ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 7:33 am ชื่อกระทู้: |
|
|
5. การให้เกียตริวันศุกร์เนื่องจากนบีอาดำ อะลัยฮิสลาม ถูกสร้างขึ้นมาในวันดังกล่าว
มีหะดิษซอฮิหฺ รายงานว่าเกี่ยวกับท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวถึงความประเสริฐของวันศุกร์ ว่า
فيه خلق أدم
"ในวันศุกร์ ท่านนบีอาดัมถูกสร้างขึ้นมา" รายงานโดยอิมามมาลิก ไว้ใน อัลมุวัฏเฏาะอฺ เล่ม 1 หน้า 108 และท่านอัตติมีซีย์ หะดิษที่ 491 และกล่าวว่า "หะดิษหะซันซอฮิหฺ"
มีหะดิษที่มีสายรายงานที่ซอฮฺว่า ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
إن من أفضل أيامكم يوم الجمعة فيه خلق أدم وفيه قبض وفيه النفخة وفيه الصعقة فأكثروا على من الصلاة فيه فإن صلاتكم معروضة على
"แท้จริง จากบรรดาวันที่ประเสริฐของพวกท่านคือวันญุมอะฮ์(วันศุกร์) ในวันนั้น ท่านนบีอาดัมถูกสร้าง ในวันนั้นท่านนบีอาดำเสียชีวิต ในวันนั้นมีการเป่าสังข์(ฟื้นคืนชีพ) และในวันนั้นมีเสียงกัมปนาท(วันสิ้นโลก) ดังนั้น พวกท่านจงซ่อละวาตแก่ฉันให้มากๆในวันศุกร์ เพราะการซ่อลาวาตของพวกท่านนั้น จะถูกนำเสนอกับฉัน" รายงานโดย ท่านอันนะซาอีย์ และ ท่านอบูดาวูด
วันศุกร์มีเกียตริก็ด้วยการ(เกิด)สร้างนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม ที่เป็นบิดาแห่งมนุษยชาติ และส่วนหนึ่งจากลูกหลานของนบีอาอำก็คือ บรรดานบีทั้งหลาย บรรดาวะลี และบรรดาผู้มีคุณธรรม ซึ่งส่วนหนึ่งจากพวกเขานั้นก็คือ ผู้เป็นนายแห่งลูกหลานนบีอาดัม คือท่าน ซัยยิดนา มุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะฮซัล
การให้เกียตริวันเกิด(สร้าง)นบีอาดัมนี้ ไม่ได้จัดเพียงวันศุกร์อย่างเดียวเป็นการเฉพาะ แต่มันรวมถึงวันอื่นๆด้วย เพื่อทำการรู้คุณชุโกรเนี๊ยะมัตที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานให้จากการสร้างนบีอาดัม
ดังนั้น จึงทำการกิยาส(เทียบเคียง)การฉลองวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยกับวันศุกร์ เพราะว่ามีเหตุผลร่วมกันในทั้งสอง คือวันศุกร์ท่านนบีอาดัมเกิดมา และวันจันทร์ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เกิดมา และยิ่งไปกว่านั้น เหตุผลด้วยการเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)ย่อมมีน้ำหนักมากกว่า กล่าวคือ การเวลามีการเกี่ยวข้องให้เกียตริแก่วันเกิดของนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม แล้วทำไมการเวลาจะมีการเกี่ยวข้องโดยการให้เกียตริแก่วันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ ทั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
أنا سيد ولد أدم ولا فخر
"ฉันคือผู้เป็นนายของบรรดาลูกหลานอาดัม โดยที่ไม่ทนงตน"
และหลังจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้กล่าวถึงสาเหตุความประเสริฐของวันศุกร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ก็ได้ใช้ให้เราทำการซ่อลาวาตแก่ท่านให้มากๆ และมันก็จะถูกนำเสนอต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นี้ย่อมเป็นตัวบทระบุถึงการใช้ให้มีการฟื้นฟูการรำลึกถึงการเกิดของท่านอาดัม โดยการซ่อลาวาตแด่ท่านนบี(ซ.ล.)ให้มากๆ ดังนั้น จึงเป็นที่สมควรยิ่งกว่าในการฟื้นฟูการรำลึกถึงวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 7:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
6. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงกล่าวเล่าเรื่องราวของบรรดานบี อะลัยฮิมุสลาม ไว้ในอัลกุรอาน หนึ่งในนั้นคือ ประวัติเกี่ยวกับเรื่องราวของวันเกิดนบียะหฺยา พระนางมัรยัม และนบีอีซา อะลัยฮิมุสลาม อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงกล่าวแจกแจงในสิ่งดังกล่าวนั้น เพื่อทำให้หัวใจของท่านนบี(ซ.ล.)มีความหนักแน่นมั่นคง อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وكنا نقص عليك من أنباء الرسل ما نثبت به فؤادك
"และเราได้เล่าบอกแก่เจ้า จากเรื่องราวของบรรดาร่อซูล กับสิ่งที่เราได้ทำให้หัวใจของเจ้าหนักแน่มั่นคง" ฮูด 120
ดังนั้น อัลกุรอานได้บ่งชี้ให้เห็นว่า ฮิกมะฮ์ วิทยปัญญา ในการบอกเล่าประวัติและเรื่องราวของบรรดาร่อซูล อะลัยฮิมุสลาม นั้น ทำให้หัวใจที่มีเกียตริของท่านนบี(ซ.ล.)มีความหนักแน่นมั่นคง จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ในปัจจุบันนี้ เรามีความต้องการอย่างยิ่งยวดในการทำให้หัวใจของเรามีความหนักแน่มั่นคงด้วยการบอกเล่าเรื่องราวและชีวประวัติของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 7:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
7. ทำการเฉลิมฉลองเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสื่อไปยังการทำความดีมากมาย ดังนั้น การเฉลิมฉลองการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ย่อมครอบคลุมถึงบรรดาการอะมัลความดีงาม เช่นการ ซ่อลาวาตแด่ท่านนบี(ซ.ล.) การซิรุลเลาะฮ์ การซ่อดาเกาะฮ์เลี้ยงอาหาร การยกย่องและให้เกียตริท่านนบี(ซ.ล.) มีการกล่าวถึงบรรดาบุคลิกของท่านนบีที่มีทรงเกียตริ และมีการบอกเล่าชีวประวัติของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำมัน
และสิ่งที่มาผลักดันและปฏิบัติสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมนั้น แน่นอนว่า สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการส่งเสริมด้วย ด้วยเหตุนี้ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสเกี่ยวกับการประทานความเมตตาของพระองค์และการซ่อลาวาตของบรรดามะลาอิกะฮ์ ว่า
إن الله وملائكته يصلون على النبى يا أيها الدين أمنوا صلوا عليه وسلموا تسليما
"แท้จริงอัลเลาะฮ์และมะลาอิกะฮ์ของพระองค์ทรงประสาทพรแก่นบี โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงประสาทพร(ซ่อลาวาต)แก่ท่านนบีและจงขอความศานติ(ต่อท่านนบี)อย่างแท้จริง" อัลอะหฺซาบ 56
ท่านอิบนุกะษีร ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า " จุดมุ่งหมายของอายะฮ์นี้ คือ อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสบอกแก่บรรดาปวงบ่าวของพระองค์ทั้งหลาย ถึงฐานันดรความเป็นบ่าวและความนบี ณ ที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ในบรรดากลุ่มชนที่อยู่เบื้องสูง ด้วยการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้รับการยกย่องสรรญเสริญ ณ ที่บรรดามะลาอิกะฮ์ผู้ใกล้ชิด และแท้จริงบรรดามะลาอิกะฮ์ก็ได้ทำการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) หลักจากนั้น อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาใช้ให้บรรดาผู้อยู่เบื้องล่าง ทำการซ่อละวาตประสาทพรและขอความศานติแด่ท่านนบี(ซ.ล.) เพื่อที่จะให้การยกย่องสรรญเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ได้รวมกันจากบรรดาผู้อยู่เบื้องบนและเบื้องล่างพร้อมกันทั้งหมด" ดู ตัฟซีร อิบนุ กะษีร เล่ม 3 หน้า 507
การยกย่องสรรญเสริญท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสิ่งที่ศาสนาสิ่งเสริมให้กระทำ บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำการสรรญเสริญต่อหน้าท่านนบี(ซ.ล.) และท่านก็ทำการขอดุอาอ์แก่ผู้ทำการสรรญเสริญยกย่องและขอให้เขาได้รับผลบุญ
รายงานจาก ท่านอัลอัสวัด บิน ซะรีอฺ เขากล่าว่า
قلت : يا رسول الله مدحت الله بمدحة ، ومحدتك بمدحة، قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : هات وابدأ بمدحة الله
"ฉันกล่าวว่า โอ้ ร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันได้ทำการสรรญเสริญอัลเลาะฮ์หนึ่งการสรรญเสริญ และฉันก็ได้ทำการสรรญเสริญท่านด้วยหนึ่งการสรรญเสริญ , ท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)กล่าวว่า ท่านจงมาซิ แล้วก็ท่านจงเริ่มด้วยการสรรญเสริญอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)" หะดิษนี้ซอฮิหฺ รายงานโดยอิมามอะหฺมัด ไว้ในมุสนัด เล่ม 4 หน้า 24 , ท่านอิบนุอบีชัยบะฮ์ ใน อัลมุซันนัฟ เล่ม 6 หน้า 180 , ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ไว้ใน มั๊วะญัมอัลกะบีร เล่ม 1 หน้า 8 , ท่านหัมซะฮ์ บิน ยูซุฟ อัลซะฮ์มีย์ ได้กล่าวรายงานไว้ใน ตารีค ญุรญาน หน้า 413 หะดิษที่ 723
บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำการสรรญเสริญท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยท่านอะหฺมัด ได้นำเสนอรายงานไว้ใน มุสนัด เล่ม 3 หน้า 451 ว่า
