ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
art มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 31/03/2007 ตอบ: 9
|
ตอบ: Fri Apr 06, 2007 11:33 pm ชื่อกระทู้: สามวันเจ็ดวัน |
|
|
อัสลามมุอลัยกุม ครับ ผมอยากทราบว่าการทำบุญสามวันเจ็ดวันนั้นเป็นสิ่งที่อนุมัติหรือไม่บางคนว่าได้และยกฮาดีดขึ้นมาผมงงหมดแล้วช่วยตอบผมด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Apr 09, 2007 10:47 am ชื่อกระทู้: Re: สามวันเจ็ดวัน |
|
|
art บันทึก: | อัสลามมุอลัยกุม ครับ ผมอยากทราบว่าการทำบุญสามวันเจ็ดวันนั้นเป็นสิ่งที่อนุมัติหรือไม่บางคนว่าได้และยกฮาดีดขึ้นมาผมงงหมดแล้วช่วยตอบผมด้วย |
.....
วะอะลัยกุมุสสลามวะเราะหมะตุ้ลลอฮ
การทำบุญ สามวันเจ็ดวัน ไม่เป็นที่อนุมัติในอิสลาม เพราะ.
1. เป็นการเลียนแบบศาสนาอื่น เช่น
...............ทักษิณานุปทานคืออะไร...............
ตามประเพณีนิยมเมื่อเผาศพ จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับ พิธีนี้เรียกว่า ทักษิณานุประทาน หรือที่เรียกว่า ทำบุญ 7 วัน (สัตตมวาร) ทำบุญ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) ทำบุญ 100 วัน (สตมวาร)
http://www.watpthai.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=52579&Ntype=3
ท่านนบี
من تشبه بقوم فهو منهم
ผู้ใดเลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนนั้น"
2. เป็นบิดอะฮ ที่ศาสนาห้าม
เช็คสอลิห อัลฟูซาน กล่าวว่า
ما يفعله بعض الناس اليوم من أن أهل الميت يهيئون مكاناً لاجتماع الناس عندهم ،
و يصنعون الطعام ، ويستأجرون المقرئين لتلاوة القرآن ، ويتحملون في ذلك تكاليف
مالية ، فهذا من المآتم المحرمة المبتدعة ؛ لما روى الإمام احمد عن جرير بن عبد الله
؛ قال : " كنا نعد الاجتماع إلى أَهل الميِت وصنعة الطعام بعد دفنه من النياحة " ،
وإسناده ثقات ...
สิ่งที่ผู้คนบางส่วนทำกันในปัจจุบัน จากการที่ ครอบครัวผู้ตาย เตรียมสถานที่ เพื่อให้ผู้คนมาชุมนุมกัน ณ ที่พวกเขา และพวกเขาทำอาหารกัน และ พวกเขาว่าจ้างให้บรรดากอรี อ่านอัลกุรอ่าน และพวกเขาจะแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นนี้คือ ส่วนหนึ่งของการชุมนุมกัน ที่ต้องห้ามที่เป็นบิดอะฮ เพราะมีหะดิษรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด จาก ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ กล่าวว่า พวกเรานับว่า การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตาย และทำอาหารกินกัน หลังจากฝังมัยยิตแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากนิยาหะฮ(ที่ต้องห้าม) และสายสืบของหะดิษนี้ เชื่อถือได้ - الملخص الفقهي " ( 1 / 216 )
................
ส่วนหน่งจากบิดอะฮเกี่ยวกับการตายคือ
- اتخاذ الضيافة للميت في اليوم الاول والسابع والاربعين وتمام السنة .
