ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - แปลมา www.islamqa.com
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
แปลมา www.islamqa.com

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Fri Apr 20, 2012 3:50 pm    ชื่อกระทู้: แปลมา www.islamqa.com ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ.ฟาริด ช่วยตรวจสอบแล้วลงด้วยครับ
แปลมาจาก http://www.islamqa.com/ar/ref/20949

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การเป็นเพื่อนและแฟนระหว่างชายกับหญิง

ถาม

ผมเป็นวัยรุ่นอายุสิบห้าปี ผมรู้ว่าการมีแฟนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อครอบครัว แต่จะเป็นไรหรือไม่ถ้าหากเราจะคบกันเป็นแค่เพื่อนอย่างลับๆ โดยไม่ให้ใครรู้ด้วยวิธีนี้ผมรับประกันว่าเราสามารถที่จะรักษาความสัมพันธ์ได้และไม่กระทำผิดประเวณีจนกว่าจะถึงเวลาของการแต่งงาน ไม่ทราบว่ากรณีแบบนี้เคยมีหรือไม่ในเรื่องราวของความรักในสมัยก่อน ?

ตอบ

ประการแรก

การเล่นแฟนไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับครอบครัวเพียงเท่านั้น ทว่ามันยังจะสร้างความเสียหายให้กับสังคมด้วย ผู้ที่เล่นแฟนถูกสัญญาว่าต้องได้รับการลงโทษความพิโรธ และการชำระโทษจากอัลลอฮฺ การเล่นแฟนเป็นโรคที่ทำลายหัวใจ และนำไปสู่ความลามาที่ต่ำทรามและความผิด ชัยฏอนจะคอยชักใยและเปิดทางให้ผู้ที่เล่นแฟนหลงตามจนกระทั่งกระทำซินาในที่สุด

เรื่องนี้มีข้อเสียที่ต้องระวังมากมาย อาทิ การละเมิดต่อเกียรติของผู้อื่น การทำลายความไว้วางใจ การอยู่สองต่อสอง การสัมผัสกัน การจูบ การพูดด้วยถ้อยคำที่ลามก และท้ายที่สุดคือการกระทำผิดประเวณี

สิ่งที่ผู้ถามกล่าวว่า “โดยไม่ให้ใครรู้” นั้น เป็นสิ่งที่แปลกยิ่ง เหตุใดที่เขาลืมนึกถึงพระผู้อภิบาลของเขาที่ทรงรู้ความลับและสิ่งที่ซ่อนเร้น และทรงรู้สิ่งที่ลวงตาและสิ่งที่ซ่อนไว้ในอกเล่า ?

ดังนั้น เราจึงขอตักเตือนท่าน ซึ่งยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของวัยรุ่น ให้เอาใจใส่ต่อหัวใจของท่านด้วยการปลูกฝังและบ่มเพาะมันบนการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺและคำนึงถึงพระองค์อยู่เสมอ ให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺไม่ล่วงละเมิดต่อเกียรติของผู้อื่น ให้มุ่งมั่นปฏิบัติความดีเพื่อวันที่ท่านต้องพบกับพระผู้อภิบาลของท่านด้วยงานต่างๆ ของท่าน ให้ระลึกถึงความลับที่ต้องถูกเปิดเผยทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ให้ท่านรู้ว่าท่านเองก็มีพี่สาวน้องสาว และสักวันหนึ่งท่านเองก็จะต้องมีภรรยาและบุตรสาว ท่านจะยอมรับให้พวกเธอเหล่านั้นคนใดคนหนึ่งถูกกระทำเหมือนที่ท่านได้กระทำกับผู้หญิงคนอื่นๆ หรือไม่ ? แน่นอนว่าท่านย่อมต้องไม่ยินดีด้วย คนอื่นก็ไม่ยินดีที่จะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นกับพี่น้องและลูกสาวของพวกเขาเช่นเดียวกัน พึงทราบเถิดว่า ท่านอาจจะเห็นผลกรรมของความชั่วของท่านปรากฎอยู่กับคนในครอบครัวของท่านบางคนก็เป็นได้ ซึ่งเป็นการลงโทษที่อัลลอฮฺทรงให้ประสบกับท่านเนื่องจากความผิดนั้น

ท่านควรต้องเลือกคบเพื่อนที่ดี และง่วนอยู่กับสิ่งที่อัลลอฮฺรักและโปรดปราน จงให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีคุณค่าสูงส่ง จงเพิกเฉยต่อสิ่งที่ต่ำต้อยและไร้ค่า จงใช้เวลาในวัยหนุ่มของท่านในการปฏิบัติความดีและเชื่อฟังอัลลอฮฺ การค้นหาความรู้และเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ จงทราบเถิดว่า ในอดีตนั้น มีผู้คนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่าน บางคนอาจจะมีอายุน้อยกว่าท่านด้วยซ้ำ ได้ท่องจำอัลกุรอานและหาความรู้ และถูกส่งโดยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้เป็นดาอีย์ผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺและเรียกร้องผู้คนสู่การน้อมรับศาสนาอิสลาม

เราขอสั่งเสียให้ท่านแต่งงานด้วยหญิงที่ดีมีศาสนา ที่ช่วยดูแลศาสนาของท่าน และคอยให้กำลังใจเพื่อให้ท่านดำเนินตนอยู่บนบทบัญญัติของอัลลอฮฺ เป็นคนที่คอยดูแลลูกๆ ของท่านและอบรมเลี้ยงดูพวกเขาให้มีจริยธรรมและศาสนา

จงอย่าสนใจผู้หญิงที่ยินดีออกนอกบ้านไปกับชายอื่นที่ไม่อนุญาตให้นางไปพบและสนทนาด้วย เพราะคนที่ยินดีทำเช่นที่ว่า ยังจะมีสิ่งใดห้ามนางไม่ให้ทำเช่นนั้นได้อีกในอนาคต ?

พึงระลึกว่า แท้จริงท่านได้ทำให้พระผู้อภิบาลของท่านพิโรธด้วยการทำมะอฺศิยะฮฺเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการอยู่สองต่อสอง การพบปะ การพูดคุยและสนทนา รวมทั้งพฤติกรรมเลวทรามที่ใหญ่หลวงกว่าที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น

และพึงทราบเถิดว่า ซินานั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศเท่านั้น แต่ตาก็ทำซินาได้ หูก็ทำซินา มือก็ทำซินา และเท้าก็ทำซินา เช่นที่มีรายงานยืนยันจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นบทนำสู่การซินาของอวัยวะเพศ ดังนั้น อย่าปล่อยให้ชัยฏอนล่อลวงท่านได้ เพราะแท้จริงมันเป็นศัตรูของท่าน มันปรารถนาให้ท่านประสบกับสิ่งที่ชั่วร้าย และคอยสั่งให้ท่านทำสิ่งที่เลวทรามและความผิดบาป

ท่านเชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน กล่าวว่า “การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างสองคนที่รักกันโดยไม่ถูกต้องตามหลักศาสนานั้น นี่แหละคือหายนะ มันเปรียบดังการตัดคอและแทงหลัง ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ผู้ชายติดต่อกับผู้หญิง หรือผู้หญิงติดต่อกับผู้ชาย โดยอ้างว่าเขาต้องการแต่งงานกับนาง แต่ที่ถูกคือเขาต้องบอกให้ผู้ปกครองทราบว่าเขาปรารถนาที่จะแต่งงานกับนาง หรือให้นางเป็นคนบอกแก่ผู้ปกครองว่าต้องการแต่งงานกับเขา เป็นต้น เช่นที่ท่าน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ปฏิบัติ เมื่อครั้งที่ได้เสนอลูกสาวของท่านที่ชื่อหัฟเศาะฮฺแก่อบูบักรฺและอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ส่วนการที่ผู้หญิงทำการติดต่อกับผู้ชายโดยตรงนั้นเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดฟิตนะฮฺ”

อ้างจาก “อัสอิละฮฺ อัล-บาบิล มัฟตูหฺ” คำถาม หมายเลข 868

ประการที่สอง

คำถามที่ท่านบอกว่ามีกรณีเช่นนี้ในเรื่องเล่าสมัยก่อนนั้น แท้จริง การมีอยู่ของเรื่องเล่าเหล่านั้นไม่ได้เป็นข้ออ้างที่สามารถนำมาใช้ได้กับหลักการทางศาสนบัญญัติเพราะการชี้ขาดว่าสิ่งใดต้องห้ามหรือสิ่งใดอนุมัตินั้นต้องนำมาจากหลักฐานของอัลกุรอานและซุนนะฮฺ และเนื้อหาที่มีอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะคำเป็นคำสั่งใช้หรือคำสั่งห้าม

บางเรื่องเล่าที่ท่านยกมาอ้างนั้นเป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นก่อนอิสลาม เช่นเรื่องของอันตะเราะฮฺและคนอื่นๆ เรื่องเล่าแบบนี้ก็มีปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่งมันมิอาจจะนำมาใช้เป็นหลักฐานทางศาสนาได้ เพราะอิสลามเป็นศาสนาที่มาเพื่อปลดปล่อยมนุษย์จากอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ สู่การนอบน้อมภักดีต่ออัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

เราขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานทางนำและการบรรลุเป้าหมายแห่งความสำเร็จแก่ท่าน

เว็บไซต์อิสลามถามตอบ

www.islamqa.com ฟัตวาหมายเลข 20949

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:04 pm    ชื่อกระทู้: กระดาษที่มีพระนามของอัลลอฮฺ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

طريقة التعامل مع الأوراق المحترمة


ما هو حكم الشريعة بالأسماء المحترمة التي توجد في الجرائد بما فيها أسماء الأنبياء أو أسماء الله عبد الله أو عبد الكريم ؟
كيف نتلف هذه الأوراق ؟.

الحمد لله

هذه الأوراق التي فيها ذكر الله يجب الاحتفاظ بها وصيانتها عن الابتذال والامتهان حتى يفرغ منها ، فإذا فرع منها لم يبق لها حاجة وجب دفنها في محلّ طاهر أو إحراقها أو حفظها في محلّ يصونها عن الابتذال كالدواليب والرفوف ونحو ذلك .

فتوى الشيخ ابن باز من كتاب فتاوى إسلامية ج/4 ص/313 .


กระดาษที่มีพระนามของอัลลอฮฺ

ถาม : ตามหลักศาสนาแล้ว เราจะจัดการกับกระดาษหนังสือพิมพ์ที่มีข้อความระบุถึงพระ
นามของอัลลอฮฺ เช่น อับดุลลอฮฺ หรือ อับดุลกะรีม อย่างไร?

ตอบ : กระดาษที่มีข้อความระบุถึงอัลลอฮฺตะอาลานั้น จำเป็นจะต้องเก็บรักษามันไว้ให้ดีจนกว่า
จะใช้เสร็จ เมื่อใช้เสร็จและไม่ต้องการมันแล้ว ก็จำเป็นจะต้องฝังมันในที่สะอาด เผาทิ้ง หรือไม่ก็
เก็บไว้ในที่ที่เหมาะสม เช่น ตู้ หรือชั้นหนังสือ เป็นต้น

ฟัตวาเชคบินบาซ จากหนังสือ ฟะตาวา อิสลามิยะฮฺ 4/313
www.islamqa.com/ar/ref/21511

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:11 pm    ชื่อกระทู้: การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[size=18]هل النطق بالشهادتين كافٍ لدخول الجنة ؟

هل صحيح أنه إذا كانت عائلة الشخص تؤمن أنه " لا إله إلا الله وأن محمداً صلى الله عليه وسلم رسوله " فإن ذلك يكون كافياً لدخول المذكور الجنة ؟ .

الحمد لله
ليس الإسلام هو النطق بالشهادتين فقط ، بل لا بدَّ من تحقيق شروطٍ في هاتين الشهادتين حتى يكون الناطق بهما مسلماً حقّاً ، وأركان الإسلام : الاعتقاد والنطق والعمل .
عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللَّهِ وَابْنُ أَمَتِهِ وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ وَرُوحٌ مِنْهُ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ أَدْخَلَهُ اللَّهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ ) . رواه البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .
قال الشيخ عبد الرحمن بن حسن بن محمد بن عبد الوهاب – رحمه الله - :
قوله ( من شهد أن لا إله إلا الله ) أي : من تكلم بها عارفاً لمعناها عاملاً بمقتضاها باطناً وظاهراً ، فلابدَّ في الشهادتين من العلم واليقين والعمل بمدلولها كما قال الله تعالى : ( فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلهَ إلاَّ الله ) .
وقوله ( إِلاَّ من شهد بالحق وهم يعلمون ) أما النطق بها من غير معرفة لمعناها ولا يقين ولا عمل بما تقتضيه : من البراءة من الشرك وإخلاص القول والعمل : قول القلب واللسان وعمل القلب والجوارح : فغير نافع بالإجماع .
قال القرطبي في " المفهم على صحيح مسلم " : " باب لا يكفي مجرد التلفظ بالشهادتين ، بل لابدَّ من استيقان القلب " هذه الترجمة تنبيه على فساد مذهب غلاة المرجئة القائلين بأن التلفظ بالشهادتين كافٍ في الإيمان ، وأحاديث هذا الباب تدل على فساده ، بل هو مذهب معلوم الفساد من الشريعة لمن وقف عليها ؛ ولأنه يلزم منه تسويغ النفاق ، والحكم للمنافق بالإيمان الصحيح ، وهو باطل قطعاً ا.هـ
وفي هذا الحديث ما يدل على هذا وهو قوله : ( من شهد ) فإن الشهادة لا تصح إلا إذا كانت عن علم ويقين وإخلاص وصدق .
" فتح المجيد " ( ص 36 )
وشروط " شهادة أن لا إله إلا الله " سبعة شروط ، لا تنفع قائلها إلا باجتماعها ؛ وهي على سبيل الإجمال ‏whistling#8207;
الأول‏ whistling#8207; العلم المنافي للجهل‏ ، الثاني ‏whistling#8207; اليقين المنافي للشك‏ ، الثالث‏ whistling#8207; القبول المنافي للرد ‏،‏ الرابع ‏whistling#8207; الانقيادُ المنافي للترك‏ ، الخامس‏ whistling#8207; الإخلاص المنافي للشرك‏ ،‏ السادس‏ whistling#8207; الصدق المنافي للكذب ‏، السابع ‏whistling#8207; المحبة المنافية لضدها ، وهو البغضاء‏ .‏
وشروط " شهادة أن محمَّداً رسول الله " هي نفسها شروط " شهادة أن لا إله إلا الله " ، وهي مذكورة بأدلتها في جواب السؤالين ( 9104 ) و ( 12295 ) .

