ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ไม่พร้อมกัน
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ไม่พร้อมกัน
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Sat Jan 08, 2011 12:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
เฮ้อ วนในอ่างอีกล่ะ
ผมถามคุณkolisจริงๆเถอะครับ คุณกลัวคำถามนี้จนขึ้นสมองเลยหรือครับ นิ่งซะเถอะครับเด็กเอ๋ย นบีห้ามตอบในสิ่งที่ไม่รู้ หวังว่าคุณคงเคยเจอฮาดิษนี้


ทำไมเหรอคับไม่ถูกต้องหรือ ถ้าไม่ถูกเรียนเชิญผู้รู้ที่ตัดสินว่าอันไหนถูกผิด
ว่ามาซิ ถูกยังไง

อัลฮัมดุลิ้ลลา ผมไม่กลัวหลอกคับคำถามที่ คนทั่วโลกเค้าไม่ถามกัน

เพราะคนทั่วโลกเขาถาม ถึง สิ่งที่ท่านอิบนิอับบาส บอกว่า อย่างนี้เหละที่ท่านรอซูลใช้เรา
เขาถามอันนี้
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ยืนหยัดในหลักการอิสลาม ผมจะพูดในความจริง ถึงแม้ว่าจะขมขืนก็ตาม
อันนี้คือจุดยืนของผมและตามที่นบี บอกด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Sat Jan 08, 2011 1:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าตอบไม่ได้

ผมขอจบกระทู้นี้ด้วยคำๆนี้คับ


حدثني عبدوس بن مالك العطار ، قال : سمعت أبا عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل – رضي الله عنه – يقول
أصول السنة عندنا :
التمسك بما كان عليه أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم ، والإقتداء بهم ، وترك البدع ، وكل بدعة فهي ضلالة ، وترك الخصومات ، والجلوس مع أصحاب الأهواء ، وترك المراء والجدال والخصومات في الدين

อับดุส บุตร มาลิกอัลอะฏอร กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินอบูอับดุลลอฮ อะหมัด บุตร หัมบัล (ร.ฏ)กล่าวว่า “ รากฐานสุนนะฮในทัศนะของเรา คือ การยึดถือ สิ่งที่บรรดาสาวกของท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ ยืนหยัดอยู่บนมัน , ปฏิบัติตามพวกเขา และการละทิ้งบิดอะฮ ,ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด ,การละทิ้งการโต้เถียง และนั่งร่วมกับนักตามอารมณ์(หมายถึงพวกบิดอะฮ) ,ละทิ้งการทะเลาวิวาท , การพิพาทกันและการโต้เถียงในเรื่องของศาสนา
-ดู
السنن والمبتدعات ص 5-

ผมขอจบกระทู้นี้เพียงเท่านี้ หาก พี่น้องท่านใด ต้องการสนทนา ในเรื่องดังกล่าวนี้

กระผม kolis ยินดีเสมอคับ แต่ต้องเป็นวิชาการนะคับ ขอย้ำ วิชาการเท่านั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Sat Jan 08, 2011 1:28 am    ชื่อกระทู้: อุลามาทุกคนเป็นทายาทบรรดานบีจริงหรือ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

فَضْلُ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ لَيْلَةَ الْبَدْرِ عَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ، وَإِنَّ الْعُلَمَاءَ وَرَثَةُ الأَنْبِيَاءِ، وَإِنَّ الأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوْا دِيْنَارًا وَلاَ دِرْهَمًا، وَلَكِنْ وَرَّثُوْا الْعِلْمَ، فَمَنْ أَخَذَهُ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ

