ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ++หลักอะกีดะฮฺสลัฟ แบบฉบับผู้ศรัทธา++
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
++หลักอะกีดะฮฺสลัฟ แบบฉบับผู้ศรัทธา++
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 1:08 am    ชื่อกระทู้: ++หลักอะกีดะฮฺสลัฟ แบบฉบับผู้ศรัทธา++ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากหนังสือ “ หลักการยึดมั่นของอัสสะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) ”




โดย อับดุลลอฮฺ บินอับดิลหะมีด อัล-อะษะรีย์ เรียบเรียง


นัศรุลลอฮฺ ต็อยยิบ แปล





คำนำของผู้แปลในการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง



อัลอิสลามคือบทบัญญัติแห่งโองการวะห์ยูที่อัลลอฮฺประทานมายังท่านนบีมุฮัมมัด บินอับดิลลาฮฺ(ศ็อลฯ)แล้วถูกแสดงออกมาผ่าน 2 แนวทางด้วยกันคืออัลกุรอานและซุนนะฮฺ


“และเขา(มุฮัมมัด)มิได้กล่าวออกมาจากอารมณ์(ตนเอง)เว้นแต่มันคือวะห์ยูที่ถูกวิวรณ์แก่เขา”(อัน-นัจญ์มิ :3-4)


และอัลลอฮฺมิทรงนำเราะซูล(ศ็อลฯ)ของพระองค์กลับไป จนกว่าศาสนานี้สมบูรณ์เสียก่อน กระทั่งฮัจญะตุลวะดาอฺ(ปีฮ.ศ.ที่10)หรือก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต(วะฟาต)เพียงไม่กี่เดือน โองการบทหนึ่งก็ถูกประทานลงมาคือ


“วันนี้เรา(อัลลอฮฺ)ได้ทำให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และเราได้ทำให้ความครบถ้วนแล้วซึ่งความเมตตาของเรา และเรายินดีให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ :3)



บรรดามุสลิมยุคแรกหรือเศาะฮาบะฮฺต่างดำรงอยู่บนความถูกต้องปฏิบัติตามอัล-กุรอานและเจริญรอยตามซุนนะฮฺเราะซูลของพวกเขาอย่างเคร่งครัด มิเคยแสวงหาแนวทางอื่นหรือคิดอุตริบิดอะฮฺใดๆขึ้นมาในเรื่องศาสนา ตลอดช่วงเวลาที่ท่านนบี(ศ็อลฯ)อยู่ร่วมกับพวกเขา และเมื่อท่านวะฟาตลงไม่นานบิดอะฮฺแรกก็เกิดขึ้นนั้นคือบิดอะฮฺการไม่ยอมจ่ายซะกาตของมุสลิมกลุ่มหนึ่ง จนท่านอบูบักร์(ฮ.ศ. 11-13)ต้องส่งกองทัพไปปราบจึงสงบลงได้ และในสมัยท่านอุมัร(ฮ.ศ. 13-23)ก็เกิดบิดอะฮฺย่อยๆขึ้นมาบ้างแต่ทุกอย่างโดนบำราบลงด้วยความเข็มแข็งและเที่ยงธรรมของเคาะลีฟะฮฺ


ในสมัยของท่านอุษมาน(ฮ.ศ. 23-35)อาณาจักรอิสลามเริ่มแผ่ขยายอย่างกว้างไกล และเกิดฟิตนะฮฺต่างๆขึ้นมาโดยการยุแหย่ของชาวยิวและพวกมุนาฟิกกลุ่มหนึ่งเพื่อให้สังคมมุสลิมเกิดความสั่นคลอน จนกระทั่งสุดท้ายท่านอุษมานเองก็ต้องจบชีวิตไปในเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเมื่อท่านอาลี(ฮ.ศ. 35-40)ก้าวขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺ ท่ามกลางความวุ่นวายภายหลังการถูกสังหารของท่านอุษมาน ก็ได้เกิดขัดแย้งกันเองระหว่างชนกลุ่มมุสลิมด้วยสาเหตุทางการเมืองและสงครามรบพุ่งต่อกันหลายครั้ง จนก่อให้เกิดความคิดความเชื่อที่เป็นบิดอะฮฺของมุสลิม 2 กลุ่มที่แปลกแยกไปจากมุสลิมกลุ่มใหญ่คือ 1.) บิดอะฮฺพวกเคาะวาริจญ์ที่หุก่มว่าท่านอาลีและผู้สนับสนุนเป็นกาฟิร และ 2.) บิดอะฮฺพวกชีอะฮฺที่ยกย่องและเชิดชูท่านอาลีจนกลายเป็นความคลั่งใคล้


ปลายยุคของเศาะฮบะฮฺหรือราวสมัยเคาะลีฟะฮฺอับดุลมาลิก บินมัรวานแห่งวงศ์อุมัยยะฮฺ(ฮ.ศ. 73-86)ก็เกิดบิดอะฮฺพวกมุรญีอะฮฺ และบิดอะฮฺพวกเกาะดะรียะฮฺขึ้น และในยุคต้นของตาบิอีนหรือยุคปลายของวงศ์อุมัยยะฮฺ(ราว ฮ.ศ. 130) ก็เกิดบิดอะฮฺพวกญะฮามียะฮฺ และพวกมุชับบะฮฺขึ้นอีกซึ่งพวกบิดอะฮฺข้างต้นเหล่านี้เองคือรากเหง้าหรือบ่อเกิดของพวกบิดอะฮฺกลุ่มต่างๆในกาลต่อมา กอปร์กับเมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการตักลีด(เริ่มต้นจากศตวรรษที่ 4ของปีฮิจญเราะฮฺ)อุมมะฮฺอิสลามส่วนใหญ่ก็กลับไปยึดติดอยู่กับกรอบความคิดทาฟิกฮฺและการตะอัศศุบมัซฮับต่างๆอย่างหลับหูหลับตาซึ่งเท่ากับยิ่งเพิ่มความขัดแย้งและแตกแยกมากขึ้นไปอีก จนยากสู่การกลับสู่เบาหลอมเดิมของอิสลามอย่างแท้จริงและเป็นเอกภาพกันได้


ที่กล่าวมาทั้งหมดได้ตกทอดกลายมาเป็นชนมุสลิมยุคปัจจุบันที่มีความคิด ความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไป ซึ่งบางกลุ่มยังมีสิ่งที่เป็นชีรกฺ คุรฟาตและบิดอะฮฺต่างๆมากมายทั้งในด้านอะกีดะฮฺและอิบาดะฮฺหรือพิธีกรรมต่างๆ


ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวไว้ว่า

“..พวกท่านคนใดมีชีวิตอยู่ในกาลต่อไป เขาก็จะได้เห็นการแตกแยกอย่างมากมาย ดังนั้นขอพวกท่านจงปฏิบัติตามซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺ(ทั้ง4)ผู้เที่ยงธรรม จงยึดมันเอาไว้ และกัดมันไว้ให้แน่นด้วยฟันกราม พวกท่านจงระวังการอุตริในกิจการต่างๆ(ทางศาสนา) เพราะทุกสิ่งที่อุตรินั้นเป็นบิดอะฮฺ และทุกบิดอะฮฺเป็นความหลงผิด”


ฉะนั้นทางรอดจากสภาพแห่งความหลงผิดและแตกแยกนั้นก็คือการหวนคืนสู่อัซ-ซุนนะฮฺเท่านั้น ซึ่งซุนนะฮฺในที่นี้หมายถึงสิ่งต่างๆที่ถูกกระทำ ถูกล่าว และถูกยอมรับเอาไว้โดยท่านนบี(ศ็อลฯ)เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อุมมะฮฺตลอดช่วงเวลาแห่งการเป็นนบีของท่าน และยังรวมถึงซุนนะฮฺของเคาะลีฟะฮฺอัร-รอชิดีนหลักจากนั้นด้วยอันได้มาการวินิจฉัย(อิจญ์ติฮาด)ของบรรเศาะฮาบะฮฺอาวุโสในช่วงเคาะลีฟะฮฺทั้ง 4 ซึ่งล้วนสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งซุนนะฮฺของนบี(ศ็อลฯ)ข้งาต้น ซุนนะฮฺในทีนี้มีทั้งซุนนะฮฺในเรื่องหลักๆและปลีกย่อย แต่ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญและต้องปฏิบัติตามสุดกำลังทั้งสิ้น


ขณะที่บิดอะฮฺ ก็คือสิ่งอันเป็นอุตริกรรมทั้งหลายทางศาสนาไม่ว่าจะอยู่ในรูปของความเชื่อ(ดั่งคำเชื่อของพวกหลงผิดต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) หรือการปฏิบัติอิบาดะฮฺซึ่งไม่มีรูปแบบจากท่านนบี(ศ็อลฯ)และเคาะลีฟะฮฺอัร-รอชิดีนและมิถูกยอมรับด้วยหลักเกณฑ์ใดๆทางศาสนา เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องหลีกห่างจะปฏิบัติมิได้ บิดอะฮฺมีหลายประเภทและหลายระดับความชั่ว บางอย่างก็เข้าข่ายชีริกหรือกุฟรฺซึ่งทำให้หลุดออกจากศาสนาและบางอย่างก็เป็นมะอฺศียะฮฺ หรือฟาซิก


ซึ่งว่าไปแล้วบิดอะฮฺนั้นเกิดขึ้นก็เนื่อง 2 สาเหตุสำคัญคือ 1.) เกิดจากการพยายามเข้าใกล้ต่ออัลลอฮฺด้วยรูปแบบของอิบาดะฮฺต่างๆที่อุตริขึ้นเอง(โดยคิดว่าดี)ทั้งที่มันไม่มีในบทบัญญัติ 2.) เกิดจากการปฏิบัติอิบาดะฮฺในรูปแบบที่เกินเลย หรือบกพร่องไปจากที่มีในบทบัญญัติ ซึ่งอิบาดะฮฺที่เกิดจาก 2 ประการนี้ล้วนเป็นบิดอะฮฺที่หลงผิด และไม่เป็นที่ยอมรับจากอัลลอฮฺอย่างเด็ดขาด ดั่งที่ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า


“บุคคลใดอุตริสิ่งขึ้นมาในกิจการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ซึ่งมันมิได้มาจากศาสนา ดังนั้นมันย่อมถูกผลัก(ไม่ยอมรับ)”



