ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ถือศีลอดแทนกันได้หรือคะ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ถือศีลอดแทนกันได้หรือคะ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
NADEYAZA
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 19/08/2010
ตอบ: 39


ตอบตอบ: Fri Aug 27, 2010 7:04 am    ชื่อกระทู้: ถือศีลอดแทนกันได้หรือคะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากทราบว่าการถือศีลอดถือแทนกันได้เหรอคะ คือว่าฉันดูรายการมุสลิมแล้วอาจารย์บอกว่าการถือศีลอดแทนกัได้คือ ถ้าสมุติว่า พ่อหรือแม่ของเราป่วยในเดือนรอมาดอนเช่นป่วยมา5วันแล้วพ่อหรือแม่ของเราเสียชีวิต เป็นความจำเป็ของเราต้อง"วลี"ถือศีลอดแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตให้ครบ อยากถามว่าถูกต้องตามหลักซุนนะห์หรือไม่คะ Idea Shocked
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
shabab
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008
ตอบ: 303


ตอบตอบ: Fri Aug 27, 2010 1:50 pm    ชื่อกระทู้: Re: ถือศีลอดแทนกันได้หรือคะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

NADEYAZA บันทึก:
อยากทราบว่าการถือศีลอดถือแทนกันได้เหรอคะ คือว่าฉันดูรายการมุสลิมแล้วอาจารย์บอกว่าการถือศีลอดแทนกัได้คือ ถ้าสมุติว่า พ่อหรือแม่ของเราป่วยในเดือนรอมาดอนเช่นป่วยมา5วันแล้วพ่อหรือแม่ของเราเสียชีวิต เป็นความจำเป็ของเราต้อง"วลี"ถือศีลอดแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตให้ครบ อยากถามว่าถูกต้องตามหลักซุนนะห์หรือไม่คะ Idea Shocked


คนตายที่ยังมีการถือศีลอดวาญิบติดค้างอยู่ วะลียฺของเขาต้องทำอย่างไร?
คำตอบ
การถือศีลอดวาญิบที่คนตายติดค้างอยู่ในคำถามนี้หมายถึง การถือศีลอดชดใช้ เพราะขาดถือศีลอด ในเดือนเราะมะฏอน หรือที่เรียกว่า เกาะฎออ์เราะมะฏอน และการถือศีลอดเนื่องจาก ได้บนหรือที่เรียกว่านะซัรเอาไว้

ส่วนวะลียฺของคนตายที่ต้องจัดการเรื่องนี้ก็คือ ญาติทุกคน หรือทายาทโดยตรงก็ได้

หากคนๆหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะได้ถือศีลอดทั้งสองแบบดังกล่าว วะลียฺจะต้องถือศีลอด แทนผู้ตายหรือไม่นั้น นักวิชาการฟิกฮ์มีทัศนะแตกต่างกัน ออกเป็นสามฝ่ายดังนี้

ฝ่ายที่หนึ่ง วะลียฺไม่ต้องถือศีลอด แทนผู้ตายไม่ว่าจะเป็นแบบเกาะฎออ์เราะมะฏอน หรือแบบนะซัร อันเป็นความเห็นของมัซฮับฮะนะฟียฺ อิมามมาลิก รวมทั้งเป็นหนึ่งในทัศนะที่แพร่หลายของมัซฮับชาฟิอียฺ โดยที่พวกเขาอ้างหลักฐานดังนี้

1. อายะฮฺอัลกุรอานจากซูเราะฮฺอันนัจญฺมุ อายะฮฺที่ 39 ที่ว่า

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَانِ إِلَّا مَا سَعَى
และมนุษย์จะไม่ได้รับอันใด เว้นแต่ในสิ่งที่เขาขวนขวายเอาไว้

2. หะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า

إِذَا مَاتَ الْإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلَّا مِنْ ثَلَاثَةٍ إِلَّا مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ
เมื่อมนุษย์ได้ตายลง การงานของเขาก็ถูกตัดขาดจากเขา เว้นแต่สามประการได้แก่ การบริจาคที่เป็นสาธารณะประโยชน์ ความที่ยังประโยชน์(แก่คนรุ่นหลัง) บุตรที่ดีขอดุอาอ์ให้กับเขา
(หะดีษเศาะฮีฮฺ รายงานโดยอัลบุคอรียฺ มุสลิม อัตติรมีซียฺ อบูดาวูด และอันนะซาอียฺ)