จัดเลื้ยงอาหาร เพื่ออุทิศผลบุญแก่มัยยิต ในวันแรก,ครบรอบ 7 วัน,ครบรอบ 40 วันและครบรอบ ปี(ของการตาย) - ดู ( الخادمي في شرح الطريق المحمدية 322 4، المدخل 2/ 114، 3/ 278 - 279
- อะหกามุ้ลญะนาอิซ ของ เช็คอัลบานีย์ หน้า 128
วัสสลาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Apr 09, 2007 11:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
ส่วนหะดิษที่ว่า
จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า
سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام
" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว"
วิจารณ์
เรียนผู้อ่านให้ทราบว่า
ฏอวูส ผู้รายงานหะดิษข้างต้น คือ ฏอวูส บุตร กัยสาน อัลยะมานีย์ อบูอับดุรเราะหมาน อัลหุมัยรี เขาอยู่ในฐานะตาบิอีน (มุสลิมที่อยู่ในยุคเศาะฮาบะฮและได้พบเศาะฮาบะฮ) สิ้นชีวิต ปีฮิจญเราะฮ 106 ที่นครมักกะฮ
หะดิษที่เป็นคำพูดของตาบิอีน เรียกในทางวิชาหะดิษว่า เป็นหะดิษ มักฏูอฺ(حديث مقطوع )
หุกุมเกี่ยวกับหะดิษมักฏูอฺคือ
المقطوع لا يحتج به في شيئ من الأحكام الشرعية أي ولو صحت نسبته لقائله لأنه كلام أوفعل أحد المسلمين
หะดิษมักฎูอฺ จะเอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงในด้านบทบัญญัติศาสนาไม่ได้ ถึงแม้ว่า จะอ้างอิงหะดิษอย่างถูกต้อง แก่ผู้ที่กล่าวก็ตาม เพราะความจริงมันเป็นเพียงคำพูด หรือ การกระทำ ของคนหนึ่งจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเท่านั้น ดู ตัยสีรมุศเฏาะละหิลหะดิษ ของ ดร.มะหมูด อัฏเฏาะหาน หน้า 133
และหะดิษบทนี้ ไม่มีอิหม่ามมุจญตะฮิดท่านใดนำมาเป็นหลักฐานการทำบุญ 3 วัน 7 วัน เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่มัยยิต แม้แต่คนเดียว
และยังขัดแย้งกับหะดิษเศาะเฮียะที่เป็นคำพูดของท่านนบี และอิจญมาอ์ของเหล่าเศาะหาบะฮอีกด้วย เข่น
ท่านนบี ใช้ให้ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารแก่คนที่มาชุมนุมที่บ้านผู้ตาย หรือ เลี้ยงอาหารเพื่ออุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย แต่ตรงกันข้าม เมื่อได้รับข่าวการตายของยะฮฟัร ท่านกลับสั่งแก่เหล่าเศาะหาบะฮว่า
اِصْنَعُوْا لآلِ جَعْفَرِ طَعَامًا فَقَدْ اَتَاهُمْ مَايُشْغِلُهُمْ . (حسنه الترمزى وصححه الحاكم
พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะฮฟัร ความจริง สิ่งที่นำความทุกข์แก่พวกเขา ได้มาประสบกับพวกเขา อัตติรมิซีย์ระบุว่า เป็นหะดิษ หะซัน และอัลหากิมระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
และ ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ อัล-บะญะลี ซึ่งมีฐานะเป็นเศาะหาบะฮ กล่าวว่า
كُنَّا نَعُدُّ الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)
พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเหียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Dec 18, 2013 11:20 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อัลบะฮูตีย์ (ปราชญ์มัซฮับฮัมบะลี)กล่าวว่า
ويكره لهم أي لأهل الميت فعله أي فعل الطعام للناس لما روى أحمد عن جرير قال: كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت وصنعة الطعام بعد دفنه من النياحة
และมักรูฮ(น่ารังเกียจ) แก่พวกเขา หมายถึง แก่ครอบครัวผู้ตาย ทำมัน หมายถึง ทำอาหาร ให้แก่บรรดาผู้คน เพราะ มีหะดิษรายงานโดยอิหม่ามอะหมัด จาก ญะรีร กล่าวว่า พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกัน ที่ครอบครัวผู้ตาย และทำอาหารเลี้ยงกันหลังจากมัน (หลังจากการตาย)นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(หมายถึง การร้องให้คร่ำครวญถึงผู้ตายที่ต้องห้าม) อัรเราฎุอัลมุรอ็บเบียะ ชัรหุ ซาดิลมุสตักเนียะ เล่ม 1 หน้า 134
อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย(ปราชมัซฮับชาฟิอี) กล่าวว่า