ฉะนั้นคำว่า “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ อัล-ญะมาอะฮฺ” โดยรวมจึงหมายถึงชนมุสลิมนับตังแต่ 3 ศตวรรษแรกจนถึงปัจจุบันและจงบจนวันกิยามะฮฺที่ยืนหยัดปฏิบัติ ตามแบบฉบับของท่านเราะซูล(ศ็อลฯ)และแบบอย่างของเศาะฮาบะฮฺนั้นอย่างสมบูรณ์และชัดเจนที่สุดทั้งในด้านอะกีดะฮฺที่สะอาดบริสุทธิ์(จากชีรกฺทั้งหลาย) อิบาดะฮฺที่ถูกต้องเคร่งครัด(ปราศจากสิ่งบิดอะฮฺต่างๆ) และอัคลาคอันงดงาม(คือนอบน้อมต่อพี่น้องและจริงจังต่อการปรับปรุงตนเอง) คำว่า “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ” ในที่นี้จึงไม่ใช่แค่แบรนด์เนมหรือยี่ห้อที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดจะผูกขาดหรือถือเป็นลิขสิทธิ์แล้วเที่ยวอ้างสไปโจมตีหรือตัดสิน(ฟันธง)ชาวบ้านที่เขาต่างไปจากพวกตนแค่ในปัญหาคิลาฟียะฮฺปลีกย่อยทางฟิกฮฺว่าเป็นพวกที่หลงผิดที่จะต้องลงนรกหมกไหม้ เช่นปัจจุบันมีนักวิชาการและโต๊ะครูไม่น้อยที่ยังเอาปัญหาเหล่านั้นมา(รีเทอร์น)ขยายความเพื่อหวังสร้างจุดเด่น ความนิยม และความสะใจในหมู่สาวกอย่างขาดความรับผิดชอบว่าสังคมจะแตกแยก ปั่นป่วน และเกิดฟิตนะฮฺเสียหายอย่างไร ทั้งๆที่เอกภาพระหว่างมวลชนมุสลิมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดโดยเฉพาะในยามสถานการณ์โลกเช่นปัจจุบัน จึงหวังว่าสิ่งใดที่เป็นความผิดพลาดในวิธีการดะวะฮฺเมื่อครั้งอดีต จุดนี้นักวิชาการรุ่นใหม่ควรถือเป็นบทเรียนและเปลี่ยนแปลงได้แล้ว พร้อมนำเสนอทางออกที่ดีและสร้างสรรค์กว่าให้กับสังคม วันนี้อุมมะฮฺเต็มไปด้วยปัญหามากมายรุมเร้า มีสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่บรรดาดาอีย์ทั้งหลายต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข ขอให้ยึดถืออุดมคติที่ว่า “จงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเสียก่อนแล้วเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่น” และ “เราคือนักดะวะฮฺผู้สร้างสรรค์ มิใช่ผู้พิพากษาที่คอยตัดสินผู้อื่น” หรือ “ เราจะร่วมมือกันในหลักสำคัญทางศาสนาที่เหมือนกัน และจะผ่อนปรนต่อกันในปัญหาปลีกย่อยที่อาจเห็นต่างกัน” และ “การหมกมุ่นกันในปัญหาคิลาฟียะฮฺคือการมั่วสุมขณะที่การโจมตีทำลายกันถือเป็นการก่อการร้ายอย่างหนึ่ง” แต่ให้มุ่งสนใจกับสิ่งที่สำคัญกว่าเสียก่อน เช่นกันอิสลามไม่อนุญาตให้ตะอัศศุบ(ยึดติด)มัซหับ ญะมาอะฮฺ หรืองค์กรหรืออุละมาอฺใดๆทั้งสิ้น เพราะสิ่งอื่นนอกจากวะหฺยู แล้วย่อมมีทั้งถูกและผิดได้เสมอ แต่สิ่งที่ต้องยึดถือไว้เป็นหลักสำคัญร่วมกันก็คือ “อัล-กุรอาน และอัซ-ซุนนะฮฺ” เท่านั้น ตรงนี้เราต้องพยายามศึกษาเรียนรู้อย่างใจกว้าง และเปิดกว้างเพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับอิสลามให้กับชีวิตเราให้จงได้ –อินชาอัลลอฮฺ-
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 1:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำนิยม ของเชค สะอูด บินอิบรอฮีม บินมุฮัมมัด อัช-ชุเรม


อิมามและเคาะฏีบประจำมัสญิด อัล-หะรอม (อิมามชุเรม)


อนึ่งข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือที่ท่านเชคอับดุลลอฮฺ บันอับดิลหามีดได้เขียนขึ้นเกี่ยวกับการยึดมั่น(อะกีดะฮฺ) ของกลุ่มชนที่รอดพ้น และได้รับชัยชนะหรือชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ชื่อว่า “หลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์” แล้วนับเป็นผลงานที่มีประโยชน์และทรงคุณค่ายิ่ง ผู้เขียนได้กล่าวเอาไว้ซึ่งสาระสำคัญของหลักการ หากผู้ใดยึดมั่นตามนั้นเขาย่อมสำเร็จ แต่หากผู้ใดต่อต้าน เขาย่อมประสพความหายนะ –วัลอียะซุบิลลาฮฺ- ผู้เรียบเรียงได้ทุ่มเทและพยายามเพื่อการนี้อย่างน่าสรรเสริญยิ่งโดยเลือกสรรถ้อยประโยคง่ายๆ มีความหมายที่สามารถอ่านหรือเข้าใจได้ทันที


ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามและทรงให้คุณประโยชน์อันพึงเกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้แก่เขา รวมทั้งขอพระองค์ทรงโปรดประทานปัจจัยแห่งความรู้ที่ยังประโยชน์ และการงานที่ศอและห์แก่เรา ผู้เรียบเรียงตลอดถึงดลบันดาลให้พี่น้องมุสลิมทั้งหลายได้ดำเนินอยู่ในแนวทางของท่านเราะซูล(ศ็อลฯ) และเหล่าเศาะฮาบะฮฺ รวมถึงบรรดาชนยุคศตวรรษแรกอันดีเลิศทั้งหลายด้วยเทอญ แท้จริงพระองค์ทรงได้ยินและทรงตอบรับเสมอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 1:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำนำของผู้เรียงเรียง หน้า 18-19

…แต่อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ! ความดีงามย่อมไม่มีสันขาดหายไปจากอุมมะฮฺนี้อย่างแน่นอน ย่อมยังมีกลุ่มหนึ่งที่ยังคงยึดมั่นอยู่กับทางนำและสัจธรรมจวบตนกระทั่งถึงวันกียามะฮฺ ดั่งที่ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าวเอาไว้ว่า


“จะยังคงมีอยู่พวกหนึ่งจากประชาชาติของฉัน ที่ชัดเจนอยู่บนสัจธรรม บรรดาผู้ทอดทิ้งพวกเขาไม่อาจทำอันตรายใดๆ แก่พวกเขาได้ กระทั่งพระบัญชาของอัลลอฮฺจะทรงมีมา โดยพวกเขาก็ยัง(มั่งคง)อยู่เช่นนั้น”

และหะดีษหนึ่งที่ว่า

“อุปมาประชาชาติของฉัน อุปมัยดั่งน้ำฝนที่ไม่อาจทราบได้ว่าห่าแรกหรือห่าสุดท้ายของมันดีกว่ากัน”

จากจุดนี้เราจึงต้องเรียนรู้ถึงกลุ่มชนที่มีบะรอกะฮฺ(ศิริมงคล)ดังกล่าว อันเป็นกลุ่มชนที่ยึดมั่นต่ออิสลามที่ถูกต้อง ซึ่งนำมาโดยท่านเราะซูล(ศ็อลฯ) และถูกเจริญรอบตามตามโดยบรรดาชนยุคเศาะฮาบะฮฺ ตาบิบีนและชนยุคต่างๆหลังจากนั้นที่ปฏิบัติตามด้วยดีมาตลอด(ขออัลลอฮฺทรงโปรดทำให้เราอยู่ในพวกดังกล่าวนั้นด้วยเกิด) พวกเขาคือกลุ่มชนที่รอดพ้น พวกที่ได้รับชัยชนะ ซึ่งจะเรียกกลุ่มชนนี้ว่าอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ

เนื้อหาสำคัญจากหนังสือ “ หลักการยึดมั่นของอัสสะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) ”



อะกีดะฮฺทางภาษา

มาจากคำว่า “อัล-อักดุ” แปลว่าผูก ขันให้แน่น ทำให้มั่นคง วางใจมัดอย่างเข้มแข็ง ยึดเหนียวกัน รวมถึงความเชื่อมั่น และความแน่วแน่ “อัล-อักดุ” ตรงข้ามกับคำว่า “อัล-หัลลุ” (แก้ออก)

อะกีดะฮฺคือบทบัญญัติที่มิอาจยอมรับให้มีการสงสัยคลางแคลงใดๆเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ยึดมั่น

ส่วน “อะกีดะฮฺ” ในทางศาสนาหมายถึงสิ่งที่ถูกนำมายึดถือทางการศรัทธา(นอกจากการปฏิบัติ) เช่น เชื่อมั่นต่อการมีอยู่ของอัลลอฮฺและเชื่อมั่นต่อการเป็นเราะซูล เป็นต้น ซึ่งมีพหูพจน์เป็น “อะกออิด”

สรุปคือสิ่งต่างๆที่จิตใจมามนุษย์นำมายึดถือโดยความเชื่อศรัทธา สิ่งนั้นย่อมเป็นอะกีดะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ก็ตาม


อะกีดะฮฺอิสลามียะฮฺ


เมื่อกล่าวถึง “อะกีดะฮฺอิสลามียะฮฺ” ก็คือหมายถึง อะกีดะฮฺของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ทัง้นี้เพราอิสลามที่อัลลอฮฺทรงยินดีให้เป็นศาสนาแก่ปวงบ่าวของพระองค์ นั้นก็คือ อะกีดะฮฺของชนยุค 3 ศตวรรษแรกอันดีเลิศ นับจากยุตเศาะฮาบะฮฺ ตาบิอีน และตาบิอิต-ตาบิอีนนั่นเอง


อะกีดะฮฺอิสลามียะฮฺ

ถูกเรียกระหว่างชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺด้วยชื่อต่างๆซึ่งล้วนหมายถึงสิ่งเดียวกัน เช่น


- เตาฮีด


- อัซ-ซุนนะฮฺ


- อุศูลุดดีน


- อัล-ฟิกฮุล-อักบัร


- อัช-ชะรียะฮฺ


- อัล-อีหม่าน


ทั้งหมดนี้คือชื่อที่ชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มักใช้เรียกขานเกี่ยวกับวิชาอะกีดะฮฺ


(หน้า 21 และ หน้า 23)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 1:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามอะกีดะฮฺของอัส-สะละฟุศศอและฮฺ

