ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ข้อเท็จจริงเรื่อง อะซีมัต
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ข้อเท็จจริงเรื่อง อะซีมัต

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 08, 2013 8:30 am    ชื่อกระทู้: ข้อเท็จจริงเรื่อง อะซีมัต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังที่ท่านนะบี ได้กล่าวว่า

مَنْ عَلَّقَ تَمِيمَةً فَقَدْ أَشْرَكَ

ใครห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลังใดๆ แน่นอนเขาได้ทำชิริกแล้ว” (บันทึกโดยอะหมัดและฮากิม)
إن الرقى، والتمائم، والتولة شرك

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530

บรรดาเศาะหาบะฮคนสำคัญอีกหลายท่าน ไม่ยอมรับการกระทำนี้ เช่น

وذهب ابن عباس، وابن مسعود، وحذيفة، والأحناف، وبعض الشافعية، ورواية عن أحمد، إلى أنه لا يجوز تعليق شيء من ذلك؛ لما تقدم من النهي العام في الأحاديث السابقة.

อิบนุอับบาส,อิบนุมัสอูด, หุซัยฟะฮ ,อัลอะหฺนาฟ (นักวิชาการมัซฮับหะนะฟี) และ ส่วนหนึ่งของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และรายงานหนึ่งจากอะหมัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้แขวนสิ่งใดๆจากดังกล่าว(หมายถึงบทดุอาจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮ) เพราะคำสั่งห้ามที่ระบุไว้กว้างๆในบรรดาหะดิษที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ – ดู ฟิกฮอัสสุนนะฮ กิตาบุลญะนาอิซ
หะดิษที่ท่านสัยยิดซาบิก กล่าวถึง ส่วนหนึ่งคือ

إن الرقى، والتمائم، والتولة شرك

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530
………………….
ขอเรียนว่า ไม่ปรากฏแม้หะดิษสักบทเดียวที่ท่านนบี ศอ็ล สอนให้นำกุรอ่านมาทำเครื่องราง มีแต่สอนให้ปฏิบัติตามคำสอนในอัลกุรอ่าน



เช็คศอลิหอัลเฟาซาน กล่าวว่า

* وقد يكون المعلق من القرآن ، فإذا كان من القرآن فقد اختلف العلماء في جوازه وعدم جوازه 0 والراجح عدم جوازه سدا للذريعة فإنه يفضي إلى تعليق غير القرآن ، ولأنه لا مخصص للنصوص المانعة من تعليق التمائم كحديث ابن مسعود – رضي الله عنه – قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : ( إن الرقى والتمائم والتولة شرك ) ( صحيح الجامع 1632 ) رواه أحمد وأبو داوود وعن عقبة بن عامر - رضي الله عنه - مرفوعا ( من علق تميمة فقد أشرك ) ( صحيح الجامع 6394 ) ، وهذه نصوص عامة لا مخصص لها

และบางที สิ่งที่ถูกนำมาแขวน(เป็นอะซีมัตนั้น) มาจากอัลกุรอ่าน แท้จริง บรรดานักวิชาการได้เห็นต่างกัน ในเรื่องอนุญาตและไม่อนุญาต และที่มีน้ำหนักนั้น ไม่อนุญาต เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะตามมาภายหลัง เพราะแท้จริงมันจะนำไปสู่ การแขวน อื่นจากอัลกุรอ่าน และเพราะแท้จริง ไม่มีสิ่งที่มาจำกัด ตัวบทที่ห้ามการแขวนเครื่องราง ดังหะดิษมัสอูด(ร.ฎ เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ สอ็ลฯ กล่าวว่า ( อันที่จริงแล้วการเสกเป่าต่าง ๆ เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี..- อัศเศาะเฮียะญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๑๖๓๒ รายงานโดยอะหมัด และอบูดาวูด และรายงานจากอุกบะฮ บิน อามีร (ร.ฎ) เป็นหะดิษมัรฟัวะ(หมายถึงสืบไปถึงนบี)ว่า ผู้ใดแขวนเครื่องราง แน่นอน เขาได้ตั้งภาคีแล้ว) - เศาะเฮียะอัลญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๖๓๙๔ และนี้คือ ตัวบท/หลักฐาน ที่ระบุเอาไว้โดยกว้างๆ โดยไม่มีสิ่งที่ถูกให้มาจำกัด/หรือยกเว้น สำหรับมัน – ดู อัลอิรชาดอิลาเศาะเฮียะอัลเอียะติกอด เล่ม ๒ หน้า ๘๓
หลายคนอ้างสะลัฟ มาเป็นหลักฐาน โดยคิดว่าถ้าชาวสะลัฟคนใดคนหนึ่งทำอะไร ก็คือหลักฐานทางศาสนบัญญัติหมด ขอเรียนว่าผู้รู้ยุคสะลัฟมีมากมาย และหลายประเด็นพวกเขาก็เห็นต่างกัน เพราะฉะนั้น มาดูว่าเราจะอ้างสะลัฟมาเป็นหลักฐานอย่างไร
ความจริง คำพูดสะสัฟที่เป็นหลักฐานนั้นคือ อิจญมาอฺสะลัฟ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งพูดหรือทำในยุคสามร้อยปีแรกแล้วเป็นศาสนบัญญัติหมด
มาดูตัวอย่าง กฎ/หลักการ ของ อิบนุญะรีร ปราชญ์ยุคสะลัฟ ในประเด็น การกล่าวบิสมิลละฮ ในการเชือดสัตว์ดังนี้