وَمَا اُعْتِيدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُوا النَّاسَ عَلَيْهِ بِدْعَةٌ مَكْرُوهَةٌ
สำหรับ สิ่งที่เป็นประเพณี จากการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร และเชิญบรรดาผู้คน บนมันนั้น เป็นบิดอะฮที่น่ารังเกียจ ดู ตุคฟะตุลมุหตาจญ ฟี ชัรห มินฮาจญ เล่ม 3 หน้า 208
มาดูอัลบะฮูตีย์ (ปราชณ์มัซฮับอิหม่ามอะหมัด) เขากล่าวว่า
وَيُسَنُّ أَنْ يُصْنَعَ لِأَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامٌ يُبْعَثُ بِهِ إلَيْهِمْ ثَلَاثًا) أَيْ: ثَلَاثَةَ أَيَّامٍ، لِقَوْلِهِ: صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ;اصْنَعُوا لِآلِ جَعْفَرَ طَعَامًا فَقَدْ أَتَاهُمْ مَا يَشْغَلُهُمْ; رَوَاهُ الشَّافِعِيُّ وَأَحْمَدُ وَالتِّرْمِذِيُّ وَحَسَّنَهُ
และสุนัตให้ ทำอาหารสำหรับครอบครัวผู้ตายและส่งมันไปให้พวกเขา สามวัน) หมายถึงสามวัน เพราะนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะอฟัร เพราะแท้จริง สิ่ง(ความทุกข์เนื่องจากการตาย)ทำให้พวกเขาสาละวนได้ประสบกับพวกเขา รายงานโดย ชาฟิอี ,อะหมัดและอัตติรมิซีย์ และเขาระบุว่ามันเป็นหะดิษหะซัน - ดู กัชชาฟุลกินาอฺ ของอัลบะฮูตีย์ เล่ม 2 กิตาบุลญะนาอิซ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Dec 18, 2013 11:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
อิบนุอาบิดีน (ปราชญ์มัซฮับหะนะฟียฺ) กล่าวว่า
وَيُكْرَهُ اتِّخَاذُ الضِّيَافَةِ مِنْ الطَّعَامِ مِنْ أَهْلِ الْمَيِّتِ، لِأَنَّهُ شُرِعَ فِي السُّرُورِ لَا فِي الشُّرُورِ، وَهِيَ بِدْعَةٌ مُسْتَقْبَحَةٌ! وَرَوَى الْإِمَامُ أَحْمَدُ وَابْنُ مَاجَهْ بِإِسْنَادٍ صَحِيحٍ عَنْ جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ " كُنَّا نَعُدُّ الِاجْتِمَاعَ إلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعَهُمْ الطَّعَامَ مِنْ النِّيَاحَةِ"
และการเลี้ยงอาหารแขก จากฝ่ายครอบครัวผู้ตายนั้น เป็นมักรูฮ(น่ารังเกียจ) เพราะแท้จริงมัน(การเลี้ยงอาหารแก่แขก)นั้น ถูกบัญญัติในโอกาสมีความยินดี ไม่ใช่ในยามทุกข์ และมันคือ บิดอะฮที่น่าเกลียด และอิหม่ามอะหมัด,อิบนุมาญะฮได้รายงานด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะจากอิบนุญะรีร บินอับดุลลอฮ ว่าเขากล่าวว่า พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกัน ที่ครอบครัวผู้ตาย และทำอาหารเลี้ยงกันหลังจากมัน (หลังจากการตาย)นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(หมายถึง การร้องให้คร่ำครวญถึงผู้ตายที่ต้องห้าม ) - ดู รอดดุลมุหตาร อาลัดดุรริลมุคตาร เล่ม 6 หน้า 666 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Dec 18, 2013 11:48 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
มุหัมหมัด ฃัมสุลหัก อัลอะซีม อะบะดีย์ กล่าวว่า
قَالَ ابْنُ الْهُمَامِ فِي فَتْحِ الْقَدِيرِ شَرْحِ الْهِدَايَةِ : يُسْتَحَبُّ لِجِيرَانِ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَالْأَقْرِبَاءِ الْأَبَاعِدِ تَهْيِئَةُ طَعَامٍ لَهُمْ يُشْبِعُهُمْ لَيْلَتَهُمْ وَيَوْمَهُمْ ، وَيُكْرَهُ اتِّخَاذُ الضِّيَافَةِ مِنْ أَهْلِ الْمَيِّتِ لِأَنَّهُ شُرِعَ فِي السُّرُورِ لَا فِي الشُّرُورِ وَهِيَ بِدْعَةٌ مُسْتَقْبَحَةٌ
อิบนุอัลฮุมาม กล่าวไว้ในฟัตหุลเกาะดีร ชัรหุอัลฮิดายะฮว่า ชอบ (หมายถึงสุนัต) ให้เพื่อนบ้านครอบครัวผู้ตาย และบรรดาญาตใกล้ชิด ที่ห่างใกล เตรียมอาหารให้แก่พวกเขา (ครอบครัวผู้ตาย) ให้พวกเขากินให้อิ่ม ในยามกลางคืนและกลางวัน และการเลี้ยงอาหารแขก จากฝ่ายครอบครัวผู้ตายนั้น เป็นมักรูฮ(น่ารังเกียจ การเพราะแท้จริงมัน(การเลี้ยงอาหารแก่แขก)นั้น ถูกบัญญัติในโอกาสมีความยินดี ไม่ใช่ในยามทุกข์ และมันคือ บิดอะฮที่น่าเกลียด- ดู เอานุลมะอฺบูด ชัรหุสุนันอบีดาวูด หะดิษหมายเลข 3132 เรื่อง การทำอาหารให้ครอบครัวผู้ตาย
...............