ท่านบุคคอรีย์ รายงาน ฮัยษัม บิน อบีสินาน ว่า เขาได้ยินอบูหุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าว ว่า "แท้จริง พี่น้องคนหนึ่งของพวกท่านจะไม่พูดจาหยาบคาย - ดังกล่าวหมายถึง ท่านอิบนุร่อวาหะฮ์ - ซึ่งเขาได้กล่าว(บทกวีสรรญเสริญนบี) ว่า
وفينا رسول الله يتلو كتابه
إدا انشق معروف من الفجر ساطع
أرانا الهدى بد العمى فقلوبنا
به موقنات أن ما قال واقع
يبيت يجافى جنبه عن فراشه
أدا استثقلت بالكافرين المضاجع
"ในพวกเรามีร่อซูลุลเลาะฮ์ ผู้อ่านคำภีร์ของพระองค์
เมื่อคความดีจากรุ่งอรุณได้ขึ้นเจิดจรัส
เขาจึงได้ให้เราเห็นทางนำหลังมืดบอด ดังนั้นบรรดาหัวใจของเรา
มีความมั่นใจด้วยนำ ว่าแท้จริงสิ่งที่เขากล่าวเกิดขึ้นจริง
ค่ำคืนสีข้างของเขาห่างจากที่นอน
ในเมื่อการห่างจากที่นอนเป็นสิ่งที่หนักอึ้งกับบรรดาพวกปฏิเสธ" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 546 หะดิษที่ 6151
ดังนั้น บทกวีจริงอนุญาติให้ทำการยกย่องสรรญเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.) และบทกวีก็มีหิกมะฮ์
วิทยปัญญา ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า
إن من الشعر حكمة
"แท้จริง จากบทกวีนั้น มันมีฮิกมะฮ์" รายงานโดย อัลบุคอรีย์ ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 546 หะดิษที่ 6145
ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ได้รายงานไว้ในซอฮิหฺของท่าน ซึ่ง รายงานจาก สะละมะฮ์ บิน อัลอักวะอฺ เขากล่าว่วา เราได้ออกเดินทางพร้อมกับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ไปยังหมู่บ้านคอยบัร โดยเราเดินทางในยามค่ำคืน ดังนั้น มีชายคนหนึ่งในกลุ่มได้กล่าวกับ อามิร บิน อัลอักวะอฺ ว่า ท่านไม่ทำให้เราได้ยินจากบรรดาช่วงเวลาอันเล็กน้อยของท่านหรือ? สะละมะฮ์บินอักวะอฺกล่าวว่า และอามิรนั้น เป็นนักกวี แล้วเขาก็ลงแล้วขับทำนอง(เป็นบทกวี)โดยจูงอูฐให้ผู้คนฟังว่า
اللهم لولا أنت ما اهتدينا
ولا تصدقنا ولا صلينا
فاغفر فداء لك ما اقتفينا
وثبت الأقدام إن لاقينا
وألقين سكينة علينا
إنا إذا صيح بنا أتينا
وبالصياح عولوا علينا
โอ้ อัลเลาะฮ์ หากไม่มีพระองค์ พวกเราย่อมไม่ได้รับทางนำ
เราย่อมไม่ทำการบริจาคทานและเราไม่ได้ทำละหมาด
พระองค์โปรดจงอภัยแก่เรา โปรดจงไถ่ทอนเราจะการลงโทษด้วยเถิด ตราบใดที่เราเจริญรอยตาม
และโปรดจงให้มั่นคงกับบรรดาเท้าเมื่อเราได้เผชิญ
และทำให้บรรดาเท้ามีความมั่นคงแก่เรา
เมื่อเสียงตะโกนเรียกมาถึงเรา เราก็มา
และด้วยเสียโกนเรียก พวกเขาต้องการพึ่งพาเรา"
ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า ผู้จูงอูฐนี้เป็นใคร? พวกเขาตอบว่า เขาคือ อามิร บิน อัลอักวะอฺ แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตากับเขา..." ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 10 หน้า 546 หะดิษที่ 6148
ดังนั้น ในบทกวีที่กล่าวมานี้ เป็นหลักฐานชี้ถึง การอนุญาติให้ขอดุอาอฺเป็นบทกวีได้เช่นกัน _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 7:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
8. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า
قل بفضل الله وبرحمته فبدلك فليفرحوا
"จงกล่าวเกิดมุฮัมมัด ด้วยกับความโปรดปรานของอัลเลาะฮ์และความเมตตาของพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจงปีติยินดีเถิด" ยูนุส 58
เป็นที่ทราบดีว่า พื้นฐานเดิมนั้น ให้ทำการตีความอายะฮ์ให้อยู่ในความหมายแบบมูลรวม และประโยคที่ให้ความหมายมูลรวมนั้น คือคำว่า ( وبرحمته ) "และความเมตตาของพระองค์" คือสิ่งที่อายะฮ์อัลกุรอานอีกได้อธิบายไว้หมายถึงว่า
وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين
"และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก" อัลอัมบิยาอฺ 107
ดังนั้น จุดมุ่งหมายของคำว่า"ความเมตตา" นี้ คือท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) ซึ่งมันเป็นการอธิบายที่มีน้ำหนักยิ่ง เนื่องจากมันเป็นการอธิบายอัลกุรอานด้วยกับอัลกุรอาน และก็มีนักตัฟซีรได้ทำการอธิบายเฉกเช่นเดียวกันนี้
ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า
أخرج أبو الشيخ عن ابن عباس رضى الله عنهما فى الأية قال : فضل الله العلم، ورحمته النبى صلى الله عليه وسلم، قال الله تعالى : وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين
"อบู อัชชัยค์ นำเสนรายงานจากท่านอิบนุอับบาส (ร.ฏ.) ในอายะฮ์(ดังกล่าว) โดยกล่าวว่า ความโปรดปรานของอัลเลาะฮ์นั้น คือ วิชาความรู้ , และความเมตตาของพระองค์นั้น คือ ท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก" ดู ตัฟซีร อัดดุรฺ อัลมันษูร ของท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ เล่ม 4 หน้า 367
ท่านอัลอาลูซีย์ ได้กล่าวอธิบายคำว่า فبدلك فليفرحوا (ดังนั้นพวกเขาจงดีใจเถิด) ว่า" อายะฮ์นี้ สำหรับการตอกย้ำและยอมรับ โดยที่หลังจากให้น้ำหนักกับคำว่าوبرحمته "ความเมตตา" ที่ถูกกล่าวมาในอายะฮ์นั้น คือ ท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) และทัศนะที่เลื่องลือ คือการพรรณาคุณลักษณะของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยกับ "ความเมตตา" ตามที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก" อัลอัมบิยาอฺ 107 " ดู รูหุลมะอานีย์ เล่ม 10 หน้า 141
ดังนั้น ในอายะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การแสดงความดีใจ หรือความปิติยินดีด้วยการเกิดของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) เป็นสิ่งที่ถูกใช้กับคนมุสลิมและก็จะได้รับผลบุญตอบแทน _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 7:44 am ชื่อกระทู้: |
|
|
9. การทำเมาลิดระลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ใช่เป็นอิบาดะฮ์ที่ถูกเจาะจงรูปแบบและหลักฐาน (عبادة توفيقية) แต่มันเป็นสิ่งที่สร้างความใกล้ชิดกับอัลเลาะฮ์ (قربة ) ที่อยู่ในรูปแบบที่ไม่ได้เจาะจงโดยที่มันเป็นการมุบาห์(อนุญาติให้กระทำได้)
การกระทำนั้น ย่อมอยู่ในหุกุ่ม 5 คือ วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่เป็นสิ่งที่วายิบและไม่ใช่เป็นสิ่งสุนัต แต่มันเป็นสิ่งที่ อนุญาติ ( جائز ) หรือ มุบาห์ ( مباح ) ซึ่งทัศนะของเราที่กล่าวว่าการทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) "มุบาห์" (อนุญาติ) นั้น เพราะว่าไม่มีตัวบทมาบ่งชี้ถึงการห้ามทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)
เป็นที่ทราบกันดีว่า การกระทำสิ่งที่ "มุบาห์" นั้น ผู้กระทำจะไม่ได้รับผลบุญและไม่ได้รับโทษ แต่การกระทำสิ่งที่มุบาห์นั้น หากว่ามันอยู่พร้อมกับการเจตนา(เหนียต)เพื่อการฏออัต เช่นในทำการเมาลิด มีการซิกรุลเลาะฮ์ การซ่อลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) การเล่าชีวประวัติของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) มีการซอดาเกาะฮ์(เช่นเลี้ยงอาหาร) นั่นก็ย่อมถือว่าเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ เป็นการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์(ซ.ล.) ด้วยสาเหตุของการเหนียต ดังนั้น ผู้ที่ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ก็จะได้รับผลบุญดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย - อินชาอัลเลาะฮ์ -
มีหะดิษซอฮิหฺที่รายงานว่า ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวว่า
وفى بضع أحدكم صدقة قالوا : يا رسول الله أيأتى أحدنا شهوته ويكون فيها أجر؟ قال : أرأيتم لو وضعها فى حرام ، أكان عليه وزر؟ فكدا إدا وضعها فى الحلال كان له أجر
"และเกี่ยวกับอวัยวะเพศคนใดจากพวกท่านนั้น เป็นศอดาเกาะฮ์ บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า โอ้ รอซูลุลเลาะฮ์ คนหนึ่งคนใดจากพวกเราได้สนองอารมณ์ความใคร่ของเขา โดยที่ในการสนองอารมณ์ความใคร่มีผลบุญตอบแทนหรือ? ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า พวกท่านจงบอกซิว่า หากเขาได้เอามันไปวางในสิ่งที่หะรอม(เช่นซินา) มันย่อมเป็นบาปต่อเขาไหม? ดังนั้น เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเขาได้เอามันไปวางไว้ในสิ่งที่หะลาล(เช่นที่ภรรยาของเขา) แน่นอน ผลบุญการตอบแทนก็มีให้แก่เขา" รายงานโดยมุสลิม
โปรดพิจารณาครับท่านผู้อ่านที่เคารพ ขนาดอารมณ์ความใคร่ที่นำไปใช้อย่างถูกต้องยังได้รับผลบุญ แล้วการทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) ด้วยอารมณ์แห่งความรักที่มีต่อท่านนั้น มันจะได้รับโทษไฟนรก เพราะถูกกล่าวหาว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรืออย่างไร???
ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.)นั้น เราไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่คืนเมาลิดและเอี๊ยะติก๊อตว่ามันเป็นคืนที่เฉพาะเจาะจงในการในการทำเมาลิด เนื่องจากว่ามันเป็นอุตริกรรมในศาสนา เนื่องจากการรำลึกถึงท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น ต้องทำกันทุกวันทุกเวลา ฉะนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) จึงทำได้ทุกวัน เนื่องจากเมาลิดนบี(ซ.ล.) ก็คือการอ่านเล่าประวัติศาสตร์ของท่านนบี(ซ.ล.) การซ่อลาวาตให้มากๆ โดยไม่ได้เจาะจงในวันใดวันหนึ่ง แต่ว่า การกระทำในเดือนที่ท่านนบีประสูตนั้น มันเป็นแรงผลักดันที่มีน้ำหนักกว่า ที่จะทำให้บรรดามุสลิมมารวมตัวกัน เพื่อแสงความรักต่อท่านร่อซูลลุลเลาะฮ์ ซอลาวาต รับฟังประวัติศาสตร์ของท่านนบี(ซ.ล.) เพื่อให้เขามีความผูกพันธ์ถึงเหตุการณ์ในอดีตอันน่าประทับใจโดยสร้างความรักอันลุกโชติช่วงอยู่ในหัวใจของเราจากบรรดาประวัติของท่านนบี(ซ.ล.)
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ผู้มีทัศนะเป็นกลางเกี่ยวกับเรื่องการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
فتعظيم المولد وإتخاه موسما قد يفعله بعض الناس ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده وتعظيم لرسول الله صلى الله عليه وسلم
ดังนั้น การให้เกียตริการทำเมาลิดและทำมันเป็นเทศกาลนั้น บางส่วนของมนุษย์ได้กระทำมัน และให้กับบางส่วนเกี่ยวกับเมาลิดนั้น ย่อมมีผลตอบแทนทิ่ยิ่งใหญ่ เพราะมีเจตนาเป้าหมายที่ดีในการทำเมาลิดและเป็นการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 267 , และมัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 134 _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 8:02 am ชื่อกระทู้: |
|
|
บังอะสันครับ ตอนนี้เรากำลังสนทนาได้ครึ่งทางกว่าๆแล้วนะครับ และช่วงนี้ บังอะสันสมควรจะสนทนาแก้ต่างๆหลักฐานของเราในอยู่เชิงวิชาการ บังต้องเหนื่อยสักหน่อยนะครับ ผมน่ะตกใจเลยครับ ตอนที่ผ่านมาบังบอกว่า ให้จบประเด็นนี้
ผมสนทนาเรื่องนี้ ไม่ใช่มีเป้าหมายเพื่อให้วะฮาบีย์มาร่วมทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) แต่ผมอยากให้วะฮาบีย์เข้าใจหลักของเรา และไม่หุกุ่มพี่น้องมุสลิมทำบิดอะฮ์ลงนรกตามที่ผู้รู้วะฮาบีย์บางคนปราศัยแบบฟิตนะฮ์ _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
natee มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2004 ตอบ: 108
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 11:19 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่คุณ Alfarook กล่าวว่า แต่ที่แน่ๆนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นคนที่แรกที่เฉลิมฉลองในเกี่ยวกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่าน และท่านนบีทำการถือศีลอด แล้วพวกเราจะซอลาวาต และอื่นๆ เพิ่มอีกไม่ได้หรือ?? เพื่อการกระทำสิ่งที่สุนัติมากๆนั้น มันเป็นการเพิ่มเติมศาสนาหรือ?
ไม่เข้าใจจริงๆ ค่ะ ว่าคำกล่าวนี้มาจากนักศึกษาปริญญาโทไคโร ได้อย่างไร นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากหลายๆ สิ่งที่ดิฉันได้พบเห็นในการโพสต์ของคุณ ดิฉันว่าคุณลองเอาไปถามผู้เป็นอาจารย์ที่สอนปริญญาโทคุณอยู่ดีมั้ยคะ เผื่อท่านจะทำให้คุณเข้าใจอะไรได้ดีขึ้น เพราะเท่าที่ดิฉันติดตามกระทู้ของคุณมาเนี่ย จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าบังasan หรือใครๆ จะเข้ามายกหลักฐานชี้แจงยังไง คุณก็ไม่มีวันเข้าใจ งั้นไปถามอาจารย์ที่สอนคุณอยู่ดีกว่านะคะ เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเองไง เดี๋ยวจะสอบไม่ผ่าน เรียนไม่จบนะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
dabdulla มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005 ตอบ: 437
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 12:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตามที่คุณนทีกล่าวมาก็น่าคิดนะ
เพราะท่านนบี ซล ถือศีลอด
แล้วซอลาวาตกัน ตอนเวลาใด เพราะซอลาวาต ต้องมีสำรับอาหารตามมา
ฝากคุณ อัลฟารุกช่วยชี้แจ้ง สักนิดก็น่าจะดี |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 12:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างจากคุณ นาที
ที่คุณ Alfarook กล่าวว่า แต่ที่แน่ๆนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นคนที่แรกที่เฉลิมฉลองในเกี่ยวกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่าน และท่านนบีทำการถือศีลอด แล้วพวกเราจะซอลาวาต และอื่นๆ เพิ่มอีกไม่ได้หรือ?? เพื่อการกระทำสิ่งที่สุนัติมากๆนั้น มันเป็นการเพิ่มเติมศาสนาหรือ?