เพราะอะกีดะฮฺที่ถูกต้องคือรากฐานของศาสนานี้ ขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมาบนรากฐานอื่น ย่อมนำสู่ความพินาศและหายนะ เหตุนี้เราจึงพบว่าท่านนบี(ศ็อลฯ)ให้ความสำคัญอย่างดีที่สุดในการวางรากฐานของอะกีดะฮฺ และทำให้มันมั่งคงอยู่ในจิตใจของเหล่าเศาะฮาบะฮฺตลอดช่วงอายุขัยของท่าน ทั้งนี้เพื่อสู่การสร้างอุมมะฮฺบนหลักอันเข้มแข็งและรากฐานอันมั่นคงนั่นเอง


อะกีดะฮฺตามแนวทางของอัส-สะละฟุศศอและห์ มีจุดเด่นที่สำคัญและลักษณะพิเศษมากมายอันแสดงอันถึงคุณค่าและสิ่งที่พึงยึดถือ ดั่งจุดเด่นที่สำคัญต่อไปนี้


1. คือหนทางเดียวที่สามารถปลดปล่อยให้พ้นจากสภาพแห่งการแตกแยก และการเป็นพรรคพวก และทำให้แถวต่างๆของมุสลิมทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยเฉพาะในระดับอุละมาอฺและบรรดานักดะวะฮฺในฐานะที่มันเป็นวะห์ยูจากอัลลอฮฺตะอาลา และเป็นทางนำของท่านนี(ศ็อลฯ) และเป็นสิ่งที่ชนยุคแรกคือเหล่าเศาะฮาบะฮฺผู้มีเกียรติยึดถือมา ขณะที่การร่วมกันบนสิ่งอื่นจากนี้ย่อมนำสู่บั้นปลายแห่งการแตกแยก การขัดแย้งอย่างมิจบสิ้นจะกลายเป็นความปราชัยในที่สุด ดั่งสภาพที่กำลังประสพกับบรรดามุสลิมเช่นในปัจจุบัน

อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า “และผู้ใดที่ฝ่าฝืนเราะซูลหลังจากที่ทางนำอันถูกต้องดัประจักษ์แก่เขาแล้ว และเขายังปฏิบัติตามที่มิใช่ทางของบรรดาผู้ศรัทธานั้น เราก็จะให้เขาหันไปตามที่เขาได้หันไป และเราจะให้เขาเข้ายนรกญะฮันนัมและมันเป็นที่กลับอันชั่วร้ายยิ่ง” (อัน-นิซาอฺ :115)


2. ทำให้แถวของมุสลิมทั้งหลายเป็นเอกภาพและเข้มแข็งและรวมเป็นหนึ่งเดียวกันบนสัจธรรมและเป็นไปได้เพื่อสัจธรรมนั้นอย่างแท้จริง สอดรับในคำบัญชาอัลลอฮฺตะอาลาที่ตรัสว่า “และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน” (อาลิ-อิมรอน :103)

เพราะจริงแล้วสาเหตุแห่งความขัดแย้งในระหว่างมุสลิมที่สำคัญที่สุดก็คือความขัดแย้งเรื่องแนวทาง และแหล่งอ้างอิงของหลักฐนที่ใช้ยึดถือ ดังนั้นเมื่อทำให้แหล่งที่มาของอะกีดะฮฺและแหล่งที่มาของหลักฐานเป็นหนึ่งเดียวกันได้แล้ว แน่นอนย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่จุสามารถนำสู่เอกภาพของอุมมะฮฺ เหมือนดั่งที่เคยเกิดขึ้นมาในชนยุคแรกเช่นครั้งอดีต


3. ทำให้มุสลิมมีความผูกพันโดยตรงต่ออัลลอฮฺตะอาลา และเราะซูล(ศ็อลฯ)และด้วยความรักและการเทิดเกียรติทั้งสองไว้สูงสุดโดยไม่มีการเหลื่อมล้ำระหว่างสิ่งที่มาจากอัลลอฮฺ และที่มาจากเราะซูลของพระองค์(ศ็อลฯ) เพราะแหล่งที่มาของอะกีดะฮฺอัส-สลัฟก็คือคำกล่าวของอัลลอฮฺและคำกล่าวของเราะซูลนั่นเอง พร้อมหลีกห่างจากการใช้อารมณ์และสิ่งคลุมเครือ(ชุบฮาต)และบริสุทธิ์จากอิทธิพลชองชนชาติต่างๆเช่นปรัชญา ตรรกะ และการใช้ปัญญา หรือการแซกแทรงของแหล่งความรู้อื่นๆ

4. เป็นสิ่งที่สะดวก อีกทั้งชัดเจนโดยไม่มีสิ่งเคลือบแคลง คลุมเครือห่างไกลจากความสับสน และการบิดเบือนหลักฐาน เป็นหลักการเชื่อถือที่ยุแหย่จากชัยฏอน ทำให้รู้สึกสบายใจ ทั้งนี้เพราะมันคือสิ่งที่ดำเนินอยู่บนทางนำของนบีแห่งอุมมะฮฺนี้(ศ็อลฯ) และของบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่าน(ริฎวานุลลอฮฺอะลยฮิม) นั่นเอง

อัลลออฺตะอาลาตรัสว่า “แท้จริงผู้ศรัทธาที่แท้จริงนั้นก็คือบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่สงสัยเคลือบแคลงใจ แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ดิ้นรนด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละ(คือ)บรรดาผู้สัตย์จริง” (อัล-หุจญรอต :15)

5. เป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่การเข้าใกล้ชิดกับอัลลอฮฺตะอาลาและได้รับความสำเร็จด้วยการพึ่งพอพระทัยของพระองค์อย่างแท้จริง

คุณลักษณะและจุดเด่นต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นจุดยืนที่มันคงของอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺ แม้นพวกเขาจะอยู่ ณ แห่งหนใด หรือในยุคสมัยไหนก็แทบไม่มีความแตกต่างหรือขัดแย้งกันเลย ..อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ...



(หน้า 46-49)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 1:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

(ยังมีต่อ อินชาอัลลอฮฺ โอกาสหน้า)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Dec 16, 2005 6:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออัลลอฮ(ซ.บ)ตอบแทนคุณ IRF ที่มีมานะพยายาม ทำความจริงให้ปรากฏ เพื่อพี่น้องมุสลิมจะได้เข้าใจแนวทางสลัฟที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Thu Dec 22, 2005 11:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากหนังสือ “ หลักการยึดมั่นของอัสสะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) ” (ต่อ)


การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

การอีหม่านต่ออัลลอฮฺ คือศรัทธาอย่างเชื่อมั่นต่อการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ ความสงบของจิตใจที่มีต่อประการนี้เป็นความสงบที่สามารถเห็นได้จากผลที่ปรากฏออกมาทางการประพฤตินี้เป็นปฏิบัติของมนุษย์ เคร่งครัดต่อข้อบังคับใช้ของอัลลอฮฺและออกห่างสิ่งที่เป็นข้อห้ามทั้งหลาย ดังกล่าวคือรากฐานและแก่นสารของอะกีดะฮฺอิสลาม และนี้คือหลักการสำคัญอันเป็นที่มาของบรรดารุกุ่นซึ่งเกี่ยวกับอะกีดะฮฺทั้งหมด



การอีหม่านต่ออัลลอฮฺตะอาลา ประกอบด้วยการศรัทธาเชื่อมั่นต่อการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายต่างก็บ่งชี้ว่าพระองค์ทรงมีอยู่อันได้แก่ ธรรมชาติ สติปัญญา ศาสนาและประสาทความรู้สึก และอีกประการหนึ่งของการอีหม่านต่ออัลลอฮฺก็คือ การอีหม่านต่อเอกภาพ(วะห์ดานียะฮฺ) การเป็นพระเจ้า(อุลูฮียะฮฺ) และพระนาม-คุณลักษณะ(อัสมาอฺ วัศ-ศิฟาต)ของพระองค์ ซึ่งข้างต้นทั้งหมดคือการยืนยันในเตาฮีด 3 ประการ พร้อมด้วยการเชื่อมั่นและการปฏิบัตินั้นคือ

1. เตาฮีดอัร-รุบูบียะฮฺ

2. เตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺ

3. เตาฮีดอัล-อัสมาอฺ วัศ-ศิฟาต


1. เตาฮีดอัร-รุบูบียะฮฺ หมายถึงการเชื่อหรือศรัทธาอย่างแน่วแน่ว่า อัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้นคือผู้ทรงอภิบาลและทรงกรรมสิทธิ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง โดยปราศจากภาคีใดๆคู่เคียงกับพระองค์ พระองค์ทรงเป็นผู้บันดาลสร้างและเป็นผู้ทรงควบคุมและบริหารจัดการสิ่งต่างๆในโลกเพียงพระองค์เดียวและพระองค์คือผู้ทรงสร้างปวงบ่าวและผู้ทรงประทานริซกีต่างๆแก่พวกเขา ทรงให้พวกเขามีชีวิตขึ้นมาและทรงทำให้ตาย รวมถึงการอีหม่านต่อเกาะฎอและเกาะดัรฺ(การลิขิต)ของอัลลอฮฺและอีหม่านต่อการเป็นหนึ่งเดียวในอาตมัน(ซาต) ของพระองค์อีกด้วย

“การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก” (อัล-ฟาติฮะห์ :1)
“พึงรู้เถิดว่าการสร้างและกิจการทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์อัลลอฮฺผู้เป็นองค์อภิบาลแห่งสากลโลก” (อัล-อะอฺรอฟ :54)

“พระองค์คือผู้ทรงสร้างให้แก่พวกเจ้า ซึ่งสรรพสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :29)

“แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ประทานปัจจัยยังชีพ(อันมากมาย) ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง” (อัช-ชุรริยาต :58)

เตาฮีดประเภทนี้เป็นสิ่งที่แม้แต่บรรดาผู้ปฏิเสธ(กุฟฟาร)ชาวกุร็อยชฺและผู้นับถือลัทธิศาสนาต่างๆเมื่อครั้งอดีต ล้วนต่างก็ให้การยอมรับ เพราะพวกเขาต่างก็เชื่อว่าผู้ที่สร้างโลกคืออัลลอฮฺพระองค์เดียว ดั่งที่โองการอัลกุรอานกล่าวถึงพวกเขาว่า


“และถ้าเจ้า(มุฮัมมัด)ถามพวกเขา(ว่า) ใครเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน? แน่นอนพวกเขาก็จะกล่าวว่า อัลลอฮฺสิ” (ลุกมาน :25)

และอายะฮฺ

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า แผ่นดินนี้และผู้ที่อยู่ในนั้นเป็นของใครหากพวกท่านรู้? พวกเขาจะกล่าวว่า มันเป็นของอัลลอฮฺ! จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจะไม่พิจารณาใคร่ครวญหรือ?

