ท่านนะบี ได้ กล่าวว่า :
مَنْ أَدْرَكَ رَكْعَةً مِنْ الْجُمُعَةِ فَلْيُصَلِّ إلَيْهَا أُخْرَى
"ผู้ใดที่ทันหนึ่งร่อกะอัตจากละหมาดวันศุกร์ ดังนั้น เขาก็จงทำละหมาดเพิ่มร่อกะอัตอื่นไปอีก(ให้ครบ)"
- ดูอัลมัจญมัวะ ชัรหุอัลมุหัซซับ เล่ม 4 หน้า 432

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Mar 14, 2014 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษเกี่ยวกับนบีสุลัยมาน(อ.)กับ การกล่าว อินชาอัลลอฮ


السلام عليكم ورحمة الله وبركاته..
รบกวนถามครูหน่อยครับเกี่ยวหะดิษที่กล่าวถึงเรื่องราวของนบีสุไลมาน อลัยฮิสลาม ตอนที่ท่านบอกว่าจะนอนกับภรรยาท่าน(ร้อยคนในคืนเดียว.. ถ้าผมจำไม่ผิด) เพือให้ได้บุตรมาญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ซ.บ. แต่ท่านลืมกล่าว إن شاء الله.. ทำให้ท่านได้บุตรพิการเพียงคนเดียว..
รบกวนสอบถามครูด้วยนะครับ..
جزاك الله خيرا
*มีพี่น้องท่านนึงฝากถามมาครับ
...............

หะดิษเรื่องราวนบีสุลัยมาน (อ.)กับเหล่าภรรยาของท่าน

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ، قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " قَالَ سُلَيْمَانُ : لَأَطُوفَنَّ اللَّيْلَةَ عَلَى تِسْعِينَ امْرَأَةً كُلُّهُنَّ تَأْتِي بِفَارِسٍ يُجَاهِدُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ ، فَقَالَ لَهُ صَاحِبُهُ : قُلْ : إِنْ شَاءَ اللَّهُ ، فَلَمْ يَقُلْ : إِنْ شَاءَ اللَّهُ ، فَطَافَ عَلَيْهِنَّ جَمِيعًا ، فَلَمْ يَحْمِلْ مِنْهُنَّ إِلَّا امْرَأَةٌ وَاحِدَةٌ ، جَاءَتْ بِشِقِّ رَجُلٍ ، وَايْمُ الَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ ، لَوْ قَالَ : إِنْ شَاءَ اللَّهُ لَجَاهَدُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فُرْسَانًا أَجْمَعُونَ " .

รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ)ว่า แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า “ สุลัยมาน บิน ดาวูด (อ.) กล่าวว่า “คืนนี้ ฉันขอยืนยันว่า จะเยี่ยมเยียน ภรรยาสักร้อยคน หรือ สักเก้าสิบเก้าคน ,พวกนางทุกคนจะให้กำเนิดบุตรที่เป็นทหารม้า เขาจะได้ต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮ แล้วสหายของเขา(หมายถึงญิบรีล)ได้กล่าวแก่เขาว่า “จงกล่าวว่า “อินชาอัลลอฮ(หากอัลลอฮประสงต์)ซิ” ,แล้วเขา(นบีสุลัยมาน)ไม่ได้กล่าวคำว่า “อินชาอัลลอฮ “ ดังนั้น ไม่มีผู้ใดจากพวกนางตั้งครรภ์ ยกเว้น ภรรยาเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่นางได้นำมา(ให้กำเนิด)ด้วยบุตรชายคนหนึ่งที่พิการครึ่งซีก (แล้วนบี ศอ็ลฯ)กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ซึ่งชีวิตมุหัมหมัด อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ถ้าหากเขา(สุลัยมาน) กล่าวคำว่า “อินชาอัลลอฮ” แน่นอน (เขาจะได้บุตร)เป็นทหารม้าที่ต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮ ทั้งหมด – มุตตะฟักอะลัยฮิ
คำว่า
لأطوفنّ الليلة
ในที่นี้หมายถึง พักแรมคืนกับภรรยา

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 10, 2014 2:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาเหต่ของการเปลี่ยนกิบลัต