“ความประเสริฐของผู้รู้ที่โดดเด่นเหนือผู้ปฏิบัติอิบาดะฮฺเปรียบเสมือนความประเสริฐของดวงจันทร์ในคืนจันทร์เพ็ญที่โดดเด่นเหนือดาวดวงอื่นๆ และแท้จริงบรรดาอุละมาอ์คือทายาทผู้รับมรดกจากบรรดานบี และแท้จริงบรรดานบีไม่ได้ทิ้งมรดกแม้แต่หนึ่งดีนารหรือหนึ่งดิรฮัม แต่ทว่าพวกเขาได้ทิ้งมรดกแห่งความรู้ ดังนั้นผู้ใดรับมรดกแห่งความรู้ (จากพวกเขา) แท้จริงเขาได้รับเอาส่วนแบ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์” (เศาะหีห, บันทึกโดยอะหมัด, เล่ม 5 หน้า 196, ดดาริมีย์, เล่ม 1 หน้า 83, อบูดาวูด, เล่ม 3 หน้า 318, อัตติรมิซีย์, เล่ม 4 หน้า 153, อิบนุมาญะฮฺ, เล่ม 1 หน้า 81)

อุลามาอฺแบบใดที่เป็นทายาทสืบทอดมรดกของบรรดานบี?

อุลามาอฺที่ได้ชื่อว่า เป็นทายาทสืบทอดมรดกทางวิชาการจากบรรดานบีนั้น คือ บรรดาอุลามาอฺ หรือนักวิชาการ ที่เผยแพร่ความจริง ที่เขาได้เรียนรู้มา และคำว่า “ความจริง” ในที่นี้ หมายถึง ความรู้ที่ได้จาก คัมภีร์ของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และ บรรดาหะดิษจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สิ่งที่ยืนยัน ดังกล่าวคือ คำตรัสของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา

الَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ وَيَخْشَوْنَهُ وَلَا يَخْشَوْنَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ وَكَفَى بِاللَّهِ حَسِيبًا

บรรดา (นะบี) ผู้ที่ได้เผยแผ่สาสน์ทั้งหลายของอัลลอฮฺ และพวกเขากลัวเกรงพระองค์ และไม่กลัวเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และพอเพียงแล้วที่อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงชำระสอบสวน – อัลอะฮซาบ/36
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า

يَقُولُ - تَعَالَى ذِكْرُهُ - : سُنَّةُ اللَّهِ فِي الَّذِينَ خَلَوْا مِنْ قَبْلِ مُحَمَّدٍ مِنَ الرُّسُلِ ، الَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ إِلَى مَنْ أُرْسِلُوا إِلَيْهِ ، وَيَخَافُونَ اللَّهَ فِي تَرْكِهِمْ تَبْلِيغَ ذَلِكَ إِيَّاهُمْ ، وَلَا يَخَافُونَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ ، فَإِنَّهُمْ إِيَّاهُ يَرْهَبُونَ إِنْ هُمْ قَصَّرُوا عَنْ تَبْلِيغِهِمْ رِسَالَةَ اللَّهِ إِلَى مَنْ أُرْسِلُوا إِلَيْهِ . يَقُولُ لِنَبِيِّهِ مُحَمَّدٍ : فَمِنْ أُولَئِكَ الرُّسُلِ الَّذِينَ هَذِهِ صِفَتُهُمْ فَكُنْ ، وَلَا تَخْشَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ

อัลลอฮ ผู้ซึ่ง เกียรติพระองค์นั้นสูงส่ง ตรัสว่า สุนนะฮตุลลอฮ(แบบแผนของอัลลอฮ)ในบรรดารอซูล ก่อนนบีมุหัมหมัด คือ บรรดาผู้ที่เผยแพร่ สาส์นแห่งอัลลอฮ ไปยังผู้ที่พวกเขาถูกส่งมา และพวกเขากลัวอัลลอฮ ในการละทิ้งการเผยแผ่สาส์นดังกล่าว ไปยังพวกนั้น และพวกเขาไม่เกรงกลัวผู้ใด นอกจากอัลลอฮเท่านั้น ดังนั้นพวกเขาจึงเกรงกลัวต่อพระองค์ หากพวกเขา ละเลยจากการเผยแพร่สาส์น ของอัลลอฮ ไปยังผู้ที่พวกเขาถูกส่งมา ยังผู้นั้น ,พระองค์จึงตรัสแก่นบีของพระองค์ว่า “เจ้าจงเป็นดังบรรดารอซูลที่มีคุณลักษณะเหล่านี้ และ เจ้าอย่ากลัวคนหนึ่งคนใด นอกจากอัลลอฮ เท่านั้น – ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ เล่ม 10 หน้า 278

........................