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ใครเป็นผู้อภิบาลชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และเป็นผู้อภิบาลบัลลังก์อันยิ่งใหญ่?

พวกเขาจะกล่าวว่า มันเป็นของอัลลอฮฺ! จงกล่าวเถิด ถ้าเช่นนั้นพวกเจ้าจะไม่ยำเกรง(การลงโทษ)ของพระองค์หรือ?

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) อำนาจอันกว้างใหญ่ไพศาลทุกสิ่งทุกสิ่งทุกอย่างนี้อยู่ในพระหัตถ์ของผู้ใด? และพระองค์เป็นผู้ทรงปกครองและคุ้มครองและจะไม่มีใครปกป้องคุ้มครองพระองค์ หากพวกท่านรู้

พวกเขาจะกล่าวว่า มันเป็นของอัลลอฮฺ! จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ดังนั้นพวกท่านถูกหลอกลวงได้อย่างไร?


แต่ทว่าเราได้นำเอาสัจธรรมมาให้แก่พวกเขาแล้ว และแท้จริงพวกเขาเป็นผู้กล่าวเท็จอย่างแน่นอน” (อัล-มุอฺมินีน :84-90)



นั่นเพราะจิตใจของมนุษย์ล้วนถูกกำหนดมาด้วยธรรมชาติหนึ่งที่ยอมรับต่อการสร้างของพระเจ้าอยู่เป็นทุนเดิม แต่กระนั้นก็มีอาจยอมรับได้ว่าพวกเขามีเตาฮีดอย่างแท้จริงได้จนกว่าพวกเขาจะได้ศรัทธาต่อเตาฮีดประเภทที่ 2 ต่อจากนี้(หรือเตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺ)ด้วยเท่านั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Thu Dec 22, 2005 11:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. เตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺ หมายถึงการให้เอกภาพแก่อัลลอฮฺด้วยการงานของปวงบ่าว(คือปวงบ่าวพึงกระทำงานต่างๆเพื่อเคารพต่อพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เตาฮีดอัล-อิบาดะฮฺ” นั้นคือการศรัทธาอย่างแน่วแน่ว่าอัลลอฮฺตะอาลาทรงเป็นพระเจ้าที่แท้จริงเพียงผู้เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น สิ่งที่ถูกนำมาสักการบูชาอื่นนอกจากพระองค์(ไม่ว่าจะเป็นบุคคล,วัตถุ,สิ่งสมมุติหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ)นั้นล้วนเป็นเท็จทั้งสิ้น แต่ให้เคารพบูชายอมจำนนและฏออะฮฺ(เชื่อฟัง)ต่อพระองค์อย่างสิ้นเชิง สิ่งอื่นที่มีอยู่มิอานนำมาเป็นภาคีคู่เคียงพระองค์ และมิอาจแสดงการเคารพภักดีด้วยการอิบาดะฮฺต่างๆเช่นการละหมาด ถือศีลอด จ่ายซะกาต บำเพ็ญหัจญ์ ขอดุอาอฺ ขอความช่วยเหลือ บนบาน เชือดสัตว์บวงสรวง ตะวักกัล เกรงกลัว มุ่งหวัง ให้ความรัก และแสดงอิบาดะฮฺชนิดต่างๆทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้นต่อสิ่งอื่นใดนั้นได้ แต่ต้องแสดงอิบาดะฮฺเหล่านั้นต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ทั้งด้วยความรู้สึกรัก เกรงกลัว และมุ่งหวัง(ต่อพระองค์)ควบคู่ไปพร้อมๆกัน เพราะหากอิบาดะฮฺเพียงด้วยความรู้สึกรักหรือเกรงกลัวหรือมุ่งหวังอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวย่อมถือเป็นการอิบาดะฮฺที่หลงผิด


อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

“ขอพระองค์ทรงชี้นำเราซึ่งทางอันเที่ยงตรง” (อัล-ฟาติฮะหฺ :5)

“และผู้ใดวิงวอนขอพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺโดยไม่มีหลักฐานพิสูจน์แก่เขาในการนี้ แท้จริงการคิดบัญชีของเขาอยู่ที่องค์อภิบาลของเขา แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะไม่ประสพความสำเร็จ” (อัล-มุอฺมินูน :117)

เตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺคือสิ่งที่บรรดาเราะซูลทั้งหมดเคยเรียกร้องเชิญชวนมา ขณะที่การปฏิเสธต่อสิ่งดังกล่าวย่อมนำสู่ความเสียหาย เช่นประชาชาติในอดีตประสบมาแล้ว

เตาฮีดนี้คือสิ่งแรกและสิ่งสุดท้ายของศาสนา เป็นทั้งสิ่งภายในและภายนอกของมัน เป็นสิ่งแรกและสิ่งสุดท้ายของการดะอฺวะฮฺของบรรดาเราะซูลทั้งหลาย เพื่อเป้าหมายนี้เองที่บรรดาเราะซูลและคัมภีร์ทั้งหลายถูกส่งลงมาและดาบแห่งการญีฮาดถูกดึงออก และบรรดามนุษย์ถูกแบ่งออกเป็นผู้ศรัทธา(มุอฺมิน)และผู้ปฏิเสธ(กาฟิรฺ) และที่ถูกแบ่งเป็นชาวสวรรค์หรือไม่ก็ชาวนรก

นี่คือความหมายคำว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่พึงเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น)

ในอายะฮฺ “และเรา(อัลลอฮฺ)มิได้ส่งเราะซูลคนใดก่อนหน้าเจ้า(มุฮัมมัด) นอกจากเราได้วะห์ยูแก่เขาว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้าเถิด” (อัล-อัมบิยาอฺ :25)

เตาฮีด อัร-รุบูบียะฮฺ เป็นเป้าหมายหนึ่งของเตาฮีดอัล-อุลูอียะฮฺ เพราะผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้อภิบาล ผู้บันดาลสร้าง ผู้ให้ริซกี ผู้มีอำนาจสามารถบริหารจัดการให้เป็นให้ตายได้ มีลักษณะอันสมบูรณ์และปลอดจากควมบกพร่องใดๆ และมีอำนาจในทุกสิ่งทุกอย่าง แน่นอนพระองค์เท่านั้นที่คู่ควรต่อการเป็นพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากภาคีคู่เคียงใดๆ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ควรได้รับการสักการะบูชา

อัลลอฮฺตรัสว่า “และข้า(อัลลอฮฺ)มิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เคารพภักดีต่อข้า”(อัช-ชารีญาต :56)

< เราจะเห็นได้ว่าบรรดามุชริกีนจะไม่สักการบูชาพระเจ้าองค์เดียวแต่จะสักการบูชาเจ้าต่างๆหลากหลาย โดยอ้างว่าทำไปเพื่อใช้เป็นสื่อเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ(ผู้เป็นเจ้าสูงสุด) ความเชื่อแบบนี้ไม่ใช่อิสลาม ไม่ใช่สัจธรรม และนี่ไม่ใช่หลักอะกีดะฮฺของบรรดาสะลัฟ แต่กลับมีกลุ่มคนที่อ้างว่าตนเป็นมุสลิมแต่กลับมีความเชื่อในลักษณะเช่นนี้ คืออัลลอฮฺเป็นเจ้าสูงสุด ส่วนวิธีการอิบาดะฮฺหรือแสวงหาความโปรดปราน หรือการขอวิงวอนต่อพระองค์นั้นต้องใช้ “สื่อ” ตามความเชื่อของกลุ่มฏอรีกัตนั้นถือว่าไม่ถูกต้องและเป็นชีริก (ดังเช่นกลุ่มที่ใช้โต๊ะตะเกี่ย, โต๊ะวลีย์ต่างๆเป็นสื่อ) โดยอ้างอายะฮฺที่ว่า ... เป็นการตีความเองโดยไม่ใช่ความหมายที่บรรดาเศาะฮาบะฮฺและบรรดาสะลัฟเขาเข้าใจ เศาะฮาบะฮฺได้เรียนรู้อะกีดะฮฺกับนบีโดยตรง และบรรดาสะลัฟรุ่นต่อมาก็สืบทอดหลักความเชื่อแบบนี้ต่อๆกันมา เขาเข้าใจดีว่าอายะฮฺนี้ไม่ได้ความว่าให้ใช้ “สื่อ” (ที่เป็นบุคคล)หรือวัตถุในการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ แต่คำว่า “สื่อ” ในที่นี้บรรดาสลัฟเขาตัฟซีรฺว่า สื่อหมายถึง วิธีการปฏิบัติอิบาดะฮฺ(ของเราเอง)ที่จะแสวงหาความโปรดปรานและความใกล้ชิดจากพระองค์อัลลอฮฺ – คำอธิบายเสริม..อับดุลอะซิซ ผู้เรียบเรียง>

จากจุดนี้จะพบว่าในเรื่องของเตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺ อะกีดะฮฺอัส-สะลัฟ หรืออะฮฺลุซซุนนะฮฺมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆอย่างสิ้นเชิง คือจะไม่เหมือนอย่างที่บางพวกเข้าใจว่าเตาฮีดก็คือเพียงหมายความว่าไม่มีผู้สร้างใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น แต่สำหรับอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ถือว่าเตาฮีดยังไม่สมบูรณ์นอกจากต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ ต่อไปนี้คือ

1. แสดงการอิบาดะฮฺประเภทต่างๆ ต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นจะเอาสิทธิหรือคุณสมบัติเฉพาะใดๆของพระผู้ทรงสร้างมาใช้แก่มัคลูกไม่ได้นั้นจึง :

- ต้องเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺนั้น

- ต้องไม่นมัสการสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- ต้องไม่กราบกรานต่อสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- ต้องไม่สาบานต่อสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- ต้องไม่บนบานต่อสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- ต้องไม่มอบหมายตน(ตะวักกัล)ต่อสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

เตาฮีดอัล-อุลูฮียะฮฺมีเป้าหมายคือให้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว อิบาดะฮฺในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งด้วยคำกล่าวของจิตใจหรือของลิ้นหรือการกระทำของจิตใจและของอวัยวะร่างกายก็ได้

อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) แท้จริงการละหมาดของฉัน และการอิบาดะฮฺของฉัน และการมีชีวิตของฉัน และการตายของฉัน เพื่ออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างอภิบาลแห่งสากลโลกเท่านั้น
ไม่มีภาคีใดๆแก่พระองค์ และด้วยสิ่งนั้นแหละฉันถูกบัญชาใช้และฉันคือคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย” (อัล-อันอาม :162-163)


