ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ไม่พร้อมกัน
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ไม่พร้อมกัน
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 1:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ่านฟัตวาของเชคอิบนุอุษัยมีนแล้งหรือยังครับคุณน้องkolis อยู่ด้านบน หรือแกล้งทำไม่เห็น Rolling Eyes
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอถามน้องf1 สั้นๆ ว่ามาตฐานอัลอิสลามที่คุณยึดถือเอาอะไรเป็นหลักหรือ

เพราะมาตฐานของผมและนักวิชาการทั่วโลก ยืนหยัดด้วย กรุอ่านและหะดีษอันดับแรก

แล้วทำไมผมถามคุณถึงหะดีษนบีคุณไม่ตอบไปยกทัศนะของ อุลามะห์มาอ้าง

แล้วคุณทราบหรือไม่ว่า เชค บินบาส และ เชคอุสัยมีน ยกหลักฐานไหนมาเป็นหลัก

ทำไมไม่คุยด้วยหลักฐาน ถ้าคุณเอาฟัตวาของเชคทั้ง สองมเป็นหลัก ก็จะไม่จบเพราะ
เท่ากับว่าเราเอาฟัตวามาชนกัน มันไม่จบ ถ้าจะให้จบต้องคุยด้วย หลักฐาน จากกรุอ่านและหะดีษ ซึ่งหะดีษที่ผมนำมาเป็นหลักฐาน ช่วยตอบก่อนแล้วค่อยคุยในประเด่นถัดไป

ถ้าเปลี่ยนประเด่นอีก ก็ไม่ต้องคุยกันเพราะคุณไม่ต้องการ สิ่งที่ถูกต้อง

คุยกันก่อนเรื่องหะดีษ

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

อธิบายมาซิว่านบีหมายความว่าไง หมายถึงใคร นบีสั่งใครให้ดู
เพราะหะดีษบทนี้คือบทสรุปทั้งหมดว่า อิบนิอับบาส อ้างในท้ายหะดีษ กุแร๊บ ว่า
อย่างนี้เหละที่ท่านรอซูลใช้เรา

ตอบมาด้วย แล้วประเด่นอื่นค่อยคุยกัน เพราะคุณ โยนไปนั้นมานี่ ไม่จบสักที เอาที่ละเรื่อง

วัลลอฮุอะลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปว่าประเด็นนี้เชคอุษัยมีนโง่ ไม่ตามนบีใช่ไหม คุณหมายความว่าแบบนี้เหรอ Rolling Eyes
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
สรุปว่าประเด็นนี้เชคอุษัยมีนโง่ ไม่ตามนบีใช่ไหม คุณหมายความว่าแบบนี้เหรอ


ประเด่นนี้คุณจะสรุปได้อย่างไร เพราะคนที่จะสรุปจะต้องให้คำตอบที่ถูกต้องด้วยวิชาการ

วะอิยาสุบิลลาห์

น้อง f1 อย่าใช้คำพูดที่มัน รุนแรง ใส่อุลามะห์ คือ เชคอุสัยมีน ซิ

ผมและนักวิชาการ ทุกท่าน เรานำเอา อุลลามะห์ทุกท่านบนหัว ไม่เคยกล่าวหา ติตวง

ถ้าระดับ เชค อุสัยมีน ไม่ตามนบี ผมว่า คุณคงตาม ชัยฎอนละล่ะ ถึงได้กล่าวหา เชคเขาแบบนี้

ถ้าไม่มีปัญญา ค้านด้วยหลักฐาน ก็กลับบ้านไปกินนมเถิด

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าหลีกประเด็นสิครับ ช่วยอธิบายที่เชคอุษัยมีนฟัตวาก่อนสิครับ ผมสังเกตุเห็นว่าคุณมักจะกล่าวหาคนอื่นว่า"โง่"ทุกครั้งในสิ่งที่ตรงข้ามกับของคุณ แล้วที่เชคอุษัยมีนฟัตวาล่ะครับ จะว่ายังงัย Wink
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำฟัตวาของเชคอุสัยมีน ผมตอบแน่ แต่คุณเอาที่ผมถามในประเด่นหลักก่อนซิ ตอบมา
ผมนอกประเด่นหรือคุณคับ
โยนให้เชค อุสัยมีน แต่ไม่รู้ กระทั่งว่าเชคอุสัยมีนใช้หลักฐานต้นไหนบ้างมาตัดสิ้น