ไม่เข้าใจจริงๆ ค่ะ ว่าคำกล่าวนี้มาจากนักศึกษาปริญญาโทไคโร ได้อย่างไร นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากหลายๆ สิ่งที่ดิฉันได้พบเห็นในการโพสต์ของคุณ ดิฉันว่าคุณลองเอาไปถามผู้เป็นอาจารย์ที่สอนปริญญาโทคุณอยู่ดีมั้ยคะ เผื่อท่านจะทำให้คุณเข้าใจอะไรได้ดีขึ้น เพราะเท่าที่ดิฉันติดตามกระทู้ของคุณมาเนี่ย จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าบังasan หรือใครๆ จะเข้ามายกหลักฐานชี้แจงยังไง คุณก็ไม่มีวันเข้าใจ งั้นไปถามอาจารย์ที่สอนคุณอยู่ดีกว่านะคะ เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเองไง เดี๋ยวจะสอบไม่ผ่าน เรียนไม่จบนะ
วิจารณ์
การที่คุณไม่เข้าใจนั้น เพราะว่าคุณคิดว่าท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เฉลิมฉลองวันที่ท่านประสูต เหมือนกับพวกเราทำ ซึ่งความจริงแล้วท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำเหมือนกับรูปแบบทีเราทำกัน แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ไดทำการถือศีลอด เพราะอะไรถึงท่านนบีถือศีลอดในวันจันทร์ ก็มีซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งถามเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ท่านนบีตอบว่า "เพราะมันเป็นวันที่ฉันเกิด" และพวกเราก็ถือศีลอดกันอย่างประจำอยู่แล้ว แต่พวกเราจะถือศีลอดในวันจันทร์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เนื่องจากพวกเราถือศีลอดวันเว้นวันมาหลายปีแล้ว ดังนั้น การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ถือศีลอดวันจันทร์เพราะมันเป็นวันเกิดของท่านนั้น นั่นก็ย่อมหมายถึงการมีรากฐาน أصلى "ใน(การเฉลิมฉลอง)ปิติยินดีกับวัน(เมาลิด)เกิดของท่านนบี(ซ.ล.)" สำหรับวิธีการนั้น มันย่อมต่างกันออกไป อันนี้มันอยู่ที่การวินิจฉัยของนักมุจญฺฮิดแห่งโลกอิสลาม ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดเพราะวันเกิดของท่าน "การถือศีลอดนั้นเป็นอิบาดะฮ์ความดี กระทำเพื่อเป็นการชุโกรเนี๊ยติมัตที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ประสูตมาในวันจันทร์" สรุปก็คือ "ท่านนบี(ซ.ล.)ทำความดีเพื่อชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ในวันเกิดของท่าน"
เมื่อการชุโกรในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการทำความดี(ถือศีลอด) แน่นอนว่า หากเราทำความดีอื่นๆอีกเพื่อเป็นการชุโกร แสดงความยินดีในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็ย่อมอยู่ในความหมายของการแสดงความยินดีต่อการเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งก็ย่อมทำได้อย่างไม่ต้องสงสัย และมันย่อมอยู่ในความหมายของการทำความดีเพื่อแสดงความยินดี ชุโกรในการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)"
คำว่า "เฉลิมฉลอง" นั้น ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีการกินมีการดื่ม มีการรื่นเริงสนุกสนาน เพียงอย่างเดียวที่เราคิดกันนั้นก็หาไม่ แต่การ" เฉลิมฉลอง" นั้น มันอยู่ผนวกเข้าไปอยู่ในรูปแบบในการกระทำความดีอื่นๆ ด้วย เช่นการซอลาวาต การปราศัยเล่าชีวประวัติของท่านนบี(ซ.ล.)เพื่อปลูกฝังความศรัทธาให้อยู่ในหัวใจของบรรดาพี่น้องมุสลิม เป็นต้น
คงไม่มีมุสลิมคนใดพูดหรอกน่ะครับว่า "วันจันทร์นั้น ต้องถือศีลอด เพื่อแสดงความยินดีในวันเกิดของท่านเท่านั้น โดยจะไปทำซอดาเกาะฮ์ ซอลาวาต เพิ่มมาในวันจันทร์นั้นไม่ได้" หากมีคนพูดอย่างนี้ ก็แสดงว่าเขาไม่เข้าใจศาสนา
ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า
سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
หะดิษนี้ย่อมอยู่ในความหมายของ "การฉลองแสดงความปิติยินดีด้วยการเกิดหรือวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)" แม้ว่ารูปแบบจะแตกต่างกันไป แต่ ความหมาย ในการฉลองแสดงความยินดีในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นยังคงอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการถือศีลอด หรือ การให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร การรวมตัวกันเพื่อซิกรุลเลาะฮ์และการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) หรือการรับฟังบุคลิกและคุณงามความดีของท่านนบี(ซ.ล.)
ส่วนหนึ่งจากความหมายของการฉลองแสดงความยินดีนั้น ก็คือ "การแสดงออกซึ่งการรู้คุณชุโกรต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และการแสดงออกถึงการให้เกียตริในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) การได้รับความเมตตามีความสุขของทุกๆสิ่งด้วยการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนจากพระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า
وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين
"และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก"
คำว่า"สากลโลก"นี้ คือ บรรดามะลาอิกะฮ์ และมนุษย์ ยิน ไม่ว่าจะเป็นมุอฺมินหรือกาเฟร " พวกเขาก็ย่อมได้รับความเมตตาอันนี้ ซึ่งความเมตตานี้ก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ที่เป็นของขวัญกำนัลแด่บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย
ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดในวันจันทร์ เนื่องมันเป็นวันเกิดของท่าน โดยการแสดงออกถึงความยินดี ชุโกรรู้คุณ และให้เกียตริต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงให้ท่านร่อซูล(ซ.ล.)เกิดมา และนี่ก็คือ "เป้าหมายในการเฉลิมฉลองการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.)"
ฉะนั้น หะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ให้ทำถือศีลอดในวันจันทร์นั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานในการจำกัดเรื่องอิบาดะฮ์ในวันจันทร์ด้วยการถือศีลอดเท่านั้น แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เฉพาะเจาะจงการถือศีลอด เพื่อแสดงออกถึงการดีใจ มีความปิติยินดีในวันเกิดของท่าน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)เองก็ยังคงทำการละหมาด ถือศีลอด ทำการให้อาหาร ทำการบริจาคทานซอดาเกาะฮ์ ในวันจันทร์ ดังนั้น การที่ในวันจันทร์มีการถือศีลอด มีการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร มีการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) มีการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) (ที่วะฮาบีย์เรียกว่าสวด) และการสรรเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยกับความเหมาะสมที่ท่านควรได้รับนั้น มันมีหลักการใดมาห้ามการรวมกันทำสิ่งดีเหล่านี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง แสดงความยินดี ด้วยกับการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) "
จะให้ผมไปถามอาจารย์ที่สอนผมนั้น คงไม่จำเป็นหรอกครับ ในเมื่อสิ่งที่ผมนำมาเสนอนั้น คือทัศนะของอาจารย์ที่ผมเรียนเอง ศึกษาและเอามาจากตำราที่บรรดาอาจารย์ผมเขียนขึ้นและให้การยอมรับ
การที่คุณพูดกับผมอย่างนี้นั้น เพราะคุณเป็นวะฮาบีย์ ที่ไม่ยอมเปิดใจรับฟังทัศนะของฝ่ายอื่น คุณจึงไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น นอกจากสิ่งที่คุณยึดมั่นและเชื่อเท่านั้น ขออัลเลาะฮ์ทรงเปิดใจคุณให้กว้างด้วยเถิด _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 12:31 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างจากคุณอับดุลเลาะฮ์
แล้วซอลาวาตกัน ตอนเวลาใด เพราะซอลาวาต ต้องมีสำรับอาหารตามมา
วิจารณ์
คุณเข้าใจผิดแล้วครับ ที่คุณบอกว่า "การซอลาวาตต้อมีสำรับอาหารมา" การซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เราจะกระทำกันเวลาใดก็ได้ เราจะซอลาวาตแบบคนเดียวก็ได้ หรือเราจะซอลาวาตกันพร้อมๆกันเป็นกลุ่มก็ได้ และการซอลาวาตนั้น มีหลายถ้อยคำที่สามารถนำมาซอลาวาต เราจะซอลาวาต เช่นซอลามาวาตแบบหลังอ่านตะฮียะฮ์ในละหมาดก็ได้ จะซอลาวาตแบบแบบถ้อยคำอื่นๆก็ได้ แต่คำพูดที่ว่า "ต้องมีสำรับอาหารตามมานั้น" คงไม่ใช่ถึงขนาดนั้น ซึ่งถ้าหากมีอย่างนั้น ก็แสดงว่ามีคนเชิญไปรับประทานอาหาร และก็ถือโอกาสร่วมกันซอลาวาต อ่านอัลกุรอานและซิกิร เป็นต้น อันนี้ย่อมไม่แปลกอยู่แล้วที่มีอาหารตามมา เนื่องจากเจ้าภาพเขาเชิญบรรดามุสลิมีนมารับประทานอาหาร _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 1:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมสนทนาเรื่องนี้ ไม่ใช่มีเป้าหมายเพื่อให้วะฮาบีย์มาร่วมทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) แต่ผมอยากให้วะฮาบีย์เข้าใจหลักของเรา และไม่หุกุ่มพี่น้องมุสลิมทำบิดอะฮ์ลงนรกตามที่ผู้รู้วะฮาบีย์บางคนปราศัยแบบฟิตนะฮ์
_________________
นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
........................
ตอบ
ในช่วงเวลากลางวัน บังไม่ค่อยว่างเพราะยุ่งอยู่กับงาน แต่เมื่อเข้ามา เห็นน้องal-farook นำเสนอมายาวเยียด ก็ขอเขกหัวพอเป็นพิธีก่อน หลักฐานที่น้องนำเสนอมานั้น ก็เรียกว่า เกาไม่ถูกที่คัน คือ นำเสนอยาแก้รีดสีดวงทวาร เพื่อให้ไปรักษาไข้หวัด มันใช้ผิดที่ เช่น
ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า
سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
................
หะดิษข้างต้น สอนให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ แต่ดันเอามาเป็นหลักฐานทำเมาลิด ซึ่ง ผู้กล่าวคำนี้ คือ ท่านนบี ไม่ได้จัดงานวันเกิดของท่านแต่อย่างใด เหล่าเศาะหาบะฮที่รักท่านนบียิ่งกว่าพวกเรา ก็ไม่ได้ทำ ดังนั้น การนำเอาหลักฐานมาใช้ผิดที่อย่างนี้ เขาเรียกว่า "บิดอะฮอิฎอฟียะฮ" หรือ บิดอะฮ กาฝาก หรือจะเรียกแบบลูกทุ่งก็ได้ว่า "บิดอะฮมั่วนิ่ม"
ท่านนบี กล่าวว่า
فانه من يعش منكم بعدي فسيرى اختلافا كثيرا ، فعليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي
แท้จริงผู้ใดในหมู่พวกท่านมีชีวิตอยู่ หลังจากฉัน เขาก็จะพบกับการขัดแย้งกันอย่างมากมาย ดังนั้น หน้าที่พวกท่านคือ ปฏิบัติตามสุนนะฮของฉัน และสุนนะฮบรรดาเคาลีฟะฮผู้ทรงคุณธรรม ผู้ได้รับทางนำหลังจากฉัน...