وَقَدْ نَقَلَ ابْنُ جَرِيرٍ وَغَيْرُهُ . عَنِ الشَّعْبِيِّ ، وَمُحَمَّدِ بْنِ سِيرِينَ ، أَنَّهُمَا كَرِهَا مَتْرُوكَ التَّسْمِيَةِ نِسْيَانًا ، وَالسَّلَفُ يُطْلِقُونَ الْكَرَاهِيَةَ عَلَى التَّحْرِيمِ كَثِيرًا ، وَاللَّهُ أَعْلَمُ . إِلَّا أَنَّ مِنْ قَاعِدَةِ ابْنِ جَرِيرٍ أَنَّهُ لَا يَعْتَبِرُ قَوْلَ الْوَاحِدِ وَلَا الِاثْنَيْنِ مُخَالِفًا لِقَوْلِ الْجُمْهُورِ ، فَيُعِدُّهُ إِجْمَاعًا .

และแท้จริง อิบนุญะรีร และผู้อื่นจากเขา ได้รายงานจาก อัชชุอฺบีย์ และมุหัมหมัด บิน สิรีน ว่าทั้งสองกล่าวว่า มักรูฮ ละทิ้งการกล่าวบิสมิลละฮ เพราะลืม และชาวสะลัฟ กล่าวคำว่า “มักรูฮ”บนความหมายคำว่า หะรอมนั้นมีมากมาย และอัลลอฮเท่านั้นทรงรู้ยิ่ง นอกจาก ว่าแท้จริงส่วนหนึ่งจากกฎ/หลักการ ของอิบนุญะรีร แท้จริง คำพูดของคนๆเดียวและคนสองคน ที่ขัดแย้งกับทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) จะไม่ถูกพิจารณา (มาเป็นหลักฐาน) ที่จะถูกนับว่าเป็นอิจญมาอฺ - ตัฟสีร อิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 326
………
กล่าวคือ กฎหรือหลักการของอิบนุญะรีรนั้น คำพูดของคนๆเดียวหรือคนสองคนจะไม่ถูกพิจารณา เมื่อมันขัด แย้งกับกับทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) ที่พิจารณาคือ อัลอิจญมาอฺ หมายถึง มติของชาวสะลัฟ
ในประเด็นการแขวนอะซีมัตที่ทำด้วยอัลกุรอ่าน ไม่ได้เป็นมติของชาวสะลัฟ
หมายเหตุ ถ้าเป็นคำพูดและการกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีนเป็นหลักฐานได้เพราะนบี ศอ็ลฯได้รับรองไว้แล้ว

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 08, 2013 8:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวในตำราของท่าน ภาคอะศูลุลฟิกฮ ว่า

وَأَمَّا أَقْوَالُ الصَّحَابَةِ ؛ فَإِنْ انْتَشَرَتْ وَلَمْ تُنْكَرْ فِي زَمَانِهِمْ فَهِيَ حُجَّةٌ عِنْدَ جَمَاهِيرِ الْعُلَمَاءِ وَإِنْ تَنَازَعُوا رُدَّ مَا تَنَازَعُوا فِيهِ إلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ . وَلَمْ يَكُنْ قَوْلُ بَعْضِهِمْ حُجَّةً مَعَ مُخَالَفَةِ بَعْضِهِمْ لَهُ بِاتِّفَاقِ الْعُلَمَاءِ