และอายะฮฺ

“พึงทราบเถิดศาสนาอันบริสุทธิ์ใจนั้นเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว” (อัช-ชุมัร :3)

2. อิบาดะฮฺนั้นต้องสอดคล้องกับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺและคำสั่ง(ซุนนะฮฺ)ของท่านเราะซูล(ศ็อลฯ)

ฉะนั้นการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺด้วยอิบาดะฮฺ การนอบน้อมหรือการฏออะฮฺก็ตาม คือสิ่งยืนยันคำปฏิญาณ “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” หรือความหมายในอีกนับหนึ่งก็คือ “สิ่งใดๆไม่มีสิทธิ์ถูกนำมาสักการบูชาเว้นแต่อัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น”

ส่วนการเจริญรอยตามท่านเราะซูล(ศ็อลฯ) หรือการยอมรับเชื่อฟังต่อสิ่งอันเป็นคำสั่งใช้ และข้อห้ามต่างๆของท่าน คือสิ่งยืนยันประโยคหลังของคำปฏิญาณที่ว่า “มุฮัมมะดุรเราะซูลุลลอฮฺ” (มุฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮฺ)

ฉะนั้นแนวทางของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ คือพวกเขาจะเคารพภักดีอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

- พวกเขาจะไม่วิงวอนขอต่อสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- พวกเขาจะไม่ขอความช่วยเหลือจากสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ

- พวกเขาจะไม่มอบหมายตนแก่ผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ

- พวกเขาจะไม่เกรงกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ

- พวกเขาจะปฏิบัติตนเพื่อเข้าใกล้อัลลอฮฺด้วยการเชื่อฟังเคารพภักดี และการงานที่ดี(อะมัลศอและห์)ต่างๆ

อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

“และพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจงอย่ายึดสิ่งใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์” (อัน-นิซาอฺ :36)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Thu Dec 22, 2005 11:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. เตาฮีดอัล-อัสมาอฺ วัศ-ศิฟาต หมายถึงการศรัทธาอย่าแน่วแน่ว่าอัลลอฮฺทรงมีบรรดาพระนามอันวิจิตรและคุณลักษณะอันสูง พระองค์ทรงมีลักษณะด้วยลักษณะอันสมบูรณ์ ทรงบริสุทธิ์จากลักษณะที่บกพร่องทั้งหลาย และทรงมีสิ่งดังกล่าวนั้นแต่เพียงพระองค์เดียว

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ รู้จักองค์อภิบาลของพวกเขาด้วยคุณลักษณะของพระองค์ตามที่ถูกเอ่ยไว้ในอัล-กุรอาน และอัซ-ซุนนะฮฺ และให้ลักษณะพระองค์ตามที่พระองค์ทรงได้ หรือท่านเราะซูล(ศ็อลฯ)อธิบายไว้เท่านั้น

พวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากตำแหน่งที่แท้จริงของมันหรือบรรดาพระนามหรือโองการของพระองค์บิดเบือน(อิลหาด)ไปเป็นอื่น และจะคงยืนยันต่างๆที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺตามที่พระองค์เองทรงยืนยันเอาไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มโนภาพ ไม่เสาะแสวงหาเหตุผลใดๆ ไม่ปฏิเสธ ไม่บิดเบือน และไม่เปรียบเทียบ หลักสำคัญของพวกเขาในสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า

“ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงมองเห็น” (อัช-ชูรอ :11)

“และสำหรับอัลลอฮฺนั้นทรงมีบรรดาพระนามอันวิจิตร ดังนั้นพวกเจ้าจงขอต่อพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ทำให้เบี่ยงเบนไปในบรรดาพระนามของพระองค์ พวกนั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกกระทำ” (อัล-อะอฺรอฟ :180)

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ :

พวกเขาไม่กำหนดเจาะจงว่าคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮฺนั้นเป็นอย่างไร เพราะพระองค์มิทรงได้บอกให้กำหนด หนือกระทำเช่นนั้น และคงไม่มีผู้ใดที่สามารถล่วงรู้ดีไปกว่าอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุโลมหรือทรงห้ามนั้น

อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

“จงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) พวกท่านรู้ดีหรือว่าอัลลอฮฺรู้ดีกันแน่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :140)

“ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ายกตัวอย่าง(เปรียบเทียบ) ต่ออัลลอฮฺแท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ขณะที่พวกเจ้านั้นไม่รู้” (อัล-นะห์ลุ :74)

และหลังจากอัลลอฮฺตะอาลาแล้วก็ไม่มีผู้ใดอีกที่จะรู้ดีไปกว่าเราะซูลของพระองค์(ศ็อลฯ) ผู้ซึ่งอัลลอฮฺตะอาลา ได้ทรงกล่าวถึงสิทธิของท่านเอาไว้ว่า

“และเขา(มุฮัมมัด)จะไม่พูดออกมาจากอารมณ์ แท้จริงมัน(อัล-กุรอาน)นั้นมิใช่อื่นใด นอกจากเป็นวะห์ยูที่ถูกประทานลงมา” (อัล-นัจญ์มุ :3-4)

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ :

พวกเขามีความศรัทธาว่าอัลลอฮฺตะอาลา พระองค์ทรงเป็นปฐมไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นก่อนพระองค์ และทรงเป็นสุดท้ายไม่มีสิ่งใดอีกหลังจากพระองค์ พระองค์ทรงเป็นผู้แจ้งชัด ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือพระองค์ และไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้นปกปิดจากพระองค์ได้ ดั่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับและพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัล-หะดีด :3)

อาตมันหรือซาตของพระองค์นั้นไม่สามารถเอาตัวของสิ่งๆมาเปรียบเปรยได้ และคุณลักษณะของพระองค์จะเอาลักษณะใดๆมาเทียบก็ไม่ได้เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ไม่ทรงมีภาคีคู่เคียง และมิอาจเปรียบเทียบกับมัคลูกหรือสรรพสิ่งต่างๆได้

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จะให้การยืนยันต่ออัลลอฮฺตามที่พระองค์ทรงยืนยันไว้ต่อตัวของพระองค์เอง ด้วยการยืนยันที่ปราศจากการอุปมา และบริสุทธิ์จากข้อปฏิเสธใดๆ ดังนั้นเมื่อพวกเขายืนยันต่ออัลลอฮฺตามที่อัลลอฮฺทรงยืนยันมั่นคงต่อตัวของพระองค์พวกเขาก็จะไม่พยายามเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งใดอีก และเมื่อพวกเขาให้ความบริสุทธิ์ต่อพระองค์ พวกเขาก็จะไม่ปฏิเสธ ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะใดๆก็ตามที่พระองค์ทรงกล่าวถึง

พระองค์ทรงครอบคลุมเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหมดและทรงประทานริซกีให้แก่ทุกสิ่งที่มีชีวิต

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

“พระผู้ทรงสร้างจะมีทรงรอบรู้ดอกหรือ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน ผู้ทรงตระหนักยิ่ง” (อัล-มุลกุ :14)

และอายะฮฺ

“แท้จริงอัลลอฮฺ คือผู้ประทานปัจจัยยังชีพอันมากมาย ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงมั่นคงยิ่ง” (อัช-ชาริยาต :58)

พวกเขาศรัทธาอย่างเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺทรงอยู่เหนือบัลลังก์ (อัล-อิสติวาอฺ อะลัลอัรชฺ และอัล-อุลูว์ เป็น 2 คุณลักษณะที่เราพึงยืนยันต่ออัลลอฮฺตามความสูงส่งของพระองค์ คำว่า “อิสติวาอฺ” ในทัศนะของชาวอัสสะลัฟ หมายถึง “อิสตะก็อรร์ :ทรงสถิตย์, ทรงพำนักอยู่” “อะลา : ทรงอยู่เหนือ” และ “อิรตะฟะอะ : ทรงยกขึ้นเหนือ” หรือ “เศาะอิตะ : ทรงขึ้นสูง” แต่ไม่ปรากฏในตัฟซีรใดๆเลยของชาวอัสสะลัฟที่อธิบายคำๆนี้ว่าหมายถึง “อิสเตาลา : เข้าครอบครอง, เข้ายึดครอง” หรือ “มะละกะ : ครอบครอง” หรือ “เกาะฮะเราะ : ปราบปราม, ชนะ, บังคับ”) ที่อยู่เหนือบนชั้นฟ้าทั้งเจ็ด ทรงแจ่มแจ้งต่อมัคลูกทั้งหลายของพระองค์ ทรงรอบรู้ครอบคลุมในทุกสิ่งทุกอย่าง เช่นดั่งที่พระองค์ทรงกล่าวถึงพระองค์เองโดยไม่มีการตัดทอนใดๆ เอาไว้ในคัมภีร์อันมีเกียรติถึง 7 อายะฮฺ (อัล-อะอฺรอฟ :54) (ยูนุส :3) (อัร-เราะอฺดุ :2) (ฏอฮา :5) (อัล-ฟุรกอน :59) (อัช-ชะญะดะฮฺ :4) (อัล-หะดีด :4)


“พระผู้ทรงกรุณาปราณี ทรงอยู่บนบัลลังก์อันมั่นคง” (ฏอฮา :5)

“แล้วพระองค์ทรงมั่นอยู่บนบัลลังก์” (อัล-หะดีด :4)


(ท่านอิสหาก บินรอฮะวียะฮฺ (เราะหิมะฮุลลอฮฺ) กล่าวถึงอายะฮฺนี้ว่า “บรรดานักวิชาการต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า หมายถึง อัลลอฮฺทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์ และทรงกราบในทุกสิ่งทุกอย่างแม้นที่มีอยู่ใต้สุดของพื้นแผ่นดินชั้นที่ 7” –บันทึกโดยอิมามอัช-ชะฮะบีย์ อ้างในหนังสือ อัล-อุลู ลิลอะลียิลฆ็อฟฟารฺ)

“พวกเจ้า(คิดว่า) จะปลอดภัยกระนั้นหรือ(จากการ)ที่พระองค์ผู้ทรงสถิตย์ ณ ชั้นฟ้า จะทรงแทรกพวกเจ้าลงในแผ่นดิน แล้วเมื่อนั้นจงดูเถิด! มันเริ่มไหว
หรือพวกเจ้า(คิดว่า)จะปลอดภัย(จากการ)ที่พระองค์ผู้ทรงสถิตย์ ณ ชั้นฟ้าจะทรงหอบลมกรวดกระหน่ำพวกเจ้า แล้วในไม่ช้าพวกเจ้าจะได้รู้ว่าการเตือนสำทับของมันเป็นเช่นใด” (อัล-มุลกุ :16-17)