..........
ท่านนบีสอนให้ตามสุนนะอ แต่ดันทุรัง ไปเอาทัศนะอุลามาอ ที่สอนให้ทำบิดอะฮ.. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 2:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างจากบังอะสัน
หะดิษข้างต้น สอนให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ แต่ดันเอามาเป็นหลักฐานทำเมาลิด ซึ่ง ผู้กล่าวคำนี้ คือ ท่านนบี ไม่ได้จัดงานวันเกิดของท่านแต่อย่างใด
วิจารณ์
แล้วทำไมบังอะสันถึงไม่ใช้สมองคิดบ้างล่ะครับว่า ท่านถือศีลอดเพราะอะไร ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า เพราะ "มันเป็นวันเกิดของฉัน" แสดงว่าท่านนบี(ซ.ล.) ให้ความสำคัญกับวันเกิดของท่าน ด้วยการทำความดี เช่นการ ถือศีลอด ดังนั้น เราไม่ได้บอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)จัดการเมาลิดเหมือนกับพวกเรา แต่เรากล่าวว่า "การแสดงความยินดีชุโกรเนี๊ยมัดกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.)" โดยการกระทำความดีในวันนั้น เช่นการถือศีลอด ดังนั้น การกระทำความดีมากๆในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)หรือกระทำความดีในในวโรกาสการเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) จึงเป็นสิ่งที่ไม่ต้องห้าม
ดังนั้น การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ถือศีลอดวันจันทร์เพราะมันเป็นวันเกิดของท่านนั้น นั่นก็ย่อมหมายถึงการมีรากฐาน أصلى "ใน(การเฉลิมฉลอง)ปิติยินดีกับวัน(เมาลิด)เกิดของท่านนบี(ซ.ล.)" สำหรับวิธีการนั้น มันย่อมต่างกันออกไป อันนี้มันอยู่ที่การวินิจฉัยของนักมุจญฺฮิดแห่งโลกอิสลาม ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดเพราะวันเกิดของท่าน "การถือศีลอดนั้นเป็นอิบาดะฮ์ความดี กระทำเพื่อเป็นการชุโกรเนี๊ยติมัตที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ประสูตมาในวันจันทร์" สรุปก็คือ "ท่านนบี(ซ.ล.)ทำความดีเพื่อชุโกรต่ออัลเลาะฮ์ในวันเกิดของท่าน"
เมื่อการชุโกรในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการทำความดี(ถือศีลอด) แน่นอนว่า หากเราทำความดีอื่นๆอีกเพื่อเป็นการชุโกร แสดงความยินดีในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็ย่อมอยู่ในความหมายของการแสดงความยินดีต่อการเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งก็ย่อมทำได้อย่างไม่ต้องสงสัย และมันย่อมอยู่ในความหมายของการทำความดีเพื่อแสดงความยินดี ชุโกรในการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)"
คำว่า "เฉลิมฉลอง" นั้น ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีการกินมีการดื่ม มีการรื่นเริงสนุกสนาน เพียงอย่างเดียวที่เราคิดกันนั้นก็หาไม่ แต่การ" เฉลิมฉลอง" นั้น มันอยู่ผนวกเข้าไปอยู่ในรูปแบบในการกระทำความดีอื่นๆ ด้วย เช่นการซอลาวาต การปราศัยเล่าชีวประวัติของท่านนบี(ซ.ล.)เพื่อปลูกฝังความศรัทธาให้อยู่ในหัวใจของบรรดาพี่น้องมุสลิม เป็นต้น
คงไม่มีมุสลิมคนใดพูดหรอกน่ะครับว่า "วันจันทร์นั้น ต้องถือศีลอด เพื่อแสดงความยินดีในวันเกิดของท่านเท่านั้น โดยจะไปทำซอดาเกาะฮ์ ซอลาวาต เพิ่มมาในวันจันทร์นั้นไม่ได้" หากมีคนพูดอย่างนี้ ก็แสดงว่าเขาไม่เข้าใจศาสนา
ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า
سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على
"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม
หะดิษนี้ย่อมอยู่ในความหมายของ "การฉลองแสดงความปิติยินดีด้วยการเกิดหรือวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)" แม้ว่ารูปแบบจะแตกต่างกันไป แต่ ความหมาย ในการฉลองแสดงความยินดีในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นยังคงอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการถือศีลอด หรือ การให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร การรวมตัวกันเพื่อซิกรุลเลาะฮ์และการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) หรือการรับฟังบุคลิกและคุณงามความดีของท่านนบี(ซ.ล.)
ส่วนหนึ่งจากความหมายของการฉลองแสดงความยินดีนั้น ก็คือ "การแสดงออกซึ่งการรู้คุณชุโกรต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และการแสดงออกถึงการให้เกียตริในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) การได้รับความเมตตามีความสุขของทุกๆสิ่งด้วยการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนจากพระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า
وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين
"และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก"
คำว่า"สากลโลก"นี้ คือ บรรดามะลาอิกะฮ์ และมนุษย์ ยิน ไม่ว่าจะเป็นมุอฺมินหรือกาเฟร " พวกเขาก็ย่อมได้รับความเมตตาอันนี้ ซึ่งความเมตตานี้ก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ที่เป็นของขวัญกำนัลแด่บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย
ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดในวันจันทร์ เนื่องมันเป็นวันเกิดของท่าน โดยการแสดงออกถึงความยินดี ชุโกรรู้คุณ และให้เกียตริต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงให้ท่านร่อซูล(ซ.ล.)เกิดมา และนี่ก็คือ "เป้าหมายในการเฉลิมฉลองการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.)"
ฉะนั้น หะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ให้ทำถือศีลอดในวันจันทร์นั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานในการจำกัดเรื่องอิบาดะฮ์ในวันจันทร์ด้วยการถือศีลอดเท่านั้น แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เฉพาะเจาะจงการถือศีลอด เพื่อแสดงออกถึงการดีใจ มีความปิติยินดีในวันเกิดของท่าน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)เองก็ยังคงทำการละหมาด ถือศีลอด ทำการให้อาหาร ทำการบริจาคทานซอดาเกาะฮ์ ในวันจันทร์ ดังนั้น การที่ในวันจันทร์มีการถือศีลอด มีการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร มีการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) มีการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) (ที่วะฮาบีย์เรียกว่าสวด) และการสรรเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยกับความเหมาะสมที่ท่านควรได้รับนั้น มันมีหลักการใดมาห้ามการรวมกันทำสิ่งดีเหล่านี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง แสดงความยินดี ด้วยกับการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) "
จะให้ผมไปถามอาจารย์ที่สอนผมนั้น คงไม่จำเป็นหรอกครับ ในเมื่อสิ่งที่ผมนำมาเสนอนั้น คือทัศนะของอาจารย์ที่ผมเรียนเอง ศึกษาและเอามาจากตำราที่บรรดาอาจารย์ผมเขียนขึ้นและให้การยอมรับ
การที่คุณพูดกับผมอย่างนี้นั้น เพราะคุณเป็นวะฮาบีย์ ที่ไม่ยอมเปิดใจรับฟังทัศนะของฝ่ายอื่น คุณจึงไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น นอกจากสิ่งที่คุณยึดมั่นและเชื่อเท่านั้น ขออัลเลาะฮ์ทรงเปิดใจคุณให้กว้างด้วยเถิด _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 2:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โอ้โฮ้...ได้เห็นความคลั่งวิชาของอัลฟารูก นักศึกษาปริญญาโทแล้ว ที่พยายามจะทำให้เมาลิดเป็นสิ่งที่ชอบด้วยศาสนาให้ได้ แต่เสียดายนะ หว่านล้อมไปเท่าไหร่ก็ยังฟังไม่ขึ้น ตราบใดที่ยังนำตัวบทหลักฐานมายืนยันไม่ได้ ฮ้าๆๆ
แล้วมันจะมีหลักฐานได้อย่างไรเล่า ในเมื่อตัวบทนั้นได้ผ่านบรรดาซอฮาบะฮ์มาแล้วแต่พวกเขาไม่ได้เข้าใจเช่นนั้น ทั้งตาบีอีน และอิหม่ามทั้งสี่ก็ไม่รู้เรื่องด้วย ดังนั้นจึงตั้งตนเป็นอุลามาอใหญ่ซะเอง ด้วยวิธีจับแพะชนแกะนะ ท่านผู้ชมเขารู้ทันหรอกน้า... ฮ้าๆๆ
อย่างคุณ natee เข้ามาเตือนด้วยเป็นห่วงว่าวิชาที่เรียนมาจะกลายเป็นอวิชา เลยให้ไปปรึกษาอาจารย์ที่สอน แต่..คุณ natee ครับ คุณพอทราบไหมว่ามหาวิทยาลัยไหนเขาสอนวิชาจับแพะชนแกะบ้าง ฮ้าๆๆเอิกๆๆ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