สำหรับบรรดาคำพูดของเศาะหาบะฮนั้น หากมันแพร่หลาย และไม่ถูกคัดค้าน ในสมัยของพวกเขา มันคือ หุญญะฮ(หลักฐานนำมาอ้างอิงได้) ในทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) และถ้าหากพวกเขามีความเห็นขัดแย้งกัน ก็ให้นำสิ่งที่พวกเขาขัดแย้ง กลับไปหาอัลลอฮและรอซูล และ หากทัศนะบางส่วนของพวกเขา(เศาะหาบะฮ) โดยที่อีกส่วนหนึ่งของพวกเขาเห็นต่าง(มีความเห็นขัดแย้ง) จะไม่เป็นหลักฐาน(ที่จะเอามาอ้างอิงได้) ด้วยการเห็นฟ้องของบรรดานักวิชาการ – อัลฟะตาวา เล่ม 20 หน้า 14
..................
สรุปจากคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ
หนึ่ง – ทัศนะเศาะหาบะฮ หากปรากฏเป็นที่แพร่หลายในสมัยพวกเขา และไม่มีใครคัดค้าน ก็ถือเป็นหลักฐานได้
สอง – หากทัศนะของเศาะบะฮที่มีเศาะหะบะฮส่วนหนึ่ง มีทัศนะเห็นต่าง หรือขัดแย้งก็ให้นำประเด็นนั้นไปตรวจสอบกับอัลกุรอ่านและหะดิษ เพื่อหาข้อสรุปว่าทัศนะกลุ่มใดตรงกับอัลกุรอ่านและหะดิษ
เพราะฉะนั้น เรื่อง ทำอะซีมัตด้วยอายะฮอัลกุรอ่าน บรรดาเศาะหาบะฮเห็นต่างกัน จึงควรนำไปดูว่าในอัลกุรอ่านสอนให้ทำอะซีมัตหรือไม่ และรอซูลสอนให้ทำอะซีมัตหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ไม่มีน้ำหนักที่จะอ้างคนใดคนหนึ่งมาเป็นหลักฐาน

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อะซีมัต ที่เขียนอายะฮกุรอ่านแล้วนำมาแขวนเพื่อป้องกันเภทภัย หรือบำบัดโรคนั้น
ชาวสะลัฟเห็นต่างกัน เมื่อเป็นประเด็นเห็นต่าง ก็ต้องกลับไปดูว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนหรือทำแบบอย่างไว้หรือไม่ เพราะนบี คือผู้ที่เข่าใจอัลกุรอ่านและเจตนารมณ์ของอัลกุรอ่านมากที่สุดและมากกว่าใครๆในโลกนี้

انَّ الرُّقَى وَالتَّمَائِمَ وَالتِّوَلَةَ شِرْكٌ"

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530
หะดิษข้างต้นกล่าวไว้กว้างๆ ไม่ได้มีข้อยกเว้น
อัตตะมาอิม คือ

ما يعلق على الأولاد أو غيرهم من الناس؛ لدفع العين أو الجن أو المرض ونحو ذلك،

สิ่งที่ ถูกแขวนที่คอเด็ก หรืออื่นจากพวกเขา จากบรรดามนุษย์ เพื่อป้องกันสายตาขี้อิจฉา หรือ ญิน หรือ การเจ็บป่วยเป็นต้น
ส่วน “คำว่า อัตติวะละฮ “ คือ
التولة شيء يصنعونه يزعمون أنه يحبب المرأة إلى زوجها والزوج إلى امرأته

คือ เครื่องรางที่พวกเขาทำขึ้นมา โดยเข้าใจว่า ทำให้ภรรยารักสามี และสามีรักภรรยา

บรรดาเศาะหาบะฮคนสำคัญอีกหลายท่าน ไม่ยอมรับการกระทำอะซิมัตที่เขียนอายัตอัลกุรอ่าน เช่น

وذهب ابن عباس، وابن مسعود، وحذيفة، والأحناف، وبعض الشافعية، ورواية عن أحمد، إلى أنه لا يجوز تعليق شيء من ذلك؛ لما تقدم من النهي العام في الأحاديث السابقة.