และอายะฮฺ

“ถ้อยคำที่ดีขึ้นสู่พระองค์ และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องมัน” (ฟาฏิร ;10)

“พวกเขากลัวพระผู้อภิบาลของพวกเขาผู้ทรงสูงส่ง(คือทรงอำนาจ)เหนือพวกเขา” (อัล-นะห์ลุ :50)

และคำกล่าวของท่านนบี(ศ็อลฯ)ในหะดีษบทหนึ่งว่า

“พวกท่านยังไม่วางใจต่อฉันอีกหรือ ทั้งๆที่ฉันคือผู้ซื่อสัตย์ของผู้ทรงอยู่ในฟากฟ้า” (อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Thu Dec 22, 2005 11:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ :

ศรัทธาว่ากุรซีย์(เก้าอี้) และอะรัช(บัลลังก์)ของพระองค์นั้นเป็นความจริง

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

“เก้าอี้ของพระองค์แผ่กว้างทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและไม่เหนื่อยยากแก่พระองค์ที่จะรักษามันทั้งสอง และพระองค์เป็นผู้ทรงสูงสุด(เหนือมลทินใดๆ) ผู้ทรงยิ่งใหญ่(ทรงสมบูรณ์ทั้งมวล)” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ :225)


“กุรซีย์” คือสถานที่วางพระบาทของพระองค์ -รายงานหนึ่งที่ถูกทราบกันจากท่านอิบนุอับบาส(รอฎิฯ) กล่าวว่า “อัล-กุรซีย์ หมายถึงสถานที่วางพระบาท ส่วนอัล-อัรช์ ก็คือบัลลังก์ ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถคิดคำนวณ(ความกว้างใหญ่ไพศาล)ได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น” (บันทึกโดยอัล-หากิม ในอัล-มุสตัดร็อก หรือดูจากตัฟซีร อิบนิกะษีร)

ส่วน “อะรัช” หรือบัลลังก์นั้นย่อมไม่มีผู้ใดสามารถคำนวณขนาดได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้นพระองค์ทรงแผ่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินไว้ ทั้งที่อัลลอฮฺมิทรงมีความจำเป็นใดๆเลยที่ต้องอาศัยพึ่งพาต่ออะรัชและกุรซีย์นั้นและมีทรงอาศัยนั่งอยู่บนอะรัชนั้นแต่ประการใด ทว่าทั้งหมดเป็นไปโดยหิกมะฮฺหนึ่งอันลึกซึ้งที่พระองค์ให้มีมันขึ้น และพระองค์ทรงบริสุทธิ์เกินกว่าที่จะต้องการหรืออาศัยต่ออะรัชหรือสิ่งใดๆเพราะสภาพของพระองค์ทรงยิ่งใหญ่ยิ่งนัก และยิ่งไปกว่านั้นอะรัชและกุรซีย์ดังกล่าวล้วนถูกยกให้ล่องลอยอยู่ด้วยพลังและอำนาจของพระองค์

แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลาทรงสร้างอาดัม(อะลัยฮิสลาม)มาด้วยพระหัตถ์ของพระองค์และพระหัตถ์ทั้ง 2 นั้นล้วนใช้เป็นคำสาบานได้ พระหัตถ์ของพระองค์แผ่ประโยชน์(แก่มัคลู๊ค)ตามที่พระองค์ประสงค์ดั่งที่พระองค์เองทรงอธิบายไว้ในอายะฮฺว่า

“และพวกยิวกล่าวว่าพระหัตถ์ของอัลลอฮฺนั้นถูกล่ามแล้ว(แต่ที่จริงแล้ว)มือของเขา(ต่างหาก)ที่ถูกล่าม และพวกเขาถูกให้ห่างจากความเมตตาตามที่พวกเขาพูด แต่ว่าพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ทรงแผ่กว้าง พระองค์ทรงแจกจ่าย(ความโปรดปราน)ตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (อัล-มาอิดะฮฺ :64)


และอายะฮฺ

“อันใดหรือได้ห้ามเจ้ามิให้นอบน้อมต่อสิ่งที่ฉันได้สร้างมาด้วยมือทั้งสองของฉัน” (ศอด :75)

อะฮฺลุซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺให้การยืนยันว่าอัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะต่างๆเหล่านี้คือทรงได้ยิน ทรงมองเห็น ทรงรอบรู้ ทรงสามารถมีพลัง มีอำนาจ มีคำพูด มีชีวิต มีพระบาท มีพระชงฆ์ มีพระหัตถ์ ทรงอยู่ร่วมและลักษณะอื่นๆของพระองค์ที่ทรงกล่าวเอาไว้ในอัล-กุรอานหรือโดยวาจาของผู้เป็นเราะซูลของพระองค์(ศ็อลฯ) ด้วยวิธีการที่อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงทราบ ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ ทั้งนี้เพราะพระองค์มิได้ทรงบอก(คุณลักษณะเหล่านั้น)ว่าเป็นเช่นใด พระองค์ตรัสว่า

“แท้จริงฉันอยู่กับเจ้าทั้งสอง ฉันทั้งได้ยิน(การขอพรของเจ้า)และทั้งเห็น(ทุกสิ่ง)” (ฏอฮา :46)

และอายะฮฺ

“และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณเสมอ” (อัล-ตะห์รีม :2)

และอายะฮฺ

“และอัลลอฮฺได้ตรัสแก่มูสา ด้วยการตรัสจริงๆ” (อัล-นิซาอฺ :164)

และอายะฮฺ

“พระองค์ทรงยินดีแก่พวกเขา และพวกเขาปิติต่อพระองค์” (อัล-มาอิดะฮฺ ;119)

และอายะฮฺ

“พระองค์ทรงรักพวกเขา และพวกเขาก็รักพระองค์” (อัล-มาอิดะฮฺ :54)

และอายะฮฺ

“ดังนั้นเมื่อพวกเขาทำให้เราโกรธกริ้ว(เนื่องด้วยการฝ่าฝืนและประพฤติผิด)เราได้ลงโทษพวกเขาอย่างสาสม” (อัช-ชุครุฟ :55)

และอายะฮฺ

“วันซึ่งหน้าแข้งจะถูกเลิก และพวกเขาจะถูกให้มากราบ แต่พวกเขา(ผู้ปฏิเสธเหล่านี้)ไม่สามารถ(กราบได้)” (อัล-เกาะลัม :42)

และอายะฮฺ

“อัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้า(อื่นใด) นอกจากพระองค์ ผู้ทรงมีชีวิตอยู่เสมอ ผู้ทรงดำรง(พระองค์เองและสรรพสิ่งอื่นๆ) อยู่นิจกาล” (อาลิอิมรอน :2)

และอายะฮฺ

“อัลลอฮฺทรงกริ้วต่อพวกเขา” (อัล-มุมตะหะนะฮฺ :13)

หรืออายะฮฺอื่นๆจากนี้ที่เกี่ยวกับอัศ-ศิฟาต(คุณลักษณะของอัลลอฮฺ)

อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ :

มีความศรัทธาว่าบรรดามุอฺมินทั้งหลายจะได้เห็นองค์อภิบาลด้วยสายตาของพวกเขาในวันอาคิเราะฮฺ และพวกเขาจะเข้าเฝ้าพระองค์ พระองค์จะทรงวิสาสะหรือพูดจากับพวกเขาด้วย

พระองค์ตรัสว่า

“หลายใบหน้าในวันนั้นจะอิ่มเอิบ มองไปทางพระผู้อภิบาลของมัน” (อัล-กียามะฮฺ :22-23)

พวกเขาจะมองเห็นพระองค์เหมือนดั่งเห็นดวงจันทร์คืนวันเพ็ญด้วยการเห็นอย่างชัดเจน ดังที่ท่านเราะซูล(ศ็อลฯ) กล่าวไว้ในหะดีษว่า

“แท้จริงพวกท่านจะได้มองเห็นองค์อภิบาลของพวกท่าน เช่นดั่งที่ท่านมองเห็นดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ โดยที่พวกท่านไม่ถูกบดบังในการมองเห็นนั้นเลย” (หะดิษมุตตะฟะกุลอะลัยฮฺ)


อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยาในช่วงเวลา 1 ใน 3 ของกลางคืนช่วงสุดท้ายด้วยการลงมาอย่างแท้จริงตามสมควรแก่ความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์

ท่านเราะซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า

“องค์อภิบาลของเราจะทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยาทุกๆค่ำคืนจนกระทั่งเหลือแค่ 1 ใน 3 สุดท้ายของเวลากลางคืน โดยพระองค์จะทรงกล่าวว่า ผู้ใดวิงวอนขอต่อข้าดังนั้นข้าก็จะตอบรับเขา ผู้ใดขอต่อข้าดังนั้นข้าก็จะให้เขา ผู้ใดขอลุแก่โทษต่อข้า ดังนั้นข้าก็จะอภัยแก่เขา” (หะดิษมุตตะฟักกุลอะลัยฮฺ)

พวกเขาศรัทธาว่าอัลลอฮฺตะอาลาจะทรงเสด็จมาในวันกียามะฮฺเพื่อการพิพากษาระหว่างปวงบ่าว อันเป็นการเสด็จมาจริงๆตามสมควรแก่ความสูงส่งของพระองค์

พระองค์ตรัสว่า

“หามิได้! (พวกเจ้าหนีรอดไม้พ้น) เมื่อแผ่นดินถูกป่นเป็นจุลมหาจุล
และพระผู้อภิบาลของเจ้าเสด็จมา ทั้งมะลาอิกะฮฺด้วยเป็นแถว” (อัล-ฟัจญ์ร :21-22)


และอายะฮฺ

“เมื่อมีหลักธรรมเช่นนี้แล้ว พวกเขายังไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามดังนั้นพวกเขา(ผู้ปฏิเสธหลักธรรม) ไม่ได้คอย(สิ่งใด) เว้นแต่ว่า อัลลอฮฺและมะลาอิกะฮฺทรงมายังพวกเขาในเงาของเมฆ และกิจการงานก็ถูกตัดสิน” (อัล-บะเกาะเราะ :210)

ซึ่งแนวทางของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ เกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการยอมรับโดยสมบูรณ์ตามที่อัลลอฮฺและเราะซูล(ศ็อลฯ) บอกไว้ทุกประการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Thu Dec 22, 2005 11:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังคำกล่าวของอิม่าม อัช-ชุฮฺรีย์ที่ว่า

“สาส์น(ริซาละฮฺ)มาจากอัลลอฮฺ หน้าที่ของนบีคือการเผยแพร่และหน้าที่ของเราก็คือการยอมรับเท่านั้น” (บันทึกโดย อิม่ามอัล-บะเฆาะวีย์ ในหนังสือ “ชัรหุซซุนนะฮฺ”)