ความจริงเรื่องนี้ ในตำราทุกมัซฮับได้ห้ามไว้ทั้งนั้น _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Dec 21, 2013 8:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
มุหัมหมัด บิน มุหัมมหมัด บิน อับดุรเราะมาน อัลหะฏอบ ปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ กล่าวว่า
أَمَّا إصْلَاحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ فَقَدْ كَرِهَهُ جَمَاعَةٌ وَعَدُّوهُ مِنْ الْبِدَعِ ; لِأَنَّهُ لَمْ يُنْقَلْ فِيهِ شَيْءٌ وَلَيْسَ ذَلِكَ مَوْضِعَ الْوَلَائِمِ
สำหรับการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร และการชุมนุมของบรรดาผู้คนบนมัน แท้จริง นักวิชาการคณะหนึ่ง ได้มีทัศนะว่าเป็นมักรูฮ และพวกเขานับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ เพราะว่าแท้จริง ไม่มีสิ่งใด(หมายถึงหะดิษ)ถูกรายงานเกียวกับมัน และดังกล่าวนั้น ไม่ใช่สถานที่ของการเลี้ยงแขก ดู มะวาฮิบุลญะลีล เล่ม 2 หน้า 229
.............
การกระทำข้างต้น อุลามาอฺ เขาหุกุมว่า เป็นมักรูฮ และเป็นส่วนส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ
ส่วนที่เขาส่งเสริมคือ
وَيَجُوزُ حَمْلُ الطَّعَامِ لِأَهْلِ الْمَيِّتِ فِي يَوْمِهِمْ وَلَيْلَتِهِمْ وَاسْتَحَبَّهُ الشَّافِعِيُّ وَالْأَصْلُ فِيهِ مَا رَوَاهُ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ جَعْفَرٍ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ { اصْنَعُوا لِآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا فَإِنَّهُمْ فَاجَأَهُمْ أَمْرٌ شَغَلَهُمْ } خَرَّجَهُ أَبُو دَاوُد
และอนุญาตให้นำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ในตอนกลางวันและตอนกลางคืนของพวกเขา และ ชาฟิอี ได้ส่งเสริมมัน และรากฐานในมัน(ในเรื่องนี้)คือ สิ่งที่อับดุลลอฮ บิน ญะอฺฟัร ได้รายงานว่า แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวยะอฺฟัร เพราะว่าแท้จริง สิ่งที่ทำให้พวกเขายุ่งยาก(เนื่องจากการตาย)ได้ประสบกับพ่วกเขา บันทึกโดย อบูดาวูด - ดู มะวาฮิบุลญะลีล เล่ม 2 หน้า 229
................