والله أعلم

การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอที่จะให้ได้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?

คำถาม : ถูกต้องหรือไม่เมื่อครอบครัวของคนๆ หนึ่งศรัทธาว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตของพระองค์” ดังกล่าวนี้ถือว่าเพียงพอที่จะทำให้เข้าสวรรค์หรือไม่ ?



คำตอบ : อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ

อิสลามไม่ใช่เพียงการกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเท่านั้น แต่ทว่าจำเป็นจะต้องทำให้เงื่อนไขต่างๆ ของชะฮาดะฮฺทั้งสองนี้เป็นจริงและถูกต้อง เพื่อที่ผู้กล่าวมันทั้งสองนั้นจะได้เป็นมุสลิมที่แท้จริง หลักการอิสลามนั้นรวมไว้ทั้งการเชื่อมั่น การกล่าว และการปฏิบัติ

จากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิ อัศศอมิต กล่าวว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَهِ صَلَّى اللَهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللهِ وَابْنُ أَمَتِهِ، وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ، وَرُوحٌ مِنْهُ، وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ، وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ، أَدْخَلَهُ اللهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ » . رواه البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .

ความว่า "ผู้ใดที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงอีซา(เยซู)เป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นลูกของบ่าวของพระองค์ และพระองค์ได้ทรงโยนพระดำรัสของพระองค์ให้แก่มัรยัม และเป็นวิญญาณจากพระองค์ และแท้จริงสวรรค์นั้นเป็นความจริง และแท้จริงนรกนั้นเป็นความจริง อัลลอฮฺจะทรงให้เขาเข้าประตูสวรรค์ทั้งแปด ประตูใดก็ได้ตามที่เขาประสงค์" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 3252 มุสลิม 28)



ท่านชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อิบนฺ หะซัน อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อับดิลวะฮฺฮาบ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า : คำพูดที่ว่า (ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺหรือปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) หมายถึง ผู้ที่กล่าวมันโดยรู้ความหมายของมัน ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นจำเป็นในชะฮาดะฮฺทั้งสองที่จะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ และปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

﴿فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلٰهَ إلاَّ الله﴾

ความว่า "จงรู้เถิดว่าแท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" (ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด: 19 )



และคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า :

﴿إِلاَّ مَنْ شَهِدَ بِالْحَقِّ وَهُمْ يَعْلَمُوْنَ﴾

ความว่า "นอกจากผู้ยืนยันเป็นพยานด้วยความจริง และพวกเขารู้ดี" ( ซูเราะ อัซซุครุฟ : 86)



ส่วนการกล่าวโดยไม่รู้ถึงความหมายของมัน ไม่มีความมั่นใจ และไม่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมัน นั่นคือการออกห่างจากการตั้งภาคี ความบริสุทธิ์ใจในคำพูดและการกระทำ คำพูดทางด้านหัวใจและปาก และการปฏิบัติของหัวใจและอวัยวะต่างๆ (ถ้าหากไม่เป็นไปตามดังกล่าวแล้ว) ก็ไม่เป็นประโยชน์ทั้งนี้ด้วยมติของปวงปราชญ์

ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมุฟฮิม อะลา ศ่อฮีหิ มุสลิม” ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง "ไม่เป็นการเพียงพอเพียงแค่การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสอง แต่ว่าจะต้องมีหัวใจที่เชื่อมั่น" การตั้งชื่อเรียกเช่นนี้เป็นการเตือนให้รู้ถึงความไม่ถูกต้องของผู้ที่คลั่งไคล้ในแนวทางมุรญิอะฮฺที่กล่าวว่า การกล่าวชะฮาดะฮฺทั้งสองเพียงพอแล้วในการมีอีมาน และหะดีษต่างๆ ในบทนี้ก็บ่งชี้ถึงความไม่ถูกต้องของแนวทางนี้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นแนวทางที่เป็นที่ทราบกันว่าไม่ถูกต้องในบทบัญญัติอิสลามสำหรับผู้ศึกษาและรู้เรื่องของมัน และคำพูดดังกล่าวยังเป็นการอนุญาตอนุโลมแก่การนิฟาก(กลับกลอก)อีกด้วย และเป็นการตัดสินว่ามุนาฟิกก็มีการศรัทธาที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดและไม่เป็นจริงอย่างชัดเจน (จบ)

และในหะดีษเองก็ได้ชี้ถึงสิ่งนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า : "ผู้ใดที่ให้ชะฮาดะฮฺ" เพราะแท้จริงชะฮาดะฮฺหรือการปฏิญาณจะไม่ถูกต้องนอกเสียจากว่าจะต้องมีความรู้ ความมั่นใจ บริสุทธิ์ใจ และมีความสัตย์จริง (ดู ฟัตหุลมะญีด หน้า 36)

และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” มีอยู่ 7 เงื่อนไข มันจะไม่ยังประโยชน์นอกจากจะต้องมีครบทั้งหมด ซึ่งโดยสรุปคือ

หนึ่ง ความรู้ที่จะต้องไม่มีความเขลา

สอง ความมั่นใจที่จะต้องไม่มีความสงสัย

สาม การยอมรับที่จะต้องไม่มีการปฏิเสธ

สี่ การปฏิบัติตามที่จะต้องไม่มีการละทิ้ง

ห้า ความบริสุทธิ์ใจที่จะต้องไม่มีการตั้งภาคี

หก ความสัจจริงที่จะต้องไม่มีการโกหกมดเท็จ

เจ็ด ความรักที่จะต้องไม่มีสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน นั่นก็คือความโกรธเกลียด

และเงื่อนไขของ “การปฏิญาณว่าแท้จริงมุฮัมมัดเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ” ก็เงื่อนไขเดียวกันกับ “การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” โดยหลักฐานต่างๆ อยู่ในคำตอบของฟัตวาหมายเลข 9104 และ 12295

และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

http://www.islamqa.com/ar/ref/82857[/size]

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:15 pm    ชื่อกระทู้: การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดในเดือนซุลหิจญะฮฺ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[size=18]التكبير المطلق والمقيد في أيام ذي الحجة

عن التكبير المطلق في عيد الأضحى ، هل التكبير دبر كل صلاة داخل في المطلق أم لا ؟ وهل هو سنة أم مستحب أم بدعة ؟.

الحمد لله
أما التكبير في الأضحى فمشروع من أول الشهر إلى نهاية اليوم الثالث عشر من شهر ذي الحجة ، لقول الله سبحانه : ( ليشهدوا منافع لهم ويذكروا اسم الله في أيام معلومات ) الحج /28 ، الآية ، وهي أيام العشر ، وقوله عز وجل : ( واذكروا الله في أيام معدودات ) البقرة / 203 ، الآية ، وهي أيام التشريق ، ولقول النبي صلى الله عليه وسلم : ( أيام التشريق أيام أكل وشرب وذكر الله عز وجل ) رواه مسلم في صحيحه ، وذكر البخاري في صحيحه تعليقاً عن ابن عمر وأبي هريرة رضي الله عنهما : ( أنهما كانا يخرجان إلى السوق أيام العشر فيكبران ويكبر الناس بتكبيرهما ) . وكان عمر بن الخطاب وابنه عبد الله رضي الله عنهما يكبران في أيام منى في المسجد وفي الخيمة ويرفعان أصواتهما بذلك حتى ترتج منى تكبيراً ، وروي عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن جماعة من الصحابة رضي الله عنهم التكبير في أدبار الصلوات الخمس من صلاة الفجر يوم عرفة إلى صلاة العصر من يوم الثالث عشر من ذي الحجة وهذا في حق غير الحاج ، أما الحاج فيشتغل في حال إحرامه بالتلبية حتى يرمي جمرة العقبة يوم النحر ، وبعد ذلك يشتغل بالتكبير ، ويبدأ التكبير عند أول حصاة من رمي الجمرة المذكورة ، وإن كبر مع التلبية فلا بأس ، لقول أنس رضي الله عنه : ( كان يلبي الملبي يوم عرفة فلا ينكر عليه ، ويكبر المكبر فلا ينكر عليه ) رواه البخاري ، ولكن الأفضل في حق المحرم هو التلبية ، وفي حق الحلال هو التكبير في الأيام المذكورة .

وبهذا تعلم أن التكبير المطلق والمقيد يجتمعان في أصح أقوال العلماء في خمسة أيام ، وهي يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق الثلاثة . وأما اليوم الثامن وما قبله إلى أول الشهر فالتكبير فيه مطلق لا مقيد ، لما تقدم من الآية والآثار ، وفي المسند عن ابن عمر رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه وسلم ، أنه قال : ( ما من أيام أعظم عند الله ولا أحب إليه العمل فيهن من هذه الأيام العشر ، فأكثروا فيهن من التهليل والتكبير والتحميد ) أو كما قال عليه الصلاة والسلام .

كتاب مجموع فتاوى ومقالات متنوعة لسماحة الشيخ عبد العزيز بن عبد الله بن باز - رحمه الله - م/13 ص/17.

การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดในเดือนซุลหิจญะฮฺ

คำถาม : เกี่ยวกับการกล่าวตักบีรมุฏลักในอีดดิลอัฎหา การตักบีรหลังละหมาดทุกครั้งเป็นการกล่าวตักบีรแบบมุฏลักหรือไม่ ? มันเป็นซุนนะฮฺหรือว่าส่งเสริมหรือว่าบิดอะฮฺ ?



คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ ... การตักบีรในอีดุลอัฎหานั้นเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติในศาสนาตั้งแต่เริ่มต้นเดือนจนถึงเย็นของวันที่สิบสามของเดือนซุลหิจญะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«ليشهدوا منافع لهم ويذكروا اسم الله في أيام معلومات» الحج /28

ความว่า "เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว" (อัล-หัจญ์ 28)



«واذكروا الله في أيام معدودات» البقرة / 203 ، الآية

ความว่า "และพวกเจ้าจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้แล้ว" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 203)



วันต่างๆ ที่รู้กันซึ่งถูกกล่าวถึงก็คือวันตัชรีก และมีหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«أيام التشريق أيام أكل وشرب وذكر الله عز وجل» رواه مسلم في صحيحه

ความว่า "วันตัชรีก คือวันแห่งการกินดื่มและกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยมุสลิม)



อิมามอัล-บุคอรีย์ได้รายงานในหนังสือหะดีษเศาะฮีหฺของท่านเชิงตะอฺลีก(ไม่ระบุสายรายงาน)จากอิบนุ อุมัร และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่า ทั้งสองคนได้ออกไปกล่าวตักบีรที่ตลาดในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ แล้วผู้คนก็กล่าวตักบีรเนื่องด้วยการตักบีรของท่านทั้งสอง

ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ และอับดุลลอฮฺลูกชายของท่าน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จะกล่าวตักบีรในวันที่อยู่ที่มินา ทั้งในมัสยิด ในแคมป์ โดยจะกล่าวตักบีรด้วยเสียงดัง กระทั่งได้ยินเสียงตักบีรดังทั่วมินา

มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่า พวกเขาจะกล่าวตักบีรหลังละหมาดห้าเวลา นับตั้งแต่เวลาศุบหฺของเช้าวันอะเราะฟะฮฺจนกระทั่งเวลาอัศรฺของวันที่สิบสามของซุลหิจญะฮฺ นี่เป็นในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ทำหัจญ์

ส่วนคนที่อยู่ในพิธีหัจญ์นั้น เมื่อครองอิหฺรอมแล้วก็ให้เขาสาละวนอยู่กับการตัลบิยะฮฺจนกระทั่งขว้างหินญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺในวันนะห์รฺ หลังจากนั้นจึงค่อยกล่าวตักบีร โดยเริ่มกล่าวตักบีรตั้งแต่การขว้างหินลูกแรกที่เสาญัมเราะตุลอะเกาะบะฮฺ และหากเขาจะกล่าวตักบีรพร้อมๆ กับการตัลบิยะฮฺก็ถือว่าไม่เป็นไร เพราะมีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า ท่านได้ยินคนกล่าวตัลบิยะฮฺในวันอะเราะฟะฮฺแล้วท่านก็ไม่ว่าอะไร และได้ยินคนกล่าวตักบีรด้วยแต่ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์) แต่ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ครองอิหฺรอมคือการกล่าวตัลบิยะฮฺ ส่วนคนที่ไม่ได้ครองอิหฺรอมก็ให้เขาตักบีรในวันต่างๆ ดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ทราบว่าการตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดนั้น จะรวมกันอยู่ทั้งหมดห้าวัน ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของอุละมาอ์ นั่นคือ เริ่มตั้งแต่วันอะเราะฟะฮฺ วันนะห์รฺ(วันอีด) และวันตัชรีกทั้งสาม

ส่วนแปดวันก่อนหน้านั้นจะมีแต่ตักบีรมุฏลักเท่านั้น ไม่มีตักบีรมุก็อยยัด ตามหลักฐานที่ได้กล่าวข้างต้น

และมีรายงานในหนังสืออัล-มุสนัดของอิมามอะห์มัด จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

«ما من أيام أعظم عند الله ولا أحب إليه العمل فيهن من هذه الأيام العشر ، فأكثروا فيهن من التهليل والتكبير والتحميد» أو كما قال عليه الصلاة والسلام .