อัลกุรอ่าน ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ อายะฮ 144
قَدْ نَرَى تَقَلُّبَ وَجْهِكَ فِي السَّمَاء فَلَنُوَلِّيَنَّكَ قِبْلَةً تَرْضَاهَا فَوَلِّ وَجْهَكَ شَطْرَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَحَيْثُ مَا كُنتُمْ فَوَلُّواْ وُجُوهَكُمْ شَطْرَهُ وَإِنَّ الَّذِينَ أُوتُواْ الْكِتَابَ لَيَعْلَمُونَ أَنَّهُ الْحَقُّ مِن رَّبِّهِمْ وَمَا اللَّهُ بِغَافِلٍ عَمَّا يَعْمَلُونَ
แท้จริงเราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง แน่นอนเราให้เจ้าผินไปยังทิศ ที่เจ้าพึงใจ ดังนั้นเจ้าจงผินใบหน้าของเจ้าไปทางมัสยิดิลฮะรอมเถิด และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงผินใบหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศนั้น และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ นั้นย่อมรู้ดีว่ามัน คือความจริงที่มาจากพระเจ้าของพวกเขา และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน
…………………..
عَنْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَلْحَةَ ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمَّا هَاجَرَ إِلَى الْمَدِينَةِ ، وَكَانَ أَكْثَرَ أَهْلِهَا الْيَهُودُ ، أَمَرَهُ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ أَنْ يَسْتَقْبِلَ بَيْتَ الْمَقْدِسِ . فَفَرِحَتِ الْيَهُودُ . فَاسْتَقْبَلَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سِتَّةَ عَشَرَ شَهْرًا ، فَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُحِبُّ قِبْلَةَ إِبْرَاهِيمَ ، فَكَانَ يَدْعُو وَيَنْظُرُ إِلَى السَّمَاءِ ، فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ : "قَدْ نَرَى تَقَلُّبَ وَجْهِكَ فِي السَّمَاءِ" الْآيَةَ . [ ص: 175 ]
รายงานจากอาลี บิน อบีฏอ็ลหะฮ ,จากอิบนุอับบาส ว่า แท้จริง รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ขณะที่ท่านได้ได้อพยพไปยังนครมะดีนะฮ และ ประกฎว่าชาวมะดีนะฮส่วนใหญ่ เป็นชาวยิว ,อัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร และทรงเลิศยิ่ง ได้บัญชา ให้ท่านนบี ผิดหน้าไปทางบัยตุลมักดิส แล้ว ชาวยิวก็ดีใจ ดังนั้น ท่าน รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ หันไปทางมัน(บัยตุลมักดิส) เป็นเวลาหกเดือน แล้วปรากฏว่า รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ชอบ กิบลัตนบีอิบรอฮีม (หมายถึงบัยตุลลอฮ) แล้วท่านได้ดุอา และมองไปยังฟากฟ้า แล้วอัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงเลิศยิ่ง ได้ประทานอายะฮที่ว่า
قَدْ نَرَى تَقَلُّبَ وَجْهِكَ فِي السَّمَاءِ" الْآيَةَ
แท้จริงเราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง- จนจบอายะฮ – ดูตัฟสีร อัฏฏอ็บรีย์ เล่ม 3 หน้า 175

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Apr 15, 2014 11:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่อง อัลอิจญมาอฺ (เพิ่มเติม