3. หะดีษที่รายงานจาก عبادة بن نسى ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัมได้กล่าวว่า

من مرض فى رمضان فلم يزل مريضا حتى مات لم يطعم عنه ، وإن صح فلم يقضه حتى مات أطعم عنه
ใครที่ป่วยในเดือนเราะมะฏอน และไม่หายจนกระทั่งตาย ไม่ต้องจ่ายอาหารชดเชยการถือศีลอดแทนเขา และถ้าเขาหายแล้วแต่ไม่ได้ถือศีลอดชดใช้ จนกระทั่งตาย ก็ให้จ่ายอาหารชดเชยให้กับเขา
หะดีษเฎาะอีฟในสายรายงาน รายงานโดย عبد الرزاق

4. รายงานที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ได้กล่าวว่า

لا تصوموا عن موتاكم وأطعموا عنهم
พวกท่านอย่าถือศีลอด แทนคนตายของพวกท่าน แต่ให้จ่ายอาหารชดเชยให้แก่พวกเขา
(สายรายงานอ่อนมาก ضعيف جدا รายงานโดย عبد الرزاق และ البيهقي )

5. คำพูดของอิบนุ อับบาส ที่ว่า

لا يصلى أحد عن أحد ، ولا يصوم أحد عن أحد
คนหนึ่ง ไม่ละหมาดแทนคนอื่น และคนหนึ่ง ไม่ถือศีลอดแทนคนอื่น
(สายรายงานเศาะฮีฮฺ รายงานโดยอันนะซาอียฺ ใน الكبرى แต่ทว่าอิบนุ อับบาส ก็คือ ผู้รายงานหะดีษ เศาะฮีฮฺที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม สั่งให้ชายคนหนึ่ง ถือศีลอดแทนมารดาของเขาที่เสียชีวิต)

ฝ่ายที่สอง วะลียฺต้องถือศีลอดแทนผู้ตายทั้งสองแบบ เป็นทัศนะของอบูเษารฺ อิบนุหัซมฺ และหนึ่งในสองทัศนะของมัซฮับชาฟิอียฺ ซึ่งท่านอิมามนะวะวียฺเห็นด้วยกับทัศนะนี้ หลักฐานที่อ้างอิงมีดังนี้

1. หะดีษที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ได้รายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า
‏مَنْ مَاتَ وَعَلَيْهِ صِيَامٌ صَامَ عَنْهُ وَلِيُّهُ
ผู้ใดเสียชีวิตโดยยังมีภาระถือศีลอดค้างอยู่ ก็ให้วะลียฺ (ทายาท หรือญาติ) ของเขาถือศีลอดแทน
(หะดีษเศาะฮีฮฺ รายงานโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

2. หะดีษที่อิบนุ อับบาสได้รายงานว่า

َجاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّ أُمِّي مَاتَتْ وَعَلَيْهَا صَوْمُ شَهْر ٍ ( وفى رواية : " صوم نذر" ) أَفَأَقْضِيهِ عَنْهَا قَالَ ‏ ‏نَعَمْ فَدَيْنُ اللَّهِ أَحَقُّ أَنْ يُقْضَى
ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮฺ มารดาของฉันเสียชีวิตแล้ว และนางยังมีศีลอดเราะมะฎอนค้างอยู่ (อีกรายงานมีว่า "นางยังมีศีลอดจากการบนค้างอยู่" ) ฉันต้องถือศีลอดแทนนางหรือไม่? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ตอบว่า ต้องซิ เพราะหนี้ของอัลลอฮฺนั้นสมควรต้องชดใช้ยิ่งกว่า
(หะดีษเศาะฮีฮฺ รายงานโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