และคำฟัตวา ผมไม่เอา แต่ที่ผมเอาคือหลักฐาน ที่เชค นำมา

เอาเถิด ตอบมาก่อน ว่านบีหมายถึงใคร สั่งใครให้ดู แล้ว ความหมายของ อิบนิอับบาสที่อ้างถึงนบี หมายถึงอะไร

ถ้าไม่ตอบ ก็ไม่ต้องคุย เพราะเบื่อมาก กันการอ้างนั้นนี่โน้น เอามาซิ ที่ถามไปนะ

หรือสมองโง่ จนไม่เข้าใจ

วัลลอฮุอะลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมสังเกตุเห็นว่าคุณมักจะกล่าวหาคนอื่นว่า"โง่"ทุกครั้ง


ถ้าไม่อยากโดนว่า ก็อย่าแกล้งโง่ซิ

และที่สำคัญ ลองแสดงความ ไม่ โง่ อธิบายที่ถามไปหน่อยซิ

ฮ่าๆๆๆๆ Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าทำมึนเลยครับkolis เชคอุษัยมีนตอบไม่โดนใจคุณ แบบนี้เชคเค้า"โง่"ด้วยหรือปล่าวครับ Rolling Eyes
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมไม่ตอบ ถ้าคุณยังไม่ตอบในสิ่งที่ผมถาม ไม่งั้นไม่มีวันจบแน่เรื่องนี้นะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มันเรื่องของคุณครับ ผมบอกแล้ว ผมแค่นำเสนอทัศนะ Wink
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Thu Jan 20, 2011 1:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูคำตอบจากอีกทัศนะนะครับ
คำถาม : เราควรถือศีลอด(ในเดือนรอมาฎอน)และเลิกถือศีลอดของเราตามการเห็นฮิลา ล(จันทร์เสี้ยวของเดือนใหม่)ในซาอุดิอาระเบีย หรือเราควรจะถือศีลอดตามการเห็นฮิลาลในประเทศที่เราอาศัยอยู่?

คำตอบ : ในหมู่อุละมาอฺมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันออกไปมากมาย มีประมาณหกทัศนะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีทัศนะหลักๆ อยู่สองทัศนะคือ

ทัศนะแรก คือทุกคนควรจะดูเดือนในประเทศของตนเอง และประเทศที่มีดวงจันทร์ขึ้นในเวลาเดียวกันก็ควรจะปฏิบัติตามประเทศของตน เหตุผลนั้นก็คือว่าเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน

ทัศนะที่สอง นั้นก็คือ การเริ่มต้นเดือนใหม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันในประเทศมุสลิมประเทศใด ประเทศหนึ่งเท่านั้น ถ้าในประเทศมุสลิมประเทศใดประเทศหนึ่งยืนยันการเห็นฮิลาล เมื่อนั้น ถือเป็นข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนจะต้องใช้การเห็นเดือนนั้นกำหนดการเริ่มต้น ถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน หรือเลิกถือศีลอด(เมื่อสิ้นเดือนแล้ว)

ตามทัศนะที่สอง สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนรอมาฎอน ถ้ามีการยืนยันว่าเห็นฮิลาลในซาอุดิอาระเบีย ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนในทุกส่วนของโลกถือศีลอดตาม(ซาอุดิอาระเบีย) สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนเชาวาล ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนเลิกถือศีลอดตามเช่นกัน นี่คือทัศนะที่เกือบจะเป็นการยึดถือโดยทั่วไปของผู้สังกัดมัซฮับอิมามอะหฺมัด อิบนฺ ฮัมบาล

อย่าง ไรก็ตาม ทัศนะแรกมีความถูกต้องมากกว่า เพราะพยานหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรฺอาน, สุนนะฮฺ และเพราะการกิยาส(อนุมานเปรียบเทียบ) สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับอัล-กุรฺอานนั้น อัลลอฮ์ ตรัสว่า :

“เดือน รอมฎอนคือเดือนที่อัล-กุรฺอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นหลักฐานอันชัดเจนให้กับทางนำนั้น และยังเป็นบรรทัดฐานสำหรับแยกแยะความจริงและความเท็จ ดังนั้น พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น..........” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 )