บรรดาที่มาของกฎหมายอิสลามถูกเรียกว่า บรรดาหลักฐานทางศาสนบัญญัติ (อัลอะดิลละฮฺ อัชชัรฺอียะฮฺ) หรือ บรรดาหลักมูลฐาน (อัลอุซู้ล) ซึ่งนักกฎหมายอิสลามส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่ามี 4 ประการ คือ
หนึ่ง. อัลกุรฺอาน (อัลกิตาบ)
สอง. อัล-หะดีษ (อัส-สุนนะฮฺ)
สาม. อัล-อิจญ์
สาม. อัล-กิยาส
………………
คำว่า อิจญมาอฺ คือ
الإجماع هو: اتفاق مجتهدي الأمة، بعد وفاة الرسول صلى الله عليه وسلم في عصر على أي أمر كان..
อัล-อิจญ์มาอฺ หมายถึง การเห็นพ้องกันของบรรดานักปราชญ์ทางศาสนา (มุจญ์ตะฮิด)แห่งอุมมะฮ หลังจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้เสียชีวิต ในสมัยใดสมัยหนึ่ง บนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ปรากฏ - ดู ญัมอุลญะวาเมียะ เล่ม 1 หน้า 176
อิจญมาอฺ ที่เป็นหลักฐานคือ อัลอิจญามาอฺหลังจากที่นบี ศอ็ลฯ ได้เสียชีวิตแล้ว
وإجماع الموجودين في زمن الوحي ليس بحجة في زمن الوحي بالإجماع، وإنما يكون حجة بعد النبي صلى الله عليه وسلم
และอิจญมาอฺ ที่ถูกให้มีขึ้นในยุคที่ประทานวะหยู ไม่ใช่เป็นหลักฐาน ในยุคแห่งวะหยู โดยมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ และความจริง มันคือหลักฐาน หลังจากนบี ศอ็ลฯได้เสียชีวิตเท่านั้น – ดู อัลเอียะกามของอัลอามาดีย์ เล่ม 1 หน้า 109
คำว่า “มติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญตะฮิด แห่งอุมมะฮ “ คำนี้ ไมใช่จะอ้างง่ายๆ และมีน้อยมาก เท่าที่เห็นเขาอ้างส่วนมากจะเป็นมติในระดับปราชญ์แต่ละมัซฮับมากกว่า
มาดูความหมาย อัลอิจญมาอฺเพิ่มเติม มาดูความหมายคำว่า “อัลอิจญมาอฺ

فَهُوَ اتِّفَاقُ مُجْتَهَدِي أُمَّةِ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ بَعْدَ وَفَاتِهِ فِي عَصْرٍ مِنَ الْأَعْصَارِ عَلَى أَمْرٍ مِنَ الْأُمُورِ .

คือ มติเห็นฟ้องของบรรดามุจญตะฮิด จากอุมมะฮของนบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯหลังจากท่านนบีได้เสียชีวิต ในยุคหนึ่ง จากบรรดายุคสมัย บนเรื่องใดๆจากบรรดาเรื่องต่างๆ – ดู อิรชาดุลฟุหูล เล่ม 1 หน้า 234
ประเด็นใดก็ตามที่อุลามาอฺมุจญตะฮีด ยังมีการเห็นต่างสิ่งนั้นไม่ถือว่าเป็นอิจญมาอฺที่เป็นหลักฐาน
อัชเชากานีย์กล่าวว่า

وَيَخْرُجُ بِقَوْلِهِ ( مُجْتَهَدِي أُمَّةِ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ ) اتِّفَاقُ الْعَوَامِّ ، فَإِنَّهُ لَا عِبْرَةَ بِوِفَاقِهِمْ وَلَا بِخِلَافِهِمْ .
وَيَخْرُجُ مِنْهُ أَيْضًا : اتِّفَاقُ بَعْضِ الْمُجْتَهِدِينَ

และมติเห็นฟ้องของบรรดาคนทั่วไป ไม่เข้าอยู่ในความหมายคำพูดที่ว่า (บรรดามุจญตะฮิด จากอุมมะฮของนบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ) เพราะแท้จริง มันไม่มีการพิจารณา ด้วยมติเห็นฟ้องของพวกเขาและไม่มีการพิจารณา ด้วยการเห็นต่างของพวกเขา และไม่ได้อยู่ในความหมายคำว่า (บรรดามุจญตะฮิด จากอุมมะฮของนบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ) คือ มติเห็นฟ้องของบรรดามุจญตะฮิดบางส่วน - ดู อิรชาดุลฟุหูล เล่ม 1 หน้า 234
............
สรุป
หนึ่ง – มติของคนทั่วไป ไม่เข้าอยู่ในความหมายคำว่า มติของบรรดามุจญตะฮิดแห่งอุมมะฮนบี ศอ็ลฯ
สอง- มติของมุจญะฮตะฮิดบางส่วนก็ไม่เข้าอยู่ในความหมายคำว่า “ว่า มติของบรรดามุจญตะฮิดแห่งอุมมะฮนบี ศอ็ลฯ
อัล-อิจญ์มาอฺ มี 2 ชนิดคือ