adeel มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2004 ตอบ: 172
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 2:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เหล่านักศึกษาพยายามที่จะบอกให้ท่านผู้ชมได้ทราบว่า ระหว่างทีมบังอะสันกับทีมนักศึกษานั้นพอกัน คือไม่มีหลักฐานห้ามและไม่มีหลักฐานใช้ จึงต้องใช้หลักวินิจฉัยด้วยกันทั้งคู่ นี่คือตบตานะขอรับท่าน เขาพยายามที่จะดึงไปให้มันเท่ากัน แต่มันไม่เท่ากันจริงๆ
เพราะเมาลิดไม่มีร่องรอยการกระทำจากยุคสะลัฟ และไม่มีที่มาทางศาสนา แล้วจะต้องวินิจฉัยทำม้าย...ของมันไม่มีต้องวินิจฉัยให้มันไม่มีงั้นรึ.. ตาหลก...ฮ้าๆๆ
แต่ทีมนักศึกษากำลังพล่านครับท่านผู้ชม กำลังวินิจฉัยของที่ไม่มีให้มี โดยวินิจฉัยของที่ไม่ใช่ศาสนาให้เป็นศาสนา งานใหญ่จริงๆ ฮ้าๆๆ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
al-farook มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/08/2005 ตอบ: 297 ที่อยู่: อียิปต์
|
ตอบ: Tue May 23, 2006 2:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อ้างจากบังอะสัน
คือ ท่านนบี ไม่ได้จัดงานวันเกิดของท่านแต่อย่างใด เหล่าเศาะหาบะฮที่รักท่านนบียิ่งกว่าพวกเรา ก็ไม่ได้ทำ ดังนั้น การนำเอาหลักฐานมาใช้ผิดที่อย่างนี้ เขาเรียกว่า "บิดอะฮอิฎอฟียะฮ" หรือ บิดอะฮ กาฝาก หรือจะเรียกแบบลูกทุ่งก็ได้ว่า "บิดอะฮมั่วนิ่ม"
วิจารณ์
ไม่ผมทราบว่า "นักวิชาการสลัฟ" ที่ มุรีด เอ่ยถึงนั้น คือใคร??? แต่ถ้าหมายถึง อุลามาอ์วะฮาบีย์ล่ะก็ น่าจะพูดว่า "นักวิชาการสะละฟีย์" ไม่สะลัฟ เนื่องจากสะลัฟ คือนักวิชาการที่อยู่ใน 1 - 3 ศตวรรษ หลังจากที่ท่านร่อซูล(ซ.ล.)เสียชีวิต
การเอานักวิชาการสะลัฟมาแอบอ้าง โดยโยงถึงเรื่องเมาลิด และเหมาบอกว่า "สะลัฟถือว่าการทำเมาลิดนบีเป็นบิดอะฮ์" นั้น ถือว่าเป็นการ "ตัดลีด" ตบตาผู้อ่านที่รู้เท่าไม่ถึงการ ซุบหานัลลอฮ์ !!!
มีประเด็นปัญหาเรื่องศาสนามากมายที่ อุลามาอ์สะลัฟไม่ได้กล่าวถึง ดังนั้น สิงที่อุลามาอ์สะลัฟไม่ได้กล่าวถึงนั้น ไม่ใช่หมายถึง"หุกุ่มเป็นบิดอะฮ์" เช่นเดียวกันกับเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) บรรดาอุลามาอ์สะลัฟ ไม่ได้กล่าวถึงเลย และไม่ได้กล่าวหุกุ่มไว้ว่า "การทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์หรือไม่เป็นบิดอะฮ์" คือตามทัศนะของสลัฟแล้วนั้น "เรื่องเมาลิดจึงอยู่ในหุกุ่มที่ไม่ได้ระบุจากสะลัฟว่าได้หรือไม่ได้?" เมื่อสะลัฟไม่ได้เอ่ยถึงมัน เราก็อย่าไปยัดเยือดคำพูดหรือทัศนะให้แก่อุลามาอ์สะลัฟ ว่า "การทำเมาลิดอะฮ์เป็นบิดอะฮ์" ทั้งที่สะลัฟไม่เคยกล่าวหุกุ่มันเอาไว้ หลักการของฟิกห์ที่ปวงปราชญ์กล่าวไว้คือ
لا ينسب لساكت قول
"จะไม่ถูกพาดพิงคำพูดให้กับผู้ที่นิ่ง"
ดังนั้น อุลามาอ์สะลัฟนิ่ง(ไม่ได้พูด) เรื่องหุกุ่มทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) เราก็จะไปยัดเยียดคำพูดหรือทัศนะให้กับอุลามาอ์สะลัฟไม่ได้ย่อมไม่ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะถูกข้อหา "โกหกใส่อุลามาะฮ์สะลัฟเกี่ยวกับหุกุ่มศาสนา"
อิมามอัชชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า
كل ما له مستند من الشرع فليس ببدعة فلو لم يعمل به السلف
"ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม" ดู หนังสือ อิตกอน อัลซ๊อนอะฮ์ ฟี ตะหฺกีก มะอฺนา บิดอะฮ์ ของท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ อัลฆุมารีย์ หน้า 14 ตีพิพม์ มัตตักอัลกอฮิเราะฮ์ ปี ฮ.ศ. 1426 - ค.ศ. 2005
ดังนั้น เรื่องการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านร่อซูล(ซ.ล.)นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาหลังจากยุคสะลัฟ ซึ่งหากเราจะทราบถึงหุกุ่มเกี่ยวกับเรื่องเมาลิด เราก็ต้องไปดูจากหลักการการวินิจฉัยของนักปราชญ์หลักยุคหลังสลัฟว่ามันเป็นอย่างไร? ไม่ใช่ไปแอบอ้างอุลามาอ์สะลัฟ
ฉะนั้น เมื่อเราไปตรวจดูทัศนะของ อุลามาอ์ยุคหลังสะลัฟนั้น เราจะพบว่า นักปราชญ์แห่งโลกอิสลามส่วนมากมีทัศนะว่าอนุญาติให้ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)ได้
มุรีด ทิมมะเสนอ้างอย่างนั้น ผมไม่ว่าอะไรหรอกครับ แต่เมื่ออ้างตามที่ทัศนะของตนจะเอา แล้วไปหุกุ่มผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ตามทัศนะของตนว่า ให้ไปเตาบอะฮ์ เป็นการกระทำบิดอะฮ์ ตกนรก ตามที่ มุรีดได้ปราศัยนั้น ผมขอค้านครับ เนื่องจากการอ้าง ท่านนบีและสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำ มาหุกุ่มบิดอะฮ์ เป็นการกระทำที่ชั่ว ตกนรก นั้น เป็นหลักการที่อ่อนมากเลยทีเดียว และยิ่งไปกว่านั้น มันก็เป็นแค่ความคิดเห็นเช่นเดียวกัน
ประการแรกที่ทั้งสองฝ่ายตรงกันก็คือ วะฮาบีย์ไม่มีหลักฐานในการห้ามทำเมาลิดนบีเป็นการเฉพาะ และการอ้างของวะฮาบีย์ในการกล่าวหาบิดอะฮ์เมาลิด ล้วนแต่เป็นความคิดและความเห็นทั้งสิ้นเช่นเดียว
พี่น้องซุนนะฮ์วะฮาบีย์มักจะอ้างว่า "ท่านนบีไม่เคยทำ บรรดาซอฮาบะฮ์ไม่เคยทำ และสะลัฟไม่เคยทำ" ซุนนะฮ์วะฮาบีย์ก็เลยเอาหลักการนี้ มาหุกุ่มหะรอม บิดอะฮ์ในเรื่องของศาสนา โดยไม่ลืมหูลืมตาว่าอะไรเป็นหลักการที่สอดคล้องกับศาสนาและอะไรที่ขัดแย้งกับศาสนา คำพูดนั้นถูกแต่เป้าหมายที่นำมาใช้นั้นผิด
ดังนั้น การที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" ( دليل ) แต่มันชี้ถึง"การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ไม่ใช่เป็น"หลักฐาน" (دليل ) ว่าห้ามทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แต่มันบ่งถึง "การไม่มีหลักฐาน" ( عدم دليل ) หรือ "หลักฐานในเชิงไม่มีและไม่รู้ว่ามีหุกุ่มมาระบุ" ( الدليل العدمى )ในการห้ามเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น หลักฐานที่ชี้ถึงการห้าม ( دليل التحريم ) นั้น คือการมีตัวบทหลักฐานที่บ่งถึงการต้องห้าม(النهى) กับการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือมีการตำหนิจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ในการกระทำสิ่งหนึ่ง และหากว่ามีตัวบทมาระบุห้าม ก็ย่อมไม่มีข้อกังขาใดๆอย่างแน่นอน
ดังนั้น การหลักการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำนั้นหรือท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้กระทำ มาเป็นหลักฐาน(دليل)ในศาสนา เพื่อทำการตำหนิ ทำการหุกุ่มหะรอม ทำการกล่าวหาบิดอะฮ์ตกนรก และนำมากล่าวหาเป็นการกระทำที่ชั่วนั้น ย่อมเป็นหลักการที่โง่เขลาอย่างชัดเจนกับหลักการหุกุ่มของศาสนาและหลักพื้นฐานของฟิกห์ที่บรรดานักปราชญ์มุจญฺฮิดแห่งโลกอิสลามได้วางหลักการวินิจฉัยหุกุ่มเอาไว้ ฉะนั้น การสะละฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำย่อมไม่ใช่หลักฐาน แต่มันบ่งถึง ไม่มีหลักฐาน และหลักฐานหนึ่งจะสามารถบ่งถึงการห้ามและตำหนิได้นั้น ก็ด้วยสิ่งที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ทรงบัญญัติห้ามและสิ่งที่ท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้ห้ามไว้ในซุนนะฮ์ที่ซอฮิหฺของท่าน
ดังนั้น ประเด็นเมาลิดนี้ มันอยู่ในเรื่องของการ "ทิ้งการกระทำ" ( الترك ) ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งกับสิ่ง - คือไม่เคยกระทำมัน - หรือสะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมัน โดยที่ "ไม่มี" หะดิษ หรือ ร่องรอย มารายงานระบุห้ามจากการกระทำกับสิ่งที่ถูกทิ้งการกระทำดังกล่าว ที่ให้ความเข้าใจถึงหะรอมหรือมักโระฮ์
บรรดาผู้รู้ยุคหลังๆบางท่านเลยเถิดในการอ้างหลักฐานที่คลุมเคลือเช่นนี้ โดยทำการหุกุ่มหะรอม หรือกล่าวหาบิดอะฮ์ลุ่มหลงในเรื่องของศาสนา ด้วยคำกล่าวที่ว่า นบีไม่เคยทำอย่างนั้น หรือไม่ได้รับการยืนยันว่านบี(ซ.ล.)กระทำอย่างนั้น เป็นต้น
