asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Sep 03, 2008 4:22 pm ชื่อกระทู้: Re: คำถามเรื่องหุ้น |
|
|
musa1234 บันทึก: | ในหลักของอิสลามนั้น เราสามารถเล่นหุ้นได้ไหม๊
เพราะว่ามันเป็นการซื้อขาย ไม่ไช่การกินดอก
ผู้รู้ช่วยตอบครับ |
คำถามที่ : 52
คำถาม : การกระทำเช่นนี้ผิดต่อหลักคำสอนของศาสนาหรือไม่ ?
1. ดิฉันทำงานเป็นเจ้าหน้าที่หาเงินฝากที่ธนาคารแห่งหนึ่งโดยหน้าที่หลักคือการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเสนอการลงทุนในรูปแบบกองทุนเปิด-ปิด ที่ทางธนาคารเป็นตัวกลางระหว่างผู้ลงทุนกับทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการซึ่งผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงแต่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก การที่ดิฉันทำงานในลักษณะนี้จะผิดต่อหลัหศาสนาหรือไม่ 2. การเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการลงทุนหรือการเก็งกำไรสามารถทำได้หรือไม่ ขอบคุณค่ะ
by: มารียา - - 30/1/2004
คำตอบ :
(การสรรเสริญเป็นสิทธิแด่พระองค์อัลลอฮฺ) ก่อนอื่นผมต้องขอมะอัฟ (อภัย) คุณมารียาที่ตอบคำถามของคุณช้าไปหน่อย เนื่องจากผมต้องบรรยายหลายสถานที่ กอปรกับต้องเตรียมเนื้อหาที่ต้องบรรยายจึงมิได้เข้ามาตอบในเว็บไซต์นี้เลย ต้องขออภัยจริงๆ ครับ คำถามข้อแรก ก่อนอื่นผมขอหยิบยกหะดีษของท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่ง (หมายถึงงดความเมตตา) แก่บุคคลที่กินดอกเบี้ย, บุคคลที่ให้ดอกเบี้ย, บุคคลที่เป็นพยานเกี่ยวกับดอกเบี้ย และบุคคลที่บันทึกเกี่ยวกับดอกเบี้ย , ทั้งหมดล้วนว่ามีความผิดเท่ากัน (บันทึกโดยมุสลิม) ฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยถือว่าต้องห้าม (หะรอม) ทั้งสิ้น อาทิเช่น เป็นบุคคลที่ปล่อยเงินกู้, เป็นบุคคลที่ยืมสตางค์คนอื่นโดยเสียดอกเบี้ยให้แก่เขา, เป็นบุคคลที่ไม่ได้รับหรือให้ดอกเบี้ย แต่เวลามีการตกลงกันในระหว่างสองคนซึ่งเรานั่งร่วมเป็นพยานว่าเขาทั้งสองตกลงยืมสตางค์กันโดยกำหนดดอกเบี้ยไว้เท่านั้นเท่านี้ หรือไม่ใช่เป็นบุคคลที่กิน หรือให้ดอกเบี้ย อีกทั้งมิได้เป็นพยานอีกด้วย แต่เขาทำหน้าที่บันทึก,เขียนเกี่ยวกับดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น นายสมชายยืมเงินจากนายสมบูรณ์จำนวน 10,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 , ซึ่งนายสมบัติเป็นบุคคลบันทึกรายละเอียดทั้งแต่ต้นจนจบ, ตัวอย่างข้างต้นที่หยิบยกมานั้นอยู่ในข้อห้าม (หะรอม) ของศาสนาทั้งสิ้น ดังนั้นงานใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ศาสนาไม่อนุญาตให้กระทำ ดั่งที่คุณมารียาถามมานั้นก็ถือว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยชัดเจนครับ ผมขอแนะนำ ให้คุณมาริยาไปสมัครงานที่อื่นทิ้งไว้ หากได้งานที่เราสมัครทิ้งไว้ ก็ให้ลาออกจากที่ทำงานแห่งนั้น จากนั้นให้ขอลุแก่โทษ (เตาบะฮฺ) ต่อพระองค์อัลลอฮฺในสิ่งที่เราเคยกระทำความผิดเอาไว้ก่อนหน้านี้ คำถามที่สอง การเล่นหุ้นในอิสลามอนุญาตให้เล่นหุ้นได้ในกรณีที่กิจการที่ทำนั้นหะลาลตามหลักการของศาสนา สอง ต้องไม่พัวพันกับดอกเบี้ย สาม การร่วมหุ้นต้องมีเงื่อนไขอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น มีการร่วมหุ้นทำกิจการปลากระป๋อง โดยมีหนึ่งพันหุ้น (สมมติว่า) ผลกำไรแบ่งเท่าๆ กัน การร่วมหุ้นเช่นนี้ หรือลักษณะใกล้เคียงจากตัวอย่างข้างต้น ถือว่าอนุญาต ส่วนกรณีที่ถามถึงการเล่นหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะที่มีการเก็งกำไร เช่นนี้ศาสนาไม่อนุญาต เพราะถือว่าคล้ายกับการเล่นการพนัน, ส่วนการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุน ก็ต้องมีเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงจะอนุญาตให้เล่นหุ้นนะครับ (วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลาม
by: มุรีด ทิมะเสน - mureed@mureed.com - 3/2/04 02:54 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|