หนึ่ง . การเห็นพ้องโดยชัดเจน (อิจญ์มาอฺ-ซ่อรีฮฺ) คือ การที่บรรดานักปราชญ์ทางศาสนามีทัศนะความเห็นทั้งคำพูดและการกระทำพ้องกันต่อข้อชี้ขาดในประเด็นข้อปัญหาหนึ่งที่เจาะจงแน่นอน อาทิเช่น มีการร่วมชุมนุมของบรรดานักปราชญ์ในสถานที่แห่งหนึ่ง นักปราชญ์แต่ละคนได้นำเสนอความเห็นของตนอย่างชัดเจนในข้อปัญหานั้น ๆ และทัศนะของทุกคนก็พ้องกันต่อข้อชี้ขาดของปัญหานั้น หรือการที่มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งตอบปัญหาศาสนาเอาไว้ด้วยทัศนะหนึ่ง แล้วปรากฏว่าการตอบปัญหาศาสนาจากนักปราชญ์ผู้อื่นพ้องตรงกันในข้อชี้ขาดนั้น ปวงปราชญ์ถือว่า อัล-อิจญ์มาอฺชนิดนี้เป็นหลักฐานทางศาสนา

สอง. การเห็นพ้องโดยนิ่งเงียบ (อิจมาอฺ-สุกูตีย์) คือ การที่นักปราชญ์ทางศาสนาบางท่านในยุคสมัยหนึ่งได้กล่าวคำพูดเอาไว้ในประเด็นข้อปัญหาหนึ่ง และนักปราชญ์ผู้อื่นที่อยู่ร่วมสมัยนิ่งเงียบหลังจากที่รับรู้ถึงคำพูดนี้โดยไม่มีการปฏิเสธหรือคัดค้าน อัล-อิจญ์มาอฺชนิดนี้นักนิติศาสตร์มีความเห็นต่างกันในการถือเป็นหลักฐานทางศาสนา (อ้างแล้ว เล่มที่ 1 หน้า 552)- คัดลอกจากข้อเขียนของ อ.ชูกูร ดินอะ


อัชเชากานีย์ กล่าวว่า
وَقَالَ ابْنُ وَهْبٍ : ذَهَبَ دَاوُدُ وَأَصْحَابُنَا إِلَى أَنَّ الْإِجْمَاعَ إِنَّمَا هُوَ إِجْمَاعُ الصَّحَابَةِ فَقَطْ ، وَهُوَ قَوْلٌ لَا يَجُوزُ خِلَافُهُ ; لِأَنَّ الْإِجْمَاعَ إِنَّمَا يَكُونُ عَنْ تَوْقِيفٍ ، وَالصَّحَابَةُ هُمُ الَّذِينَ شَهِدُوا التَّوْقِيفَ
และอิบนุวะฮับ กล่าวว่า ดาวูด และบรรดาสหายของเรา มีทัศนะว่า “ แท้จริง อิจญมาอ นั้น คือ อิจญมาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮเท่านั้น และมันคือ คำพูดที่ ไม่อนุญาตให้ขัดแย้งมัน เพราะแท้จริง อัลอิจญมาอฺนั้น ความจริง มันเกิดจาก การหยุดรอคำสั่ง(อัตเตากีฟ) และเหล่าเศาะหาบะฮ พวกเขาคือ บรรดาผู้ที่เป็นสักขีพยาน การเตากีฟ(การหยุดรอคำสั่งจากอัลลอฮและรอซูล) –ดู อิรชาดุลฟุหูล เรื่อง หลักฐานอิจญมาอฺเศาะหาบะฮ ...............นี้คือทัศนะที่เห็นว่าอิจญามาอฺที่เป็นหลักฐานคือ อิจญมาอฺเศาะหาบะ