อุลามาอ์บางส่วนกล่าวไว้ว่า
الترك ليس بحجة فى شرعنا
لا يقتضى منعا ولا إيجابا
فمن ابتغى حظرا لترك نبينا
ورأه حكما صادقا وصوابا
قد ضل عن نهج لأدلة كلها
بل أخطأ الحكم الصحيح وخابا
"การทิ้ง(นบีไม่ได้ทำ)ไม่ใช่เป็นหลักฐานในชาริอัตของเรา"
"มันไม่ได้ใช้นัยยะถึงห้ามหรือจำเป็น"
"ดังนั้น ผู้ใดปราถนา (หุกุ่ม) ห้ามเพราะนบีของเราไม่ได้ทำ"
"โดยเขาเห็นว่ามันเป็นหุกุ่มที่จริงและถูกต้อง"
"แน่แท้แล้ว เขาย่อมหลงจากวิถีทางของ(การอ้าง)บรรดาหลักฐานทั้งหมด"
"ยิ่งไปกว่านั้น เขาก็ผิดพลาดกับหุกุ่มที่ถูกต้องและเขาก็สิ้นหวัง"
ดู หนังสือ อัตตะหฺซีร มินัลอิฆติยาร ของชัยค์ อับดุลหัยฺ อัลอัมรอวีย์และชัยค์อับดุลกะรีม มุร๊อด หน้า 75
ท่านชัยค์ อัลฆุมารีย์กล่าวว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงาน มาระบุห้ามจากสิ่งที่ถูกทิ้งนั้น หรือไม่มีหลักฐานมาห้ามมัน หรือให้ละทิ้งมันไป" (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12 ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )
ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น
1. ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งมันนั้น เพราะมีสิ่งที่มาหักห้ามตามอุปนิสัยตามธรรมชาติ หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งการกินเนื้อ ฏ๊อบ เมื่อมันได้ถูกนำมาให้แก่ท่าน ซึ่งในหะดิษนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ถูกถามว่า "มันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า "ไม่หรอก" ดังนั้น ดังกล่าวถึงชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ถือว่า เป็นการหะรอมห้ามกับมัน
2. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งนั้น เพราะว่าได้ลืมมัน ซึ่งเสมือนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ลืมในละหมาด โดยท่านได้ละทิ้งสิ่งหนึ่ง ท่านจึงถูกถามว่า "มีสิ่งใดเกิดขึ้นในละหมาดหรือ?" ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "แท้จริง ฉันนั้นก็เป็นมนุษย์ ฉันลืมเหมือนกับที่พวกท่านลืม ดังนั้น เมื่อฉันลืม พวกท่านก็จงเตือนฉัน"
ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งสิ่งหนึ่งจากละหมาด พวกเขาก็ไม่คิดว่าเลยว่ามันเป็นหุกุ่มใดหุกุ่มหนึ่ง แต่พวกเขากลับไปทบทวนถามกับท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ทำการตอบกับพวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นหุกุ่มใดๆขึ้นมา
3. การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำนั้น เพราะเกรงว่า จะเป็นฟัรดู เหนือประชาชาติของท่าน เช่นท่านได้ทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ ตะรอวิหฺ ในขณะที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำาการรวมตัวกันละหมาด เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นฟัรดูเหนือพวกเขา
4. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำ ก็เพราะเกรงถึงฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้นได้ อาธิเช่น ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการรื้นถอนบัยตุลลอฮ โดยนำมาสร้างไว้ที่ฐานของท่านนบี(ซ.ล.)อิบรอฮีม(ซ.ล.) เสมือนที่ได้ระบุไว้ในซอฮิหฺบุคอรีย์และมุสลิม ดังนั้น การละทิ้งการดังกล่าวนั้น เพื่อถนอมน้ำใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ จากชาวมักกะฮ์
5. บางครั้ง ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง เนื่องจากสาเหตุที่เฉพาะสำหรับท่าน เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ทิ้งการรับประทานหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นไม่ดี เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเดือนร้อนแก่มะลาอิกะฮ์ ในขณะที่รับวะหฺยุ โดยที่ไม่มีผู้ใดกล่าวว่า การรับประทานหัวหอมนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม เพราะว่านบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการรับประทานมัน
จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นว่า การที่ท่านนบีได้ทิ้ง หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม
ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า " การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป้นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และสำหรับการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้เข้าใจว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก " ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า "การทิ้ง" (ไม่ได้กระทำ) มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การทิ้งที่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า "การทิ้งเชิงการมี" ( الترك الوجودى ) คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งการกระทำกับสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยมีการกระทำมันมาแล้ว หรือท่านนบี(ซ.ล.)ได้หยุดกระทำกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำได้
2. การทิ้ง(การกระทำ)ที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) ซึ่งอุลามาอ์อุซูลให้สำนวนเรียกว่า"การทิ้งเชิงไม่มี" ( الترك العدمى ) คือ สิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำและไม่เคยกล่าวมัน โดยที่ไม่ได้นำเสนอหุกุ่มออกมา เนื่องจากไม่มีความต้องการหรือมีนัยยะให้กับการหุกุ่มสิ่งดังกล่าว
ดังนั้น ในความเป็นแล้ว การทิ้งการกระทำที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود ) นั้น ย่อมไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็น"หลักฐาน"( دليل ) ได้ ทั้งในแง่ของหลักการศาสนา
ในแง่หลักการของศาสนาก็คือ คำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า
وما أتاكم الرسول فخدوه وما نهاكم عنه فأنتهوا
"สิ่งใดที่รอซูลนำมากับพวกท่านนั้น พวกท่านจงเอามัน และสิ่งใดที่ร่อซูลห้ามกับพวกท่านจากมันนั้น พวกท่านจงยุติ" อัลหัชรฺ 7
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า
فإدا نهيتكم عن شيء فأجتنبوه ، وإدا أمرتكم بأمر فأتوا منه ما أستطعتم
"ดังนั้น เมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงห่างไกลมัน และเมื่อฉันใช้พวกท่านด้วยกับสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ" รายงานโดยบุคคอรีย์และมุสลิม
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า
الحلال ما أحل الله فى كتابه ، والحرام ما حرم الله فى كتابه ، وما سكت عنه فهو مما عفا عنه
"หะล้าลก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัติไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และหะรอมก็คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงห้ามไว้ในคำภีร์ของพระองค์ และสิ่งที่พระองค์ไม่นิ่งจากมัน ก็คือสิ่งที่พระองค์ผ่อนปรนให้" รายงานโดยท่านติรมีซีย์
ท่านผู้อ่านลองพิเคราะห์ถึง สถานะภาพของผู้คนในปัจจุบัน ท่านจะพบว่าการกระทำหรือไม่กระทำของพวกเขานั้น อยู่หลักการใหญ่ๆเกี่ยวกับหลัก "การใช้" ( أمر ) และหลัก "การห้าม" ( نهى ) ดังนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งที่ไม่มี "การใช้" ให้กระทำ หรือไม่มี "การห้าม" ให้กระทำ ก็ย่อมจะหุกุ่ม "หะรอม" ไม่ได้ แต่สมควรอยู่ในกรอบของ มุบาหฺ อนุญาติให้กระทำได้ หรืออยู่ในกรอบของสิ่งที่ไม่มีหุกุ่มาระบุแล้วก็นำไปวางบนมาตรฐานของหุกุ่มศาสนา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถสรุปได้ดังนี้
1. บรรดานักปราชญ์อิสลาม ให้คำนิยามของ ซุนนะฮ์ ว่า "คือสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้พูด กระทำ และยอมรับ" บรรดานักปราชญ์ไม่ได้นำการ "ทิ้งของท่านนบี" หรือ "การไม่ได้ทำ" ของท่านนบี(ซ.ล.) เข้าไปอยู่ในคำว่าซุนนะฮ์ เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ "หลักฐาน" ( دليل )