จากอายะฮอัลกุรอ่านข้างต้น และคำอธิบายของอิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏอ็บรีย์ แสดงให้เห็นว่า อุลามาอฺ ที่สืบทอดเจตนารมณ์ของอัลลอฮ และ เป็นทายาทสืบทอดมรดกทางศาสนาของนบี นั้น เคือ อุลามาอฺหรือ ผู้รู้ที่นำสาส์นของอัลลอฮ รวมถึง คำสอนของนบีของเขา เผยแผ่ไปยังประชาชน และเขาไม่เกรงกลัวผู้ใด นอกจากอัลลอฮ เขาไม่กลัวจะเสียผลประโยชน์ หรือ เสียคะแนนนิยม หากเผยแผ่ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อและประเพณีของประชาชนที่ไม่ถูกต้อง และเขาไม่ปิดบังความจริงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

"إِنَّ الَّذِينَ يَكْتُمُونَ مَا أَنْزَلْنَا مِنَ الْبَيِّنَاتِ وَالْهُدَى مِنْ بَعْدِ مَا بَيَّنَّاهُ لِلنَّاسِ فِي الْكِتَابِ أُولَئِكَ يَلْعَنُهُمُ اللَّهُ وَيَلْعَنُهُمُ اللَّاعِنُونَ

แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังสิ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาและนำสิ่งนั้นไปแลกเปลี่ยนกับราคาอันเล็กน้อย ชนเหล่านั้นมิได้กินอะไรเข้าไปในท้องของพวกเขานอกจากไฟเท่านั้น และในวันกิยามะฮ์ อัลลอฮ์จะไม่ทรงพูดแก่พวกเขา และจะไม่ทรงทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ" - อัลบะเกาะเราะฮ/174

...........
والله أعلم بالصواب
บทความโดย อะสัน หมัดอะดั้ม asan12 call@hotmail.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Sat Jan 08, 2011 1:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ครับ คุณจะหนีกระทู้ไปแบบนี้ก็เรื่องของคุณครับ คุณฟัง อ.ฟารีดเข้ามาชี้แจงดีกว่านะครับ
เอ้า เริ่มใหม่ ถามว่า"ทำไมสมัยซอฮาบัตระหว่างกุรอยบ์กับอิบนุอับบาสเข้าบวชคนละวันกัน"(อ้างจากฮาดิษกุรอยบ์) Very Happy

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 3:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม


ฉันต้องทำอย่างไรถ้าหากมีการเห็นจันทร์เสี้ยวในบางประเทศมุสลิม แต่ประเทศที่ฉันอาศัยอยู่ประกาศให้ถือศีลอดด้วยการนับจำนวนวันของเดือนชะ อฺบานให้ครบสามสิบวัน และออกอีดด้วยการนับจำนวนวันของเดือนเราะมะฎอนให้ครบสามสิบวัน? และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้คนต่างขัดแย้งกันในเรื่องการเข้าเดือนเราะมะ ฎอน?



คำตอบ



ท่านจะต้องยึดถือตามผู้คนในประเทศของท่าน ถ้าพวกเขาถือศีลอดท่านก็ถือศีลอดตามพวกเขา ถ้าพวกเขาออกจากการถือศีลอด(หมายถึงวันอีด)ท่านก็จงออกจากถือศีลอดพร้อมๆ กับพวกเขา เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«الصوم يوم تصومون ، والإفطار يوم تفطرون ، والأضحى يوم تضحون»

ความว่า “การ เริ่มนับถือศีลอดคือวันที่พวกท่านทั้งหลายถือศีลอดกัน และการออกจากการถือศีลอด(วันอีด)ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกจากการถือศีล อด และวันเชือดสัตว์(อีดุลอัฎหา)ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายเชือดสัตว์กัน”



และเพราะว่าการขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องที่เลวร้าย ดังนั้นจึงวาญิบที่ท่านต้องทำพร้อมๆ กับผู้คนในประเทศของท่าน เมื่อชาวมุสลิมในประเทศของท่านออกมาฉลองวันอีดท่านก็จงออกอีดพร้อมๆ พวกเขา และเมื่อพวกเขาเริ่มถือศีลอดท่านก็ถือศีลอดพร้อมๆ พวกเขา