อิบนุอับบาส,อิบนุมัสอูด, หุซัยฟะฮ ,อัลอะหฺนาฟ (นักวิชาการมัซฮับหะนะฟี) และ ส่วนหนึ่งของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และรายงานหนึ่งจากอะหมัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้แขวนสิ่งใดๆจากดังกล่าว(หมายถึงบทดุอาจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮ) เพราะคำสั่งห้ามที่ระบุไว้กว้างๆในบรรดาหะดิษที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ – ดู ฟิกฮอัสสุนนะฮ กิตาบุลญะนาอิซ

مَنْ تَعَلَّقَ تَمِيمَةً فَلَا أَتَمَّ اللَّهُ لَهُ وَمَنْ تَعَلَّقَ وَدَعَةً فَلَا وَدَعَ اللَّهُ لَهُ
ผู้ใดแขวนเครื่องราง อัลลอฮก็จะไม่ให้ความสำเร็จแก่เขา และผู้ใดแขวนวะดะอะฮ (เครื่องที่ทำจากเปลือกหอย) อัลลอฮก็จะไม่ให้ความสงบแก่เขา- รายงานโดยอะหมัด
ทุกคน จำอายะฮนี้ดีคือ
الله الصمد
อัลลอฮ ทรงเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น ขอต่ออัลลอฮโดยตรงดีกว่า ดีกว่า ห้อยอะซีมัต โดยคิดว่ามันเป็นเหตุให้อัลลอฮช่วย หรือ คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจจะคิดว่า “สิ่งนั้น ปกป้องเขาได้ ก็จะเป็นอันตรายใหญ่หลวงต่ออะกีดะฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 08, 2013 8:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

คนส่วนหนึ่งที่ไปทำเชือกด้ายเจ็ดสี เพื่อมาผูกพวงมาลัยรถใหม่ เพื่อให้มันปกป้องรถและตัวเขา คนทำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม ทำไม่ไม่สอนดุอานี้ให้พวกเขา

سُبْحَانَ الَّذِي سَخَّرَ لَنَا هَذَا وَمَا كُنَّا لَهُ مُقْرِنِينَ وَإِنَّا إِلَى رَبِّنَا لَمُنْقَلِبُونَ،

ซุบฮานัลละซี ซัคค่อร่อละนาฮาซา วะมากันนา ละฮู มุกกฺรินีน วะอินนา อิลา ร็อบบินา ละมุงก่อลิบูน,

มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงให้พาหนะนี้เป็นความสะดวกแก่เราและเราไม่สามารถควบคุมมันได้และแท้จริงเราจะต้องเป็นผู้กลับไปสู่พระเจ้าอย่างเราอย่างแน่นอน

บอกเขาซิว่า
เวลาออกจากบ้านให้อ่าน

بِسْمِ اللَّهِ تَوَكَّلْتُ عَلَى اللَّهِ لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ

“บิสมิลลาฮ์ ตะวักกัลตุ้ อะลัลลอฮิ วะลาเห้าล่า วะลากู้วะต้า อิลลาบิลลาฮ์ ”

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายต่ออัลลอฮฺ ไม่มีพลังและความสามารถใด ๆ นอกจากพลัง และอำนาจของพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น
เมื่อขึ้นยานพาหนะ ให้กล่าวบิสมิลละฮ และอ่านดุอา ข้างต้นคือ

سُبْحَانَ الَّذِي سَخَّرَ لَنَا هَذَا وَمَا كُنَّا لَهُ مُقْرِنِينَ وَإِنَّا إِلَى رَبِّنَا لَمُنْقَلِبُونَ،

มันมีอะไรที่เป็นอุปสรรค์ในการที่จะสอนคำสอนของนบีให้แก่เขา ทำไม่ต้องทำเชือกด้ายเจ็ดสีให้เขา
คนทำต้องรับผิดชอบนะครับ

มีการอ้างะดิษข้างล่างทำอะซีมัตจากอัลกุรอ่าน

عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ جَدِّهِ ، قَالَ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُعَلِّمُنَا كَلِمَاتٍ نَقُولُهُنَّ عِنْدَ النَّوْمِ مِنَ الْفَزَعِ : " بِسْمِ اللَّهِ ، أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّة ، مِنْ غَضَبِهِ وَعِقَابِهِ ، وَشَرِّ عِبَادِهِ ، وَمِنْ هَمَزَاتِ الشَّيَاطِينِ ، وَأَنْ يَحْضُرُونِ " ، قَالَ : فَكَانَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَمْرٍو يُعَلِّمُهَا مَنْ بَلَغَ مِنْ وَلَدِهِ أَنْ يَقُولَهَا عِنْدَ نَوْمِهِ ، وَمَنْ كَانَ مِنْهُمْ صَغِيرًا لَا يَعْقِلُ أَنْ يَحْفَظَهَا ، كَتَبَهَا لَهُ ، فَعَلَّقَهَا فِي عُنُقِهِ .