เรื่องนี้แปลกมาก เพราะทั้งๆที่นักวิชาการทั้งสี่มัซฮับได้ห้ามไว้ และส่งเสริมให้ทำตามหลักฐานคือ สงเคราะห์ครอบครัวผู้ตาย แต่คนบางส่วนปกป้องกิจกรรมทำบุญเนื่องจากการตายจนสุดชีวิต และต่อต้านทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับประเพณีนี้ โดย ให้ฉายาว่า พวกวาฮาบีย ซึ่งฉายานี้คนอาวามกลัวมากจึงไม่กล้าเลิก _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sharifbkd มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 20/12/2013 ตอบ: 12
|
ตอบ: Sat Dec 21, 2013 10:09 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ญาซากัลลอฮุค็อยรอน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sharifbkd มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 20/12/2013 ตอบ: 12
|
ตอบ: Sat Dec 21, 2013 10:13 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม่รู้ทำไมพวกเวบ บิดอะห์สติวเด้น ปกป้องประเภณีนี้จัง....อ้อลืมไป!!นั่นมันอาชีพเค้า |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Dec 22, 2013 7:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
นักวิชาการที่ระบุว่า หะดิษ นุญะรีรเป็นหะดิษเศาะเฮียะคือ
ที่ว่า
كُنَّا نَرَى الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنْعَةِ الطَّعَامِ مِنَ النِّيَاحَةِ
พวกเราเห็นว่าการไปชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกันนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(การคร่ำครวญถึงผู้ตาย)
คืออุลามาอฺดังมีนามต่อไปนี้
وصححه النووي ، والبوصيري ، والقرطبي ، وابن مفلح ، والشوكاني ، والمباركفوري صاحب تحفة الأحوذي ، وصاحب عون المعبود ، وصديق حسن خان ، والملا على قاري ، والبهوتي ، ومحمد بن إبراهيم ، واحمد شاكر ، وشعيب الأرنؤوط ، وابن باز وغيرهم
http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=258604
ชัมสุลหัก อัลอะซีม อะบะดีย์ กล่าวว่า
وَيُؤَيِّدُهُ حَدِيثُ جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْبَجَلِيِّ قَالَ : كُنَّا نَرَى الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنْعَةِ الطَّعَامِ مِنَ النِّيَاحَةِ أَخْرَجَهُ ابْنُ مَاجَهْ وَبَوَّبَ بَابُ مَا جَاءَ فِي النَّهْيِ عَنِ الِاجْتِمَاعِ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنْعَةِ الطَّعَامِ ، وَهَذَا الْحَدِيثُ سَنَدُهُ صَحِيحٌ وَرِجَالُهُ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ . قَالَهُ السِّنْدِيُّ : وَقَالَ أَيْضًا : قَوْلُهُ كُنَّا نَرَى هَذَا بِمَنْزِلَةِ رِوَايَةِ إِجْمَاعِ الصَّحَابَةِ أَوْ تَقْرِيرٍ مِنَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ،
และหะดิษญะรีร บิน อับดุลลอฮ อัลบะญะลีย์ ได้สนับสนุนมัน(หมายถึงสนับสนุนหะดิษญะอฟัร) โดยเขา(ญะรีร)ได้กล่าวว่า
พวกเราเห็นว่าการไปชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกันนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(การคร่ำครวญถึงผู้ตาย) บันทึกโดย อิบนุมายะฮ และเขาได้ กำหนดหัวเรื่อง ว่า เรื่องว่าด้วยการห้ามจากการชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน ,และนี้คือหะดิษสายรายงานของมันเศาะเฮียะ และบรรดาผู้รายงานมัน อยู่บนเงื่อนไขของอิหม่ามมุสลิม ,อัสสะนะดีย์ ได้กล่าวมันไว้ และเขาได้กล่าวอีกว่า คำพูดของญะรีรที่ว่า เราเห็นว่า นี้คือ อยู่ในฐานะรายงานที่เป็นอิจญมะฮ (มติเอกฉันท์)ของบรรดาเศาะหาบะฮ หรือ การรับรองจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม - ดู เอานุลมะอฺบูด อธิบายสุนันอบีดาวูด หะดิษ หมายเลข ๓๑๓๒ กิตาบุลญะนาอิซ เรือง การทำอาหารให้ครอบครัวผู้ตาย
