ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ชาริค มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/04/2007 ตอบ: 276
|
ตอบ: Sat May 05, 2007 3:33 pm ชื่อกระทู้: เรื่องร้ายข่าวดี |
|
|
โอรeโอ
อันตรายมาก
The Facts about (trans) Fat : ไขมันที่กินแล้วไม่อ้วนแต่กินแล้วตาย น่ากลัวกว่าไหม?
คุณรู้จัก โอรeโอ ดีแค่ไหน?
มีคุกกี้ชื่อดังยี่ห้อหนึ่ง แค่ถูกฟ้องเป็นคดีอื้อฉาว ใครๆก็เคยคุ้นเคย กินคุกกี้หน้าตาดำๆ ไส้ครีมขาวๆ ใครหยิบคุกกี้ชนิดนี้มากิน 3 อันจะได้รับพลังงาน 160 แคลอรี่ส์ ซึ่งบรรจุไว้ซึ่งไขมัน 7 กรัม ข้างซองก่อนเก่าเขาระบุว่า 1.5 กรัมนั้น ทำมาจากไขมันอิ่มตัว ที่เหลือ อุอุ ไม่ยอมบอกว่าเป็นไขมันชนิดไหน จนกระทั่งถูกจับได้ว่า แอบยัด trans fat เข้าไปซะ 5.5 กรัม
ปี 2006 มีกฎหมายควบคุมปริมาณ trans fat ออกมาใช้แล้ว ในผลิตภัณฑ์อาหารใดๆมีการใช้ trans fat เป็นส่วนผสมต้องระบุจำนวนไว้อย่างเด่นชัด ห้ามหลบซ่อนหลอกผู้บริโภคให้หัวใจวายตายกันเป็นว่าเล่นอีกต่อไป
กรณีที่คุกกี้ดำๆถูกฟ้องร้องด้วยโทษฐานไม่บอกกันว่า ยัด trans fat ให้เด็กๆกินเข้าไปเท่าไหร่ เพราะคุกกี้นี้เป็นที่นิยมกินกันมาก
ข่าวเขาเล่าว่าตั้งแต่มีการผลิตคุกกี้ชนิดนี้ออกมาขายเมื่อปี 1912 ขายไปแล้วกว่า 450 billion ใครลองนับดูว่าตัวเองเผลอบริโภคคุกกี้ดำๆนี้เข้าไปเท่าไหร่ (นั่นล่ะ trans fat ไปนอนรอนิ่งๆ คอยบั่นทอนหัวใจให้ล้มเหลว ไม่วันใดก็วันหนึ่งเข้าแล้ว)
trans fat คืออะไร ???
เป็นไขมันจากพืชที่มนุษย์ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการแปรรูปอาหาร (ขบวนการผลิตค่อนข้างวิทยาศาสตร์ไว้ค่อยขยายความต่อไป) ซึ่งขณะนี้งานวิจัยหลายฉบับสรุปว่า ** มันเป็นไขมันชนิดร้ายแรงที่สุด คือ นอกจากจะไม่ให้ประโยชน์ใดทั้งสิ้น ยังไปทำลายไขมันดีที่ร่างกายสะสมไว้ใช้งานอีกด้วย
อาหารที่ขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 40 เปอร์เซนต์อุดมไปด้วย trans fat (ใครอยากรู้ไหมว่า อาหารประเภทไหนบ้าง เรามีลิสต์จดเก็บไว้ดูเล่นหมดล่ะ
ถามว่า จะเผลอบริโภคเข้าปากไปได้จำนวนเท่าไหร่ถึงไม่ถือว่าอันตราย
ตอบได้ทันทีว่า .... ไม่ควรกินเลยแม้แต่กรัมเดียว (ถ้าพลาดกินไปแค่ 1-2 กรัม/วัน ก็ยังพอวางใจกันได้อยู่บ้าง)
ฉะนั้นการที่เจ้าของโครงการ Ban Trans Fat ซึ่งเป็นท่านทนายเขาฟ้องร้องคุกกี้ดำๆ ด้วยเหตุที่ว่าผู้ผลิตปิดบังข้อมูลที่เป็นอันตรายไว้ และผู้บริโภคซึ่งเป็นเด็กไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็บริโภคกันเข้าไปเท่าไหร่แล้วไม่ร­ู้
คดีฟ้องร้องคุกกี้ชนิดนี้ ผู้ฟ้องร้องไม่ต้องการค่าเสียหายใดๆทั้งสิ้น ไม่เรียกสักดอล์ลาร์หรือสักเซ็นต์เดียว ขอเพียงแค่เจ้าของผู้ผลิตคุกกี้ดำๆ คือบริษัท Kraft จะต้องเอา trans fat ออกจากคุกกี้ชนิดนี้ให้หมดสิ้นเท่านั้นเอง และคดีนี้ "ชนะ" เปิดฉากการต่อสู้ให้เกิดกฎหมาย ban trans fat กันคึกคักในหลายประเทศขณะนี้