อิหม่ามอัชเชากานีย์ กล่าวว่า
وَقَدْ ذَهَبَ إِلَى اخْتِصَاصِ حُجِّيَّةِ الْإِجْمَاعِ بِإِجْمَاعِ الصَّحَابَةِ دَاوُدُ الظَّاهِرِيُّ ، وَهُوَ ظَاهِرُ كَلَامِ ابْنِ حِبَّانَ فِي صَحِيحِهِ ، وَهَذَا هُوَ الْمَشْهُورُ عَنِ الْإِمَامِ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ فَإِنَّهُ قَالَ فِي رِوَايَةِ أَبِي دَاوُدَ عَنْهُ : الْإِجْمَاعُ أَنْ يَتَّبِعَ مَا جَاءَ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ وَعَنْ أَصْحَابِهِ ، وَهُوَ فِي التَّابِعِينَ مُخَيَّرٌ .
และแท้จริง ดาวูดอัซซอฮิรีย์ ได้มีทัศนะ จำกัด เจาะจง หลักฐานอิจญมาอฺด้วย อิจญมาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮ และมันคือ คำพูดของอิบนุหิบบาน ที่ปรากฏใน เศาะเฮียะของเขา และมันคือทัศนะที่แพร่หลาย จากอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล เพราะแท้จริง เขา(อิหม่ามอะหมัด)ได้กล่าวไว้ในรายงานหนึ่ง ของอบีดาวูดที่รายงานจากเขาว่า “ อัลอิจญมาอฺคือ การปฏิบัติตามสิ่งที่มาจากนบี ศอ็ลฯ และจากบรรดาเศาะหาบะฮของท่าน และ มัน(อิจญมาอฺใน บรรดาตาบิอีนนั้น เป็นสิ่งที่เป็นทางเลือก - ดู อิรชาดุลฟุหูล เรื่อง หลักฐานอิจญมาอฺเศาะหาบะฮ
………………………
จะเห็นได้ว่า ยังมีนักวิชาการส่วนหนึ่ง ถือว่า อิจญามาอฺ ที่ต้องตาม คือ อิจญมาอฺเศาะหาบะฮ เพราะฉะนั้น โต๊ะครูคนใดการอ้างอิจญมาอฺพร่ำเพรื่อ ต้องพิจาณาให้ดี

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Apr 28, 2014 10:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม

เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ ถึงเวลาละหมาดซุบฮีก็แวะละหมาดที่มัสยิดระหว่างทาง อีหม่ามเริ่มตักบีรพอดี เลยละหมาดพร้อมกันเป็นญามาอะห์... พอถึงรอกาอัตสุดท้าย อีหม่ามยกมืออ่านกูนุดด้วยค่ะ
ในฐานะเราเป็นมะฮมูม ควรทำอย่างไรค่ะ? ถ้าทำตามการละหมาดของเราในครั้งนั้นใช่ได้หรือไม่ค่ะ?


ตอบ


การตามละหมาดครั้งนั้นใช้ได้ครับ
ขอสรุปจากฟัตวาอัลลุจญนะฮดังนี้
وبالجملة فتخصيص صلاة الصبح بالقنوت من المسائل الخلافية الاجتهادية، فمن صلى وراء إمام يقنت في الصبح خاصة قبل الركوع أو بعده فعليه أن يتابعه، وإن كان الراجح الاقتصار في القنوت بالفرائض على النوازل فقط .
และโดยสรุป การเจาะจงละหมาดศุบฮิ ด้วยการอ่านกุนูต เป็นส่วนหนึ่งจากประเด็นเห็นต่างที่เกี่ยวกับการอิจญติฮาด ดังนั้น ผู้ใดละหมาด ตามหลัง อิหม่ามที่อ่านกุนูตในละหมาดศุบฮิ เป็นการเฉพาะ ก่อนการรุกัวะ หรือหลังจากรุกัวะ ก็จำเป็นแก่เขาจะต้องปฏิบัติตามเขา(อิหม่าม ) และแม้ปรากฏว่าทัศนะที่มีน้ำหนัก คือการจำกัดในการกุนูต กับบรรดาละหมาดฟัรดู บนภาวะที่เกิดเหตุร้ายเท่านั้นก็ตาม
وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم .
http://www.startimes.com/?t=11424331
منتديات ستار تايمز
www.startimes.com