ส่วนสาเหตุที่มีการขัดแย้งกันนั้น เพราะว่าประชากรบางส่วนเห็นจันทร์เสี้ยว และอีกบางส่วนอาจจะไม่เห็น คนที่เห็นจันทร์เสี้ยวนั้นอาจจะได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจจากผู้อื่น ซึ่งพวกเขาก็ปฏิบัติตามความเชื่อใจนั้น หรือบางทีพวกเขาอาจจะไม่เชื่อใจและไม่ปฏิบัติตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของคน เหล่านั้นก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น



บางประเทศอาจจะเห็นจันทร์เสี้ยวและประกาศให้กำหนดมีการถือศีลอดหรือฉลองวัน อีดตามที่เห็นนั้น แต่ประเทศอื่นกลับไม่พึงใจและไม่เชื่อใจกับการเห็นดังกล่าว อาจจะเป็นเพราะด้วยสาเหตุหลายประการ อาทิ สาเหตุทางการเมืองบ้างหรืออะไรก็ตามแต่



สิ่งที่วาญิบคือชาวมุสลิมทั้งหลายจะต้องถือศีลอดพร้อมกันเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว และต้องออกอีดพร้อมกันเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว เพราะอาศัยหลักฐานโดยรวมจากหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

«إذا رأيتم الهلال فصوموا ، وإذا رأيتم الهلال فأفطروا ، فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين»

ความ ว่า “เมื่อ พวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวก็จงถือศีลอด และเมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยว(อีกครั้ง)ก็จงออกจากการถือศีลอด และหากว่าจันทร์เสี้ยวถูกบดบังไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่าน ก็จงนับวันให้ครบสามสิบวัน”



ถ้า ทุกคนมั่นใจกับการเห็นจันทร์เสี้ยวอย่างถูกต้อง และรู้แน่ว่าเห็นจริงและยืนยันได้อย่างมั่นใจ ก็วาญิบที่จะต้องถือศีลอดหรือฉลองอีดด้วยการเห็นนั้น แต่ถ้าหากในความเป็นจริงกลับมีการขัดแย้งกัน และต่างก็ไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องทำก็คือให้ท่านถือศีลอดพร้อมๆ กับประชาคมมุสลิมในประเทศของท่าน และให้ท่านฉลองวันอีดพร้อมๆ กับพวกเขา เพราะเป็นการปฏิบัติตามหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

«الصوم يوم تصومون ، والإفطار يوم تفطرون ، والأضحى يوم تضحون»

ความว่า “การ เริ่มนับถือศีลอดคือวันที่พวกท่านทั้งหลายถือศีลอดกัน และการออกจากการถือศีลอด(วันอีด)ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกจากการถือศีล อด และวันเชือดสัตว์(อีดุลอัฎหา)ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายเชือดสัตว์กัน”



และ มีรายงานจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า เมื่อ กุร็อยบฺ มาบอกกับท่านว่า ชาวเมืองชามได้เริ่มถือศีลอดในวันศุกร์ อิบนุ อับบาส ก็ตอบว่า

“พวกเรา เห็นเดือนในวันเสาร์ และเราก็จะถือศีลอดเรื่อยๆ จนเราเห็นจันทร์เสี้ยวสำหรับวันอีด หรือถ้าไม่เห็นมัน เราก็จะนับวันให้ครบสามสิบวัน”

ซึ่งท่านไม่ได้ปฏิบัติตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของชาวเมืองชาม เพราะชามอยู่ไกลจากมะดีนะฮฺ และมัฏละอฺระหว่างทั้งสองเมืองก็ต่างกันด้วย

ท่าน อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เห็นว่าเรื่องนี้อยู่ในขอบข่ายของการอิจญ์ติฮาด(การวินิจฉัย) ดังนั้น จงใช้ตัวอย่างของอิบนุ อับบาส และคนอื่นๆ ที่มีความเห็นตามท่าน ที่ระบุว่าให้ถือศีลอดตามคนในประเทศของท่านและฉลองวันอีดพร้อมๆ กับคนในประเทศของท่าน ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก

จบการอ้าง

คำตอบโดย เชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ ใน รวมฟัตวาของท่าน 15/100-102



แปลจากเว็บอิสลามถามตอบ

www.islamqa.com ฟัตวาหมายเลข 106487

ผู้แปล : ซุฟอัม อุษมาน / Islam House

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 3:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ ก๊อป ฟัตวาของเชคบินบาสมา งั้นมาดูซิว่า เชคบินบาสแก่บอกว่าไงหลังจากนั้น

ซึ่งผมหวังว่า ผู้วิพากษ์คงจะไม่อ้างเฉพาะบางกรณีที่ต้องการเท่านั้น เนื่องจากเชคบินบาซท่านนั่งเป็นประธานคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาของซาอุดิอาราเบีย ขณะเดียวกันท่านก็มีคำฟัตวาในนามส่วนตัวอีกด้วย ดังนั้นเราจึงพบว่า บางครั้งคำฟัตวาในนามองค์กรที่มีท่านเป็นประธาน กับคำฟัตวาโดยส่วนตัวของท่านไม่ตรงกัน กรณีนี้เช่นเรื่อง การเข้าเดือนออกเดือน ที่คำฟัตวาโดยส่วนตัวของท่านปฏิเสธในเรื่อง “มัฏละอ์” และสนับสนุนให้ตามการเห็นเดือนจากทั่วโลก เนื่องจากตัวบทหลักฐานมิได้จำกัด และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งใช้ และท่านก็ถือว่าเป็นสิ่งยอดเยี่ยมและดีที่สุด ผมจึงอยากให้ผู้วิพากษ์ให้ความเป็นธรรมแก่เชคบินบาซด้วย (รอฮิมะฮุ้ลลอฮ์)

สามารถอ่านคำฟัตวาส่วนตัวของเชคบินบาซได้ที่เวบไซด์ของท่านเอง หรือตามลิงค์ด้านล่างนี้

http://www.binbaz.org.sa/mat/20962
http://www.binbaz.org.sa/mat/406
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเชคบินบาซจะมีมุมมองเช่นใด เราก็สามารถรับฟังและพิจารณา และผมเองก็ไม่ได้เอาคำฟัตวาเหล่านี้มาเป็นหลักฐาน มิเช่นนั้นแล้วก็จะเท่ากับเป็นการเอาคำฟัตวามาชนกันเอง ที่สำคัญก็คือ เราไม่ถือว่าคำฟัตวาของท่านเป็นบัญญัติศาสนา นอกจากตัวบทหลักฐานที่ท่านนำเสนอ


หากผู้วิพากษ์มั่นใจในคำฟัตวาของเชคบินบาซจริง เพราะเหตุใดจึงไม่เรียกร้องไปสู่การยอมรับการเห็นเดือนจากทั่วโลก เพราะเชคบินบาซฟัตวาว่า เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดและดีที่สุด


ผู้วิพากษ์หยิบเอาคำฟัตวาบางส่วนขององค์กรในประเทศซาอุดิอาราเบียมาชี้นำให้ปฏิบัติตามผู้ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้นำในประเทศไทย เหมือนกับต้องการให้ผู้อ่านได้เชื่อตามคำฟัตวาที่นำเสนอ หรือพูดง่ายๆว่า เรื่องนี้ให้เชื่อซาอุดีฯ แต่ข่าวการเห็นเดือนจากองค์กรประเทศซาอุดิฯเหมือนกัน กลับไม่เอา ประหลาดจริง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 4:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง f1 จะก๊อปใครมาบังไม่ว่านะ แต่ก๊อปมาทั้งที เอาให้ละเอียดหน่อยไม่ใช่ก๊อปแบบลวกๆ

ฉะนั้นยินดีมากที่เอาวิชาการมา

แต่ขอเป็น หลักฐาน จากกุรอ่านหรือหะดีษหรืออิจมาอ์ก็ได้คับ

งั้นน้องช่วยอธิบายหน่อยว่าหะดีษนี้ นบีหมายถึงใคร ในประเทศไหน สถานที่ใด

قال: ((صوموا لرؤيته، وأفطروا لرؤيته، فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين))[1]