ผลิตภัณฑ์ที่หลายประเทศห้ามสั่งเข้ามาขาย เพราะคือ trans fat ตัวร้ายกาจ คือ Shortening หรือ Crisco "เนยขาว" ที่เอามามาทำ ขนม นม เนย หวานอร่อย เคลือบพิษไว้นั่นเอง
ยังมีอีกมาก ข้อมูลโหดๆแบบนี้ เหอะๆ ใครสนใจจะไปอ่านให้ "หัวใจสั่น" เพิ่มเติมอีกได้ที่
http://www.bantrans fats.com
เมื่อคดี "คุกกี้ดำ" ชนะ กฎหมายก็สั่งการให้มีการระบุ trans fat บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆทันที และผลิตภัณฑ์บางชนิดถูกห้ามใช้ trans fat โดยเด็ดขาด
ฉะนั้นจึงทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องขวัญผวา กินอะไรไม่ได้อีกต่อไป ทางเลือกที่จะทำให้เรารอดตาย ก็เพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขอบคุณคดี "คุกกี้ดำ" (ทนายเขาใช้วิธี "เขียนเสือให้วัวกลัว") ทำให้คนหลายคนบนโลกได้ตื่นขึ้นมาพร้อมความจริงข้อใหม่ว่า เราไม่ควรประมาทมั่นใจในสิ่งที่เรากินเข้าไปทุกวัน หากเราไม่ได้ปรุงไม่ได้ทำมันกับมือตัวเอง
อะแฮ่ม และไม่ว่าใครก็ตามที่โชคดีไม่เคยกินคุกกี้ดำมาก่อน ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นเจ้า trans fat นี้ได้ง่ายๆ เพราะว่า trans fat เป็นส่วนผสมมากมายอยู่ทั้งใน ขนม นม เนย ที่มีมาร์การีนเป็นส่วนประกอบ และของทอด ที่ต้องใช้น้ำมันทั้งหลายแหล่
ผลิตภัณฑ์อาหารที่ เสี่ยงต่อ Trans fat มีดังนี้เอย
- อาหารนอกบ้านที่ไปซื้อเขากิน เราไม่รู้แน่ชัดว่าส่วนผสมเขาใช้อะไรบ้างใช้เนยสด หรือใช้มาร์การีน หรือเนยเทียม ใช้น้ำมันประเภทอะไร ว่ากันว่าบรรดาอาหาร+ขนมไดเอททั้งหลายล้วนมี trans fat ผสมทั้งนั้น
กินแล้วไม่อ้วน ไขมันจุกตาย แต่หัวใจสลาย เอ้ย ล้มเหลวเพราะ trans fat แทน (ตอนนี้มาแรงกว่าโรคใดๆ)
- เค้ก บิสกิต คุกกี้ ทุกชนิดที่ในสูตรมี เนยขาวชอร์ทเทนนิ่งเป็นส่วนผสมล้วนอุดมไปด้วย trans fat
- พวกขนมกรุบกรอบ-ซองๆ ของขบเคี้ยวกินเล่นทั้งหลาย อาทิ พวกมันฝรั่ง ต้องดูให้ดีว่าเขาใช้น้ำมันอะไรทอด เพราะนั่นก็ที่มาของ trans fat เช่นกัน (Frito Lay/Chee-tos/แครกเกอร์ไส้ชีส Ritz/ถั่วทอด
ถั่วอบกรอบ เสี่ยงปริมาณ trans fat ทั้งสิ้น)
- คอฟฟี่เมท ครีมเทียม วิปครีม (ต้องเลือกดูตามฉลากแต่ละยี่ห้อว่าเขาใช้ส่วนผสมอะไร)
- Crouton/น้ำสลัด สำเร็จรูป
- dips สำเร็จรูปทั้งหลาย
- ผงเกรวี่สำเร็จรูป/ซอส มิกซ์ต่างๆ
- อาหารแช่แข็งแบบสำเร็จรูปที่เอามาอุ่นในไมโครเวฟแล้วกินได้เลย (ก็เข้าข่าย)
- ซุปกระป๋อง/ซุปซองสำเร็จรูป/พีนัท บัตเตอร์/ซีเรียลอาหารเช้า อาหารที่แยกย่อยให้อ่านดูเหล่านี้ต่างมีมาร์การีน/น้ำมันเป็นส่วนผสมหรือใช้ในการปรุง เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเขาใช้น้ำมันอะไร หากเขาไม่ระบุแน่ชัดบนฉลาก อาจมี trans fat ผสมอยู่ได้ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ใครที่ไม่เคยกินคุกกี้ดำ แต่เคยกิน