รายงานจากอัมริน บินชุอัยบฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขาว่าเขากล่าวว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้สอนพวกเรา กับบรรดาถ้อยคำ โดยให้เราทำการกล่าวมันในขณะที่ทำการนอน อีกทั้งมีความหวาดกลัว ว่า เมื่อบุคคลหนึ่งจากพวกท่านได้มีความหวาดกลัว ดังนั้น เขาก็จงกล่าวว่า ข้าพเจ้าของความคุ้มครอง ด้วยบรรดาถ้อยคำของพระองค์ที่สมบูรณ์ จากความกริ้วและการลงโทษของพระองค์ , จากความชั่วร้ายของปวงบ่าวของพระองค์ , จากบรรดาการล่อลวงของบรรดาชัยฏอน , จากการที่พวกเขาได้ปรากฏตัว? ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ (บินอาซ) ได้สอนถ้อยคำเหล่านั้น กับบุตรของเขาที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว ให้ทำการกล่าวมันในขณะที่นอน และสำหรับบุตรของท่านที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ท่าน(อับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์) ก็ทำการเขียนถ้อยคำเหล่านั้น หลังจากนั้น ก็นำมันไปแขวนที่คอบุตรของเขา, สุนัน อัตติรมีซีย์ กิตาบอัลดะอะวาต บทที่ 94 , หนังสือมุสนัด อิมามอะหฺมัด เล่ม 2 หน้า 18
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

หะดิษข้างต้น แสดงให้ข้อแตกต่างระว่างการกระทำของนบี ศอ็ล ฯกับ อับดุลลอฮ บิน อัมริน คือ
หนึ่ง – ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สอนให้อ่าน เพื่อขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ
สอง - อับดุลลอฮ บิน อัมริน สอนลูกที่โตแล้ว แต่ลูกที่ยังไม่บรรลุศาสนาภาวะ จะเขียนนำไปแขวนคอ

ในคำอธิบายหะดิษข้างต้น ที่รายงานโดยอิหม่ามอัตติรมิซีย์ ที่อัลมุบาเราะฟุรีย์ กล่าวว่า

قَالَ الشَّيْخُ عَبْدُ الْحَقِّ الدَّهْلَوِيُّ فِي اللُّمَعَاتِ : هَذَا هُوَ السَّنَدُ فِي مَا يُعَلَّقُ فِي أَعْنَاقِ الصِّبْيَانِ مِنَ التَّعْوِيذَاتِ وَفِيهِ كَلَامٌ ، وَأَمَّا تَعْلِيقُ الْحِرْزِ وَالتَّمَائِمِ مِمَّا كَانَ مِنْ رُسُومِ الْجَاهِلِيَّةِ فَحَرَامٌ بِلَا خِلَافٍ انْتَهَى . قُلْتُ : تَقَدَّمَ الْكَلَامُ فِي تَعْلِيقِ التَّعْوِيذَاتِ فِي بَابِ كَرَاهِيَةِ التَّعْلِيقِ مِنْ أَبْوَابِ الطِّبِّ

เช็คอับดุลหัก อัดดะฮละวีย์ ได้กล่าวไว้ใน อัลละมะอาต ว่า “ นี้คือสายรายงาน ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ถูกแขวนที่คอเด็กๆ จากอัตตะวีซาต(บรรดาถ้อยคำที่ใช้ขอความคุ้มครอง) และในหะดิษนี้ มีการวิจารณ์ และสำหรับการแขวนของขลัง และเครื่องราง จากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบญาฮิลียะฮนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) โดยไม่มีการขัดแย้ง . ข้าพเจ้า (อัลมุบาเราะกะฟูรีย) กล่าวว่า “คำพูดในเรื่อง การแขวนอัตตะวีซาต นั้น ได้กล่าวล่งหน้ามาก่อนแล้ว ในบทว่าด้วยเรื่อง การแขวน จากบรรดาบทว่าด้วยเรื่องการแพทย์ (จากรซูลุลลอฮ) - ดู ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ กิตาบุดดะอฺวาต หะดิษหมายเลข 2528
เรื่องนี้ เป็นประเด็นเห็นต่างของชาวสะลัฟดังที่กล่าวมาแล้ว