[1] رواه مسلم في الصيام باب وجوب صوم رمضان لرؤية الهلال والفطر لرؤيته برقم 1081، والنسائي في الصيام باب ذكر الاختلاف على عمر بن دينار برقم 2124، واللفظ له

อธิบายมาด้วยนะ

والله ولي التوفيق
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 11:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถาม : เราควรถือศีลอด(ในเดือนรอมาฎอน)และเลิกถือศีลอดของเราตามการเห็นฮิลา ล(จันทร์เสี้ยวของเดือนใหม่)ในซาอุดิอาระเบีย หรือเราควรจะถือศีลอดตามการเห็นฮิลาลในประเทศที่เราอาศัยอยู่?

คำตอบ : ในหมู่อุละมาอฺมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันออกไปมากมาย มีประมาณหกทัศนะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีทัศนะหลักๆ อยู่สองทัศนะคือ

ทัศนะแรก คือทุกคนควรจะดูเดือนในประเทศของตนเอง และประเทศที่มีดวงจันทร์ขึ้นในเวลาเดียวกันก็ควรจะปฏิบัติตามประเทศของตน เหตุผลนั้นก็คือว่าเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน

ทัศนะที่สอง นั้นก็คือ การเริ่มต้นเดือนใหม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันในประเทศมุสลิมประเทศใด ประเทศหนึ่งเท่านั้น ถ้าในประเทศมุสลิมประเทศใดประเทศหนึ่งยืนยันการเห็นฮิลาล เมื่อนั้น ถือเป็นข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนจะต้องใช้การเห็นเดือนนั้นกำหนดการเริ่มต้น ถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน หรือเลิกถือศีลอด(เมื่อสิ้นเดือนแล้ว)

ตามทัศนะที่สอง สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนรอมาฎอน ถ้ามีการยืนยันว่าเห็นฮิลาลในซาอุดิอาระเบีย ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนในทุกส่วนของโลกถือศีลอดตาม(ซาอุดิอาระเบีย) สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนเชาวาล ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนเลิกถือศีลอดตามเช่นกัน นี่คือทัศนะที่เกือบจะเป็นการยึดถือโดยทั่วไปของผู้สังกัดมัซฮับอิมามอะหฺมัด อิบนฺ ฮัมบาล

อย่าง ไรก็ตาม ทัศนะแรกมีความถูกต้องมากกว่า เพราะพยานหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรฺอาน, สุนนะฮฺ และเพราะการกิยาส(อนุมานเปรียบเทียบ) สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับอัล-กุรฺอานนั้น อัลลอฮ์ ตรัสว่า :

“เดือน รอมฎอนคือเดือนที่อัล-กุรฺอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นหลักฐานอันชัดเจนให้กับทางนำนั้น และยังเป็นบรรทัดฐานสำหรับแยกแยะความจริงและความเท็จ ดังนั้น พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น..........” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 )

ประโยคสุดท้ายเป็นประโยคเงื่อนไข และกฎซึ่งแฝงอยู่ในประโยคเงื่อนไขนั้นได้รับการบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่อยู่ ในเงื่อนไข และไม่มีผลบังคับสำหรับบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้น ประโยคที่กล่าวว่า “พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น” จึงมีความหมายว่า บุคคลที่มิได้มองเห็นจันทร์เสี้ยวก็มิต้องถือศีลอด

เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีในหมู่นักดาราศาสตร์ว่า เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นในแต่ละสถานที่นั้นแตกต่างกัน ณ สถานที่หนึ่ง อาจมีคนมองเห็นเดือน แต่อีกสถานที่หนึ่ง อาจไม่มีคนมองเห็นเดือน เพราะฉะนั้น ตามความหมายของอายะฮฺดังกล่าว (2:185) บุคคลที่มองไม่เห็นเดือน ก็ไม่เป็นที่บังคับให้ต้องถือศีลอด