และอิม่ามซุฟยาน บินอุยัยนะฮฺ(เราะฮิมะฮุลลอฮฺ)กล่าวว่า

“ทุกสิ่งทุกประการที่อัลลอฮฺทรงให้ลักษณะตัวของพระองค์เอาไว้ในอัล-กุรอาน ดังนั้นการอ่านมันหรือการอธิบาย(ตัฟซีร)มันย่อมต้องไม่มีการบอกถึงวิธีการและตัวอย่างใดๆ(มาเปรียบเทียบ)”(รายงานโดยอิม่ามอัล-ลาลิกาอีย์ ในหนังสือ “ชัรหุ อุศูล อิอฺติก็อด อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ยะมาอะฮฺ”)

อิม่ามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า

“ฉันขอศรัทธา(อีหม่าน)ต่ออัลลอฮฺ และต่อสิ่งที่มีมาจากอัลลอฮฺตามพระองค์ของพระองค์ ฉันขอศรัทธาต่อเราะซูลของพระองค์และต่อสิ่งที่มาจากเราะซูลของอัลลอฮฺตามความต้องการของเราะซูลของอัลลอฮฺ” (หนังสือ “ลุมอะตุลอิอฺติก็อด อัล-ฮาดี อิลาสะบีรริชาด” ของอิม่ามอิบนุ กุดามะฮฺ)

ท่านอัล-วะลีด บินมุสลิมกล่าวว่า “ฉันได้ถามท่านอัล-เอาซาอีย์และท่านซุฟยาน บินอุยัยนะฮฺ และท่านมาลิก บินอนัส ถึงบรรดาหะดิษที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ และการมองเห็นดังกล่าวข้างต้นนี้ พวกเขาทั้งหมดตอบเหมือนกันว่า จงให้มันเป็นไปตามที่มีอยู่เถิด โดยมิต้องตัดทอนใดๆ” (บันทึกโดย อิม่ามอัล-บะเฆาะวีย์ ในหนังสือ “ชัรหุซซุนนะฮฺ”)


อิม่ามมาลิก ผู้ได้ชื่อว่าอิม่ามแห่งแผ่นดินอพยพ กล่าวว่า

“พวกท่านจงระวังการอุตริ(บิดอะฮฺ)เถิด และเมื่อถูกถามว่าการอุตริคืออะไร? ท่านตอบว่า พวกบิดอะฮฺก็คือ พวกซึ่งกล่าวถึงบรรดาพระนามของอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์ การพูดของพระองค์ การกระทำของพระองค์ และการมีอำนาจของพระองค์โดยที่พวกเขาไม่นิ่งเงียบ(คือพยายามพูดไปต่างๆนานา)จากสิ่งที่บรรดาเศาะฮาบะฮฺและบรรดาผู้ปฏิบัติตามพวกเขา(ตาบิอีน)ด้วยความดีงาม(เคยมีท่าที)นิ่งเงียบ” (อ้างแล้วข้างต้น)
และครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งถามท่านเกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า
“พระผู้ทรงเมตตา ทรงขึ้นสถิตอยู่เหนือบัลลังก์” เมื่อถูกถามว่า “พระองค์ทรงขึ้นอยู่อย่างไร?” ท่านได้ให้คำตอบว่า “การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้ และวิธีการ(ของการขึ้นอยู่นั้น)ก็มิอาจจินตนาการได้ ขณะที่การอีหม่านต่อมันนั้นเป็นสิ่งวาญิบ ส่วนการถามไถ่ถึงมันนั้นเป็นบิดอะฮฺ และฉันไม่เห็นว่าเจ้าเป็นสิ่งอื่นใดเลยนอกจากเป็นผู้หลงผิดไปแล้ว” (บันทึกโดยอิม่ามอัล-บะเฆาะวีย์ในหนังสือ “ชัรหุซซุนนะฮฺ”) กล่าวเสร็จท่านก็ขับไล่ชายผู้นั้นออกจากมัจญ์ลิส(สถานประชุม)ของท่านทันที


อิม่ามอบูหะนีฟะฮฺ กล่าวว่า

“ไม่เป็นการบังควรที่บุคคลหนึ่งจะพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกี่ยวกับอาตมัน(ซาต)ของอัลลอฮฺ ทว่าเขาจงให้ลักษณะพระองค์ตามที่พระองค์ให้ลักษณะตัวของพระองค์เอง และเขาอย่าได้กล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเรื่องนั้นด้วยความคิดเห็นของตนเอง ความจำเริญยิ่งเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงเป็นผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย” (หนังสือ “ชัรหุล อะกีดะดิฏ-เฏาะฮะวียะฮฺ”)
และเมื่อถูกถามถึง “การเสด็จลงมาของอัลลอฮฺเป็นอย่างไร?” ท่านก็ตอบว่า “พระองค์ทรงเสด็จลงมาโดยไม่มีวิธีการ” (อ้างแล้วข้างต้น)

อิม่ามนะอีม บินหัมมาด อัล-คุซาอีย์กล่าวว่า

“ผู้ใดเปรียบอัลลอฮฺเหมือนกับมัคลู๊คของพระองค์ เขาผู้นั้นย่อมตกเป็นกาฟิรฺ ผู้ใดที่ปฏิเสธสิ่งที่พระองค์ได้ให้ลักษณะต่อตัวของพระองค์เอง เขาผู้นั้นก็ตกเป็นกาฟิรฺ ส่วนสิ่งที่พระองค์หรือเราะซูลของพระองค์ได้ให้ลักษณะต่อตัวของพระองค์นั้นย่อมไม่ถือเป็นการเปรียบเหมือน” (รายงานโดยอิม่ามอัช-ชะฮะบีย์ อ้างในหนังสือ อัล-อุลู ลิลอะลียิล-ฆ็อฟฟาร์)

ชาวอัส-สะลัฟ บางท่านได้กว่าวว่า

“การก้าวไปของอิสลามนั้นจะไม่ถูกรับรอง นอกจาก(เป็นการก้าวไป)บนสะพานแห่งการยอมจำนนจริงๆเท่านั้น” (อิม่ามอัล-บะเฆาะวีย์ ในหนังสือ “ชัรหุซซุนนะฮฺ”)

เหตุนี้หากบุคคลใดเจริญรอยตามแนวทางของอัส-สะลัฟ ทั้งในคำพูดที่เกี่ยวกับเรื่องอาตมัน หรือตัวของพระเจ้า และคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ดั่งที่กล่าวมาข้างต้น แน่นอนเข้าผู้นั้นย่อมถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของอัล-กุรอานในเรื่องพระนามของอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์แล้ว ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะมีชีวิตอยู่ในสมัยของชาวสะลัฟหรือหลังจากนั้นก็ตามที

ส่วนผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแนวทางของชาวอัส-สะลัฟ ย่อมไม่ถือว่าเขาปฏิบัติตามแนวทางของอัล-กุรอานถึงแม้นเขาผู้นั้นจะมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกับชาวอัส-สะลัฟ หรืออยู่ท่ามกลางเหล่าเศาะฮาบะฮฺและเหล่าตาบิอีนทั้งหลายก็ตามที


(หน้า 53-79)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 23, 2005 12:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

< คำอธิบาย - ผู้เรียบเรียง >

คำพูดอิม่าม อัช-ชุฮฺรีย์ที่ว่า
“สาส์น(ริซาละฮฺ)มาจากอัลลอฮฺ หน้าที่ของนบีคือการเผยแพร่และหน้าที่ของเราก็คือการยอมรับเท่านั้น” หมายถึงว่ามุสลิมหมดสิทธิ์โต้แย้งไม่ว่าจะจากอารมณ์หรือสติปัญญา สิ่งที่นบีนำมาสู่เรา เรายอมรับอย่างเดียว ห้ามปฏิเสธ สงสัยแคลใจ หรือไม่เห็นด้วย
ดังที่ชาวสะลัฟได้กล่าวว่า “การก้าวไปของอิสลามนั้นจะไม่ถูกรับรอง นอกจาก(เป็นการก้าวไป)บนสะพานแห่งการยอมจำนนจริงๆเท่านั้น”
ไม่ว่าจะเป็นกุรอานและซุนนะฮฺมุสลิมมีหน้าที่อยาเดียวคือยอมจำนนน้อมรับ
อิม่ามอบูหะนีฟะฮฺกล่าวว่า "เมื่อหะดีษของท่านเราะซูลมาถึงฉัน มันก็อยู่เหนือศีรษะของเราเหนือดวงตาของเรา"
หมายความเรื่องศาสนาเราจะเอาปัญญาไปวินิจฉัยไม่ได้ กุรอานมายังไงตามอย่างเดียว หะดีษว่าอย่างไรก็ตามอย่างเดียว
อย่าเอาสติปัญญาหัวสมองอันน้อยนิดของมนุษย์ไปวินิจฉัยศาสนาของอัลลอฮฺ

อิม่ามซุฟยาน บินอุยัยนะฮฺ(เราะฮิมะฮุลลอฮฺ)กล่าวว่า
“ทุกสิ่งทุกประการที่อัลลอฮฺทรงให้ลักษณะตัวของพระองค์เอาไว้ในอัล-กุรอาน ดังนั้นการอ่านมันหรือการอธิบาย(ตัฟซีร)มันย่อมต้องไม่มีการบอกถึงวิธีการและตัวอย่างใดๆ(มาเปรียบเทียบ)”
หมายถึงว่าคุณลักษณะของอัลลอฮฺที่ถูกกล่าวไว้ในกุรอาน อย่าเอาไปอธิบายอย่างเด็ดขาด ว่าอัลลอฮฺมีมือได้อย่างไร
อัลลอฮฺมีหน้าได้อย่างไร อัลลอฮฺเสด็จได้อย่างไร อัลลอฮฺประทับได้อย่างไร ไม่ต้องไปจินตนาการ ไม่ต้องกล่าวถึง
เป็นหิกมะฮฺอย่างหนึ่งที่อัลลอฮฺได้ทดสอบหัวใจของผู้ศรัทธาว่าจะเชื่อมั่นเพียงไร เป็นการฝึกให้เรามีศรัทธาในสิ่งที่ปัญญาไปไม่ถึง