ความว่า "ไม่มีวันใดที่ยิ่งใหญ่ ณ อัลลอฮฺ และเป็นที่รักแก่พระองค์ซึ่งการทำความดีในวันดังกล่าว มากไปกว่าสิบวันนี้ ดังนั้นพวกท่านจงกล่าวตะฮฺลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) ตักบีร(อัลลอฮุอักบัร) และตะห์มีด(อัลหัมดุลิลลาฮฺ) ให้มากๆ"



จาก : รวมฟัตวาเชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ เล่มที่13 หน้า 17
http://www.islamqa.com/ar/ref/10508[/size]

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:25 pm    ชื่อกระทู้: หุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด การจับมือ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[size=18]حكم التهنئة بالعيد والمصافحة والمعانقة بعد الصلاة

ما حكم التهنئة بالعيد ؟ وما حكم المصافحة والمعانقة بعد صلاة العيد ؟.

الحمد لله

ورد عن الصحابة رضي الله عنهم أنهم كان يهنئ بعضهم بعضاً بالعيد بقولهم : تقبل الله منا ومنكم .

فعن جُبَيْرِ بْنِ نُفَيْرٍ قَالَ : كَانَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا اِلْتَقَوْا يَوْمَ الْعِيدِ يَقُولُ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ : تَقَبَّلَ اللَّهُ مِنَّا وَمِنْك . قال الحافظ : إسناده حسن .

وقَالَ الإمام أَحْمَدُ رحمه الله : وَلا بَأْسَ أَنْ يَقُولَ الرَّجُل لِلرَّجُلِ يَوْمَ الْعِيدِ : تَقَبَّلَ اللَّهُ مِنَّا وَمِنْك . نقله ابن قدامة في "المغني" .

وسئل شيخ الإسلام ابن تيمية في "الفتاوى الكبرى" (2/228) : هَلْ التَّهْنِئَةُ فِي الْعِيدِ وَمَا يَجْرِي عَلَى أَلْسِنَةِ النَّاسِ : " عِيدُك مُبَارَكٌ " وَمَا أَشْبَهَهُ , هَلْ لَهُ أَصْلٌ فِي الشَّرِيعَةِ , أَمْ لا ؟ وَإِذَا كَانَ لَهُ أَصْلٌ فِي الشَّرِيعَةِ , فَمَا الَّذِي يُقَالُ ؟

فأجاب :

"أَمَّا التَّهْنِئَةُ يَوْمَ الْعِيدِ يَقُولُ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ إذَا لَقِيَهُ بَعْدَ صَلاةِ الْعِيدِ : تَقَبَّلَ اللَّهُ مِنَّا وَمِنْكُمْ , وَأَحَالَهُ اللَّهُ عَلَيْك , وَنَحْوُ ذَلِكَ , فَهَذَا قَدْ رُوِيَ عَنْ طَائِفَةٍ مِنْ الصَّحَابَةِ أَنَّهُمْ كَانُوا يَفْعَلُونَهُ وَرَخَّصَ فِيهِ , الأَئِمَّةُ , كَأَحْمَدَ وَغَيْرِهِ . لَكِنْ قَالَ أَحْمَدُ : أَنَا لا أَبْتَدِئُ أَحَدًا , فَإِنْ ابْتَدَأَنِي أَحَدٌ أَجَبْته , وَذَلِكَ لأَنَّ جَوَابَ التَّحِيَّةِ وَاجِبٌ , وَأَمَّا الابْتِدَاءُ بِالتَّهْنِئَةِ فَلَيْسَ سُنَّةً مَأْمُورًا بِهَا , وَلا هُوَ أَيْضًا مَا نُهِيَ عَنْهُ , فَمَنْ فَعَلَهُ فَلَهُ قُدْوَةٌ , وَمَنْ تَرَكَهُ فَلَهُ قُدْوَةٌ . وَاَللَّهُ أَعْلَمُ" اهـ .

وسئـل الشيخ ابن عثيمين : ما حكـم التهنئة بالعيد ؟ وهل لها صيغة معينة ؟

فأجاب :

"التهنئة بالعيد جائزة ، وليس لها تهنئة مخصوصة ، بل ما اعتاده الناس فهو جائز ما لم يكن إثماً" اهـ .

وقال أيضاً :

"التهنئة بالعيد قد وقعت من بعض الصحابة رضي الله عنهم ، وعلى فرض أنها لم تقع فإنها الاۤن من الأمور العادية التي اعتادها الناس ، يهنىء بعضهم بعضاً ببلوغ العيد واستكمال الصوم والقيام" اهـ .

وسئـل رحمه الله تعالى : ما حكـم المصافحة ، والمعانقة والتهنئة بعد صلاة العيد ؟

فأجاب :

"هذه الأشياء لا بأس بها ؛ لأن الناس لا يتخذونها على سبيل التعبد والتقرب إلى الله عز وجل ، وإنما يتخذونها على سبيل العادة ، والإكرام والاحترام ، ومادامت عادة لم يرد الشرع بالنهي عنها فإن الأصل فيها الإباحة" اهـ .

"مجموع فتاوى ابن عثيمين" (16/208-210) .



หุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด การจับมือและการสวมกอดหลังจากละหมาดอีดมีว่าอย่างไร

ถาม : หุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด การจับมือและการสวมกอดหลังจากละหมาดอีดมีว่าอย่างไร ?
ตอบ :
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ...
มีปรากฏจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ รอฏิยัลลอฮุอันฮุม เนื่องในวันอีดพวกเขาได้แสดงความยินดีซึ่งกันและ
กัน โดยการกล่าวว่า “ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมินกุม”
عن ُ ج َ ب ْ ِ ير ْ ب ِ ن ُ ن َ ف ْ ٍ ير َ قا َ ل : َ كا َ ن َ أ ْ ص َ حا ُ ب َ ر ُ سو ِ ل اللهَِّ َ صلَّى اللهَُّ َ ع َ ل ْ ي ِ ه َ و َ سلَّ َ م إِ َ ذا اِ ْ ل َ ت َ ق ْ وا َ ي ْ و َ م ا ْ ل ِ عي ِ د
َ ي ُ قو ُ ل َ ب ْ ع ُ ض ُ ه ْ م لِ َ ب ْ ع ٍ ض : َ ت َ قبَّ َ ل اللهَُّ ِ منَّا َ و ِ م ْ نك . قال الحافظ : إسناده حسن .
จากญุบัยรฺ บิน นุฟัยรฺ กล่าวว่า : ปรากฏว่าบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ
อะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อพวกเขาพบกันในวันอีดจะกล่าวอวยพรซึ่งกันและกันว่า
“ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมินกา” อัลฮาฟิซกล่าวว่า: สายรายงานหะซัน
อิหม่ามอะหฺมัด รอฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า : นับว่าไม่เป็นอะไรการที่คนหนึ่งกล่าวกับอีกคนเนื่องในวันอีด
ว่า “ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมินกา” อิบนุ กุดามะฮฺ คัดลอกคำพูดของท่านไว้ในหนังสือ อัลมุฆนียฺ
ชัยคุล อิสลามอิบนิ ตัยมิยะฮฺ ถูกถามใน “อัลฟะตาวา อัลกุบรอ” (2/228) : อนุญาตให้กล่าวอวยพร
เนื่องในวันอีด และการกระทำด้วยความเคยชินของผู้คนทั่วไป เช่น “อีดมุบาร็อก” หรือคำพูดทำนองเดียวกันนี้
มีปรากฏในบทบัญญัติหรือไม่ ? และหากว่ามันมีปรากฏในบทบัญญัติ จะกล่าวด้วยประโยคอะไร ? ท่านตอบว่า
: “สำหรับการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดพวกเขาจะกล่าวซึ่งกันและกันเมื่อพบกันหลังจากละหมาดวันอีด เช่น
“ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมินกุม” และ “อะหาละฮุลลอฮุ อะลัยกะ” และการกล่าวในทำนองเดียวกันนี้
ลักษณะเช่นนี้มีปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติและในเรื่องนี้บรรดาอิหม่ามส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า
สามารถกระทำได้ เช่น อิหม่ามอะหฺมัดและคนอื่นๆ ทว่าท่านอิหม่ามอะหฺมัดกล่าวว่า : ฉันจะไม่เป็นคนเริ่มกล่าว
กับใครก่อนและหากมีผู้ใดมาเริ่มกล่าวกับฉันก่อนฉันจะกล่าวตอบ เพราะว่าการกล่าวตอบคำทักทายเป็นสิ่งที่
จำเป็น ส่วนการเริ่มกล่าวคำอวยพรไม่ใช่สุนนะฮฺที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติแต่ประการใดและเช่นกันไม่มีคำสั่งห้าม ดังนั้น
ผู้ใดได้ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่างและผู้ที่ไม่ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่าง วัลลอฮุ อะลัม”
เชคอิบนุ อุษัยมีน ถูกถามเรื่องหุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดมีว่าอย่างไร ? และมีประโยคหรือ
สำนวนเฉพาะหรือไม่ ?
ท่านตอบว่า : “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำ และมันไม่มีประโยคหรือ
สำนวนของการอวยพรเป็นการเฉพาะ ทว่าเป็นความเคยชินที่ผู้คนถือปฏิบัติกันมา อนุญาตให้กระทำ และไม่มี
ความผิดแต่ประการใด”
3
ท่านได้กล่าวเช่นกันว่า “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด มีบรรดาเศาะหาบะฮฺ รอฏิยัลลอฮุอันฮุม บาง
กลุ่มได้ปฏิบัติกันมา และถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติแต่ทว่าในยุคปัจจุบันเป็นประเพณีที่คุ้นเคยของผู้คน จะ
กล่าวอวยพรซึ่งกันและกันในโอกาสที่กลับมาพบวันอีด และในโอกาสที่การถือศีลอด การละหมาดกิยามครบถ้วน
สมบูรณ์”
ท่านเชคยังถูกถามเรื่อง : หุก่มการจับมือ การสวมกอดและการอวยพรหลังจากการละหมาดอีดมีว่า
อย่างไร ?
ท่านตอบว่า :“การกระทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้นับว่าไม่เป็นไร เพราะบรรดาผู้ปฏิบัติไม่ได้ยึดถือว่ามันเป็น
หนทางสู่การเคารพภักดีและเป็นการแสดงถึงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ ทว่าพวกเขาได้ปฏิบัติมันเป็นประเพณีความ
เคยชินและเป็นการให้เกียรตินอบน้อม และตราบใดที่ประเพณีปฏิบัติไม่มีบทบัญญัติมาห้าม พื้นฐานเดิมของมัน
ถือว่าเป็นที่อนุญาต” (มัจญมัวะฟะตาวา อิบนุ อุษัยมีน 16 / 208 - 210)

http://www.islamqa.com/ar/ref/49021[/size]

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:30 pm    ชื่อกระทู้: การฉลองรื่นเริงในวันต่างๆ ที่เป็นบิดอะฮฺ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[size=18]الاحتفال بالأعياد المبتدعة

ما هو حكم الشرع في الاحتفال بمولد الرسول صلى الله عليه وسلم ، وبعيد مولد الأطفال ، وعيد الأم ، وأسبوع الشجرة ؟.

الحمد لله
أولا : العيد اسم لما يعود من الاجتماع على وجه معتاد إما بعود السنة أو الشهر أو الأسبوع أو نحو ذلك فالعيد يجمع أموراً منها : يوم عائد كيوم عيد الفطر ويوم الجمعة ، ومنها : الاجتماع في ذلك اليوم ، ومنها : الأعمال التي يقام بها في ذلك اليوم من عبادات وعادات .

ثانيا : ما كان من ذلك مقصوداً به التنسك والتقرب أو التعظيم كسبا للأجر ، أو كان فيه تشبه بأهل الجاهلية أو نحوهم من طوائف الكفار فهو بدعة محدثة ممنوعة داخلة في عموم قول النبي صلى الله عليه وسلم : " من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد " رواه البخاري ومسلم ، مثال ذلك الاحتفال بعيد المولد وعيد الأم والعيد الوطني لما في الأول من إحداث عبادة لم يأذن بها الله ، وكما في ذلك التشبه بالنصارى ونحوهم من الكفرة ، ولما في الثاني والثالث من التشبه بالكفار ، وما كان المقصود منه تنظيم الأعمال مثلاً لمصلحة الأمة وضبط أمورها ، وتنظيم مواعيد الدراسة والاجتماع بالموظفين للعمل ونحو ذلك مما لا يفضي به التقرب والعبادة والتعظيم بالأصالة ، فهو من البدع العادية التي لا يشملها قوله صلى الله عليه وسلم : " من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد " فلا حرج فيه بل يكون مشروعاً .

وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم .

فتاوى اللجنة الدائمة 3/59.

การฉลองรื่นเริงในวันต่างๆ ที่เป็นบิดอะฮฺ

คำถาม : อะไรคือหุก่มการจัดงานฉลองในวันเกิดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และวันเกิดของเด็ก วันแม่ หรือสัปดาห์ต้นไม้ หรือวันชาติ เป็นต้น?

คำตอบ : ประการแรก คำว่า "อีด" หรือวันฉลองนั้น หมายถึงวันที่หวนกลับมาเพื่อชุมนุมตามวาระประจำ ไม่ว่าจะเป็นทุกปี หรือทุกเดือน หรือทุกวาระที่คล้ายกัน ดังนั้นมันจึงเข้าข่ายหลายอย่างเช่น วันที่หวนกลับตามวาระ เช่นวันอีดุลฟิฏร์ วันศุกร์ และหมายถึงการชุมนุมในวันดังกล่าว และรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในวันดังกล่าวทั้งที่เป็นอิบาดะฮฺหรือธรรมเนียมปฏิบัติ

ประการที่สอง การฉลองตามที่กล่าวมา ถ้าหากมีเป้าหมายเพื่อเป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ หรือเฉลิมฉลองเพื่อหวังในผลบุญ หรือคล้ายกับการจัดของพวกญาฮีลิยะฮฺหรือผู้ปฏิเสธอิสลามกลุ่มอื่นๆ ย่อมถือว่าเป็นบิดอะฮฺ(อุตริกรรมในศาสนา)ตามที่มีระบุในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ความว่า "ผู้ใดที่คิดค้นในศาสนาด้วยสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ มันย่อมถูกปฏิเสธ" บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม ตัวอย่างเช่น การจัดงานเมาลิด วันแม่ และวันชาติ อันแรกคือการอุตริอิบาดะฮฺซึ่งอัลลอฮฺไม่ได้ทรงอนุญาต และเป็นการเลียนแบบคริสเตียนและศาสนิกอื่นๆ ส่วนอันที่สองกับอันสุดท้ายนั้นเป็นการเลียนแบบผู้ไม่ใช่มุสลิม

ส่วนการจัดที่มีเป้าหมายเพื่อวางแผนงานและวางระเบียบเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือจัดเวลาเพื่อการศึกษาหรือชุมนุมพนักงานในการดำเนินหน้าที่ต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ ที่คล้ายกัน ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การกลายเป็นอิบาดะฮฺหรือยกย่องให้ยิ่งใหญ่แต่แรกนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺปกติ (บิดอะฮฺในธรรมเนียมประเพณี ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนา) ซึ่งไม่รวมอยู่ในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีความว่า "ผู้ใดที่คิดค้นในศาสนาด้วยสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ มันย่อมถูกปฏิเสธ" จึงไม่เป็นไรที่จัดให้มีขึ้น ทว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้

ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก

وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم .

จากฟัตวา คณะกรรมการถาวรเพื่อการฟัตวา 3/59

http://www.islamqa.com/ar/ref/10070[/size]

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:34 pm    ชื่อกระทู้: การตั้งเจตนาถือศีลอดหกวันเชาวาล พร้อมกับชดที่ค้างจากเราะมะฎอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

لا يصح جمع قضاء رمضان مع ست شوال بنية واحدة

هل يجوز أن أصوم الستة أيام من شوال بنفس النية بقضاء الأيام التي أفطرت فيها في رمضان بسبب الحيض ؟.

الحمد لله

لا يصح ذلك ، لأن صيام ستة أيام من شوال لا تكون إلا بعد صيام رمضان كاملاً.

قال الشيخ ابن عثيمين في "فتاوى الصيام" (438) :

"من صام يوم عرفة ، أو يوم عاشوراء وعليه قضاء من رمضان فصيامه صحيح ، لكن لو نوى أن يصوم هذا اليوم عن قضاء رمضان حصل له الأجران: أجر يوم عرفة ، وأجر يوم عاشوراء مع أجر القضاء ، هذا بالنسبة لصوم التطوع المطلق الذي لا يرتبط برمضان ، أما صيام ستة أيام من شوال فإنها مرتبطة برمضان ولا تكون إلا بعد قضائه، فلو صامها قبل القضاء لم يحصل على أجرها ، لقول النبي صلى الله عليه وسلم : (من صام رمضان ثم أتبعه بست من شوال فكأنما صام الدهر) ومعلوم أن من عليه قضاء فإنه لا يعد صائماً رمضان حتى يكمل القضاء" اهـ .

ถาม : ฉันสามารถที่จะถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลด้วยการตั้งเจตนา(เนียต)พร้อมๆ กับเนียตถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนที่ค้างอยู่ด้วยสาเหตุของการมาประจำเดือนได้หรือไม่ ?

ตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ การทำเช่นนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลจะไม่สมบูรณ์นอกจากต้องถือศีลอดของเดือนเราะมะฎอนให้เสร็จเสียก่อน

ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีน ได้กล่าวใน "ฟะตาวา อัศ-ศิยาม" หน้า : 438 ว่า

"ผู้ใดที่ถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หรือ วันอาชูรออ์ ทั้งๆ ที่ยังต้องถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนอยู่ การถือศีลอดนั้นย่อมใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอดในวันเหล่านี้พร้อมๆ กับการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้สองผลบุญคือ ผลบุญของวันอะเราะฟะฮฺหรือวันอาชูรออ์พร้อมกับผลบุญของการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน อันนี้สำหรับการถือศีลอดสุนัตทั่วๆ ไปที่ไม่เกี่ยวพันกับเราะมะฎอน ส่วนการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลนั้น(แตกต่างจากการถือศีลอดทั่วไป)เพราะมีความเกี่ยวพันกับเราะมะฎอน กล่าวคือจะไม่มีนอกจากต้องถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนเสียก่อน ถ้าหากถือก่อนที่จะชดของเราะมะฎอนก็จะไม่ได้รับผลบุญนั้น(ตามความเห็นหนึ่งของมัซฮับหันบะลีย์ – ผู้แปล) เพราะหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีความว่า "ผู้ใดที่ถือศีลอดเราะมะฎอนแล้วถือศีลอดตามหลังจากนั้นหกวันในเดือนเชาวาล นั่นเสมือนว่าเขาได้ถือศีลอดถึงหนึ่งปี" (บันทึกโดยมุสลิม 1984) และเป็นที่รู้กันว่าผู้ใดที่ยังต้องมีภาระชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาจะไม่นับว่าถือศีลอดเราะมะฎอนครบจนกว่าจะชดใช้จนสมบูรณ์"

http://www.islamqa.com/ar/ref/39328

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:37 pm    ชื่อกระทู้: การถือศีลอด “เยามุชชักก์” ด้วยเนียตชดใช้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

صيام يوم الشك بنية قضاء ما فات من رمضان

أعلم أن النبي صلى الله عليه وسلم نهى عن صوم يوم الشك ، ونهى عن الصيام قبل رمضان بيومين . ولكن هل يجوز لي أن أقضي رمضان الفائت في هذه الأيام ؟.

الحمد لله

نعم ، يجوز قضاء رمضان الفائت في يوم الشك وقبل رمضان بيوم أو يومين .

وقد ثبت أن النبي صلى الله عليه وسلم نهى عن صيام يوم الشك ، ونهى عن تقدم رمضان بصوم يوم أو يومين . ولكن هذا النهي ما لم يكن للإنسان عادة بالصيام ، لقول النبي صلى الله عليه وسلم : ( لا تَقَدَّمُوا رَمَضَانَ بِصَوْمِ يَوْمٍ وَلا يَوْمَيْنِ إِلا رَجُلٌ كَانَ يَصُومُ صَوْمًا فَلْيَصُمْهُ ) . رواه البخاري (1914) ومسلم (1082) فإذا اعتاد الإنسان صوم يوم الاثنين -مثلاً- ووافق ذلك آخر يوم من شعبان فإنه يجوز أن يصومه تطوعاً ولا يُنهى عن صيامه .

فإذا جاز صيام التطوع المعتاد فجواز صيام قضاء رمضان من باب أولى ، لأنه واجب ، ولأنه لا يجوز تأخير القضاء إلى ما بعد رمضان التالي .

قال النووي رحمه الله في المجموع (6/399) :

قَالَ أَصْحَابُنَا : لا يَصِحُّ صَوْمُ يَوْمِ الشَّكِّ عَنْ رَمَضَانَ بِلا خِلافٍ . . . فَإِنْ صَامَهُ عَنْ قَضَاءٍ أَوْ نَذْرٍ أَوْ كَفَّارَةٍ أَجْزَأَهُ ، لأَنَّهُ إذَا جَازَ أَنْ يَصُومَ فِيهِ تَطَوُّعًا لَهُ سَبَبٌ فَالْفَرْضُ أَوْلَى , كَالْوَقْتِ الَّذِي نُهِيَ عَنْ الصَّلاةِ فِيهِ , وَلأَنَّهُ إذَا كَانَ عَلَيْهِ قَضَاءُ يَوْمٍ مِنْ رَمَضَانَ , فَقَدْ تَعَيَّنَ عَلَيْهِ ; لأَنَّ وَقْتَ قَضَائِهِ قَدْ ضَاقَ اهـ .

การถือศีลอด “เยามุชชักก์” ด้วยเนียตชดใช้เราะมะฎอนที่ผ่านมา

ถาม ฉันรู้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามไม่ให้ถือศีลอด “เยามุชชักก์” คือ ในวันที่เราไม่แน่ใจว่าเริ่มเดือนเราะมะฎอนแล้วหรือยัง และท่านยังได้ห้ามไม่ให้ถือศีลอดก่อนเราะมะฎอนประมาณสองวัน แต่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือไม่ ถ้าฉันจะถือศีลอดในวันเหล่านี้ด้วยเนียตว่าเพื่อชดใช้ส่วนที่ติดค้างสำหรับเดือนเราะมะฎอนของปีที่ผ่านมา ?

ตอบ อัลหัมดุลิลลาฮฺ ได้ อนุญาตให้ถือศีลอดชดใช้ส่วนที่ติดค้างของเดือนเราะมะฎอนที่ผ่านมาใน “เยามุชชักก์” (วันที่ไม่แน่ใจว่าเริ่มเราะมะฎอนแล้วหรือไม่) และวันสองวันก่อนเดือนเราะมะฎอนได้

มีรายงานยืนยันจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้ห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจ และห้ามไม่ให้ถือศีลอดวันสองวันก่อนเริ่มเราะมะฎอน แต่การห้ามที่ว่านี้เฉพาะในกรณีที่เขาไม่เคยถือศีลอดเป็นปกติวิสัยหรือเป็นประจำ เพราะมีหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«لا تَقَدَّمُوا رَمَضَانَ بِصَوْمِ يَوْمٍ وَلا يَوْمَيْنِ، إِلا رَجُلٌ كَانَ يَصُومُ صَوْمًا فَلْيَصُمْهُ» . رواه البخاري (1914) ومسلم (1082)

ความว่า “พวกท่านอย่าได้ถือศีลอดก่อนเราะมะฎอนหนึ่งหรือสองวัน ยกเว้นเฉพาะคนที่เคยถือศีลอดเป็นประจำโดยปกติ ก็ให้เขาถือศีลอดได้” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 1914 มุสลิม 1082)

ดังนั้น ถ้าคนคนหนึ่งเคยถือศีลอดเป็นปกติ เช่น ถือศีลอดทุกวันจันทร์ แล้วเผอิญว่าวันที่เขาถือศีลอดนั้นตรงกับวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน ก็อนุญาตให้เขาถือศีลอดเหมือนปกติได้ และไม่เป็นการห้ามที่เขาจะถือศีลอดในวันนั้น

เมื่ออนุญาตให้ถือศีลอดสุนัตที่เคยปฏิบัติเป็นปกติในวันนั้นได้ ดังนั้น ก็เป็นการสมควรมากกว่าที่จะอนุญาตให้ถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนที่ผ่านมา เพราะมันเป็นวาญิบ และเนื่องจากว่าไม่อนุญาตให้ล่าช้าในการชดใช้จนกระทั่งเดือนเราะมะฎอนของปีถัดไปได้มาถึง

อิมาม อัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวใน อัล-มัจญ์มูอฺ (6/399) ว่า “สหายในมัซฮับของเราได้กล่าวว่า เป็นทัศนะที่เห็นพ้องกันว่า การเนียตถือศีลอดเราะมะฎอนในวันที่ไม่แน่ใจถือเป็นโมฆะและใช้ไม่ได้ ... แต่ถ้าหากถือศีลอดในวันนั้นด้วยเนียตชดใช้ หรือบนบาน(นะซัร) หรือกัฟฟาเราะฮฺ ก็ถือว่าใช้ได้ เนื่องจากว่า ถ้าในวันนั้นอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัตที่มีมูลเหตุได้ การถือศีลอดที่วาญิบก็ย่อมสมควรกว่า มันเหมือนกับช่วงเวลาที่ห้ามละหมาด (เช่น เวลาหลังอัศริ ซึ่งห้ามละหมาดสุนัตแต่อนุญาตให้ละหมาดฟัรฎูที่ยังไม่ได้ละหมาดได้ – ผู้แปล) และเนื่องจากถ้าสมมุติว่าเขามีความจำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้หนึ่งวันของเราะมะฎอนที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นวาญิบที่เขาจะต้องถือศีลอดในวันนั้นเลย เพราะเวลาแห่งการชดใช้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว”

http://www.islamqa.com/ar/ref/26860

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:42 pm    ชื่อกระทู้: การถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเดือนเราะมะฎอน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

صوم يوم الشك

في ليلة الثلاثين من شعبان خرجنا لرؤية الهلال ، ولكن الجو كان غيما فلم نتمكن من الرؤية ، هل نصوم يوم الثلاثين من شعبان لأنه يوم مشكوك ؟.