وقالت طائفة لا يجوز ذلك ، وبه قال ابن مسعود وابن عباس وهو ظاهر قول حذيفة وعقبة ابن عامر وابن عكيم ، وبه قال جماعة من التابعين منهم أصحاب ابن مسعود وأحمد في رواية اختارها كثير من أصحابه وجزم بها المتأخرون واحتجوا بهذا الحديث وما في معناه

และคณะหนึ่ง (ของชาวสะลัฟ) ไม่อนุญาตดังกล่าว และ อิบนุมัสอูด ,อิบนุอับบาส และ เป็นที่ปรากฏทัศนะของ หุซัยฟะฮ ,อุกบะฮ ,อิบนุอุกัยมฺ ได้กล่าวด้วยมัน(ด้วยทัศนะนี้) และ คณะหนึ่งจาก บรรดาตาบิอีน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ บรรดาษานุศิษย์ของอิบนุมัสอูด และอะหมัด ในรายงานหนึ่ง ได้กล่าวด้วยมัน(ด้วยทัศนะนี้) ซึ่ง บรรดาสานุศิษย์ของเขาจำนวนมาก ก็ได้เลือกมัน (ได้เลือกทัศนะนี้) และบรรดา นักวิชาการยุคหลัง ได้ตัดสินใจแน่วแน่ด้วยทัศนะนี้ และพวกเขาอ้างหะดิษนี้เป็นหลักฐาน และสิ่งที่อยู่ในความหมายของมัน
มิกาตอัลมะศอเบียะ เล่ม 16 หน้า 746 ฟัตหุลมะญีด หน้า 127

คำว่า “พวกเขาอ้างหลักฐานด้วยหะดิษนี้ หมายถึงหะดิษที่ว่า

انَّ الرُّقَى وَالتَّمَائِمَ وَالتِّوَلَةَ شِرْكٌ"

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530

เมื่อเป็นประเด็นขัดแย้ง ก็ต้องกลับไปดูว่า นบีสอนไว้อย่างไร – อินชาอัลลอฮจะชีแจงต่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 08, 2013 8:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุมุฟลิหฺ กล่าวว่า

"وقال ابن منصور لأبي عبد الله (يعني أحمد) هل يعلق شيئا من القرآن؟ قال: التعليق كله مكروه ؛

และ อิบนุ มัศศูร ได้กล่าวแก่อบีอับดุลลอฮ(หมายถึงอิหม่ามอะหมัด) ว่า “จะแขวนสิ่งใดจากอัลกุรอ่านได้ไหม ? เขากล่าวว่า “ การแขวนทั้งหมดของมันนั้น เป็นมักรูฮ- อัลฟุรูอฺ เล่ม 2 หน้า 136

เมื่อเป็นประเด็นขัดแย้งในยุคสลัฟ ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวในตำราของท่าน ภาคอะศูลุลฟิกฮ ว่า

وَأَمَّا أَقْوَالُ الصَّحَابَةِ ؛ فَإِنْ انْتَشَرَتْ وَلَمْ تُنْكَرْ فِي زَمَانِهِمْ فَهِيَ حُجَّةٌ عِنْدَ جَمَاهِيرِ الْعُلَمَاءِ وَإِنْ تَنَازَعُوا رُدَّ مَا تَنَازَعُوا فِيهِ إلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ . وَلَمْ يَكُنْ قَوْلُ بَعْضِهِمْ حُجَّةً مَعَ مُخَالَفَةِ بَعْضِهِمْ لَهُ بِاتِّفَاقِ الْعُلَمَاءِ