ประโยคสุดท้ายเป็นประโยคเงื่อนไข และกฎซึ่งแฝงอยู่ในประโยคเงื่อนไขนั้นได้รับการบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่อยู่ ในเงื่อนไข และไม่มีผลบังคับสำหรับบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้น ประโยคที่กล่าวว่า “พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น” จึงมีความหมายว่า บุคคลที่มิได้มองเห็นจันทร์เสี้ยวก็มิต้องถือศีลอด

เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีในหมู่นักดาราศาสตร์ว่า เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นในแต่ละสถานที่นั้นแตกต่างกัน ณ สถานที่หนึ่ง อาจมีคนมองเห็นเดือน แต่อีกสถานที่หนึ่ง อาจไม่มีคนมองเห็นเดือน เพราะฉะนั้น ตามความหมายของอายะฮฺดังกล่าว (2:185) บุคคลที่มองไม่เห็นเดือน ก็ไม่เป็นที่บังคับให้ต้องถือศีลอด

ตามสุนนะฮฺ ท่านนบี กล่าวว่า

“ถ้า เจ้าเห็นมัน(ฮิลาลของเดือนรอมาฎอน) จงเริ่มถือศีลอด และถ้าเจ้าเห็นมันอีกครั้ง(ฮิลาลของเดือนเชาวาล) จงเลิกถือศีลอด และถ้ามีเมฆมาบดบังมิให้เจ้ามองเห็น ดังนั้น จงนับ(เดือนปัจจุบัน)ให้ครบสามสิบวัน”

ท่านนบี กล่าวว่า “ถ้าเจ้าเห็นมัน” เท่ากับว่าท่านนบี เชื่อมโยงกฎนั้นเข้ากับการดูเดือน และถ้ากฎนั้นเชื่อมโยงกับเหตุที่เป็นจริง เมื่อนั้นกฎดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ในกรณีที่เหตุนั้นไม่มีอยู่จริง

หากพิจารณาในมุมมองของการกิยาส(การอนุมานเปรียบเทียบ)นั้น เมื่อเรากล่าวว่าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง เวลาเริ่มถือศีลอดและเวลาละศีลอดในแต่ละวันช่างแตกต่างกันจริงๆ ในทำนองเดียวกัน เวลาที่เริ่มต้นถือศีลอดเดือนรอมาฎอน และเวลาที่เลิกถือศีลอดเดือนรอมาฎอนย่อมจะแตกต่างกันฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น ตัวอย่างเช่น เราอยู่ในริยาห์ด ทุกวันเราเริ่มถือศีลอดก่อนผู้คนในอัล-หิญาซ และเรายังละศีลอดก่อนพวกเขาเช่นกัน

ฉะนั้น เราถูกบังคับให้ต้องเริ่มต้นถือศีลอดในขณะที่พวกเขายังคงรับประทานอาหารกัน อยู่ตามปกติ ในอีกด้านหนึ่ง ช่วงเวลาพลบค่ำเรารับประทานอาหารได้แล้ว ขณะที่พวกเขายังต้องถือศีลอดอยู่ เพราะเหตุดังกล่าว ถ้า แต่ละสถานที่มีกฎของตัวเองเนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตก ของดวงอาทิตย์แล้ว ในทำนองเดียวกัน แต่ละสถานที่ย่อมมีกฎของตัวเอง เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตกของดวงจันทร์เช่นกัน

เพราะ ฉะนั้น คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว เป็นวายิบ(บังคับ)สำหรับท่าน ท่านจะต้องปฏิบัติตามการเห็นฮิลาลในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่



เชค อิบนฺ อุษัยมีน
อ้างอิง : อัล-อฺะกอลลียาต อัล-มุสลิมะฮฺ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23 (Source: www.islammore.com)

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Thu Jan 20, 2011 1:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีต่อครับ
ปัญหาการเริ่มการถือศีลอดไม่ตรงกันในสังคมมุสลิม: ปัญหาและทางออก


เรียบเรียงโดย อ.ชากีรีน สุมาลี
รองผู้อำนวยการโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ นครศรีธรรมราช

อัลหัมดูลิละฮฺ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสดามุฮัมมัดขอความ จำเริญและสันติจงประสบแด่ ผู้เจริญรอยตามท่าน