الحمد لله

هذا ما يسمى بيوم الشك ( لأنه مشكوك فيه ، هل هو آخر يوم من شعبان أو أول يوم من رمضان ) وصومه محرم لقول النبي صلى الله عليه وسلم : " صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته فإن غُبِّيَ ( أي خفي ) عليكم فأكملوا عدة شعبان ثلاثين " رواه البخاري ( 1909 ) .

وقال عمار بن ياسر من صام اليوم الذي يُشك فيه فقد عصى أبا القاسم صلى الله عليه وسلم . رواه الترمذي وصححه الألباني في صحيح الترمذي 553 .

قال الحافظ ابن حجر : استُدل به على تحريم صوم يوم الشك لأن الصحابي لا يقول ذلك من قبل رأيه فيكون من قبيل المرفوع .

قال علماء اللجنة الدائمة عن يوم الشك : " دلت السنة على تحريم صومه " فتاوى اللجنة 10/117

وقال الشيخ محمد بن عثيمين رحمه الله بعد ذكر الخلاف في حكم صوم يوم الشك : " وأصح هذه الأقوال هو التحريم ، ولكن إذا ثبت عند الإمام وجوب صوم هذا اليوم وأمر الناس بصومه فإنه لا ينابذ وتحصل عدم منابذته بألا يُظهر الإنسان فطره ، وإنما يُفطر سراً " . الشرح الممتع 6/318 .

การถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเดือนเราะมะฎอน

ถาม ในคืนที่สามสิบเดือนชะอฺบาน เราได้ออกไปดูจันทร์เสี้ยว แต่บรรยากาศอึมครึมมีเมฆบดบังเป็นผลให้เราไม่เห็นจันทร์ เราสามารถที่จะถือศีลอดในวันที่สามสิบนั้นได้หรือไม่ เพราะมันเป็นวันที่เราไม่แน่ใจ(ว่าเข้าเดือนเราะมะฎอนแล้วหรือไม่)?

ตอบ อัลหัมดุลิลลาฮฺ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า “เยามุชชักก์” คือ วันที่ไม่แน่ใจ เพราะเป็นวันที่เราไม่แน่ใจว่าเป็นวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบานหรือเป็นวันแรกของเดือนเราะมะฎอนกันแน่ การถือศีลอดในวันนี้เป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ทำ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته فإن غُبِّيَ ( أي خفي ) عليكم فأكملوا عدة شعبان ثلاثين» رواه البخاري (1909)

ความว่า “จงถือศีลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว และจงออกจากการถือศีลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่าน ก็จงนับจำนวนเดือนชะอฺบานให้ครบสามสิบวัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ 1909)

อัมมารฺ บิน ยาสิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า ใครที่ถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจ แท้จริงแสดงว่าเขาไม่ได้เชื่อฟังต่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ และ อัล-อัลบานีย์ ได้วินิจฉัยว่าเศาะฮีหฺ ใน เศาะฮีหฺ อัต-ติรมิซีย์ 553)

อิบนุ หะญัรฺ ได้กล่าวว่า รายงานดังกล่าวนี้ใช้เป็นหลักฐานว่าห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจ เพราะเศาะหาบะฮฺจะไม่พูดออกมาด้วยความเห็นส่วนตัว ดังนั้นรายงานนี้จึงอยู่ในฐานะที่ถูกอ้างถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

นักวิชาการของหน่วยงานถาวรเพื่อการฟัตวาแห่งราชอาณาจักรซาอุดีฯ ได้กล่าวว่า “หลักฐานจากซุนนะฮฺชี้ให้เห็นว่า ห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจ (เยามุชชักก์)” (ดู ฟัตวาของหน่วยงานฯ 10/117)

ท่านเชค มุหัมมัด ศอลิห์ อัล-อุษัยมีน ได้กล่าวหลังจากพูดถึงความเห็นขัดแย้งในเรื่องการถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจว่า “ความเห็นที่ถูกต้องที่สุด คือ ห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันที่ไม่แน่ใจ แต่ว่า ถ้าหากมีการยืนยันจากผู้นำและมีประกาศให้ผู้คนถือศีลอดในวันดังกล่าว ก็ต้องไม่ทำลายคำสั่งนั้น การไม่ทำลายคำสั่งดังกล่าวคือการไม่แสดงออกอย่างประเจิดประเจ้อว่าตนไม่ถือศีลอด แต่ให้ปกปิดการไม่ถือศีลอดนั้นอย่างลับๆ (คือไม่ต้องถือศีลอด แต่ให้กินและดื่มในที่ลับโดยไม่ประเจิดประเจ้อต่อหน้าคนอื่น)” (ดู อัช-ชัรหุล มุมติอฺ 6/318)

http://www.islamqa.com/ar/ref/13711

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:46 pm    ชื่อกระทู้: การนอนเปลือยกายระหว่างสามีภรรยา และผลต่อบัญญัติด้านความสะอาด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

هل يجوز للزوجين التَّجرّد من الثياب حال النوم وما أثر ذلك في الطهارة

هل النوم عارية مع الزوج جائز في الإسلام ؟ إذا كان الجواب نعم ، فهل المعانقة أثناء النوم توجب الغسل قبل الصلاة أم أن الوضوء يكفي .

الحمد لله

أولاً :

أما الشق الأول من السؤال : فيجوز للزوجين ذلك .

قال الله عز وجل : ( وَالَّذِينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظُونَ . إِلا عَلَى أَزْوَاجِهِمْ أوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ فَإِنَّهُمْ غَيْرُ مَلُومِينَ ) [ المؤمنون /5-6] .

قال الإمام ابن حزم رحمه الله: فأمر تعالى بحفظ الفرج إلا على الزوجة وملك اليمين، فلا ملامة في ذلك، وهذا عموم في رؤيته ولمسه ومخالطته. أ.ه‍ "المحلى" (9/165).

وأما من السنَّةِ : فقد صحَّ عن عائشةَ رضي الله عنها أنَّها قالت : "كُنْتُ أَغْتَسِلُ أَنَا وَرَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم منْ إِنَاءٍ بَيْني وَبَيْنَهُ وَاحِدٍ، فَيُبَادِرَني حَتَّى أَقُولَ : دَعْ لي ، دَعْ لي" رواه البخاري ( 258 ) ومسلم ( 321 ) - واللفظ له - .

قال الحافظ ابن حجر: واستدل به الداوديُّ على جواز نظر الرجل إلى عورة امرأته وعكسه ، ويؤيده ما رواه ابن حبان من طريق سليمان بن موسى أنه سئل عن الرجل ينظر إلى فرج امرأته، فقال: سألت عطاءً فقال: سألتُ عائشة فذكرتْ هذا الحديث بمعناه. قال الحافظ : وهو نصٌّ في المسألة. أ.ه‍.

وحديثٌ آخرُ من السنَّةِ، وهو قوله صلى الله عليه وسلم "احفظْ عَوْرَتَكَ إِلاَّ مِنْ زَوْجَتِكَ أَوْ مَا مَلَكَتْ يَمِينُكَ" رواه أبو داود ( 4017 ) والترمذي ( 2769 ) وحسنه ، وابن ماجه ( 1920 ). ورواه البخاري معلقا (1/508)، وقال الحافظ ابن حجر عنده : ومفهوم قوله " إلا عن زوجتك " يدل على أنه يجوز لها النظر إلى ذلك منه ، وقياسه أنه يجوز له النظر.أ.ه‍.

قال ابن حزم رحمه الله: وحلالٌ للرَّجُلِ أَنْ ينظرَ إلى فرج امرأته -زوجته وأمَتِه التي يحل وطؤها - وكذلك لهما أنْ ينظرا إلى فرجه ، لا كراهة في ذلك أصلاً ، برهان ذلك الأخبار المشهورة عن طريق عائشة وأمِّ سلمة وميمونة أمهات المؤمنين رضي الله عنهن أنهن كنّ يغتسلن مع رسول الله صلى الله عليه وسلم من الجنابة من إناءٍ واحدٍ ، وفي خبر ميمونة بيان أنه عليه الصلاة والسلام كان بغير مئزرٍ لأنَّ في خبرها " أَنَّهُ عَلَيْهِ الصَّلاةُ وَالسَّلاَمُ أَدْخَلَ يَدَهُ في الإِنَاءِ ثُمَّ أَفْرَغَ عَلى فَرْجِهِ وَغَسَلَهُ بِشِمَالِهِ"، فبطل بعد هذا أنْ يُلتفت إلى رأيِ أَحَدٍ، ومن العجب أنْ يُبيحَ بعضُ المتكلِّفين مِن أهل الجهل!! وَطءَ الفرجِ ويمنع من النظر إليه. أ.ه‍ "المحلى" (9/165).

وقال الشيخ الألباني رحمه الله : تحريم النظر بالنسبة للجماع من تحريم الوسائل ، فإذا أباح الله تعالى للزوج أنْ يجامع زوجته ، فهل يعقل أنْ يمنعه من النظر إلى فرجها ؟! اللهمَّ لا. أ.هـ "السلسلة الضعيفة" (1/353).

ثانياً :

أما حكم الطهارة في هذه الحالة : فالمعانقة أثناء النوم إذا لم يترتب عليها إنزال أو لم يحصل جماع فإنها لا توجب الغسل ، وإنما إذا حصل مذي فإن على الرجل أن يغسل ذكره وأنثييه ، وعلى المرأة أن تغسل فرجها، ويجب عليهما الوضوء فقط لا الغسل ، والله أعلم .

อนุญาตให้สามีภรรยาไม่สวมเสื้อผ้าขณะนอนหรือไม่ และจะมีผลต่อเรื่อง
เฏาะฮาเราะฮฺ (ความสะอาด) อย่างไร
คำถาม:
ฉันอยากทราบว่าการนอนหลับกับคู่ครองโดยไม่สวมเสื้อผ้านั้นเป็นที่อนุญาตหรือไม่ใน
อิสลาม ถ้าเป็นที่อนุญาตแล้ว เมื่อโอบกอดกันขณะหลับ จำเป็นต้องอาบน้ำญะนาบะฮฺก่อน
ละหมาดหรือไม่ หรือเพียงแค่อาบน้ำละหมาด?
คำตอบ:
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
สำหรับคำถามในส่วนแรกนั้น เป็นสิ่งที่อนุมัติสำหรับคู่ครอง
อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า
ينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظُونَ (وا ِ
، إلَّا ﻟَﺒَ أَزْوَ
اِجِهِمْ أوْ مَا
مَلكتْ أفمَاغهُمْ فإِغَّهُمْ لَﻴْﺮُ مَلُومِﻴﻦَ
( ٦- )ََََُْ (اﻟﻤؤمنون : ٥
“และบรรดาผู้ที่สงวนอวัยวะเพศของพวกเขา เว้นแต่กับบรรดาภรรยา
ของพวกเขา หรือกับสตรีใต้การครอบครองของพวกเขา (ทาสี) ซี่งใน
กรณีเช่นนั้นพวกเขาจะไม่ถูกตำหนิ” [อัลมุอฺมินูน 23:5-6]
อิมาม อิบนุ หัซมฺ رحمه الله กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงใช้ให้พวกเราสงวนอวัยวะเพศ ยกเวน้ กับ
บรรดาภรรยาของพวกเราหรือกับสตรีที่อยู่ใต้อำนาจของพวกเรา (ทาสี) ซึ่งจะไม่ถูกตำหนิในกรณี
นั้น นี่เป็นการกล่าวถึงอย่างกว้างๆ ซึ่งหมายรวมทั้งการมอง การสัมผัส และการคลุกคลีปะปนกัน
(อัลมุหัลลา, 9/165)
สำหรับหลักฐานจากซุนนะฮฺ มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ
และฉันเคยอาบน้ำญะนาบะฮฺจากภาชนะซึ่งถูกวางไว้ระหว่างฉันกับท่าน ท่านเร่งรีบ
ตักจนฉันกล่าวว่า “เหลือไว้สำหรับฉันบ้าง เหลือไว้สำหรับฉันบ้าง” (บันทึกโดย อัลบุคอรี,
258; มุสลิม, 321 ในสำนวนนี้บันทึกโดยมุสลิม)
อัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร กล่าวว่า อัลดาวุดี ใช้หลักฐานนี้บอกว่าเป็นที่อนุมัติให้ชายมองเอา
เราะฮฺของภรรยาและอนุมัติให้หญิงมองเอาเราะฮฺของสามี และได้รับการสนับสนุนโดยรายงานจาก
อิบนุหิบบาน จาก สุลัยมาน อิบนุ มูซา ซึ่งถูกถามเกี่ยวกับการที่ผู้ชายมองอวัยวะเพศของภรรยา
เขากล่าวว่า ฉันได้ถาม อะฏออ์ แล้วเขากล่าวว่า ฉันได้ถามท่านหญิงอาอิชะฮฺ และนางได้
กล่าวถึงหะดีษนี้ อัลหาฟิซกล่าวว่า นี่คือรายงานที่เจาะจงสำหรับเรื่องนี้เลยทีเดียว