ตามสุนนะฮฺ ท่านนบี กล่าวว่า

“ถ้า เจ้าเห็นมัน(ฮิลาลของเดือนรอมาฎอน) จงเริ่มถือศีลอด และถ้าเจ้าเห็นมันอีกครั้ง(ฮิลาลของเดือนเชาวาล) จงเลิกถือศีลอด และถ้ามีเมฆมาบดบังมิให้เจ้ามองเห็น ดังนั้น จงนับ(เดือนปัจจุบัน)ให้ครบสามสิบวัน”

ท่านนบี กล่าวว่า “ถ้าเจ้าเห็นมัน” เท่ากับว่าท่านนบี เชื่อมโยงกฎนั้นเข้ากับการดูเดือน และถ้ากฎนั้นเชื่อมโยงกับเหตุที่เป็นจริง เมื่อนั้นกฎดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ในกรณีที่เหตุนั้นไม่มีอยู่จริง

หากพิจารณาในมุมมองของการกิยาส(การอนุมานเปรียบเทียบ)นั้น เมื่อเรากล่าวว่าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง เวลาเริ่มถือศีลอดและเวลาละศีลอดในแต่ละวันช่างแตกต่างกันจริงๆ ในทำนองเดียวกัน เวลาที่เริ่มต้นถือศีลอดเดือนรอมาฎอน และเวลาที่เลิกถือศีลอดเดือนรอมาฎอนย่อมจะแตกต่างกันฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น ตัวอย่างเช่น เราอยู่ในริยาห์ด ทุกวันเราเริ่มถือศีลอดก่อนผู้คนในอัล-หิญาซ และเรายังละศีลอดก่อนพวกเขาเช่นกัน

ฉะนั้น เราถูกบังคับให้ต้องเริ่มต้นถือศีลอดในขณะที่พวกเขายังคงรับประทานอาหารกัน อยู่ตามปกติ ในอีกด้านหนึ่ง ช่วงเวลาพลบค่ำเรารับประทานอาหารได้แล้ว ขณะที่พวกเขายังต้องถือศีลอดอยู่ เพราะเหตุดังกล่าว ถ้า แต่ละสถานที่มีกฎของตัวเองเนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตก ของดวงอาทิตย์แล้ว ในทำนองเดียวกัน แต่ละสถานที่ย่อมมีกฎของตัวเอง เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตกของดวงจันทร์เช่นกัน

เพราะ ฉะนั้น คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว เป็นวายิบ(บังคับ)สำหรับท่าน ท่านจะต้องปฏิบัติตามการเห็นฮิลาลในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่



เชค อิบนฺ อุษัยมีน
อ้างอิง : อัล-อฺะกอลลียาต อัล-มุสลิมะฮฺ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23 (Source: www.islammore.com)

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 4:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
งั้นน้องช่วยอธิบายหน่อยว่าหะดีษนี้ นบีหมายถึงใคร ในประเทศไหน สถานที่ใด

قال: ((صوموا لرؤيته، وأفطروا لرؤيته، فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين))[1]

[1] رواه مسلم في الصيام باب وجوب صوم رمضان لرؤية الهلال والفطر لرؤيته برقم 1081، والنسائي في الصيام باب ذكر الاختلاف على عمر بن دينار برقم 2124، واللفظ له

อธิบายมาด้วยนะ

والله ولي التوفيق


อย่าหนีซิคับ ตอบมาก่อนนบีว่าไง

และผมได้ตอบไป คือด้วยหลักฐาน จาก หะดีษของท่านนบี
มาตฐานของการปฎิบัติ ต้องเอา กรุอ่านหะดีษเป็นหลัก
ส่วนคำฟัตวา ผมเอาแต่ดูด้วยหลักฐาน ที่ยกมาเท่านั้น
คุณอ้าง เชค บิน บาส แต่กลับมองข้ามสิ่งที่เชคบิน บาส นำมาเสนอ
เชคเค้าเสนอด้วยหลักฐาน ด้วยหะดีษ

قال: ((صوموا لرؤيته، وأفطروا لرؤيته، فإن غم عليكم فأكملوا العدة ثلاثين))[1]