เมื่อเข้ารอมฎอนปีนี้ (ฮ.ศ.๑๔๓๑) ผมเริ่มเห็นกลิ่นไอความขัดแย้งในการบริโภคทัศนะทางฟิกฮฺได้ย่างกรายเข้ามา โดยเฉพาะความแตกต่างในการยึดทัศนะเกี่ยวกับการเข้า – ออกรอมฎอนที่แตกต่างกัน จึงตั้งใจที่จะเขียนบทความเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อตักเตือนตน เองและพี่น้องมุสลิม แต่พอจะเริ่มเขียนอัลลอฮฺได้ส่งข้อมูลมาให้โดยไม่ต้องลงมือสืบค้นข้มมูล นั่นคือ ไปพบบทความเรื่อง รอมฎอน จันทร์เสี้ยวกับภราดรภาพในอิสลาม ในหนังสือพิมพ์อาซาน(ฉบับที่13 ปี 2551) จึงต้องขอขอบคุณหนังสือพิมพ์อาซานมา ณ โอกาสนี้ด้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง จัดหามาโดยสำนักข่าวมุสลิมไทย

ทัศนะที่หลากหลายว่าด้วยการดูเดือนเพื่อเข้า – ออกรอมฎอน

1. ทัศนะแห่งการดูเดือนในท้องถิ่น
เชค อุษัยมีน ถูกถามว่า เรา ควรถือศีลอด(ในเดือนรอมฎอน)และเลิกถือศีลอดของเราตามการเห็นฮิลาล(จันทร์ เสี้ยวของเดือนใหม่)ในซาอุดิอาระเบีย หรือเราควรจะถือศีลอดตามการเห็นฮิลาลในประเทศที่เราอาศัยอยู่?

ท่าน ได้ตอบคำถามนี้ไว้ในอัล-อฺะกอลลียาตอัล-มุสลิมะฮฺ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23 ว่า "ในหมู่นักปราชญ์มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันออกไปมากมายมี ประมาณหกทัศนะที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีทัศนะหลักๆ อยู่สองทัศนะคือ

- ทัศนะแรกคือทุกคนควรจะดูเดือนในประเทศของตนเอง และประเทศที่มีดวงจันทร์ขึ้นในเวลาเดียวกันก็ควรจะปฏิบัติตามประเทศของตน เหตุผลนั้นก็คือว่าเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน

- ทัศนะที่สองนั้นก็คือการเริ่มต้นเดือนใหม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันใน ประเทศมุสลิมประเทศใด ประเทศหนึ่งเท่านั้นถ้าในประเทศมุสลิมประเทศใดประเทศหนึ่งยืนยันการเห็น จันทร์เสี้ยว เมื่อนั้น ถือเป็นข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนจะต้องใช้การเห็นเดือนนั้นกำหนดการเริ่มต้น ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน หรือเลิกถือศีลอด(เมื่อสิ้นเดือนแล้ว) ตามทัศนะที่สองนี้สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนรอมฎอน ถ้ามีการยืนยันว่าเห็นจันทร์เสี้ยวในซาอุดิอาระเบียก็บังคับให้มุสลิมทุกคน ในทุกส่วนของโลกถือศีลอดตาม(ซาอุดิอาระเบีย) สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนเชาวาล ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนเลิกถือศีลอดตามเช่นกันนี่คือทัศนะที่เกือบจะเป็นการ ยึดถือโดยทั่วไปของมัซฮับอิมามอะหฺมัด อิบนฺ ฮัมบาล

อย่างไรก็ตามทัศนะแรกมีความถูกต้องมากกว่า เพราะ พยานหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรฺอาน, สุนนะฮฺ และเพราะการกิยาส(อนุมานเปรียบเทียบ) สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับอัล-กุรฺอานนั้นอัลลอฮฺ ตรัสว่า :

"เดือน รอมฎอนคือเดือนที่อัล-กุรฺอานถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นหลักฐานอันชัดเจนให้กับทางนำนั้น และยังเป็นบรรทัดฐานสำหรับแยกแยะความจริงและความเท็จดังนั้น พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น.........."(ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 )