2. หุกุ่มนั้น คือ (คิฏ๊อบ) คำบัญชาของอัลเลาะฮ์ บรรดานักปราชญ์อุซูลกล่าวว่า หุกุ่มก็คือ สิ่งที่ หลักฐานจากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อัลอิจญฺมาอ์ และกิยาส มาบ่งชี้ถึงมัน โดยที่การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ก็ไม่ใช่หนึ่งจาก สี่ หลักฐานมากล่าวมา ดังนั้น การที่ไม่ได้กระทำ จึงไม่ใช่ "หลักฐาน" ที่จะนำมาอ้าง
3. การทิ้ง ก็คือ การที่ไม่ได้กระทำ และการที่ไม่ได้กระทำ ก็หมายถึง การที่ไม่มี"หลักฐาน" ( دليل ) มาระบุ ดังนั้น การทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้น ย่อมไม่ชี้ถึงหะรอม นอกจากมีหลักฐานมาบ่งชี้ชัดว่าหะรอม จากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญฺมาอ์ และกิยาส
ดังนั้น การทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) โดยอ้างหะรอมว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นคำอ้างที่ฟังไม่ขึ้นโดยหลักการของศาสนา
การทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) แม้ไม่ได้เกิดรูปแบบปรากฏการกระทำขึ้นในสมัยของบรรดาซอฮาบะฮ์ แต่บรรดาซอฮาบะฮ์เองก็ทำการำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)อยู่เสมอ หัวใจของบรรดาซอฮาบะฮ์ล้วนแต่คำนึงถึงท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกการตัดสินใจและการเคลื่อนไหวของพวกเขา ดังนั้น หัวใจของพวกเขาจึงตื่นตัวอยู่เสมอด้วยการรำลึกถึงแบบฉบับบุคลิคภาพของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.)กล่าวว่า"หากฉันไม่รำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)สักช่วงเวลาเดียว มันเหมือนกับว่าฉันไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากมุสลิมีน" (อ้างจากคำกล่าวของชัยค์ด๊อกเตอร์ที่สอนผมกับวิชาตะเซาวุฟ) ฉะนั้น ความรักที่มีต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ระหว่างบรรดาซอฮาบะฮ์กับเรานั้น ย่อมห่างใกลกันเหลือเกิน บรรดาซอฮาบะฮ์จึงไม่จำเป็นมากนักที่จะต้องมาทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบีเหมือนกับพวกเรา สถานะภาพปัจจุบัน อิหม่านของมุสลิมทั่วไปยิ่งถดถอย การส่งเสริมตอกย้ำให้มีการรำลึกถึงท่านนบี ด้วยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่นเมาลิดนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นสิ่งที่บิดอะฮ์ลุ่มหลงถึงกับลงนรกตามทัศนะของวะอาบีย์หรอกครับ
และการกล่าวว่า ซอฮาบะฮ์ไม่ได้ทำนั้น เป็นหลักการบัญญัติที่ "ห้าม" ย่อมไม่ใช่หลักการของศะละฟุศศอลิหฺและไม่ใช่เป็นหลักฐานของหลักวิชานิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกห์) และการกล่าวว่า "หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ดี บรรดาสะละฟุศศอลิหฺย่อมกระทำมาก่อนเรา" ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นหลักฐานของศาสนาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ที่มาบ่งชี้ว่ามันเป็นสิ่งที่"หะรอม" ต้องห้าม หรือบิดอะฮ์ตกนรก ซึ่งหลักการนี้ ไม่ใช่หลักการของสะละฟุศศอลิหฺ แต่เป็นหลักการของวะฮาบีย์!!!
ดังนั้น หากว่าประเด็นหนึ่ง หรือปัญหาหนึ่ง ที่สะละฟุศศอลิหฺ(หรือผู้ที่อยู่ก่อนจากเขา)นั้นไม่ได้กระทำไว้ เป็นหลักฐาน ที่ชี้ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนาแล้ว แน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอีน ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน และแน่นอนว่า บรรดานักปราชญ์ตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้มีสิทธิ์ที่จะพูดและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่บรรดานักปราชญ์ตาบิอีนได้นิ่งเฉยไม่ได้กระทำและกล่าวกับมัน ซึ่งหลักการนี้ ขัดแย้งกับคำกล่าวและหลักการของท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ท่าน อิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อุซุลุลฟิกห์ของท่านว่า
قال أبو داود: قال أحمد بن حنبل:... فإذا وجدت عن رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم لم أعدل إلى غيره، فإذا لم أجد... فعن الخلفاء الأربعة... فإذا لم أجد فعن أصحابه الأكابر فالأكابر... فإذا لم أجد فعن التابعين وتابع التابعين، ولو كان عدم الرواية حجة على عدم المشروعية لكان ينبغي للتابعين أن يقولوا لو كان خيراً لسبقنا إليه الصحابة، وكان ينبغي لأتباعهم أن يقولوا: لو كان خير لسبقنا إليه التابعون
" ท่านอบู ดาวูด กล่าวว่า ท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัลกล่าวว่า เมื่อฉันพบ(หลักฐาน) จากท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ฉันก็ไม่เคยผินไปยังผู้อื่นจากท่านร่อซูล และเมื่อฉันไม่พบ ก็เอาจากบรรดาคอลิฟะฮ์ทั้ง 4 และเมื่อฉันไม่พบ ก็จากบรรดาซอฮาบะฮ์ผู้อวุโส และอวุโสถัดๆไป และเมื่อฉันไม่พบอีก ก็เอาจากตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน และถ้าหากว่าการไม่มีการรายงานมานั้น เป็นหลักฐานว่าไม่มีบทบัญญัติในศาสนา แน่นอนว่า เป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอีน โดยการกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้ามันมาก่อนแล้ว (ตาบิอีนไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเพราะมันไม่ใช่หลักฐาน)" ดู หนังสือ มุเซาวะดะฮ์ อาลิ ตัยมียะฮ์ หน้า 336
จากสิ่งที่ผมได้อ้างอิงมานั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า หากมีไม่มีสายรายงานมาระบุ บรรดาตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้เอาคำกล่าวที่ว่า" บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมทำกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว และเป็นการสมควรแก่บรรดา ตาบิอิตตาบิอีน กล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี แน่แท้ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ย่อมกระทำล่วงหน้าไปยังมันก่อนแล้ว" มาเป็นหลักการและหลักฐาน ในการห้ามหรือหุกุ่มหะรอมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย
และหลักการของท่านอิมามอะหฺมัดนี้ ก็อิงจากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ซึ่งรายงานโดยท่าน อัลนะซาอีย์ ไว้ในสุนันของท่าน ในหะดิษที่ 5397 ว่า
فإن جاء أمر ليس في كتاب الله، ولا قضى به نبيه صلى الله عليه وآله وسلم، ولا قضى به الصالحون، فليجتهد رأيه
ท่านอิบนุมัสอูดกล่าวว่า "หากสิ่งหนึ่งที่ไม่มีระบุไว้ใน กิตาบุลเลาะฮ์ และท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ และบรรดาผู้มีคุณธรรมก็ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดมันไว้ ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" (เช่นการกิยาส)
ดังนั้น หากการไม่มีรายงานมาระบุ เป็นหลักฐานที่ว่า ไม่มีบทบัญญัติในศาสนานั้น แน่นอนว่า ท่านอิบนุมัสอูดก็กล่าวไม่ได้ว่า "ดังนั้น เขาก็จงวินิจฉัยด้วยกับความเห็นของเขา" แต่ท่านอิบนุมัสอูด สมควรกล่าวว่า หากมันเป็นสิ่งที่ดี บรรดาผู้มีคุณธรรมก็ต้องกระทำล่วงหน้ามันมาก่อน(จากท่านอิบนุมัสอูด)แล้ว ดังนั้น จึงไม่อนุญาติให้ทำการวินิจฉัย แต่ท่านอิบนุมัสอูดไม่ได้กล่าวอย่างนั้น และไม่มีสะละฟุศศอลิหฺ ให้คำพูดดังกล่าวมาเป็นหลักฐานหุกุ่มเกี่ยวศาสนาในนิติศาสตร์อิสลาม
และที่ผมได้กล่าวนำเสนอมาทั้งหมดนี้ ก็คือการสนทนานำเสนอในเชิงวิชาการ ที่ยืนยันว่า การกล่าวหาหุกุ่มว่าการทำเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ตกนรกหรือเป็นการกระทำที่ชั่ว เพราะว่าท่านนบีและสะสะฟุศศอลิหฺไม่ได้ทำนั้น ย่อมเป็นหลักการที่ไร้น้ำหนักครับ - รายงานละเอียดนั้นโปรดติดตามต่อไปครับ อินชาอัลเลาะฮ์ - วัลฮุอะอฺลัม _________________ นักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
www.sunnahstudent.com |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|