[1] رواه مسلم في الصيام باب وجوب صوم رمضان لرؤية الهلال والفطر لرؤيته برقم 1081، والنسائي في الصيام باب ذكر الاختلاف على عمر بن دينار برقم 2124، واللفظ له

โดยเชคบอกให้เราทราบ ว่าท่านเรียกร้องการดูเดือนทั่วโลก โดยอาศัย หะดีษบทนี้เป็นหลัก
และที่สำคัญ คือท่านบอกว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด แล้วคุณทำไมไม่เอาละ
ในเมื่ออ้างว่าตามคำฟัตวาของเชค บินบาส
คุณจะดื้อรั้น ไปก็เท่านั้น มันไม่ได้ทำให้จุดยืนเรื่องการดูเดือนเปลียนไปหรอกคับ

والله ولي التوفيق
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อันนี้คุณต้องตามไปเคลียร์กับเชคบินบาซเอง เพราะเชคดันฟัตวาออกมาเป็น2คำตอบใน1เรื่อง แล้วคุณก็เลือกที่คุณต้องการ ผมแค่นำเสนอเท่านั้น Wink
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 5:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วที่เชคอิบนุอุษัยมีนฟัตวาล่ะครับ จะว่ากันยังงัย Wink
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 5:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
อันนี้คุณต้องตามไปเคลียร์กับเชคบินบาซเอง เพราะเชคดันฟัตวาออกมาเป็น2คำตอบใน1เรื่อง แล้วคุณก็เลือกที่คุณต้องการ ผมแค่นำเสนอเท่านั้น


คำพูดของคุณ เหมือนต่อว่า เชค บิน บาสนะคับ ทบทวนคำพูดดีๆ

ผมไม่ได้บอกว่าผมเอาคำฟัตวา เป็นมาตฐานในการตัดสินเรื่องที่มีตัวบทมารับรอคับ
แต่เรื่องนี้ ท่านนบี มุฮัมหฟมัด Solallah ได้บอกเอาไว้ กระจ่างมากๆ หากคุณเข้าใจในตัวบทหะดีษที่ผม
ยกให้คุณดู แต่พอดีลืมไปคุณอ่านภาษาอาหรับไม่ออกงั้นผมช่วยแปลให้

แต่ผมขอไม่อธิบาย
แต่คุณช่วยอธิบายหน่อยนะ ว่านบีสั่งใคร เจาะจงไหม ว่าประเทศไหนประเทศนั้น

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

อธิบายด้วย สมอง ของคุณซิ เพราะอย่าลืมว่านี้คือ หลักฐาน กอตอีย์(ตัดสิน)

ท่านนบีกล่าวว่ายังไง หมายถึงใคร
ใบ้ให้นิดหนึ่ง

ประโยคนี้ พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว

เป็นประโยคคล้ายแมค์เลยทีเดี่ยว ลอง นำสมองพินิจพิจราณาดูซิ

والله أعلم بالصواب
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
rattikan
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/12/2010
ตอบ: 58


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Question

ท่านนบี สั่งให้มุสลิมทั่วโลกดู ใช่ ไหมค๊ะ บัง kolis
ซึ่งจะอ้างเรื่องเวลาก็ไม่ได้

Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 6:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องของเรื่องคือซอฮาบัตเข้าบวชไม่พร้อมกัน(อ้างจากฮาดิษกุรอยบ์) คุณลองอธิบายดูสิ ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 8:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณจะหนีไปไหนตอบผมมาก่อนซิ ว่านบีว่าไง

อย่าพึงโยนไปให้ศอฮาบะห์ แล้วรู้ไหมว่าศอฮาบะห์(อิบนิ อับบาสอ้างใคร) ในการปฎิเสธการเห็นของมุอาวิยะห์และกุแร๊บ


เพราะ อิบนิอับบาส อ้างถึงนบี คือหะดีษ

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับไปหาอัลลอฮและรอซูล ว่านบีพูดไว้ยังไง

หรือคุณจะบอกว่าไม่จริง

วัลลอฮุอะลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.20 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