ตัวอย่าง

กรณีนี้สามารถเอามาเป็นคำตอบได้เช่นกัน,ท่าน อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
ولو علم المأموم أن الإمام مبتدع يدعو إلى بدعته أو فاسق ظاهر الفسق وهو الإمام الراتب الذي لا تمكن الصلاة إلا خلفه كإمام الجمعة
والعيدين والإمام في صلاة الحج بعرفة ونحو ذلك . فإن المأموم يصلي خلفه عند عامة السلف والخلف وهو مذهب أحمد والشافعي وأبي حنيفة وغيرهم

และถ้าหากว่า มะอฺมูม รู้ว่าอิหม่ามนั้น เป็นอิหม่ามที่ทำบิดอะฮ เขาเรียกร้องไปสู่บิดอะฮ หรือ เป็นคนชั่ว ที่มีความชั่วอย่างเปิดเผย

โดยที่เขาเป็นอิหม่ามโดยตำแหน่ง ที่ไม่สามามารถจะละหมาดได้ นอกจากต้องตามหลังเขาผู้นั้น

เช่น อิหม่ามละหมาดญุมอัต,อิหม่ามละหมาดอีดทั้งสองและอิหม่ามของผู้ทำหัจญที่อะเราฟะฮ เป็นต้น

ดังนั้นมะอฺมูม ให้ละหมาดตามหลังเขาผู้นั้น ได้ ตามทัศนะทั่วไปของนักวิชาการยุคสะลัฟและเคาะลัฟ

และมันคือ ทัศนะของ อิหม่ามอะหมัด,ชาฟิอี,อบูหานีฟะฮและคนอื่นจากพวกเขา"..

- ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ เล่ม 23 หน้า 353 บาบุลอิมามะฮ


อิหม่ามอะหมัด (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وأرى الصلاة خلف كل بر وفاجر"، وقد صلى ابن عمر -رضي الله عنهما- خلف الحجاج. (العقيدة الطحاوية 327

และข้าพเจ้าเห็นว่าให้ละหมาดตามหลังทุกคนที่ดีและไม่ดี และแท้จริงอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

เคยละหมาดตามหลังอัลหุจญาจญ์ (บิน ยูซูฟ อัษษะเกาะฟีย์ ซื่งเป็นคนคนชั่วและเป็นคนที่มีความอธรรม- อัลอะกีดะฮ อัฏเฏาะหาวียะฮ หน้า 327


อิบนุหัซมิน(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
"وذهبت طائفة الصحابة كلهم دون خلاف من أحد منهم، وجميع فقهاء التابعين دون خلاف من أحد منهم،
وأكثر من بعدهم وجمهور أصحاب الحديث وهو قول أبي حنيفة والشافعي، وأحمد، وداود ، وغيرهم إلى جواز الصلاة خلف الفاسق الجمعة، وغيرها، وبهذا نقول" (الفصل في الملل والأهواء والنحل 5/16

คณะหนึ่งของเหล่าเศาะหาบะฮ ทั้งหมดนั้น ไม่มีความเห็นขัดแย้งกันแม้แต่คนเดียว ,บรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอ์) ทั้งหมด

ไม่มีการขัดแย้งกันแม้แต่คนเดียว, ส่วนมากในยุคหลังจากพวกเขาและบรรดานักหะดิษส่วนใหญ่

และมันเป็นทัศนะของอบูหะนีฟะฮ,อะหมัด,ดาวูดและอื่นจากพวกเขา มีทัศนะว่า "อนุญาตให้ละหมาดญุมอัต ตามหลังคนชั่ว(ฟาสิก)

และอื่นจากญุมอัตได้ และด้วยทัศนะนี้ เราได้ถือปฏิบัติ - อัลฟัศลุ ฟิ้ลมิละลิ วัลอะหวาอฺวั้ลนะห์ลิ เล่ม 5 หน้า 16

รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ (ขออัลลอฮโปรดปรานความโปรดปรานแก่ท่าน) ว่า
أن رسول الله -صلى الله عليه وسلم- قال: "يصلون لكم فإن أصابوا فلكم وإن أخطؤوا فلكم وعليهم
แท้จริงท่านรซูลุ้ลลอฮ กล่าว(เกี่ยวกับผู้เป็นอิหม่าม)ว่า " ให้พวกเขาละหมาดนำพวกท่าน เพราะถ้าหากพวกเขาปฏิบัติถูกต้อง