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หลักฐานการห้ามชุมนุมที่บ้านผู้ผู้ตายและมีการเลี้ยงอาหารกินกันนั้น มีน้ำหนัก และไม่มีข้ออ้างใดๆมาหักล้างได้อีกแล้ว ส่วนเราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีใครไปบังคับได้ เป็นเรื่องที่เราจะต้องตอบกับอัลลอฮเอาเอง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Apr 05, 2014 4:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัลมะนาวีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
قال القرطبي: الاجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام والمبيت عندهم كل ذلك من فعل الجاهلية، قال: ونحو منه الطعام الذي يصطنعه أهل الميت في اليوم السابع، ويجتمع له الناس يريدون به القربة والترحم عليه، وهذا لم يكن فيما تقدم، ولا ينبغي للمسلمين أن يقتدوا بأهل الكفر
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์( ปราชญ์มัซฮับชาฟิอี ผู้เชี่ยวชาญด้านตัฟสีร) กล่าวว่า
การชุมนุม ที่ครอบครัวผู้ตาย ,การที่พวกเขาทำอาหารกินกันและพักแรมคืน ณ ที่พวกเขา ,ทั้งหมดดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ ,เขา(อิหม่ามกุรฏุบีย) กล่าวว่า เช่น อาหารที่ครอบครัวผู้ตายทำ ในวันที่เจ็ด(ของการตาย) และ ให้บรรดาผู้คนมาร่วมชุมนุมกันสำหรับมัน ด้วยการกระทำนั้น เพื่อจุดประสงค์ที่จะทำความใกล้ชิด(อิบาดะฮต่ออัลลอฮ) และ เป็นการแสดงความสงสารต่อเขา(ผู้ตาย) และการกระทำแบบนี้ ไม่ปรากฏในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมา และไม่สมควรแก่บรรดามุสลิม ที่จะตาม (แบบอย่าง)ชาวกาเฟร ....ฟัยฎุลเกาะดีร เล่ม 1 หน้า 534
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Apr 05, 2014 4:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
وَسُئِلَ عَمَّنْ " هَلَّلَ سَبْعِينَ أَلْفَ مَرَّةٍ وَأَهْدَاهُ لِلْمَيِّتِ يَكُونُ بَرَاءَةً لِلْمَيِّتِ مِنْ النَّارِ " حَدِيثٌ صَحِيحٌ ؟ أَمْ لَا ؟ وَإِذَا هَلَّلَ الْإِنْسَانُ وَأَهْدَاهُ إلَى الْمَيِّتِ يَصِلُ إلَيْهِ ثَوَابُهُ أَمْ لَا ؟
เขา(อิบนุตัยมียะฮ)ได้ถูกถามเกี่ยวกับผู้ที่ทำการตะฮลีล หนึ่งพันครั้งและเขาอุทิศผลบุญของมันให้แก่ผู้ตาย เพื่อที่จะให้ผู้ตายปลอดภัยจากไฟนรก ว่า มีหะดิษเศาะเฮียะหรือไม่?
فَأَجَابَ : إذَا هَلَّلَ الْإِنْسَانُ هَكَذَا : سَبْعُونَ أَلْفًا أَوْ أَقَلَّ أَوْ أَكْثَرَ . وَأُهْدِيَتْ إلَيْهِ نَفَعَهُ اللَّهُ بِذَلِكَ وَلَيْسَ هَذَا حَدِيثًا صَحِيحًا وَلَا ضَعِيفًا . وَاَللَّهُ أَعْلَمُ .
แล้วเขา(อิบนุตัยมียะฮ)ตอบว่า เมื่อผู้คนทำการตะฮลีล เท่านั้น เท่านี้ เช่น เจ็ดหมื่นครั้ง หรือน้อยกว่านั้นหรือมากกว่านั้น และมันได้ถูกอุทิศแก่ผู้ตาย (โดยเข้าใจว่า)อัลลอฮจะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ตายด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น ,และการกระทำนี้ ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และไม่มีหะดิษเฎาะอีฟใดๆเลย วัลลอฮุอะลัม ดู มัจญมัวะฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ เล่ม 24 หน้า 323
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed May 28, 2014 11:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Sodruddeen Solah Wantalebe
ท่านอบู อัฏฏ๊อยยิบ อาบาดีย์ ได้กล่าวอธิบายว่า
وفى المشكاة : داعى إمرأته باإضافة إلى الضمير، قال القارى : أى زوجة المتوفى
"ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมิชากาฮ์ ว่า "ผู้เชิญชวนจาก(เจ้าภาพ)ของภรรยาของเขา" ด้วยการพาดพิงไปยัง สรรพนาม(คือเขา) ซึ่งท่าน อัลกอรีย์ กล่าวว่า มันหมายถึง ภรรยาผู้ตาย " ดู หนังสือ เอานุลมะบูด ชัรหฺ สุนัน อบีดาวูด เล่ม 6 หน้า 220
ท่านครับใจเย็นๆ และสิ่งที่ท่านอ้างนั้นตัดตอนมาท่อนหนึ่ง นี้คืออันตรายครับ มาดูคำอธิบายครับ
อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ กล่าวว่า
قُلْتُ : قَدْ وَقَعَ فِي الْمِشْكَاةِ لَفْظُ دَاعِي امْرَأَتِهِ بِإِضَافَةِ لَفْظِ امْرَأَةٍ إِلَى الضَّمِيرِ ، وَهُوَ لَيْسَ بِصَحِيحٍ ، بَلِ الصَّحِيحُ ( دَاعِي امْرَأَةٍ ) بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، وَالدَّلِيلُ عَلَيْهِ أَنَّهُ قَدْ وَقَعَ فِي سُنَنِ أَبِي دَاوُدَ : ( دَاعِي امْرَأَةٍ ) بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، قَالَ فِي عَوْنِ الْمَعْبُودِ : دَاعِي امْرَأَةٍ
ข้าพเจ้า ขอกล่าวว่า แท้จริง ได้ปรากฏใน อัลมิชกาต คำว่า
داعي امرأته
ภรรยาของเขาได้เชิญ
โดยนำคำว่า อิมเราะอะติน ไปประสม(สนธิ)กับ คำสรรพนาม เฎาะมีร) โดยที่มันไม่ถูกต้อง แต่ทว่า ที่ถูกต้องนั้น คือ
داعي امرأة
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการประสมคำ และหลักฐาน ที่ยืนยันบนมันคือ แท้จริงได้ปรากฏใน สุนันอบี ดาวูด ว่า
داعي امرأة
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการผสมคำ(อิฏอฟะฮ)
ดู ตะหฟะตุลอะหวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 67
...................
มาดูคำอธิบาย อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ ต่อครับ
وَقَدْ وَقَعَ فِيهِ أَيْضًا : دَاعِي امْرَأَةٍ بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، بَلْ زَادَ فِيهِ بَعْدَ دَاعِي امْرَأَةٍ لَفْظَ : مِنْ قُرَيْشٍ ، فَلَمَّا ثَبَتَ أَنَّ الصَّحِيحَ فِي حَدِيثِ عَاصِمِ بْنِ كُلَيْبٍ هَذَا لَفْظُ : دَاعِي امْرَأَةٍ بِغَيْرِ إِضَافَةِ امْرَأَةٍ إِلَى الضَّمِيرِ ، ظَهَرَ أَنَّ حَدِيثَ جَرِيرٍ الْمَذْكُورَ لَيْسَ بِمُخَالِفٍ لِحَدِيثِ عَاصِمِ بْنِ كُلَيْبٍ هَذَا فَتَفَكَّرْ . هَذَا مَا عِنْدِي ، وَاللَّهُ تَعَالَى أَعْلَمُ
และปรากฏในมัน (ในมุสนัดอิหม่ามอะหมัด )อีก ว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการประสมคำ(อิฎอฟะฮ) แต่ทว่า คำว่า
مِنْ قُرَيْشٍ
จากกุเรช
ได้เพิ่มเติมในมัน หลังจากคำว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ (ก็จะมีความหมายว่า หญิงคนหนึ่งจากกุเรช ผู้แปล)
และ เมื่อ ได้ยืนยัน ว่า ที่ถูกต้อง ในหะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ คือ คำนี้
دَاعِي امْرَأَةٍ
โดยไม่มีการประสมคำ(อิฎอฟะฮ) คำว่า อิมเราะอะฮ กับคำสรรพนาม(เฎาะมีร) ก็ปรากฏชัดเจนว่า หะดิษญะรีร ที่ถูกกล่าวถึง ไม่ขัดขัดแย้งกับหะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ นี้คือ จงพิจารณา และนี้คือสิ่งที่เป็นทัศนะของข้าพเจ้า วัลลอฮุอะลัม
ดู ตะหฟะตุลอะหวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 68
................
คือ เมื่อหะดิษ หะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ ที่เศาะเฮียะ มีสำนวนว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
ก็จะไม่ขัดแย้งกับหะดิษที่ว่า
كُنَّا نَعُدُّ الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ ، وَصَنْعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنَ النِّيَاحَةِ
พวกเรานับว่า การชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกันหลังจากฝังมัยยิตนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(ที่ต้องห้าม) _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|