2ยังมีหะดีษอีกบทหนึ่ง ท่านร่อซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “จงรักษาเอาเราะฮฺของท่าน
ยกเว้นกับบรรดาภรรยาและสตรีผู้อยู่ใต้อำนาจของพวกท่าน” (บันทึกโดย อบูดาวูด, 4017;
อัตติรมิซี, 2769 หะดีษนี้อยู่ในระดับหะซัน; อิบนุมาญะฮฺ, 1920; รายงานโดย มุอัลละกอ โดย อัลบุ
คอรี, 1/508) อัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร กล่าวเกี่ยวกับหะดีษนี้ว่า สำหรับข้อความ “ยกเว้นสำหรับ
ภรรยาของพวกท่าน” หมายถึง อนุญาตให้ภรรยามองเอาเราะฮฺของสามีและอนุญาตให้สามีมอง
เอาเราะฮฺของภรรยา
อิบนุ หัซมฺ กล่าวว่า เป็นที่หะลาลสำหรับผู้ชายในการมองอวัยวะเพศหญิงของภรรยาและ
ทาสีของเขา ซึ่งเป็นบุคคลที่เขาได้รับอนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ และเป็นที่อนุญาตให้พวกนางมอง
อวัยวะเพศของเขา ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องนั้น หลักฐานของเรื่องนี้เป็นที่ทราบกันดีถึงรายงาน
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ และท่านหญิงมัยมูนะฮฺ เหล่ามารดาของผู้ศรัทธา
(ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยพวกนาง) ซึ่งรายงานว่าพวกนางเคยอาบน้ำญะนาบะฮฺร่วมกับท่านร่อซู
ลุลลอฮฺ เพื่อทำความสะอาดจากหะดัษใหญ่ ในภาชนะหนึ่ง รายงานจากท่านหญิงมัยมูนะฮฺ
ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ไม่ได้ปกปิดร่างกาย เพราะรายงานของนางระบุว่า “ท่าน
จุ่มมือลงในภาชนะแล้วเทน้ำลงบนอวัยวะเพศแล้วชำระล้างมันด้วยมือซ้ายของท่าน”
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตามความคิดเห็นส่วนน้อยของบางคน เป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้เพิกเฉยบาง
คนที่ต้องการสร้างความยากลำบากโดยการอนุมัติให้มีเพศสัมพันธ์แต่ห้ามมองอวัยวะเพศ (อัลมุ
หัลลา, 9/165)
ชัยคฺ อัลอัลบานี กล่าวว่า การห้ามมองนั้นหมายถึงห้ามมองในสิ่งที่จะนำสู่เพศสัมพันธ์ที่
หะรอม ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺทรงอนุมัติให้สามีมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาได้แล้ว การที่พระองค์จะทรง
ห้ามเขามองอวัยวะเพศของนางนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สอดรับกัน เป็นไปไม่ได้ (อัสสิลสิละฮฺ อัฎฎออีฟะฮฺ,
1/353)
เกี่ยวกับเฏาะฮาเราะฮฺ (ความสะอาด) ในกรณีนี้ การโอบกอดขณะนอนหลับ ตราบใดที่
มิได้ทำให้หลั่งน้ำมะนียฺ (อสุจิ) หรือมีเพศสัมพันธ์ ก็ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำญะนาบะฮฺ
แต่ถ้ามีการหลั่งน้ำมะซียฺ (น้ำเมือกใสที่หลั่งเองเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ) ทั้งสองต้องชำระ
ล้างอวัยวะเพศและอาบน้ำละหมาด
และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ที่สุด

โดย ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด

http://www.islamqa.com/ar/ref/13486

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:49 pm    ชื่อกระทู้: การร่วมงานรื่นเริงของผู้ไม่ใช่มุสลิม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

حضور أعياد المشركين وتهنئتهم بها

هل يجوز حضور الاحتفال بأعياد النصارى وتهنئتهم بها ؟.

الحمد لله

لا يجوز حضور أعياد المشركين ، من النصارى أو غيرهم .

قال ابن القيم رحمه الله : ولا يجوز للمسلمين حضور أعياد المشركين باتفاق أهل العلم الذين هم أهله . وقد صرح به الفقهاء من أتباع المذاهب الأربعة في كتبهم . . . وروى البيهقي بإسناد صحيح عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه أنه قال : (لا تدخلوا على المشركين في كنائسهم يوم عيدهم فإن السخطة تنزل عليهم) . وقال عمر أيضاً : (اجتنبوا أعداء الله في أعيادهم) . وروى البيهقي بإسناد جيد عن عبد الله بن عمرو أنه قال : (من مَرَّ ببلاد الأعاجم فصنع نيروزهم ومهرجانهم وتشبه بهم حتى يموت وهو كذلك حشر معهم يوم القيامة) انتهى من أحكام أهل الذمة 1 /723-724 .

وأما تهنئتهم بأعيادهم فقد تقدم جواب عن ذلك برقم (947) فننصح السائل بمراجعته.

الشيخ محمد صالح المنجد

คำถาม : อนุญาตให้ร่วมงานฉลองวันรื่นเริงที่สำคัญของชาวคริสเตียนและกล่าวอวยพรแก่พวกเขาหรือไม่ ?

คำตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ ท่านอิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวว่า ไม่อนุญาตให้มุสลิมร่วมงานในวันฉลองของผู้ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งบรรดาอุละมาอ์ต่างมีความเห็นตรงกันในประเด็นนี้ บรรดาฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)ในมัซฮับทั้งสี่ต่างให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนในตำราของพวกเขา ... อัลบัยฮะกีย์ได้รายงานด้วยสายรายงานที่เศาะฮีหฺจากอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านกล่าวว่า "อย่าได้เข้าไปหาพวกมุชริกีนในโบสถ์ในวันเฉลิมฉลองของพวกเขา เพราะความพิโรธ(ของอัลลอฮฺ)จะลงมายังพวกเขาเหล่านั้น" ท่านอุมัร ยังได้กล่าวอีกว่า "จงอยู่ให้ห่างจากศัตรูของอัลลอฮฺในวันเฉลิมฉลองของพวกเขา" อัลบัยฮะกีย์ ยังได้รายงานจากอิบนุ อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ด้วยสายรายงานที่ดีว่า "ใครที่ผ่านเมืองของพวกอะญัม(บรรดาคนที่ไม่ใช่อาหรับมุสลิม)แล้วไปร่วมงานฉลองวันนัยรูซ (Nayrouz วันขึ้นปีใหม่ของชาวอียิปต์โบราณที่ชาวคริสต์ออโธด็อกซ์นำมาใช้-ผู้แปล)และเทศกาลของพวกเขา และเลียนแบบพวกเขาจนกระทั่งเสียชีวิตในสภาพเช่นนั้น เขาจะถูกต้อนให้ชุมนุมพร้อมๆ พวกเขาในวันกิยามะฮฺ" (ดู อะห์กาม อะฮฺลิล ซิมมะฮฺ 1:723-724)

คำตอบโดย เชคมุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด

http://www.islamqa.com/ar/ref/11427

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sat Apr 21, 2012 11:53 pm    ชื่อกระทู้: การละหมาดชดจากละหมาดอีดทั้งสอง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

قضاء صلاة العيدين

في صباح يوم عيد الفطر المبارك وعند وصولنا المصلى وجدنا الإمام صلى وعلى انتهاء من الخطبة ، فصلين ركعتي العيد والإمام يخطب . ما مدى صحة الصلاة من عدمها ؟

الحمد لله

صلاة العيدين فرض كفاية ؛ إذا قام بها من يكفي سقط الإثم عن الباقين ، وفي الصورة المسئول عنها : حصل أداء الفرض من الذين صلوا أولاً - الذين خطب بهم الإمام - ومن فاتته وأحب قضاءها استحب له ذلك ، فيصليها على صفتها من دون خطبة بعدها ، وبهذا قال الإمام مالك والشافعي وأحمد والنخعي وغيرهم من أهل العلم .

والأصل في ذلك قوله صلى الله عليه وسلم : ( إذا أتيتم الصلاة فامشوا وعليكم السكينة والوقار فما أدركتم فصلوا ومافاتكم فاقضوا ) ، وما روي عن أنس رضي الله عنه أنه كان إذا فاتته صلاة العيد مع الإمام جمع أهله ومواليه ، ثم قام عبد الله بن أبي عتبة مولاه فيصلي بهم ركعتين ، يكبر فيهما .

ولمن حضر يوم العيد والإمام يخطب أن يستمع الخطبة ثم يقضي الصلاة بعد ذلك حتى يجمع بين المصلحتين .

وبالله التوفيق .

اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء (8/306)

การละหมาดชดจากละหมาดอีดทั้งสอง

ถาม – เมื่อเช้าวันอีดุลฟิตรีที่ผ่านมา เมื่อพวกเราไปถึงสถานที่ละหมาด พบว่าอิมามได้ละหมาดเสร็จแล้วและกำลังอยู่ในช่วงท้ายของคุฏบะฮฺ ดังนั้นพวกเราจึงละหมาดอีดสองร็อกอะฮฺในขณะที่อิมามกำลังกล่าวคุฏบะฮฺอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้การละหมาดอีดของพวกเราจะใช้ได้หรือไม่?

ตอบ – อัลหัมดุลิลลาฮฺ
การละหมาดอีดนั้นเป็นฟัรฺฏู กิฟายะฮฺ หากคนส่วนหนึ่งในกลุ่มได้กระทำคนที่เหลือในกลุ่มก็พ้นผิด ส่วนในกรณีที่ถามมานั้น การละหมาดอีดถือว่าได้ถูกปฏิบัติไปแล้วด้วยการละหมาดของบรรดาผู้ที่ทันละหมาดพร้อมๆกับอิมามและบรรดาผู้ที่อิมามได้กล่าวคุฏบะฮฺให้ ส่วนผู้ที่มาไม่ทันนั้น หากต้องการจะละหมาดชดแทนการละหมาดที่พลาดไปก็ส่งเสริมให้กระทำได้ โดยให้ละหมาดชดในลักษณะที่เหมือนการละหมาดอีดปรกติทุกอย่าง เพียงแต่ไม่ต้องมีคุฏบะฮฺหลังละหมาด ทัศนะดังกล่าวนี้เป็นทัศนะของบรรดาอิมามหลายท่านเช่น ท่านมาลิก อัชชาฟิอียฺ อะหฺมัด อันนะเคาะอียฺและท่านอื่นๆอีกหลายท่าน

ทั้งนี้โดยยึดหลักฐานจากคำกล่าวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ว่า
( إذا أتيتم الصلاة فامشوا وعليكم السكينة والوقار فما أدركتم فصلوا ومافاتكم فاقضوا )
ความว่า “เมื่อใดที่พวกท่านไปละหมาด ก็จงเดินไปด้วยความสุขุม สำรวม(ไม่รีบเร่ง)ซึ่งไม่ว่าขั้นตอนใดที่ท่านทันละหมาดพร้อมอิมามท่านก็ละหมาดเท่าที่ทัน หากขั้นตอนใดพลาดพ้นไปท่านก็ชดแทนขั้นตอนนั้นๆ”

และมีรายงานจากท่านอะนัส(เราฎิยัลลอฮุอันฮฺ)ว่าสำหรับท่านนั้นเมื่อท่านไม่ทันละหมาดอีดพร้อมอิมาม ท่านจะเรียกรวบรวมบรรดาคนในครอบครัวและบรรดาทาสของท่าน แล้วให้อับดุลลอฮฺอิบนุอะบีอุตบะฮฺทาสคนหนึ่งของท่านนำละหมาดโดยละหมาดสองร็อกอะฮฺ โดยทำการตักบีรฺในทั้งสองร็อกอะฮฺ

ส่วนผู้ที่มาละหมาดอีดช้า โดยอิมามกำลังกล่าวคุฏบะฮฺอยู่ให้เขาฟังคุฏบะฮฺก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยละหมาดชด ทั้งนี้เพื่อที่เขาจะได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง

วะบิลลาฮิตเตาฟีก

คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา (8/306)

http://www.islamqa.com/ar/ref/27026

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sun Apr 22, 2012 1:07 pm    ชื่อกระทู้: การเป็นพระเจ้าองค์เดียวของอัลลอฮฺ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เว็บ อิสลาม ถามตอบ

คำถาม เป็นไปได้หรือไม่ที่ท่านจะบอกแก่บรรดาพวกมุชริกีน(ผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ) ถึงหลักฐานการเป็นพระเจ้าองค์เดียวของอัลลอฮฺ ?

คำตอบ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ...

แท้จริงทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ที่ถูกสร้างขึ้นมาและถูกบริหารจัดการล้วนเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงการเป็นพระเจ้าองค์เดียวของอัลลอฮฺ...