พวกพวกท่านก็ได้ผลบุญและถ้าหากพวกเขาผิดพลาด พวกท่านก็ได้ผลบุญ และความผิดตกอยู่บนพวกเขา - รายงานโดย บุคอรี

عن عبيد الله بن عدي بن خيار أنه دخل على عثمان بن عفان -رضي الله عنه- وهو محصور، فقال: إنك إمام عامة ونزل بك ما نرى،
ويصلي لنا إمام فتنة ونتحرج، فقال: "الصلاة أحسن ما يعمل الناس، فإذا أحسن الناس فأحسن معهم، وإذا أساؤوا فاجتنب إساءتهم

จากอุบัยดิลละฮ บุตร อาดี บุตร คิยาร์ ว่า เขาได้เข้าไปหาท่านอุษมาน บุตร อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮู โดยที่ท่านอุษมาน

กำลังถูกกักบริเวณ แล้วเขากล่าวว่า "แท้จริงท่านเป็นอิหม่ามของสาธารณะชน และท่านถูกถอดถอนตามที่เราเห็นกันอยู่

และอิหม่ามฟิตนะฮ จะนำละหมาดพวกเรา โดยที่พวกเราอยู่ในภาวะลำบากใจ แล้วเขา(ท่านอุษมาน)กล่าวว่า

"ละหมาดคือสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ปฏิบัติกัน ดังนั้นเมื่อมนุษย์ทำดี ก็จงทำดีพร้อมกับพวกเขา

และเมื่อพวกเขาทำชั่ว ก็จงห่างใกลจากความชั่วของเขา" - รายงานโดบ บุคอรี หะดิษหมายเลข 695

وأما الصلاة خلف المبتدعة : فإن كانت بدعتهم شركية كدعائهم غير الله ونذرهم لغير الله واعتقادهم في مشايخهم ما لا يكون إلا لله من كمال العلم ،
أو العلم بالمغيبات ، أو التأثير في الكونيات ، فلا تصح الصلاة خلفهم
وإن كانت بدعتهم غير شركية ؛
كالذكر بما أثر عن النبي صلى الله عليه وسلم ولكن مع الاجتماع والترنحات ، فالصلاة وراءهم صحيحة ،
إلا أنه ينبغي للمسلم أن يتحرى لصلاته إماما غير مبتدع ؛ ليكون ذلك أعظم لأجره وأبعد عن المنكر "

และสำหรับการละหมาดตามหลังผู้ที่ทำบิดอะฮนั้น หากปรากฏว่าบิดอะฮของเขา เป็นบิดอะฮที่เกี่ยวข้องกับชิริก

เช่น พวกเขาขอดุอาต่ออื่นจากอัลลอฮ, พวกเขาบนบานแก่อื่นจากอัลลอฮ และพวกเขาเชื่อในบรรดาครูของพวกเขา

สิ่งซึ่ง มันจะไม่เป็นสิทธิของผู้ใด นอกจากเป็นของอัลลอฮเท่านั้น เช่น ความรอบรู้อันสมบูรณ์ ,การรู้ในบรรดาสิ่งเร้นลับ

หรือ การมีอิทธิพลใน การสร้างสรรพสิ่ง ดังนั้น การละหมาดตามพวกเขานั้นใช้ไม่ได้ และถ้าปรากฏว่าบิดอะฮของพวกเขา

ไม่ใช่บิดอะฮที่เกี่ยวกับชิริก เช่น การซิกีร ด้วยสิ่งที่มีหะดิษจากท่านนบี แต่ว่า เป็นการซิกีรในรูปแบบรวมกันเป็นคณะ

และทำปฏิกิริยาโอนเอนไปมา (หรื่อส่ายศีรษะ) ดังนั้น การละหมาดตามหลังพวกเขานั้นใช้ได้ แต่ทว่า สมควรแก่มุสลิม

จะต้องคัดเลือกผู้นำละหมาด(อิหม่าม)ที่ไม่ใช่ผู้ทำบิดอะฮ เพื่อว่าดังกล่าวนั้น ทำให้ได้รับผลบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าและได้ห่างใกลจากสิ่งต้องห้าม"
- ฟะตาวาอัลลุจญนะฮ อัดดาอิมฯ เล่ม 7 หน้า 353

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 15 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.19 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