ประโยคสุดท้ายเป็นประโยคเงื่อนไขและกฎซึ่งแฝงอยู่ในประโยคเงื่อนไขนั้นได้ รับการบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่อยู่ ในเงื่อนไขและไม่มีผลบังคับสำหรับบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้นประโยคที่กล่าวว่า "พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้นให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น" จึงมีความหมายว่า บุคคลที่มิได้มองเห็นจันทร์เสี้ยวก็มิต้องถือศีลอด

เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีในหมู่นักดาราศาสตร์ว่า เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นในแต่ละสถานที่นั้นแตกต่างกันณ สถานที่หนึ่ง อาจมีคนมองเห็นเดือน แต่อีกสถานที่หนึ่ง อาจไม่มีคนมองเห็นเดือน เพราะฉะนั้นตามความหมายของอายะฮฺดังกล่าว (2:185)
สุนนะฮฺท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า "ถ้าเจ้าเห็นมัน(ฮิลาลของเดือนรอมฎอน)จงเริ่มถือศีลอด และถ้าเจ้าเห็นมันอีกครั้ง(ฮิลาลของเดือนเชาวาล) จงเลิกถือศีลอดและถ้ามีเมฆมาบดบังมิให้เจ้ามองเห็น ดังนั้น จงนับ(เดือนปัจจุบัน)ให้ครบสามสิบวัน"

ท่านนบีศ็อลฯ กล่าวว่า "ถ้าเจ้าเห็นมัน" เท่ากับว่าท่านนบีศ็อลฯ เชื่อมโยงกฎนั้นเข้ากับการดูเดือน และถ้ากฎนั้นเชื่อมโยงกับเหตุที่เป็นจริง เมื่อนั้นกฎดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ในกรณีที่เหตุนั้นไม่มีอยู่จริงหาก พิจารณาในมุมมองของการกิยาส(การอนุมานเปรียบเทียบ)นั้น เมื่อเรากล่าวว่าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเวลาเริ่มถือศีลอดและ เวลาละศีลอดในแต่ละวันช่างแตกต่างกันจริงๆ

ในทำนองเดียวกันเวลาที่เริ่มต้นถือศีลอดเดือนรอมฎอน และเวลาที่เลิกถือศีลอดเดือนรอมฎอนย่อมจะแตกต่างกันฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น ตัวอย่างเช่น เราอยู่ในริยาด ทุกวันเราเริ่มถือศีลอดก่อนผู้คนในอัล-หิญาซ และเรายังละศีลอดก่อนพวกเขาเช่นกันฉะนั้น เราถูกบังคับให้ต้องเริ่มต้นถือศีลอดในขณะที่พวกเขายังคงรับประทานอาหารกัน อยู่ตามปกติในอีกด้านหนึ่ง ช่วงเวลาพลบค่ำเรารับประทานอาหารได้แล้ว ขณะที่พวกเขายังต้องถือศีลอดอยู่เพราะเหตุดังกล่าว ถ้าแต่ละสถานที่มีกฎของตัวเองเนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตก ของดวงอาทิตย์แล้ว ในทำนองเดียวกัน แต่ละสถานที่ย่อมมีกฎของตัวเอง เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตกของดวงจันทร์เช่นกัน

เพราะฉะนั้น คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว เป็นวายิบ(บังคับ)สำหรับท่าน ท่านจะต้องปฏิบัติตามการเห็นฮิลาลในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่"อ้างอิง : เชคอิบนฺ อุษัยมีน อัล-อฺะกอลลียาต อัล-มุสลิมะฮฺ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23


2. ทัศนะแห่งการดูเดือนโดยยึดการเห็นจันทร์เสี้ยวในทุกที่ทั่วโลก

เชค บินบาซถูกถามว่า(( เมื่อการเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอนได้รับการยืนยันในเกาะอาหรับ (คาบสมุทรอาหรับ) จำเป็นหรือไม่ที่ประเทศอื่นๆ ต้องถือศีลอดตามการเห็นเดือนครั้งนี้?