ท่านอัล-วะลีด บินมุสลิมกล่าวว่า “ฉันได้ถามท่านอัล-เอาซาอีย์และท่านซุฟยาน บินอุยัยนะฮฺ และท่านมาลิก บินอนัส ถึงบรรดาหะดิษที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ และการมองเห็นดังกล่าวข้างต้นนี้ พวกเขาทั้งหมดตอบเหมือนกันว่า จงให้มันเป็นไปตามที่มีอยู่เถิด โดยมิต้องตัดทอนใดๆ”แต่อะชาอิเราะฮฺที่ได้บอกว่าคนที่บอกว่าอัลลอฮฺมีหน้า มีมือ มีขา ประทับบนอรัช เสด็จไปมาได้(ตามที่กุรอานและหะดีษกล่าว)ถือว่าเป็นพวกวะฮาบีย์ซึ่งรับแนวคิดต่อมาจากอิบนุ ตัยมียะฮฺ(ซึ่งมีอะกีดะฮฺแบบนี้เช่นกัน) นั่นก็เพราะกลุ่มอะชาอิเราะฮฺไม่รู้(หรือแกล้งไมรับรู้)ว่าสะลัฟเขามีอะกีดะฮฺอย่างไร

เมื่อมีคนมาถามอิม่ามมาลิกถึงเรื่องการขึ้นสถิตย์บนบัลลังก์ของอัลลอฮฺว่าขึ้นอย่างไร
อิม่ามมาลิกตอบว่า “การขึ้นอยู่นั้นมิอาจล่วงรู้ได้ และวิธีการ(ของการขึ้นอยู่นั้น)ก็มิอาจจินตนาการได้ ขณะที่การอีหม่านต่อมันนั้นเป็นสิ่งวาญิบ ส่วนการถามไถ่ถึงมันนั้นเป็นบิดอะฮฺ และฉันไม่เห็นว่าเจ้าเป็นสิ่งอื่นใดเลยนอกจากเป็นผู้หลงผิดไปแล้ว”
จะเห็นได้ว่าอิม่ามมาลิกและสะลัฟไม่ได้ปฏิเสธอายะฮฺเกี่ยวกับศิฟาต หรือตีความไปโดยบอกว่าเป็น"อุปมา" แต่สะลัฟเขาเชื่อกันตามคุณลักษณะที่ระบุไว้ตรงๆตามเนื้อความที่อยู่ในกุรอานและหะดีษทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้วยังได้ห้ามเราจินตนาการและห้ามถามถึงอีกด้วย
ดังที่อิม่ามอบูหะนีฟะฮฺได้กล่าวว่า “ไม่เป็นการบังควรที่บุคคลหนึ่งจะพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกี่ยวกับอาตมัน(ซาต)ของอัลลอฮฺ ทว่าเขาจงให้ลักษณะพระองค์ตามที่พระองค์ให้ลักษณะตัวของพระองค์เอง และเขาอย่าได้กล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเรื่องนั้นด้วยความคิดเห็นของตนเอง ความจำเริญยิ่งเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงเป็นผู้อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย”

อิม่ามนะอีม บินหัมมาด อัล-คุซาอีย์กล่าวว่า
"ผู้ใดที่ปฏิเสธสิ่งที่พระองค์ได้ให้ลักษณะต่อตัวของพระองค์เอง เขาผู้นั้นก็ตกเป็นกาฟิรฺ ส่วนสิ่งที่พระองค์หรือเราะซูลของพระองค์ได้ให้ลักษณะต่อตัวของพระองค์นั้นย่อมไม่ถือเป็นการเปรียบเหมือน"เพื่อจะยืนยันให้กลุ่มอะชาอิเราะฮฺทราบอีกทีว่าใครปฏิเสธศิฟาตที่อัลลอฮฺให้ไว้ในกุรอานถือเป็นกาฟิรฺ (แต่หากตีความผิดหรือตีความเป็นอุปมาไม่ถือว่าเป็นกาฟิรฺ) ส่วนคุณลักษณะที่พระองค์บอกไว้ในกุรอานไม่ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบหรืออุปมา อิม่ามนะอีมกล่าวเช่นนั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
IRF
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 10/12/2005
ตอบ: 155


ตอบตอบ: Fri Dec 23, 2005 1:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยุคหนึ่งมุสลิมส่วนหนึ่งรับอิทธิพลจากกรีก นำระบบความคิดแบบกรีกมาใส่ในหัวสมอง ไม่ว่าจะเป็นตรรกศาสตร์ ปรัชญาแขนงต่างๆ มันก็มีการนำสมองแบบกรีกๆไปตีความศาสนา แนวหนึ่งในยุคนั้นคือ "มุอฺตะซิละฮฺ" ซึ่งกล่าวโดยรวมๆคือแนวที่ใช้ปัญญามากกว่าการศรัทธาในเนื้อความที่ระบุในกุรอานและหะดีษ หนึ่งในอุละมาอฺกลุ่มนั้นก็คือ "อิม่ามอบูหะซัน อัล-อัชอารีย์" ซึ่งต่อมาพบว่าแนวทางของเขานั้นไม่ถูกต้องจึงออกตำรามาใหม่อันเป็นที่มาของกลุ่ม 20 ศิฟาต หรือ "อะชาอิเราะฮฺ" คือพยายามจะทิ้งจากแนวเดิมคือมุอฺตะซิละฮฺกลับไปสู่แนวสะลัฟที่แท้จริงหรือ"อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ" แต่ปรากฏว่าก็ไปไม่สุด แนวอะชาอิเราะฮฺนั้นจะอยู่กลางๆระหว่าง "อะฮฺลุซซุนนะฮฺ" กับ "มุอฺตะซิละฮฺ" ซึ่งกลุ่มนี้จะศรัทธาต่ออัลลอฮฺในลักษณะตีกรอบให้รับกับปัญญา คือไม่ปล่อยให้มันเป็นเรื่องอจินไตย ด้วยกับระดับสติปัญญามนุษย์จะยอมรับในเชิงตรรกะได้แต่เพียงว่าในเมื่ออัลลอฮฺไม่ถูกสร้าง ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่ทรงอยู่ในสภาวะที่มีสถานที่ และกาลเวลา (ซึ่งทางฟิสิกส์เรียกว่า no time no space) ดังกล่าวถือว่าถูกต้อง อัลลอฮฺไม่ทรงต้องพึ่งพาสถานที่และกาลเวลาใดๆ และอัลลอฮฺก็เป็นผู้ให้กำเนิดมัน แต่มันย่อมมีสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตความเข้าใจความหยั่งรู้ของสติปัญญาของมนุษย์อย่างแน่นอน อัลลอฮฺไม่ได้สร้างให้มนุษย์เข้าใจไปเสียทุกเรื่อง หรือสามารถเข้าใจถึงศิฟาตของพระองค์ได้เสียเมื่อไหร่ ดังนั้นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบอกถึงคุณลักษณะพระองค์ในกุรอานและหะดีษก็ย่อมเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ และมุสลิมไม่สามารถมีทางออกอื่นได้นอกจากศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจเท่านั้น สะลัฟเขาเข้าใจดี เขารู้มากกว่าเรา แต่กลุ่มอะชาอิเราะฮฺไม่ยอมรับคุณลักษณะของอัลลอฮฺในกุรอานและหะดีษ แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่กล้าปฏิเสธต่อเนื้อความในนั้น (เพราะไม่เช่นนั้นก็ตกศาสนา) เขาจึงใช้วิธีตีความมันเสียว่าเป็นอุปมา ที่ว่าอัลลอฮฺมีมือนั่นคืออุปมา! ที่ว่าอัลลอฮฺมีใบหน้านั่นคืออุปมา! ที่ว่าอัลลอฮฺทรงสถิตย์บนอรัชนั่นคืออุปมา! ที่ว่าอัลลอฮฺเสด็จลงมานั่นคืออุปมา! เนื้อความทั้งหมดในกุรอานและหะดีษที่พูดถึงศิฟาตกลุ่มอะชาอิเราะฮฺได้ตีความว่าเป็นอุปมาทั้งหมด ซึ่งสวนทางกับสะลัฟที่ได้สอนว่าห้ามบอกว่าเป็นการเปรียบเทียบ ให้คงเนื้อความที่กุรอานได้ระบุไว้ ให้เชื่อตามนั้นและห้ามถามถึง

แต่กลุ่มอะชาอิเราะฮฺกลับไม่ยอมรับรู้ในเรื่องอะกีดะฮฺของสะลัฟ แล้วกลับหลับหูหลับตาพูดว่ากลุ่มที่เชื่ออย่างนี้คือวะฮาบีย์! นั่นแสดงว่ากำลังจะบอกว่อิม่ามมาลิกเป็นวะฮาบีย์หรือ? หรือจะบอกว่าอิม่ามชาฟิอีย์เป็นวะฮาบีย์? ทั้งที่วะฮาบีย์เพิ่งเกิดเมื่อ 300 ปีมานี่เองน่ะหรือ? เปล่าเลย..แต่นั่นเพราะกลุ่มวะฮาบีย์เอง กลุ่มสลาฟียะฮฺที่เขายึดในแนวทางของอิม่ามอิบนุ ตัยมียะฮฺ ต่างก็ยึดหลักอะกีดะฮฺแบบเดียวกับบรรดาสะลัฟนั่นเอง หรือที่เรียกว่า "อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Dec 23, 2005 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ IRF ครับ สิ่งที่คุณนำเสนอมานั้น มันเป็นสิ่งที่ทำให้ผมมีความสะดวกยิ่งในการสนทนาหลังอีด เนื่องจากผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มสนทนากับคุณอย่างไรดี? ดังนั้นสิ่งที่คุณได้นำเสนอถ่ายทอดจากผู้อื่นมาอีกทีนั้น ผมยินดีที่จะรับวิจารณ์ คุณบอกว่าวะฮาบีย์เขาก็ตามแนวทางของอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ยึดอากิดะฮฺแบบฉบับของสะลัฟ ซึ่งคำพูดนี้ ยังอยู่ในกรอบของคำว่า "เพียงแค่คำกล่าวอ้าง الدعوى" ชวนเชื่อเท่านั้น ดังนั้น อิบนุตัยมียะฮ์จะมีอากิดะฮ์เหมือนสะลัฟจริงๆ หรือไม่นั้น ? เราต้องกลับไปพิจารณาคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ์ จากบรรดาหนังสือที่เขาประพันธ์เอาไว้ เพื่อท่านผู้อ่าน คุณไออาเอฟ และผม จะได้พิจารณาและทำการสนทนาในเชิงวิชาการ และเพื่อที่จะให้เราไม่ไปตักลีด คำพูดของผู้ที่อื่นที่เขาพยายามเขียนเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ คุณไออาเอฟก็โปรดรอหลังอีดนะครับ อินชาอัลเลาะฮ์

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Fri Dec 23, 2005 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณไออาเอฟครับ หลังอีด เราจะมา "ขุดโคตรวะฮาบีย์ " กันนะครับ إن شاء الله

al-azhary@hotmail.com



wassalam

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.27 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