สำหรับบรรดาคำพูดของเศาะหาบะฮนั้น หากมันแพร่หลาย และไม่ถูกคัดค้าน ในสมัยของพวกเขา มันคือ หุญญะฮ(หลักฐานนำมาอ้างอิงได้) ในทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) และถ้าหากพวกเขามีความเห็นขัดแย้งกัน ก็ให้นำสิ่งที่พวกเขาขัดแย้ง กลับไปหาอัลลอฮและรอซูล และ ทัศนะบางส่วนของพวกเขา(เศาะหาบะฮ) โดยที่อีกส่วนหนึ่งของพวกเขาเห็นต่าง(มีความเห็นขัดแย้ง) จะไม่เป็นหลักฐาน(ที่จะเอามาอ้างอิงได้) ด้วยการเห็นฟ้องของบรรดานักวิชาการ – อัลฟะตาวา เล่ม 20 หน้า 14

มาดูคำวิจารณ์หะดิษ ข้างล่างที่ถูกนำมาเป็นหลักฐานอะซีมัต

حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ حُجْرٍ حَدَّثَنَا إِسْمَعِيلُ بْنُ عَيَّاشٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْحَقَ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِذَا فَزِعَ أَحَدُكُمْ فِي النَّوْمِ فَلْيَقُلْ أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ مِنْ غَضَبِهِ وَعِقَابِهِ وَشَرِّ عِبَادِهِ وَمِنْ هَمَزَاتِ الشَّيَاطِينِ وَأَنْ يَحْضُرُونِ فَإِنَّهَا لَنْ تَضُرَّهُ وَكَانَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عُمَرَ يُلَقِّنُهَا مَنْ بَلَغَ مِنْ وَلَدِهِ وَمَنْ لَمْ يَبْلُغْ مِنْهُمْ كَتَبَهَا فِي صَكٍّ ثُمَّ عَلَّقَهَا فِي عُنُقِهِ قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ

อัชเชากานีย์ กล่าวว่า

فِي إِسْنَادِهِ مُحَمَّدُ بْنُ إِسْحَاقَ ، وَفِيهِ مَقَالٌ مَعْرُوفٌ .
ในสายรายงานของมัน คือ มุหัมหมัด บิน อิสหาก และในเขาผู้นี้ ถูกวิจารณ์ ที่เป็นที่รูจักกัน – ฟัตหุลเกาะดีร หะดิษหมายเลข 3588
ที่ถูกวิจารณ์คือ เขาปิดบังอำพรางผู้รายงาน
หะดีษมุดัลลัส คือหะดีษที่มีการปกปิดอำพรางในสายรายงานเพื่อให้เห็นว่าเป็นสาย รายงานที่สมบูรณ์ไม่มีข้อบกพร่องใดๆ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Oct 08, 2013 8:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

อัลบานีย์ กล่าวว่า

حسن دون قوله : " فكان عبد الله بن عمرو يلقنها

หะดิษ หะซัน อื่นจากคำพูดของเขา(ของผู้รายงานหะดิษ)ที่ว่า
และปรากฏว่า อับดุลลอฮ บิน อัมริน ได้สอนมัน....จนจบ – อัสสิลสิละฮ อัศเศาะฮีหะฮ เล่ม 1 หน้า 529@@@@กล่าวคือ ต้นหะดิษที่เป็นคำพูดนบี ศอ็ลฯนั้นเป็นหะดิษหะซัน(อยู่ในระดับดี) ส่วนรายงานที่บอกว่าอับดุลลอฮ ได้สอนมันแก่ลูกๆที่โตและเขียนมันแขวนคอลูกที่เล็กนั้น ไม่หะซัน


التمائم: شيء يُعلَّق على الأولاد من العين. لكن إذا كان المعلَّق من القرآن فرخَّص فيه بعضُ السلف وبعضهم لم يرخِّص فيه، ويجعله من المنهي عنه، منهم ابن مسعود رضي الله عنه

อัตตะมาอิม คือ สิ่งหนึ่งถูกแขวน ที่คอเด็กๆ เพื่อป้องกัน อัลอัยนฺ(คือศรที่ออกมาจากจิตของคนที่อิจฉาริษยา) แต่ เมื่อ ปรากฏว่าสิ่งที่ถูกแขวนมาจากอัลกุรอ่าน ,บรรดาชาวสะลัฟส่วนหนึ่ง ได้ผ่อนปรน และส่วนหนึ่งของพวกเขา ไม่ผ่อนปรน และกำหนดมันให้เป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ถูกห้าม และส่วนหนึ่งจากพวกเขา(พวกที่ห้ามและไม่ผ่อนปรน คือ อิบนุมัสอูด (ร.ฎ) – ดู อัลมุลัคคอ็ศ ชัรหุกิตาบุตเตาฮีด หน้า 78 ของท่านเช็คศอลิห อัลเฟาซาน