﴿أَلاَ لَهُ الْخَلْقُ وَالأَمْرُ تَبَارَكَ اللّهُ رَبُّ الْعَالَمِينَ﴾ (الأعراف : 54 )

ความ ว่า “พึงรู้เถิดว่า การสร้างและกิจการทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์ยิ่งองค์อัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก” (อัลอะอฺรอฟ 54)

พระองค์ ทรงสร้างชั้นฟ้าและผืนแผ่นดิน ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกลางวันและกลางคืน...สร้างวัตถุ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และผลไม้หลากหลายชนิด สร้างสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์และสัตว์ ทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างล้วนเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงพระผู้สร้างผู้ทรงยิ่ง ใหญ่แต่เพียงองค์เดียวโดยปราศจากภาคีหุ้นส่วนใดๆ

﴿ذَلِكُمُ اللهُ رَبُّكُمْ خَالِقُ كُلِّ شَيْءٍ لَّا إِلٰـهَ إِلَّا هُوَ فَأَنّٰى تُؤْفَكُونَ﴾ (غافر : 62 )

ความ ว่า “นั่นคืออัลลอฮฺ พระเจ้าของพวกเจ้าผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ดังนั้นทำไมพวกเจ้าจึงถูกหันเหออกจาก พระองค์เล่า” (ฆอฟิร 62)

สรรพ สิ่งที่ถูกสร้างที่หลากหลายนานาชนิดนี้ ตลอดจนความยิ่งใหญ่อลังการของงานสร้าง ความปราณีตและความละเอียดสวยงาม การปกปักษ์รักษาและการบริหารจัดการที่ดีเลิศทั้งหมดล้วนแล้วเป็นหลักฐานที่ ชี้ถึงว่าผู้สร้างมีเพียงผู้เดียว พระองค์จะทำตามความประสงค์ จะพิพากษาตามที่พระองค์มีความประสงค์

﴿اللهُ خَالِقُ كُلِّ شَيْءٍ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ وَكِيلٌ﴾ (الزمر : 62 )

ความว่า “อัลลอฮฺ คือผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงดูแลและคุ้มครองทุกสิ่ง” (อัซซุมัร 62)

ทั้ง หมดที่ได้กล่าวผ่านมาระบุว่าสิ่งถูกสร้างนั้นย่อมต้องมีผู้สร้าง กรรมสิทธิ์ต่างๆ ย่อมมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเบื้องหลังของรูปภาพย่อมต้องมีผู้สร้างภาพนั้น

﴿هُوَ اللهُ الْخَالِقُ الْبَارِئُ الْمُصَوِّرُ لَهُ الْأَسْمَاء﴾ (الحشر : 24 )

ความ ว่า “พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงให้บังเกิด ผู้ทรงทำให้เป็นรูปร่างสำหรับพระองค์คือพระนามทั้งหลายอันสวยงามไพเราะ” (อัลหัชรฺ 24)

คุณ ประโยชน์จากชั้นฟ้าและผืนแผ่นดิน ความเป็นระเบียบของระบบสุริยะจักรวาล การสอดประสานระหว่างสิ่งที่ถูกสร้างด้วยกัน เป็นสิ่งที่ชี้ถึงผู้สร้างมีเพียงองค์เดียวโดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนใดๆ

﴿لَوْ كَانَ فِيهِمَا آلِهَةٌ إِلَّا اللهُ لَفَسَدَتَا فَسُبْحَانَ اللهِ رَبِّ الْعَرْشِ عَمَّا يَصِفُونَ﴾ (الأنبياء : 22 )

ความ ว่า “หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าอื่นๆ หลายองค์นอกจากอัลลอฮฺแล้ว ทั้งสองก็ย่อมจะต้องเสียหายอย่างแน่นอน(อันเนื่องด้วยความไม่ลงรอยกันของพระ เจ้าหลายองค์) อัลลอฮฺพระเจ้าแห่งบัลลังก์นั้นทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขากล่าวอ้าง” (อัลอัมบิยาอฺ 22)

บรรดา สิ่งที่ถูกสร้างที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ การที่มันเกิดขึ้นมาโดยตัวของมันเองเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือมนุษย์เกิดขึ้นมาด้วยกับตัวของเขาเองต่อจากนั้นเขาไปสร้างสิ่งอื่น ลักษณะเช่นนี้มันก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน

﴿أَمْ خُلِقُوا مِنْ غَيْرِ شَيْءٍ أَمْ هُمُ الْخَالِقُونَ ، أَمْ خَلَقُوا السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ بَل لَّا يُوقِنُونَ﴾ (الطور : 35 - 36 )

ความ ว่า “หรือว่าพวกเขาถูกบังเกิดมาโดยไม่มีผู้ให้บังเกิด หรือว่าพวกเขาเป็นผู้ให้บังเกิดตนเอง หรือว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินนี้ เปล่าเลย เพราะพวกเขาไม่เชื่อมั่นต่างหาก” (อัฏฏูร 35-36)

แน่ นอนสติปัญญา วะฮฺยู (วิวรณ์) และธรรมชาติ ย่อมชี้ว่าการมีอยู่ของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องมีผู้ให้บังเกิด สิ่งถูกสร้างต่างๆ ทั้งหลายต้องมีผู้สร้าง พระองค์คือผู้ทรงมีชีวิตตลอดกาล ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย ผู้ทรงรู้เห็นและรอบรู้อย่างละเอียด ผู้ทรงอำนาจและทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงเมตตาปรานี พระองค์มีพระนามอันสวยงามวิจิตรและคุณลักษณะอันสูงส่ง ทรงรอบรู้เหนือทุกสรรพสิ่ง ไม่มีสิ่งใดมาทำให้พระองค์อ่อนแอและไม่มีสิ่งใดที่เสมอเหมือน หรือไม่มีสิ่งใดที่อาจเทียบเคียงต่อพระองค์

﴿وَإِلٰـهُكُمْ إِلٰـهٌ وَاحِدٌ لاَّ إِلٰـهَ إِلاَّ هُوَ الرَّحْمَنُ الرَّحِيمُ﴾ (البقرة : 163 )

ความ ว่า “และพระผู้เป็นเจ้าที่ควรแก่การเคารพสักการะของพวกเจ้านั้น มีเพียงองค์เดียว ไม่มีผู้ควรแก่การเคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอเท่านั้น” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 163)

การมีอยู่ของพระองค์อัลลอฮฺเป็นที่รู้ได้ด้วยสันดานดั้งเดิมและปัญญาในตัวมนุษย์

(قَالَتْ رُسُلُهُمْ أَفِي اللهِ شَكٌّ فَاطِرِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ) (إبراهيم : 10 )

ความ ว่า “บรรดาศาสนทูตของพวกเขาได้กล่าวว่า มีการสงสัยในอัลลอฮฺ พระองค์ผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินกระนั้นหรือ?” (อิบรอฮีม 10)

อัล ลอฮฺได้สร้างให้มนุษย์มีสำนึกดั้งเดิมโดยชาติกำเนิดในการยอมรับการมีผู้ สร้าง ผู้ให้มีชีวิต ผู้ให้เสียชีวิต ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ (เรียกว่า รุบูบียะฮฺ ของพระเจ้า) และการยอมรับในด้านความเป็นเอกะ หรือการเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระองค์ แต่ทว่าบรรดาชัยฏอนมารร้ายได้มายังมนุษย์ แล้วพยายามชักจูงพวกเขาให้หันเหออกจากศาสนา มีปรากฏในหะดีษอัลกุดสียฺว่า

«إني خلقت عبادي حنفاء كلهم وإنهم أتتهم الشياطين فاجتالتهم عن دينهم وحرمت عليهم ما أحللت لهم» رواه مسلم برقم 2865

ความ หมาย “แท้จริงข้าได้สร้างปวงบ่าวของข้าให้พวกเขาทั้งหมดอยู่บนแนวทางที่บริสุทธิ์ เที่ยงตรง และแท้จริงบรรดาชัยฏอนได้มาหาแล้วชักจูงพวกเขาให้ออกจากศาสนา และได้ห้ามพวกเขาในสิ่งที่ฉันได้อนุมัติต่อพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2865)

บางกลุ่ม ของมนุษย์ได้ปฏิเสธการมีอยู่ของอัลลอฮฺ บางกลุ่มเคารพภักดีต่อชัยฏอน บางกลุ่มเคารพสักการะต่อมนุษย์ บางกลุ่มบูชาเงินตรา ไฟ เซ็กส์ หรือสัตว์ บางกลุ่มตั้งภาคีต่อพระองค์โดยบูชาหินที่ถูกทำมาจากดิน หรือบูชาดวงดาวที่อยู่บนท้องฟ้า

สิ่ง ที่ถูกกราบไว้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺต่างๆ เหล่านี้ ไม่สามารถสร้าง ไม่สามารถประทานปัจจัยยังชีพได้ ไม่สามารถรับฟัง หรือมองเห็น ไม่สามารถให้ประโยชน์หรือให้โทษ แล้วพวกเขาไปเคารพภักดีนอกเหนือจากอัลลอฮฺได้อย่างไร ?

﴿أَأَرْبَابٌ مُّتَفَرِّقُونَ خَيْرٌ أَمِ اللهُ الْوَاحِدُ الْقَهَّارُ﴾ (يوسف : 39 )

ความว่า “พระเจ้า(ที่มนุษย์ทึกทักขึ้นเอง)หลายองค์นั้นดีกว่า หรือว่าอัลลอฮฺเอกองค์ผู้ทรงอนุภาพยิ่ง” (ยูซุฟ 39)

อัล ลอฮฺได้ประณามผู้ที่เคารพภักดีต่อเจว็ดรูปปั้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับฟังหรือมองเห็นและไม่มีสติปัญญาแต่ประการใด โดยที่อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿إِنَّ الَّذِينَ تَدْعُونَ مِن دُونِ اللهِ عِبَادٌ أَمْثَالُكُمْ فَادْعُوهُمْ فَلْيَسْتَجِيبُواْ لَكُمْ إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ ، أَلَهُمْ أَرْجُلٌ يَمْشُونَ بِهَا أَمْ لَهُمْ أَيْدٍ يَبْطِشُونَ بِهَا أَمْ لَهُمْ أَعْيُنٌ يُبْصِرُونَ بِهَا أَمْ لَهُمْ آذَانٌ يَسْمَعُونَ بِهَا قُلِ ادْعُواْ شُرَكَاءكُمْ ثُمَّ كِيدُونِ فَلاَ تُنظِرُونِ﴾ (الأعراف : 194 - 195 )

ความ ว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่พวกเจ้าวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺนั้น คือ ผู้ที่เป็นบ่าวเยี่ยงพวกเจ้านั่นเอง จงวิงวอนขอต่อพวกเขาเถิดแล้วจงให้พวก เขาตอบรับพวกเจ้าด้วยหากพวกเจ้าเป็นผู้สัจจริง พวกมันมีเท้าที่ใช้มันเดินกระนั้นหรือ ? หรือว่าพวกมันมีมือที่ใช้จัดการ หรือว่าพวกมันมีตาที่ใช้มองหรือว่าพวกมันมีหูที่ใช้ฟังได้” (อัลอะอฺรอฟ 194-195)

และอัลลอฮฺตรัสว่า

﴿قُلْ أَتَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللهِ مَا لاَ يَمْلِكُ لَكُمْ ضَرّاً وَلاَ نَفْعاً وَاللهُ هُوَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ﴾ (المائدة : 76 )

ความ ว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พวกท่านจะเคารพสักการะสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ สิ่งซึ่งไม่มีอำนาจครอบครองอันตรายใด ๆ และประโยชน์อันใดไว้สำหรับพวกท่านกระนั้นหรือ? และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัลมาอิดะฮฺ 76)

พึง รู้เถิดว่า มนุษย์ช่างเป็นผู้ที่โง่เขลายิ่งต่อพระผู้อภิบาลของเขา ผู้ทรงเป็นผู้สร้างและประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เขา ไฉนเขาปฏิเสธและหลงลืมแล้วไปเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นได้

﴿فَإِنَّهَا لَا تَعْمَى الْأَبْصَارُ وَلَكِن تَعْمَى الْقُلُوبُ الَّتِي فِي الصُّدُورِ﴾ (الحج : 46 )

ความว่า “เพราะแท้จริงการมองของนัยตานั้นมิได้บอดดอก แต่ว่าหัวใจที่อยู่ในทรวงอกต่างหากที่บอด” (อัลฮัจญฺ 46)

ดัง นั้น มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งโดยปราศจากการตั้งภาคีหุ้นส่วนใดๆ และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล

﴿قُلِ الْحَمْدُ لِلهِ وَسَلَامٌ عَلَى عِبَادِهِ الَّذِينَ اصْطَفَى آللهُ خَيْرٌ أَمَّا يُشْرِكُونَ (59) أَمَّنْ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَأَنزَلَ لَكُم مِّنَ السَّمَاءِ مَاء فَأَنبَتْنَا بِهِ حَدَائِقَ ذَاتَ بَهْجَةٍ مَّا كَانَ لَكُمْ أَن تُنبِتُوا شَجَرَهَا أَإِلٰـهٌ مَّعَ اللهِ بَلْ هُمْ قَوْمٌ يَعْدِلُونَ (60) أَمَّن جَعَلَ الْأَرْضَ قَرَاراً وَجَعَلَ خِلَالَهَا أَنْهَاراً وَجَعَلَ لَهَا رَوَاسِيَ وَجَعَلَ بَيْنَ الْبَحْرَيْنِ حَاجِزاً أَإِلٰـهٌ مَّعَ اللهِ بَلْ أَكْثَرُهُمْ لَا يَعْلَمُونَ (61) أَمَّن يُجِيبُ الْمُضْطَرَّ إِذَا دَعَاهُ وَيَكْشِفُ السُّوءَ وَيَجْعَلُكُمْ خُلَفَاء الْأَرْضِ أَإِلٰـهٌ مَّعَ اللهِ قَلِيلاً مَّا تَذَكَّرُونَ (62) أَمَّن يَهْدِيكُمْ فِي ظُلُمَاتِ الْبَرِّ وَالْبَحْرِ وَمَن يُرْسِلُ الرِّيَاحَ بُشْراً بَيْنَ يَدَيْ رَحْمَتِهِ أَإِلٰـهٌ مَّعَ اللهِ تَعَالَى اللهُ عَمَّا يُشْرِكُونَ (63) أَمَّن يَبْدَأُ الْخَلْقَ ثُمَّ يُعِيدُهُ وَمَن يَرْزُقُكُم مِّنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَإِلٰـهٌ مَّعَ اللهِ قُلْ هَاتُوا بُرْهَانَكُمْ إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ (64) ﴾ (النمل : 59 – 64)

ความ ว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และความศานติจงมีแด่ปวงบ่าวของพระองค์ ผู้ซึ่งพระองค์ทรงคัดเลือกแล้ว อัลลอฮฺดีกว่าหรือสิ่งที่พวกเขาตั้งเป็นภาคีเจว็ด) หรือผู้ใดเล่าที่สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และทรงหลั่งน้ำจากฟากฟ้าแก่พวกเจ้าแล้วเราได้ให้สวนต่าง ๆ งอกเงยอย่างสวยงาม พวกเจ้าก็ไม่สามารถที่จะทำให้ต้นไม้งอกเงยขึ้นมาได้ จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ? เปล่าดอก! พวกเขาเป็นกลุ่มชนผู้ตั้งภาคี หรือผู้ใดเล่าที่ทำให้แผ่นดินเป็นที่พำนักและทรงให้มีลำน้ำหลายสายไหล ระหว่างมัน และทรงทำให้ภูเขายึดตรึงมันไว้ และทรงทำให้มีที่กั้นระหว่างน่านน้ำทั้งสอง จะมีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ? เปล่าดอก ส่วนมากของพวกเขาไม่รู้ หรือผู้ใดเล่าจะตอบรับผู้ร้องทุกข์ เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระองค์ และทรงปลดเปลื้องความชั่วร้ายนั้น และทรงทำให้พวกเจ้าเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ? ส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะใคร่ครวญ หรือผู้ใดเล่าจะชี้แนะทางแก่พวกเจ้าในความมืดทึบของแผ่นดินและน่านน้ำ และผู้ใดทรงส่งลมแจ้งข่าวดีก่อนที่ความเมตตาของพระองค์จะมาถึง(หมายถึงลมพัด ก่อนฝนตก) จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ? อัลลอฮฺทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี หรือผู้ใดเล่าจะเริ่มในการสร้าง แล้วทรงให้มันเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และผู้ใดทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากฟากฟ้าและแผ่นดิน จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ? จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) จงนำหลักฐานของพวกท่านมา หากพวกท่านเป็นผู้สัตย์จริง” (อัลนัมลฺ59-64)

จากหนังสือ “อุศูลุดดีน อัลอิสลามียฺ” เขียนโดย เชคมุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรียฺ

ที่มา : http://www.islamqa.com/en/ref/13532

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Sun Apr 22, 2012 1:10 pm    ชื่อกระทู้: นิยามของคำว่า “อัฎฏอฆูต” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นิยามของคำว่า “อัฎฏอฆูต”

คำถาม คำว่า “อัฏฏอฆูต” จะครอบคลุมสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้เรียกร้องมนุษย์ให้เคารพสักการะมัน เช่น ดวงอาทิตย์ ต้นไม้ รูปเจว็ด และก้อนหินหรือไม่ ? แล้วบรรดามุสลิมที่มีความยำเกรง เช่น อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ พวกเขาจะถูกเรียกว่าฏอฆูตหรือไม่ เพราะมนุษย์มาเคารพสักการะต่อพวกเขาหรือไม่ก็เคารพสักการะต่อกุโบร์ของพวกเขา ?

คำตอบ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ... ไม่ใช่ทุกสรรพสิ่งที่ถูกเคารพสักการะอื่นนอกจากอัลลอฮฺถูกหมายรวมว่าเป็นอัฏฏอฆูต มีทัศนะที่ถูกต้องของบรรดานักวิชาการได้อธิบายความหมายของคำว่าอัฏฏอฆูต เช่น อิบนุ ญะรีร อัฏ-เฏาะบะรีย์ กล่าวไว้ในหนังสืออัต-ตัฟซีร (3/12) ว่า "นิยามของอัฏฏอฆูตที่ถูกต้องตามทัศนะของฉัน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ละเมิดฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นมันได้ถูกเคารพสักการะนอกเหนือจากพระองค์ บางครั้งอาจจะเกิดจากการบังคับของเขาให้ผู้อื่นมาเคารพสักการะ บางครั้งเกิดจากความสมัครใจของผู้ที่ศรัทธาต่อเขาเอง สิ่งที่ถูกเคารพนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ชัยฏอน รูปเจว็ด รูปปั้น หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีปรากฏอยู่" และอิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏอบรียฺ ยังกล่าวอีกว่า "รากศัพท์ของคำว่า อัฏฏอฆูต...มาจากคำของผู้ที่พูดว่า ฏอฆอ ฟุลานุน ยัฏฆู เมื่อเขาได้ทำเกินปริมาณ ดังนั้นแสดงว่าเขาได้เกินเลยขอบเขต"

ดังนั้นบรรดานบี อุละมาอ์ และคนอื่นๆ จากบรรดาคนที่ดีและคนที่เป็นวะลีย์ พวกเขาจะไม่ได้รับความผิดจากการที่มีผู้คนมาเคารพสักการะ และพวกเขาก็บอกไม่ให้เชื่อฟังปฏิบัติตามในเรื่องดังกล่าว ทว่าพวกเขากลับตักเตือนในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากที่สุด เป้าหมายของการที่อัลลอฮฺ ส่งบรรดาศาสนทูตมายังมวลมนุษยชาติคือ การเชิญชวนพวกเขาสู่การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺและปฏิเสธต่อการเคารพสักการะสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ وَاجْتَنِبُواْ الطَّاغُوتَ﴾ (النحل : 36 )

ความว่า “และแน่นอนเราได้ส่งศาสนทูตมายังทุกๆ ประชาชาติ (เพื่อให้ประกาศเชิญชวนว่า) พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจงออกห่างจากพวกเจว็ดรูปปั้น” (อัลนะหฺลุ 36)



อัลลอฮฺตรัสว่า

﴿ وَإِذْ قَالَ اللهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ أَأَنتَ قُلتَ لِلنَّاسِ اتَّخِذُونِي وَأُمِّيَ إِلَـهَيْنِ مِن دُونِ اللهِ قَالَ سُبْحَانَكَ مَا يَكُونُ لِي أَنْ أَقُولَ مَا لَيْسَ لِي بِحَقٍّ إِن كُنتُ قُلْتُهُ فَقَدْ عَلِمْتَهُ تَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِي وَلاَ أَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ إِنَّكَ أَنتَ عَلاَّمُ الْغُيُوبِ، مَا قُلْتُ لَهُمْ إِلاَّ مَا أَمَرْتَنِي بِهِ أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ رَبِّي وَرَبَّكُمْ وَكُنتُ عَلَيْهِمْ شَهِيداً مَّا دُمْتُ فِيهِمْ فَلَمَّا تَوَفَّيْتَنِي كُنتَ أَنتَ الرَّقِيبَ عَلَيْهِمْ وَأَنتَ عَلٰى كُلِّ شَيْءٍ شَهِيدٌ﴾ (المائدة : 116-117)

ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อีซาบุตรของมัรยัมเอ๋ย เจ้าได้พูดแก่ผู้คนหรือว่า จงยึดถือฉันและมารดาของฉันเป็นพระเจ้าทั้งสองนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เขากล่าวว่าพระองค์ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ ฉันไม่เคยกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ของฉัน หากฉันเคยกล่าวสิ่งนั้น แน่นอนพระองค์ย่อมรู้ดี โดยที่พระองค์จะทรงรู้ในสิ่งที่อยู่ในตัวฉัน แต่ฉันไม่รู้สิ่งที่อยู่ในตัวของพระองค์ แท้จริงพระองค์เท่านั้นทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งหลาย ฉันไม่ได้กล่าวแก่พวกเขานอกจากสิ่งที่พระองค์บัญชาแก่ฉันเท่านั้นที่ว่า พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ผู้เป็นพระผู้อภิบาลของฉันและเป็นพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าด้วย และฉันได้เป็นสักขีพยานเหนือพวกเขาตราบเท่าที่ฉันอยู่กับพวกเขา และเมื่อพระองค์ได้เอาชีวิตฉัน พระองค์ก็ทรงเฝ้าติดตามพวกเขา และพระองค์นั้นทรงเป็นสักขีพยานเหนือทุกสิ่ง” (อัลมาอิดะฮฺ 116-117)



ดังนั้น จึงไม่เรียกบรรดานบีและอุละมาอ์ว่าเป็นฏอฆูต ถึงแม้ว่าพวกเขาจะถูกเคารพสักการะอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺก็ตาม

และการที่ผู้คนได้เกินเลยในตัวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ หรือบรรดาอุละมาอ์คนอื่นๆ (ขออัลลอฮฺเมตตาพวกเขา) โดยการขอดุอาอ์เพื่อขอความช่วยเหลือจากพวกเขานอกเหนือไปจากการขอต่ออัลลอฮฺ หรือเคารพสักการะต่อกุโบร์ของพวกเขา ความผิดจะไม่เกิดขึ้นแต่ประการใดแก่บรรดาอุละมาอ์เหล่านี้ ในมุมกลับกันความผิดจะตกอยู่กับผู้ที่ตั้งภาคี ทำนองเดียวกันกับพวกคริสเตียนที่เคารพภักดีต่อนบีอีซา อะลัยฮิสลาม โดยเคารพสักการะท่านนบีอีซานอกเหนือจากอัลลอฮฺ นบีอีซาจะไม่ได้รับความผิดแต่ประการใดจากการกระทำของพวกเขา

และส่วนหนึ่งจากคำนิยามของอัฏฏอฆูตโดยสรุป คือ ผู้ที่ถูกเคารพสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺในสภาพที่เขาพึงพอใจ และเป็นที่รู้กันว่านบีอีซา (อะลัยอิสลาม) และบรรดานบีท่านอื่นๆ รวมถึงอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) และอุละมาอ์คนอื่นๆ ล้วนเป็นผู้ที่มีเตาฮีด(ยอมรับศรัทธาในเอกภาพ)ต่ออัลลอฮฺ พวกเขาไม่มีความพึงพอใจที่จะให้ใครมาเคารพภักดีนอกเหนือจากอัลลอฮฺโดยเด็ดขาด ทว่าพวกเขากลับเป็นผู้ห้ามปรามในเรื่องดังกล่าวและได้อธิบายชี้แจงในเรื่องการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺหรือเตาฮีด พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า



﴿ وَإِذْ قَالَ اللهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ أَأَنتَ قُلتَ لِلنَّاسِ اتَّخِذُونِي وَأُمِّيَ إِلَـهَيْنِ مِن دُونِ اللهِ قَالَ سُبْحَانَكَ مَا يَكُونُ لِي أَنْ أَقُولَ مَا لَيْسَ لِي بِحَقٍّ إِن كُنتُ قُلْتُهُ فَقَدْ عَلِمْتَهُ تَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِي وَلاَ أَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ إِنَّكَ أَنتَ عَلاَّمُ الْغُيُوبِ، مَا قُلْتُ لَهُمْ إِلاَّ مَا أَمَرْتَنِي بِهِ أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ رَبِّي وَرَبَّكُمْ ... ﴾ (المائدة : 116-117)

ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อีซาบุตรของมัรยัมเอ๋ย เจ้าได้พูดแก่ผู้คนหรือว่า จงยึดถือฉันและมารดาของฉันเป็นพระเจ้าทั้งสองนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เขากล่าวว่าพระองค์ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ ฉันไม่เคยกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ของฉัน หากฉันเคยกล่าวสิ่งนั้นแน่นอนพระองค์ย่อมรู้ดี โดยที่พระองค์จะทรงรู้ในสิ่งที่อยู่ในใจฉันแต่ฉันไม่รู้สิ่งที่อยู่ในใจของพระองค์ แท้จริงพระองค์เท่านั้นทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งหลาย ฉันไม่ได้กล่าวแก่พวกเขานอกจากสิ่งที่พระองค์บัญชาแก่ฉันเท่านั้นที่ว่าพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺผู้เป็นพระผู้อภิบาลของฉันและเป็นพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าด้วย... ” (อัลมาอิดะฮฺ 116-117)

โดย มุหัมมัด ศอลิห์ อัลมุนัจญิด

http://islamqa.info/ar/ref/%205203

_________________
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.98 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