3. หะดีษที่ท่านบุรอยดะฮฺ ได้เล่าว่า

بَيْنَا أَنَا جَالِسٌ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏إِذْ أَتَتْهُ امْرَأَةٌ فَقَالَتْ ِنِّي تَصَدَّقْتُ عَلَى أُمِّي بِجَارِيَةٍ وَإِنَّهَا مَاتَتْ فَقَالَ ‏ ‏وَجَبَ أَجْرُكِ وَرَدَّهَا عَلَيْكِ الْمِيرَاثُ قَالَتْ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّهُ كَانَ عَلَيْهَا صَوْمُ شَهْرٍ أَفَأَصُومُ عَنْهَا قَالَ صُومِي عَنْهَا........
ขณะที่ฉันกำลังนั่งกับท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ทันใดก็มีหญิงคนหนึ่ง ได้มาหาท่านแล้วพูดว่า ดิฉันได้บริจาคทาสหญิง ให้เป็นผลบุญแก่แม่ของดิฉัน ซึ่งนางได้เสียชีวิตไปแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า เธอต้องได้รับผลรางวัล และมรดกจะคืนนาง (ทาสหญิง) ให้กับเธอ นางกล่าวว่า โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮฺ แม่ของฉันนางมีศีลอดเราะมะฎอนค้างอยู่ ดิฉันต้องถือศีลอดแทนนางหรือไม่? ท่านตอบว่า ต้องถือซิ......
(หะดีษเศาะฮีฮฺ รายงานโดยมุสลิม และอัตติรมีซียฺ)

4. หะดีษที่ท่านอิบนุ อับบาส ได้เล่าว่า

أن امرأة ركبت البحر فنذرت إن الله نجاها أن تصوم شهرا فنجاها الله تعالى فلم تصم حتى ماتت ، فجاءت بنتها أو أختها إلى رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فأمرها أن تصوم عنها
หญิงคนหนึ่งโดยสารเรือ แล้วได้บนว่าหากอัลลอฮฺให้นางปลอดภัย นางจะถือศีลอดหนึ่งเดือน และอัลลอฮฺก็ให้นางปลอดภัย แต่นางก็ยังไม่ได้ถือศีลอดจนกระทั่งเสียชีวิต จากนั้นบุตรีของนาง หรือน้องสาวของนางได้มาหาท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ท่านก็ได้ใช้ให้หล่อนถือศีลอดแทนนาง
(หะดีษเศาะฮีฮฺ รายงานโดย อบู ดาวูด และอันนะซาอียฺ)

5. ส่วนหลักฐานของฝ่ายแรกที่เห็นว่าไม่ต้องถือศีลอดแทนผู้ตายทุกกรณี โดยอ้างอายะฮฺอัลกุรอานที่ว่า

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَانِ إِلَّا مَا سَعَى
มนุษย์จะไม่ได้รับอันใด เว้นแต่ในสิ่งที่เขาขวนขวายเอาไว้

อุละมาอ์ของฝ่ายที่สองคัดค้านว่า อันที่จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้ประทานอายะฮฺ ที่กล่าวถึงหนี้ของผู้ตาย ที่ต้องจัดการให้เสร็จก่อน จะแบ่งมรดกให้กับทายาท ดังอายะฮฺที่ 11 ของซูเราะฮฺอันนิสาอ์ที่ว่า

مِن بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصِي بِهَا أَوْ دَيْنٍ
ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียเอาไว้ หรือหลังจากหนี้สิน

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้เรียกศีลอดที่คนตายยังติดค้างอยู่ด้วยคำว่า หนี้ของอัลลอฮฺ ที่สมควรต้องชดใช้ยิ่งกว่าหนี้ใดๆ ดังนั้นมนุษย์จะได้รับในสิ่งที่เขาขวนขวายไว้ อีกทั้งยังมีสิ่งที่เขาจะได้รับจากสิ่งที่คนอื่นกระทำแทนเช่นกัน ดังเช่นการชดใช้หนี้สินให้กับผู้ตาย และการถือศีลอดแทนผู้ตายก็อยู่ในเรื่องนี้ด้วย

6. และหะดีษของฝ่ายแรกที่ว่า เมื่อมนุษย์ได้ตายลง การงานของเขาก็ถูกตัดขาดจากเขา เว้นแต่สามประการ...... อุละมาอ์ฝ่ายที่สองเห็นว่า หะดีษนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ เพราะในหะดีษกล่าวถึง การงานของผู้ตาย ถูกตัดขาด แต่ไม่ได้พูดถึงการตัดขาด จากการงานของคนอื่นที่ทำแทนเขา

ฝ่ายที่สาม วะลียฺถือศีลอดแทนคนตายเฉพาะแบบนะซัร โดยไม่ต้องถือแทนแบบเกาะฎออ์เราะมะฎอน เป็นทัศนะของอิมามอะหฺมัด อิสฮาก อบูอุบัยดฺ และอัลลัยษฺ เหตผลของพวกเขามีดังนี้

1. หะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เป็นการวางหลักแบบกว้างๆ ส่วนหะดีษของอิบนุ อับบาสที่ระบุถึงการให้ถือศีลอดที่คนตาย ได้นะซัรไว้นั้น เป็นการเจาะจงให้แคบลง (ดูหลักฐานของฝ่ายที่สองข้อ1และข้อ2) ดังนั้นความหมายของศีลอด ที่วะลียฺต้องถือแทนคนตายก็คือ ศีลอดที่คนตายได้นะซัรไว้

2. รายงานที่อ้างถึงท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่นางได้ห้ามการถือศีลอดแทนคนตายนั้น ถ้อยคำที่ใช้เห็นชัดว่าเป็นการห้ามกรณีเกาะฎออ์เราะมะฎอน ไม่ใช่กรณีนะซัร

3. คำพูดของอิบนุ อับบาสที่ว่า

إذا مرض الرجل فى رمضان ثم مات ولم يصم أطعم عنه ولم يكن عليه قضاء ، وإن كان عليه نذر قضى عنه وليه
เมื่อคนหนึ่งเจ็บป่วยในเดือนเราะมะฏอน จากนั้นได้ตายลงโดยไม่ทันได้ถือศีลอดชดใช้ ก็ให้จ่ายอาหาร ทดแทนศีลอดนั้นแก่เขา ไม่ต้องถือศีลอดแทนเขา และหากศีลอดที่ค้างอยู่นั้นเป็นการนะซัรไว้ ก็ให้วะลียฺถือศีลอดแทนเขา
(สายรายงานเศาะฮีฮฺ รายงานโดยอบูดาวูด และอิบนุ หัซมฺ)

4. การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นฟัรฎู เหนือคนแต่ละคน เหมือนการละหมาด ไม่มีใครสามารถละหมาดแทนใครได้ ยิ่งทำแทนคนตายด้วยแล้ว ก็จะไม่ให้คุณอันใด

ซึ่งต่างกันกับกรณีศีลอดที่เกิดจากการนะซัร เพราะอัลลอฮฺ ตะอาลาไม่ได้ทรงวางมันไว้ เหนือบ่าวมาแต่เดิม แต่ผู้นะซัรได้กำหนดมันให้เป็น วาญิบเหนือตัวของเขาเอง ดังนั้นมันจึงจัดอยู่ในประเภทหนี้ที่ต้องชดใช้ จึงให้วะลียฺทำแทนคนตายได้ เหมือนกับที่ทายาทต้องจัดการหนี้สินของเจ้ามรดก

ข้อสรุปเพื่อการปฏิบัติ
....... แม้ว่าทัศนะของฝ่ายที่สองจะดูมีน้ำหนักที่สุดเพราะอ้างอิงหลักฐานที่แข็งแรง แต่ด้วยทัศนะที่แตกต่างกันของอุละมาอ์ ทำให้การปฏิบัติมีหลากหลาย เราจึงอาจมีแนวทางเพื่อเป็นทางออกในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้

กรณีมีศีลอดเกาะฎออ์เราะมะฏอนค้างอยู่ แต่คนผู้นั้นประสบอุปสรรค ทำให้ไม่อาจถือศีลอดได้ จนกระทั่งเสียชีวิต ดังนี้ถือว่าไม่มีสิ่งใดติดค้าง ไม่ว่ากับตัวผู้ตายหรือกับบรรดาวะลียฺ จึงไม่ต้องถือศีลอด และไม่ต้องจ่ายอาหารชดเชยแทนผู้ตาย

แต่ถ้าไม่มีอุปสรรค เขาสามารถถือศีลอดได้ แต่แล้วก็ไม่ได้ทำจนกระทั่งเสียชีวิต เช่นนี้วะลียฺต้องถือศีลอดแทนเขา

ถ้าศีลอดที่ค้างอยู่เกิดจากการบน(นะซัร) วะลียฺต้องถือศีลอดแทนผู้ตาย


โดย อับดุศศอมัด อัน นัดวียฺ
ที่มา เตาบะฮฺ
(อ้างอิงจาก เศาะฮีฮฺ ฟิกฮุซซุนนะฮฺ โดย อบู มาลิก กะมาล อิบนุ อัซซิด ซาลิม เล่ม2 หน้า130)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.05 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