- วิปครีม
- ไอศกรีม
- ครัวซอง พาย ทัพ ชีสเค้ก (ที่ใช้บิสกิต-คุกกี้ในส่วนที่เป็นครัสท์) ก็อาจเสร็จ trans fat มาแล้วทั้งนั้น พวกอาหาร fast food อาหารอุตสาหกรรมโรงงาน ขายด้วยปริมาณไม่เน้นคุณภาพ ตายห้าห้าห้า (หัวเราะก่อนตาย) เขาล่อ trans fat มาให้เราเผลอกินโดยไม่รู้ตัวทั้งนั้น เชื่อ/ไม่เชื่อ ไปดูตัวอย่างตารางเมนูอาหารที่ขายใน "แมคโดนัลด์" กันสิ กดลิงค์ดูกันจะๆ http://www.mcdonald s.com/app_ controller. nutrition. index1.html
ตะแคงหัวดูตรงส่วนที่เป็น trans fat สิว่า ......บิ๊ก-แมค.....ชีสเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น มี trans fat ผสมอยู่เท่าไหร่
- เฟรนช์ ฟรายขนาดใหญ่ 170 กรัม ...trans fat 8 กรรม
- พายแอปเปิ้ล 1 ชิ้น 77 กรัม ...trans fat 4.5 กรรม
- ไก่นักเก็ต 20 ชิ้น ...trans fat 5 กรรม
ข้อมูลที่เขาระบุไว้นี้ ไม่นานเท่าไหร่ เมื่อเดือน พ.ค. 2006 นี้เองนะ
นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของ trans fat ตามร้านอาหาร(แค่แห่งเดียว) ที่เราๆอาจไม่เคยรู้มาก่อน ยังมี...ร้านโดนัท...ร้านพิซซ่า...ร้านปอเปี๊ยะทอด...ร้านหมี่ผัด take away chinese... ทั้งหลายแหล่ที่เคยตรวจเจอ trans fat มาแล้วทั้งนั้น
อธิบายเพิ่มเติม ยิ่งน่ากลัวเข้าไปใหญ่เลยไหม? แต่ไม่ต้องตกใจไปหรอก น่าดีใจด้วยซ้ำที่ทนายเขาฟ้อง "คุกกี้ดำ" - ชนะ
ตอนนี้ผลิตภัณฑ์อาหารและร้านอาหาร "แหลกร่วน" ทั้งหลาย ถูกไล่ตรวจการใช้น้ำมัน-มาร์การีนในสินค้าของว่ามี trans fat มากมายหรือไม่ ถ้าพบว่ามีมากมาย ก็ต้องถูกเปลี่ยนและเลี่ยงไม่ให้ใช้ทันที ที่สำคัญที่สุด หากไม่เปลี่ยนส่วนผสม ยังคงใช้ trans fat ต่อไป ก็ต้องระบุให้เห็นชัดๆ ห้ามปกปิดผู้บริโภคอีกต่อไป ประเทศเดนมาร์ก - เป็นประเทศเดียวที่ออกกฎหมายห้ามใช้ trans fat ในผลิตภัณฑ์ทุกชนิด แคนาดากำลังเดินหน้าปราบปราม trans fat ลำดับต่อไปประเทศในยุโรปหลายๆประเทศกำลังเร่งผลิตกฎหมายออกมาควบคุม ส่วนเมืองไทย คืบหน้าไปถึงไหน ไม่ทราบได้ รู้แต่ว่า อาหาร-เบเกอรี่อุตสาหกรรมที่วางขายทั่วไป ล้วนอุดมไปด้วย trans fat เกือบทั้งสิ้น
แม่บ้านคนหนึ่ง (ในอเมริกา) เมื่อได้อ่านข้อมูล trans fat เธอไปเปิดคัพบอร์ดในครัว แล้วอ่านฉลากอย่างละเอียดของที่เธอหยิบออกมาวางบนโต๊ะในรูป ล้วนมี trans fat ทั้งสิ้น...ดูซะให้เต็มๆตาว่า มันแฝงอยู่ในอาหารมากมายแค่ไหน ที่อเมริกาปัญหานี้ใหญ่โตนัก เพราะบริโภค fast food กันเป็นกิจวัตรและอาหาร diet ทั้งหลายที่โฆษณาว่าเลี่ยงใช้ไขมันที่ไม่ทำให้อ้วน ไม่เพิ่มแคลอรี่ส์ แต่กลับอุดมไปด้วย trans fat -
ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่ร้ายแรงที่สุดไว้แทน
รู้ได้ยังไง รูปประกอบค่ะ...การซ่อนจำนวน trans fat เราคำนวณหามันได้แบบนี้เวลาที่ฉลากระบุจำนวนไขมันไว้ว่า คำนวณจากคุกกี้ 5 ชิ้น (16 กรัม) Total Fat 4 กรัม เป็นไขมันอิ่มตัว 1 กรัมแล้วอีก 3 กรัม
คืออะไรเขาไม่บอกชัดๆ...เพราะมันคือ trans fat ค่ะ นี่แหละที่มาแห่ง "คดีโอรีโอ" ที่เราต้องขอบคุณมากมาย
นี่คือ คำอธิบาย ไขมันทรานส์ ที่เราว่า เขียนอ่านง่ายที่สุดแล้ว เอามาจากเว็บคุณหมอ thaiclinic เคยเขียนตอบไว้
(trans = แปรสภาพ) เป็นไขมันที่คนเราทำขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ขบวนการสำคัญได้แก่ การเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) ให้กับโมเลกุลของคาร์บอน
การเติมไฮโดรเจนทำให้น้ำมันเหลวแปรสภาพ กลายเป็นน้ำมันข้นขึ้น ขาวขึ้น และละลายหรือปนกับน้ำได้ง่ายขึ้น เก็บได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง ไม่เสียง่าย และเก็บได้นานขึ้น คำกล่าวที่ว่า น้ำกับน้ำมันไม่มีวันเข้ากันได้" จะเปลี่ยนไปก็ตอนนี้เอง
"ถ้านำน้ำมันมาเติมไฮโดรเจนเข้า น้ำมันจะแขวนลอยในน้ำได้เปรียบคล้ายสบู่ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำได้"
ครีมเทียมหรือคอฟฟี่เมตที่มีจำหน่ายประมาณครึ่งหนึ่งเป็นน้ำตาล อีกครึ่งหนึ่งเป็นไขมันเติมไฮโดรเจนไปบางส่วน ทำให้ไขมันบางส่วนแปรไปเป็นไขมันทรานส์
* * * ตัวอย่างไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์พบมากในครีมเทียม(คอฟฟี่เมต) เนยเทียม ขนมปังกรอบ (crackers) ขนมท้อฟฟี่ ขนมปังปิ้ง คุกกี้ ขนมสำเร็จรูป อาหารทอด สลัดน้ำข้น ฯลฯ นอกจากนั้นการทำอาหารที่ใช้ความร้อนต่อเนื่องกันนานๆ หรือน้ำมันทอดที่ใช้ซ้ำหลายครั้ง เช่น .......กล้วยทอด .......มันทอด ฯลฯ มีส่วนทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ การใช้น้ำมันจึงควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งส่วนที่เหลือ ต่อไปนี้ กฎหมายกำลังจะออกมาบังคับให้ทุกสินค้า ต้องแจกแจง trans fat เป้งๆ ห้ามปกปิดข้อมูลผู้บริโภคอีกต่อไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
AlGhuraba มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2004 ตอบ: 226
|
ตอบ: Tue May 08, 2007 9:02 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอแจม... เก็บมาฝากครับ
Trans fat ไขมันอันตรายhttp://www.dmsc.moph.go.th/webroot/samutsongkhram/knowledge/s19/s19-2.htm
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักไขมันโดยรวมกันก่อนนะคะ
ไขมันแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักๆ คือไขมันชนิดอิ่มตัวและชนิดไม่อิ่มตัว ตัวอย่างของไขมันชนิดอิ่มตัวได้แก่ เนย ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นก้อนเกาะตัวกัน หรือเป็นไขที่อุณหภูมิปรกติ
สำหรับไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิปรกติและยังแบ่งย่อยได้อีกสองประเภท คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated) เช่น น้ำมันมะกอก และน้ำมันจากถั่ว ส่วนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated) นั้นเช่น น้ำมันคาโนล่าและน้ำมันดอกคำฝอย
ไขมันชนิดอิ่มตัวส่วนใหญ่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ นม เนย ไข่ อาหารทะเล และพืชบางชนิด เช่นมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีผลให้ผู้รับประทานมีระดับคอเลสเตอรอลสูงโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และไขมันชนิดที่ถูกโจษจันในวงการอาหารที่อเมริกาคือ Trans fats นี่เอง เป็นไขมันที่ทำจากไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเพื่อให้เป็นไขมันที่คงตัวในอาหารสำเร็จรูป สามารถเก็บไว้ได้นานๆ ชื่อที่เราเห็นบ่อยๆ บนฉลากอาหารก็คือ Hydrogenated oil หรือ Partially hydrogenated oil
ไขมันชนิด Trans fats นี้เป็นอันตรายกับร่างกายเป็นที่สุดเพราะเป็นไขมันที่เกิดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่จากธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เนยแท่งมาร์การีน หรือ เนยถั่วพีนัทบัตเตอร์ ซึ่งเริ่มต้นก็ดีอยู่หรอก ทำมาจากส่วนผสมธรรมชาติเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
แต่ทราบมั๊ยคะในกระบวนการทำอาหารสำเร็จรูปให้เป็นไขมันคงตัวมันถูกดึงเอาไขมันที่ร่างกายต้องการออกไปหมดแล้วและถูกอัดด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนเพื่อให้แข็งตัวเป็นก้อน กระบวนการนี้แหละที่ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับกลายเป็นไขมันอิ่มตัวอย่างเต็มขั้นและเต็มไปด้วยอันตรายกับสุขภาพ อาหารสำเร็จรูปแทบทุกชนิดล้วนแล้วแต่มี Trans fats เป็นส่วนประกอบสำคัญ
สินค้าบางชนิดก็ระบุอย่างชัดเจนตรงไปตรงมากับผู้บริโภคในขณะที่บางชนิดก็เล่นเกมซ่อนแอบอย่างแยบยลผู้บริโภคต้องอ่านฉลากและเลือกซื้ออย่างฉลาดนะคะ อย่างเช่นหลังจากอ่านฉลากเนยถั่วพีนัทบัทเตอร์แล้วว่าไม่มี Trans fats ก็ควรจะดูเนื้อของเนยถั่วด้วยนะคะว่ามีลักษณะเป็นน้ำมันเยิ้มๆ ไม่แข็งตัว อาจแยกชั้นกับเนื้อถั่วก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าเสียแต่คอนเฟิร์มว่าไม่มี Trans fats เป็นส่วนประกอบค่ะ
อ้อที่สำคัญกลิ่นต้องหอมไม่เหม็นหืนด้วยนะคะ
ที่มา : http://www.livinginshape.net/Food%20Medicine/Food-Medicine-Trans%20fat.htm
presented by : วันทนา อ่อนภิรมย์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|