เช็ค มุหัมหมัด บิน ศอลิหฺ อัลอุษัยมีน กล่าวว่า

وأما إذا كانت التمائم من القرآن أو من أدعية مباحة ، فقد اختلف العلماء في تعليقها ، سواء علقها في الرقبة أو على العضد أو على الفخذ أو جعلها تحت وسادته أو ما أشبه ذلك ، والراجح من أقوال أهل العلم عندي أنها لا تجوز لأن ذلك لم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم وليس من حقنا أن نثبت سببا لم ترد به الشريعة

สำหรับเมื่อปรากฏว่า อัตตะมาอิม(เครื่องราง/หรืออะซีมัต)นั้นมาจากอัลกุรอ่านหรือจากบรรดาดุอาที่สิ่งอนุญาต ,บรรดานักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งกัน ในกรณีการนำมันมาแขวน ไม่ว่าแขวนที่คอ หรือ ที่แขน หรือที่ขา หรือวางมันไว้ใต้หมอนของเขา หรือนทำนองนั้น และ ทัศนะของนักวิชาการที่มีน้ำหนัก ในทัศนะข้าพเจ้าคือ ไม่อนุญาต เพราะดังกล่าวนั้น ไม่มีรายงานจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะศอ็ลลัม และไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะมารับรองเหตผล ซึ่ง บทบัญญัติไม่ได้ระบุไว้ด้วยมัน – ดู ฟะตาวา เช็ค มุหัมหมัด บิน ศอลิหฺอัลอุษัยมีน หน้า 381

ฟัตวาอัลลุจญนะฮ

اتفق العلماء على تحريم لبس التمائم إذا كانت من غير القرآن ، واختلفوا إذا كانت من القرآن ، فمنهم من أجاز لبسها ومنهم من منعها ، والقول بالنهي أرجح لعموم الأحاديث ولسدِّ الذريعة

บรรดานักวิชาการ เห็นฟ้องกัน ถึงการห้าม(หะรอม)ส่วมใส่/ใช้เครื่องราง(อัตตะมาอิม) เมื่อปรากฏว่ามันไม่ได้มาจากอัลกุรอ่าน และพวกเขามีความเห็นขัดแย้งกัน เมื่อมันมาจากอัลกุรอ่าน ,ส่วนหนึ่งจากพวกเขา อนุญาตให้ใช้ได้ และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ ผู้ที่ห้ามจากมัน และทัศนะที่ห้าม มีน้ำหนักกว่า เพราะ ความหมายกว้างๆของบรรดาหะดิษ(ที่ห้าม) และ เพราะเพื่อป้องกัน สิ่งที่ไม่ดีที่จะตามมา (สัดดุซซะรอเอียะ) – ฟัตวาอัลลุจญนะฮอัดดาอิมฯ เล่ม 1 หน้า 212
@@@
การแขวนอะซีมัตที่เขียนด้วยอัลกุรอ่าน ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี ศอ็ล ฯและในยุคสะลัฟมีความเห็นขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้น ที่ปลอดภัยที่สุดคือ ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ โดยตรง ไม่ต้องผ่านอะซีมัต

ดุอาขอความคุ้มครอง

ไม่มีบ่าวคนใดกล่าวดุอาอฺต้นนี้ในยามเช้าและยามเย็น 3 ครั้ง เขาจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ คือ

بِسْمِ اللهِ الَّذِيْ لا يَضُرُّ مَعَ اسْمِهِ شَيْءٌ في الأَرْضِ وَلا في السَّمَاءِ وَهُوَ السَّمِيْعُ العَلِيْم

[ บิสมิลลาฮิลละซียฺ ลายะฎุรรุ มะอัสมิฮี ชัยอุน ฟิลอัรฎิ วะลาฟิสสะมาอฺ วะฮุวัสสะมีอุลอุลีม ]

ความว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในชั้นฟ้าและแผ่นดินจะทำอันตรายใดๆ ในขณะที่มีการกล่าวพระนามของพระองค์อยู่ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินทรงรอบรู้” (บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ และว่าเป็นหะดีษศ่อเฮี้ยะฮฺ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.23 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