เชคบินบาซได้ตอบคำถามนี้ไว้ในหนังสือรวมฟะตาวาและบทความเล่มที่ 15 หน้า 77-82 ฟะตาวาหมายเลขที่15 ความว่า
(( ไม่เป็นที่สงสัยว่าท่านร่อซูลซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้ประชาชาติของท่านถือศีลอดตามการเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ) เดือน (รอมฎอน) และให้เลิกถือศีลอด (ออกอีด)ตามการเห็น (จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ) เดือน (เชาวาล) ดังกล่าวนี้ตามหะดีษซ่อเฮี้ยฮฺมากมายที่รายงานมาจากท่านร่อซูลซ็อลลัลลอฮุอะ ลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งหะดีษบทหนึ่งท่านได้กล่าวว่า

"วัน ถือศีลอดนั้นคือวันที่พวกเจ้าถือศีลอดวันที่เลิกถือศีลอด (วันอีดิ้ลฟิตรี่)นั้นคือวันที่พวกเจ้าเลิกถือศีลอด (วันอีดิ้ลฟิตรี่) และวันเชือดสัตว์พลี(วันอีดิ้ลอัดฮา) นั้นคือวันที่พวกเจ้าเชือดสัตว์พลี (วันอีดิ้ลอัดฮา)"รายงานโดยติรมีซียฺ หะดีษที่ 697

ดังนั้นเมื่อการเห็นเดือนจากประเทศใดก็ตามหากได้รับการยืนยันตามหลักการ ศาสนาก็จำ เป็นสำหรับประเทศที่เหลือต้องปฏิบัติตามการเห็นเดือนนั้นเพราะท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"พวกท่านจงถือศีลอดตามการเห็นมัน (จันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอน) และจงเลิกถือศีลอด (ออกอีด) ตามการเห็นมัน(จันทร์เสี้ยวของเดือนเชาวาล)"

ซึ่งท่านนบีไม่ ได้หมายถึงชาวเมืองมะดีนะฮฺเท่านั้นแต่หมายถึงมุสลิมโดยทั่วไป ตามหลักการนี้หากการเห็นเดือนได้รับการยืนยันจากเกาะอาหรับก็จำเป็นแก่ผู้ ได้รับข่าวที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่นๆ ต้องยึดตาม เพราะบริเวณเกาะอาหรับนับเป็นประเทศอิสลามที่ใช้การตัดสินตามพื้นฐานแห่งชะ รีอะฮฺ จึงสามารถปฏิบัติตามข่าวที่ได้รับการยืนยันโดยอาศัยหะดีษทั่วไปที่มิได้วาง เงื่อนไขใดๆไว้ ))

อ้างอิง :เชคบินบาซ รวมฟะตาวาและบทความ เล่มที่ 15 หน้า 77-79.

เชคบินบาซยังถูกถามอีกว่าจะถือศีลอดกันอย่างไรหากสถานที่ (ขึ้นของดวงจันทร์) แตกต่างกัน?

เชคบินบาซตอบว่า (( ทัศนะที่ถูกต้องให้ยึดตามการเห็นเดือนโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของสถาน ที่(ขึ้นของดวงจันทร์) เพราะท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้ยึดตามการเห็น(จันทร์เสี้ยว) โดยมิได้วางเงื่อนไขในใดๆ ในเรื่องนี้ ซึ่งได้มีหลักฐานที่ซอเฮี้ยะฮฺมาจากท่านนบีซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ความว่า

"พวกท่านจงถือศีลอดตามการเห็นมัน(จันทร์เสี้ยว) และจงเลิกถือศีลอด (ออกอีด) ตามการเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) ถ้าหากมีเมฆมาบดบังก็จงนับให้ครบสามสิบวัน"รายงานโดยบุคอรียฺ หะดีษที่ 1909

และคำพูดของท่านนบีที่ว่า

"พวกท่านจงอย่าถือศีลอดจนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว หรือครบจำนวน (สามสิบวันของชะอฺบาน) และจงอย่าเลิกถือศีลอด(ออกอีด) จนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว หรือครบจำนวน (สามสิบวันของรอมฎอน)"รายงานโดยนะซาอียฺ หะดีษที่ 2162

และยังมีหะดีษอีกมากมายที่มีความหมายเช่นนี้ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้ชี้ถึงความแตกต่างของสถานที่ (ขึ้นของดวงจันทร์) ทั้งที่ท่านรู้เรื่องความแตกต่างนี้ แต่ก็มีนักวิชาการจำนวนมากที่มีทัศนะว่าแต่ละประเทศนั้นมีการเห็น(จันทร์ เสี้ยว) เป็นของตนเองหากสถานที่ (ขึ้นของดวงจันทร์)แตกต่างกัน พวกเขาอ้างหลักฐานที่รายงานมาจากอิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านไม่ปฏิบัติตามการเห็น(จันทร์เสี้ยว) ของชาวเมืองชามขณะที่ท่านอยู่ในนครมะดีนะฮฺ

ทั้งที่ชาวเมืองชามได้เห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำของวันศุกร์แล้วพวกเขาได้ถือศีล อดกันในสมัยของมุอาวิยะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ส่วนชาวเมืองมะดีนะฮฺนั้นไม่เห็น(จันทร์เสี้ยว) นอกจากกลางคืนของวันเสาร์ ซึ่งอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาได้กล่าวตอบกุร็อยบฺเรื่องการเห็น (จันทร์เสี้ยว) ของชาวเมืองชามและการถือศีลอดของพวกเขาว่า"พวกเราเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว)กลางคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดจนกว่าเราจะเห็นมัน หรือครบจำนวน(สามสิบวัน)" รายงานโดยอะหมัด หะดีษที่ 2785

อิบนุอับบาสได้อ้างคำพูดของ ท่านนบีที่ว่า"พวกท่านจงถือศีลอดตามการเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) และจงเลิกถือศีลอด(ออกอีด) ตามการเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว)" รายงานโดยบุคอรียฺซึ่งทัศนะนี้ก็มีน้ำหนักและเป็นทัศนะที่คณะกรรมการสภาอุละ มาอฺอาวุโส แห่งราชอาณาจักรอาหรับซาอุดิอารเบียเห็นเช่นนั้น โดยได้รวบรวบบรรดาหลักฐานต่างๆ -- อัลลอฮฺ วะลียุตเตาฟีก )) อ้างอิง : เชคบินบาซรวมฟะตาวาและบทความ เล่มที่ 15 หน้า 83-84

อีกมุมที่สังคมลืมมองเกี่ยวกับการดูเดือน

แต่สังคมลืมพิจารณาอีกมุมหนึ่ง นั่น คือ การปฏิบัติตามผู้นำ ผมมองว่าการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนคือ คือ เครื่องมือหนึ่งในการจัดระเบียบสังคม เช่นการให้คนรวยได้สัมผัสถึงความหิวกระหายจากการอด สอนให้มีการแบ่งปันอาหาร สอนให้อดทน และสอนให้ตามผู้นำ เมื่อเราพิจารณาเกี่ยวกับคำสอนในการปฏิบัติตามผู้นำ พบว่าอัลลอฮฺได้กล่าวในซูเราะฮฺนิซาอฺ โองการที่ ๕๙ ว่า ผู้ ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิดและผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใดก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลกนั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการ กลับไปที่สวยยิ่ง

ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ(ร.ฮ.) มีความเห็น – โดยอ้างตามบรรดาหะดีษของนะบี –ว่า สมควรในการปฏิบัติตามบรรดาผู้นำในทุกสภาพการณ์ ยกเว้นเมื่อบรรดาผู้นำสั่งใช้ให้กระทำการฝ่าฝืนต่อพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะท่านร่อซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ใช้ให้พวกเราทำสิ่งดังกล่าวดังนั้นการตามผู้นำจึงเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ในทุกสภาพการณ์ยกเว้นการฝ่าฝืนต่อหลักคำสอน (อัลมะอฺซิยะฮฺ)

ฉะนั้นเมื่อผู้นำใช้ให้กระทำสิ่งที่ฝ่าฝืนก็ไม่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม แต่อย่างใด (นิซอม อัลคิลาฟะฮฺ บัยนะ อะฮฺลิซซุนนะฮฺวัชชีอะฮฺ ; ดร.มุสตอฟา ฮิลมี่ย์ ; ดารุดดะอฺวะฮฺ(1988) หน้า 246)

ส่วน การตามผู้นำในเรื่องการกำหนดการเข้าสู่เดือนรอมาฎอนและการออกอีดนั้นเมื่อ ผู้นำได้ประกาศเรื่องดังกล่าว ก็จำเป็นที่ชาวมุสลิมในบ้านเมืองนั้นต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามเพราะเป็นการ ปฏิบัติในเรื่องที่ดี (อัลมะอฺรู๊ฟ) ถึงแม้ว่าการประกาศนั้นจะค้านกับสิ่งที่ได้รับการยืนยันในบ้านอื่นเมืองอื่น ก็ตาม

ทั้งนี้เพราะการชี้ขาดของผู้นำ ณ จุดนี้ได้ให้น้ำหนักแก่ทัศนะที่ว่า แต่ละเมืองให้ถือตามผลการเห็นจันทร์เสี้ยวของตน
(ฟิกฮุซซิยาม ; ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ ; ดารุซเซาะฮฺวะฮฺ หน้า 32)
ดังนั้นเมื่อเรานำข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณา เราจะพบว่า การดูดวงจันทร์เพื่อเข้า – ออกเดือนรอมฎอนมีทัศนะที่สำคัญสองทัศนะใหญ่ๆ ใครจะปฏิบัติตามทัศนะใดก็ไม่ผิดเพราะมีหะดิษมารองรับทั้งสองทัศนะ แต่ประเด็นที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่านั้นก็คือประเด็นการเชื่อฟังและการปฏิบัติตาม ผู้นำเป็นวาญิบในทุกสภาพการณ์ เพราะเป็นอิจมาอฺ (มติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์)ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องนี้ ว่าการปฏิบติตามผู้นำเป็นวาญิบตราบใดที่ผู้นำไม่ได้สั่งให้ทำสิ่งที่ฝ่าฝืน อัลลอฮฺ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคมเราควรที่จะปฏิบัติตามผู้นำ ไม่ว่าผู้นำจะยึดทัศนะใดในการดูเดือน เราก็พร้อมที่จะตามแนวทางของผู้นำ

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Mon Jan 24, 2011 12:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation น้อง f1 น้องต้องการอะไรเหรอคับ
ถ้าน้องต้องการแค่ เสนอ ความเห็นต่างของ อุลามะห์ บังว่ามันไม่จบ
ถ้าจะจบต้องคุยด้วยหลักฐาน คือจาก หะดีษของท่านนบีที่ว่า พวกท่านทั้งหลายจงดูเดือน

คำว่าพวกเจ้าทั้งหลาย ในคำนี้มีอักษร วาว ใช้สำหรับ กล่าวถึงบุคคลมากกว่า 3 ขึ้นไป
และท่านนบีสั่งให้ดู นบีสั่งมุสลิมทั่วโลก ท่านมิได้จำกัดเฉพาะบุคคลหรือสถานที่ หรือประเทศ
หรือจังหวัดใด หากน้องจะนำหะดีษกุแร็บมาอ้าง ก็ฟังไม่ขึ้นเพราะ ท้ายประโยคอิบนิอับบาสอ้างถึงท่านนบี คือคำสั่งที่ให้ดู สั่งให้มุสลิมทั่วโลกดู ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม นี้คือทัศนะของ ญุมฮูรุ้ลอุลามะห์

ในเมือน้องบอกว่าเป็น อะห์ลุสสุนนะห์ งั้นน้องจะต้องทำในสิ่งที่ใกล้เคียงท่านนบีมากที่สุด

คือ ทัศนะของปวงปาชณ์ คับ

หวังว่าน้องที่เรียกตัวว่าเป็น ซุนนะห์ จะทำตามที่นบีสั่งนะคับ


والله أعلم
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Mon Jan 24, 2011 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วประเด็นนี้เชคอุษัยมีนไม่ตามท่านนบีหรือครับ อธิบายทีครับ เชคkolis Rolling Eyes
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Mon Jan 24, 2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
แล้วประเด็นนี้เชคอุษัยมีนไม่ตามท่านนบีหรือครับ อธิบายทีครับ เชคkolis

[
B]บังว่าบังตอบน้องไปแล้วในประเด่นนี้ จะคุย ต้องด้วยหลักฐาน
เพราะไม่งั้น บังนำ ความเห็นของ อุลมะห์ท่านหนึ่ง น้องเอาอีกท่านหนึ่ง
มันไม่จบหรอก เว้นแต่ต้องคุยและทำความเข้าใจในตัวบทคับ

น้องอย่าลืมนะบังอ้างว่า นี้คือทัศนะของ ญุมฮูรุ้ลอุลามะห์ นักวิชาการฝั่งบัง เยอะกว่าน้องแน่!



والله أعلم [/B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.24 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